• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

02/03/2012

การใช้ NSAIDs กับอาการใจสั่น

Categories: สุขภาพกับโรคต่างๆ
Author: admin
Time: 3:40 am
Reactions :2 comments

การใช้ NSAIDs กับอาการใจสั่น

ศศิธร ชิดนายี*

หลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์ได้รับการรักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวด อักเสบกล้ามเนื้อ ต่อไปนี้เป็นการศึกษาที่ผู้ที่จะรับประทานยาแก้ปวดควรระมัดระวังไว้จากการศึกษาของ Morten Schmidt (Aarhus University Hospital, Denmark) และคณะพบว่า มีการใช้ยากลุ่มลดอาการปวดชนิด Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)และ ยากลุ่ม COX-2 inhibitors เช่น rofecoxib (Vioxx, Merck & Co)เพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่ง ยากลุ่มCOX-2 inhibitorsในขณะนี้พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไตมากขึ้น? มีอุบัติการณ์ของการเกิดหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation and flutter)จากการรับประทานยากลุ่มนี้พบ 0.5% ในกลุ่มอายุ ?50 – 59 ปี ถึง 10% ในกลุ่มที่มีอายุ 80 – 89 ปี ซึ่งอาการหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation and flutter)จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต (thromboembolic stroke ) และหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากยามีผลข้างเคียงต่อไตแต่ผลที่พบยังมีอัตราค่อนข้างต่ำแพทย์ที่จะสั่งจายยากลุ่มนี้ควรคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้ป่วยด้วย

ผลการวิจัยนี้ ศึกษาในผู้ป่วยประเทศเดนมาร์กที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs32602 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นatrial fibrillation or flutter ตั้งแต่ปี 1999?2008 เปรียบเทียบกับผู้ป่วยประเภทเดียวกันที่ไม่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs จำนวน 325918 คนพบว่ากลุ่มที่ใช้ NSAIDs มีอัตราการเกิด หัวใจสั่นพริ้ว 17 % (incidence rate ratio [IRR] 1.17; 95% CI 1.10?1.24). กลุ่มที่ใช้ COX-2 inhibitorsมีอุบัติการณ์ความเสี่ยงค่อยๆเพิ่มขึ้น(IRR 1.27; 95% CI 1.20?1.34). การศึกษายังพบด้วยว่ากลุ่มคนที่เริ่มใช้ยากลุ่มนี้ใหม่ๆภายใน 2 เดือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพิ่มขึ้น 46? -71 % เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่ม เป็นที่น่าสนใจในการศึกษานี้พบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นในผู้ใช้รายใหม่แตกต่างจากการศึกษาในอังกฤษที่พบในผู้ที่ใช้ยามานาน เนื่องจากยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลหลายอย่างเช่น ขนาดที่ใช้ การใช้ในกลุ่มที่อ้วน ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาควรระมัดระวังอาการนี้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

1.Michael O’Riordan. Use of NSAIDs Linked With Risk of Atrial Fibrillation or Flutter. [online] http://www.medscape.org/viewarticle/746044?src=cmemp

2. Schmidt M, Christiansen, Mehnert F, et al. Nonsteroidal anti-inflammatory drug use and risk of atrial fibrillation or flutter: population-based case-control study. BMJ 2011; 343:d3450. DOI: 10.1136/bmj.d3450. Available at: http://www.bmj.com/

2.Gurwitz JH. NSAIDs and atrial fibrillation. BMJ 2011; 343:d2495. DOI: 10.1136/bmj.d2495. Available at: http://www.bmj.com/

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูร่างกายสำหรับผู้พิการขาขาด

Categories: สุขภาพกับโรคต่างๆ
Author: admin
Time: 3:30 am
Reactions :No comments

การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูร่างกายสำหรับผู้พิการขาขาด

อาจารย์ภราดร? ล้อธรรมมา

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การออกกำลังกายของผู้พิการเพื่อแก้ไข หรือบรรเทาความบกพร่อง เพื่อให้คืนสภาพปกติ หรือ ใกล้เคียงสภาพปกติ ตามแต่ความรุนแรงของความพิการนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าหากได้กระทำอย่างพอเหมาะพอดีแล้ว จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ระบบไหลเวียนโลหิต และช่วยพัฒนาและฟื้นฟูระบบประสาท กล้ามเนื้อมักต่างๆ ของร่างกายเพื่อที่ว่าผู้พิการสามารถที่จะนั่ง ยืน และเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเลือกท่ากายบริหาร ควรมีการพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ในการพัฒนากิจกรรมการออกกำลังกาย หรือเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายชนิดใดชนิดหนึ่งสำหรับผู้พิการ (ฟอง เกิดแก้ว, 2554)

1)????? จุดมุ่งหมายของการออกกำลังกายชนิดนั้นคืออะไร

2)????? การออกกำลังกายชนิดนั้นจะบรรลุผลที่ตั้งไว้หรือไม่

3)????? การออกกำลังกายชนิดนั้นขัดกับหลักการทำงานของร่างกายที่ดีหรือไม่

4)????? มีข้อต่อที่สำคัญอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องในการออกกำลังกายชนิดนี้

5)????? มีกล้ามเนื้อที่สำคัญอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องในการออกกำลังกายชนิดนี้

6)????? การออกกำลังกายชนิดนี้เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ความแข็งแรง หรือความคงทน

ที่มาของภาพ ; http://uvahealth.com

7)????? การออกกำลังกายชนิดนี้มีความหนัก-เบาขนาดไหน

8)????? การออกกำลังกายชนิดนั้นมีประโยชนต่อ ความผิดปกติมากกว่า 1 ชนิดหรือไม่

9)????? จะสามารถวัดความก้าวหน้าของผู้พิการในการออกกำลังกายชนิดนี้ได้หรือไม่

การออกกำลังกายสำหรับผู้พิการขาขาด การฝึกออกกำลังกายของผู้พิการประเภทนี้ ส่วนมากการออกกำลังกายก็เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของอวัยวะส่วนที่ตัดออกไปและยังเหลือไว้บ้าง ซึ่งเรียกว่า ?ตอ? การออกกำลังกายก็เพื่อหวังให้ตอที่เหลืออยู่นั้นมีความแข็งแรง เพื่อที่จะใช้ขาเทียมต่อให้เดินได้ต่อไป ซึ่งผู้พิการที่จะต้องใส่ขาเทียมมีการออกกำลังกายที่หลากหลายวิธี แต่ควรต้องมีการออกกำลังกายเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการออกกำลังกายให้มากที่สุด ดังนี้

1)????? ระยะแรกแพทย์จะแนะนำให้ออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ เนื่องจากว่าการว่ายน้ำจะทำให้อวัยวะของผู้ป่วยที่ขาดหายไปได้ออกกำลังกาย หรือว่า ตอได้ออกกำลังนั่นเอง

2)????? การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูบนเตียงให้เริ่มด้วยการออกกำลังกายในท่าคลาน และหัดคุกเข่าบน ?เตียง เมื่อทำได้ดีขึ้นก็ทำต่อไปในท่ายืน

ที่มาของภาพ ; http://www.dek-d.com

3)????? หัดดันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำและท่านั่ง

4)????? ให้นอนหงายหรือนอนคว่ำแล้วเหยียดและงอขาจะโพกเข้าหาตัว เป็นการบริการตะโพกให้แข็งแรง

ที่มาของภาพ ; www.physicalagency.com

5)????? หัดเดินโดยใช้ไม้เท้ายันเพื่อให้มีการทรงตัวที่ดี

6)????? ใช้เชือกคล้องขาข้างที่ถูกตัดออกไป แล้วพยายามออกกำลังดึงเชือกขึ้นหรือลง

ผู้พิการขาขาดควรต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผู้พิการจะได้มีสุขภาพแข็งแรง????????????? มีศักยภาพทางร่างกาย ทักษะที่ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลดลง เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อติดแข็ง รวมทั้งมี?????????????? ส่วนร่วมในการดำรงชีวิตในสังคมได้ดียิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

1)? จรวยพร ธาณินทร์, คู่มือส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2545

2)?? ฟอง เกิดแก้ว. กายบริหารแบบมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2548

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro