• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

24/08/2017

ผลการวิจัยเรื่องความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โพ.สต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Ananya Kooariyakul
Time: 4:21 pm
Reactions :1 comment

ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

นางอนัญญา คูอาริยะกุล* นางฉลองรัตน์ มีศรี**

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปี พ.ศ. 2558 จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson,s correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับดี และ
มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง
2. ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ผลการวิจัยครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการจัดกิจกรรม หรือโครงการร่วมกันระหว่างวิทยาลัยพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่อไป

21/08/2017

สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 2:02 pm
Reactions :40 comments

สรุปการจัดการความรู้

ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา  ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น

………………………………………………………………………………………………………………..

๑.รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑.      ดร.อนัญญา           คูอาริยะกุล       รองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ    (ประธาน)

๒.      ดร.ดุจเดือน           เขียวเหลือง       รองฯ กลุ่มงานวิชาการ

๓.      นายไพทูรย์            มาผิว             รองฯ กลุ่มงานอำนวยการฯ

๔.      ดร.สุดารัตน์           ไชยประสิทธิ์

๕.      นางวิมล               อ่อนเส็ง

๖.      นางสาวนัยนา         อินธิโชติ

๗.      ดร.ศศิธร              ชิดนายี

๘.      ดร.ปฐพร              แสงเขียว

๙.      นางมณฑา            อุดมเลิศ

๑๐.  ดร.ประภาพร         มโนรัตน์

๑๑.  นายนภดล            เลือดนักรบ

๑๒.  นางภิญญารัช         บรรเจิดพงศ์ชัย

๑๓.  นายอดุลย์             วุฒิจูรีพันธุ์

๑๔.  ดร.นิศารัตน์           นาคทั่ง

๑๕.  นางสาววิไลวรรณ     บุญเรือง

๑๖.  นางสาวอัญชรี        เข็มเพชร

๑๗.  นางสาวดวงดาว       เทพทองคำ

๑๘.  ดร.เสาวลักษณ์        เนตรชัง

๑๙.  นายบุญฤทธิ์          ประสิทธิ์นราพันธุ์

๒๐.  นางวาสนา            ครุฑเมือง

๒๑.  ดร.สิตานันท์          ศรีใจวงศ์

๒๒.  นางสาวนัยนา         แก้วคง

๒๓.  นางสาวจิราพร        วิศิษฎ์โกศล

๒๔.  นายสืบตระกูล        ตันตลานุกุล

๒๕.  นางอรุณรัตน์          พรมมา

๒๖.  นางสาวสุปราณี       หมื่นยา

๒๗.  นายภราดร            ล้อธรรมมา

๒๘.  นางจิราพร            ศรีพลากิจ

๒๙.  นางสาวพัชชา         สุวรรณรอด

๓๐.  นางสายฝน            วรรณขาว

๓๑.  นางผ่องศรี             พุทธรักษ์

๓๒.  นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี

๓๓.  นางสาวอลิษา         ทรัพย์สังข์

๓๔.  นางสาวดาราวรรณ   ดีพร้อม

๓๕.  นางสาววิภาวรรณ    นวลทอง

๓๖.  นายวีรยุทธ            อินพะเนา

๓๗.  นางสาวจิระภา        สุมาลี

๓๘.  นายทิฎฐิ              ศรีวิสัย

๓๙.  นายนพรัตน์           สวนปาน

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๓. ๐๐ น.

๒. วาระเรื่องแจ้ง

ประธานแจ้งว่า ให้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ได้นำไปใช้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ข้อสรุปสู่แนวปฏิบัติที่ดี

ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ได้นำเสนอแนวปฏิบัติในการดำเนินงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติในการประชุมจัดการความรู้ที่ผ่านมาในวันที่27 ธันวาคม รวม ๙ แนวปฏิบัติเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ และทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบ๒ หลังการนำไปใช้ในวันที่ ๑๗กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ได้ข้อสรุปดังเดิมนำขึ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลในWeb Blog ของKM สู่ทั้งองค์กร แล้ว เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในวงกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ

๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้ตามแนวปฏิบัติ9ประการ

๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในปีถัดไป ปีงบประมาณ๒๕๖๑

๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นว่า การตีพิมพ์นานาชาติ ต้องปฏิบัติตามข้อคอมเม้นอย่างเคร่งครัดเพรามีประสบการณ์ไม่ทำตามที่วารสารให้ดำเนินการส่งIRBเลยปรับไม่รับผลงาน ต้องเปลี่ยนไปลงวารสารใหม่

๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าทำให้เกิดการเริ่มต้นงานตีพิมพ์เผยแพร่ได้ง่ายขึ้นและกำลังดำเนินการระหว่างกระบวนการเขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

๓. ดร.ประภาพร เห็นด้วยและสามารถใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร

๔ . อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล ให้เน้นเรื่องIRB ต้องผ่านไม่งั้นจะวารสารจะไม่รับตีพิมพ์

๕.อ.อลิษา ทรัพย์สังข์ ให้เน้นการCitationวารสารที่จะตีพิมพ์ด้วยเพื่อเพิ่มImpact factorให้วารสารที่เราจะตีพิมพ์ เขาจะรับของเราสูงถ้าCitationวารสารของเขา

ทุกคนเห็นด้วยกับการใช้แนวปฏิบัติที่สรุปไว้ในการKM ครั้งที่1 ให้เพิ่มเติม 2ข้อคือ ต้องมีการCitationงานของวารสารที่จะนำไปลงตีพิมพ์ จะทำให้ได้ตอบรับตีพิมพ์สูง  และ ต้องผ่านIRB และดังนั้นจึงเสนอแนวปฏิบัตินี้เผยแพร่ต่อไป

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา

๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)

๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง

๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ

๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด  และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี  ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว   สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้

๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้

๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน

๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย

๑๐. ให้มีการCitationวารสารที่จะนำไปขอตีพิมพ์ จะทำให้โอกาสรับตีพิมพ์สูง

๑๑.ให้งานวิจัยที่ตีพิมพ์ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (IRB)เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของวารสารและได้ตีพิมพ์

…………………………………………………….

ดร.ประภาพร มโนรัตน์

ผู้บันทึกและรับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ

๑๖ สิงหาคม  ๒๕๖๐

18/08/2017

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๐ งานพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 4:24 pm
Reactions :40 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๐

งานพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๗ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมบานชื่น

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑.      ดร.อนัญญา           คูอาริยะกุล       รองฯ กลุ่มงานวิจัยฯ    (ประธาน)

