สรุปแนวทางปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยให้เสร็จตามเวลา

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

คำสำคัญ คำอธิบาย
การเลือกเรื่องทำวิจัยที่ตรงกับความเชี่ยวชาญและความสนใจ การเลือกหัวข้อการวิจัยเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยทุกคนจะต้องตัดสินใจ โดยพยายามประเมินจากสภาพการณ์ทุกด้าน ว่าตนจะสามารถทำการวิจัยเรื่องนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่ เพียงใด การเลือกเรื่องวิจัยนั้น ควรพิจารณาถึง

1. ความเชี่ยวชาญหรือสามารถของผู้วิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัยจะต้องเลือกปัญหาให้เหมาะสมกับความรู้ ความความเชี่ยวชาญ และความสามารถของทีมจะทำให้มองเห็นแนวทางในการวิจัยได้ชัดเจน เลือกวิธีวิจัยได้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ อย่างลึกซึ้งทำให้การวางแผนและการดำเนินการเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือถูกต้องและน่าเชื่อถือ

2. ความสนใจ และแรงบันดาลใจในการเลือกเรื่องในการทำวิจัย ควรคำนึงถึงความสนใจของตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจาก หากเป็นหัวข้อที่นักวิจัยเองมีความสนใจ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โอกาสที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จก็มีมากขึ้น

3. ทักษะเชิงวิจัย (Research Skill) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำวิจัย ซึ่งการทำวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะเชิงวิจัยและมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในแต่ละรูปแบบ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงพัฒนา เป็นต้น จึงจะส่งผลต่อการทำวิจัยประสบความเสร็จทันตามเวลา

วางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม

กับบริบท

ผู้วิจัยควรมีการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยต้องครอบคลุมทุกกิจกรรม ที่มีความเหมาะสมกับระยะเวลาโดยต้องระบุ

  • บุคคล
  • หน้าที่
  • ตารางเวลา (Gantt’s chart)
การบริหารจัดการเวลา

กำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และการดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา

การบริหารจัดการงบประมาณ

ศึกษาและทำความเข้าในเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณของแหล่งทุน ได้แก่ สิ่งที่อนุมัติหรือไม่อนุมัติให้และถ้าอนุมัติควรสอบถามเพดานของแต่ละรายการว่าขอสนับสนุนได้สูงสุดเท่าไร หากมีข้อสงสัยควรสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้อง

แจกแจงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายเป็นหมวดๆอย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นงบประมาณถัวจ่ายทุกรายการในโครงการวิจัย การแจกแจงรายละเอียดในแต่ละกิจกรรมในโครงการวิจัยที่ชัดจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนการเบิกจ่ายได้คล่องตัวและเป็นไปตามแผนที่วางไว้

การประชุมทีมและมอบหมายงานในทีม

จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน เช่น การประสานงาน การจัดเตรียมเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การเตรียมเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล การเตรียมต้นฉบับตีพิมพ์เป็นต้น

ทบทวนแผนการดำเนินงานภายในทีมเป็นระยะ การทบทวนแผนและการติดตามงานภายในทีมเป็นระยะ จะช่วยให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามแผน เนื่องจากการดำเนินการอาจมีบางขั้นตอนที่พบปัญหาหรืออุปสรรค การติดตามงานไม่เพียงแต่เป็นการทวงถามให้เป็นไปตามแผนเท่านั้น ทั้งนี้ยังเป็นการหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือหาแหล่งช่วยเหลือในการที่จะทำให้งานดำเนินการต่อไปได้ในกรณีที่มีปัญหาหรืออุปสรรค รวมถึงความไม่สะดวกต่างๆในการดำเนินงานเกิดขึ้น
งานวิจัยสำเร็จ