• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

14/09/2015

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๕๘ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๕๘

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววรรณวดี??????? เนียมสกุล???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. นางสาวสุดารัตน์ ????? ไชยประสิทธิ์???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย?? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. นางสาวจิราพร???????? วิศิษฎ์โกศล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕. นางสาวพัชชา ???????? สุวรรณรอด ????? พยาบาลวิชาชีพ

๖. นางสาวสุกัญญา??????? ม่วงเลี้ยง????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย?การจัดการความรู้สำหรับภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ คือ กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์ในวันที่ ? ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ ?โดย คุณชาล สร้อยสุวรรณและคุณทองแสง ไชยแก้วโดยการประชุมในวันนี้ขอให้คณาจารย์ได้มีการสรุปความรู้ร่วมกันภายหลังจากที่ได้เรียนรู้ร่วมกันและนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แผนกฝากครรภ์โดยให้นักศึกษาแสดงละครเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่แผนกฝากครรภ์

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

ผลการจัดการความรู้ของภาควิชาฯที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แผนกฝากครรภ์โดยให้นักศึกษาแสดงละครเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่แผนกฝากครรภ์ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้

๑.????? การกำหนดบทบาทในตัวละคร ได้แก่ ใบงานสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มีประวัติต่าง ๆ อย่างละเอียดชัดเจน และให้นักศึกษาได้สวมใส่ชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงทำให้นักศึกษาผู้แสดงสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและเข้าใจถึงความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงมีลักษณะรูปร่างท้อง น้ำหนักใกล้เคียงกับหญิงตั้งครรภ์จริง

๒.????? การกำหนดบทบาทในตัวละคร ได้แก่ ใบงานสำหรับนักศึกษาแสดงเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์อย่างถ่องแท้ โดยนักศึกษาได้สะท้อนความคิดเห็นว่าขณะที่แสดงเป็นพยาบาลนั้นตนเองจะต้องตั้งคำถามที่เข้าใจชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่ถามในคราวเดียวกันหลาย ๆ คำถามเพราะจะทำให้หญิงตั้งครรภ์สับสน และต้องมีความละเอียดรอบคอบในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการพยาบาลที่ครอบคลุมปัญหาหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายที่มีบริบทที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ถ้าสามารถตั้งคำถามได้รวดเร็วและครอบคลุมก็จะทำให้ใช้เวลาในการให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์แต่ละรายน้อยลง ไม่ทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายต้องนั่งนานเกินไปทำให้ไม่สุขสบาย นักศึกษาบอกว่าการได้ฝึกซักประวัติก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงมีประโยชน์เพราะทำให้รู้ว่าควรต้องถามอะไรบ้าง เพื่อนำมาลงบันทึกในบัตรอนามัยมารดา

๓.????? ?นักศึกษาพยาบาลทั้งชายและหญิงที่ได้แสดงบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่สวมชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงต่างสะท้อนความรู้สึกที่เข้าอกเข้าใจความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ รู้สึกสงสารและเห็นใจที่ต้องอุ้มท้องที่หนัก รู้สึกปวดหลัง รู้สึกไม่สบายเนื้อตัว ปวดไหล่ เดินลำบาก นั่งนาน ๆ รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ และท้องที่ใหญ่กดกระเพาะปัสสาวะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ซี่งการสวมชุดเพียง ๒๐ นาทียังรู้สึกทรมาน แต่การตั้งครรภ์ที่แท้จริงนานถึง ๒๘๐ วันคนที่เป็นแม่จะทรมานมาก ๆ ทำให้คิดถึงบุญคุณของคนเป็นแม่ เข้าใจความรู้สึกของการตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น

๔.????? จากการสังเกตการแสดงบทบาทพยาบาลซักประวัติพบว่า การให้ซักประวัติจากบัตรอนามัยมารดาทำให้นักศึกษาตั้งคำถามตามบัตรอนามัยมารดาซึ่งมีรายละเอียดบางประการโดยเฉพาะประวัติทางสูติศาสตร์ไม่ครบถ้วน จึงควรมีการพัฒนารูปแบบคำถามสำหรับการซักประวัติให้ครอบคลุมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ภายหลังได้นำการแสดงละครมาใช้ในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น คณาจารย์ในภาควิชาได้สรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี: กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ได้ดังต่อไปนี้

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การแสดงละคร แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นเตรียมการ เป็นระยะที่สำคัญเพราะการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการมีบทละคร ที่มีเนื้อหาและบทแสดงที่กำหนดไว้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นการเตรียมการจึงประกอบด้วย

๑.๑ จัดทำใบงานชี้แจงบทบาทพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และบัตรอนามัยมารดา

๑.๒ จัดทำใบงานชี้แจงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์

และข้อมูลประวัติส่วนตัวและประวัติด้านสูติศาสตร์

๑.๓ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการซักประวัติ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ ชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงขนาดน้ำหนัก ๘ กก. อายุครรภ์ประมาณ ๓๒ สัปดาห์

๑.๔ จัดทำคู่มืออาจารย์ และเฉลยแบบฝึกหัดบัตรอนามัยมารดา

๑.๕ จัดทำแบบประเมินคำถามปลายเปิดการสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาทการเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติและหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นแสดงละคร ดำเนินการดังนี้

๒.๑ ชี้แจงให้นักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ทราบวัตถุประสงค์ของการแสดงละครในครั้งนี้และแจกใบงานให้ศึกษา นาน ๑๕ นาที หากมีข้อสงสัยให้ซักถามอาจารย์นิเทศ

๒.๒ เริ่มแสดงละครในบทบาทที่กำหนดให้ นาน ๒๐ นาที

๒.๓ นักศึกษาที่แสดงเป็นพยาบาลลงบันทึกข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติในบัตรอนามัยมารดาและส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม

ขั้นที่ ๓ ขั้นสรุปและประเมินผล

๓.๑ อาจารย์ประจำกลุ่มตรวจให้คะแนนการลงบันทึกผลการตรวจครรภ์และแจ้งผลให้นักศึกษาที่แสดงเป็นพยาบาลซักประวัติทราบเพื่อการปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ เมื่อฝึกปฏิบัติจริงบนคลินิก

๓.๒ ให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาทการเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติและหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในแบบประเมินคำถามปลายเปิดการสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาท

๓.๓ อาจารย์อ่านผลการสะท้อนคิดของนักศึกษาแต่ละคน จากนั้นเข้ากลุ่มเพื่อสรุปผลการเรียนรู้จากการแสดงละครโดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดสะท้อนคิดในบทบาทที่ได้รับกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม

ข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

ภายหลังได้มีการสอนด้วยวิธีดังกล่าวนักศึกษาได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไปคือต้องการให้อาจารย์ได้จัดทำชุดคำถามที่มีการยกตัวอย่างการตั้งคำถามต่าง ๆ เช่น คำถามสำหรับการซักประวัติวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย? ประวัติการแท้ง ประวัติการคลอดบุตร เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีแนวทางในการใช้คำถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความครบถ้วนแม่นยำมากยิ่งขึ้น

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ในปีการศึกษาต่อไป เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ?????????????????.. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาว สุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ?????????????????.. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

11/09/2015

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๑๐. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๑. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓.นายกันตวิชญ์???? จูเปรมปี?????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๔.นายนพรัตน์?????? สวนปาน????????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์? 3-4 กรกฎาคม? 2558?โดย ดร.เชษฐา แก้วพรม และ ขอให้มีการสรุปความรู้ร่วมกัน

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

แนวปฏิบัติที่ดี

1.ทบทวน LO ในรายวิชาที่รับผิดชอบ การสอนแบบ Reflective สามารถตอบ LO ในDomain ใด

2.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

3.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

- ซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม

4.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา

5.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking

6.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

7.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง 6 ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา 4 ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก 4 สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ

1 ครั้ง

8.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้……………………………………………

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๔. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๙. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๐. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ

รายยามผู้ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

๑.ดร.ดุจเดือน?????????? เขียงเหลือง???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ (ติดราชการ ม.เรศวร)

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ทบทวนการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่? 3-4 กรกฎาคม? 2558?หลังการอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและภาควิชาได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 ( 13 กรกฎาคม? 2558)?

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

การนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ และพัฒนาให้เกิดแนวปฏิบัติใหม่

1.ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้มีการเตรียมอาจารย์โดยมีการเชิญ ดร.เชษฐา? แก้วพรม

ผู้มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน reflective thinking มาบรรยาย และฝึกกระบวนการทำ

reflective thinking จำนวน 2 วัน ?วันที่ 3 -4 ก.ค. 58

2.ภาควิชาฯ สรุปแนวปฏิบัติที่การเรียนการสอนแบบ reflective thinking เพื่อนำไปใช้

3.มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดย

อ.อดุลย์ ?ได้เตรียมผู้สอนโดยอธิบายแนวคิดการเรียนแบบสะท้อนคิดในชั่วโมงแรกของการเรียน

4.อ.อดุลย์ นำเสนอผลการนำไปใช้ในรายวิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ดังนี้

- ผู้สอนมอบหมายงานให้นักศึกษาจับคู่เลือกพื้นที่ศึกษาชุมชนเข้มแข็ง เช่น ชุมชนที่บ้านของตนเอง หรือ ชุมชนที่นักศึกษาสนใจ? แล้วให้เขียนรายงานผลการศึกษา ประกอบด้วยไปศึกษาได้อะไรมาบ้าง ชุมชนมีรูปแบบการดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างไรและให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแบบประเมินบันทึกสะท้อนคิด ตามกรอบแนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

- ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 10 ? 12 คน ให้ผู้เรียนอ่านบันทึกการสะท้อนคิดของแต่ละคนแก่สมาชิกในกลุ่มได้รับฟัง ?พร้อมฝึกนักศึกษาให้ข้อเสนอแนะเพื่อนภายในกลุ่มเพื่อการเรียนรู้? โดยไม่นำมาคิดคะแนน หลังจากนั้นผู้สอนสุ่มบันทึกการสะท้อนคิดแก่สมาชิกหน้าชั้นเรียน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาเพิ่มเติม

- ผลการประเมินโดยผู้สอนพบว่า ไม่สามารถสะท้อนกลับบันทึกการสะท้อนคิดได้ครบทุกคน เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีมาก ( 97 คน) ต่ออาจารย์ผู้สอน 1 คน อีกทั้งไม่สามารถพัฒนาการสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนำมาทดลองสอนเพียง 1 ครั้ง ผลการประเมินรายวิชาจากนักศึกษาพบว่า ไม่ควรจัดการเรียนการสอนแบบให้นักเรียนให้คะแนนตามเกณฑ์กันเอง เช่น การให้คะแนนสะท้อนคิดเนื่องจากแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน(หมายเหตุ ผู้สอนไม่ได้นำคะแนนจากนักศึกษามาคิดตัดสินผลการเรียนรายวิชา)

- ข้อเสนอแนะ

1.หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคทฤษฎี ควรมีการเตรียมผู้สอน? จัดให้มีอาจารย์หลายคนช่วยกันตรวจบันทึกสะท้อนคิด ( 1 ฉบับ ใช้เวลาตรวจประมาณ 20 ? 30 นาที) เพื่อสะท้อนกลับแก่นักศึกษาครบทุกคน?? การเรียนแบบสะท้อนคิดในรายวิชาควรมีความต่อเนื่องพัฒนาเชิงกระบวนการในรายวิชานั้นๆ

2. จากการทบทวนเชิงวิชาการพบว่า ควรมีการฝึกเขียนรายงานสะท้อนคิดอย่างน้อย 6 ครั้ง จึงเชื่อว่าจะสามารถพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

3. หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ น่าเหมาะสมมากกว่า เนื่องสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาไม่เกิน 8 คน

4. ควรมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับให้ตรงเวลา ก่อนที่นักศึกษาจะเขียนรายงานสะท้อนคิดครั้งต่อไป เพื่อให้นักศึกษาได้มีการนำข้อมูลที่อาจารย์สะท้อนไปพัฒนาในครั้งต่อไป

พัฒนาแนวปฏิบัติใหม่

จากการนำแนวปฏิบัติเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking ไปใช้ พบว่าเกิดข้อจำกัดในทางปฏิบัติ ทั้งในด้านระยะเวลา ผู้เรียน และทีมผู้สอน ทางภาควิชาจึงได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแนวปฏิบัติใหม่ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

1. คัดเลือกรายวิชาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking และทบทวน LO ในรายวิชาที่คัดเลือกที่สามารถตอบ LO ใน Domain ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา

2. เตรียมผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้

2.1 อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด โดยการซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

2.2 อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา

2.3 จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

3. เตรียมผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้

3.1 ชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

3.2 ฝึกบันทึกแบบสะท้อนคิด การตั้งคำถาม และการใช้แบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

3.3 ชี้แจงการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking

4. หลังจากผู้เรียนทำ Reflective writing ผู้สอนต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับผู้เรียนทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้

มติที่ประชุม รับทราบ

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวชลธิชา จับคล้าย)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

10/09/2015

การถอดบทเรียนเทคนิคการบริหารงานวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 8:59 am
Reactions :10 comments

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การถอดบทเรียนเทคนิคการบริหารงานวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ

จากการประชุมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารงานวิจัย ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ที่ห้องประชุมบานชื่น สรุปแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยให้ประสบผลสำเร็จ ดังนี้

๑.ผู้วิจัยควรศึกษาทำความเข้าใจขอบเขตและกระบวนการดำเนินงานการผลิตผลงานทางวิชาการ การวิจัย/งานสร้างสรรค์ ตำราที่ตนเองสนใจ

๒. เน้นการบูรณาการงานวิจัยกับงานประจำและวิถีชีวิต

๓. มีวินัยและกำกับตนเองให้งานเป็นไปตามแผน

๔.ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและปรับพัฒนางานและแผน

๕.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

๖. ทีมวิจัยหรือคณะทำงานควรเป็นผู้ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน

๗. ควรมีใจรักในงานวิชาการ

๘. ศึกษาเรียนรู้แนวทางการจัดการจากผู้รู้ที่สำเร็จในการขับเคลื่อนงานทั้งโดยการขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเอกสารของผู้ที่สำเร็จในด้านต่างๆเช่น การเขียนโครงร่าง การเบิกจ่ายต่างๆเป็นต้น

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๘

09/09/2015

HUMANISTIC CARE

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: dao
Time: 8:31 am
Reactions :14 comments

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

สรุปการจัดการเรียนรู้ โดยภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

แนวปฏิบัตินี้เกิดขึ้นจากการดำเนินการของภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนก สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องตามทิศทางของการพัฒนาการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก ทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการพัฒนาตามปรัชญาการสาธารณสุขแนวใหม่ คือ การเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยมีนโยบายให้วิทยาลัยนำไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อมีเป้าหมายในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้และสมรรถนะเชิงวิชาชีพ มีความคิดวิจารณญาณและความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของความเข้าใจมนุษย์และสังคมที่เป็นจริง สามารถนำความรู้ประยุกต์ไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เข้าใจมนุษย์อย่างแท้จริง โดยการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์นี้ ได้มีการปรับกระบวนการเรียนการสอนใช้แนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งใช้การเรียนรู้จากสภาพจริง (authentic learning) และพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนเป็นกลไกสำคัญ ด้วยแนวคิดองค์รวมที่เชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับสังคมที่เน้นรากฐานแห่งความเป็นมนุษย์และชีวิตจริงในสังคม ภาควิชาฯ กำหนดเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยกำหนดเป็นขั้นตอนการดำเนินการ ๓ ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นเตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ มีดังนี้

๑. การออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยมีหลักการ ดังนี้

๑.๑ อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันทำความเข้าใจกับนิยามและความหมายของการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เนื่องจากมีความเป็นนามธรรมค่อนข้างสูง ดังนั้นการวางโปรแกรมการเรียนการสอนที่ดีจะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์และสังคม ร่วมกับการเรียนรู้จากสภาพจริง ตลอดจนการวางแผนในการประเมินพฤติกรรมการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนต้องมีความเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการภายหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน

๑.๒ อาจารย์ในภาควิชาฯ ร่วมกันกำหนดกระบวนการ/รูปแบบที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ได้แก่ VARK learning style, Demonstration-Return Demonstration Method, Game, Panel Discussion, Case Study, Authentic learning เป็นต้น โดยนำมาใช้ในแต่ละกิจกรรม/โครงการของภาควิชาที่ดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย

- โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒

- โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

- โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง ยืดเหยียดผ่อนคลาย ส่งเสริมกายใจ ผู้สูงวัยแข็งแรง

- โครงการโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสู่องค์กรการเรียนรู้ การเสวนา เรื่อง ?Humanistic care : แก่นแท้หรือแค่เปลือก?? ?โดยวิทยากร ระยะที่ ๑ : คุณดารา ยาร์ด และวิทยากร ระยะที่ ๒ : คุณเพ็ญลักขณา ขำเลิศ

๑.๓ เตรียมสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ส่งเสริม/สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้มีอิสระในการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย

๑.๔ เตรียมผู้เรียน โดยการชี้แจงผู้เรียนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดทำกิจกรรม/โครงการและมอบหมายกิจกรรมที่ต้องเตรียมล่วงหน้า นอกจากนี้การเตรียมความรู้พื้นฐานการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มีการบรรยายด้วยเนื้อหาการเรียนภาคทฤษฎีแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถนำสู่การดำเนินกิจกรรมได้

๒ ขั้นสอน

๑) ?ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้เรียนจะได้รับการสอนเกี่ยวกับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการบรรยายเนื้อหาภาคทฤษฎี ซึ่งอาจเป็นแบบภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ดิวีดีประกอบการเรียนในเนื้อหาของรายวิชาภาคทฤษฎี ได้แก่? รายวิชา มโนมติ ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล และรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ซึ่งการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อที่มีความหลากหลาย จะทำให้นักศึกษามีการรับรู้ทางประสาทจากการมองเห็น (Visual) และการได้ยิน (Auditory/Audio) อาจทำให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ทางด้านอารมณ์และความรู้สึกร่วมด้วย

๒) การสอนในเนื้อหาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ภาควิชาฯ รับผิดชอบ มีการนำเทคนิคและวิธีการสอนมาใช้เพื่อพัฒนานักศึกษาในการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่หลากหลาย ประกอบด้วย VARK learning style, Demonstration-Return Demonstration Method, Game, Panel Discussion, Cooperative Learning, Team based Learning, Case Study analysis Group Discussion, Story Telling, Case Study Authentic learning ซึ่งวิธีการสอนในแต่ละรูปแบบทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อการพัฒนานักศึกษาให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์ได้ เช่น การสอนภาคปฏิบัติ อาจารย์สอนโดยสอดแทรกไว้ในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องต่างๆ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และการศึกษาผู้ป่วยกรณีศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจปัญหาความต้องการของผู้ป่วยตามบริบทและเงื่อนไขของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิต บูรณาการความรู้ตามทฤษฎีกับความรู้จากชีวิตจริงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ

๓) กิจกรรมเสริมหลักสูตร ในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตและอัตลักษณ์ของบัณฑิตที่ว่า ?บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? ซึ่งภาควิชามีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมนักศึกษาให้มีความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยเริ่มต้นจากการให้โอวาทเรื่อง การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคปฏิบัติและการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และปฐมบทอัตลักษณ์บัณฑิตนำทางแนวคิด เรื่อง ?สร้างมหัศจรรย์ชีวิตด้วยการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตเมตตา? กิจกรรมสร้างฐานเปิดจิต คิดแบบเปิดใจ เพื่อให้นักศึกษาแสดงความรู้สึกเมื่อต้องการให้การพยาบาลผู้ป่วยครั้งแรก จากนั้นเป็นการเสริมสร้างพลังใจจากความห่วงใยครูสู่ศิษย์ นอกจากนี้นักศึกษายังได้รับฟังการบรรยายธรรมเทศนาและรับพรชีวิต เรื่อง ?พุทธธรรมการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? ซึ่งภาควิชาฯ มีความเชื่อว่า พุทธศาสนาถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลและเป็นคุณธรรมขั้นต้นที่บุคคลพึงมีและปฏิบัติได้ และสามารถนำไปปฏิบัติในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลได้จริง การบรรยาย เรื่อง ?พลังของชีวิตคือการคิดบริการด้วยใจ? เป็นการเสริมสร้างพลังใจแก่นักศึกษาให้เข้าถึงการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ กิจกรรมสุดท้ายของโครงการคือ การนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม ซึ่งรวบรวมข้อมูลและมีการวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้สถานการณ์จริง ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะได้รับฟังการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้องจากอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งผลการประเมินภายหลังการดำเนินโครงการพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๗ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีข้อเสนอแนะว่า เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้มีแรงบันดาลใจในการขึ้นวอร์ด ทำให้รู้ว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรก่อนที่จะขึ้นวอร์ด และช่วยให้ลดความกลัวและความวิตกกังวล นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพมากขึ้น

๔) ภาควิชาฯ ดำเนินโครงการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง ?ยืดเหยียดผ่อนคลาย ส่งเสริมกายใจ ผู้สูงวัยแข็งแรง? ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลแก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ในการดูแลสุขภาพบุคคลทุกช่วงวัยทั้งในภาวะเจ็บป่วยและภาวะที่สุขภาพดี โดยส่งเสริมให้นักศึกษาให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเป็นการให้ความรู้และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ทำให้นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสุขภาพกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมความรู้และทักษะในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในชุมชน และกลุ่มคน ที่อยู่นอกเหนือการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย

๕) ภาควิชาฯ ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ ?Humanistic Care : แก่นแท้หรือแค่เปลือก?? ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในระยะที่ ๑ โดยวิทยากร คุณดารา? ยาร์ด และระยะที่ ๒ คุณเพ็ญลักขณา ขำเลิศ โดยมีการนำประสบการณ์มาเล่า และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวิทยาลัย โดยเชิญผู้มีประสบการณ์จากภายนอกและภายในมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมการเสวนานำแนวคิด/ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการเป็นแรงบันดาลใจให้สามารถดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตของนักศึกษาและอัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยฯ ที่ว่า ?บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? นอกจากนี้ยังสามารถนำสิ่งที่ได้รับไปถ่ายทอดและแนะนำแก่ผู้อื่นให้เข้าใจในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

๓ ?ขั้นประเมินผล

การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้น ควรมีการประเมินผลอย่างครอบคลุมเพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการภายใต้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดังนี้

๑) ?ด้านผู้สอน ควรเป็นแบบอย่างที่ดี (Role model) ในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เช่น ให้เวลารับฟังผู้ป่วย รับฟังนักศึกษาด้วยความเข้าใจไม่ตัดสินไปก่อน ส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ไวต่อความคิดของผู้เรียน และให้กำลังใจผู้เรียน มีทักษะการฟังอย่างมีสติ มีทักษะการตั้งคำถาม ช่างสังเกต และมองเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

๒) ?ด้านผู้เรียน ควรมีทักษะการฟังอย่างมีสติ ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง มีทักษะการตั้งคำถาม มีสติ เปิดใจยอมรับและกล้าแสดงความคิดเห็น มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ตัดสินความคิดเห็นของผู้อื่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น และมีความสุขในการเรียน

๓) ด้านกระบวนการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์ มีสื่อ สิ่งสนับสนุนและอุปกรณ์การเรียนรู้ มีอิสระในการเรียนรู้ มีกระบวนการกระตุ้นให้คิดตลอดเวลา และมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน

๔) ด้านวิธีการสอน ควรมีวิธีการสอนที่หลากหลาย การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การเล่าเรื่อง สุนทรียสนทนา การใช้ประสบการณ์ สถานการณ์ ทักษะการตั้งคำถาม และการถอดบทเรียน

๕) การวัดและประเมินผล มีการประเมินตามสภาพจริง การทวนสอบ และการถอดบทเรียน

ความรู้ที่ได้ใหม่จากการจัดการความรู้

หลังจากการดำเนินการจัดการความรู้ของภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล อาจารย์ในภาควิชาได้เข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้? หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้น โดยเรียกชื่อว่า กระบวนการจัดการความรู้ด้านการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ?(Knowledge Management : Humanistic care) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

1)?? การกำหนดความรู้ โดยศึกษาถึงความสำคัญและความเป็นมาในประเด็นความรู้ที่เราต้องการนำมาดำเนินการเพื่อความชัดเจนต่อการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย การดำเนินการ และการประเมินผลการดำเนินการ เช่น การศึกษาวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของวิทยาลัยฯ ประเด็นที่ได้คือการ การใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตที่บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัย

2)?? การสร้างและแสวงหาความรู้ ?ภาควิชาฯ มีการทบทวนความรู้เรื่องการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ใหม่ ว่ามีเรื่องใดที่อาจารย์มีความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การดำเนินการที่ผ่านมาในปีการศึกษา ๒๕๕๖ (ความรู้เดิม) เราจะแสวงหาความรู้จากภายนอกได้จากที่ใดบ้างทั้งแหล่งเรียนรู้ใหม่ที่เป็นปฐมภูมิ (primary resource) หรือทุติยภูมิ (secondary resourse) และเราควรจะมีแนวทางในการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยวิธีใดเพื่อประโยชน์ต่อการวางแผนในการนำไปใช้และการประเมินผลต่อไป

3)?? การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ?เป็นการวางโครงสร้างความรู้ ? ความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ทำให้อาจารย์ในภาควิชาฯ เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ต้องมีการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ?เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ จัดเก็บในรูปแบบแผ่นบันทึกภาพ (VCD หรือ DVD) หรือผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ทำให้ผู้สนใจเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและสะดวก

4)?? การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

5) การเรียนรู้ ?ภาควิชามีการวางแผนทำให้การเรียนรู้เรื่อง Humanistic care เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานในองค์กร การนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนครบวงจรคุณภาพ (PDCA)

กระบวนการจัดการความรู้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่ได้นี้เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากการดำเนินการมาตั้งปีการศึกษา ๒๕๕๖ ?๒๕๕๗ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จะเป็นวงรอบที่จะต้องมีการวางแผนการประเมินผลในภาพรวมหลังการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

ครั้งที่? 8/2558? วันที่ 17 กรกฎาคม 2558

เวลา 15.30 -16.30 น. ณ ห้อง 327 อาคารเรียน 3

รายชื่ออาจารย์เข้าประชุม

  1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???????????? ประธานการประชุม
  2. นายนภดล เลือดนักรบ
  3. นางสาวสุปราณี หมื่นยา
  4. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ???????? เลขานุการ

เปิดประชุมเวลา 15.30 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 การจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

เรื่องที่ ๒ สืบเนื่องการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการเตรียมการจัดการความรู้ระยะที่ ๒ หัวข้อ ?การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒?

เรื่องที่ ๓ แนวทางการประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนานักศึกษาด้านการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๗/255๘

-????????? รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๗/255๘ ไม่มีการแก้ไข

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

3.1 จากการประชุมครั้งที่ ๗/255๘ เดือนมิถุนายน 255๘? หน้า ๒ ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องหารือ เกี่ยวกับการประสานงานวิทยากรที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ เรื่อง ?การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒? ที่กำหนดไว้ในร่างกำหนดการ วันที่ 17 กรกฎาคม 255๘ สรุปจากการประสานงานคือ วิทยากร ชื่อ นางเพ็ญลักขณา ขำเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชที่ 18 ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลด้านการดูแลผู้ป่วยระดับประเทศหลายรางวัล เป็นผู้แต่งหนังสือ ?พยาบาลไร้หมวก? สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมการจัดการความรู้จากเดิมกำหนดไม่เกิน 35 คน ใช้ห้องประชุมบานชื่น ผลจากการประสานกับวิทยากรได้รับข้อเสนอแนะให้มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมมาฟังมากขึ้นและควรมีการประชาสัมพันธ์ไปยังพยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึกทุกแห่งทั้งโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยไม่มีอาหารและอาหารกลางวันให้จากมติที่ประชุมในคราวที่ผ่านมาว่าให้ เพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจัดการความรู้ โดยไม่มีอาหารกลางวันและอาหารว่างแก่ผู้เข้าร่วมจัดการความรู้นั้นต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มีบริการอาหารและอาหารว่างเนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนจากลุ่มงานวิจัยฯ จำนวนประมาณ 14,000 กว่าบาท ข้อสรุปสุดท้ายได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยการรับแจ้งจากรองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ ด้านการเบิกจ่ายที่ไม่สามารถดำเนินการได้จากความคิดเห็นของงานการเงิน ภาควิชาฯ จึงได้ดำเนินการบริหารจัดการให้มีการบริการอาหารกลางวันและอาหารว่างตามเดิมเนื่องจากได้แจ้งผู้เข้าร่วมจัดการความรู้ไว้แล้วหลังจากได้รับทราบเรื่องเงินงบประมาณ 14,000 กว่าบาทนั้น ผลการดำเนินการพบว่าไม่มีปัญหาใด

มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบงวาระที่ ๔ เรื่องหารือที่ประชุม

4.1 หารือที่ประชุมเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการวางแผนที่จะมีการจัดการความรู้เป็นระยะนับตั้งแต่ขั้นเตรียมการ? ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้แบบวิเคราะห์การดำเนินการในรายวิชาทฤษฎีหลักการและเทคนิคการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล จนกระทั่งจากการจัดการความรู้ในเวทีที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ 1 โดยคุณดารา ยาร์ด? วิทยากรและ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒? โดยคุณเพ็ญลักขณา ขำเลิศ สอบถามความคิดเห็นจากที่ประชุม

มติที่ประชุม: เห็นด้วยที่จะมีการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ในทุกระยะ และจากการดำเนินการกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการเตรียมความพร้อมฯ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลภาคทฤษฎี ทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยในการประชุมครั้งนี้ ในระเบียบวารที่ 5 เรื่องอื่นๆ? จะเป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาฯ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงจากการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปยังการวางแผนในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป สรุปเป็นขั้นประเมินผลอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน และเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลที่เป็นรูปธรรรมต่อไป

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

5.1 การจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ขั้นเตรียมการ อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ ?มีการวางแผนการจัดการเรียนกาสอน

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่กับแนวคิดการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

1.1?? ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้และกระตุ้นให้

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด? ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลและวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลเลือกวิธีการ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏี ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ (Demonstration-Return Demonstration Method) ในการเรียนภาคทดลองในห้องปฏิบัติการ และการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ และใช้วิธีการศึกษาจากสถานการณ์จริง (authentic learning) ในการเรียนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วย

1.2 เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคทดลอง? การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในโครงการและการฝึกภาคปฏิบัติดังนี้

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
1. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี) VARK learning style -VCD /เครื่องเสียง/ปากกา/กระดาษ/เอกสารประกอบการสอน
2. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทดลอง) Demonstration-Return Demonstration Method -หุ่นจำลอง

-วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-อาจารย์ผู้สอน

-แบบประเมินผล

3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Panel Discussion

Game

Cooperative Learning

Team based Learning

Case Study analysis

-วิทยากร

-อาจารย์ภาควิชาฯ

-นักศึกษา

-อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Group Discussion

Story Telling

-รายงานผู้ป่วย (chart)

-VCD

4. ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล Case study

Authentic learning

-อุปกรณ์บนหอผู้ป่วย

-สถานการณ์บนหอผู้ป่วย

-อาจารย์/นักศึกษา

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา/ผู้ดูแลผู้ป่วย

-พยาบาลและทีมสหวิชาชีพ

5. การจัดการความรู้เรื่อง การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒ โดยคุณดารา ยาร์ด -วิทยากร

-ผู้เข้าร่วมจัดการความรู้

(น.ศ.ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์)

6. การจัดการความรู้เรื่อง? การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒ โดยคุณเพ็ญลักขณา ขำเลิศ -วิทยากร

-ผู้เข้าร่วมจัดการความรู้

(rพยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึก, น.ศ.พยาบาล และอาจารย์)

1.4 วางแผน จัดลำดับและแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยอาจารย์ภาควิชาฯ มีการระบบการวางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรม โดยการแจ้งระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ภาควิชาฯวางไว้ มอบให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรดำเนินการให้เรียบร้อย

1.5 การแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เห็นว่าในแผนจัดการศึกษาการแบ่งกลุ่มนักศึกษาได้กำหนดไว้แล้วขอให้อาจารย์พิจารณาความเรียบร้อยอีกครั้ง สำหรับกลุ่มในการเรียนภาคทดลอง อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนจำนวนเฉลี่ย 12 ?13 คน/กลุ่ม และมีการกระจายนักศึกษาที่มีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดี ปานกลาง และพอใช้

2. ขั้นสอน อาจารย์ในภาควิชา ฯ เห็นควรดำเนินตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอน ขั้นนำสู่บทเรียน? ขั้นสอนเนื้อหา และขั้นประเมินผล

3. ขั้นประเมินผล? ในแต่ละการออกแบบการสอน จะกำหนดการประเมินผลไว้และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนและการออกแบบการเรียนรู้ที่ต้องมีการพัฒนาให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมต่อไป

สำหรับการจัดการความรู้ในปีการศึกษานี้ได้มีการดำเนินการโดยผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีทั้งนักศึกษา พยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึก อาจารย์พยาบาล และวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดังนั้นจึงให้ที่ประชุมได้แสดงความเห็นในการเรียนรู้ใหม่หรือความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ความรู้ใหม่ที่ได้รับและเกิดขึ้นเป็น Explicit Knowledge คือวงจรหรือกระบวนการการจัดการความรู้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ว่าควรจะมีการดำเนินการแบบเป็นขั้นตอน ได้แก่ 1)?? การกำหนดความรู้ 2)?? การสร้างและแสวงหาความรู้ ???3)?? การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ?4)?? การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ?และ 5) การเรียนรู้ ?โดยให้ชื่อว่า

มติที่ประชุม : ?เห็นตามที่จัดการความรู้ร่วมกันและมอบอาจารย์สุปราณี หมื่นยา บันทึกการถอดบทเรียน

ปิดการประชุม : 16.30 น.

……………………………………

(นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

………………………………………….

(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro