18/03/2014
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
๑.???? ขั้นเตรียม
๑.๑ วางแผนร่วมกันในการจัดการเรียนการสอน เช่น การจัดทำ มคอ. เป็นต้น
๑.๒ เตรียมสถานที่ สื่อการเรียนการสอน โสต เอกสารการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้
๑.๓ วางแผนการวัดและประเมินผล
๑.๔ ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้แก่
๑.๔.๑ การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
๑.๔.๒ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๓-๖ คน
๑.๔.๓ การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา
๑.๔.๔ การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน, และหรือขั้นการประเมินผล
๑.๔.๕ การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ ๕-๒๐ นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
๑.๔.๖ การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม
๑.๔.๗ การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว
๑.๔.๘ การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน, และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(problem-based learning)
๑.๔.๙ การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
๑.๔.๑๐ การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน
๑.๔.๑๑ การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ
๑.๔.๑๒ การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ
๑.๔.๑๓ การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน
๑.๔.๑๔ การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ
๑.๔.๑๕ การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
๑.๔.๑๖ Didactic Method: วิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (Active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning)
VARK Learning style: เป็น sensory Model ประกอบด้วย V: Visual เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบดู บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านหรือเขียน หรือบางคนชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
๒. ขั้นดำเนินการสอน
๒.๑ ขั้นนำ
????????? ๒.๑.๑ ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน
????????? ๒.๑.๒ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม
????????? ๒.๑.๓ การใช้สื่อและวีดีทัศน์
????????? ๒.๑.๔ เร่งเร้าประสาทความรู้สึกต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
๒.๒ ขั้นสอน
????????? ๒.๒.๑ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ใช้ VARK style เป็นต้น
????????? ๒.๒.๒ เน้นการมีส่วนร่วมหรือใช้คำถามกระตุ้น
????????? ๒.๒.๓ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด คิด ฟังหรือเขียนอย่างลุ่มลึกทำให้ผู้เรียนจัดระบบความรู้ด้วยตนเอง
????????? ๒.๒.๔ เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
????????? ๒.๒.๕ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้
๒.๓ ขั้นสรุป
????????? ๒.๓.๑ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
๒.???? วัดและประเมินผล
๓.๑ ประเมินผลตามสภาพจริง
๓.๒ ประเมินโดยมีเกณฑ์ประเมินล่วงหน้า
????????????????????????????????????????????????????????? กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์