ชื่อผลงาน….การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

ชื่อเจ้าของผลงาน…กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ.

สังกัด…..วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

เบอร์โทร   063-1541924   E-mail  nattamon@unc.ac.th

1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี

การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ กลุ่มงานวิจัย การจัดการความรู้ฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งการทำวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการถือเป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญด้านคุณภาพของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยที่ผ่านมาทางวิทยาลัยได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลาการได้มีการทำวิจัย เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ ดังนั้นจึงได้กำหนดประเด็นการจัดการความรู้โดยให้สอดคล้องกับพันธกิจงานวิจัยของคณะ ในเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ โดยแนวปฏิบัตินี้สามารถทำให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองในการส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติและมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ตามที่กำหนดร่วมทั้งสามารถเผยแพร่งานวิจัยเป็นประโยชน์สำหรับสาธารณชน และยังทำให้วิทยาลัยมีความเข้มแข็งในด้านการวิจัยและสามารถวางแผนตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับนานาชาติต่อไป

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนากระบวนการการจัดการความรู้และพัฒนาศักยภาพอาจารย์

2.2 เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

3.เป้าหมาย (ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

3.1 การเพิ่มนักวิจัยหน้าใหม่

3.2 มีจำนวนบทความวิชาการ บทความวิจัย ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ อย่างน้อยปีละ 18 เรื่อง

4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ : การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ ดำาเนินการตามกระบวนการ KM เริ่มดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564.(อยู่ในช่วงการนำไปใช้และปรับปรุง)

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

6. กระบวนการที่ทำให้แนวปฏิบัติ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ ในการเตรียมตัวก่อนการเตรียมต้นฉบับสําหรับประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร การเตรียมความพร้อมในการเขียนผู้ที่จะเขียนต้องมีการสะสมข้อมูลหรือประสบการณ์ และจะต้องมีการจัดการกับตัวเองที่ดี แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1.       มีการเตรียมผลงานให้มีคุณภาพ

1.1 ควรมีการวางแผนเรื่องของการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ตามจำนวนผลงานที่วางแผนจะตีพิมพ์ ในกรณีเป็นโครงการใหญ่ที่มีการทำวิจัยและระยะเวลาที่นักวิจัยจะแบ่งตีพิมพ์ผลงานวิจัย ควรมีการวางแผนในการขอรับรองจริยธรรมในมนุษย์ในแต่ละระยะให้ครอบคลุม

1.2 คุณภาพผลงาน

1 ) ควรเป็นปัญหาที่ทันสมัย สอดคล้องกับปัญหาของประเทศ สามารถนำไปสู่

การเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของประเทศได้และสำคัญที่จะต้องค้นหาต่อด้วยการทำวิจัย

2) เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

3) ควรเป็นเรื่องที่มีความรู้และเชี่ยวชาญรวมถึงความน่าสนใจของผู้เขียน

4) แสวงหาแหล่งช่วยเหลือในการให้คำปรึกษาก่อนส่งตีพิมพ์

1.3     ระเบียบวิธีวิจัย ต้องเลือกใช้ให้ถูกกับการทดสอบสมมุติฐาน หรือการหาคำตอบ

วิธีการวิจัย พื้นที่ทำวิจัย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและการพัฒนาคุณภาพ การดำเนินการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

1.4     ผู้วิจัยควรมีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะมีโดยส่วนตัวหรือหากไม่มี

สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่คลินิกวิจัยของวิทยาลัยฯ จะมีศูนย์วิจัยให้ความช่วยเหลือ อาจจัดระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน จัดระบบช่วยเหลือตามสายงาน จัดคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนส่งผลงานตีพิมพ์ (กรณีเป็นส่วนตัวหรือจากวิทยาลัยสนับสนุน)

2. เลือกวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์ ศึกษาแนวทางการเขียนในวารสารที่สนใจจะส่งตีพิมพ์

2.1 การเลือกวารสารในการตีพิมพ์เผยแพร่ตามระดับคุณภาพของวารสาร (TCI)  การสืบค้นชื่อวารสาร เช่น เว็บไซต์  https://www.tci-thaijo.org/about

2.2 ศึกษาข้อมูลวารสารที่สนใจเป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับใดและตรงตรงตามเกณฑ์ที่ต้องการส่งตีพิมพ์

2.3 ประสานวารสารถึงช่วงเวลาที่ผลงานจะได้ลงตีพิมพ์ เพื่อต้องเตรียมการบริหารจัดการเวลาและเขียนงานให้เสร็จตามระยะเวลา

2.4 ศึกษา format ในวารสารที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ปฏิบัติตามแนวทางและรูปแบบของวารสารที่จะตีพิมพ์ โดยสามารถหาข้อมูลได้จากหน้า Web ของวารสาร

2.5 ใฝ่หากัลยาณมิตรที่ช่วยให้ข้อชี้แนะในการเขียนอย่างมีคุณภาพ โดยมีระบบ

ช่วยเหลือลงวารสารของวิทยาลัย

3. การส่งผลงานตีพิมพ์

3.1 ควรสมัครสมาชิก ThaiJo เพื่อเตรียมการส่งผลงานผ่าน ระบบ E-Journal

3.2 วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System)

3.3 ขั้นตอนการสมัครใช้ ThaiJo และวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จะมีเอกสารแนบท้ายในภาคผนวก

7. อธิบายกระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการวิธีการ/นวัตกรรมที่เป็นแนวทปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (เขียน Flow แผนภูมิของระบบ โดยใช้ System approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback ซึ่งควบคุมโดยวงจรคุณภาพ)

แนวปฏิบัติ

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

8. อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ (เช่น คู่มือ/โมเดล เป็นต้น)

ได้แนวปฏิบัติ การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ วิทยาลัยพยบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

9. ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ)

อยู่ระหว่าดำเนินการ

10. ปัจจัยความสำเร็จ (สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ)

…………จากความร่วมมือและมีกระบวณการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

11. บทเรียนที่ได้รับ (การผลิตและนำผลงานไปใช้ ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น)

……………อยู่ระหว่าดำเนินการ …………………………………………………………………………………………………..

12. การเผยแพร่ (ร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่ที่มีการนำไปใช้ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ)

…………..แนวการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ยังเผยแพร่ในวงจำกัดภายในวิทยาลัยและใน Web KM ของวิทยาลัยเท่านั้น แต่คาดว่า จะเผยแพร่โดยทั่วเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลำดับต่อไป