• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

12/03/2020

สรุปแนวทางปฏิบัติการเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 11:38 am
Reactions :No comments

สรุปแนวทางปฏิบัติการเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

1. ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การเขียนรายงานการเดินทางไปราชการร่วมกัน วันที่ 27 มกราคม 2563 เวลา 13.30 – 15.30 น.

1. อาจารย์ไพทูรย์         มาผิว

2. อาจารย์อรุณรัตน์       พรมมา

3. อาจารย์นัยนา           แก้วคง

4. อาจารย์วีระยุทธ        อินพะเนา

5. อาจารย์ภราดร         ล้อธรรม

7. อาจารย์ดารณี          ขันใส

8. คุณนงคราญ            เยาวรัตน์

9. คุณนราพร              ประทุม

10.คุณจุฑามาศ            มหาวี

11.คุณนิภาภรณ์           เมืองด่าน

12.คุณปวีณา              หลวงกว้าง

2. แนวทางปฏิบัติการเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ

ก่อนเดินทางไปราชการ ประชุม/อบรม/สัมมนา

1.1 ศึกษาวัน เวลา สถานที่ และผู้เข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา

1.2 ระบุจำนวนวันเดินทางไปราชการ

1.2.1 จำนวนวันประชุม/อบรม/สัมมนา

1.2.2 จำนวนวันเดินไป-กลับจากการประชุม/อบรม/สัมมนา 2 วัน โดยกำหนดวันเดินทางไปล่วงหน้า 1 วัน และวันกลับหลังเสร็จการประชุม/อบรม/สัมมนา 1 วัน

1.2.3 จำนวนเดินทางไปราชการทั้งหมด เท่ากับ ข้อ 1.2.1 + ข้อ 1.2.2

1.3 เลือกวิธีการเดินทางตามสิทธิ์และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ

1.4 บันทึกขออนุมัติไปราชการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย

1.5 ประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปราชการ

1.5.1 คำนวณระยะเวลาและเบี้ยเลี้ยงไปราชการ

A. ใช้โปรแกรม Excel โดยระบุข้อมูลที่จำเป็น ดังนี้

1) กำหนดวันและเวลาเริ่มที่เดินทางจากบ้านพัก/สำนักงาน

2) กำหนดวันและเวลากลับถึงบ้านพัก/สำนักงาน

โดยเวลาตามข้อ 1 และ 2 ต้องมีสอดคล้องกับวิธีการเดินทางของยานพาหนะโดยสารที่เลือก

3) ระบุวันสุทธิ โดยพิจารณาจากตัวเลขชั่วโมงจากผลการคำนวณจากโปรแกรม Excel คือ จำนวนชั่วโมงไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่ > 12 ชั่วโมง ให้นับเป็น 1 วัน

4) พิจารณาผู้จัดประชุมว่าจัดอาหารให้กี่มื้อ (จาก 3 มื้อ/วัน)

5) นำข้อมูลที่ได้จาก ข้อ 1-4 กรอกลงโปรแกรม Excel ให้ถูกต้อง

B. ใช้ Application for IOS : Time & Date Calculator โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นตามที่ app ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ได้ จะแสดงผลเป็น จำนวนวัน จำนวนชั่วโมง จำนวนนาที

C. ใช้ Application for Android : Calculator Date & Time โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นตามที่ app ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ได้ จะแสดงผลเป็น จำนวนวัน จำนวนชั่วโมง จำนวนนาที

1.5.2 คำนวณค่าที่พัก/คืน/คน

1) ค่าที่พัก/คืนตามจริง แต่ไม่เกินที่เบิกได้ตามระเบียบ

ไปปฏิบัติราชการ/ประชุมทำงาน อบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
เหมาจ่าย ห้องพักคนเดียว ห้องพักคู่ ห้องพักคนเดียว ห้องพักคู่
800 บาท/คน/คืน 1,500 บาท/คน/คืน 850 บาท/คน/คืน 1,450 บาท/คน/คืน 900 บาท/คน/คืน

2) จำนวนวันที่ค้างคืน

3) จำนวนคนที่ไปราชการ

4) ค่าที่พัก = ข้อ 1 x ข้อ 2 x ข้อ 3

1.5.3 ค่าพาหนะ

1) กรณีเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว 4 บาท/กิโลเมตร โดยอ้างอิงระยะจาก Google map และบันทึกข้อความขออนุมัติเดินโดยรถยนต์ส่วนตัว

2) กรณีเดินทางโดยรถโดยสาร ตามจ่ายจริงไม่เกินระเบียบกำหนด มีดังนี้

2.1) ค่าพาหนะรับจ้างจากที่พัก-สถานีรถโดยสาร x 2 เที่ยว (เที่ยวไป-เที่ยวกลับ)

2.2) ค่าพาหนะประจำทางจากต้นทาง-ปลายทาง x 2 เที่ยว (เที่ยวไป-เที่ยวกลับ)

3) กรณีเดินทางโดยรถยนต์วิทยลัย ให้ประมาณการค่าน้ำรถยนต์

1.6 ยืมเงินตามระเบียบ โดยยื่นก่อนเดินทางไปราชการ อย่างน้อย 5 วัน

การเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ

2.1 สรุปการประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปราชการ ตามข้อ 1.5

2.2 ร่างการเขียนรายงานการเดินทางการไปราชการลงในแบบฟอร์มที่กรมบัญชีกลางกำหนด                 โดยนำข้อมูลสรุปจากข้อ 2.1 มาเขียนลงแบบฟอร์มให้ถูกต้อง ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับที่ 1 แบบ บก.111 ใบรับรองแทนใบเสร็จ (เขียนเป็นรายบุคคล)

ลำดับที่ 2 แบบ 8708 ส่วนที่ 1 หน้า 2 หัวข้อหมายเหตุ : เป็นการเขียนชี้แจงรายละเอียดการไปปฏิบัติราชการ กรณีเวลาเริ่มออกเดินททางไม่พร้อมกันให้เขียนแยกเป็นรายบุคคล โดยการเขียนส่วนนี้ ต้องให้สอดคล้องกับแบบ บก.111

ลำดับที่ 3 แบบ 8708 ส่วนที่ 2 หลักฐานการจ่ายเงินในการเดินทางไปราชการ (แบบหมู่คณะ)

ลำดับที่ 4 แบบ 8708 ส่วนที่ 1 ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พร้อมหลักฐานให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามระเบียบ

2.3 กรณีพบปัญหาหรือข้อสงสัยในการเบิกจ่าย การเขียนรายงานให้ปรึกษาโดยตรงกับเจ้าหน้าที่งานการเงินและบัญชี

2.4 เขียนรายงานการเดินทางการไปราชการลงในแบบฟอร์มที่กรมบัญชีกลางกำหนด

2.5 ส่งรายงานการเดินทางการไปราชการให้งานการเงินและบัญชีตรวจสอบ

1) กรณีรายงานมีความถูกต้อง ครบถ้วน งานการเงินและบัญชีดำเนินการหักล้างเอกสารหลักฐาน การเบิกจ่ายเบิกจ่ายจริงๆ กับสัญญายืมเงินไปราชการ และดำเนินการเลิกจ่ายตามระเบียบ

2) กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน งานการเงินและบัยชีแจ้งผู้จัดทำรายงานให้แก้ไขจนถูกต้อง ครบถ้วน จากนั้นงานการเงินและบัญชีดำเนินการหักล้างเอกสารหลักฐาน การเบิกจ่ายเบิกจ่ายจริงๆ กับสัญญายืมเงินไปราชการ และดำเนินการเลิกจ่ายตามระเบียบ

สรุปแนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 11:37 am
Reactions :No comments

สรุปแนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

1 แนวคิดเกี่ยวกับการสะท้อนคิด

การสะท้อนคิด เป็นกระบวนการคิดและพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ ละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผล โดยใช้ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้และทฤษฎีต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นๆ การสะท้อนคิดที่เหมาะสมกับการนำมาใช้กับนักศึกษาพยาบาลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้

1.1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น (describe experience) เป็นการอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนด้วยมุมมองง่ายๆ โดยใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบกับใครบ้าง

1.2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ (Feeling) เป็นการอธิบายความรู้สึกของตนเองต่อสถานการณ์นั้น โดยการตอบคำถามว่า “ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้าง?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? เป็นการประเมินและวิเคราะห์ความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ

1.3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ (theoretical) เป็นการบอกหรืออธิบายว่ามีปัจจัยต่างๆ เช่นแหล่งความรู้/แนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าใดบ้าง ที่สนับสนุนการกระทำของตนเองและสนับสนุนการกระทำที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น

1.4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย (various perspectives) เป็นการค้นหาทางเลือกที่หลากหลาย มีเหตุผลและเป็นไปได้ โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น ทำความเข้าใจและเปิดใจรับฟังแนวคิดอื่น ๆ โดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

1.5 จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด (conceptualization) เป็นการจัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสามารถสรุปเป็นแนวคิดรวบยอดได้

1.6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ (experiment) เป็นการเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาของแต่ละแนวทางได้หลากหลายแง่มุม และสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

1.7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม (reflect learning/new experience) เป็นการเทียบเคียงมุมมองใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิม รวมถึงเป็นการสร้างความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิด “การรู้ด้วยตนเอง” ว่าตนเองได้เปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร

2. แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ว่า เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงกรอบอ้างอิง (frame of reference) ทางความคิด ซึ่งได้แก่ มุมมองในการให้ความหมาย แบบแผนความคิด และชุดของความคิดความเชื่อ ที่เรามีหรือใช้อยู่เป็นประจำ ให้เป็นความคิดที่ครอบคลุมมากขึ้น จำแนกแยกแยะได้ดีขึ้น เปิดกว้างขึ้น และสามารถใคร่ครวญอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ทำให้เรามีความเชื่อและทัศนะที่เป็นจริงและชี้นำการกระทำได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับเปลี่ยนกรอบอ้างอิง มีอยู่ 3 องค์ประกอบดังนี้ คือ  1) ประสบการณ์ 2) การสะท้อนคิด และ 3) การแลกเปลี่ยนทางความคิดอย่างมีเหตุผล ดังนั้นกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างมีเหตุผลจะช่วยพัฒนาลักษณะความเป็นประชาธิปไตย พร้อมที่จะแลกเปลี่ยน และตัดสินใจหาข้อสรุปที่มีคุณธรรมได้

3. หลักการ

หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ ได้มาจากการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานๆ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการสะท้อนคิด และแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การสะท้อนคิดเน้นให้ผู้เรียนมองสถานการณ์ด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย สามารถสร้างความรู้จากประสบการณ์และถ่ายโยงความรู้จากประสบการณ์หนึ่งไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หรือใช้แก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนในสถานการณ์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติการพยาบาล

รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ใช้สถานการณ์ทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางจริยธรรมมากำหนดเป็นสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์นั้นตามกระบวนการของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล โดยผู้สอนเป็นผู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการสะท้อนคิดในหลากหลายวิธีการเช่น การใช้คำถาม การเขียนเรื่องราวแบบสะท้อนคิด การพูดโดยการอภิปราย/เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง และสนับสนุนให้กำลังใจให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด

4. กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

ขั้นตอนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนด้วยมุมมองง่ายๆ โดยใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบกับใครบ้าง ซึ่งจะทำให้มองเห็นว่าการอธิบายสถานการณ์ของผู้เรียนนั้นยังขาดข้อมูลอะไรบ้าง มีการอธิบายข้อมูลมากกว่าที่มีในสถานการณ์หรือไม่ ขาดความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ในเรื่องใด รวมทั้งเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขั้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและมีความเชื่อมโยง

เนื่องจากการสะท้อนคิดในขั้นตอนนี้เป็นการใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยอัตโนมัติ ควรหยุดความคิดขณะนี้ไว้ก่อน เพราะถ้าเรามีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ อาจจะเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เนื่องจากเป็นการกระทำที่เกิดจากการคิดออกมาโดยฉับพลัน ยังไม่ได้ไตร่ตรอง อาจจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมและเป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่าเป็น “ความคิดที่เกิดจากประสบการณ์เดิม” 

วิธีการที่จะให้ผู้เรียนได้อธิบายสถานการณ์นั้นมีดังนี้

1.การกำหนดสถานการณ์

ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยการกำหนดนั้นอาจจะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ กรณีศึกษา (case study) การใช้สถานการณ์จริง (Actual Situation) เหตุการณ์สมมติ (scenario) การเรื่องเล่า (story) การแสดงบทบาทสมมติ (role play) และดูเรื่องราวจากสื่อวิดีทัศน์  เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มอธิบายสถานการณ์

2. บรรยายสถานการณ์ ผู้สอนอาจจะจัดการเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่น

2.1 การเขียนเรื่องราวแบบสะท้อนคิด(reflective dailies) หรือการพูดบรรยาย (describe)  เพื่อสะท้อนหรือบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้นอย่างครบถ้วน โดยผู้สอนจะกำหนดให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวหรือพูดบรรยายเพื่อสะท้อนคิดแบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งเป็นการสะท้อนคิดโดยการกำหนดกรอบให้คร่าวๆ มีข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถสะท้อนคิดได้เต็มที่  และได้คำตอบที่เกี่ยวข้อง  มากขึ้น

2.2 การพูดบรรยาย (describe) พูดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน บอกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะความรู้สึกสะท้อนภาพการคิดและการกระทำ ดังนั้นจะต้องตอบคำถามตนเองว่า “ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้าง?”  “ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร?” โดยผู้เรียนสามารถบอกความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ในขณะนั้นได้ สามารถประเมินและวิเคราะห์ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ เพราะความรู้สึกนั้นสามารถที่จะยับยั้งหรือส่งเสริมให้เกิดการสะท้อนคิดในภายหลัง เช่น ถ้าเกิดความรู้สึกด้านลบอาจจะต้องขจัดออกไป หรือต้องทำให้เป็นความรู้สึกที่ดีขึ้น ไม่เช่นนั้นถ้าปล่อยให้เกิดความรู้สึกนั้นต่อไปจะทำให้ปิดรับความเข้าใจหรือปิดรับมุมมองอื่น ๆ ในกรณีเดียวกันถ้าเกิดความรู้สึกทางบวกก็จะส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการสะท้อนคิดได้มากขึ้น

วิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์นั้น ทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่

1. การอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ โดยให้ผู้เรียนถามและตอบคำถามตนเอง(self-questioning) เพื่อสำรวจตนเอง และเรียบเรียงความคิดความรู้สึก

2. ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้น (questioning) ให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดให้ละเอียดและลึกซึ้งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นการแนวคิดของตนเองได้ชัดเจน

3. การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจ สามารถแสดงความรู้สึกของตนเองอย่างแท้จริง และตรงไปตรงมา เช่น ผู้สอนต้องมีใจกว้าง ไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เรียน  ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียนไม่ว่าความคิดความรู้สึกนั้นจะผิดหรือถูก

ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนบอกหรืออธิบายว่ามีปัจจัยต่างๆ เช่นแหล่งความรู้/แนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าใดบ้าง ที่สนับสนุนการกระทำของตนเองและสนับสนุนการกระทำที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น เนื่องจากแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ของแต่ละคนนั้นย่อมมีความลึกซึ้ง กว้างขวาง หลากหลายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นหลังและความรู้ของแต่ละคน ดังนั้นในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะสามารถจะประเมินได้ว่าผู้เรียนนำความรู้/หลักการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์นั้นอย่างไร  และความรู้/หลักการที่บอกมานั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิธีการที่ให้ผู้เรียนบอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ มีดังนี้

1. จัดหาและแนะนำแหล่งเรียนรู้ เช่น หนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ สื่อ สารสนเทศต่างๆ

2. ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ หรือผู้สอนเป็นผู้สรุปความหมายให้ผู้เรียนก็ได้

3. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น

4. นำเสนอแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ที่สนับสนุนความคิด โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้

-การเขียนเรื่องราวแบบสะท้อนคิด (reflective dailies)

-การพูดบรรยาย (describe)

5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจ ในการนำเสนอแนวคิด/ความเชื่อของตนเองอย่างตรงไปตรงมา

ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาทางเลือกที่หลากหลาย มีเหตุผลและเป็นไปได้ โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่ม ทำความเข้าใจและเปิดใจรับฟังแนวคิดอื่น ๆ ได้โดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของการให้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ หรือเป็นการจัดระเบียบความคิดและประสบการณ์โดยเปลี่ยนผ่านจากการสะท้อนคิดที่ปราศจากการใคร่ครวญ มาเป็นการสะท้อนคิดที่เกิดจากการใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ซึ่งอาจมีการค้นคว้าแหล่งความรู้อื่นๆ เช่นตำรา หรือผู้รู้ มาประกอบการวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

วิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายได้แก่

1. ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น โดยการใช้กลุ่มย่อย (small group) เปิดใจรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

2. ให้ผู้เรียนฟังอย่างตั้งใจ (active listening) ฟังโดยไม่มีคำเถียงหรือคำถาม ไม่รีบร้อนด่วนสรุป ไม่ตัดสินว่าถูกผิด เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสและตรวจสอบความคิดความรู้สึกของตนเอง และแยกแยะความคิดความรู้สึกของผู้อื่นไปด้วยว่าเขามีความรู้สึก ความคิด และทัศนคติต่อเรื่องนั้นอย่างไร ในขณะฟัง

3. ให้ผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับผู้สอน ในเรื่องต่างๆเช่น วิธีการสอนของผู้สอน เพื่อใช้ผู้สอนเป็นแบบอย่างของการเปิดใจยอมรับด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเกิดการเปิดใจรับ

4. ผู้สอนกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยให้โอกาสผู้เรียนทุกคนได้แสดงความคิดเห็น หรือตั้งคำถามโต้แย้ง อย่างมีเหตุมีผล

ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ จัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสามารถสรุปเป็นแนวคิดรวบยอดได้

เป็นขั้นตอนการคิดที่เกิดจากความรู้ที่สมบูรณ์แตกฉาน มีการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งผ่านการตั้งปัญหาและการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่หลากหลาย ซึ่งเป็นฐานที่จะนำไปสู่การกระทำที่ชาญฉลาดและเหมาะสม

วิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด ได้แก่

1.ให้ผู้เรียนเลือกจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด ตามความถนัด เช่น

-การเขียนผังความคิด (mind  mapping)

-การเขียนผังมโนทัศน์  (concept mapping)

-การเขียนผังก้างปลา (fishbone mapping)

2. ให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดด้วยตัวเอง

3. นำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

4. ผู้สอนควรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างใกล้ชิด หรือประเมินดูว่าผู้เรียนคนไหนไม่สามารถจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดได้ก็อาจจะมีการฝึกให้ผู้เรียนได้เล่นเกมก่อนเริ่มการเรียนการสอน

ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาของแต่ละแนวทางได้หลากหลายแง่มุม และสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

วิธีการที่ให้ผู้เรียนนำข้อสรุปไปปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้คือ

1. ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายโดยวิธีการระดมสมอง (brain storming) เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกอย่างมีเหตุมีผล และใช้หลักการปละทฤษฎีสนับสนุน

2. สรุปแนวทางที่นำไปปฏิบัติโดยวิธีต่างๆ  ตามความถนัด เช่น

-ทำผังกระบวนการ (process chart)

-ผังกระบวนการทำงาน  (work flow)

-การเขียนผังงาน (flow chart)

-การเขียนบรรยายแนวทาง

3. ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์จากแนวทางที่เลือกนั้นโดยวิธีการการอภิปรายกลุ่ม (group discussion) เพื่อให้ได้ข้อมูลในหลายๆ มุมมองเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้

4. ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (active participation)

ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม (prior perspective) รวมถึงเป็นการสร้างความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิด “การรู้ด้วยตนเอง” (knowing myself) ในแง่มุมของสถานการณ์โดยรวม และการเห็นภาพด้วยตนเอง ว่าตนเองได้เปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร

ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด เพราะสุดท้ายผู้เรียนต้องสามารถเห็นภาพด้วยตนเองว่าได้เรียนรู้อะไร (capture meaning) และสามารถสร้างและขยายความรู้ที่มีอยู่เดิมไปสู่ประสบการณ์ใหม่ สามารถกลั่นกรองความรู้จากประสบการณ์และถ่ายโยงประสบการณ์หนึ่งไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ในอนาคตได้ด้วยตนเอง

วิธีการที่จะให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ดำเนินการดังนี้ คือ

1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในแต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2. ผู้สอนประจำกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) แก่ผู้เรียนทั้งข้อดี และข้อควรปรับปรุงพัฒนาอย่างไรบ้าง

2.1 ให้คำชมในการสะท้อนคิด ซึ่งควรชมตามพฤติกรรมที่แสดงออกจริง และสมเหตุสมผล

2.2 ชวนให้ผู้เรียนคิดต่อ

3. ให้ผู้เรียนกลับไปเขียนบันทึกการเรียนรู้เพื่อสะท้อนคิด (reflective dailies) ที่ได้จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ โดยมีหัวข้อในการบันทึกดังนี้

3.1 วันนี้ได้เรียนรู้อะไร

3.2 ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความคิด ความเชื่อ และด้านความรู้ความเข้าใจอย่างไร

4. ผู้สอนอ่านบันทึกการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) กับผู้เรียนอย่างรวดเร็ว

จากกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล ดังกล่าวสามารถสรุปเป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ ได้ดังตารางที่ 16 ดังนี้

ตาราง แสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น 1.ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน

2.ผู้เรียนศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้

3.ผู้เรียนอธิบายสถานการณ์นั้น โดยบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำและคำปรึกษา

-ศึกษา/อ่านสถานการณ์ที่กำหนด

-อธิบายสถานการณ์

1. ใช้สถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษา คือ

-กรณีศึกษา (case study)

-สถานการณ์จริง (actual situation)

-เหตุการณ์สมมติ (scenario)

-เรื่องเล่า (story)

-การแสดงบทบาสมมติ

(role play)

-สื่อวีดิทัศน์ (video)

2. อธิบายสถานการณ์

บอกสิ่งที่เกิดขึ้น

2.1 การเขียนเรื่องราว

แบบสะท้อนคิด (reflective

dailies)

-แบบมีโครงสร้าง

-แบบกึ่งโครงสร้าง

-แบบไม่มีโครงสร้าง

2.2 การพูดบรรยาย (describe)

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ 1.ผู้เรียนอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ เช่น ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานการณ์นี้?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? อธิบายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ -ใช้คำถามกระตุ้น

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-ตั้งคำถามถามตนเอง

-อธิบายความรู้สึก

1. การอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

-การถามและตอบคำถามตนเอง(self-questioning)

2.การใช้คำถามกระตุ้น (questioning)

3. การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจ สามารถแสดงความรู้สึกของตนเองอย่างแท้จริง

ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ 1.ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน

2.ให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

3.ให้ผู้เรียนนำเสนอ

แนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ สนับสนุนความคิดของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

-จัดหาแหล่งเรียนรู้

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-ทบทวนความรู้

-นำเสนอแนวคิด

1.แหล่งเรียนรู้

-หนังสือ ตำรา เอกสารทาง

วิชาการ สื่อ สารสนเทศต่างๆ

2.ผู้เรียนทบทวนความรู้

เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/

ความเชื่อของตนเอง

3.นำเสนอแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ที่สนับสนุนความคิด

-การเขียนเรื่องราวแบบ

สะท้อนคิด (reflective

dailies)

-การพูดบรรยาย (describe)

4. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจ

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 1.ให้ผู้เรียนนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อของตนเอง

2.ผู้เรียนฟังการนำเสนอของสมาชิกกลุ่ม

3. ผู้ฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือตั้งคำถามโต้แย้ง คัดค้าน ท้าทาย และสะท้อนคิดกับบุคคลอื่นในกลุ่มอย่างเหมาะสม

4. ผู้สอนเอื้อให้เกิดบรรยากาศการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีของสมาชิกในกลุ่ม  และทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจในการแสดงความคิดเห็น

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-นำเสนอแนวคิด

-ฟังอย่างตั้งใจ

-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

-การใช้กลุ่มย่อย (small group)

-การอภิปราย (discussion)

–การนำเสนอรายงานโดย     การพูด (presentation)

2. ให้ผู้เรียนฟังอย่างตั้งใจ (active listening)

3. ให้ผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับผู้สอน ในเรื่องต่างๆ

4.การกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

และบรรยากาศวิชาการ

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด 1. ฝึกให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดอย่างง่ายจากเกมส์ทายชื่อเพลง

2. ให้ผู้เรียนได้จัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่และสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเอง

3. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-ฝึกจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด

-จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด

1.การจัดลำดับความคิดและ

สรุปความคิดรวบยอด

-การเขียนผังความคิด (mind

mapping)

-การเขียนผังมโนทัศน์

(concept mapping)

-การเขียนผังก้างปลา

(fishbone mapping)

2. ฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกการ

จัดลำดับความคิดและสรุป

ความคิดรวบยอด

3. ผู้สอนควรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างใกล้ชิด

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ 1.ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนอย่างมีเหตุมีผล

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้น

3.ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นในหลายๆ แง่มุม

-ให้ข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้เรียน

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-ร่วมอภิปราย

-สรุปแนวทางแก้ปัญหา

-ประเมินผลลัพธ์

1.ร่วมอภิปราย

-การระดมสมอง

(brain storming)

-การอภิปรายกลุ่ม

(group discussion)

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสม

-ทำผังกระบวนการ (process

chart)

-ผังกระบวนการทำงาน

(work flow)

-การเขียนผังงาน (flow chart)

-การเขียนบรรยายแนวทาง

3.การประเมินผลลัพธ์

-การระดมสมอง

(brain storming)

-การอภิปรายกลุ่ม

(group discussion)

4.  ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศ

ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ

เรียนรู้อย่างจริงจัง (active

participation)

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม 1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.ให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม

โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามดังนี้

-เหตุการณ์นี้มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตอย่างไร

-ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-ประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร

-ใช้คำถาม(question) กระตุ้นผู้เรียน

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ -ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สะท้อนคิดการเรียนรู้

-ประเมินตนเอง

1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

-การถามและตอบคำถามตนเอง(self-questioning)

-การเขียนเรื่องราวแบบ

สะท้อนคิด (reflective dailies)

-การพูดบรรยาย (describe)

3.การใช้คำถามกระตุ้น (questioning)

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

(feedback) อย่างรวดเร็ว

-ให้กำลังใจ

-ชวนให้คิด

5. การวัดและประเมินผล

การประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด

ขั้นที่ 1 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นอธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
1 (ควรปรับปรุง) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แต่ไม่ชัดเจน
2 (พอใช้) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน
3 (ดี) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

-สรุปสาระสำคัญได้อย่างครบถ้วน

4 (ดีมาก) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

-สรุปสาระสำคัญได้อย่างครบถ้วน

-วิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดปัญหานั้นได้อย่างเชื่อมโยง อาจจะเขียนเป็นผังความคิด แผนภูมิ ฯลฯ

ขั้นที่ 2 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถอธิบายความคิดความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้
1 (ควรปรับปรุง) -อธิบายความคิดความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้
2 (พอใช้) -อธิบายความคิดความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ได้ และกล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น
3 (ดี) -อธิบายความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ และกล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น

-ประเมินความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ในด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว

4 (ดีมาก) -อธิบายความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ และกล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น

-ประเมินและวิเคราะห์ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบได้

ขั้นที่ 3 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นบอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิมได้
1 (ควรปรับปรุง) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม
2 (พอใช้) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ 1 แนวคิด

3 (ดี) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้มากกว่า 1 แนวคิด

4 (ดีมาก) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้มากกว่า 1 แนวคิด

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ชัดเจนและสมเหตุสมผล

ขั้นที่ 4 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นเปิดใจรับฟังความคิดเห็น/ทางเลือกที่หลากหลาย

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเองได้
1 (ควรปรับปรุง) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง
2 (พอใช้) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง

-ฟังอย่างตั้งใจ* (active listening)

3 (ดี) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง

-ฟังอย่างตั้งใจ  (active listening)

-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มโดยปราศจากอคติ

4 (ดีมาก) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง

-ฟังอย่างตั้งใจ* (active listening)

-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มโดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

หมายเหตุ * ฟังอย่างตั้งใจ  (active listening) หมายถึง เป็นการฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด ต้องตั้งใจ ไม่วอกแวก และเป็นการฟังแบบเปิดรับ ฟังโดยไม่มีคำเถียงหรือคำถาม ไม่รีบร้อนด่วนสรุป ไม่ตัดสินว่าถูกผิดใดใดทั้งสิ้น

ขั้นที่ 5 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นจัดลำดับความคิด/สรุปความคิดรวบยอด

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถจัดหมวดหมู่และลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดได้
1 (ควรปรับปรุง) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้แต่ไม่ชัดเจน

-ไม่สามารถสรุปความคิดรวบยอดได้

2 (พอใช้) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย

-อธิบายที่มาของการจัดหมวดหมู่หรือการลำดับความคิดได้

3 (ดี) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย

-อธิบายที่มาของการจัดหมวดหมู่หรือการลำดับความคิดได้

-สรุปความคิดรวบยอดได้แต่ไม่ชัดเจน

4 (ดีมาก) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย

-อธิบายที่มาของการจัดหมวดหมู่หรือการลำดับความคิดได้

-สรุปความคิดรวบยอดได้ชัดเจน

ขั้นที่ 6 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นนำข้อสรุปไปปฏิบัติ

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้
1 (ควรปรับปรุง) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้

-สรุปทางเลือกได้

2 (พอใช้) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

-สรุปทางเลือกได้

3 (ดี) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

-สรุปทางเลือกได้

-ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้ 1-2 ด้าน

4 (ดีมาก) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

-สรุปทางเลือกได้

-ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้ 1-2 ด้าน

-ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้หลากหลายแง่มุม (มากกว่า 2 ด้าน)

ขั้นที่ 7 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมได้
1 (ควรปรับปรุง) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไรบ้าง
2 (พอใช้) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

3 (ดี) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

-อธิบายได้ว่าประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ อย่างไร

4 (ดีมาก) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

-อธิบายได้ว่าประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความคิดความเชื่อที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

การนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

1. ผู้สอนจะศึกษาแนวคิดการสะท้อนคิด เทคนิคและกระบวนการการจัดการเรียนรู้ และการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจ เนื่องจากการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังความคิดและเวลาในการคิดใคร่ครวญ ทั้งในการตั้งคำถาม การตอบคำถาม การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ การจินตนาการหาทางเลือกที่หลากหลาย การสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด ผู้สอนต้องเอื้อให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถามและตอบคำถามตามความเป็นจริง มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย และเป็นกันเอง และให้การสะท้อนกลับให้ผู้เรียนถาม/ตอบคำถามในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และเรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

2. การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด ผู้เรียนต้องมีการอ่านและแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง มีความตระหนักรู้ในตนเอง สนใจและไวต่อข้อมูลและความรู้สึกที่ผุดออกมาจากสภาพแวดล้อมภายในตนเองและภายนอกตนเอง พร้อมทั้งพร้อมที่จะเผชิญกับความรู้สึกเหล่านั้น ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม และหลากหลาย

3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ ผู้สอนมีการกำหนดตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาให้ผู้เรียนสะท้อนคิด  ดังนั้นการสะท้อนคิดบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสับสน เจ็บปวดและเป็นทุกข์ได้ จึงจำเป็นต้องกระตุ้นและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนความคิด และจิตใจแก่ผู้เรียนที่พึ่งหัดสะท้อนคิด

4. การจัดการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดนั้นมีจำนวนผู้เรียนไม่มาก ดังนั้นผู้สอนควรมีความยืดหยุ่น ต้องให้เวลาผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนคนอื่นๆ และต้องไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเพียงลำพัง จึงจะทำให้การสะท้อนคิดมีคุณภาพ

5. ในทุกๆ ครั้งก่อนการสอนแบบการสะท้อนคิด ผู้สอนควรมีเทคนิคและวิธีการในการฝึกผู้เรียนในเรื่อง “การอยู่ในปัจจุบันขณะ” (here and now) เช่น การทำสมาธิ เนื่องจากก่อนการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้เรียนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีสติ และอยู่กับปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล

สรุปแนวทางปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยให้เสร็จตามเวลา โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 11:36 am
Reactions :No comments

สรุปแนวทางปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยให้เสร็จตามเวลา

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

คำสำคัญ คำอธิบาย
การเลือกเรื่องทำวิจัยที่ตรงกับความเชี่ยวชาญและความสนใจ การเลือกหัวข้อการวิจัยเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยทุกคนจะต้องตัดสินใจ โดยพยายามประเมินจากสภาพการณ์ทุกด้าน ว่าตนจะสามารถทำการวิจัยเรื่องนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่ เพียงใด การเลือกเรื่องวิจัยนั้น ควรพิจารณาถึง

1. ความเชี่ยวชาญหรือสามารถของผู้วิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัยจะต้องเลือกปัญหาให้เหมาะสมกับความรู้ ความความเชี่ยวชาญ และความสามารถของทีมจะทำให้มองเห็นแนวทางในการวิจัยได้ชัดเจน เลือกวิธีวิจัยได้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ อย่างลึกซึ้งทำให้การวางแผนและการดำเนินการเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือถูกต้องและน่าเชื่อถือ

2. ความสนใจ และแรงบันดาลใจในการเลือกเรื่องในการทำวิจัย ควรคำนึงถึงความสนใจของตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจาก หากเป็นหัวข้อที่นักวิจัยเองมีความสนใจ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โอกาสที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จก็มีมากขึ้น

3. ทักษะเชิงวิจัย (Research Skill) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำวิจัย ซึ่งการทำวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะเชิงวิจัยและมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในแต่ละรูปแบบ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงพัฒนา เป็นต้น จึงจะส่งผลต่อการทำวิจัยประสบความเสร็จทันตามเวลา

วางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม

กับบริบท

ผู้วิจัยควรมีการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยต้องครอบคลุมทุกกิจกรรม ที่มีความเหมาะสมกับระยะเวลาโดยต้องระบุ

  • บุคคล
  • หน้าที่
  • ตารางเวลา (Gantt’s chart)
การบริหารจัดการเวลา

กำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และการดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา

การบริหารจัดการงบประมาณ

ศึกษาและทำความเข้าในเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณของแหล่งทุน ได้แก่ สิ่งที่อนุมัติหรือไม่อนุมัติให้และถ้าอนุมัติควรสอบถามเพดานของแต่ละรายการว่าขอสนับสนุนได้สูงสุดเท่าไร หากมีข้อสงสัยควรสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้อง

แจกแจงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายเป็นหมวดๆอย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นงบประมาณถัวจ่ายทุกรายการในโครงการวิจัย การแจกแจงรายละเอียดในแต่ละกิจกรรมในโครงการวิจัยที่ชัดจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนการเบิกจ่ายได้คล่องตัวและเป็นไปตามแผนที่วางไว้

การประชุมทีมและมอบหมายงานในทีม

จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน เช่น การประสานงาน การจัดเตรียมเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การเตรียมเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล การเตรียมต้นฉบับตีพิมพ์เป็นต้น

ทบทวนแผนการดำเนินงานภายในทีมเป็นระยะ การทบทวนแผนและการติดตามงานภายในทีมเป็นระยะ จะช่วยให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามแผน เนื่องจากการดำเนินการอาจมีบางขั้นตอนที่พบปัญหาหรืออุปสรรค การติดตามงานไม่เพียงแต่เป็นการทวงถามให้เป็นไปตามแผนเท่านั้น ทั้งนี้ยังเป็นการหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือหาแหล่งช่วยเหลือในการที่จะทำให้งานดำเนินการต่อไปได้ในกรณีที่มีปัญหาหรืออุปสรรค รวมถึงความไม่สะดวกต่างๆในการดำเนินงานเกิดขึ้น
งานวิจัยสำเร็จ
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro