• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

28/02/2017

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร ครั้งที่ 2 / 2559

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 9:40 am
Reactions :16 comments

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร

ครั้งที่ 2 / 2559

เมื่อวันที่    9   พฤศจิกายน  59

ณ ห้องประชุมกาสะลอง  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

——————————

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง    ตำแหน่ง รองผู้อำนายการกลุ่มงานบริหาร          ประธาน

2. นายไพทูรย์  มาผิว                ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ

3. นางสาววิไลวรรณ  บุญเรือง      ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง

4. นางสาวนัยนา  แก้วคง           ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ

5. นางสาวนัดดา  กอบแก้ว         ตำแหน่ง  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

6. นางสาวสุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์   ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

7. นายนพณัฐ    รุจิเรืองอนันต์       ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

8. นางอรุณรัตน์  พรมมา             ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นายสืบตระกูล  ตันตลานุกูล      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

10. นายภราดร  ล้อธรรมมา          ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

11. นางสาวจิราพร  วิศิษฎ์โกศล     ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

12. นางนงคราญ  เยาวรัตน์         ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

13. นางสุกัญญา  อุมรินทร์           ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน

14. นางสุพัตรา  มากำเหนิด        ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บัญชี

15. นางพิชญ์ชาภรณ์  มูลประโคนชัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ

16. นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ    ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี                   เลขานุการ

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

อาจารย์                    จำนวน    9  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง       จำนวน   7  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

ไม่มี

เริ่มประชุมเวลา 15.00 น.

วาระที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ

-                    ประธานแจ้งในที่ประชุมให้ทราบในเรื่องของการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1

-                    ความก้าวหน้าในการจัดทำการจัดการความรู้ของกลุ่มงานบริหาร  โดยดำเนินการถึงขั้นตอนการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับระเบียบ,  แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 2. เรื่องรับรองรายงานการประชุม

รับรองรายงานการประชุมครั้งที่  1/ 2559  เมื่อวันที่   5  ตุลาคม  2559

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 3. เรื่องสืบเนื่อง

งานการเงินได้นำประเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนดไปหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากันภายในกลุ่มงานนั้นเรียบร้อยแล้ว

มติของกลุ่มงาน รับทราบตามที่งานการเงินเสนอ

วาระที่ 4. เรื่องเพื่อพิจารณา

การสร้างและแสวงหาความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มงานบริหาร

  1. ประธานทบทวนประเด็นปัญหาและขอให้แสดงความคิดเห็น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

มติที่ประชุม จากการทบทวนประเด็นปัญหาในการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในการประชุมครั้งที่ผ่านมา พบว่า  ประเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนด มีดังนี้

  1. การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน   ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
  3. ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด
  4. เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน
  5. ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และหลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม
  6. ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
  7. ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ
  8. ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ
  9. ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน
  10. การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้
  11. การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง
  12. ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ
  13. บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามระเบียบต่างๆที่ค้นคว้ามาประกอบ ซี่งในแต่ท่านต่างมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับการศึกษาค้นคว้าตามระเบียบต่างๆ

-          นางนงคราญ  เยาวรัตน์  เจ้าพนังานการเงินและบัญชีชำนาญงาน  ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานที่พบเห็นเป็นประจำเกี่ยวกับการแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินไม่เป็นไปตามกำหนด  เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ถูกต้อง  และมีประสิทธิภาพตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินนั้น  ควรปฏิบัติตามรายละเอียดที่กำหนดในระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555,  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526, ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ส่วนที 4 เรื่องการจ่ายเงินยืม  ดังนี้

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
1 การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีการติดตามเร่งรัดกเบิกจ่ายให้เป็นไปตามไตรมาสที่กำหนดและแผนการใช้จ่ายงบประมาณดังนี้

ไตรมาสที่ 1  ร้อยละ  30

ไตรมาสที่ 2  ร้อยละ 22

ไตรมาสที่ 3  ร้อยละ 21

ไตรมาสที่ 4  ร้อยละ 23

2 เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน      ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานในการจัดซื้อ/จัดจ้าง  ดังนี้

1. เอกสารในการสร้างหลักผู้ขาย (กรณีรายใหม่) จัดส่งอย่างละ 2 ชุด

1.1  บุคคลธรรมดา

- สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน,

สำเนาสมุดหน้าบัญชีธนาคาร

1.2 ร้านค้า

- สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน,

สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร,สำเนาทะเบียนการค้า/พาณิชย์

1.3 นิติบุคคล

- หลักฐานผู้มีอำนาจ,ผู้รับมอบอำนาจ(สำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน) สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล, สำเนาภาษีมูลค่าเพิ่ม,สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

**ควรส่งก่อนจัดซื้อ/จัดจ้างอย่างน้อย 7 วันทำการ

2.เอกสารที่จัดส่งในการจัดซื้อ/จัดจ้าง

1) บันทึกขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ

2) บันทึกรายงานขอความเห็นชอบจัดซื้อ/จัดจ้าง

3) สำเนาโครงการ

4) สำเนาหนังสือการโอนจัดสรรเงินประจำงวด              5) ใบเสนอราคา

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
6) ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง

7) ใบส่งมอบงาน/ใบส่งของ

8) ใบตรวจรับ

9) หนังสือขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน

10) กรณีวงเงินเกิน 5,000 บาท สำเนา

หลักฐานจากระบบ e-GP

11) รูปภาพผลผลิตการจัดจ้าง/จัดซื้อ

การดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง

- ในแต่ละครั้งหากมีวงเงินตั้งแต่  5,000  บาทขึ้นไป ขอให้ดำเนินการจัดซื้อ/ จัดจ้างในระบบอิเล็กทรอนิกส์(ระบบe-GP)

- การจัดจ้าง จะต้องติดอากรแสตมป์ (1,000 บาท ต่ออากรแสตมป์  1 บาท)

- การจัดจ้าง ขอให้แจงรายละเอียดให้ครบถ้วนด้วย  โดยกำหนดขอบเขตงานจ้างและปริมาณงานประกอบ

- การจัดซื้อ ควรดำเนินการจัดซื้อก่อนดำเนินการ อย่างน้อย 3 วันทำการ

3. เอกสารที่ต้องส่งเบิกจ่ายในโครงการฝึกอบรม/สัมมนา

1. บันทึกขออนุมัติดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมฉบับจริง

2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม,ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด การฝึกอบรม, ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์, ค่าประกาศนียบัตร, ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์, ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม, ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเตอร์โรงแรม, ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม     เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม     ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือใบเสร็จรับเงิน, ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

4. ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินใบละ 300  บาท     เอกสารฉบับจริงดำเนินตาม

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
ระเบียบพัสดุ

5. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินแห่งละ 1,500  บาท     เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ

6. ค่าตอบแทนวิทยากร     ใบสำคัญรับเงินสำหรับวิทยากร, หนังสือเชิญ} หนังสือตอบรับกรณีหน่วยงานตอบกลับในนามหน่วยงาน (ยกเว้นเอกชน), สำเนาบัตรประชาชน(ถ้ามี)

7. ค่าอาหาร    ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน  หรือใบเสร็จรับเงิน, ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

8. ค่าเช่าที่พัก   ใบเสร็จรับเงิน, Folio

9.ค่ายานพาหนะ กรณีใช้รถยนต์ราชการ ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ราชการ, ใบเสร็จค่าน้ำมัน, หนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการและออกนอกเขตจังหวัด/หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการ, ใบเสร็จค่าทางด่วน

10. กรณีเดินทางโดยเครื่องบิน ใบเสร็จ, กากบัตรโดยสาร(บอดิ้งพาส)

11. กรณีเช่ายานพาหนะ เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

12. กรณีเดินทางโดยรถส่วนตัว

ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวกม.ละ 4 บาท (สำหรับวิทยากร)     หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวจากต้นสังกัด (กรณีส่วนราชการ), แนบระยะทางตามการคำนวณของกรมทางหลวง

13. กรณีเดินทางค่าพาหนะรับจ้าง/รถไฟ/รถประจำทาง ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน(บก.111)

3

4

ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด

เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน

-  ส่งหลักฐานการยืมเงินก่อนดำเนินการ อย่างช้า   5 วันทำการ

- ส่งหลักฐานประกอบการยืมเงินให้ครบถ้วน ได้แก่ สำเนาขออนุมัติดำเนินการ, สัญญายืมเงิน 3 ฉบับ, สำเนาโครงการ, กำหนดการประชุม/ตารางฝึกอบรม

-  หลักฐานเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน จะเบิกจ่ายเงินยืมให้ ภายใน 3 วันทำการ

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
5 ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และ

หลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม

- งบโครงการ/กิจกรรมส่งหลักฐานใช้เงินยืมภายใน 30 วันหลังจากที่ได้รับงิน , งบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการภายใน 15 วัน หลังจากที่กลับมาถึงที่พัก

- จัดส่งหลักฐานใช้เงินยืมตามรายละเอียดที่ขอยืม

- หากไม่สามารถส่งใช้ได้ตรงตามกำหนด ให้จัดทำบักทึกชี้แจงเหตุผล

- หากไม่สามารถใช้จ่ายเงินยืมตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ให้ส่งเงินยืมคืนพร้อมชี้แจงเหตุผล

- กรณีเลยกำหนดระยะเวลาการส่งใช้เงินยืมคืน จะทำหนังสือแจ้งเตือน หรือหักเงินเดือน หรือคิดดอกเบี้ยผู้ที่ส่งเงินยืมล่าช้า และรายงานผู้บริหารเป็นระยะๆ

6 ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง - ควรจัดอบรมหรือให้ความรู้ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขออนุมัติยืมเงิน,  การส่งใช้เงิน, บทลงโทษ และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืม

- การยืมเงิน ให้ผู้ยืมผ่านเรื่องขออนุมัติยืม

เงินให้หัวหน้ากลุ่มงานเพื่อตรวจสอบรายละเอียดให้ถูกต้องก่อนเสนอ

วิทยาลัยควรจัดทำคู่มือและแจกคู่มือการปฏิบัติงานเผยแพร่ กฎ ระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ผู้ยืมได้รับทราบ หรือเผยแพร่ทางเว็บไซด์

7 ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ - เจ้าหน้าที่การเงินควรชี้แจงให้บุคลากรของวิทยาลัยหรือผู้ยืมได้รับทราบว่าผู้มีสิทธิ์ยืมเงินต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาระงานที่ต้องยืม เช่นผู้เดินทางไปราชการ ฯลฯ
8 ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ - ผู้ยืมเงินควรวางแผนการใช้เงินตั้งแต่ต้นปีงบประมาณและเสนอขออนุมัติดำเนินการ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้รีบขออนุมัติยืมเงินไว้ล่วงหน้าก่อนเพื่อจัดซื้อจัดจ้างและดำเนินการได้ทันงานตามแผน
ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
9 ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน -  เมื่อผู้ยืมขออนุมัติยืมเงินเสนอโครงการ/กิจกรรมแล้วเจ้าหน้าที่การเงินหรือหัวหน้ากลุ่มควรตรวจสอบและเสนอตัดวงเงินให้ยืมเท่าที่จำเป็นและควรตั้งข้อสังเกตว่าผู้ยืมเงินรายใดที่เสนอเกินความจำเป็นบ่อยครั้ง  เพื่อเพิ่มความระมัดระวังและหาแนวทางป้องกันและดำเนินการต่อไป
10 การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้ -  หากการเดินทางเร่งด่วนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จะโทรศัพท์ไปยังผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบ พิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน

-  ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินแจ้งขอความร่วมมือจากผู้เดินทางในการเสนอขออนุมัติเดินทางก่อนการเดินทางทุกครั้ง  เนื่องจากหากกระชั้นชิดจะไม่สามารถยืมเงินได้ทัน

11 การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง - เจ้าหน้าที่การเงิน ควรให้คำแนะนำสิทธิในการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการแก่บุคลากร/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยมีการจัดประชุมพร้อมสอบถามปัญหาต่างๆ

- หากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆควรจัดทำหนังสือเวียนให้บุคลากรและ เจ้าหน้าที่ทุกคนทราบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

-  ควรมีการจัดทำคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เพื่อใช้อ้างอิงในการทำงาน

12 ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ -  หากเอกสารสูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการควรประสานกับบริษัทสายการบินหรือบริษัทตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมคำรับรองจากผู้เดินทางไปราชการว่า “ยังไม่เคยนำฉบับจริงมาเบิกเงินจากทางราชการ แม้หากค้นพบในภายหลังก็จะไม่นำมาเบิกเงินจากทางราชการอีก” เป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงิน หรือในกรณีที่ไม่สามารถขอสำเนา

หรือภาพถ่ายใบเสร็จรับเงิน บัตรโดยสารเครื่องบินหรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) ได้ให้ผู้เดินทางทำหนังสือรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงสาเหตุที่ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน  หรือใบรับเงินนั้นสูญหาย และไม่อาจขอสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารนั้นได้พร้อมทั้งให้ผู้เดินทางทำคำรับรองว่า “ยังไม่เคยนำฉบับจริงมาเบิกเงินจากทางราชการ แม้หากค้นพบในภายหลังก็จะไม่

ลำดับ ประเด็นปัญหา แนวทางการแก้ไข
นำมาเบิกเงินจากทางราชการอีก” เสนอต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับอนุมัติจากผุ้อำนวยการแล้ว สามารถใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินได้
13 บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ -ควรจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติ งานด้านการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อ ให้เกิดความชำนาญ และสามารถแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้

- นางสาวนัยนา  แก้วคง  หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ  เสนอว่า ควรมีการรวบรวมปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มงานหรือบุคลากรของหน่วยงาน และนำมาลงในเว็บเช่น บอร์ด หรือถาม-ตอบ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ทำให้สามารถทราบถึงปัญหาของแต่ละคน

- นางสาววิไลวรรณ  บุญเรือง  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง  เสนอว่า เห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินกับบุคลากรในหน่วยงาน  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและลดปัญหาความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินด้วย เช่น เสวนาระเบียบการเงินการคลัง / KM แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน

- นายภราดร  ล้อธรรมมา  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  เสนอว่า ควรจัดบริการให้คำแนะนำ หรือบริการเป็นที่ปรึกษา หารือ ให้เจ้าหน้าที่ บุคลากร ที่ต้องการสอบถามวิธีการเบิกจ่ายเงิน พร้อมวิธีการเขียนเอกสารต่างๆทางด้านการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเบิกจ่ายเงิน และตอบข้อซักถามปัญหาการเบิกจ่ายเงินในกรณีที่ผู้เบิกสงสัย ไม่เข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

-นายสืบตระกูล  ตันตลานุกูล  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  เสนอว่า ควรจัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของกระบวนการเบิกจ่ายเงิน พร้อมกับคำอธิบายประกอบ โดยจัดทำเป็นคู่มือ โดยแสดงวิธีการเขียนให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เบิกจ่ายได้ศึกษาเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

- นางสาวนัดดา  กอบแก้ว  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป  เสนอว่า  ควรจัดประชุม หรืออบรมเกี่ยวกับการเขียนเอกสารที่จะต้องใช้ประกอบการเบิกจ่ายเงิน  โดยให้บุคลากรของหน่วยงานที่สนใจเข้ารับฟัง หรือเข้ารับการอบรม เพื่อรับทราบหลักเกณฑ์หรือระเบียบของการเขียนเอกสาร วิธีการในข้อนี้จะช่วยให้บุคลากรทุกท่านที่จะเป็นผู้เบิกจ่ายเงิน สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ

- นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ  ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและจากการเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนงานการเงินและบัญชี  งานพัสดุ  งานควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยในเครือข่ายภาคเหนือ  ระหว่างวันที่ 18/20 มกราคม 2560  ณ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์  นครสวรรค์นั้น ผู้ตรวจสอบภายในได้ชี้แจงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 หมวด ๒ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  ส่วนที่ ๑  ค่าใช้จ่ายของส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรม มีใจความดังนี้

ข้อ ๘ โครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่ส่วนราชการจัดหรือจัดร่วมกับหน่วยงานอื่น

ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้  ให้ส่วนราชการที่จัดการฝึกอบรมเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ ดังต่อไปนี้

(๑) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม

(๒) ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด – ปิด การฝึกอบรม

(๓) ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์

(๔) ค่าประกาศนียบัตร

(๕) ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์

(๖) ค่าหนังสือสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(๗) คาใช่ ้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร

(๘) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการฝึกอบรม

(๙) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

(๑๐) ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสําหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(๑๑) ค่าของสมนาคุณในการดูงาน

(๑๒) ค่าสมนาคุณวิทยากร

(๑๓) ค่าอาหาร

(๑๔) ค่าเช่าที่พัก

(๑๕) ค่ายานพาหนะ

ค่าใช้จ่ายตาม (๑) ถึง (๙) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็น เหมาะสมและประหยัด

ค่าใช้จ่ายตาม (๑๐) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินอัตราใบละ ๓๐๐ บาท

ค่าใช้จ่ายตาม (๑๑) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แห่งละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท

ค่าใช้จ่ายตาม (๑๒) ถึง (๑๕) ให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราตามที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้

ข้อ ๙ การฝึกอบรมบุคคลภายนอกให้จัดได้เฉพาะการฝึกอบรมในประเทศเท่านั้น

ข้อ ๑๐ บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบนี้ ได้แก่

(๑) ประธานในพิธีเปิดหรือพิธีปิดการฝึกอบรม แขกผู้มีเกียรติ และผู้ติดตาม

(๒) เจ้าหน้าที่

(๓) วิทยากร

(๔) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(๕) ผู้สังเกตการณ์

รายละเอียดดังกล่าวเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนที่ได้จากการค้นคว้าและการประชุม  หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้ค้นหาได้จากเว็บไซด์ www.thaidental.net/web/data/userfiles/files/57-59_22555.pdf

การจัดการความรู้ เรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

มติที่ประชุม รับทราบและกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่าย คือ

  1. จัดประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินให้บุคลากรในหน่วยงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. จัดทำแบบฟอร์มตัวอย่างเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายและทำ Work Flow ในแต่ละเรื่อง
  3. ให้บริการ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเบิกจ่ายที่ถูกต้องแก่บุคลากรในหน่วยงาน
  4. งานการเงินทำการตรวจสอบเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบก่อนส่งอีกครั้ง
  5. เมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานได้  ให้งานการเงินทำบันทึกรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นเสนอต่อผู้บริหาร

และได้นำไปเผยแพร่ในเว็บบอร์ดของวิทยาลัย  เพื่อให้บุคลากรได้ศึกษาและนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการเบิกจ่ายเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามระเบียบและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

วาระที่ 5. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ 6. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

เลิกประชุมเวลา  16.30 น.

(นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ)

ผู้จดรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

24/02/2017

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร ครั้งที่ 1 / 2559

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 11:26 am
Reactions :7 comments

รายงานการประชุมกลุ่มงานบริหาร

ครั้งที่ 1 / 2559

เมื่อวันที่   5   ตุลาคม  2559

ณ ห้องประชุมกาสะลอง  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

——————————

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง    ตำแหน่ง รองผู้อำนายการกลุ่มงานบริหาร          ประธาน

2. นายไพทูรย์  มาผิว                ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ

3. นางสาววิไลวรรณ  บุญเรือง      ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาบุคลากรและความเสี่ยง

4. นางสาวนัยนา  แก้วคง           ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ

5. นางสาวนัดดา  กอบแก้ว         ตำแหน่ง  หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

6. นายนพณัฐ  รุจิเรืองอนันต์        ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

7. นางสาวสุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์   ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

8. นางอรุณรัตน์  พรมมา            ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นายสืบตระกูล  ตันตลานุกูล      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

10. นายภราดร  ล้อธรรมมา         ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

11. นางจิราพร  วิศิษฎ์โกศล         ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

12. นางนงคราญ  เยาวรัตน์         ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน

13. นางสุกัญญา  อุมรินทร์          ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน

14. นางสุพัตรา  มากำเหนิด        ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บัญชี

15. นางพิชญ์ชาภรณ์  มูลประโคนชัย ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่พัสดุ

16. นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ   ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี                    เลขานุการ

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

อาจารย์                    จำนวน    9  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง       จำนวน   7  คน   คิดเป็นร้อยละ  100

ผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

ไม่มี

เริ่มประชุมเวลา 15.00 น.

วาระที่ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ

- ประธานแจ้งให้ทราบถึงสิ่งที่กลุ่มงานบริหารต้องให้ความสำคัญมาก  โดยเฉพาะงานการเงินนั้นให้เน้นในเรื่องดังนี้

เรื่องที่ 1 บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และใส่ใจบริการ

1.1  ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

- ประสิทธิภาพ คือ มีการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานมารองรับ

- โปร่งใส รวมถึง ด้านคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน

- ใส่ใจบริการ คือ มีความกระตือรือร้นในการให้บริการ  รวมถึงกิริยาท่าทาง , น้ำเสียง คำพูดต่าง ๆ

1.2  จัดทำฐานข้อมูลทางการเงินให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

เรื่องที่ 2 การบริหารทรัพยากรและลดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2.1  ควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำข้อมูลสถิติเปรียบเทียบการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรทุกคนเกิดความตระหนักในเรื่องการประหยัดการใช้พลังงาน

2.2  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ประหยัดทรัพยากรและพลังงาน  โดยทางแผนกการเงินจะออกคำสั่งโรงเรียน ในเรื่องการบริหารทรัพยากร ซึ่งจะต้องประสานงานกับแผนกต่าง ๆ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการในการร่วมมือกันจัดกิจกรรมลดการใช้กระดาษ และกิจกรรมสำนักงานสีเขียว

2.3  ปรับลดงบประมาณรายจ่ายตามแผนงาน/โครงการ ปีการศึกษา 2560 ซึ่งจะต้องประสานงานกับผู้รับผิดชอบแผนงาน/โครงการ ให้มีความเข้าใจในการการปรับลดงบประมาณรายจ่าย

3.  ทบทวนกระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการระบุเกี่ยวกับความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีต้องใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ได้แก่ ความรู้อะไรบ้าง ความรู้อะไรที่มีอยู่แล้วอยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป มีหลายแนวทาง เช่น ใช้ SECI model นำบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ต่างกันมาประชุม/ทำงานร่วมกัน จ้างคนที่มีความรู้มาทำงานในองค์กร จ้างที่ปรึกษา

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เช่น กฎระเบียบ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ กำหนดวิธีการจัดเก็บและค้นคืน เพื่อให้สืบค้น เรียกคืนและนำไปใช้ได้สะดวก

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการกลั่นกรองความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ใช้งานได้ของความรู้ ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนเคล็ดลับ เทคนิคการทำงาน เทคนิคการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับความรู้ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนความรู้ที่ฝังในตัวคน Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว(ผู้เชี่ยวชาญจากที่หนึ่งไปปฏิบัติงานในอีกที่หนึ่ง) เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7. การเรียนรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนหรือสืบค้นไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน แล้วเกิดความรู้ใหม่นำมาเข้าระบบจัดเก็บหรือแบ่งปันแลกเปลี่ยน ก็จะได้องค์ความรู้ใหม่ให้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้เรื่อยๆ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากวงจร “สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่” และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ 2. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

ไม่มี

วาระที่ 3. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ 4. เรื่องเพื่อพิจารณา

การกำหนดเป้าหมาย ( Desired  State)

1. ประธานในที่ประชุมได้หารือเรื่อง แนวทางการจัดการความรู้ของกลุ่มงานบริหารว่าควรมีประเด็นใดบ้าง  ซึ่งจากการประชุมร่วมกัน พบว่ามีผู้เสนอประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การเบิกพัสดุ,  การยืมเงินไปราชการ,  การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม,  การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ,  การกำกับติดตามงบประมาณรายไตรมาส

มติที่ปประชุม มีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรกำหนดเป้าหมายในเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ

- นางนงคราญ  เยาวรัตน์  เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน  ได้เสนอว่าในการเบิกจ่ายที่เกี่ยวข้องกับทางการเงินควรเน้นให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555,  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526, ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 ส่วนที 4 เรื่องการจ่ายเงินยืม เพื่อให้เกิดความถูกต้อง บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

- งานการเงินเสนอประเด็นที่สำคัญที่พบว่ามีการปฏิบัติไม่ค่อยเป็นไปตามระเบียบ  กลุ่มงานบริหารจึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรจัดการความรู้ในประเด็นของการเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ  ซึ่งจากการวิเคราะห์ของกลุ่มงานพบว่าปะเด็นปัญหาที่ทำให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามกำหนด มีดังนี้

  1. การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด
  2. เอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายไม่ครบถ้วน   ทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า
  3. ส่งหลักฐานยืมเงินราชการไม่เป็นไปตามกำหนด
  4. เอกสารประกอบการยืมเงินไม่ครบถ้วน
  5. ส่งใช้เงินยืมไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลา และหลักฐานการส่งใช้ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ยืม
  6. ผู้ยืมเงินไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
  7. ผู้ยืมเงินไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ/งานที่ขออนุมัติดำเนินการ
  8. ผู้ยืมเงินขออนุมัติยืมเงิน เมื่อใกล้ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ทำให้ได้รับเงินยืมไม่ทันวันที่ต้องดำเนินการตามแผน/โครงการ
  9. ผู้ยืมเงินประมาณการค่าใช้จ่ายและยืมเงินเกินความจำเป็น โดยนำเงินสดมาส่งคืนภายหลังเป็นจำนวนมาก หากปฏิบัติบ่อยครั้งแสดงถึงเจตนาจงใจนำเงินราชการไปใช้ก่อน
  10. การขออนุมัติเดินทางอย่างกระชั้นชิดผู้มีอำนาจอนุมัติไม่สามารถอนุมัติก่อนการเดินทางได้
  11. การเบิกค่าเช่าที่พักเกินสิทธิของตนเอง
  12. ใบเสร็จรับเงิน กากบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือใบรับเงิน (Itinerary Receipt) สูญหายระหว่างการเดินทางไปราชการ
  13. บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

มติที่ประชุม เห็นชอบในการเลือกประเด็น เรื่อง การเร่งรัดการเบิกจ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายให้ถูกต้อง ตามระเบียบและในการประชุมครั้งต่อไปจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา

วาระที่ 5. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ 6. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

เลิกประชุมเวลา  16.30 น.

(นางสาวจุฑามาศ  ประเสริฐ)

ผู้จดรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน  เขียวเหลือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

16/02/2017

สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ” กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 3:44 pm
Reactions :18 comments

สรุปการจัดการความรู้

ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๗ ธันวาคม  ๒๕๕๙ เวลา  ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น

………………………………………………………………………………………………………………..

๑. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี                   รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยฯ ประธาน

๒. ดร.ประภาพร มโนรัตน์            ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิจัยฯ และเลขานุการ

๓. ดร.ปฐพร  แสงเขียว

๔. นายนภดล  เลือดนักรบ

๕. นางมณฑา อุดมเลิศ

๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ

๗. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย

๘. นางสายฝน วรรณขาว

๙. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร

๑๐. นางวิมล  อ่อนเส็ง

๒. วาระเรื่องแจ้ง

ประธานแจ้งว่า จากการกำหนดประเด็นการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อน กลุ่มงานและวิทยาลัยให้เป็นองค์กรการจัดการเรียนรู้นั้น สำหรับกลุ่มงานวิจัยฯ ได้กำหนดประเด็น เรื่อง การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ  ทั้งนี้เนื่องจากการวิเคราะห์พบว่าอาจารย์ยังมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ระดับปานกลางและผลงานการตีพิมพ์ ระดับนานาชาติ น้อย (จนเกือบไม่มี)  ซึ่งวิทยาลัยมีผู้ที่มีประสบการณ์การเผยแพร่ผลงานระดับชาติและนานาชาติมาบ้างแล้ว จึงดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการความรู้  ดังนี้

๑.การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือ สำคัญ คือ การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

๒. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ  กลุ่มงานวิจัยฯ ได้ประชาสัมพันธ์และกำหนดวันที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน จึงให้ผู้ที่มีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ (Tacit knowledge)  แลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ภายในกลุ่มงาน และให้ค้นหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ

๓. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะกับการใช้งานของตน ในส่วนนี้อาจารย์ที่มีประสบการณ์ได้นำความรู้ที่มาปรับปรุงและสร้างความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในระยะที่1 สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในปีงบประมาณ๒๕๖๐

๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้

๑. อาจารย์นภดล เลือดนักรบ ได้ให้ความเห็นว่า การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการระดับชาติหรือนานาชาตินั้น จะต้องเลือกวารสารที่เขาตรงหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเราและศึกษารูปแบบการเขียนก่อนSubmitบทความ  และได้กล่าวว่า การเลือกไปนำเสนอผลงานควรเลือกการประชุมวิชาการที่มีการคัดเลือกผลงานตีพิมพ์ในวารสารด้วย จะได้ประโยชน์  และให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษeditภาษาอังกฤษให้ถูกต้องที่สุด ป้องกันการปฏิเสธการตีพิมพ์จากภาษาไม่ดี

๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าการจะเขียนให้ได้รับการตอบรับ ต้องอ่านบทความจากวาสารให้มากโดยเฉพาะวาสารที่จะลงตีพิมพ์ เพื่อให้รู้สไตล์การเขียนและเขียนได้ตรงกับรูปแบบและสไตล์ของวารสารนั้นๆจะทำให้ได้รับการตอบรับมากขึ้นเป็นไปได้สูง และเรื่องการคัดลอกผลงานผู้อื่นให้ฝึกกับInternetได้มีการสอนเขียนแบบเทียบเคียงกันเป็นคู่ขนานแต่ไม่ได้คัดลอกเลียนแบบ

๓. ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ได้ให้ความเห็นว่าเห็นด้วยกับทุกท่านที่แบ่งปันความรู้ เพิ่มเติมในแง่ของการวางแผนเป็นระบบตั้งแต่การได้รับทุนวิจัยคิดยาวถึงวารสารที่จะตีพิมพ์ ศึกษาแนวการเขียนบทความของวาสารนั้นๆ  และเคร่งครัดในระเบียบของวาสารและทำตามขั้นตอนของวาสารหรือการประชุมนั้นๆ

๔. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ เราควรร่วมกันเขียนกับ๔นักวิจัยที่มีประสบการณ์การตีพิมพ์อยู่แล้วเช่น ดร.อัสนี  ที่ วพบ.พุทธชินราช มีผลงานตีพิมพ์หลายฉบับ โดยทำงานร่วมกับอาจารย์ในอเมริกา ในประเด็น เรื่อง มะเร็งเต้านม และ การตีพิมพ์ ในประเด็นหลัก เพื่อให้แสดงถึงความเชียวชาญนอกจากนี้การตีพิมพ์ในวารสารระดับ SJR ISI  Scopus  การตีพิมพ์ประเภท  Systematic revicw  จะได้รับการ  accept  เร็วกว่า และ อาจารย์ศศิธร นำเสนอการตีพิมพ์เผยแพร่จากเอกสารของ วช. ที่สามารถ Download  ได้

๕.อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง ได้ให้ความเห็นว่า การได้อ่านงานบทความวิจัยของนักวิจัยที่ตีพิมพ์บ่อยจะช่วยทำให้เขียนได้ดีขึ้น

๖.อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ ได้ให้ความเห็นว่า การคัดลอกเลียนแบบผลงาน หรือการที่จะเขียนให้ไม่ไปทับซ้อนที่เรียกว่าคัดลอกนั้นก็ยาก ต้องอ่านมากและฝึกฝน

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา

๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)

๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง

๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ

๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด  และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี  ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว   สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้

๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้

๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน

๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย

คณาจารย์กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

ดร.ประภาพร มโนรัตน์  ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ

๒๗ ธันวาคม  ๒๕๕๙

06/02/2017

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 10:50 am
Reactions :24 comments

หัวข้อ ประเด็น: การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

หัวข้อย่อย: บทบาทและลักษณะครู/ผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21

ชื่อวิทยากร: อาจารย์อภิรดี เจริญนุกูล

วัน/เวลา/สถานที่: วันที่ 25 ธันวาคม 2559 (13.30 – 16.00 น.) ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ชื่อผู้บันทึก: อาจารย์สุปราณี หมื่นยา                 ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: อาจารย์ วพบ.อุตรดิตถ์ จำนวน 20 คน

Cue Column

Keywords

- Creative

- Coaching

- Formative Assessment

- Versaltitis

- Metacognitive Skills

Key questions

บทบาทและลักษณะของครูและผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร?

Note-taking Column

Content:


Environment surroundings:(รูปแบบการบรรยายของวิทยากร / บรรยากาศ / การมีส่วนร่วม)

- Think/ Pair/ Share : Brief overviews (PPT/ Clip VDO/ Activity)

- ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับชมวีดีโอคลิป แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอเพิ่มเติมในการต่อยอดพัฒนา

- สุทรียสนทนา

เนื้อหาภาพรวมโดยสรุป (Summary)

  • Ø ลักษณะของครูใน 21st : เป็นผู้เรียนรู้/ นักคิด/ นักออกแบบ/ นักสร้างแรงบันดาลใจ
  • Ø บทบาทของครูใน 21st : เป็นผู้สนับสนุน/อำนวย (Facilitator and Coaching)
  • Ø ลักษณะ/บทบาทของผู้เรียนใน 21st : Active Learner/ Metacognitive skills/ Varsaltitis/ Entrustable professional Activities
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro