• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

01/08/2016

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การนำเสนอสรุปผลการจัดการความรู้

ดูการนำเสนอ ที่นี่ —> แนวปฏิบัติ PBL

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559]

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 2 รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยแนวปฏิบัติ ฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ? ? ? ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ????????????ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

2.6? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้???????????? ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

4.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

4.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

4.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

5.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

5.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู่แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

ขั้นที่2 :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : ?Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : ?Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : ?Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : ?Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : ?Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : ?Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาท????????????????? ที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ??? หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูล????????????? ที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่3 :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)

1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

ผลลัพธ์หลังเรียน PBL

การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้น ก่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้

ดูผลลัพธ์หลังเรียน PBL ที่นี่—>?ผลลัพธ์หลังเรียน PBL

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

07/08/2015

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) [ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558]

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้

โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558]

แนวปฏิบัตินี้ได้พัฒนาขึ้น จากการถอดบทเรียนตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ (KM) ของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ? โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ระหว่างวันที่ 24 ? 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จากนั้น อาจารย์ในภาควิชา จึงร่วมกันถอดบทเรียนและสรุปเป็นแนวปฏิบัติ? ?การจัดการเรียนการสอน??????????? แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 ตลอดจนพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จากนั้น ภาควิชาฯ จึงจัดการประชุม KM ของอาจารย์ในภาควิชาฯ ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนจากประสบการณ์การประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติดังกล่าว และปรับปรุงเป็นแนวปฏิบัติที่ดี ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) โดยแนวปฏิบัติ????????? ที่ดีดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้????????????? โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสารที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และ?????????????? นำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน???????????? ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning)ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

2.5 ?? ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

4.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

4.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู่แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

ขั้นที่2 :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : Clarifying terms and conceptsผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : Identifythe problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : Analyse the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : Formulating learningobjective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา?????????????? เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่3 :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3 /2558

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 3 /2558 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ณ ห้องประชุม 114

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางมณฑา? ??????????? อุดมเลิศ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? ประธาน

2. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

4. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5.นางนิศารัตน์???????????? นาคทั่ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

6. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

7. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

8. นายไพทูรย์???????????? มาผิว???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

9. นางวาสนา????????????? ครุฑเมือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

10. นางสาวนัยนา???????? แก้วคง??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

11.นางอรุณรัตน์?????????? พรมมา?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

12.นายสืบตระกูล ??????? ตันตลานุกุล????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

13. นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ?????? เลขานุการ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

1. นางจิราพร????????????? ศรีพลากิจ ?????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ????????? ลาป่วย

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 92.86

เปิดการประชุมเวลา 13.00 น.

ประธานการประชุม นางมณฑา??????? อุดมเลิศ????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่

และผู้สูงอายุ

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย??????????????????? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยมีประเด็น คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งภาควิชาได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่? 13 มีนาคม? 2558? เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและภาควิชาได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 (13 มีนาคม? 2558)? ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง? (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติจริง และมีเวทีนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากการปฏิบัติจริง? จึงขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวของขั้นตอน PBL ตามลำดับเพื่อสรุปความรู้และนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากการปฏิบัติจริงในเวทีของวิทยาลัยต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่? และผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ เกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการ??????????? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL]) มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ห้อง A และ B รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL])? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ยังคงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) และ 3)? ขั้นประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอบแบบ PBL เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติม ดังนี้

1) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ

- จัดทำคู่มือควรใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

- คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรเพิ่มเติมแบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

- คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรเพิ่ม 2 ส่วนประกอบอีก 2 ประการ คือ 1) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 2) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสารที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง?? ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

- โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ควรเพิ่มกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

– ในเตรียมผู้เรียนนั้น ควรนำกระบวนการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL ด้วย โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

2) ขั้นที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางการปฏิบัติได้ดี ไม่มีเพิ่มเติมใดๆ

3) ขั้นที่ 3 : การประเมินผล มีข้อค้นพบเพิ่ม ดังนี้

- นอกจากจะต้องประเมินตามปัจจัยที่จำเป็นต้องประเมินแล้ว (ปัจจัยที่กำหนดไว้เดิม) ควรพิจารณาให้มีการประเมินแบบครอบคลุม 360 องศา

– วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

1.2 สรุปผลการถอดบทเรียน และนำไปปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL]) ฉบับปรังปรุง ครั้งที่ 2 มีรายละเอียด ดังนี้

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้

โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558]

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้????????????? โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสารที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และ?????????????? นำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน???????????? ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning)ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

2.6? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

4.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

4.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

ขั้นที่2 :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : Clarifying terms and conceptsผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : Identifythe problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : Analyse the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : Formulating learningobjective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา?????????????? เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่3 :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียน และให้นำไปเผยแพร่ในเวทีการประชุมระดับวิทยาลัยฯ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ……….ภราดร????? ล้อธรรมมา……..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายภราดร ล้อธรรมมา)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลงชื่อ………ไพทูรย์ มาผิว…………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายไพทูรย์ มาผิว)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ลงชื่อ……..นางมณฑา? อุดมเลิศ………ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางมณฑา? อุดมเลิศ)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันที่…..25../….มิถุนายน…./2558.

30/01/2015

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้

โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2557 ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ โดยวิทยากรผู้บรรยายคือ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถนำมาสรุปผลการถอดบทเรียนได้ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน เป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน ซึ่งคู่มือควรประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดีควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน

4.3? สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

ขั้นที่ 2 ? :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : Clarifying ?terms ?and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : Identify ?the ?problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : Analyse ?the ?problem ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : Formulate ?hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : Formulate ?learning objectives ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : Collect ?additional ?information ?outside ?the ?group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนต่างแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ 3 : ปิดโจทย์ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7: Synthesize and test the newly acquired and indentify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่ 3 ? :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

2.? ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

3.? ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

4.? โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

27 มกราคม 2558

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ณ ห้องประชุม 114

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางมณฑา? ??????????? อุดมเลิศ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? ประธาน

2. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

4. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นายไพทูรย์???????????? มาผิว???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

6. นางวาสนา????????????? ครุฑเมือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

7. นางจุฬาวรี???????????? ชัยวงค์นาคพันธ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

8. นางสาวศิริกาญจน์???? จินาวิน?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นางฆนรส?????????????? อภิญญาลังกร??? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

10. นางสาวนัยนา???????? แก้วคง??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

11. นางอรุณรัตน์????????? พรมมา?????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

12. นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา?????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

13. นายสืบตระกูล ?????? ตันตลานุกุล????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? เลขานุการ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

1. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ลาป่วย

2. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ไปราชการ

3. นางจิราพร????????????? ศรีพลากิจ ?????? พยาบาลวิชาชีพ? ????????????????? ลาคลอด

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 81.25

เปิดการประชุมเวลา 13.30 น.

ประธานการประชุม นางมณฑา??????? อุดมเลิศ????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่

และผู้สูงอายุ

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย??????????????????? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มา

ซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมติที่ประชุมกรรมการบริหารครั้งที่ 7/2557 วันที่? 30 กันยายน 2557 ได้มอบหมายการดำเนินการดังนี้ ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพใช้วิธี Humanistic care ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ใช้วิธี Didactic? method ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชใช้วิธี Reflective? thinking และภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุใช้วิธี Problem ? based Learning

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยมีประเด็นคือ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning แต่มุ่งเน้นเฉพาะเจาะจงไปที่กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ดังนั้น ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ กำหนดประเด็นการจัดการความรู้ของภาควิชา คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว ในวาระต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL])? เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีสู่การปฏิบัติและพัฒนานักศึกษาพยาบาลศาสตร์ โดยให้อาจารย์ของภาควิชาเล่าประสบการณ์ ทักษะ และความรู้ ตามประเด็นดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยความครบถ้วนของเนื้อหาผ่านแนวคำถาม ดังนี้

-? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) คือ อะไร และมีความสำคัญอย่างไร

- PBL มีขั้นตอน/กระบวนการเป็นอย่างไร/เคยทำมาเป็นอย่างไร

- มีอะไรหรือปัจจัยอะไรที่สำคัญบ้างที่เป็นตัวผลักดันหรือสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ/ล้มเหลว

จากกิจกรรมดังกล่าว อาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1. ความหมาย

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) หมายถึง วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน???????????? เป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

2. ขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 : เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้????????????? โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน ซึ่งคู่มือควรประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดีควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning)? ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ??????????????? ที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน

4.3? สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

ระยะที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ ??7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : Clarifying ?terms ?and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : Identify ?the ?problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : Analyse ?the ?problem ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : Formulate ?hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : Formulate ?learning objectives ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : Collect ?additional ?information ?outside ?the ?group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนต่างแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้

ระยะที่ 3 : ปิดโจทย์ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7: Synthesize and test the newly acquired and indentify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ระยะที่ 3 : ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

2.? ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

3.? ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

4.? โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียน และให้นำไปเผยแพร่ที่ web blog KM ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ www.unc.ac.th เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายสืบตระกูล? ตันตลานุกุล)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายไพทูรย์ มาผิว)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางมณฑา? อุดมเลิศ)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันที่…………./…………………../…………….

29/08/2014

แนวปฏิบัติที่ดี : การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

(ปรับปรุง ครั้งที่ ๒)

ขั้นตอนการดำเนินการ

ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในคำสำคัญร่วมกัน

การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น??????????? การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในคำสำคัญร่วมกัน ๒ คำ คือ ๑) การสร้างเสริมสุขภาพ และ ๒) การบูรณาการ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน

๑.๑. การสร้างเสริมสุขภาพ

องค์ประกอบที่สำคัญที่ควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย พฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

๑.๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

๑.๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้

๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)

๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)

๓) โภชนาการ (nutrition)

๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)

๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)

๑.๑.๓ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันได้แก่ ๑) ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล เช่น พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องหรือเคยทำแล้วมาในอดีต ปัจจัยส่วนบุคคลทั้งด้านกาย จิต สังคมและวัฒนธรรม และ ๒) ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม เช่น การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค????????????????? การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม อิทธิพลระหว่างบุคคลและจากสถานการณ์

๑.๑.๔ แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละช่วงวัย โดยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัย ควรให้ความสำคัญกับประเด็นแต่ละช่วงวัย ดังนี้

๑) วัยผู้สูงอายุ? กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จะได้ผลดี? เมื่อมีผู้นำกลุ่มที่ดีที่ได้มาจากกลุ่มผู้สูงอายุเอง? การทำกิจกรรมควรทำเป็นกลุ่ม? การได้รับความช่วยเหลือที่ดี และแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว และจากสังคม? การทำกิจกรรมกลุ่มควรคำนึงความเหมาะสมด้วย เช่น กิจกรรมที่ไม่โลดโผน? เพราะส่วนใหญ่วัยนี้ จะมีปัญหาเรื่องของข้อเข่าเสื่อม และกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศทั้งชายและหญิง

๒) วัยผู้ใหญ่ กิจกรรมควรคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ข้อจำกัดเรื่องของช่วงเวลาในการทำกิจกรรม ตลอดจน ภาระหน้าที่อื่นๆ

๓) วัยเรียน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควรมีผู้นำของกลุ่มเด็กเอง เช่น อสม.น้อยในโรงเรียนเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม รวมถึงกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่ชักจูงให้เด็กเข้าร่วมได้ ไม่น่าเบื่อ เช่น แสดงละครส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น

๑.๒ การบูรณาการ

องค์ประกอบที่สำคัญที่ควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย รูปแบบการบูรณาการ แนวทางการบูรณาการ การประเมินผลลัพธ์ของการบูรณาการ

๑.๒.๑ การบูรณาการ ตามความหมายศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานหมายถึง การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน

๑.๒.๒ รูปแบบการบูรณาการ (สิริพัชร์?เจษฎาวิโรจน์, 2546 อ้างในวารุณี คงมั่นกลาง, 2553)

๑) การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ?เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ ในลักษณะการหลอมรวมกันโดยการตั้งเป็นหน่วย (Unit)?หรือหัวเรื่อง (Theme)

๒) การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ เข้าในการสอน? โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี การสนทนา????????????????????? การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียนและการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น

๓) การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้?โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อมๆ กัน?เช่น?กระบวนการแสวงหาความรู้?กระบวนการแก้ปัญหา?และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด เป็นต้น

๔) การบูรณาการความรู้?ความคิดกับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆ กัน? เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น ?ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม ?

๕) การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ?เน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๖)การบูรณาการความรู้ในสถานศึกษากับชีวิตจริงของผู้เรียน?พยายามให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน?เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน

๑.๒.๓ แนวทางการบูรณาการ ในที่นี้จะเน้นการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น แนวทาง ก็คือ การกําหนดให้นักศึกษานําความรู้จากในชั้นเรียนไปจัดทําเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพกับผู้ป่วยจริง

๑.๒.๔ การประเมินผลลัพธ์ของการบูรณาการ นอกจากจะต้องประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาที่บูรณาการที่ควรเกิดขึ้นกับนักศึกษาแล้ว ยังต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล และสถาบัน เช่น

- ผู้เรียน เกิดสมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพอะไรบ้าง

- ผู้สอน มีองค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่ความเชี่ยวชาญในการสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ อะไรบ้าง

- ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ อย่างไร

- สถาบัน การบูรณาการช่วยประหยัดงบประมาณและเวลาในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร และได้องค์ความรู้ที่นำไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาให้มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร

ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร

ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนทางการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของรายวิชา ???????????ทั้งมคอ. ๓ และ ๔? ดังนี้

๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ตลอดจน? การพิจารณาผลลัพธ์เพิ่มเติมของการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น สมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพ ?โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ

กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา??????????????? อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจนให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา???????????? ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ ?(key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ

๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุ

ได้อย่างเหมาะสม

๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหา

สุขภาพได้

๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาล

ในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาล

และอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้

๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้

โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล

๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ

ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น

๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้

ปัญหาสุขภาพ กิจกรรมการดูแล กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ผู้ป่วยมีแผล Colostomy

การทำแผล Colostomy ??????????แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ดังนี้

๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing

๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy

กิจกรรมทั้ง ๒ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ

ปัญหาสุขภาพ กิจกรรมการดูแล กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน

ผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ

๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise

๒. การทำแผล แบบ wet dressing

๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)

๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ

๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)

ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการเตรียมการและดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ????????????ทั้งนักศึกษา ผู้สอน ผู้ป่วย ผู้ดูแล และชุมชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ

๔.๑ ด้านนักศึกษา ก่อนให้นักศึกษาดำเนินกิจกรรมตามแผน จำเป็นต้องทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ และความแตกต่างระหว่างมิติการดูแล ซึ่งจะทำเกิดความเชื่อมั่น ลดความเครียดต่อการปฏิบัติของนักศึกษาได้

๔.๒ ด้านผู้ป่วยและผู้ดูแล จำเป็นต้องพบปะเป็นระยะๆ อย่างความเหมาะสม??????????? เพื่อสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือในการดำเนินการ เพื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ

๔.๒ ด้านเครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้

๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น

๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน

ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล

๕.๑ การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ยังต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล และสถาบัน ดังนี้

๕.๑.๑ ผู้เรียน ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามรายวิชา และประเมินสมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพ

๕.๑.๒ ผู้สอน ประเมินความเชี่ยวชาญในการสร้างเสริมสุขภาพ

๕.๑.๓ ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล ประเมินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

๕.๑.๔ ชุมชน ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน

๕.๑.๕ สถาบัน ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสถาบัน เช่น ความคุ้มค่าของการดำเนินการ มีองค์ความรู้ที่นำไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชน

๕.๒ การวัดและประเมินผล ควรประเมิน ดังนี้

๕.๒.๑ การประเมินแบบ Formative evaluation เป็นการประเมินผลขณะที่กำลังมีการดำเนินการอยู่เป็นระยะๆ อย่างเหมาะสม แล้วนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทันเวลา

๕.๒.๒ การประเมินแบบ Summative evaluation เป็นการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้ว เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์หรือประสิทธิผลที่เกิดขึ้น สามารถกระทำได้ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือนหลังดำเนินการเสร็จสิ้น เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗

การรวบรวมความรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

(ปรับปรุง ครั้งที่ ๒)

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

ขั้นตอนการดำเนินการ

๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน ????????????????????โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้

๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

๑.๒ ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด

๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน

๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ??????????????????ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด

๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย??????????? มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น

๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๒ ขั้นตอน ดังนี้

๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้

๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้

๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน??????????????????????? ร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา ?????????????การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์

๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่ง?????????????????????????? ที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน?????????? สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ ??????????คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน

ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที

ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล

๕) การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่มๆ ละ ๔-๖ คน คละความสามารถ และเพศ สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในการเรียนรู้จากเอกสารหรืองานที่ผู้สอนมอบหมาย และช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆ ให้เรียนรู้ไปด้วยกัน ทุกคนมีความรับผิดชอบงานของตนเองและงานส่วนรวมร่วมกัน วิธีการแบบนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกบทเรียน ทุกวัตถุประสงค์ใช้ในการสอนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานจนถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและบูรณาการกับเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสม

๖) การเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis)???????????????? เป็นการจัดการเรียนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษารายงานกรณีศึกษา โดยการอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษา?????????? ให้ละเอียด ขีดเส้นใต้ข้อความที่เห็นว่ามีความสำคัญ จากนั้นให้ผู้เรียนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น??????????????????? เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม สรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่

๗) การเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหา??????????????????????????? เป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดี มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้แบบ PBL คือ Scenario หรือ Trigger ซึ่งควรมีการพัฒนาและตรวจอย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง

๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน??????????? อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้

๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น

๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น???????????????? ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน

๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น

(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย

(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว

๔) การสร้างแผนผังความคิด หรือผังมโนทัศน์ (Concept mapping) เป็นการกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างแผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ขึ้น เพื่อนำเสนอหรือสื่อความหมาย ความเข้าใจ หรือความคิดรวบยอดอย่างเชื่อมโยง โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือแผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Mapping ที่มีประโยชน์มาก สำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไป และกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง

๕) เพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

๖) การโต้วาที (student debates) คือ การจัดกิจกรรมโดยแบ่งผู้เรียนเป็น ๒ ฝ่าย และให้ผู้เรียนแต่ละฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่มว่าถูกต้องเหมาะสมที่สุด โน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยโต้แย้งหักล้างเหตุผลและการนำเสนอของอีกฝ่ายไปพร้อมกัน

๗) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน

๘) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น ???????????การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง

๓. ขั้นประเมินผล นอกจากการประเมินผลย่อย (formative assessment) ซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างเรียนตลอดเวลา และเป็นฐานของการประเมินที่นำไปสู่การประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ การประเมินบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัว โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่า บรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗

14/03/2013

KM การเขียนโครงร่าง ทำอย่างไรให้ได้ทุน

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย

วันที่? ๖? มีนาคม? ๒๕๕๕ เวลา? ๑๓.๐๐ ? ๑๔๐๐น.

ณ? ห้องประชุมพวงชมพู

************************************************

ประธาน นาง ศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
วิทยากร ดร. ประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. พรรณพิไล สุทธนะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ผู้เข้าร่วมประชุม นาง วิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง มณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นาง ภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย อดุลย์ วุฒิจูรีย์พันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง อัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. วราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย บุญฤทธิ์ ประสิทนราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย ไพฑูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง วาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. จิราพร วิศิษฐ์โกศล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. อรทัย แซ่ตั้ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย สืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย เสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย ภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. จิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. วิภาวรรณ นวลทอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. ดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพ
นาย กัญตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. พัชชา สุวรรณรอด พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. ชลธิชา จับคล้าย พยาบาลวิชาชีพ
นาย อรรถพล ยิ้มยรรยง พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. สายฝน ชมคำ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. วัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. จิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ
วาระที่ ๑ ประเด็นของการทำการจัดการความรู้
ประธานแจ้งเรื่องการทำ KM ของวิทยาลัยด้านการวิจัย(บันทึกของปีการศึกษา ๒๕๕๕) คือ การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน ซึ่งได้เชิญวิทยากร จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ??????????อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์และ อ.พรรณพิไล? สุทธนะ ที่มีผลงานจากการได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอก
วาระที่ ๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิทยากรทั้ง ๒ ท่านดังนี้

อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เขียนโครงการวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเอง

๑.๑? ต้นทุนในตัวเอง

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากก้าวเป็นเชี่ยวชาญ

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ

- เครือข่าย KM หรือพี่เลี้ยง

๑.๒? แนวโน้มสถานการณ์ทางสุขภาพและระบบสุขภาพ และการรับมือกับปัญหาในอนาคต แหล่งทุนสนับสนุน

๑.๓? ความสอดคล้องและเป็นไปได้ของความฝันสู่การกำหนดประเด็นการวิจัย

๒.? กำหนดประเด็นการศึกษาวิจัยและแนวการทำงานวิจัยให้สำเร็จโดยบูรณาการกับชีวิต Routine to Research

- เลือกหัวข้อ/ประเด็นการทำวิจัยที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น งานสอนในชุมชน/ward

- หาประเด็นปัญหาจากสภาพปัญหา

- ?Research design

๓.? ปรึกษาพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา? เป็นสิ่งสำคัญเราพะจะเป็นผู้ที่ช่วยมองภาพและสะท้อน ดังนั้นควรเลือกเรื่องหรือที่ปรึกษาที่เราชอบและอยากได้ข้อเสนอแนะ

อ.พรรณพิไล? สุทธนะ เสนอแนวทางการเขียนโครงร่างงานวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุนจากภายนอกดังนี้

๑.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุน ว่ามีประเด็น Theme อะไรบ้าง ให้นำ Keywords ที่สำคัญเหล่านั้นมาใส่ในหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์

๒.? ในการเขียนโครงร่างควรมีความชัดเจน หาจุดเด่น และบอกว่าหลังจากทำเสร็จแล้วจะได้นวัตกรรมหรือเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างไร

๓.? สร้างสัมพันธภาพกับเจ้าของแหล่งทุน เช่น สปสช. สามรถโทรศัพท์สอบถามประเด็นที่ สปสช. สนใจก่อนเขียน

๔.? ดูตัวอย่างที่คนอื่นเขียน โดยเฉพาะงานที่ได้รับทุน

อ.ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล แลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับการได้รับทุนจาก สบช. และของวิทยาลัยว่า การเขียนโครงร่างขอทุน ควรดูที่ Theme ของแหล่งทุนก่อนว่าเน้นไปทางใด ซึ่งถ้าตรง Theme ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน และในการเขียนโครงร่างขอทุนควรเขียนให้ชัดเจนทั้งความเป็นมาของปัญหา และ Methodology และงานวิจัยที่ทำควรมีผลกระทบในวงกว้าง

อ.สืบตระกูล? ตันตลานุกุล แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอก สิ่งสำคัญ คือ ระยะเวลาที่จะทำทั้งการเขียนโครงร่างงานวิจัยเนื่องจากระยะเวลาที่แหล่งทุนพิจารณา มักกระชั้นชิด และการทำวิจัย อยากให้วิทยาลัยจัดทีม ระบบที่ปรึกษาให้
อ.ไพทูรย์? มาผิว แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการส่งโครงร่างวิจัยแล้วไม่ได้รับทุนเนื่องจากปัญหาคือการเขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้องกับแหล่งทุน
อ.ศศิธร? ชิดนายี เสนอว่าปัจจุบันทุนภายนอกรวมเป็นแหล่งทุนเดียวกัน? มีระยะเวลารับที่แน่นอน ตามที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ วช.ได้เคยให้ข้อเสนอคือ สิ่งแรกที่ดูคือ Format หากไม่ถูกต้องจะถูกคัดออก และสิ่งสำคัญคือสามารถ วางแผนได้ที่จะทำชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการคือ การทำในลักษณะภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อไป
อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เพิ่มเติมเรื่องการไปฝึกหัดกับรุ่นพี่ที่ได้รับทุนมาก่อนจะได้รับประสบการณ์และพัฒนาการทำวิจัย สิ่งสำคัญคือ หลังได้รับทุนวิจัยแล้วต้องบริหารจัดการให้สำเร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดของแหล่งทุนและค้นหาแหล่งทุน
วาระที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้
สรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเขียนโครงร่างอย่างไรให้ได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเองว่ามีความถนัด/สนใจ/ต้องการเชี่ยวชาญในเรื่องใด

๒.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุนทั้งในแง่ Format ประเด็นที่แหล่งทุนให้ความสนใจ ระยะเวลาที่ส่งโครงร่าง

๓.? การเขียนโครงร่างควรมี Keywords ที่แหล่งทุนต้องการมีจุดเด่น นวัตกรรมและผลกระทบในวงกว้าง

๔.? ดูตัวอย่างการเขียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อนำปรับใช้

๕.? มีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำปรึกษา

๖.? ควรมีเครือข่ายเพื่อที่จะสามารถทำงานได้สำเร็จ

…………………………………….

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

ผู้บันทึกการประชุม

………………………………………….

(นางศศิธร ชิดนายี)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

๗.? ค้นหาแหล่งทุนแบบเชิงรุก๘.? ฝึกหัดทำวิจัยกับรุ่นพี่

09/03/2013

แนวทางปฎิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น “การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ” ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 22 สิงหาคม 2555 และครั้งที่ 2 วันที่ 8 ?มีนาคม 2556 ?ทางภาควิชาได้ถอดบทเรียนและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังนี้

แนวทางปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ ?มีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ ๑ ? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

ขั้นที่ ๒ ? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๓ ? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๔ ? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๕ ? การวัดและประเมินผล


โดยแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพ

การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน โดยคำสำคัญที่เกี่ยวข้องและควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้

๑. การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

๒. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้

๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)

๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)

๓) โภชนาการ (nutrition)

๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)

๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)

ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร

ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลกับ การสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔)? ดังนี้

๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ

กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ

๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้

๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล

๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น

๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)

การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ

เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้

๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น

๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน

ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

18/07/2012

KM เพื่อการพัฒนา ต่อเนื่อง

เรียนเชิญอาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บ blog? ครับ

หน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro