• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุและความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ ของประชาชน อายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by พิศิษฐ พวงนาค on วันจันทร์ 16 กันยายน 2013 at 5:49 am

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุและความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ ของประชาชน ???อายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา1 พิศิษฐ์ พวงนาค2 พัชรินทร์ เฮียงก่อ1

1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่อนดินแดง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

2 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์

mrtoni1445@hotmail.com

ความสำคัญของปัญหา

วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและจิตใจ ดังนั้น หากได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุได้ตรงกับสภาพปัญหาของบุคคล ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุอยู่อย่างมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ?

วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อศึกษาถึงระดับและความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุกับความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตของผู้สูงอายุของประชาชนอายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วิธีดำเนินการวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสัมภาษณ์รายบุคคลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Simple correlation Pearson?s Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัย

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.4 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 73.4 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.9 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 33.5 อาศัยอยู่แบบครอบครัว 3 วัย ร้อยละ 51.1 รายได้เพียงพอต่อรายจ่าย ร้อยละ 66.1 ภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 36.1 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจากภาวะเมตาบอลิค ร้อยละ 37.3 การเตรียมความพร้อม? ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (m=2.25, s=.46) จำแนกรายด้านพบว่า ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.67-2.33) ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการใช้เวลาว่าง ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และระดับมาก ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (m=2.35, s=.53) ความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 55.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.2 ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุกับความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุในทางบวกระดับน้อย (r=.291, p =.000)

ข้อเสนอแนะ

ด้านการพยาบาล ควรจัดกิจกรรมการดูแลและส่งเสริมให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเองตามระดับปัญหาของบุคคล เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพ ที่นำไปสู่การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุได้อย่างปกติสุข

คำสำคัญ การเตรียมความพร้อม, โลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ, ประชาชนอายุ 59-60 ปี

RELATIONSHIP BETWEEN SELF-PREPARATION AND SELF-ATTITUDE TOWARD AGING IN THE GROUP OF 59 TO 60 YEARS OF AGE IN THAMBOL THA SAO, MUANG DISTRICT, UTTARADIT, THAILAND

Wongchayapote Promsila1, Pisit Phuangnak2, Patcharin Hiangkho1

1Mondindang Tambon Health Promoting Hospital

2Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit

E-mail: mrtoni1445@hotmail.com

Statement of the Problems

In Aging, since the biology of the body cells changes in its functions, the elderly people experience all changes in their physical and mental health. Thus, preparations for getting into aging is important and makes elderly people live their lives wisely.

Objectives

To study the level of self-preparations and attitudes toward ageing among Tha Sao?s residents in Thambol Tha Sao, Muang District, Uttaradit, Thailand.

Methods

The study is a survey using in-depth interviews to collect data in the 59 to 60 years of age of Tha Sao?s residents. Frequency, percentages, mean, standard deviation and simple correlation Pearson’s coefficient were used to analyze.

Findings

The results of the study show that more than a half (58.4%) of the population were female and (73.4%) married. Half (57.9%, 51.1%) of them had primary school education and were extended families and living with their grand children. One third (33.5%) were still working for their income which was enough to live (66.1%). One third (36.1%, 37.3%) was found overweight and chronic metabolic sickness. The preparation for aging was moderate (m=2.25, s=.46) which found that the sample highly prepared themselves in places for living (m=2.35, s=.53) but moderately (the average between 1.67 and 2.33) in their income, free time spending and physical and mental health. More than a half (55.4%) had highly positive attitude toward aging and almost a half (44.2%) of it had moderate of those. Finally, the research found that the relationship between the self-preparation and the attitude toward aging in positive aspect is low (r =.291, p =.000).

Suggestion

The findings suggested that the preparation for aging in adulthood should be added in the health promotion and disease prevention aspects which must be appropriate to the individual.

Keywords aging, preparation for aging, attitude towards ageing, elderly people, Uttaradit.

รายงานการประชุมการจัดการความรู้เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันพฤหัส 12 กันยายน 2013 at 2:42 am

รายงานการประชุมการจัดการความรู้เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน
แบบ ACTIVE LEARNING
วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น.
ณ ห้อง ๑๑๓ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางอนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางมณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๕. นางสาววราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางสาวนัยนา อินธิโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายไพทูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๙. นางวาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑๐. นางสาวนัยนา แก้วคง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑๑. นางสาวศิริกาญจน์ จินาวิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๑๒. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๓. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๔. นางอรุณรัตน์ พรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๕. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๖. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๗. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๘. นางจิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายไพทูรย์ มาผิว
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๑๕ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ประธานแจ้งว่า จาการประชุมของคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ได้กำหนดหัวข้อในการจัดการความรู้(KM)ของวิทยาลัยฯในหัวข้อการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี ACTIVE LEARNING และขอความร่วมมือให้อาจารย์แต่ล่ะท่านช่วยเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ล่ะวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา
จึงแจ้งที่ประชุมทราบ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
จากประธานแจ้งเรื่องหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING และให้อาจารย์ในภาควิชาฯ เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ล่ะวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา
๑. อาจารย์นิศารัตน์ นาคทั่ง สอนโดยวิธีการบรรยายจบแล้ว ๑ หัวข้อ ก็ตัวแทนให้เล่าประสบการณ์ที่นักศึกษาเคยเจอมาเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตา คอ หู จมูก ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น อาจารย์จะยกตัวอย่างกรณีศึกษา โดยอาจารย์จะสมมติว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย และให้นักศึกษา ช่วยกันซักประวัติ และช่วยกันวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคอะไร และให้ช่วยกันให้การรักษา และจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปในผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในทุกหัวข้อที่สอน หลังจากเสร็จสิ้นทุกหัวข้อจะเหลือเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง จะให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดทุกหัวข้อ จำนวน ๑๐ ข้อ โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม และส่งตัวแทนกลุ่มออกมาตอบคำถามชิงรางวัล โดยกลุ่มไหนที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการนี้พบว่า นักศึกษาบอกว่าดี ทำให้สามารถซักประวัติ และวินิจฉัยแยกโรค ของผู้ป่วยได้ และนักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และมีผลการสอบปลายภาคผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
๒. อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ สอนโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม และใช้สถานการณ์สมมติ ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ขณะจัดการการเรียนการสอนนักศึกษาให้ความสนใจมาก ไม่ง่วง ผลการสอนด้วยวิธีนี้พบว่านักศึกษา สอบผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา และวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อาจารย์ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และมีความกังวลเรื่องของเนื้อหาการเรียนอาจไม่ครอบคลุม
ประธานสรุปจากท่านอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านที่ได้เล่าประสอบการณ์การจัดการเรียนการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบ ACTIVE LEARNING ได้แก่ การเล่าประสบการณ์ การเล่นเกมส์ แบบฝึกหัด การใช้สถานการณ์สมมติ จะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่อยู่นิ่ง ไม่ง่วง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และการคิดที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง จากกิกรรมที่อาจารย์จัดให้ ส่งผลให้นักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และมีผลการสอบปลายภาคผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา แต่มีข้อกำกัดคืออาจารย์ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และมีความกังวลเรื่องของเนื้อหาการเรียนอาจไม่ครอบคลุม
๓. อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว สอนโดยการใช้สถานการณ์ ๖ สถานการณ์ แต่แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นหลายกลุ่ม และกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาค้นหาคำตอบ จากเอกสารประกอบการสอน หรือการค้นทางด้วยอินเตอร์เน็ต หลังจากนั้นให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ผลพบว่านักศึกษาสามารถหาคำตอบได้ตรงประเด็นและสนใจการเรียนมากเนื่องจากได้รับผิดชอบ และต้องค้นหาคำตอบ แต่ใช้เวลาค่อนข้างเยอะ ในการอ่าน การค้นหาคำตอบ และต้องเตรียมตัวออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งการนำเสนอหน้าขั้นเรียนจะเป็นตัวที่จะสะท้อนในเห็นว่านักศึกษาเข้าใจถูกต้องหรือไม่ และจะทำให้นักศึกษาทราบว่าที่ตนเองคนหาคำตอบมานั้นผิดประเด็นอย่างไร โดยอาจารย์จะเป็นผู้ให้คำชี้แนะเพิ่มเติม
๔. อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง สอนโดยการใช้สถานการณ์ไปพร้อมๆกับการบรรยาย ร่วมการให้ทำกิจกรรม แบบฝึกหัด ในแต่ละหัวข้อการสอน นักศึกษาจะมีส่วนร่วมในการเรียนค่อนข้างมาก ซึ่งกิจกรรมคล้ายกับอาจารย์มณฑาและอาจารย์ไพทูรย์ และเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อาจารย์ผู้สอนจะเหนื่อยและใช้เวลามากในการเตรียมการสอนเพื่อให้รัดกุมกับเนื้อหาที่จะสอน
๕. อาจารย์เสน่ห์ ขุนแก้ว ยกตัวอย่างการสอนเรื่องการต่อท่อระบายทรวงอก(ICD) โดยการใช้สถานการณ์ และให้นักศึกษาบอกบทบาทของพยาบาล ในการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาต่อท่อระบายทรวงอก ชนิด ๓ ขวด โดยต่อกับขวด ICD ที่ใช้จริงกับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ข้อดีของการจัดการสอนแบบนี้คือ นักศึกษามีความมั่นใจในการใช้ ICD มากขึ้น และเข้าใจบทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยที่ใส่ ICD ข้อจำกัดคือ นักศึกษามีจำนวนมากจึงไม่สามารถจัดให้นักศึกษาทุกคนได้ต่อ ICD
๖. อาจารย์จิราพร ศรีพลากิจ การสอนขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ขณะประชุมปรึกษาทางการพยาบาล(nursing conference)รู้สึกว่านักศึกษาเกิดความเบื่อหน่าย จึงให้นักศึกษา ๑ คน แจ้งข้อมูลผู้ป่วย และให้สมาชิกภายในกลุ่ม อธิบายว่าคนที่ ๑ แจ้งข้อมูลว่าอย่างไร ประเด็นสำคัญคืออะไร เพื่อให้เกิดความตื่นตัว อยู่ตลอดเวลา หลังจากที่ conference เรียบร้อยแล้ว อาจารย์จะนำข้อการรวบยอดมาให้นักศึกษาทำเป็นตัวอย่าง และชี้ว่านี่คือประเด็นสำคัญ ที่ต้องรู้ และต้องปฏิบัติ การจัดกานสอนแบบนี้จะเป็นการสะท้อนเนื้อหา จากเพื่อน จากอาจารย์ และจากข้อสอบ
๗. อาจารย์นัยนา แก้วคง สอนโดยการบรรยายกว้างๆก่อน แล้วให้สถานการณ์ ๗ สถานการณ์ และให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ว่าผู้ป่วยที่ตนเองรับผิดชอบป่วยด้วยโรคอะไร โดยมีอาจารย์คอยให้คำชี้แนะ และชี้ประเด็น เมื่อนักศึกษาทุกกลุ่มวิเคราะห์ได้แล้ว ให้นักศึกษาเตรียมข้อมูลและเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยส่งตัวแทนออกมานำเสนอ และอาจารย์จะมีคำถามหลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จเรียบร้อย โดยให้ยกมือตอบตามความสมัครใจ ซึ่งคำถามจะมาจากเนื้อหาที่กลุ่มนำเสนอเสนอเสร็จถามเลย นักศึกษาสนใจมาก และสรุปเนื้อหาทั้งหมดให้นักศึกษาอีกครั้ง ข้อจำกัด คือไม่เห็นกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะปรับโดยการให้ทำกระบวนการกลุ่มในชั้นเรียน และอาจารย์อยู่ภายในห้องด้วย
๘. อาจารย์อลิษา ทรัพย์สังข์ จากการสอนแบบบรรยาย เกี่ยวกับทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยพบว่าสอนไม่ทันเวลา เนื่องจากเนื้อหาเยอะมาก จึงเปลี่ยนวิธีการสอนโดยการสรุปเนื้อหาทั้งหมด และดึงเอาเนื้อหาที่สำคัญโดยกำหนดโรคให้ และมอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษาคิดสถานการณ์เอง และออกมาแสดงบทบาทสมมติว่าเด็กที่มีปัญหาโรคนั้นๆ จะมาด้วยสถานการณ์แบบไหน หลังจากที่นำเสนอเสร็จเรียบร้อยอาจารย์จะจับฉลากให้มีกลุ่มตัวแทนถามคำถาม กลุ่มที่นำเสนอก็จะทำให้นักศึกษามีความสนใจและตื่นตัวมากเพราะต้องคอยฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ ผลคือนักศึกษาสอบผ่านมากขึ้น ข้อจำกัดคือใช้เวลามาก ห้องเรียนเป็นอุปสรรคในการเข้ากลุ่มเนื่องจากเป็นห้อง SLOPE จึงทำให้เข้ากลุ่มค่อนข้างยาก การจัดกลุ่มมีปัญหามาก
๙. อาจารย์วีระยุทธ อินพะเนา ใช้วิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มและให้ส่งตัวแทนในกลุ่มไปเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อโดยสมาชิก ๑ คน จะมีความรู้ ๑ หัวข้อ และกลับเข้ากลุ่มใหญ่ เพื่อนำความรู้ที่ตนเองได้รับมาไปอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง เพื่อให้สมาชิกทั้งหมดมีความรู้ในทุกหัวข้อที่สมาชิกทุกคนได้รับถ่ายทอดมา หลังจากนั้นอาจารย์จะมีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาตอบคำถามแข่งขันกัน และอีกวิธีก็คือการให้สถานการณ์สมมติกับนักศึกษา และให้นักศึกษาวิเคราะห์ สาเหตุ การติดต่อ อาการและอาการแสดง พยาธิสภาพ การพยาบาล และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยไม่จำกัดวิธีการนำเสนอ ผลคือนักศึกษาตื่นตัวมาก และวิธีการที่นำเสนอหลากหลายวิธีเป็นการเปิดโอกาสทางความคิด การคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างต่อเนื่อง
การสอนขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ปัญหาของการ pre-conference พบว่านักศึกษาไม่สนใจฟังเพื่อนขณะที่เพื่อนนำเสนอ จึงใช้วิธีการให้เพื่อนเล่าอาการปัจจุบันของผู้ป่วยที่ได้รับผิดชอบแล้วให้เพื่อนช่วยกันซักข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาปัญหาที่สำคัญที่สุด และกิจกรรมที่สำคัญที่สุด พบว่านักศึกษาตื่นตัวมากขึ้น สนใจฟังมากขึ้น และร่วมให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองได้ด้วย ข้อจำกัด ใช้เวลาในค่อนข้างมาก
๑๐. อาจารย์นัยนา อินธิโชติ จัดการสอนแบบจิ๊กซอร์คล้ายกับอาจารย์วีระยุทธ และใช้ข้อสอบมาใช้ประเมินผล การจัดการสอนแบบนี้ทำให้นักศึกษามีความรับผิดชอบมากเพื่อที่จะนำความรู้จากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งให้ได้ ทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น ข้อจำกัดคือใช้เวลามากในการเตรียมตัว ในกิจกรรมการสอน การออกข้อสอบ และการเตรียมเอกสาร และการฝึกภาคปฏิบัติ การใช้ Nursing Round ได้ผลดี เพราะทำให้นักศึกษาเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น อย่างองค์รวม ควรปรับใช้ตั้งแต่ การฝึกปฏิบัติการปัญหาสุขภาพ ๑ จะทำให้นักศึกษาเข้าใจผู้ป่วยอย่างครบถ้วน
๑๑. อาจารย์อรุณรัตน์ พรมมา สอนโดยการบรรยายเนื้อหา และแจกสถานการณ์ให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง ว่าผู้ป่วยมีปัญหาอะไรบ้าง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยให้เวลา ๑ สัปดาห์ ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา ค้นคว้าจากห้องสมุด เพื่อเตรียมตัวในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจารย์สรุปเนื้อหาสาระสำคัญให้กับนักศึกษาอีกรอบ
๑๒. อาจารย์ ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล ให้นักศึกษาอ่านรายงานวิจัย และอภิปรายในกลุ่มและมานำเสนอตามประเด็นหัวข้อที่กำหนด และสอดแทรกเนื้อหาให้กับนักศึกษา การสุ่มโดยการจับสลากให้ตอบคำถามและให้เพื่อนตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ผลคือนักศึกษาสอบผ่านมากขึ้น
๑๓. อาจารย์ภาราดร ล้อธรรมมา ใช้วิธีการสอนแบบ Team base learning ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำข้อสอบประมาณ ๒๐ ข้อ และให้นักศึกษาแข่งกันตอบภายในห้อง และมาสรุปเนื้อหาและเฉลยข้อสอบโดยละเอียด ข้อจำกัดคือใช้เวลาค่อนข้างมาก
นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ โดยให้อาจารย์แต่ละท่านเล่ากระบวนการการจัดการเรียนการสอน ลำดับการสอน ตั่งแต่เริ่มต้นการสอน จนขั้นสรุปผล ใช้เวลาไม่เกิน ๕ นาที เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของภาควิชาต่อไป

ลงชื่อ………………………………………………..
(นายวีระยุทธ อินพะเนา)
ผู้บันทึก

ลงชื่อ………………………………………………..
(นายไพทูรย์ มาผิว)
ผู้ตรวจสอบ

ลงชื่อ………………………………………………..
(นางนิศารัตน์ นาคทั่ง)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

แนวทางการปฏิบัติสำหรับ ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning? ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันพุธ 11 กันยายน 2013 at 9:09 am

รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมบานชื่น
—————————————————————————————————————————
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง หัวหน้าภาควิชา
๒. นางมณฑา อุดมเลิศ
๓. น.ส.นัยนา อินธิโชติ
๔. นางวาสนา ครุฑเมือง
๕. นายไพทูรย์ มาผิว
๖. นางสาวนัยนา แก้วคง
๗. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล
๘. นายวีระยุทธ อินพะเนา
๙. นายภราดร ล้อธรรมมา
๑๐. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว
๑๑. น.ส.อลิษา ทรัพย์สังข์ เลขานุการที่ประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
อ.นิศารัตน์ นาคทั่ง แจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ กำหนดให้ภาควิชา วิเคราะห์ความรู้ ในการจัดการความรู้ เรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้วิธีการสอนแบบ Active learning
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง
จากการประชุมการสังเคราะห์ความรู้ที่ผ่านมา โดย อ.ไพทูรย์ มาผิว หารือว่า ในที่ประชุมนี้ ให้อาจารย์ผู้เข้าร่วม ร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ที่เคยใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ว่ามีวีธีการอย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร
ระเบียบวาระที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้
อ.นิศารัตน์ นาคทั่ง ใช้วิธีการโดย
๑. แบ่งนักศึกษาออกเป็น ๗ กลุ่ม เท่าๆกัน
๒. จัดโต๊ะสำหรับเป็นพื้นที่เขียนคำตอบ ๗ ตัว
๓. มีคำถามแสดงบน Slide โดยคำถามจะเน้นเป็นลักษณะ รู้จำ และเข้าใจ จากนั้นให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มวิ่งมาตอบคำถามบนโต๊ะที่จัดไว้ภายในเวลาที่กำหนด
๔. จนกระทั่งมีกลุ่มผู้ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ
๕. ขั้นสรุปผลโดยใช้กรณีศึกษา และมีการปรับเปลี่ยนจากการใช้กรณีศึกษาเป็นแผ่นกระดาษ มาเป็นครูเป็นผู้แสดงบทบาทสมมติเป็นผู้ป่วย แล้วให้นักศึกษาซักประวัติ แล้วบอกว่าผู้ป่วยเป็นอะไร จะต้องทำอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้คนจริงคือผู้สอนเป็นสิ่งกระตุ้นและมีการโต้ตอบที่คล้ายกับสถานการณ์จริง ให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ และเพิ่มความน่าสนใจให้กับกรณีศึกษา

อ.วาสนา ครุฑเมือง ใช้วิธีการโดย
๑. เริ่มต้นจากการเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียน โดยพูดถึงโรคที่สอน ว่านักศึกษาคิดอย่างไร
๒. แจกแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำ ซึ่งจะได้ทุกคน
๓. นำคำถามที่เกริ่นนำมาเฉลย และเข้าสู่เนื้อหา
๔. แจกกรณีศึกษาให้นักศึกษาทำ
๕. สุ่มเรียกชื่อ ให้นักศึกษาตอบคำถามจากกรณีศึกษา
๖. ครูเฉลย และอธิบายเพิ่มเติม
๗. ประเมินผล โดยใช้ข้อสอบให้นักศึกษาทำในชั่วโมงเรียน ซึ่งข้อสอบที่ใช้ต้องไม่ใช่ข้อสอบที่จะใช้สอบเก็บคะแนนจริง จากนั้นเฉลยคำตอบ แล้วให้นักศึกษาประเมินคะแนนตนเอง
ผลจากการจักการเรียนการสอนโดยวิธีนี้ พบว่าจำนวนนักศึกษาที่สอบตกมีน้อยลง และมีข้อเสนอแนะว่า การใช้กรณีศึกษาควรมีหลากหลาย และควรมีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจด้วยกิจกรรม ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
อ.ภราดร ล้อธรรมมา ใช้วิธีการโดย
ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Team base learning ร่วมกับ อ.ศศิธร ชิดนายี
๑. ชี้แจงกิจกรรม และแบ่งกลุ่มนักศึกษาตามผลการเรียน
๒. มอบหมายงานให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อทีกำหนด ควรให้เวลานักศึกษาอย่างน้อย ๑-๒ สัปดาห์ในการศึกษา
๓. บรรยาย โดยแบ่งตามหัวข้อ และใช้สถาการณ์ประกอบ
๔. ใช้ข้อสอบในการเสนอเนื้อหาเพิ่มเติม โดยมีการให้ทำข้อสอบและแข่งขันกับตอบเป็นทีมตามที่แบ่งกลุ่มนักศึกษาไว้
๕. สรุปคะแนนที่ได้จากการทำกิจกรรม โดยทุกๆกิจกรรมจะมีคะแนน เป็นการสร้างบรรยากาศและสร้างแรงจูงใจในการแสวงหาความรู้
ผลที่ได้คือ สามารถประเมินผู้เรียนได้ โดยผู้เรียนที่มีความตื่นตัว สนใจ ผลคะแนนสอบก็จะดีตามมา
ในที่ประชุมมีข้อสรุปความเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Team base learning เป็นลักษณะของการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และหากผู้เรียนที่มีประสบการณ์ จะสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่กระตุ้นคือ การเรียนรู้ที่มีผลต่อผู้เรียนโดยตรง คือ คะแนน

อ.วีระยุทธ อินพะเนา ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอน แบบ Active learning ๓ วิธี
๑.การเรียนการสอนแบบ Jigsaw
๑. แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๗ คน กลุ่มบ้าน (Home group)
๒. กลุ่มบ้าน (Home group) แต่ละกลุ่มมอบหมายภาระงานให้สมาชิกรับผิดชอบ
๓. จัดกลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) โดยให้นักศึกษากลุ่มบ้านของแต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบเรื่องเดียวกันไปรวมกลุ่มใหม่ แล้วศึกษา ทำความเข้าใจเนื้อหา ร่วมกันจนเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างดี
๔. กลับกลุ่มบ้าน (Home group) โดยแต่ละคนกลับกลุ่มเดิม แล้วอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง จนครบทุกคน สมาชิกในกลุ่มซักถามจนเป็นที่เข้าใจ
๕. ให้สมชิกกลุ่มบ้าน (Home group) ออกมาตอบคำถาม โดยผู้สอนจะแสดงคำถามขึ้นบนจอ ให้เวลาคำถามละ ๑ นาที
๖. ผู้สอนเฉลยคำตอบ และสอดแทรกเนื้อหาไปในระหว่างเฉลย
ประเด็นแลกเปลี่ยนจากการจัดการเรียนการสอนแบบ Jigsaw คือ
- ควรมีการสรุปเนื้อหาในตอนท้ายให้ครอบคลุม โดยอาจใช้รูปแบบข้อสอบ และข้อสอบจะต้องครอบคลุม
- เป็นการวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และที่สำคัญคือผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบ เนื่องจากทุกคนต้องเป็น Expert และต้องมาถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อน Home group ฟัง
- อาจมีข้อจำกัด คือ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากนักศึกษาต้องทำความเข้าใจ เพื่อการนำมาถ่ายทอดในกลุ่ม และสำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีประสบการณ์ ในการสร้าง Expert ควรให้เวลาในการทำความเข้าใจพอสมควร
๒.จัดการเรียนการสอนโดยใช้ Clip VDO เป็นสื่อกระตุ้น
โดยการ ใช้ Clip VDO ที่เป็นสถานการณ์จริง เช่น เด็กจมน้ำแล้วได้รับการช่วยเหลือ แล้วถามนักศึกษาว่าเด็กได้รับการช่วยเหลือถูกต้องหรือไม่ แล้วครูก็ทำการเฉลยและอธิบายเนื้อหาสอดแทรก
๓.มอบหมายงานแสดงบทบาทสมมติ
๑. แจกสถานการณ์ก่อนถึงชั่วโมงเรียน ให้นักศึกษาวิเคราะห์ ว่าผู้ป่วยเป็นอะไร
๒. ให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในโรคที่ผู้ป่วยเป็น
๓. มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอ หน้าชั้นเรียน โดยไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ
ผลจะพบว่านักศึกษามีการตื่นตัวในการเรียน และมีการสร้างสรรค์การนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคนอื่นๆมีความสนใจ
การทำรายงาน การนำเสนอแบบอิสระ จะส่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และการใช้ VDO เป็นสื่อจะช่วยดึงดูดความสนใจในการบรรยายไก้มากขึ้น

อ.มณฑา อุดมเลิศ ใช้วิธีการโดย
ใช้การเรียนการสอนแบบ Jigsaw ซึ่งเป็นการประกอบการบรรยายแบบมีส่วนร่วม ช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นตัว ไม่ง่วง นอกจากนี้ยังมีการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้คำถามกระตุ้น โดยใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์
๑.ความหมาย ๒.สาเหตุ ๓.ทำไม ๔.อย่างไร ๕.อธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่
เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย
นอกจากนี้ยังใช้วีธีการมอบหมายงาน เช่นใน วิชา วิจัย มอบหมายให้นักศึกษาศึกษางานวิจัยในห้องสมุด แล้วนำมาเขียนโครงร่างงานวิจัยจากงานที่อ่านและศึกษามา เพื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจและฝึกเขียนโครงร่างงานวิจัย เป็นลักษณะการเรียนการสอนแบบ Backward design

อ.อลิษา ทรัพย์สังข์ ใช้วิธีการโดย
๑. เริ่มบรรยายสรุปเนื้อหาโดยย่อ เพื่อทำความเข้าใจใน Concept เนื้อหา
๒. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น ๘ กลุ่มตาม
๓. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยแนะนำหนังสือ และแหล่งค้นคว้าให้
๔. ให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียนแบบอิสระ โดยไม่กำหนดรูปแบบการนำเสนอ
๕. ในขณะที่นำเสนอ กลุ่มที่ฟังอยู่ต้องตั้งใจฟัง และหลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ จะจับฉลากกลุ่มในการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มเพื่อนนำเสนอ
๖. ครูสรุป และอธิบายเพิ่มเติม
ใช้วิธีการให้ผู้ฟังตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน หรือผู้ฟังสนใจในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ และได้คิดตามเนื่องจากต้องนำมาตั้งคำถาม
อ.นัยนา แก้วคง ใช้วิธีการโดย
๑. เริ่มบรรยายโดยการซักถาม แบบกว้างๆ ยังไม่ลงรายละเอียดของโรค
๒. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น ๗ กลุ่ม
๓. แจกสถานการณ์ให้แต่ละกลุ่มคิด และบอกว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร แล้วครูตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้อง ให้ทำข้อต่อไป
๔. ให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
๕. ครูตั้งคำถามจากการที่นำเสนอ แล้วถามผู้เรียนที่ฟังอยู่ ให้ผู้เรียนตอบ
๖. ครูสรุปแต่ละโรค โดยใช้ Mapping

อ.นัยนา อินธิโชติ ใช้วิธีการโดย
๑. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกตามที่กำหนดเท่าๆกัน
๒. ให้นักศึกษาดูสื่อ แล้วให้ช่วยกันสรุปแนวคิดที่ได้จากการดู เป็นรายงาน ๑ แผ่น
๓. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ
จะเห็นว่าได้ประเด็นจากการสรุปของนักศึกษาที่หลากหลาย

อ.ไพทูรย์ มาผิว ใช้วิธีการโดย
๑. เกริ่นนำเนื้อหา
๒. แบ่งกลุ่มนักศึกษา
๓. ให้สถานการณ์ แล้วถามว่าผู้ป่วยเป็นอะไร อะไรเป็นข้อมูลสนับสนุน และจะให้การพยาบาลอย่างไร
๔. ให้นักศึกษาตอบตามความรู้ที่มีอยู่ และความสามารถในการค้นคว้าข้อมูล โดยยังไม่แจกเอกสารประกอบการสอนก่อน
๕. ให้นักศึกษานำเสนอคำตอบ
๖. ครูสรุปเนื้อหาที่สำคัญ
เป็นการเรียนรู้จากการใช้ประสบการณ์เดิม และการค้นคว้าจากเทคโนโลยีต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ และในช่วงที่นักศึกษาทำกลุ่ม ครูก็สามารถเข้าไปให้คำแนะนำหรือกระตุ้นผู้เรียนไดใกล้ชิดขึ้น
อีกวิธีที่ใช้ก็คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพจริง เช่นการเยนรู้การรับรู้ของผู้สูงอายุ โดยให้นักศึกษาปิดตา ใส่แว่นมัว อุดหูแล้วฟัง เพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกจริงที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

อ.สืบตระกูล ตันตลานุกุล ใช้วิธีการโดย
การใช้สื่อประกอบการบรรยาย การวิเคราะห์กรณีศึกษา และการใช่สื่อ E-Book ให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นการช่วยสร้างความน่าสนใจกับเนื้อหา

ปิดประชุม ๑๖.๓๐ น.

………………………………………….
(นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์)
ผู้บันทึกการประชุม

สรุปแนวทางการปฏิบัติ

สำหรับ ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning?
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

ขั้นตอนการดำเนินการ
๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน
๑.๒ เลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา
๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน
๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด
๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น
๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
๒.๒ ขั้นสอนและประเมินผลแบบ Active learning ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้
๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้
๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์
๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน
๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่ง ที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ
๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน
ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที
ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล
๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้
๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น
๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น
(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย
(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
๔) การสร้างแผนผังความคิด (mapping)
๕) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน
๕) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง
๖) การประเมินและการสร้างบรรยายการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่าบรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

การจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

การส่งเสริมและดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลเด็กวัยเรียน

????????? การดูสุขวิทยาเด็กและการจัดบริการทางสุขภาพให้แก่เด็กในวัยเรียน โดยมากจะเน้นการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ศีลธรรมและจิตวิญญาณ ดังนั้น การให้บริการดูแลสุขภาพเด็กในช่วงอายุต่างๆจึงควรพิจารณาถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็ก โรเบอร์ตา (Roberta K. O? Shea, 2009 : 39-44) กล่าวถึงการให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจำเป็นต้องมีบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพและมีแนวทางให้บริการสุขภาพแก่เด็ก ซึ่งในยุคแรกๆมีรูปแบบการให้บริการภายในหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในประเทศทางตะวันตกได้บุกเบิกและทดลองให้บริการวิชาการในรูปแบบต่างๆกันไปตามบริบทและการจัดการ อาทิ ทีมแพทย์ จะมีแพทย์เป็นผู้ดำเนินการโดยรูปแบบการให้บริการวิชาการจะอิงตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เรียกว่ารูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Model) มีกิจกรรมการให้บริการที่จัดทำเป็นระบบมีคู่มือปฏิบัติงาน (The Guide to Physical Therapy Practice) ทีมสุขภาพประกอบด้วยทีมแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ พยาบาล นักอาชีวะบำบัดและผู้ให้บริการเป็นนักปฏิบัติการวิชาชีพแต่ละสาขามาร่วมกันให้กิจกรรมบริการ ต่อมามีการจัดกิจกรรมและมีรูปแบบเชิงรุกมายิ่งขึ้น ขยายงานออกไปสู่การจัดกิจกรรมบริการสุขภาพเด็กไปตามโรงเรียน เรียกว่า โครงการสุขภาพในโรงเรียน (School Model) เพื่อให้การบริการเข้าถึงเด็กวัยเรียน มีนักวิชาชีพทำงานร่วมกับครูในโรงเรียน จากนั้นเริ่มให้บริการเชิงรุกเข้าไปสู่ชุมชน ครัวเรือนและศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน เพื่อให้บริการแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจะขอแบ่ง ดังนี้

๑.?ระยะก่อนเกิด (Prenatal Visit)

๒.?ระยะแรกเกิด (ในโรงพยาบาล)

๓.?วัยทารกระยะต้น (๒ สัปดาห์ ถึง ๖ เดือน)

๔.?วัยทารกระยะท้าย (๖ เดือน ถึง ๒๔ เดือน)

๕.?วัยก่อนเข้าเรียน วัยเดกระยะต้น (อายุ ๒-๕ ปี)

๖.?วัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี)

การดูแลสุขวิทยานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) บุคคลนั้นจะขาดความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ขาดความกระตือรือร้นหรือละเลยที่จะดูแลตนเองให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีจึงเป็นเหตุเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมความสุขสบายให้กับบุคคลในเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับความสุขสบาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้หายเจ็บป่วยเร็วขึ้น

สุขวิทยาส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีร่างกายที่สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปในภาวะปกติแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีอายุมากขึ้น อาจต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลเพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆอยู่ในสภาวะที่ดี ได้แก่ การดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่เริ่มต้นเรียนรูปจริงจัง มีพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบได้โดยมีหลักการและเหตุผล พัฒนาการของเด็กวัยเรียนจะมีลักษณะอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง อยากเก่ง อยากให้ความร่วมมือ ต้องการทราบเหตุผลในเรื่องต่างๆว่าเกิดขึ้นอย่างไร นักวิชาการด้านการศึกษามีความเชื่อว่า วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงวิกฤตช่วงหนึ่งในการเรียนรู้เพราะเด็กจะเริ่มมีพัฒนาการความต้องการใฝ่สัมฤทธิ์ สร้างความสามารถในการเป็นผู้ประสบความสำเร็จมากกว่าการล้มเหลว (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,2553)

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ทำการศึกษาการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยให้การบริการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี) โดยร่วมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ในการร่วมกันให้บริการวิชาการทั้ง ๓ หัวข้อ คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคติดต่อทั่วไปที่ควรรู้และสุขวิทยาส่วนบุคคลซึ่งทุกหัวข้อมีความสำคัญ ในกระบวนการจัดกิจกรรมอาจารย์ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของครูประจำโรงเรียนเพื่อสอบถามความต้องการที่ตรงตามเป้า หมายในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จากนั้นนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ได้ตรงกับประเด็นที่ต้องการและนำไปบริการวิชาการ หัวข้อในการจัดกิจกรรมมีความสำคัญต่อครู ผู้ดูแลนักเรียนและตัวนักเรียนเป็นอย่างมากซึ่งจะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง จากนั้นนำความรู้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎีที่จัดการเรียนการสอนไปแล้วและเพื่อการเชื่อมโยงในอนาคตต่อไป มีความคาดหวังว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์จริงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อเด็กวัยเรียนและนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ได้มากที่สุด

ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน

๑.??กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)

-?พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี

-?นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น

-?ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

-?รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น

-?ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-?การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

๒.?กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

-?พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-?มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง

-??มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-?ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

๓.???? กลุ่มอาจารย์

-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา

-?มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

-?เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

-?ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป

แนวทางการปฏิบัติที่ดี

๑.?การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่

๒.?การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก

๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน

๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน

๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป

๖.?การนำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและรายวิชาอื่นๆที่ในภาคสอนและรับผิดชอบ จะทำให้นักศึกษาได้รับฟังความรู้ที่ได้จากการจัดประสบการณ์จริงของอาจารย์ทำให้ภาพของการเรียนมีชีวิตคือสามารถทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจารย์ควรนำแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาในการสอนให้มีคุณภาพต่อไป

วิภาวรรณ นวลทองและคณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล? (๒ กันยายน ๒๕๕๖)

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

Blogged under KM ของ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และพัฒนาวิชาชีพ by napadon on วันพุธ 4 กันยายน 2013 at 3:43 am

ประสบการณ์การจัดการเรียนการแบบ
Active
Learning ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา

นภดล
เลือดนักรบ

การเรียนแบบ
active
learning (AL) เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย
โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง
แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการ จะทำกิจกรรมต่างๆ
มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน
การอภิปรายกับเพื่อนๆ” ซึ่งโดยหลักการนี้ก็จะไปสอดคล้องกับหลักการใหญ่ที่ว่า ถ้าเราให้ผู้เรียนรู้จากการอ่านอย่างเดียวผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้เพียง
20% ถ้าจากการฟังก็จะเพิ่มเป็น 30% แต่ถ้าได้มีโอกาสได้พบเห็นก็จะเพิ่มเป็น
40% ถ้าจากการพูดก็จะเป็น 50% และได้ลงมือปฏิบัติเองก็จะถึง
60% และถ้าได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หลากหลายก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเรียนรู้ถึง
90% การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ๑
เป็นการปรับตัวของนักศึกษาต้องปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
มาเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเนื้อหาจะเป็นแบบเฉพาะหลักสูตร
และมีความลึกซึ้งของเนื้อหาเพิ่มขึ้น
ทั้งยังมีกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องเข้ามามีส่วนในการจัดสรรเวลาในการเรียนและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น
การจัดการเรียนที่เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมของนักศึกษาที่นอกเหนือเวลาเรียนของนักศึกษา
จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ รอบด้าน
ไม่เป็นการผลักภาระการเรียนให้นักศึกษา ในทางกลับกันครูเองยิ่งต้องหมั่นสำรวจ
ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้เรียน และความก้าวหน้าในการเรียน
และการทำกิจกรรมให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นด้วย

ในภาคเรียนที่
๒ ของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา ๒
ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่มีความพยายามให้ผู้เรียน
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยภายหลังจากการเรียนทฤษฏีเนื้อหาทั้งหมดของระบบต่อมไร้ท่อ
ได้จัดแบ่งนักศึกษาออกเป็นทั้งหมด ๑๐ กลุ่ม ๆ ละ ๙ คน
โดยมอบหัวข้อที่นักศึกษาจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งหมด ๑๐ หัวข้อ เช่น
สมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนในเวชสำอาง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยผู้สูงอายุเป็นต้น และให้นักศึกษานำเสนอ
โดยไม่จำกัดรูปแบบของการนำเสนอ และไม่จำกัดของเขตของเนื้อหาที่จะนำมาเสนอ
แต่มีการให้คะแนนโดยมีเกณฑ์การให้คะแนนคือ ความถูกต้อง และความทันสมัยของเนื้อหา
ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าสนใจในการนำเสนอ เป็นต้น จากการนำเสนอของนักศึกษา
พบว่านักศึกษาสามารถนำเนื้อหาที่นักศึกษาเรียน มาบูรณาการกับความรู้ใหม่
และสร้างสรรค์การนำเสนออย่างน่าสนใจ และไม่ซ้ำแบบกันในการนำเสนอ
นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่ม และให้ความเห็นต่อกลุ่มอื่นๆได้อย่างน่าสนใจ
ทั้งเนื้อหาที่นักศึกษาค้นคว้ามานำเสนอนั้นเหมาะสมกับภูมิรู้เดิมของนักศึกษา
เมื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และไม่จำกัดกรอบความคิด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอิสระ

ผลจากการจัดกิจกรรมรูปแบการเรียนรู้แบบ
AL
ในระดับอุดมศึกษา พบว่า AL จะกินความไปถึงความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาด้วย
นั่นคือการที่ต้องพัฒนาลักษณะนิสัยทั้งด้านจิตใจและร่างกายให้มีความมุ่ง มั่นไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาของตนเองด้วย
โดยควรเริ่มปูพื้นฐานจากการสร้างนิสัยใน การไปเข้าชั้นเรียนโดยสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ
ค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้สอนมอบหมายให้อย่างดี และเมื่อทราบผลสำเร็จของ

รายงาน” ก็พร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไขทำให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ แบบ
AL ในนักศึกษาพยาบาล
คือ ถ้ามุ่งหวังให้ผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้ที่
Active สภาพการสอนของครูก็จะต้อง
Active ด้วย นั่นคือจะเกิด Active Learning ได้ก็ต้องมี Active Teaching ดังนั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็คงต้อง
“เตรียมตัว” ทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดสภาพที่
Active ขึ้นมาได้
ผู้สอนควรศึกษาภูมิหลังทางการเรียน สภาวะแวดล้อมขณะเรียน อันจะส่งผลถึงการว่างแผน
และออกแบบการสอนอย่างเหมาะสมสำหรับนักศึกษา ผู้เรียน ควรมีความกระตือรือร้น
พูดคุยความก้าวหน้าในการค้นคว้ากับผู้สอน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์
และการตกผลึกความรู้ที่
Active

การเตรียมบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารและการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ : เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by พิศิษฐ พวงนาค on วันจันทร์ 19 สิงหาคม 2013 at 6:54 am

การเตรียมบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารและการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ : เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

พิศิษฐ์ พวงนาค

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

บทนำ

การวิจัยและการเขียนบทความวิชาการเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน สำหรับผู้เขียนนั้น ต้องขอบคุณคณาจารย์และผู้รู้ทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำรายงานการวิจัยและเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารและการประชุมวิชาการ อย่างไรก็ตาม ก่อนเขียนบทความวิจัยต้องเริ่มต้นจากการทำวิจัย ซึ่งการวิจัยมีหลายรูปแบบ อาทิ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยแบบผสม (Mixed method) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความถนัดของนักวิจัย สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experiment research) และการวิจัยทดลอง (Experiment research)

จากประสบการณ์การปฏิบัติงานในระดับสถานีอนามัย (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสารณสุขอำเภอ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ได้รับประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยแลการนำเสนอบทความวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเป็นพนักงานสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยในพื้นที่ รวมทั้งอบรมและประชุมวิชาการเกี่ยวกับการทำวิจัยที่ต้องเชื่อมโยงกับสถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่ง มารับผิดชอบงานวิจัยในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งบทบาทของการเป็นนักวิจัยที่ดีจะต้องเริ่มจากการออกแบบงานวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัย การออกแบบเครื่องมือ รวมทั้งการเก็บข้อมูลด้วยตนเองในพื้นที่วิจัย การวิเคราะห์สถิติและการเขียนรายงานการวิจัยด้วยตนเอง ต้องขอบคุณคณาจารย์และนักวิชาการทุกท่านที่ให้คำแนะนำและแก้ไขรายงานการวิจัยด้วยดีเสมอมา ทั้งนี้ รายงานการวิจัยกว่าจะแล้วเสร็จหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่ามีความพร้อมเพียงใด แต่รายงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อมิได้ถูกเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบผลการวิจัยที่อาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรายงานวิจัยที่ดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม การเตรียมบทความวิจัยและบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ในวารสารและการประชุมวิชาการเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมสำหรับการเขียนรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพิ์เผยแพร่ สำหรับผู้เขียน ในระยะแรกมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัย เพราะรายงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ส่วนใหญ่จำนวนหน้าประมาณ ๘๐?๑๐๐หน้า ทำให้ต้องทบทวนแนวทางการเตรียมบทความวิจัยเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของวารสารหรือการประชุมวิชาการที่ต้องการตีพิมพ์หรือเผยแพร่งานวิจัย

การเตรียมบทความวิจัยและบทความวิชาการ

การนำเสนอบทความวิจัยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย เนื่องจากรายงานวิจัยจะไม่เกิดประโยชน์ใดเลย ถ้าไม่มีการนำเสนอผลการวิจัยให้กับสาธารณชนรับทราบ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องสืบค้นวารสารหรือเวทีวิชาการเพื่อนำเสนอผลการวิจัยของตนเอง สำหรับผู้เขียนเลือกการนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการมากกว่าที่จะต้องตีพิมพิ์เผยแพร่ในวารสาร (เหตุผลส่วนบุคคล ขออนุญาตไม่แสดงความคิดเห็น) และในบทความนี้จะกล่าวถึง การเตรียมบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ โดยเหตุผลส่วนตัวการนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติจะต้องคุ้มค่ากับงบประมาณของหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ซึ่งขั้นตอนการเตรียมบทความวิจัย ประกอบด้วย

๑. หาแหล่งข้อมูลเผยแพร่ : การสืบค้นแหล่งข้อมูลสำหรับเผยแพร่บทความวิจัยมีหลายช่องทางที่ผู้นำเสนอบทความวิจัยจะต้องสืบเสาะด้วยตนเอง ส่วนใหญ่หน่วยงานที่จัดประชุมวิชาการระดับชาติจะส่งรายละเอียดของการประชุมวิชาการและขอความร่วมมือในการส่งบทความวิจัยที่นำเสนอมายังหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน แต่การประชุมวิชาการระดับนานาชาติจะต้องสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เพราะหน่วยงานผู้จัดจะเผยแพร่รายละเอียดของการประชุมวิชาการและขอความร่วมมือในการส่งบทความวิจัยระบบอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยกเว้นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่จัดภายในประเทศไทย ซึ่งผู้จัดการประชุมอาจส่งมายังหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียนบทความวิจัย สำหรับความยากง่ายของการสืบค้นหน่วยงานที่จัดประชุมวิชาการขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและประสบการณ์ของแต่บุคคล รวมทั้งรายงานวิจัยที่อยู่ในมือของบุคคลนั้น

๑.๑ การเผยแพร่บทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ หน่วยงานผู้จัดส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สมาคมวิชาชีพต่าง ๆ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ สำหรับผู้เขียนมีประสบการณ์ในการนำเสนอบทความวิจัยในระดับชาติ ประมาณ ๗ เรื่อง ซึ่งจัดโดยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๕ เรื่อง สมาคมวิชาชีพ ๑ เรื่อง และสถาบันการศึกษาสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ๑ เรื่อง ซึ่งการสืบค้นหน่วยงานที่จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ส่วนใหญ่สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เช่น กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อดีของการสืบค้นคือสามารถศึกษารายละเอียดของบทความวิจัยที่ต้องนำเสนอ เช่น จำนวนหน้า ขนาดตัวอักษร รูปแบบการเขียนบทความวิจัย รูปแบบการนำเสนอบทความวิจัย กำหนดส่งบทความวิจัย อย่างไรก็ตามรูปแบบการเขียนบทความวิจัยจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหน่วยงานผู้จัด อาทิ กองบริหารการวิจัย และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดบทความวิจัยในการนำเสนอแบบโปสเตอร์ ไม่เกิน ๖ หน้า และการนำเสนอแบบปากเปล่าไม่เกิน ๘ หน้า สมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย ไม่เกิน ๓ หน้า

๑.๒ การเผยแพร่บทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอบทความวิจัยระดับนานาชาติในประเทศ ๓ เรื่อง (จัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมาคมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย) ต่างประเทศ ๕ เรื่อง (ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสวิสเซอร์แลนด์) โดยสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม การประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เปิดรับบทความวิจัย ส่วนใหญ่จะต้องส่งล่วงหน้าก่อนวันนำเสนอบทความวิจัยอย่างน้อย ๖ เดือน (ICEMT 2013, Jakarta Indonesia) และกำหนดรูปแบบบทความไม่เกิน ๖ หน้า เพื่อตีพิมพ์ใน International journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning Vol.3 No.4, August 2013 www.ijeeee.org ร่วมกับการนำเสนอบทความวิจัยแบบปากเปล่า

๒. การเตรียมบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ภายหลังการสืบค้นแหล่งที่จะนำเสนอบทความวิจัย เจ้าของบทความต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบเพราะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการตอบรับบทความวิจัย สอดคล้องกับประเด็นการประชุมวิชาการหรือไม่ มีวิธีการอย่างไรในการย่อสาระสำคัญของงานวิจัยให้เหลือเพียง ๖-๘ หน้า โดยให้ได้ประเด็นสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ การเตรียมบทความมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตอบรับในการนำเสนอบทความวิจัยทั้งแบบโปสเตอร์และปากเปล่า ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในการเขียนบทความวิจัย

๓. การเขียนบทความวิจัย

เมื่อสืบค้นแหล่งเผยแพร่บทความวิชาการในระดับชาติและนานาชาติได้ตามที่ต้องการ สิ่งสำคัญที่ตามมาคือ การเขียนบทความวิจัย ซึ่งการเขียนบทความวิจัยเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงความรู้ความสามารถในการย่อรายงานการวิจัยให้เหลือเพียง ๖-๘ หน้า ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี ๒๕๕๖ หัวข้อ ?ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน? รวันที่ ๙-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องคอนแวนชั่นแกรนด์ โรงแรมเซ็นธารา จังหวัดขอนแก่น โดยกำหนดบทความการนำเสนอแบบบรรยาย ความยาวไม่เกิน 8 หน้า การนำเสนอแบบโปสเตอร์ ความยาวไม่เกิน 6 หน้า โดย บทความจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ได้แก่ ชื่อเรื่องและชื่อผู้วิจัย ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วิจัยภาษาไทย สถาบัน ที่อยู่สถาบันอย่างละเอียด โทรศัพท์ E-mail ส่วนที่ 2 เนื้อหาของบทความ ได้แก่ บทคัดย่อภาษาไทย และคำสำคัญภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และคำสำคัญภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ แนวคิด ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัยและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) วิธีการดำเนินงาน ผลการศึกษา/การทดลอง การอภิปรายผล (ถ้ามี) สรุปและข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง สำหรับบทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ?2013 4th International Conference on Education and Management Technology (ICEMT2013) ICEMT 2013 Jakarta, Indonesia. July 13-14, 2013? จะไม่เกิน ๖ หน้ากระดาษ A4 และมีความคล้ายคลึงกับการเขียนบทความวิจัยโดยทั่วไป สาระสำคัญที่แตกต่างไปจากบทความวิจัยที่นำเสนอในการประชุมระดับนานาชาติในประเทศไทย คือ ประวัติผู้วิจัยที่ต้องเขียนให้ระเอียดและมีสาระสำคัญที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นงานเด่นของตนเอง

เมื่อเขียนบทความวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับบทความวิจัยเท่านั้น) ซึ่งการตรวจสอบมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะข้อเสนอแนะและการปรับเปลี่ยนข้อความทางวิชาการหรือผลการวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัยจะต้องอยู่ในขอบเขตที่กำหนดคือ ไม่เกิน ๖ หน้า ซึ่งการตรวจสอบคุณภาพบทความวิจัยของผู้เขียนก่อนลงทะเบียนไปยังหน่วยงานที่จัดการประชุมวิชาการ สำหรับผู้เขียนบทความได้รับความกรุณาเป็นอย่างดีจากกัลยาณมิตรที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ๓ แห่ง รวมทั้งบทความวิจัยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม บทความวิจัยเมื่อได้รับการตอบรับและข้อเสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงบทความวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิของหน่วยงานที่จัดประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะต้องจัดส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่จัดประชุวิชาการ เมื่อได้รับการตอบรับและแก้ไขบทความวิจัยพร้อมที่จัดส่งให้กับหน่วยงานผู้จัดประชุมวิชาการเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ ?การตรียมนำเสนอบทความวิจัยในรูปแบบปากเปล่าหรือแบบโปสเตอร์?

การนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการ

เมื่อผู้วิจัยส่งบทความวิจัยและได้รับการตอบรับ ต้องเตรียมการนำเสนอบทความวิจัยเพื่อนำเสนอบทความวิจัยแบบปากเปล่า : จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ในปี ๒๕๕๕ ? ๒๕๕๖ ผู้เขียนได้นำเสนอบทความวิจัยแบบปากเปล่า จำนวน ๕ เรื่อง โดยจำแนกเป็นการประชุมวิชาการระดับวิทยาลัย ๑ เรื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติ ๒ เรื่อง และการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ ๒ เรื่อง ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอบทความวิจัยด้วยปากเปล่าจะต้องครอบคลุมสาระสำคัญของงานวิจัยภายในเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น การนำเสนอบทความวิจัยระดับชาติที่จัดโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดเวลาไม่เกิน ๑๐ นาที ซักถามโดยผู้เข้าร่วมประชุม ๕ นาที สำหรับการประชุมระดับนานาชาติที่จัดโดยกองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดเวลานำเสนอบทความวิจัย ๑๕ นาที ซักถามโดยผู้เข้าร่วมประชุม ๕ นาที และการนำเสนอบทความวิจัยระดับนานาชาติที่จัดโดย ICEMT 2013, Jakarta Indonesia) ที่กำหนดรูปแบบบทความไม่เกิน ๖ หน้า เพื่อตีพิมพ์ใน International journal of e-Education, e-Business, e-Management and e-Learning Vol.3 No.4, August 2013 www.ijeeee.org กำหนดเวลา ไม่เกิน ๑๐ นาที และซักถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการไม่เกิน ๕ นาที ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำเสนอบทความวิจัยที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ ๑๓-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ซึ่งผู้วิจัยนำเสนอบทความวิจัยเรื่อง ?The Effect of Utilizing of Movie Media on Learning Achievement Related to The Western Civilization Learning in the Civilization and Local Wisdom Subject among Freshmen Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Uttaradit.? โดย Prof. Patrick Letouze (Computer Science Department at the Federal University of Tocantins, Brazil) เป็นประธานในการวิพากษ์บทความวิจัย ซึ่งการนำเสนอครั้งนี้ ใช้เวลาประมาณ ๘ นาที แต่ไม่มีการซักถามเนื่องด้วยข้อกำหนดของระยะเวลาในการนำเสนอบทความวิจัย อย่างไรก็ตาม การนำเสนอบทความวิจัยนี้ได้รับเกียรติเป็นอย่างดี เนื่องจากภาษาอังกฤษของผู้บรรยายไม่แข็งแรง จึงต้องเขียนบทประกอบคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเกือบจะเป็นการอ่านให้ Prof. Patrick Letouze และผู้เข้าร่วมประชุมฟัง แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ผ่านไปด้วยดี ซึ่งแตกต่างกับการนำเสนอบทความวิจัยเรื่อง ?Medical Personal and Sub-district Administration Organization Member? s Opion toward the Readiness on Tranfering Health Stations to Local Admonistrative Organizaton : Case Study of? Uttaradit Province.? ที่นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ : การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ปี ๒๕๕๕ ที่จัดโดยกองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคนไทย อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์การนำเสนอบทความวิจัย เรื่อง ?The Effect of Utilizing of Movie Media on Learning Achievement Related to The Western Civilization Learning in the Civilization and Local Wisdom Subject among Freshmen Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing Uttaradit.? โดย Prof. Patrick Letouze (Computer Science Department at the Federal University of Tocantins, Brazil) ทำให้ได้รับประสบการณ์ในการนำเสนอบทความวิจัย ณ ต่างประเทศ ทำให้เกิดความมั่นใจในการนำเสนอบทความวิจัยด้วยภาษาอังกฤษ เพราะชาวต่างชาติส่วนใหญ่เข้าใจเกี่ยวกับสำเนียงและสำนวนภาษาอังกฤษของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งความกล้าและความมั่นใจของตนเองทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปด้วยดี ซึ่งแตกต่างจากการนำเสนอบทความวิจัยด้วยโปสเตอร์

การนำประสบการณ์การนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการไปใช้ประโยชน์

จากประสบการณ์การนำเสนอบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับวิทยาลัย ระดับชาติและนานาชาติ อาจกล่าวได้ว่า มีความแตกต่างกันไปตามระดับการนำเสนอบทความวิจัยในแต่ละระดับ โดยส่วนตัวผู้เขียนได้รับประสบการณ์จาการนำเสนอบทความวิจัยระดับชาติและนานาชาติ อาทิ การเขียนบทความวิจัยอย่างไรให้ได้รับการตอบรับในการนำเสนอและตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การวิพากษ์โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแบบสร้างสรรค์ ซึ่งในเวทีระดับชาติและนานาชาติส่วนใหญ่จะเป็นข้อเสนอแนะและเพิ่มเติมให้บทความวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยกเว้นการประชุมวิชาการของหน่วยงานบางแห่ง จะซักถามความเป็นมาของงานวิจัย ทำไมต้องใช้สถิติวิเคราะห์บางรายการวิเคราะห์ ทำไมอภิปรายผลแบบนี้ จะนำผลงานวิจัยไปใช้ทำอะไร จะเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใดจากบทความวิจัยนี้ ซึ่งประสบการณ์ในการประชุมวิชาการดังกล่าว สร้างประสบการณ์ให้กับผู้เขียนเป็นอย่างดี เพราะถ้าผู้เขียนทำหน้าที่วิพากษ์บทความวิจัยคงไม่ปฏิบัติเช่นนั้น โดยเด็ดขาด เพราะ อาจมีผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านมีประสบการณ์ที่เหนือกว่าตนเอง ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถ้าเกิดข้อผิดพลาดจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย อย่างไรก็ตาม การเขียนบทความวิจัยเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ผู้เขียนนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับอาจารย์ในภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ และนำมาจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการวิจัยทางการพยาบาล การเป็นกรรมการผู้วิพากษ์งานวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอน้ำปาด ฟากท่า บ้านโคก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

สรุป

การเตรียมบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารและการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นเทคนิคและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เริ่มตั้งแต่การสืบค้นข้อมูลการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างบทความวิจัยกับหัวข้อการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ องค์ประกอบของบทความวิจัย ได้แก่ ชื่อเรื่องและชื่อผู้วิจัย ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้วิจัยภาษาไทย สถาบัน ที่อยู่สถาบันอย่างละเอียด โทรศัพท์ E-mail เนื้อหาของบทความ ได้แก่ บทคัดย่อภาษาไทย และคำสำคัญภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และคำสำคัญภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ แนวคิด ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัยและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) วิธีการดำเนินงาน ผลการศึกษา/การทดลอง การอภิปรายผล (ถ้ามี) สรุปและข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง ประการสำคัญผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบบทความวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมวิชาการก่อนที่จะลงเบียนไปยังหน่วยงานที่จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การแก้ไขบทความวิชาการเมื่อได้รับการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัยจากหน่วยงานที่จัดประชุมและการส่งบทความวิจัยที่ได้รับการนำเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ การเตรียมการนำเสนอบทความวิจัยในรูปแบบปากเปล่าและโปสเตอร์

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้เขียน การสืบค้นข้อมูลหน่วยงานที่จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จะต้องมีบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อประโยชน์ของผู้เขียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากความรู้ความสามารถของตนเองที่ได้เผยแพร่บทความวิจัยไปสู่สาธารณชน ผ่านเวทีการนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ

วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖

*************************

สรุปการถอดบทเรียน บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันพฤหัส 14 มีนาคม 2013 at 6:40 am

การดำเนินการ?? บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑

?????????????????? กับการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ภาควิชา ?????? การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

????????? การถอดบทเรียนจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในการดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ กับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครสารธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พยาบาลวิชาชีพ และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ สรุปได้ ดังนี้

????????? ๑. สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชน โดยผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรง ???????????ระบุว่า การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชนหลายด้าน คือ

?????????????????? ๑.๑ ด้านผู้ป่วย ญาติ และ อสม.

???????????????????????????? ๑) ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การที่นักศึกษาประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติจริง ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน ก็เสมือนว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

???????????????????????????? ๒) ผู้ป่วยและญาติลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางโรงพยาบาล เพราะการลงพื้นฐานของนักศึกษา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรด้านสุขภาพในพื้นที่ โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพ ทั้งการเลือกสรรผู้ป่วยกรณีศึกษา การติดตามไปกับนักศึกษา ได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกหรือสภาพปัญหาสุขภาพผู้ป่วยตามสภาพจริง จึงก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำทีมสหสาขาวิชาชีพเข้าไปรักษาดูแลหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้ป่วยถึงที่บ้าน

???????????????????????????? ๓) ผู้ป่วยเกิดความสุขใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มที่ติดเตียง มีภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำกัดอยู่เพียงห้องนอน ไปไหนไม่ได้ ดังนั้น การที่นักศึกษาลงพื้นที่และปฏิบัติการกับผู้ป่วยจริง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเกิดขึ้นทันที หลังจากยุติมานาน???????? ด้วยภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยได้สื่อสาร พูดคุย รู้สึกมีว่ายังเพื่อน คลายเหงา เกิดความแช่มชื่นในจิตใจ

???????????????????????????? ๔) ผู้ป่วย ญาติ และ อสม. ได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เสมือนโค้ชผู้สอนการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ ขณะที่ อสม. เกิดความตระหนัก ใส่ในใจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

?????????????????? ๑.๒ ด้านพยาบาลวิชาชีพ

???????????????????????????? ๑) เกิดการพัฒนาและความตื่นตัวเชิงวิชาการ การบริหารจัดการ เพราะ???????? การที่นักศึกษาลงพื้นที่และปฏิบัติการกับผู้ป่วยจริง พยาบาลจะมีบทบาทในการดำเนินงาน ทั้งการเลือกสรรผู้ป่วยกรณีศึกษา การติดตามไปกับนักศึกษา ติดต่อประสานงานเครือข่าย อสม. ตลอดจนให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักศึกษา อาจารย์พยาบาล จึงส่งผลให้พยาบาลผู้เกี่ยวข้องต้องเตรียมตัวเพื่อการดำเนินการ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ

???????????????????????????? ๒) ได้เห็นสภาพปัญหาของผู้ป่วยชุมชนในพื้นที่เป็นรายบุคคล ข้อมูลมีความละเอียด เชิงลึก ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการลงปฏิบัติการของนักศึกษา

????????? ?????????????????? ๓) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือ โดยเฉพาะ แกนนำ อสม.ในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพราะการลงพื้นที่ปฏิบัติการของนักศึกษา ภายใต้ความร่วมมือของแกนนำ อสม. จะเกิดประสบการณ์ตรงจากความร่วมมือ (learning by doing) สั่งสมเป็นความรู้ เกิดความเข้มแข็งในเชิงปฏิบัติการในที่สุด

????????? ๒. สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อสถาบัน

?????????????????? ๒.๑ ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ที่กระจ่างชัดขึ้น และมีสมรรถนะที่พึงประสงค์

???????????????????????????? ๑) ช่วยขยายภาพความเข้าใจในองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง (learning by doing) อย่างเป็นระบบ ด้วยการเรียนรู้ทฤษฎีในห้องเรียน นำเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริง

???????????????????????????? ๒) เกิดสมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์

????????????????????????????????????? – การบริหารจัดการ การเรียนรู้ตามสภาพจริง จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะหรือสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาและข้อมูลสภาพปัญหา????? ???????????การวางแผน การดำเนินการตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงหรือการพัฒนาต่อเนื่อง

????????????????????????????????????? – การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

????????????????????????????????????? – การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังที่

????????????????????????????????????? ? คาดหวังไว้

????????????????????????????????????? – การสร้างเสริมความร่วมมืออันดี กับ อสม. ผู้ป่วย ญาติ และ

????????????????????????????????????? ? พยาบาล

????????????????????????????????????? – การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนา

????????????????????????????????????? ? แผนงาน กิจกรรม นวัตกรรมการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ

????????????????????????????????????? ? ผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง

?????????????????? ๒.๒ มีเครือข่ายความร่วมมือ ด้านสุขภาพ ทั้ง แกนนำ อสม. พยาบาล ผู้นำชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันในเกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว เข้าถึงพื้นที่ อันจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

????????? ๓. ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ และข้อเสนอแนะของการพัฒนา

?????????????????? ๓.๑ ระยะทางไกล อาจพิจารณาแหล่งที่ใกล้ๆ

?????????????????? ๓.๒ พยาบาลผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ได้รับข้อมูลแผนงาน/โครงการบูรณาการล่าช้า กระชั้นชิด ทำมีเวลาน้อย สำหรับการเตรียมพื้นที่ การพิจารณาเลือกและเตรียมข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษา อาจไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้น ควรส่งแผนงาน/โครงการล่วงหน้าอย่างเหมาะสม

?????????????????? ๓.๓ ระยะเวลาการลงพื้นของนักศึกษาเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผู้ป่วยน้อยไป ควรพิจารณาแบ่งการพบปะผู้ป่วยกรณีศึกษา ๓ ครั้งเป็นอย่างน้อย

????????????????????????????????????????????????????????? คณาจารย์ประจำภาควิชา

?การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

รายงานการประชุมกิจกรรมสังเคราะห์ความรู้เรื่อง แนวการปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้จากการปฏิบัติจริง

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันพฤหัส 14 มีนาคม 2013 at 6:33 am

วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๓๐น.

ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑.นางศรีสมพร ??????????? ทรวงแก้ว???????? ประธาน

๒.นางศศิธร ?????????????? ชิดนายี

๓.นางนิศารัตน์ ?????????? นาคทั่ง

๔.นางอนัญญา???????????? คูอาริยะกุล

๕.นางสุธีรา??????????????? งามวาสีนนท์

๖.นางมณฑา?????????????? อุดมเลิศ

๗.นางสาววราภรณ์??????? ยศทวี

๘.นางสาวเสาวลักษณ์???? เนตรชัง

๙.นายไพทูรย์????????????? มาผิว

๑๐.นางวาสนา???????????? ครุฑเมือง

๑๑.นางสาวนัยนา???????? แก้วคง

๑๒.นายสืบตระกูล???????? ตันตลานุกุล

๑๓.นายเสน่ห์????????????? ขุนแก้ว

๑๔.นางอรุณรัตน์????????? พรมมา

๑๕.นางสาวอลิษา???????? ทรัพย์สังข์

๑๖.นางจิราพร???????????? ศรีพลากิจ

๑๗.นายวีระยุทธ?????????? อินพะเนา

๑๘.นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา ????? เลขานุการที่ประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ???? ๙๔.๗๓%

ระเบียบวาระที่ ๑ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

????????? แนวการปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้จากการปฏิบัติจริง

????????? คุณเรวัตร รัตนมาโต ให้ความคิดเห็นว่าการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ จากการปฏิบัติจริงมี

ข้อดีคือ ?

๑.ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้มากขึ้นแม้เป็นเวทีจำลองการฝึกปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา

????????? ๒.เป็นการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในชุมชนในการเดินทางหรือค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาล

????????? ๓.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้พื้นฐานทางการพยาบาลจากผู้ที่มีความรู้จริง

????????? ๔.ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาพ

????????? ๕.ประชาชนในชุมชนเกิดความสบายใจ เกิดความอุ่นใจเมี่อมีนักศึกษาเข้าไปฝีกปฏิบัติงานดีกว่าการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่มีระบบสานพานซึ่งมุ่งให้การรักษาอย่างเดียวไม่มีเวลาพูดคุยทำความรู้จักกันกับแพทย์หรือพยาบาลที่ให้บริการ

????????? ๖.เกิดระบบที่ดีในระบบสาธารณสุขเนื่องจากระบบการรักษาเดิมที่โรงพยาบาลส่งผลให้บุคลากรเกิดความเครียด ผู้รับบริการก็เกิดความเครียดต้องเร่งรีบในการให้บริการแข่งกับเวลา

????????? ๗.การทำงานในชุมชนเกิดมิติใหม่ เกิดมุมมองทางบวกของแพทย์และพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

อุปสรรค์

๑.????? ความสม่ำเสมอในการลงชุมชนถ้ามาครั้งเดียวจะไม่น่าเชื่อถือ

๒.????? เกิดอุปสรรค์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและญาติที่คอยกังวลว่าพยาบาลจะมาเยี่ยมกี่โมง ต้องรอหมออยู่ที่บ้าน

๓.????? การไม่ให้ความร่วมมือของผู้ป่วย

๔.????? การสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้นวัตกรรมไม่ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวอาจเพราะถูกจัดงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม

๕.????? การให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพเบื้องต้นกับประชาชนในชุมชน เนื่องจากพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา พยาบาลชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขแตกต่างกันทำให้อาสาสัครสาธารณสุขต้องพัฒนาด้านความรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้คำแนะนำแก่คนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

๖.????? ผู้ป่วยเกิดความเคยชินกับนักศึกษาพยาบาลและไม่อยากรับบริการจากเจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุข

สิ่งที่อยากได้จากการบูรณาการ

????????? ๑.ปฏิทินการลงเยี่ยมหมู่บ้าน ของนักศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข พยาบาลที่สอดผสานกัน

????????? ๒.การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้านคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ

????????? ๓.การพัฒนาภูมิปัญญาของคนในชุมชนเป็นนวัตกรรมอาจเป็นในรูปแบบจิตวิทยา ธรรมะ เช่น รูปภาพสร้างความสะเทือนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองเป็นต้น

พยาบาลชุมชน หึความคิดเห็นว่า สิ่งที่ควรพัฒนาจากการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้จากการปฏิบัติจริง คือ

????????? ๑.การเตรียมแผนงาน การเตรียมตัว การเรียนรู้กรณีศึกษาก่อนปฏิบัติการพยาบาล

????????? ๒.การกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนในการมุ่งศึกษากรณีศึกษารายกรณีเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องโรคได้อย่างชัดเจน

????????? ๓.การพัฒนาการทำงานที่ต่อยอดกัน

????????? ๔.การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนวางแผนให้การพยาบาล

นักศึกษา ให้ความคิดเห็นว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ คือ

๑.ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหารายวิชา เช่นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับไขมันในเลือดสูง สามารถเกิดโรคไตวายได้ในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งเกี่ยวข้องกันเป็นต้น

๒.การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

๓.เกิดการกระตุ้นศักยภาพจากการไปพบกรณีศึกษา ทำให้เราต้องเตรียมความรู้โดยการอ่านหนังสือ

๔.ได้เครือข่ายการร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ในชุมชน พี่ อ.ส.ม. และพี่พยาบาล เป็นต้น

๕.ได้เรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพโดยการประเมินความรู้พื้นฐานของผู้ป่วยก่อนให้ความรู้กรณีศึกษาเพื่อไม่เป็นการยัดเยียดผู้ป่วย

๖.ฝึกทักษะการส่งต่อผู้ป่วยกับอ.ส.ม. และ พี่พยาบาล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ และเพื่อนๆ การได้พบกรณีศึกษาทำให้เข้าใจบริบทความเป็นมนุษย์และเรียนรู้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์จากการฝึกปฏิบัติจริง

- เกิดประโยชน์อย่างไรกับนักศึกษาและคนในชุมชน

????????? ๑.นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการให้การพยาบาลประชาชนในชุมชน

????????? ๒.ได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาล การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

????????? ๓.ได้เครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่าง นักศึกษา อ.ส.ม. และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ โดยนักศึกษาเป็นแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัวในการสร้างเสริมสุขภาพ

????????? ๔.เกิดแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จากการได้เรียนรู้วิถีวชีวิต ความเชื่อของผู้คน และจิตวิญญาณ

????????? ๕.เรียนรู้การประเมินสภาพผู้ป่วยว่าควรประเมินจากสภาพจริงบางครั้งข้อมูลจากแฟ้มประวัติอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง

????????? ๖.เกิดการเรียนรู้จากการทางไกลเข้าไปในชุมชนทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความยากลำบากในการเดินทางมาโรงพยาบาล

- การบูรณาการควรมีต่อไปหรือไม่ และมีอุปสรรค์อะไร

????????? ๑.ควรมีต่อไปแต่ให้เพิ่มระยะเวลาในการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยก่อน ๑ ครั้งเพื่อกลับมาวางแผนให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

????????? ๒.ควรมีการจัดกลุ่มนักศึกษาให้มีจำนวน กลุ่มละ ๗ คน ๑๑ กลุ่มเพื่อง่ายในการมอบหมายงานได้อย่างทั่วถึง

แนวทางการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๑.นักศึกษาต้องมีความรู้เป็นพื้นฐาน

๒.นักศึกษาต้องมีสมรรถนะ ในการสร้างสัมพันธภาพและการติดต่อสื่อสาร

๓.ทักษะการทำงานเป็นทีม การวางแผนที่ดีจะส่งผลต่อาการทำงานที่เกิดความสำเร็จ

?ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐น.

………………………………

????????????????????????????????????????????????????????????????? (นายภราดร ล้อธรรมมา)

?????????????????????????? ผู้บันทึกการประชุม

?

???????????.

(นายไพทูรย์ มาผิว)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

KM การเขียนโครงร่าง ทำอย่างไรให้ได้ทุน

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย

วันที่? ๖? มีนาคม? ๒๕๕๕ เวลา? ๑๓.๐๐ ? ๑๔๐๐น.

ณ? ห้องประชุมพวงชมพู

************************************************

ประธาน นาง ศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
วิทยากร ดร. ประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. พรรณพิไล สุทธนะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ผู้เข้าร่วมประชุม นาง วิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง มณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นาง ภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย อดุลย์ วุฒิจูรีย์พันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง อัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. วราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย บุญฤทธิ์ ประสิทนราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย ไพฑูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง วาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. จิราพร วิศิษฐ์โกศล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. อรทัย แซ่ตั้ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย สืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย เสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย ภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. จิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. วิภาวรรณ นวลทอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. ดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพ
นาย กัญตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. พัชชา สุวรรณรอด พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. ชลธิชา จับคล้าย พยาบาลวิชาชีพ
นาย อรรถพล ยิ้มยรรยง พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. สายฝน ชมคำ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. วัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. จิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ
วาระที่ ๑ ประเด็นของการทำการจัดการความรู้
ประธานแจ้งเรื่องการทำ KM ของวิทยาลัยด้านการวิจัย(บันทึกของปีการศึกษา ๒๕๕๕) คือ การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน ซึ่งได้เชิญวิทยากร จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ??????????อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์และ อ.พรรณพิไล? สุทธนะ ที่มีผลงานจากการได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอก
วาระที่ ๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิทยากรทั้ง ๒ ท่านดังนี้

อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เขียนโครงการวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเอง

๑.๑? ต้นทุนในตัวเอง

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากก้าวเป็นเชี่ยวชาญ

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ

- เครือข่าย KM หรือพี่เลี้ยง

๑.๒? แนวโน้มสถานการณ์ทางสุขภาพและระบบสุขภาพ และการรับมือกับปัญหาในอนาคต แหล่งทุนสนับสนุน

๑.๓? ความสอดคล้องและเป็นไปได้ของความฝันสู่การกำหนดประเด็นการวิจัย

๒.? กำหนดประเด็นการศึกษาวิจัยและแนวการทำงานวิจัยให้สำเร็จโดยบูรณาการกับชีวิต Routine to Research

- เลือกหัวข้อ/ประเด็นการทำวิจัยที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น งานสอนในชุมชน/ward

- หาประเด็นปัญหาจากสภาพปัญหา

- ?Research design

๓.? ปรึกษาพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา? เป็นสิ่งสำคัญเราพะจะเป็นผู้ที่ช่วยมองภาพและสะท้อน ดังนั้นควรเลือกเรื่องหรือที่ปรึกษาที่เราชอบและอยากได้ข้อเสนอแนะ

อ.พรรณพิไล? สุทธนะ เสนอแนวทางการเขียนโครงร่างงานวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุนจากภายนอกดังนี้

๑.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุน ว่ามีประเด็น Theme อะไรบ้าง ให้นำ Keywords ที่สำคัญเหล่านั้นมาใส่ในหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์

๒.? ในการเขียนโครงร่างควรมีความชัดเจน หาจุดเด่น และบอกว่าหลังจากทำเสร็จแล้วจะได้นวัตกรรมหรือเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างไร

๓.? สร้างสัมพันธภาพกับเจ้าของแหล่งทุน เช่น สปสช. สามรถโทรศัพท์สอบถามประเด็นที่ สปสช. สนใจก่อนเขียน

๔.? ดูตัวอย่างที่คนอื่นเขียน โดยเฉพาะงานที่ได้รับทุน

อ.ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล แลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับการได้รับทุนจาก สบช. และของวิทยาลัยว่า การเขียนโครงร่างขอทุน ควรดูที่ Theme ของแหล่งทุนก่อนว่าเน้นไปทางใด ซึ่งถ้าตรง Theme ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน และในการเขียนโครงร่างขอทุนควรเขียนให้ชัดเจนทั้งความเป็นมาของปัญหา และ Methodology และงานวิจัยที่ทำควรมีผลกระทบในวงกว้าง

อ.สืบตระกูล? ตันตลานุกุล แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอก สิ่งสำคัญ คือ ระยะเวลาที่จะทำทั้งการเขียนโครงร่างงานวิจัยเนื่องจากระยะเวลาที่แหล่งทุนพิจารณา มักกระชั้นชิด และการทำวิจัย อยากให้วิทยาลัยจัดทีม ระบบที่ปรึกษาให้
อ.ไพทูรย์? มาผิว แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการส่งโครงร่างวิจัยแล้วไม่ได้รับทุนเนื่องจากปัญหาคือการเขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้องกับแหล่งทุน
อ.ศศิธร? ชิดนายี เสนอว่าปัจจุบันทุนภายนอกรวมเป็นแหล่งทุนเดียวกัน? มีระยะเวลารับที่แน่นอน ตามที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ วช.ได้เคยให้ข้อเสนอคือ สิ่งแรกที่ดูคือ Format หากไม่ถูกต้องจะถูกคัดออก และสิ่งสำคัญคือสามารถ วางแผนได้ที่จะทำชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการคือ การทำในลักษณะภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อไป
อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เพิ่มเติมเรื่องการไปฝึกหัดกับรุ่นพี่ที่ได้รับทุนมาก่อนจะได้รับประสบการณ์และพัฒนาการทำวิจัย สิ่งสำคัญคือ หลังได้รับทุนวิจัยแล้วต้องบริหารจัดการให้สำเร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดของแหล่งทุนและค้นหาแหล่งทุน
วาระที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้
สรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเขียนโครงร่างอย่างไรให้ได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเองว่ามีความถนัด/สนใจ/ต้องการเชี่ยวชาญในเรื่องใด

๒.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุนทั้งในแง่ Format ประเด็นที่แหล่งทุนให้ความสนใจ ระยะเวลาที่ส่งโครงร่าง

๓.? การเขียนโครงร่างควรมี Keywords ที่แหล่งทุนต้องการมีจุดเด่น นวัตกรรมและผลกระทบในวงกว้าง

๔.? ดูตัวอย่างการเขียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อนำปรับใช้

๕.? มีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำปรึกษา

๖.? ควรมีเครือข่ายเพื่อที่จะสามารถทำงานได้สำเร็จ

…………………………………….

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

ผู้บันทึกการประชุม

………………………………………….

(นางศศิธร ชิดนายี)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

๗.? ค้นหาแหล่งทุนแบบเชิงรุก๘.? ฝึกหัดทำวิจัยกับรุ่นพี่

รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by paitoon on วันอังคาร 12 มีนาคม 2013 at 10:01 am

รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๑๔๔

—————————————————————————————————————————

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.????? นางศศิธร???????? ????????? ชิดนายี?????????? ประธาน

๒.????? นางนิศารัตน์?????????????? นาคทั่ง?

๓.????? นางอนัญญา?????????????? คูอาริยะกุล

๔.????? นางสุธีรา?????????????????? งามวาสีนนท์

๕.????? นางมณฑา??????? ????????? อุดมเลิศ

๖.????? นางสาววราภรณ์????????? ยศทวี

๗.????? นางสาวเสาวลักษณ์ ?????? เนตรชัง

๘.????? นายไพทูรย์?????? ????????? มาผิว

๙.????? นางวาสนา?????? ????????? ครุฑเมือง

๑๐.? นายสืบตระกูล?? ????????? ตันตลานุกุล

๑๑.? นางสาวอลิษา????????????? ทรัพย์สังข์

๑๒.? นายวีระยุทธ???? ????????? อินพะเนา

๑๓.? นายภราดร?????? ????????? ล้อธรรมมาฃ

๑๔.? นางจิราพร???????????????? ศรีพลากิจ

๑๕.? นางอรุณรัตน์???? ????????? พรมมา? เลขานุการที่ประชุม

ระเบียบวาระที่? ๑ กำหนดประเด็น

????????? อ.ศศิธร แจ้งให้ทราบว่า วิทยาลัยฯ กำหนดให้ภาควิชา จัดการ ความรู้ ด้านวิชาการ คือ การพัฒนาผลการสอบขึ้นทะเบียน ที่นำไปปฏิบัติจนเกิดแนวปฏิบัติที่ดี หรือการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนั้น การจัดการความรู้ในครั้งนี้จึงได้ทำเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

ระเบียบวาระที่? ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

????????? อ.สืบตระกูล ?ให้ความคิดเห็นว่า ในรายวิชาที่ฝึกปฏิบัตินั้นต้องดูรายละเอียดวิชาเพื่อมากำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เกี่ยวกับการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ จากการบูรณาการกับรายวิชา พบว่า สิ่งที่มีความสำคัญ การมีทุนทางสังคมที่ดีมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เช่น แพทย์ พยาบาล อสม.ในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจะทำให้ กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ จะประสบผลสำเร็จ

อ.ไพทูรย์ ให้ความคิดเห็นว่า เราเคยจัดการความรู้กันไปแล้วและได้แนวทางที่เคยแลกเปลี่ยน ดังนั้น วันนี้จะเป็นการหาแนวปฏิบัติที่ดีหลังจากที่ได้นำไปปฏิบัติมาแล้ว

????????? อ.นิศารัตน์ ให้ความคิดเห็นว่า ที่ผ่านมาการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ ทำในรายวิชาพลศึกษา

แล้วพบว่านักศึกษาสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ ทำสื่อได้ด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์และสร้างสื่อเป็นวีดีโอ เพื่อไปให้ชุมชนใช้ต่อไป

????????? อ.ไพทูรย์ ให้ความคิดเห็นว่า จากที่อาจารย์ได้กล่าวมาจะเห็นว่าเครือข่ายมีความสำคัญ โดยเฉพาะ แพทย์ พยาบาล อสม. การสร้างภาคีเครือข่างให้เข้มแข็งเป็นสิ่งที่ดีมาก

????????? อ.ศศิธร ให้ความคิดเห็นว่า ทุนทางสังคมที่ดี ในการสร้างเสริมสุขภาพ จะทำให้การสร้างเสริมสุขภาพประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน คือมีเครือข่ายที่ชัดเจน นอกจากที่กล่าวมา ยังมี อบต. ผู้ใหญ่ ประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นทุนที่ดีต่อสังคม นอกจากนี้ในการบูรณาการการเรียนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรมีการกำหนดสมรรถนะของการสร้างเสริมสุขภาพ ตามที่ WHO กำหนดไว้ เช่น การสื่อสาร ทีม การเขียนแผน/โครงการ และอื่น ๆ อีก จะทำให้จัดการสอนได้เห็น ภาพชัดเจน ดังนั้นต้องกำหนดไว้ใน มคอ. ตั้งแต่ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการสอน และการวัดประเมินผล

????????? อ.ไพทูรย์ สรุปประเด็นการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ดังนี้

?????????????????? ๑. วางแผนที่ชัดเจน มคอ. ๓, ๔ โดยเฉพาะวัถตุประสงค์ ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง

?????????????????? ๒. กำหนดสมรรถนะให้เกิดกับนักศึกษาในเรื่อง การสื่อสารที่ดี ทีมที่ดี การเขียนแผนงานและโครงการ

?????????????????? ๓. การมีเครือข่ายที่ดี

????????? อ.มณฑา ให้ความคิดเห็นว่า วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒ ในส่วนของเด็กจะมีกิจกรรมที่ชัดเจนและมีการประเมินผลมาเป็นคะแนนฝึกปฏิบัติ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาปฏิบัติ

????????? อ.นิศารัตน์ ให้ความคิดเห็นว่า ส่วนในของหอผู้ป่วยหู คอ จมูก จะเน้นไปการแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน D/C plan ในส่วนของ admit plan จะไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกิจกรรมการพยาบาลเท่านั้น จากการซักถามนักศึกษา กรณีให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยก่อนกับกลับ ถ้าแนะนำเป็นรายบุคคลจะดีกว่าการแนะนำเป็นกลุ่ม

????????? อ.วราภรณ์ ให้ความคิดเห็นว่า ในการบูรณาการต้องการนักศึกษาให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับ out come ที่ได้คือ ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถสร้างเสริมสุขภาพได้ด้วยตนเอง

????????? อ.ไพทูรย์ สรุปประเด็นการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้

?????????????????? ๑. การบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ วางแผนต้องมี มคอ. ที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

?????????????????? ๒. ทุนทางสังคม การบูรณาการได้ดีต้องมีภาคีเครือข่ายที่ดี

?????????????????? ๓. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาศัยการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดทีมที่ดี

?????????????????? ๔. จะต้องวัดผลที่เกิดกับนักศึกษา สำหรับผลที่เกิด กับผู้ป่วยหรือประชาชน ถือเป็น out come เชิงประจักษ์ สำหรับที่หอผู้ป่วยจะแตกต่างการประเมินผลของผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ระเบียบวาระที่? ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

???????? ผลการจัดการความรู้ในภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

๑.????? การบูรณาการที่เกิดในชุมชน

๒.????? การบูรณาการในหอผู้ป่วย

?

ระเบียบวาระที่? ๔ สรุปแนวทางปฏิบัติที่ดี

๑.????? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

๒.????? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๓.????? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๔.????? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๕.????? การวัดและประเมินผล

ปิดประชุม?? ๑๒.๐๐ น.

????????????????????????????????????????????????????????????? ??? ………………………………………….

????????????????????????????????????????????????????????????? ????? (นางอรุณรัตน์ พรมมา)

??????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้บันทึกการประชุม

???? ??? ????????????????????????????????????????????????????? ???………………………………………….

????????????????????????????????????????????????????????????? ???????? (นางศศิธร ชิดนายี)

????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????? ผู้ตรวจการประชุม

หน้าก่อนหน้าหน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro