• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

23/07/2012

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับครูก่อนเกษียณโดย ดร.อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 7:46 am
Reactions :2 comments

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับครูก่อนเกษียณโดย ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ?

จากการสังเคราะห์รายงานการวิจัยเรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูก่อนเกษียณ? ซึ่งดำเนินการโดย ดร.ประภาพร มโนรัตน์ นับว่า
เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมากต่อข้าราชการครูก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ในการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของตนเอง? เนื่องจากข้าราชการครู เปรียบเสมือนบัญชีทางทรัพย์สินของประเทศชาติ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์
ที่สังคมจะได้รับประโยชน์เมื่อเกษียณอายุราชการ อีกทั้งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมาก มีการกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับว่า ครูคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นข้าราชการครูจึงน่าจะมีบทบาทสำคัญให้สังคมผู้สูงอายุเป็นสังคมแห่งคุณภาพ ซึ่งการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพก่อนที่ครู
จะเกษียณอายุราชการจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัย ยังทำให้ทีมสุขภาพสามารถนำรูปแบบนี้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรอื่นๆ ได้อีกด้วย?

????????????? ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา? ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของครูก่อนเกษียณ โดยศึกษาถึงสภาพพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูก่อนเกษียณ (ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ การมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย โภชนาการ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การพัฒนาทางจิตวิญญาณและการจัดการกับความเครียด)? การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพครูก่อนเกษียณ (ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ? ทัศนคติต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และความต้องการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อการเกษียณอายุ) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ครูก่อนเกษียณมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ

โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง?? มีความรู้? ทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคมและความต้องการการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพก่อนเกษียณอายุในระดับสูง? แต่การปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในลักษณะขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากครูให้ความสำคัญน้อยและคิดว่าทำได้ยาก? ขาดทักษะการบูรณาการพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสำหรับครูก่อนเกษียณประกอบด้วย การวิเคราะห์สุขภาพตนเองจากผลกระทบของการสูงอายุและการเกษียณอายุราชการ? (การเรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการสูงอายุและการเกษียณอายุราชการต่อสุขภาพ ?การทบทวนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเดิม และ??????????? การวิเคราะห์อันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพ)? การประเมินความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมผสานพฤติกรรมสุขภาพ (การฝึกประสบการณ์ด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ)? การทดลองปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพเข้ากับวิถีชีวิตปกติ (การปฎิบัติตามทางเลือก และการปรับช่องโหว่)????????

ระยะที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบ โดยประเมินจากพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ)? ภาวะสุขภาพของ

ครูก่อนเกษียณ (ระดับความดันโลหิต อัตราการเต้นของชีพจร ดัชนีมวลกาย) และ

ความพึงพอใจต่อรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของครูก่อนเกษียณ (ความเหมาะสมของรูปแบบและกิจกรรม? ผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ และการนำไปประยุกต์ใช้

ในการดำเนินชีวิตประจำวัน)

จากผลการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูก่อนเกษียณครั้งนี้ ในส่วนของผลการประเมินรูปแบบ พบว่า เป็นรูปแบบ
ที่เหมาะสมมีประสิทธิผลดีคือ สามารถส่งเสริมให้ครูก่อนเกษียณมีพลังอำนาจในการควบคุมชีวิต ส่งผลให้มีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี ได้แก่ ระดับความดันโลหิต? ค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้มโนภาพในตัวบุคคลและระบบสนับสนุนทางสังคมเป็นพลังการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในตัวบุคคล?? ในการพัฒนาความรู้? ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครูก่อนเกษียณอายุ

?

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์ โดย ดร.อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 7:39 am
Reactions :2 comments

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์ โดย? ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุตรดิตถ์?? ซึ่งดำเนินการโดยนางณัทกวี ศิริรัตน์ และนายอิทธิพล แก้วฟอง นับว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมาก เพราะปัจจุบัน ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีต่างๆ และการแพทย์ ซึ่งจากผลการสำรวจภาวะสุขอนามัยของประชากรไทยในปี 2548 พบว่า มีผู้สูงอายุ จำนวน 6,617,000 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 3,022,000 คน และเพศหญิงจำนวน 3,595,000 คน และคาดว่าในปี 2553 จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง รวมเป็นจำนวน 7,639,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุเหล่านี้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าของสังคมไทย เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงที่ควรให้ความเคารพ แต่เมื่อสูงวัยขึ้น ร่างกายก็เริ่มมีการเสื่อมถอย สรีระทางร่างกายและสมรรถภาพทางกายภาพต่างๆ ย่อมลดลง และเกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยปรากฏออกมาในรูปของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ และสังคม ประกอบกับการดูแลตัวเองลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคติดต่อ และโรคเรื้อรังได้ง่าย ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลด้านปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ทำให้เป็นปัญหาแก่ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การที่จะช่วยให้

ปัญหาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม การแก้ปัญหาจึงต้องใช้กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยต้องค้นหาเหตุและผลของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป ?ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาสุขภาพ (Participatory Learning for Health Development: PLD) โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยแรงงาน ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชม อ.ส.ม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาชุมชน??

ขั้นตอนที่ 2 การวาดภาพที่พึงปรารถนาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ภาพชุมชนที่พึงปรารถนา และวิสัยทัศน์ในการดูแลผู้สูงอายุ?

ขั้นตอนที่ 3 การระบุตัวชี้วัดของวิสัยทัศน์การดูแลผู้สูงอายุ?

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับภาพที่พึงปรารถนาเพื่อระบุปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ?

ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและจัดทำแผนแก้ไขปัญหา ขั้นตอนที่ 6 การทำประชาพิจารณ์?

ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้ พบว่า การเรียนรู้ร่วมกันของภาคีเครือข่ายและผู้สูงอายุ ทำให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและการกำหนดอนาคตโดยสังเคราะห์ได้วิสัยทัศน์ของผู้อายุ คือ ?ผู้สูงอายุที่เป็นยา มีสุขภาพกายและจิตดี ด้วยไมตรีจากทุกคน? และจากการวิเคราะห์ปัญหาของผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ คือ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รับประทานอาหารและยาไม่ถูกต้อง ขาดรายได้มีเงินไม่เพียงพอ? ขาดการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ขาดการตรวจร่างกายประจำปี ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลูกหลานไม่ให้ความเคารพนับถือ? และคนในชุมชนไม่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ? ขาดการจัดตั้งกองทุนฌาปนกิจผู้สูงอายุ? โครงการแก้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุมี 6 โครงการ คือ โครงการจัดตั้งกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ผู้สูงอายุ? โครงการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ? โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี? โครงการสวัสดิการผู้สูงอายุ? โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุ? และโครงการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเพื่อดูแลและประสานงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ?

จากการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ พบว่ารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จะเน้นที่การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และในรูปแบบจะประกอบด้วย การศึกษาชุมชน การประเมินสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุ การวิเคราะห์สาเหตุและปัญหา รวมถึงการจัดทำแผนแก้ไขปัญหา ซึ่งการที่พัฒนารูปแบบให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนทุกระดับในการสร้างพลังให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพตนเองบนพื้นฐานของบริบทและรากเหง้าของวัฒนธรรมชุมชน

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การเรียนแบบทีม: ผลสัมฤทธิ์ การคิดวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ดร.อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 7:36 am
Reactions :9 comments

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การเรียนแบบทีม: ผลสัมฤทธิ์ การคิดวิจารณญาณ และทักษะการแก้ปัญหาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?การเรียนแบบทีม: ผลสัมฤทธิ์ การคิดวิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ?? ซึ่งดำเนินการโดย นางศศิธร ชิดนายี และนายภราดร ล้อธรรมมา นับว่าเป็นงานวิจัย
ที่ประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล เนื่องจากในวิชาชีพการพยาบาล เนื้อหาที่นักศึกษาจำเป็นต้องรู้ในแต่ละรายวิชามีจำนวนมาก ในขณะที่เวลามีจำกัด ครูต้องการถ่ายทอดให้ครอบคลุม เพราะต้องเกี่ยวข้องกับการสอบ
ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของผู้สำเร็จการศึกษาและบุคคลเหล่านี้จะต้องออกไปให้การดูแลสุขภาพประชาชนต่อไป? ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการพยาบาลโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะยังคงเน้นใช้การบรรยายเป็นหลักถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการนำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการอื่นๆ มาใช้
แต่ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือ จำนวนอัตราส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษามีมาก
ทำให้การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มเล็กทำได้ยาก ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมของผู้วิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบทีมสามารถช่วยลดปัญหาจำนวนผู้สอนที่มีจำนวนน้อยได้ ?โดยมีการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 5-7 คนต่อกลุ่ม ?สมาชิกกลุ่มจะมีความรับผิดชอบร่วมกันในงานของตนเองและงานกลุ่ม ผู้เรียนจะมีการอ่านเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเรียน และในขณะที่มีการทำกลุ่มทุกคน
จะแสดงความคิดเห็นตามที่อ่านทบทวนมาเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนเองอ่านมานั้นมีความเข้าใจอย่างไร การที่ผู้เรียนมีความรับผิดชอบอ่านมาล่วงหน้าจะช่วยให้กลุ่มหรือทีมสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น สมาชิกแต่ละคนในทีมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งกันและกัน มีการประเมินและให้กำลังใจจากสมาชิกทีม ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์
ที่เหนียวแน่นและยั่งยืนและเกิดสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้การเรียน

การสอนแบบทีมยังช่วยส่งเสริมทำให้เกิดคุณภาพของผู้เรียน ดังนี้ 1) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา 2) ลดเวลาในการบรรยาย 3) ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผู้เรียนมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน 4) ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีความกระตือรือร้น 5) ส่งเสริมการทำงานแบบทีม 6) สนับสนุนพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและทักษะการแก้ไขความขัดแย้ง 7) พัฒนาทักษะการรู้คิดของผู้เรียนในห้องเรียนขนาดใหญ่ให้มีระดับระดับสูงขึ้น 8) เป็นการช่วยเหลือทางสังคมสำหรับผู้เรียนที่มีความเสี่ยง และ 9) เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมความคิดอย่างมีวิจารณญาณ? รวมถึงผลด้านบวกของการเรียนแบบทีม คือ การทำงานแบบทีมช่วยทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การทำงานเป็นทีมทำให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่าการทำงานโดยคนเดียว เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาและเห็นความแตกต่าง คุณค่าของการอภิปรายกันคือ การที่มีการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ตรวจสอบเหตุผลของตนเองให้มีน้ำหนักมากขึ้น และช่วยทำให้มีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนมากขึ้น และการให้เหตุผลระหว่างกลุ่มทำให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผลมากขึ้น ?

??????????? สำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทดลองใช้การเรียนแบบทีมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1? ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 83 ราย และดำเนินการขณะเรียนในบทการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่และสูงอายุที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

??????????? 1. ในชั่วโมงแรกของการเปิดการเรียนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ผู้สอนจะชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเรียนแบบทีม เป้าหมายของการเรียน เกณฑ์การจัดตั้งกลุ่มการเรียน ระบบการให้คะแนน และแจกคู่มือการเรียนแบบทีม พร้อมกับให้นักศึกษาประเมินการคิดแบบมีวิจารณญาณตามแบบของสถาบันพระบรมราชชนก โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง

2. จัดกลุ่มนักศึกษาโดยแบ่งจากเกรดเฉลี่ยสะสมของชั้นปีที่ 1 ให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงสุดเรียงลำดับลงมาจัดจำนวน 5 คนต่อกลุ่ม จะได้จำนวนกลุ่ม 16 กลุ่ม ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะมีนักศึกษาที่มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนอย่างละเท่าๆกัน??

3. ก่อนการเรียน 2 สัปดาห์ผู้สอนได้แจกเอกสารประกอบการสอนในหน่วยการเรียน พร้อมกับเน้นย้ำให้นักศึกษาค้นคว้าตามรายหัวข้อมาล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน

??????????????????????? 4. กิจกรรมแรกในห้องเรียนของการสอน คือ การสอบรายบุคคลเพื่อเป็นการวัดความรับผิดชอบในการค้นคว้าและความพร้อมในการเรียน โดยใช้แบบทดสอบปรนัย จำนวน 4 ตัวเลือก จำนวน? 15 ข้อ กำหนดให้ระยะเวลาในการทำแบบทดสอบ 1 ข้อต่อ 1 นาที รวม 20 นาที

??????????????????????? 5. ภายหลังนักศึกษาทำแบบทดสอบปรนัยรายบุคคลเสร็จ และส่งคำตอบแล้ว? ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันทำแบบทดสอบฉบับเดิมซ้ำโดยทำเป็นกลุ่ม ?สมาชิกจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนเตรียมมาก่อนเข้าเรียน การทำแบบทดสอบจะต้องมีการวิเคราะห์และอธิบายเหตุผลของการเลือกและไม่เลือกแต่ละตัวเลือก สมาชิกทุกคนต้องเห็นชอบกับคำตอบของแต่ละคำถาม ใช้เวลาร้อยละ 50 ของจำนวนชั่วโมงในแต่ละหัวข้อ? ประมาณ 3 ชั่วโมง

6. กลุ่มทำแบบทดสอบเสร็จและส่งคำตอบอาจารย์ตรวจให้คะแนนทันที แต่ละทีมจะทราบคำตอบที่ทีมตอบมาว่าถูกหรือผิด และประกาศให้ทราบ และประกาศคะแนนรายบุคคลให้ทราบ

??????????????????????? 7. นักศึกษาจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมโดยมีการอภิปรายเกี่ยวกับ
ข้อคำถามและคำตอบของแบบทดสอบในแต่ละข้อ โดยเฉพาะข้อที่มีความแตกต่างกัน
หากพบว่าไม่สามารถสรุปความถูกต้องหรือเหตุผลที่มีไม่ครบถ้วนผู้สอนจะมีอธิบายและขยายความเพิ่มเติม ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

??????????????????????? 8. ภายหลังการอภิปรายระหว่างทีม ผู้สอนให้แบบทดสอบเป็นสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนเพื่อนักศึกษาประยุกต์ใช้แนวคิดกับสถานการณ์เน้นการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ จำนวน 18 ข้อ และมีการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มและระหว่างทีม ใช้เวลา
ในการอภิปรายภายในทีม 60 นาที และระหว่างทีม? 2 ชั่วโมง

??????????? ??????????? 9. ภายหลังสิ้นสุดแต่ละหน่วยการเรียน มีการสรุปบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้กับหน่วยการเรียนต่อไป

10. ชั่วโมงสุดท้ายของการเรียนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ให้นักศึกษาตอบแบบสอบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนแบบทีม และให้ประเมินการคิดแบบมีวิจารณญาณโดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง

??????????????????????? 11. เมื่อได้รับแบบสอบถามคืน ผู้สอนได้นำแบบสอบถามตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม ก่อนนำไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้

1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหาร วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ก่อนและหลังใช้การเรียนแบบทีม พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทีม ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05)

2. เปรียบเทียบความคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ก่อนและหลังการเรียนการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหารศึกษา พบว่าคะแนนเฉลี่ยความความคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการเรียนแบบทีมโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ได้แก่ การลงข้อสรุป ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ การระบุประเด็นปัญหา

3. ทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ภายหลังการเรียนโดยใช้การเรียนแบบทีม พบว่า นักศึกษามีทักษะการแก้ปัญหาภายหลังการเรียนแบบทีมอยู่ในระดับปานกลางมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.86

จากผลการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ จะพบว่า การเรียนแบบทีมสามารถช่วยให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น นักศึกษามีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการลงข้อสรุป และการระบุประเด็นปัญหา นอกจากนี้ยังพบว่า

การเรียนแบบทีมยังทำให้เกิดคุณภาพทางการเรียนกับผู้เรียนอีกด้วย? ซึ่งนักศึกษา
ส่วนใหญ่ประเมินการเรียนแบบทีมว่า การเรียนในขั้นตอนการประยุกต์ใช้มีประโยชน์ต่อนักศึกษามาก เพราะทำให้มีการคิดวิเคราะห์ที่กว้างขวางมากขึ้น ทำให้สามารถเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ ได้ และมีความเข้าใจต่อการเรียนมากขึ้น และช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการเรียนวิชาชีพพยาบาล เพราะเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความปลอดภัยของมนุษย์ ดังนั้นจึงควรมีการนำการเรียนแบบทีม

ไปใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น จัดการเรียนการสอนทั้งภาคการศึกษา ทั้งรายวิชา โดยปรับกระบวนการสอนแบบทีมในการให้ความรู้หัวข้อที่สอน อาจสรุปภาพรวมทั้งหมดอีกครั้ง หรือมีการสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษานอกเวลาเรียนร่วมด้วย

?

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD)ของหน่วยบริการปฐมภูมิเขต 2 พิษณุโลก โดยอาจารย์ภราดร ล้อธรรมมา และคณะ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 7:19 am
Reactions :5 comments

การสังเคราะห์งานวิจัย??

เรื่อง

ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD)ของหน่วยบริการปฐมภูมิเขต 2 พิษณุโลก

??????????????????โดย?

อาจารย์ภราดร ล้อธรรมมา และคณะ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?ประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไต
ทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เขต 2 พิษณุโลก
?
ซึ่งดำเนินการโดยนายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ และคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากโรคไตเรื้อรัง (Chronic? kidney? disease) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยพบอุบัติการณ์การเกิดและความชุกของโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไป และเมื่อการดำเนินของโรคเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้าย การรักษาจะใช้วิธีการบำบัดทดแทนไต (Renal? Replacement Therapy) ประกอบด้วย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)? การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous? ambulatory? peritoneal dialysis) และการปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นผู้มีรายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้ริเริ่มที่จะให้มีการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องอยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นมา ซึ่งการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง(CAPD) เป็นการขจัดของเสียและน้ำเกินออกจากร่างกายโดยผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายยางพิเศษเพื่อใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ของเสียในเลือดจะแพร่กระจายผ่านผนังเยื่อบุช่องท้องเข้าสู่น้ำยาล้างไต และน้ำยาล้างไตที่มีของเสียจะถูกปล่อยออกจากร่างกาย ต่อจากนั้นจะมีการใส่น้ำยาล้างไตที่สะอาดเข้าไปใหม่
เพื่อเริ่มต้นการล้างไตรอบต่อไป ?ซึ่งวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีการทำที่ง่าย ผู้ป่วยสามารถทำได้เอง โดยไม่ต้องการอุปกรณ์พิเศษใด และไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2?3 ครั้ง ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าเสียโอกาสของผู้ป่วย

และญาติในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตามการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยได้ เช่น การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ CAPD
ได้แก่ การติดเชื้อ ความผิดปกติของการไหลของน้ำยาล้างไต ได้แก่ การรั่วไหล และ
อุดตัน? การเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ อาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น ปวดท้อง ท้องผูก ซึ่งเป็นผลมาจากการดูแลแผลผ่าตัดของผู้ป่วยไม่ดีพอ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย?? ทั้งยังมีโอกาสเกิดภาวะทุพโภชนาการจากการที่ร่างกายมีการสูญเสียโปรตีน
ไปกับน้ำยาล้างไต การดูดซึมของน้ำตาลกูลโคสจากน้ำยาล้างไตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความอยากอาหารลดลง ร่วมกับปัญหาด้านจิตใจ ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์นับตั้งแต่การได้รับการวินิจฉัยโรค การบำบัดรักษา การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย ญาติและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การให้คำปรึกษาขณะรับการบำบัด จนกระทั่งการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องจากศูนย์บริการ CAPD ร่วมกับสถานบริการใกล้บ้าน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพต่อไป

?สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยประเมินระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ประกอบด้วยการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขต 2 พิษณุโลก ผลการวิจัย พบว่า ผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วย
มีความคิดเห็นต่อระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องของหน่วยบริการปฐมภูมิ ในด้านบริบท ?ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากข้อมูลเชิงคุณภาพ

พบว่า ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) จะมีระบบการดำเนินงานที่ชัดเจน? ผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยจะมีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติก่อนกลับบ้าน โดยมีการให้ความรู้ และแนะนำจนมีความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และหลังจากผู้ป่วยกลับบ้านจะมีการติดตามเยี่ยมผลการดูแลตนเองของผู้ป่วยและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีระบบการประสานงานในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย และ
มีการดำเนินงานด้านการให้บริการเชิงรุกเพื่อคัดกรองความเสี่ยงจากภาวะทางไต
ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ อีกด้วย

จากการสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้จะเห็นได้ว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการที่ควรจะนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง แบบต่อเนื่อง (CAPD) ของหน่วยบริการปฐมภูมิ เขต 2 พิษณุโลก ได้แก่ 1.การพัฒนาศักยภาพบุคลากรหน่วยบริการปฐมภูมิ ด้านความรู้ และทักษะการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) โดยการอบรมเฉพาะทาง เพื่อให้บุคลากร
เกิดความเชื่อมั่นในระบบการให้บริการ และได้รับการยอมรับจากผู้ป่วย ?

2. การพัฒนาระบบการรับส่งผู้ป่วยต่อจากโรงพยาบาล ถึง หน่วยบริการ
ปฐมภูมิ เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องในลักษณะองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยการดูแล ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตสังคม และจิตวิญญาณ

??????????? 3. การพัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ควรมีนโยบายที่ชัดเจนด้านการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วย CAPD ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

??????????? 4. การพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานในระบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง แบบต่อเนื่อง (CAPD) ในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge management – KM ) เช่น จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ให้บริการในเรื่อง ประสบการณ์การดูแลด้านจิตใจ สำหรับผู้ป่วย CAPD ?เพื่อให้ผู้ให้บริการเกิด
องค์ความรู้ ใหม่ในการให้บริการ และสามารถให้บริการได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

???????????????????????.

การสังเคราะห์งานวิจัย ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 โดยดร.อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 7:13 am
Reactions :6 comments

การสังเคราะห์งานวิจัย?เรื่อง?

?ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ?

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์?

โดย

?ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล และคณะ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง ?ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์?? ซึ่งดำเนินการโดยนางสาวพรรณพิไล สุทธนะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการใช้และบริโภคอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ นับวันจะมีความซับซ้อนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการโฆษณาสรรพคุณที่เกินจริง
ผู้โฆษณาไม่มีความรู้ว่าสินค้าดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย หรือ
มีสารอันตรายต่อสุขภาพปนอยู่ ?รวมถึงผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบ ?ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความพยายามที่จะกระตุ้น ปลุกจิตสำนึกผู้บริโภค หรือประชาชนให้หันมาสนใจต่อปัญหาสินค้าสุขภาพ มุ่งเน้น
ให้ความรู้ถึงโทษภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยความปลอดภัย และโดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาล นอกจากจะเป็นทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพที่จะต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลประชาชนทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค? การรักษา และการฟื้นฟูสภาพแล้ว ยังอยู่ในฐานะของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอีกด้วย ดังนั้นความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลเป็นบุคลากรต้นแบบที่มีคุณภาพทางด้านสุขภาพอนามัยที่ดีแก่ประชาชนต่อไป ?ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

อุตรดิตถ์ จำนวน 75 คน ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ผลการวิจัย พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สิทธิผู้บริโภคและช่องทางการร้องเรียน : ในภาพรวมนักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่นักศึกษาตอบถูกมากที่สุด ได้แก่ 1) มีความรู้เกี่ยวกับข้อความบนฉลากถูกต้อง 2) การรับประทานอาหารทอด ที่ทอดด้วยน้ำมันซ้ำซาก อาจทำให้เกิดมะเร็ง 3) ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดต้องระบุวันที่ผลิตและวันหมดอายุ 4) ท่านมีสิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยร้อยละ 100 ?ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม น้อยที่สุด ร้อยละ 32.00 ด้านพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ : ในภาพรวมนักศึกษามีพฤติกรรมอยู่ในระดับดี โดยมีพฤติกรรมอ่านสาระสำคัญบนฉลากก่อนซื้อหรือก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือเลือกซื้อยาจากร้านที่มีเภสัชกรอยู่ประจำร้าน และพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง โดยเชื่อถือตามโฆษณาและสรรพคุณอวดอ้าง ?ด้านพฤติกรรมการปกป้องสิทธิผู้บริโภค : มีนักศึกษาเคยได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 12 และทุกคนไม่เคยร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค เพราะกลัวความยุ่งยาก ไม่อยากมีเรื่องราวกับผู้ประกอบการ ไม่ทราบว่าจะร้องเรียนที่ไหน อย่างไร และไม่มีเวลา นอกจากนี้จากผลการวิจัย ยังพบว่า ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและสิทธิผู้บริโภคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จากการสังเคราะห์งานวิจัยเรื่องนี้ พบว่าความรู้และพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาล
ที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา
มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู่ในระดับมาก แต่ยังมีบางส่วนกลับเชื่อตามโฆษณาและสรรพคุณอวดอ้างของผลิตภัณฑ์ และเคยได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ แต่ไม่มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคทราบ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควรมีการเน้นย้ำให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ โทษภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยความปลอดภัย เนื่องจากนักศึกษาจะต้องเป็นบุคลากรทางด้านสุขภาพและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนต่อไป

สำหรับประชาชน : หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเน้นย้ำและกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจต่อปัญหาสินค้าสุขภาพ มุ่งเน้นให้ความรู้ถึงโทษภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยความปลอดภัย โดยอาจดำเนินการในรูปของการจัดนิทรรศการหรือจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ได้? ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความรู้และเห็นช่องทางในการร้องเรียนมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพตนเอง

?????????????????

18/07/2012

KM ผลการสอบสภา ในรายวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

เทคนิดการทบทวน สอบ ให้สอนจากสถานการณ์?แล้วเชื่อมโยง กับทฤษฎี? ในขณะฝึกงาน ครับ

KM เพื่อการพัฒนา ต่อเนื่อง

เรียนเชิญอาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บ blog? ครับ

เชิญชวน

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 5:55 am
Reactions :No comments

เรียนเชิญอาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บ blog? ครับ

17/07/2012

โภชนาการในผู้สูงอายุ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: พิศิษฐ พวงนาค
Time: 7:51 am
Reactions :No comments

โภชนาการในผู้สูงอายุ1

06/07/2012

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: พิศิษฐ พวงนาค
Time: 9:05 am
Reactions :No comments

ความเห็นแก่ตัว หมายถึง คนที่ตกเป็นทาสของกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง หาความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น

การรักตัวเอง หมายถึง การรักษา กาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง

ความเป็นจริง มนุษย์ที่เกิดมามีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำจิตมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติ ส่งผลให้มาเกิดเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน ดังที่มนุษย์เกิดมาเมื่อวัยเด็ก จะแสดงกิเลสออกมาให้เราเห็น เช่น ความหลง จะเห็นได้ว่าเด็กจะยึดมั่นถือมั่น ติดพ่อแม่ ไม่ยอมให้ใครอุ้มนอกจากพ่อแม่ หรือบางครั้งเด็กร้อง อยากได้สิ่งของต่าง ๆ เป็นเพราะเด็กมีความโลภ เมื่อได้มาแล้วก็เกิดความหวงแหน และอยากได้สิ่งของอื่นๆ อีกไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าไม่ได้ดังใจก็จะเกิดความโกรธ ร้องไห้งอแงดิ้นทุรนทุราย นี่คือ อาการของเด็กที่มีกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบ งำจิตมาตั้งแต่เกิด เป็นการแสดงออกถึงความเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากลำบากของพ่อแม่ แต่ด้วยความรักที่มีต่อลูก พ่อแม่ก็ตามใจลูกทุกอย่าง ไม่ว่าลูกจะต้องการสิ่งใด ก็หามาให้ โดยไม่คำนึงถึงว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด อีกทั้งไม่เคยชี้แจงแสดงเหตุผลให้ลูกเข้าใจถึงความจำเป็นหรือไม่ กับสิ่งที่ลูกต้องการ ถือว่าเป็นการสนับสนุน กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของลูกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งจะเห็นว่า เด็กที่ถูกพ่อแม่ตามใจส่วนมาก จะประพฤติตนไม่ดี ไม่รู้ผิดไม่รู้ถูก ไม่รู้ชั่ว ไม่รู้ดี? ดังที่เราได้พบเห็นกันในปัจจุบันความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

หน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro