การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
หัวข้อ ประเด็น: การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
หัวข้อย่อย: บทบาทและลักษณะครู/ผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21
ชื่อวิทยากร: อาจารย์อภิรดี เจริญนุกูล
วัน/เวลา/สถานที่: วันที่ 25 ธันวาคม 2559 (13.30 – 16.00 น.) ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ชื่อผู้บันทึก: อาจารย์สุปราณี หมื่นยา ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: อาจารย์ วพบ.อุตรดิตถ์ จำนวน 20 คน
Cue Column
Keywords - Creative - Coaching - Formative Assessment - Versaltitis - Metacognitive Skills Key questions บทบาทและลักษณะของครูและผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นอย่างไร? |
Note-taking Column
Content:
- Think/ Pair/ Share : Brief overviews (PPT/ Clip VDO/ Activity) - ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับชมวีดีโอคลิป แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอเพิ่มเติมในการต่อยอดพัฒนา - สุทรียสนทนา |
เนื้อหาภาพรวมโดยสรุป (Summary)
- Ø ลักษณะของครูใน 21st : เป็นผู้เรียนรู้/ นักคิด/ นักออกแบบ/ นักสร้างแรงบันดาลใจ
- Ø บทบาทของครูใน 21st : เป็นผู้สนับสนุน/อำนวย (Facilitator and Coaching)
- Ø ลักษณะ/บทบาทของผู้เรียนใน 21st : Active Learner/ Metacognitive skills/ Varsaltitis/ Entrustable professional Activities
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการเน้นให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนมีการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน โดยครูต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้จากชีวิตจริง โดยการสร้างความรู้ขึ้นเองและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการพัฒนาโดยการสร้างความรู้ขึ้นได้ด้วยตนเองเช่นกัน
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้นำรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็น active learner โดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ พบว่าผู้เรียนสนุกสนานกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั่วโมงเรียน และเมื่อท้ายชั่วโมงมีการแข่งขันตอบปัญหาเป็นทีม และให้ผู้เรียนอธิบายเหตุผลการตอบ พบว่าผู้เรียนสามารถอธิบายได้ชัดเจนและมีความสนุกสนานในการเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนผ่อนคลาย ผู้เรียนเห็นว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ดีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นอีกก้าวแห่งความท้าทายครูผู้สอนที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็นครูยุคThailand 4.0 มันไม่ใช่เรื่องยาก หากเราเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนแล้ว คิดเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราก็จะคิดออกว่า เราควรทำอย่างไร..เราอาจเริ่มต้นการจัดการเรียนรู้แบบศตวรรษที่21 มาเรื่อยๆนานแล้วด้วย
ลองหันไปดู จัดการเรียนรู้แบบไหนที่ผู้เรียนสนุกจำแม่น และเราก็สนุกมีความสุขไปกับผู้เรียนด้วย นั่นล่ะมันคือการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ที่เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้คิดวิเคราะห์ไปจนถึงขั้นสูงสุดคือCreate ของ Bloom ‘Taxonomy ..
การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่ผู้เรียนชอบมากคือ การเปิดกลุ่มเล็กเป็นกลุ่มรับเรียนรู็ร่วมกันของกลุ่ม และครูกับนักเรียนอยู่ใกล้ชิดกันเสมอในทุกที่และทุกเวลา แค่คลิกนิ้วเปิดอ่านและพิมพ์โต้ตอบกัน และตรวจงานได้เร็วและส่งคืนได้ทันที และสามารถupload ข้อมูลความรู้เพิ่มเติมให้ผู้เรียนได้เรื่อยๆ ประเมินโดยการสนทนากลุ่มกันแล้วผู้เรียนชอบมาก เขามีอิสระและในขณะเดียวกัน ถามคำถามหารือครูได้คลอดเวลา และทันทีที่คิดก็ส่งข้อมูลไปทันที ผู้เรียนชอบการใช้ช่องทางนี้ร่วมจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้ใช้ควบคู่กับไลน์ด้วยจะได้ผลดีมาก กำลังทำวิจัยเรื่องนี้ ผลออกมายืนยันแล้วคงจะได้เผยแพร่ต่อไป
ลักษณะของผู้เรียนที่เป็นActive learnerเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่าคือครูต้องรู้บทบาทและมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงบทบาทที่เหมาะสม และได้เรียนรู้จริง
บทบาทที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือการเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ เพราะแรงบันดาลใจนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ที่จะนำพาไปสู่การเรียนรู้ การคิด การออกแบบ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้ดี
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่21 พบว่าการสร้างมิติการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน คือสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้สอนควรตระหนักและนำมาปรับใช้ จึงได้นำเทคนิคการประชุมทางการพยาบาลโดยให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในรายวิชาปฏิบัติการรักษาเบื้องต้น ในหัวข้อการให้คำแนะนำผู้ป่วยภายหลังรับการรักษา ซึ่งผู้ป่วยได้ให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา ในประเด็นข้อเท็จจริงในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปที่บ้าน ประเด็นการรับประทานยา การรับประทานอาหารเฉพาะโรคตามสภาพจริง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ และเชื่อมโยงเปรียบเทียบทฤษฎีและเกิดความเข้าใจ
ในการปฏิบัติการให้คำแนะนำผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นับว่าเป็นความท้าทายของครูผู้สอนในการสร้างสรรค์การจัดรูปแบบการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยเฉพาะในนักศึกษาพยาบาลนั้นยิ่งมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเนื้อหาต่างๆทางการพยาบาลที่เรียนมีจำนวนมาก และหลากหลาย ดังนั้นการจัดรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในการดูแลและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยต่อไป
ครูในศตวรรษที่ ๒๑ จะมีคุณค่าได้ก็ต้องเปลี่ยนจากสอนไปสู่การเป็น coach จากถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้อำนวยการสร้างความรู้ เพราะนักศึกษาต้องทำเอง ให้ทำเอง และจากการที่เรียนรู้แบบผิวเผินไปสู่รู้จริง เปลี่ยนจากสอนวิชาไปสู่พัฒนาครบด้าน เปลี่ยนจากรู้วิชาไปเป็นการมีทักษะ ครูเปลี่ยนจากการเป็นผู้รู้เป็นผู้เรียนรู้ และเปลี่ยนจากครูผู้รอบรู้วิชาเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของศิษย์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทัุกษะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Creative Thinking) ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างนวัตกรรมหรือมีรูปแบบแนวคิดที่สร้างสรรค์ คือ ผู้สอนต้องเปลี่ยนวิธีการคิดและวิธีการสอน การเปลี่ยนวิธีคิดจากครูที่สอนเก่งให้ความรู้ได้ลึกซึ้ง คือครูเก่ง เป็นครูทีสนับสนุนให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง ให้กำลังใจและกล่าวชื่นชมนักศึกษาเพื่อเสริมพลังบวก และไม่ลืมที่จะปลูกฝังให้นักศึกษาเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม
ผลการสำรวจวิธีการจัดการเรียนการสอน การจัดการศึกษาทางการพยาบาลในประเทศไทย พบว่า มีสถาบันร้อยละ 50-80 ใช้การบรรยาย โดยไม่มีสถาบันใดที่ใช้วิธีการบรรยายอย่างเดียว มีการใช้วิธีการสอนที่ค่อนข้างหลากหลาย สำหรับผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดีทุกด้าน และทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่อยู่ในระดับดี-ดีมากได้แก่ ทักษะในกลุ่มทักษะชีวิตและการทำงาน และทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการรวมตัวของสถาบันการศึกษาพยาบาลเพื่อร่วมกันกัน Reform การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ควรมีการติดตามความเคลื่อนไหวและร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านสุขภาพ และควรพัฒนาเครือข่ายกลุ่มสถาบันสาขาพยาบาลศาสตร์ในการจัดการความรู้สาขาพยาบาลศาสตร์
การจัดการเรียนรู้ในศวรรษที่ 21 ส่วนใหญ่จะแนวโน้มให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่ได้จัดการเรียนรู้ที่ผ่านมาได้ใช้การเรียนรู้ Team-based Learning, PBL, การฝึกหัดด้วยปัญญา ซึ่งพบว่าการที่นักศึกษาจะสามารถสร้างความรู้ได้เค้าต้องมีความรู้พื้นฐานมาพอสมควรซึ่งความรู้พื้นฐานยังคงอาศัยเรื่องการจำเป็นสำคัญ และเมื่อมาต่อยอดในการสร้างความรู้การให้ผู้เรียนทบทวนความรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการเรียนแบบการฝึกหัดทางปัญญา นศ.ประเมินว่าเรียนแล้วหนักเพราะต้องคิดเยอะ แต่เมื่อได้ฝึกบ่อยๆจะคิดคล่องขึ้น สามารถวางแผนการพยาบาลได้เร็วขึ้น สามารถนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยทำให้คำนึงถึงความปลอดภัย เชื่อมโยงความรู้ที่เรียนมาได้มากขึ้น …
ข้อคนค้ยพบอย่างหนึ่งในดฃการจัดการเรียนการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนการสอนแนวใหม่ที่เน้นให้เข้าใจผู้เรียนในยุคนั้น ที่ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีที่เต็มรูปแบบ เพราะฉะนั้นครูผู้สอนต้อมีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้สื่อ หรือการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงการเรียนมากขึ้น นี่คือความท้าทายสำหรับครูรุ่นใหม่ยุคดิจิตอลครับ
การจัดการเรียนการสอน ในศตวรรษที่ 21 ยึดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีการจัดการเรียนสอนที่หลากหลาย โดยส่วนตัวได้ใช้การจัดการเรียนสอน แบบสะท้อนคิด โดยผ่านการเขียน ในแต่ละสัปดาห์ของการฝึกงาน ซึ่งพบว่า นักศึกษา บางคนสามารถตั้งคำถามในการเรียนรู้ ได้ดีขึ้น จากระดับรู้จำ เป็นระดับการเข้าใจ และวิเคราะห์ โดย นักศึกษาที่ยังตั้งคำถามไม่ดี อาจารย์เปิดโอกาส ให้ได้แลกเปลี่ยน กับเพื่อนที่มีการตั้งคำถามที่ดี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในระดับเดียวกัน นักศึกษาสามารถตั้งคำถามได้ดีขึ้น หลังจากนั้น ให้นักศึกษาไปค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ในแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย โดยมีอาจารย์เป็นเพียงผู้กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด ผลการประเมิน นักศึกษาเห็นว่า การเขียนบันทึกสะท้อนคิดช่วยให้ตนเอง ทบทวนสาระเนื้อหาความรู้ที่ผ่าน และฝึกหาความรู้เพิ่มเติมด้วนตนเอง นอกห้องเรียน
การจัดการความรู็ในการเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นมีโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ที่ชัดเจนในแค่ละระดับ กล่าวคือ รองผูู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการเป็นผูู้กำหนดนโยบายและกำกับติดตามการดำเนินงาน หัวหน้างานจัดการความรู้ทำหน้าที่สรุปและตั้งประเด็นการเรียนในแต่ละครั้ง เลขางานจัดการความรู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้แต่ละประเด็นใน www หรือ ไลน์กลุ่ม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องและทันสมัย
เห็นด้วยกับการจัดการความรู้ในการเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นมีโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ที่ชัดเจนในแค่ละระดับ กล่าวคือ รองผูู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการเป็นผูู้กำหนดนโยบายและกำกับติดตามการดำเนินงาน หัวหน้างานจัดการศึกษาทำหน้าที่สรุปและตั้งประเด็นการเรียนในแต่ละครั้ง เลขางานจัดการศึกษาทำหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้แต่ละประเด็นใน www หรือ ไลน์กลุ่ม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องและทันสมัย
บทบาทครูเป็นผู้กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสมำ่เสมอ บทบาทนักศึกษาทำหน้าที่ทบทวนประสบการณ์ตนเองและพัฒนาตนเองให้ต่อเนื่อง
การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และนำความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติและให้เป็นประโยชน์ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น เพราะโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา สิ่งที่ใหม่ๆ ภาพของสถาบันการศึกษาจะที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู ผู้เรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก
บทบาทของครูในการจัดการความรู้ในการเรียนในศตวรรษที่ 21นอกจากปลี่ยนจากสอนไปสู่การเป็น coach จากถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้อำนวยการสร้างความรู้
และจัดการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยี การส่งเสริมการเรียนรู้ของครู ให้ทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดีขึ้น คือการเรียนรู้และพัฒนาบทบาทครูพร้อมเพื่อนครู โดยการรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำงานประจำ ต้องไม่เน้นสอนสาระวิชา แต่เน้นสร้างแรงบันดาลใจ การรวมตัวกันเรียนรู้จากการทำหน้าที่นี้ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)
การการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรูของผู้เรียน โดยมุงไปที่ใหผู้เรียนสรางองคความรูดวยตนเอง ผู้สอนตองไมสอนหนังสือไมนําสาระที่มีในตํารามาบอกบรรยายใหผู้เรียนจดจําแลวนําไปสอบวัดความรู ผู้สอนตองสอนคนใหเปนมนุษยที่เรียนรูการใชทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เปนผูออกแบบการเรียนรู และอํานวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู ใหผู้เรียนเรียนรูจากการเรียนแบบลงมือทํา โดยมีประเด็นคําถามอยากรูเปนตัวกระตุนสรางแรงบันดาลใจใหอยากเรียน ที่จะนําไปสูการกระตือรือรนที่จะสืบคน รวบรวมความรูจากแหลงตาง ๆ มาสนับสนุน หรือโตแยงขอสมมติฐานคําตอบที่คุนเคย พบเจอจากประสบการณเดิมใกลตัว สรางเปนกระบวนทัศนใหมแทนของเดิม
3R + 4C เป็นสิ่งที่กล่าวถึงมากในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ลักษณะที่สำคัญอีกประการในการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่นี้ คิดว่าผู้สอนเองจะต้องมีการเปลี่ยนกระบวนการคิดที่ต่างจากเดิม ผู้สอนไม่ควรห่วงกังวลเรื่องเนื้อหาจนเกินไป ควรมุ่งเน้นไปที่สาระสำคัญนั้นๆมากกว่า ควรพาตนเองไปในลักษณะที่เรียกว่า คุณอำนวย ควรพัฒนาเทคนิคการสอน ออกแบบการเรียนการสอนที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะสืบค้นความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้เพราะในยุคนี้ความรู้มีจำนวนมากและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทำได้ง่าย เป้าหมายผู้เรียนจะได้เกิดลักษณะที่ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
(อ.วาสนา ครุฑเมือง)
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักศึกษาเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ดังนั้นครูจะต้องมีการเตรียมตัวเองที่ดีเพื่อดำเนินบทบาทดังกล่าวให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด
ครูในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักศิษย์ในศตวรรษที่ 21 เด็กยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน (Generation Z) เป็นพวกที่ชอบใช้อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต (netizen) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพื่อประโยชน์ทางการตลาดครูเพื่อศิษย์อาจช่วยกันศึกษารวบรวมลักษณะของเด็กไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องพัฒนา ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง โลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การสื่อสาร เปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างรวดเร็ว ครูตามเทคโนโลยีให้ทันได้ยากและยากที่ครูจะตามเทคโนโลยีให้ทัน จึงต้องมีกลไกช่วยเหลือครูอย่างเป็นระบบ และครูก็ต้องหมั่นเรียนรู้ ครูเพื่อศิษย์ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะต่อไปนี้เป้าหมาย อันได้แก่ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิผล ใช้เทคโนโลยีเพื่อวิจัย จัดระบบ ประเมิน และสื่อสารสารสนเทศใช้เครื่องมือสื่อสาร เชื่อมโยงเครือข่าย (คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นมีเดีย ฯลฯ) และ social network อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อเข้าถึง (access) จัดการ (manage) ผสมผสาน (integrate) ประเมิน (evaluate) และสร้าง (create) สารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่ในเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ปฏิบัติตามคุณธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคความรู้ บทบาทของการศึกษา คือ ๑) เพื่อการ ทำงานและเพื่อสังคม ๒) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน ๓) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ ๔) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
ครู ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลที่พร้อมเรียนรู้ (learning person) ครู จะต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้พัฒนาพลังสมอง ๕ ด้าน ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย สมองด้านสังเคราะห์ สมองด้านสร้างสรรค์ สมองด้านเคารพให้เกียรติ และสมองด้านจริยธรรม (21st Century Skills : Rethinking How Students Learn โดย Howard Gardner)
แนวคิดการเรียนรู้ ครูต้องปรับสมดุลใหม่ในการทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ ระลึกรู้ตลอดเวลาว่า การเรียนการสอนไม่ใช่เรื่องความรู้ของตน แต่เป็นเรื่องการคิดและทักษะของศิษย์ จุดเน้นต้องเปลี่ยนจากการสอนของครูไปสู่การเรียนรู้ของศิษย์ ยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” สอนเท่าที่จำเป็น แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนรู้จาก การลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้วให้ทบทวนไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR ) ว่าได้เรียนรู้อะไร และยังไม่ได้ เรียนรู้อะไรบ้าง ผู้เรียนมีบทบาทสูงมากในการเรียนรู้(student engagement) อาจเรียกว่าเป็นการเรียนแบบที่ผู้เรียนกำหนด (Learners-Directed Learning) จะทำให้การเรียนรู้นั้นเกิดจากภายในใจและ สมองของตัวผู้เรียนเอง
ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นยุคความรู้ บทบาทของการศึกษา คือ ๑) เพื่อการ ทำงานและเพื่อสังคม ๒) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน ๓) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ ๔) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า
ครู ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลที่พร้อมเรียนรู้ (learning person) ครู จะต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้พัฒนาพลังสมอง ๕ ด้าน ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย สมองด้านสังเคราะห์ สมองด้านสร้างสรรค์ สมองด้านเคารพให้เกียรติ และสมองด้านจริยธรรม (21st Century Skills : Rethinking How Students Learn โดย Howard Gardner)
แนวคิดการเรียนรู้ ครูต้องปรับสมดุลใหม่ในการทำหน้าที่ครูเพื่อศิษย์ ระลึกรู้ตลอดเวลาว่า การเรียนการสอนไม่ใช่เรื่องความรู้ของตน แต่เป็นเรื่องการคิดและทักษะของศิษย์ จุดเน้นต้องเปลี่ยนจากการสอนของครูไปสู่การเรียนรู้ของศิษย์ ยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” สอนเท่าที่จำเป็น แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนรู้จาก การลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้วให้ทบทวนไตร่ตรอง (reflection หรือ AAR ) ว่าได้เรียนรู้อะไร และยังไม่ได้ เรียนรู้อะไรบ้าง ผู้เรียนมีบทบาทสูงมากในการเรียนรู้(student engagement) อาจเรียกว่าเป็นการเรียนแบบที่ผู้เรียนกำหนด (Learners-Directed Learning) จะทำให้การเรียนรู้นั้นเกิดจากภายในใจและ สมองของตัวผู้เรียนเอง
:sudarat
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระบบการศึกต้องปรับเปลี่ยนให้เท่าทัน การพัฒนาให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ให้มีทักษะในการเรียนด้วยตนเอง จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและอีกหลายทักษะที่จำเป็นต้องจัดให้เกิดมีในตัวนักศึกษา เพื่อให้สามมารถอยู่ได้ในสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น ความคิดสร้างสรรค การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร ครู จึงต้องพัฒนาทักษะ มากกว่าสอนเนื้อหา มุ่งเน้นในการกระตุ้น สนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นจึงจะสามารถเป็นเครื่องมือที่จะอยู่ในสังคม ให้นักศึกษาได้อย่างยั่งยืน