๒.      ดร.ดุจเดือน           เขียวเหลือง       รองฯ กลุ่มงานวิชาการ

๓.      นายไพทูรย์            มาผิว             รองฯ กลุ่มงานอำนวนการฯ

๔.      ดร.สุดารัตน์           ไชยประสิทธิ์

๕.      นางวิมล               อ่อนเส็ง

๖.      นางสาวนัยนา         อินธิโชติ

๗.      ดร.ศศิธร              ชิดนายี

๘.      ดร.ปฐพร              แสงเขียว

๙.      นางมณฑา            อุดมเลิศ

๑๐.  ดร.ประภาพร         มโนรัตน์

๑๑.  นายนภดล            เลือดนักรบ

๑๒.  นางภิญญารัช         บรรเจิดพงศ์ชัย

๑๓.  นายอดุลย์             วุฒิจูรีพันธุ์

๑๔.  ดร.นิศารัตน์           นาคทั่ง

๑๕.  นางสาววิไลวรรณ     บุญเรือง

๑๖.  นางสาวอัญชรี        เข็มเพชร

๑๗.  นางสาวดวงดาว       เทพทองคำ

๑๘.  ดร.เสาวลักษณ์        เนตรชัง

๑๙.  นายบุญฤทธิ์          ประสิทธิ์นราพันธุ์

๒๐.  นางวาสนา            ครุฑเมือง

๒๑.  ดร.สิตานันท์          ศรีใจวงศ์

๒๒.  นางสาวนัยนา         แก้วคง

๒๓.  นางสาวจิราพร        วิศิษฎ์โกศล

๒๔.  นายสืบตระกูล        ตันตลานุกุล

๒๕.  นางอรุณรัตน์          พรมมา

๒๖.  นางสาวสุปราณี       หมื่นยา

๒๗.  นายภราดร            ล้อธรรมมา

๒๘.  นางจิราพร            ศรีพลากิจ

๒๙.  นางสาวพัชชา         สุวรรณรอด

๓๐.  นางสายฝน            วรรณขาว

๓๑.  นางผ่องศรี             พุทธรักษ์

๓๒.  นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี

๓๓.  นางสาวอลิษา         ทรัพย์สังข์

๓๔.  นางสาวดาราวรรณ   ดีพร้อม

๓๕.  นางสาววิภาวรรณ    นวลทอง

๓๖.  นายวีรยุทธ            อินพะเนา

๓๗.  นางสาวจิระภา        สุมาลี

๓๘.  นายทิฎฐิ              ศรีวิสัย

๓๙.  นายนพรัตน์           สวนปาน

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๓. ๐๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

อ.นัยนา  อินธิโชติ แจ้งเรื่อง ทบทวนแนวทางการจัดการความรู้เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา” จากการประชุมกลุ่มงานกิจการศึกษาที่ผ่านมา ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   และได้แนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง และพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ดี คิดดี คิดทางบวก: (Positive thinking) มีการพูดที่ดี ฝึกขอบคุณ ฝึกแสดงความยินดี ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ ขั้นตอนที่๓ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และขั้นตอนที่ ๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ทำให้ได้แนวปฏิบัติ ๒ เรื่อง  คือ ๑) แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  และ ๒)  แนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา   ซึ่งจะได้ดำเนินการขั้นตอนที่ ๕.การเข้าถึงความรู้ และขั้นตอนที่ ๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และได้สรุปเป็นแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา มีดังนี้

๑.      การเป็นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสา

๒.      การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ ( Action learning)

๓.      การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม (Empathy)

๔.      มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง (Transformation of learning) ของผู้เรียน

๕.      การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง ( Self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง

๖.      ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้าง

อ.อดุลย์ สอบถามว่าผลของการพัฒนานักศึกษา เป็นอย่างไรบ้าง

อ.นัยนา อินธิโชติ แจ้งว่า จากการพัฒนาพบว่านักศึกษามีความเข้าใจ และมีทักษะด้านจิตอาสามากขึ้น

จากการสังเกตพบว่านักศึกษาอาสาช่วยเหลืองาน ยกตัวอย่างเช่น ค่ายกล้าอาสา ครั้งที่ ๕๑ ที่ดอยก่อเมิง                 รัฐฉาน “ค่ายแรกบนแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐” กิจกรรมที่ดำเนินการมี เลี้ยงอาหารน้อง ให้ความรู้สุขภาพ     ตรวจสุขภาพชาวบ้าน มอบหมวกไหมพรม ขนม ครีมทาผิว ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙

อ.ดร.นิศารัตน์ เสนอว่า จากการนิเทศนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติงาน พบว่า นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยเหลือ               พี่ๆ พยาบาล ช่วยดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ แต่ไม่ครบทุกคน

อ.ดร.ปฐพร เสนอว่า จากการนิเทศนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติงาน พบว่า นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยเหลือเพื่อนๆที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติงานดี แต่ไม่ครบทุกคน

อ.ดร.ประภาพร เสนอว่า จากการที่พบลูกๆ ในชั้นปี พบว่า ลูกๆ ช่วยเหลือกันดี โดยเฉพาะลูกที่มีปัญหาเรื่องการเรียน

อ.นัยนา อินธิโชติ เสนอว่า จริงๆ แล้วแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษาที่งานพัฒนานักศึกษาได้จัดทำขึ้นนั้น เป็นแนวทางที่ดี ที่ควรพัฒนาต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา  ไม่มี

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา  ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ   ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๔.๓๐ น.

ลงชื่อ ……………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)

ผังกระบวนงานการยืมเงิน-คืนเงิน กองทุนบานชื่น

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 4:12 pm
Reactions :11 comments

ผังกระบวนงาน ( Work Flow)  การยืมเงิน-คืนเงิน กองทุนบานชื่น


ที่ ผังกระบวนการ ระยะเวลา รายละเอียดของงาน ผู้รับผิดชอบ
1 ผู้ยืมเงินส่งใบขอยืมเงิน ก่อนวันที่ต้องใช้เงิน อย่างน้อย  3 วัน 1.1 ผู้ยืมเงินส่งใบขอยืมเงินที่อนุมัติแล้ว - ผู้ยืมเงิน
2 ตรวจสอบใบขอยืมเงิน 1 วัน 2.1 เจ้าหน้าที่รับใบยืมเงินที่อนุมัติแล้ว

2.2 ตรวจสอบความถูกต้อง

- คุณนัดดา

กอบแก้ว

3 จ่ายเงินยืม 1 วัน 3.1 เจ้าหน้าที่จ่ายเงินยืมให้แก่ผู้ยืมเงิน

3.2 จัดทำบัญชี

- คุณนัดดา

กอบแก้ว

4 ขออนุมัตเบิกเงิน 5 วัน 4.1 ผู้ยืมเงินส่งหลักฐานขอเบิกเงิน  ตามระเบียบทางราชการ

- ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ

- ค่าจ้างเหมาบริการ

- พัสดุ

4.2 รับเช็คตามเอกสารที่ขอเบิก

4.3 ส่งเงินยืมคืนกองทุนบานชื่น ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

4.4 นำเงินคืนให้แก่บัญชีกองทุนบานชื่น

- ผู้ยืมเงิน

- คุณนงคราญ

เยารัตน์

- ผู้ยืมเงิน

- ผู้ยืมเงิน

- คุณนัดดา

กอบแก้ว

กระบวนงานการยืม-คืนเงินราชการ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 4:09 pm
Reactions :30 comments

ผังกระบวนงาน ( Work Flow)  การยืมเงินราชการ

ที่ ผังกระบวนการ ระยะเวลา รายละเอียดของงาน ผู้รับผิดชอบ
1 ผู้ยืมเงินส่งสัญญายืมเงิน ก่อนวันเดินทาง/วันที่ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ หรือ ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการแล้วแต่กรณี 1.1 ผู้ยืมเงินส่งสัญญาการยืมเงิน จำนวน 3 ฉบับ ให้การเงินก่อนวันเดินทางไปราชการ/วันที่ต้องการใช้เงิน - ผู้ยืมเงิน
2

รับสัญญาการยืมเงิน

ทุกวัน 2.1 งานการเงินรับสัญญายืมเงินจากผู้ยืมเงิน - งานการเงิน
3

ตรวจสอบสัญญาการยืมเงิน

1 วัน 3.1 งานการเงินตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของสัญญายืมเงินและเอกสารประกอบสัญญาการยืมเงิน

- ถูกต้อง : ส่งเพื่อควบคุมเงินในระบบควบคุมงบประมาณ

- ไม่ถูกต้อง  ; ส่งคืนผู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการแก้ไข

3.2 งานการเงิน  ส่งสัญญาการยืมเงินให้ผู้ตรวจสอบ  เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาอนุมัติ

- งานการเงิน

- ผู้ตรวจสอบ

4 ควบคุมเงินในระบบควบคุมงบประมาณ 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับผู้เซ็นต์สั่งจ่าย 4.1 งานการเงินควบคุมเงินในระบบควบคุมงบประมาณ

4.2 เขียนเช็คเสนอผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค 2 ใน 3 ท่าน

- งานการเงิน

- งานการเงิน

5

จ่ายเงินยืม

ผู้ยืม

- ก่อนวันเดินทาง 3 วันทำการ

1 วัน

5.1 งานการเงินจ่ายเงินยืมให้แก่ผู้ยืมเงิน

5.2 ผู้ยืมเงินรับสัญญายืมเงินที่จ่ายแล้วกับงานการเงิน เพื่อควบคุมการส่งหลักฐานการเบิกจ่ายหรือเงินเหลือจ่าย(ผู้ยืมเงินจะได้สัญญายืมเงินแผ่นสีเหลือง)

5.3 งานการเงินลงทะเบียนคุมลูกหนี้

- งานการเงิน

- ผู้ยืมเงิน

- งานการเงิน

ผังกระบวนงาน ( Work Flow) การคืนเงินยืมราชการ


ที่

ผังกระบวนการ

ระยะเวลา

รายละเอียดของงาน

ผู้รับผิดชอบ

1

ส่งคืนสัญญายืมเงิน

ทุกวัน

1.1 ผู้ยืมเงินส่งคืนหลักฐานการเบิกจ่ายเงินพร้อมด้วยสัญญาการยืมเงิน จำนวน 1 ฉบับ

1.2 งานการเงินลงทะเบียนคุมลูกหนี้

- ผู้ยืมเงิน

- งานการเงิน

2

รับหลักฐานการจ่ายและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี)

ตามกำหนดในสัญญายืมเงิน

2.1 งานการเงินรับหลักฐานการจ่ายเงินและ/หรือเงินเหลือจ่าย(ถ้ามี)  เพื่อชดใช้เงินยืม จากผู้ยืมเงินตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน ดังนี้

1. เดินทางไปราชการ (ภายในประเทศ) ภายใน 10 วัน นับจากวันที่กลับมาถึง (ตามระเบียบ 15 วัน)

2. เดินทางไปราชการ (ต่างประเทศ) ภายใน 15 วัน นับจากที่กลับมาถึง (ตามระเบียบ 30 วัน)

3. ยืมเงินเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ภายใน 20 วัน นับจากวันที่แล้วเสร็จ

2.2 งานการเงิน  ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลักฐานการจ่ายปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับของทางราชการ

2.3 หากมีผู้ยืมเงินไม่ส่งหลักฐานและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) เพื่อชดใช้เงินยืมตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน งานการเงินจะดำเนินการ ดังนี้

1. ออกหนังสือเรียกให้ชดใช้เงินยืมภายใน 7 วัน นับจากวันที่ลงนามหนังสือ

2. หากผู้ยืมเงินไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 งานการเงินจะรายงานผู้อำนวยการ  เพื่อพิจารณาสั่งการให้หักเงินเดือน  ค่าจ้าง  เบี้ยหวัด  บำเหน็จบำนาญ  หรือเงินอื่นใดที่ผู้ยืมเงินพึงได้รับจากทางราชการ  เพื่อชดใช้จำนวนเงินที่ยืมไปจนครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาการยืมเงิน

- งานการเงิน

- ผู้ยืมเงิน

- งานการเงิน

- งานการเงิน

ผู้ยืมเงินส่งสัญญายืมเงิน

แนวทางเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายการฝึกอบรม

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 4:02 pm
Reactions :11 comments

แนวทางเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายการฝึกอบรม

ตามระเบียบค่าใช้จ่ายฝึกอบรม  2549   และที่แก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 ส่วนที่  1 ข้อ  8  และโครงการที่ได้รับอนุมัติ

หลักฐานประกอบดังต่อไปนี้

รายการ หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม

2. ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด การฝึกอบรม

3.ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์

4. ค่าประกาศนียบัตร

5. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์

6. ค่าหนังสือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม

7.ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เช่น อินเตอร์โรงแรม

8. ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม

- เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ
9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน  หรือใบเสร็จรับเงิน

- ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

10. ค่ากระเป๋าหรือสิ่งที่ใช้บรรจุเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินใบละ 300  บาท - เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ
11. ค่าของสมนาคุณในการดูงาน***เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินแห่งละ 1,500  บาท - เอกสารฉบับจริงดำเนินตามระเบียบพัสดุ
12. ค่าตอบแทนวิทยากร - ใบสำคัญรับเงินสำหรับวิทยากร

- หนังสือเชิญ

- หนังสือตอบรับกรณีหน่วยงานตอบกลับในนามหน่วยงาน (ยกเว้นเอกชน)

- สำเนาบัตรประชาชน(ถ้ามี)

13.  ค่าอาหาร - ใบสำคัญรับเงินพร้อมสำเนาบัตรประชาชน  หรือใบเสร็จรับเงิน

- ลายเซ็นผู้เข้าร่วมอบรม

14. ค่าเช่าที่พัก - ใบเสร็จรับเงิน

- Folio

***โครงการ/กิจกรรม***

15. ค่ายานพาหนะ

กรณีใช้รถยนต์ราชการ

- ใช้โครงการ/กิจกรรมฉบับจริง

-  ใบขออนุมัติใช้รถยนต์ราชการ

-  ใบเสร็จค่าน้ำมัน

-  หนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการและออกนอกเขตจังหวัด/หนังสือ

ขออนุมัติเดินทางไปราชการ

-  ใบเสร็จค่าทางด่วน

กรณีเดินทางโดยเครื่องบิน

กรณีเช่ายานพาหนะ

กรณีเดินทางโดยรถส่วนตัว

ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัวกม.ละ 4 บาท (สำหรับวิทยากร)

กรณีเดินทางค่าพาหนะรับจ้าง/รถไฟ/รถประจำทาง

-  ใบเสร็จ

-  กากบัตรโดยสาร(บอดิ้งพาส)

-  เอกสารฉบับจริงดำเนินการตามระเบียบพัสดุ

- หนังสือขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวจากต้นสังกัด (กรณีส่วนราชการ)

- แนบระยะทางตามการคำนวณของกรมทางหลวง

-   ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน(บก.111)

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 3:41 pm
Reactions :41 comments

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) กลุ่มงานวิชาการ

เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑

…………………………………………………………..

จากการที่กลุ่มงานวิชาการได้ระบุประเด็นการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ ตามกระบวนการจัดการความรู้ดังนี้

. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) โดยกลุ่มงานวิชาการได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมี และวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ เนื่องจากเห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะการเรียนรู้ทันกับกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๒๑ ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคม ผู้สอนจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เปลี่ยนไป โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ เพื่อผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ

๒. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั้งภายในและภายนอก เพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๙

. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน โดยกลุ่มงานวิชาการได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชากลุ่มวิชาชีพพยาบาล กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ในบทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน

. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ

. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) คือ ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ โดยการพิจารณาว่าเราสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่ หรือทำอย่างไรเพื่อจะให้เข้าถึงความรู้ได้

๖. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) โดยเฉพาะความรู้ในรูปแบบ Tacit Knowledge ที่จะต้องทำให้มีการถ่ายทอดออกมา โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน web blog KM ของวิทยาลัยฯ

. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดย

อาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์มีการแลกเปลี่ยน ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ซึ่งสามารถสรุปแนวปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทและลักษณะครู/ผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดังนี้

บทบาทและลักษณะครูในศตวรรษที่ ๒๑

๑.      ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนตัวเองสู่การเป็นครูยุคThailand ๔.๐ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็น active learner  โดยอาจใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๒.      ครูต้องรู้บทบาทและมีคุณลักษณะที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงบทบาทที่เหมาะสม และ
ได้เรียนรู้จริง โดยจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้จากชีวิตจริง  มีการให้กำลังใจและกล่าวชื่นชมนักศึกษาเพื่อเสริมพลังบวก

๓.      ครูต้องเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ เพราะแรงบันดาลใจนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียนในยุคปัจจุบันที่จะนำพาไปสู่การเรียนรู้ การคิด การออกแบบ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆได้ดี

๔.      ครูต้องมีการสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดความสนใจและรู้สึกผ่อนคลายซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้

๕.      ครูต้องเปลี่ยนจากการสอนไปสู่การเป็น coach จากถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้อำนวยการสร้างความรู้ เปลี่ยนจากการเป็นผู้รู้เป็นผู้เรียนรู้ และเปลี่ยนจากครูผู้รอบรู้วิชาเป็นผู้กำกับการเรียนรู้ของศิษย์

๖. ครูควรจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อกระตุ้นการคิดและให้นักศึกษาสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ เช่น การจัดการเรียนสอนแบบสะท้อนคิด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางพยาบาลในคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง  การจัดการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อ หรือการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงการเรียนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับครูรุ่นใหม่ยุคดิจิตอล

บทบาทและลักษณะผู้เรียน ในศตวรรษที่ ๒๑

๑.      มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

๒.      เป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งการที่นักศึกษาจะสามารถสร้างความรู้ได้ นักศึกษาต้องมีความรู้พื้นฐานมากพอสมควร

๓.      ทบทวนประสบการณ์ตนเองและพัฒนาตนเองให้ต่อเนื่อง

อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์

ผู้สรุปแนวปฏิบัติ

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro