• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

19/09/2013

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาโดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

KM7ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา ครั้งที่ ๒

โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖

?

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ?? ??????? ศรีใจวงศ์ ????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี??? ?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ?????? ??????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ?????? ??????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ?????? ??????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ??????? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ???? ??????? วิศิษฏ์โกศล ?????? เลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?????????????? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๖ เน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๒.????????????? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการองค์ความรู้เรื่อง? การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ คือ

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

??????? ๓. ในรอบปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ได้มีการเสวนาในการจัดการองค์ความรู้ (KM) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งภายหลังจากการนำองค์ความรู้มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาสามารถปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการประเมินของอาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ภาควิชาควรจะมีการจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแนวทางในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

????????????? ไม่มี

?

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การวิเคราะห์ความรู้และการสังเคราะห์ความรู้

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน รูปแบบ เทคนิคการเรียนการสอน รวมทั้งเสนอปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา

วิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑?

จุดเด่น

๑.??? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการสอนแบบโครงงาน (Project-base learning) โดยมีการ บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และมีการจัดนิทรรศการ/โครงการบริการวิชาการเรื่อง ?แม่ลูกปลอดภัย ด้วยวิถีไทยและภูมิปัญญา? แก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ สตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์

๒.?? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) โดยมีการจัดให้นักศึกษาขึ้นสังเกตการณ์ทำคลอดที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์คนละ ๒-๓ ครั้ง ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. และจัดทำรายงานการสังเกตการณ์คลอด รวมถึงเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการสังเกตการคลอดส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม โดยอาจารย์ประจำกลุ่มจะมีการอภิปรายกลุ่มย่อยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการขึ้นไปสังเกตการคลอด ปัญหาและอุปสรรคที่พบในระหว่างการขึ้นสังเกตการคลอด และอาจารย์ประจำกลุ่มให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำรายงานการสังเกตการคลอด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริง

ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข

๑.?? อาจารย์จะบรรยายและอภิปรายเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอาจารย์ควรมีการสอนด้วยวิธีหลากหลายที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา

๒.?? เป็นเนื้อหาใหม่สำหรับนักศึกษา ดังนั้นจึงขอให้อาจารย์ใช้วิธีการบรรยายแบบมีส่วนร่วม? ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิต?????? และสาธิตย้อนกลับ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

๓.? ศัพท์ที่เกี่ยวข้องทางด้านสูติศาสตร์มีจำนวนมาก และเป็นศัพท์ที่นักศึกษาไม่เคยเจอมาก่อน ดังนั้นจึงได้ทำเอกสารเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสูติศาสตร์

๔.?? นักศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ภาควิชาจึงได้จัดทำ VCD และคู่มือเกี่ยวกับการตรวจครรภ์ การทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจรก การอาบน้ำทารก และการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด เพื่อให้นักศึกษาได้นำไปศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (student-led review sessions)

วิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

จุดเด่น

๑.?? แหล่งฝึกหลากหลายได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ และแผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

๒.? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-base learning) โดยได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ?

๓.? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (think-pair-share) โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และสูติแพทย์? ?ทำให้ นศ.เกิดทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลและได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

๔.??? มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาโดยการจัดสอบก่อนและหลังฝึกปฏิบัติงานแต่ละแผนก และมีการแจกแผ่น VCD เรื่อง การตรวจครรภ์ การตรวจรก การทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิดเพื่อให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และจัด Clinical teaching เรื่องการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ??

๕.??? แผนกห้องคลอดจัดให้นักศึกษาขึ้นเวร เช้า บ่ายและดึก เพื่อให้ได้ประสบการณ์ครบ

๖.??? มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยการเสวนาเกี่ยวกับความเชื่อในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดของแต่ละประเทศ โดยใช้ภาษาอังกฤษ

ปัญหาและแนวทางแก้ไข

๑.???? อาจารย์นิเทศภาระงานมาก เนื่องจากอาจารย์ทุกท่านมีภาระงานที่มากและมีหน้าที่ทั้งงานหลักคืองานด้านการสอนและงานบริหาร ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่อาจารย์ทุกท่านต้องบริหารจัดการเวลาเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการนิเทศการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ?

วิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒

?????? ?????? จุดเด่น

๑.??? มีการเชิญสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาสอนในหัวข้อเกี่ยวกับโรคที่เกิดร่วมกับการตั้งครรภ์

๒.?? มีการมอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าในหัวข้อการพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

๑.?????????????? หลังจากการเรียนให้นักศึกษาสรุป mapping ทุกหัวข้อ อ. ไม่มีเวลาตรวจและ นศ.ประเมินว่างานมีจำนวนมาก แก้ไขโดยให้ นศ.สรุป mapping กลุ่มละ 2 concept และสังเคราะห์ความรู้และตั้งเป็นโจทย์ปัญหาและนำเสนอ อาจารย์พยาบาลสอนการพยาบาลตาม

๒.????????????? ?เนื้อหาค่อนข้างเยอะ อาจารย์จึงควรสอนให้นักศึกษาคิดเชิงซ้อนมากขึ้น โดยเอาสถานการณ์จริงที่เคยเจอบนหอผู้ป่วยมาใช้เป็นสถานการณ์ให้นักศึกษาวิเคราะห์

วิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ๒

?????? ?????? จุดเด่น

๑.??? มีการนำตัวอย่างข้อสอบมาให้นศ. ฝึกวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์และหาเหตุผลเอง และมีอาจารย์ผู้นิเทศเป็นผู้ชี้แนะและเป็นที่ปรึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

๒.??? เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ bed side teaching เพื่อฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์ case กรณีศึกษา และสามารถวางแผนให้การพยาบาลได้จริง

๓.?? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (think-pair-share) ?โดยมีการจัดเสวนาเกี่ยวกับการพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน และมีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

๑.???? ระยะเวลาน้อย

๒.??? Case LR ไม่หลากหลายและการช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการมีน้อย และขึ้นฝึกปฏิบัติงานพร้อมกับนักศึกษาแพทย์ แก้ไขโดยจัดให้นักศึกษา On call และมีการ oral test ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการ

ข้อคิดจากอาจารย์

๑.???? การเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งข้อด้อย-ข้อดีเป็นสิ่งสำคัญ สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแต่ละปีแตกต่างกัน

๒.??? ข้อสอบของสภาการพยาบาลจะใช้วิธีคิด ๒-๓ ชั้น จะต้องเน้นให้พิจารณาให้ดี ถ้า นศ.คิดไม่เป็นระบบ จะต้องเน้นการฝึกคิดวิเคราะห์ให้เป็นระบบมากขึ้น ?

ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอบในปีการศึกษา ๒๕๕๕

๑. ?สิ่งที่ทำให้สอบผ่านวิชาผ่านการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ได้คือการทำmapping และการตรวจและสะท้อนกลับของอาจารย์ ทำให้เข้าใจและตั้งใจทำมากขึ้น แล้วใช้เวลาอ่าน จำเฉพาะ concept ซึ่งจะค่อนข้างเชื่อมโยงแต่สามารถจำได้ดีกว่าการอ่านหนังสือเนื่องจากเราได้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และกรองออกมาในภาษาของตัวเราเอง

๒.??????????????????????? ทำข้อสอบไม่ทันเวลาเพราะตั้งใจมาก ไม่อยากผิดเลยทำให้ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อนาน

๓.??????????????????????? รู้ว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ฟังคนอื่นไม่เข้าใจ ใช้วิธีทบทวนเองดีกว่า

๔.??????????????????????? ?ปัจจัยที่ช่วยให้สอบผ่านคือการเข้าติว เพราะเป็นการทบทวนสิ่งที่เรียนมา ถ้าได้มีการเตรียมตัวอ่านก่อนการเข้าติวแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าไม่มีการอ่านหรือเตรียมตัวมาก่อนมาติวจะไม่ค่อยรู้เรื่องและเข้าใจมากนัก

๕.??????????????????????? ?ผลการสอบไม่ผ่านผดุงครรภ์ มาสอบ oral ตอบไม่ค่อยได้

๖. ?สิ่งที่ทำให้ผ่าน คือการอ่านบ่อยๆเพราะเป็นการทบทวนและเน้นให้จำและเข้าใจมากขึ้น

๗.????????????????????? ไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบฟังที่เพื่อนเล่า ใช้วิธีจับกลุ่มเล่าประสบการณ์ อ่านจากสรุปลายมือตัวเองจะเข้าใจมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจจะถามเพื่อน ถ้าเพื่อนตอบไม่เหมือนกันก็อ่านหนังสือ ทำข้อสอบของวิทยาลัยพบความหลากหลายของข้อสอบที่เนื้อหาเดียวกัน

๘.??????????????????????? ถ้ามีการติวตั้งแต่ปี ๓ จะได้ความรู้เต็มที่มากกว่าตอนที่มาเริ่มติวปี ๔ รู้สึกว่าได้ความรู้ครึ่งๆ กลางๆไม่เต็มที่

๙.?????????????????????? เอกสาร/ข้อสอบต่างๆได้จากร้านถ่ายเอกสารได้นำมาแลกเปลี่ยนจากวิทยาลัยอื่นๆซึ่งทำให้หลากหลาย

๑๐.?? การติวถ้าจัดทุกวันรู้สึกไม่อยากมา อยากอ่านเองบ้าง เลือกอาจารย์ที่จะเข้าฟัง อยากให้ติวทั้งเนื้อหาและข้อสอบสอนวิธีคิดในประเด็นต่างๆ

วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้เข้าใจ

๑.?? การเรียนเป็นกลุ่มทำให้เห็นจุดอ่อนตัวเอง+ให้เพื่อนช่วยอธิบาย

๒.? อยากให้จัดฝึกกับเรียนควบคู่ไปด้วยกัน เจอ case แล้วมาถามจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น

๓.? วิธีการสอน+สะท้อนกลับของอาจารย์แต่ละคนต่างกัน ถ้าได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างกลุ่มจะเข้าใจมากขึ้น

๔.? การเห็นประสบการณ์บน ward จะดีกว่าสอนบรรยาย

๓.๒ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ มีประเด็นดังนี้

๑.???? ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง

๒.??? การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษา ?โดยเน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

๓.??? อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๔. ในการฝึกปฏิบัติงาน ควรมีการอภิปรายกลุ่มย่อย ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติงานทุกวันและมอบหมายให้นักศึกษาเขียน Reflextive thinking เพื่อเป็นการสะท้อนคิดการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาและเพื่อเป็นการทำให้อาจารย์นิเทศทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน

?

?

?

?

สรุป

แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เน้น

การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ การวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ดังนั้นอาจารย์ในภาควิชาจึงควรเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนแบบ ?Active Learning ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

??????????????????????????????????????????????????????????????? จิราพร วิศิษฏ์โกศล

??????????????????????????????????????????????????????? ? ผู้บันทึกรายงานการประชุม

????????????????????????????????????????

?????????????????????????????????????????????????????? สิตานันท์ ศรีใจวงศ์

??????????????????????????????????????????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

18/09/2013

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning? ครั้งที่ ๓

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
แบบ Active Learning?

วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ ? ๑๒.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววิไลวรรณ????????? บุญเรือง ?????????? หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางวิมล???????????????????? อ่อนเส็ง????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางประภาพร?????????????? มโนรัตน์ ??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางสาวดุจเดือน?????????? เขียวเหลือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์????????????????? วุฒิจูรีพันธุ์?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางอัญชรี?????????????????? รัตนเสถียร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายบุญฤทธิ์??????????????? ประสิทธินราพันธุ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นางสาวจิระภา ??????????? สุมาลี???????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นายอิทธิพล??????????????? แก้วฟอง???????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นางสาวชลธิชา?????????? จับคล้าย ??????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๒. นายนพรัตน์?????????????? สวนปาน ??????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๓. นางสาวสายฝน????????? ชมคำ???????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๔. นายอรรถพล ??????????? ยิ้มยรรยง??????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ? บุญเรือง
เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- ประธานแจ้งความก้าวหน้าของการดำเนินการ การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง

- ผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?โดย อ.จิระภา สุมาลี แจ้งดังนี้

๑) ในรายวิชาทักษะชีวิต (ภาคทดลอง) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๑ มีจำนวน ๒ ห้องเรียน แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นชั้นเรียนละ ๕ กลุ่ม (อัตราส่วนอาจารย์:นักศึกษา เท่ากับ ๑:๑๑) ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนภาคทดลองของบทที่ ๑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง โดยมีการเตรียมด้านการเรียนการสอนดังนี้

๑) การเตรียมผู้สอน

๑.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาวางแผนรูปแบบการเรียนการสอนตามลักษณะเนื้อหาของรายวิชา เช่น การจัดทำ มคอ.๓ จัดทำคู่มืออาจารย์ผู้สอนภาคทดลอง

๑.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนภาคทดลองร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาชี้แจงถึงลักษณะการเรียนการสอนภาคทดลองซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเน้นการสะท้อนคิดและอาจารย์ผู้สอน ให้ข้อมูลย้อนกลับ และเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาในทฤษฎี

๑.๓ อาจารย์ผู้สอนทบทวนความรู้ในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง เช่น? ทฤษฎี Jo-harri Window, ทฤษฎี Maslow, ทฤษฎีของ Floyd

๒) การเตรียมผู้เรียน

๒.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาแจ้งรายละเอียดของการเรียนการสอนกับผู้เรียน รวมถึงลักษณะของการวัดประเมินผลภาคทดลอง

๒.๒ เตรียมผู้เรียนก่อนเริ่มการเรียนการสอนทุกครั้ง โดยการฝึกสมาธิเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมก่อนการเรียนมีการกำหนดกติกาของการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การรักษาความลับของกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจในการพูดถึงเรื่องส่วนตัว โดยผู้สอนเชื่อมโยงไปถึงคุณธรรม จริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพที่จะต้องรักษาความลับของผู้ป่วย

๓) กระบวนการเรียนการสอน

ในชั่วโมงแรกของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม จะมีการทำกิจกรรมแนะนำตนเองเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพของนักศึกษาภายในกลุ่มให้นักศึกษาพร้อมที่จะเรียนรู้ และเปิดใจรับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ส่วนกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมดูหิน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มองเห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลการยอมรับในข้อดี ข้อเสียของผู้อื่น เรื่องกิจกรรมสวนสัตว์, ชมสวนดอกไม้ เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สะท้อนถึง Id, Ego, Super Ego ของตนเองมองเห็นถึงข้อดี ข้อเสียที่มีในตนเองและการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

ซึ่งจากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา การวัดประเมินผลจากนักศึกษาในภาคทดลองนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมาก และได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนนักศึกษา ได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับรายวิชาอื่น

ข้อเสนอแนะ

การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ควรคำนึงถึงอัตราส่วนของอาจารย์ผู้สอนต่อนักศึกษาที่เหมาะสม เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนต้องใช้เวลามาก ทำให้ผู้เรียนบางส่วนได้แสดงความคิดเห็นไม่ทั่วถึง

…………………………………………….

(นายนพรัตน์ สวนปาน)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning?ครั้งที่ ๒

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน

แบบ Active Learning?

วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.

ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง หัวหน้าภาควิชาฯ

๒. นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖. นางอัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๙. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานสรุปประเด็นองค์ความรู้เรื่อง แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จากการประชุมครั้งที่ผ่านมา

จึงแจ้งที่ประชุมทราบ

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ภาควิชาฯร่วมกันวิเคราะห์ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งได้มาจากการประชุมวันที่ ๒๘ ส.ค. ๕๖ ได้แนวทางปฏิบัติร่วมกันและได้มอบหมายให้อาจารย์ทุกท่านนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในบทเรียนที่ตนเองรับผิดชอบตามแนวปฏิบัติ ดังนี้

๑) จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และที่ประชุมมอบหมายให้ อ.จิระภา สุมาลี ได้ทดลองนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะชีวิต (ภาคทดลอง) และจะติดตามความก้าวหน้าในการประชุมครั้งต่อไป

…………………………………………….

(นางสาวจิระภา สุมาลี)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning”

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
แบบ Active Learning?

วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางอัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ


ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดย อ.อิทธิพล แก้วฟอง ดังนี้

อ.อิทธิพล แจ้งว่าได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยทำการจัดการองค์ความรู้เรื่อง การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยนำแนวปฏิบัติมาใช้ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในบทที่ ๘ เรื่อง การใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ โดย อ.อิทธิพล ได้ดำเนินการดังนี้

๑) ทบทวนทักษะการดูแลบุคคลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่นักศึกษา โดยบรรยายถึง บทบาทพยาบาลในชุมชนที่ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานในการเข้าใจวิถีชีวิตตามความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีจุดเด่นของลีลาชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเข้าใจภูมิปัญญาหรือวิถีชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นกระบวนการหนึ่งของการให้กิจกรรมทางการพยาบาลในชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ

๒) จัดการการเรียนการสอนตามแผนการสอนดังนี้ โดยมอบหมายให้นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ของอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามบริบทที่ตนเองศึกษา ซึ่งการแบ่งพื้นที่ได้แบ่งตามวัฒนธรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน

๓) สรุป ประเมินผล และถอดบทเรียน

จากการดำเนินการจัดการเรียนการสอนพบว่าหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ตัวผู้เรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนมากขึ้น พร้อมทั้งมีแนวทางในการปรับประยุกต์ใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ในการให้การพยาบาลกลุ่มคน ครอบครัว และชุมชนบนพื้นฐานของความเข้าใจความเป็นมนุษย์ โดยนักศึกษาได้ถ่ายทอดผลการศึกษาผ่านวีดีทัศน์ในการสัมภาษณ์วิถีชีวิตของคนในชุมชนและบันทึกการเรียนรู้ที่ได้รับจากการศึกษา

๔) นำผลการจัดการเรียนการสอนที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อไป

หากต้องการมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ควรมีการกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาให้ชัดเจน พร้อมทั้งประสานงานพื้นที่ให้รับทราบก่อนที่นักศึกษาจะลงศึกษา

- ประธานแจ้งว่า จากการประชุมของคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ได้กำหนดหัวข้อในการจัดการองค์ความรู้(KM) ของวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี Active Learning และขอความร่วมมือให้อาจารย์แต่ละท่านช่วยเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ละวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มีประสิทธิภาพแก่นักศึกษา

จึงแจ้งที่ประชุมทราบ

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

จากประธานแจ้งเรื่องหัวข้อการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และให้อาจารย์ในภาควิชาฯ เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ละวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา

๑. จากการทบทวนความรู้เรื่อง AL พบว่า “AL เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ”

๒. รูปแบบของ AL การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล, การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ McKinney (๒๐๐๘) ได้เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่

๑) การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

๒) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๓-๖ คน

๓) การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่างๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

๔) การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล

๕) การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วิดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวิดีโอ ๕-๒๐ นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

๖) การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

๗) การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

๘) การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning)

๙) การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

๑๐) การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

๑๑) การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

๑๒) การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ลักษณะของ Active Learning

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (มปป.) ได้อธิบายถึงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ดังนี้

๑) เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาและการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

๒) เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

๓) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๔) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

๕) ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

๖) เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๗) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง

๘) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด

๙) ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

๑๐) ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

บทบาทของครู กับ Active Learning

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (๒๕๕๐) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้

๑) จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน

๒) สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน

๓) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

๔) จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน

๕) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย

๖) วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม

๗) ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดของที่ผู้เรียน

การเตรียมตัวด้านผู้เรียน

นอกจากจะต้องพาตัวเองหรือบังคับตัวเองให้ไปเข้าชั้นเรียนแล้ว สิ่งที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศของ AL ได้ ผู้เรียนก็จะต้องเตรียมตัวในเรื่องต่อไปนี้ คือ

อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

๓. อ.ดร.ประภาพร สอนแบบ Didactic Strategic เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยครูเป็นผู้ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการสอน เน้นให้เกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดวิเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ได้เอง ใช้สอนนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ ๒ วิชาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในบทที่ ๙ เรื่อง สถานบริการสุขภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่จัดบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน ๔ ชั่วโมง ใช้วิธีการสอน เริ่มเข้าสู่เนื้อหาโดยใช้วีดีโอ เนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์จริง พบว่า นักศึกษามีความตื่นตัว สนใจในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษาได้ดูวีดีทัศน์ ๒๐ นาที เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพที่เชื่อมโยงกับ รพ.สต. จากนั้นให้แบ่งกลุ่มอภิปรายร่วมกัน ๒๐ นาที โดยให้ประเด็นคำถาม เหตุเกิดที่ไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง เกิดผลดีอย่างไร มีความแตกต่างอย่างระหว่างสถานบริการในและนอก มีอาจารย์พิเศษจากสถานบริการร่วมบรรยาย โดยให้นักศึกษาแบ่งเป็นนายสถานี ให้นายสถานีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่รับผิดชอบ สรุปผลการแลกเปลี่ยนลงใน Flip Chart และอาจารย์สรุป Concept หลัก ๑๕ นาที ซึ่งวิธีการสอนแบบนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่อง การสอนในกลุ่มใหญ่ได้ สำหรับข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้คือ ควรมีการจัดการเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมให้พร้อม เช่น บอร์ด กระดาษFlip Chart เก้าอี้ เป็นต้น ตัวผู้สอนต้องเตรียมตัวให้พร้อม

๔. อ.วิมล สอนโดยให้นักศึกษาออกแบบผังความคิด (Concept Mapping) เป็นรายบุคคลในหัวข้อ การบริหารหอผู้ป่วย บทที่ ๖ วิชาบริหารการพยาบาล ให้นักศึกษานำเสนอความคิดรวบยอดและเชื่อมโยงกับกรอบความคิดในการใช้ เป็นตัวเชื่อมโยงและสุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน ๒ คน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามแสดงความคิดเห็น ครูบรรยายสรุป การบริหารหอผู้ป่วย การสอนรูปแบบนี้พบว่า นักศึกษาบอกว่าดี ทำให้มีความเข้าใจภาพรวมการบริหารหอผู้ป่วยได้มากขึ้น การสอนวิธีนี้ช่วยแก้ปัญหาให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบการบริหารหอผู้ป่วยในเชิงรูปธรรมมากขึ้น

๕. อ.วิไลวรรณ จัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยใช้กรณีศึกษาที่พบแล้วเขียน Concept Mapping ของวิธีการรักษาพยาบาล มาประชุมปรึกษาทางการพยาบาลในกลุ่มย่อย ๗-๘ คน พบว่า นักศึกษาสนใจดี จำได้ดี เนื่องจากประสบการณ์ตรงกับตนเองและเป็นประสบการณ์จริง, กระตือรือร้นกับผู้ป่วย, เป็นประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน

๖. อ.บุญฤทธิ์ ใช้วิธีการสอน แบบ การแลกเปลี่ยนความคิด(Think-Pair-Share) ในรายวิชาสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ โดยมีการบรรยาย หลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ และยกตัวอย่างcase หลังจากนั้นให้นักศึกษาฝึกจับคู่ และวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพสร้างเสริมสุขภาพของเพื่อนที่ควรทำอย่างน้อย ๑ เรื่อง และออกแบบกิจกรรมการพยาบาลโดยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ร่วมออกแบบกิจกรรมผู้ถูกสัมภาษณ์ หลังจากสอน นักศึกษามีความตื่นตัว ในการเรียนการสอน รู้จักวิธีในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เข้าใจว่าเพื่อนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องปรับปรุงและมีการวางแผนดูแลสุขภาพร่วมกัน ช่วยให้เข้าใจทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นนามธรรมมากขึ้น

๗. อ.จิระภา ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ LT(Learning Together) ในรายวิชา ทักษะชีวิต (พยบ.๑) บทที่ ๒ เรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก หัวข้อเรื่อง มารยาทไทยและมารยาททางสังคม เนื่องจากผู้สอนคิดว่าเนื้อหามีค่อนข้างมาก และจากประสบการณ์สอนใน ๒ ปีที่ผ่านมา พบว่าเนื้อหามีมากกว่าชั่วโมงที่มีการจัดการเรียนการสอนจริง และเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น จึงใช้วิธีการ LT ซึ่งผู้สอนได้เตรียมวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเรื่อง มารยาทไทย และมารยาทสังคม ซึ่งเป็นวิดีโอของรายการสุภาพบุรุษจุฑาเทพของช่อง ๓ เปิดให้กับผู้เรียนดูและมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละคนจดบันทึก เป็นบันทึกความรู้รายบุคคลจากนั้นให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มๆละ ๔-๕ คน เล่าถึงบันทึกความรู้ให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง จึงเป็นการทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันให้เวลา ๒๐ นาที จากนั้นให้ทำแบบทดสอบเพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากนั้นผู้สอนเฉลยคำตอบและสรุปประเด็นสำคัญให้ผู้เรียน แล้วมีรางวัลให้กับกลุ่มที่มีคะแนนสูงสุดเพื่อเป็นแรงจูงใจ ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่อยู่ที่ ๖๐-๑๐๐ % ซึ่งทำให้ผู้สอนทราบว่าการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและให้ฝึกคิดวิเคราะห์กันเองทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นภายในเวลาที่จำกัด(ชั่วโมงการเรียนการสอน) ซึ่งเปรียบเทียบจากผลการสอบรายบทจาก ๒ ปีที่ผ่านมาพบว่ามีความก้าวหน้า ข้อดี คือ ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการสอนได้เพียงพอกับลักษณะเนื้อหาที่มีมาก ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น ฝึกการคิดวิเคราะห์ ข้อเสียคือ ไม่สามารถวัดเป็นรายบุคคลได้

๘. อ.ดุจเดือน ได้นำผลจากการวิจัย ?การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล? มาใช้พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลซึ่งมีองค์ประกอบ ๗ ขั้นตอนคือ ๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น ๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ ๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ ๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็น/ทางเลือกที่หลากหลาย ๕) จัดลำดับความคิด/หาข้อสรุปร่วมอย่างเป็นเหตุเป็นผล ๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ ๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนนี้ ทำให้นักศึกษาพยาบาลเกิดพฤติกรรมการสะท้อนคิด ข้อจำกัดของการเรียนการสอนรูปแบบนี้คือ นักศึกษาต้องไม่เกินกลุ่มละ ๘-๑๐ คน และควรจัดสถานการณ์ ๑ เรื่องต่อ ๑ กลุ่ม อ.บุญฤทธิ์ เพิ่มเติมสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ในกรณีศึกษา คือ what is informatics, patient centered acre, teamwork and collaboration, quality improvement, evidence based practice and safetyเพื่อให้นักศึกษาเกิดมุมมองในประเด็นต่างๆ

๙. อ.อิทธิพล ใช้วิธีการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ ในหัวข้อ การพยาบาลอาชีวอนามัย โดยใช้เทคนิค คือ การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to video) เช่น ให้นักศึกษาชมวีดีทัศน์ ?เหตุการณ์ก๊าซรั่ว ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง?ทั้ง ๔ กลุ่ม สะท้อนความคิดตามบทบาทสมมุติของตนเองในการแก้ไขปัญหาตามเหตุการณ์ก๊าซรั่ว การแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) เช่น นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ในฐานะพยาบาลอาชีวอนามัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพตามสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ,แรงงานในสถานประกอบการและประชาชน พร้อมยกตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาระยะสั้น/ระยะยาว การเรียนรู้จากกรณีศึกษาโดยผ่านการแสดงบทบาทสมมติ (Analysis case studies) และสรุปรวบยอดแบบแผนผังความคิด เช่น ใบงานวิเคราะห์สถานการณ์ตามบทบาทสมมุติที่นักศึกษาได้รับ นักศึกษาสร้าง Mind Mapping เรื่อง ความรู้เรื่องการพยาบาลอาชีวอนามัยของชั้นเรียนโดยผ่านกระบวนการดอกไม้ความคิด ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาและสามารถมองเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งดีกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว กล่าวโดยสรุปเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน คือ CIP-3P ประกอบไปด้วย C- Construction of the new knowledge คือการสร้างความรู้ในสิ่งที่นักเรียนอยากทราบ หรือเกิดการตั้งคำถาม I- Interaction การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน p- Process of learning คือ กระบวนการเรียนรู้ และกลับมาสู่ 3P ที่ประกอบไปด้วย presentation จะเน้นจากอธิบายเสริมจากครู, practice ทำแบบฝึกหัดอย่างเข้าใจ และ production เป็นการสร้างชิ้นงานที่แสดงความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนมา

๑๐. อ.อดุลย์ ใช้ในรายวิชาการประเมินสุขภาพ(ภาคทดลอง) ปัจจัยที่ผ่านมา การสอนเรื่อง การอภิปรายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ใช้การเรียนรู้ โดยการมอบหมายไปค้นคว้า แล้วนำมานำเสนอในกลุ่มย่อย ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่นักศึกษานำมาจากตำรา ทำให้บรรยากาศการเรียนน่าเบื่อ ทั้งผู้สอนและผู้เรียน แนวทางแก้ไขในปีที่ผ่านมาได้มอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษาจาก กรณีศึกษาจริงบนหอผู้ป่วย ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และดูผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แล้วนำผลการศึกษามาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยผลพบว่า นักศึกษามีการวิเคราะห์อภิปรายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลทางทฤษฎี ข้อมูลจากการซักประวัติ และข้อมูลจากการตรวจร่างกายประกอบ ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ นำไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้ และเป็นการทบทวนความรู้เดิมจากการสาธิตย้อนกลับในการตรวจร่างกายได้ชัดเจนขึ้น

๑๑. อ.อัญชรี การเรียนการสอนในรายวิชาทักษะชีวิต ในส่วนภาคทดลองมีกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมรายบุคคล และการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็ก รวมถึงการเรียนรู้เป็นกลุ่มใหญ่ เช่น เกม ศึกษาจากกรณีศึกษา แก้ปัญหาเป็นกลุ่ม อภิปรายกลุ่มใหญ่ ทำให้นักศึกษาสนใจ ข้อเสนอแนะคือ จำนวนคนในกลุ่มไม่ควรเกิน ๑๒ คน เพราะทำให้กระตุ้นผู้เรียนไม่ทั่วถึง

ประเด็นที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการเรียนแบบ AL พบว่ามีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกตามความสมในบริบทของแต่ละบุคคล ส่วนในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้ดังนี้

๑. บทบาทของครู

- การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอนหรือศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน

- ศึกษาผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

- จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

- สร้างความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

- เตรียมความพร้อมทรัพยากร สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้

- ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน

- ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง

๒. บทบาทผู้เรียน

- ทบทวนความรู้ อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

- เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

- เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

- ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียน และอยู่กับปัจจุบัน

- ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

…………………………………………….

(นางสาวจิระภา สุมาลี)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

17/09/2013

แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: sasidhornunc
Time: 5:56 am
Reactions :No comments

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

จากการที่แต่ละภาควิชาได้จัดการความรู้ประเด็นการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ งานจัดการความรู้ได้นำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยพยาบาลดังต่อไปนี้

๑. สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน
๒. การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓. การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.๑ การจัดทำมคอ. ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง
๓.๒ กำหนดสมรรถนะให้เกิดกับนักศึกษาในเรื่อง การสื่อสารที่ดี ทีมที่ดี การเขียนแผนงานและโครงการ
? การบริหารจัดการ การเรียนรู้ตามสภาพจริง จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะหรือสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาและข้อมูลสภาพปัญหา การวางแผน การดำเนินการตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงหรือการพัฒนาต่อเนื่อง
? การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
? การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังที่คาดหวังไว้
? การสร้างเสริมความร่วมมืออันดี กับ อสม. ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาล
? การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนาแผนงาน กิจกรรม นวัตกรรมการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง
๓.๓ พัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถนะการสร้างสัมพันธภาพและการติดต่อสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพการประเมินผู้ป่วยในครั้งแรกที่นักศึกษาเสนอ เพิ่มเติมจะเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยได้ ละเอียดมากยิ่งขึ้น และนำมาสู่การปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติ
๓.๔ การค้นหาทุนทางสังคม การบูรณาการได้ดีต้องมีภาคีเครือข่ายที่ดี
๓.๕ ปฏิทินการปฏิบัติงานควรมีความสอดคล้องกับปฏิทินชุมชน และปฏิบัติงานของทีมอ.ส.ม. ทีมพยาบาลชุมชน และองค์กรชุมชนเพื่อให้เกิดความทำงานที่สอดประสานกันและมีประสิทธิภาพ
๓.๖ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment) การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.๗ เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้
๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและ ผลลัพธ์ยั่งยืน
๔. การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๔.๑ การทำมคอ.ที่มีวัตถุประสงค์ของการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น
?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้?
๔.๒ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาศัยการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดทีมที่ดี
๔.๓ การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลสามารถทำได้ทั้งที่ชุมชนและการบูรณาการในหอผู้ป่วย การบูรณาการในหอผู้ป่วย เช่น การแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน D/C plan
๕. การวัดและประเมินผล
๕.๑ การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผล กระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
๕.๒ จะต้องวัดผลที่เกิดกับนักศึกษา สำหรับผลที่เกิดกับผู้ป่วยหรือประชาชน ถือเป็น outcome เชิงประจักษ์ สำหรับที่หอผู้ป่วยจะแตกต่างการประเมินผลของผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น
๕.๓ มีการประเมินผลมาเป็นคะแนนฝึกปฏิบัติ
๖ .การพิจารณาผลกระทบ
-นักศึกษาสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ ทำสื่อได้ด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์และสร้างสื่อเป็นวีดีโอ เพื่อไปให้ชุมชนใช้ต่อไป
๗. การบูรณาการกับพันธกิจอื่น เช่น บริการวิชาการ วิจัย
แต่ละภาควิชามีการพิจารณาในประเด็นการบริการวิชาการ และการวิจัยไปด้วยเพื่อที่จะสามารถยืนยันผลของการทำงาน เช่น การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ที่นำความรู้จากรายวิชา เพื่อนำไปให้ความรู้ หรือการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคให้กับประชาชน หลังจากที่มีการบูรณาการกับบริการวิชาการแล้ว ได้ดำเนินการทำวิจัยต่อเนื่อง เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้

ศศิธร ชิดนายี
หัวหน้างานวิจัย การจัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์
วันพฤหัส 6 กันยายน 2012

16/09/2013

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุและความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ ของประชาชน อายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: พิศิษฐ พวงนาค
Time: 5:49 am
Reactions :1 comment

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุและความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ ของประชาชน ???อายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา1 พิศิษฐ์ พวงนาค2 พัชรินทร์ เฮียงก่อ1

1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่อนดินแดง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

2 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์

mrtoni1445@hotmail.com

ความสำคัญของปัญหา

วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและจิตใจ ดังนั้น หากได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุได้ตรงกับสภาพปัญหาของบุคคล ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุอยู่อย่างมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ?

วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อศึกษาถึงระดับและความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าวัยสูงอายุกับความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตของผู้สูงอายุของประชาชนอายุ 59-60 ปี ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

วิธีดำเนินการวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสัมภาษณ์รายบุคคลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Simple correlation Pearson?s Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัย

ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.4 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 73.4 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.9 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 33.5 อาศัยอยู่แบบครอบครัว 3 วัย ร้อยละ 51.1 รายได้เพียงพอต่อรายจ่าย ร้อยละ 66.1 ภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 36.1 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจากภาวะเมตาบอลิค ร้อยละ 37.3 การเตรียมความพร้อม? ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (m=2.25, s=.46) จำแนกรายด้านพบว่า ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.67-2.33) ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการใช้เวลาว่าง ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และระดับมาก ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (m=2.35, s=.53) ความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 55.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 44.2 ระดับความสัมพันธ์ระหว่างการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุกับความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุในทางบวกระดับน้อย (r=.291, p =.000)

ข้อเสนอแนะ

ด้านการพยาบาล ควรจัดกิจกรรมการดูแลและส่งเสริมให้ประชาชนเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเองตามระดับปัญหาของบุคคล เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพ ที่นำไปสู่การดำเนินชีวิตช่วงวัยสูงอายุได้อย่างปกติสุข

คำสำคัญ การเตรียมความพร้อม, โลกทัศน์ต่อชีวิตผู้สูงอายุ, ประชาชนอายุ 59-60 ปี

RELATIONSHIP BETWEEN SELF-PREPARATION AND SELF-ATTITUDE TOWARD AGING IN THE GROUP OF 59 TO 60 YEARS OF AGE IN THAMBOL THA SAO, MUANG DISTRICT, UTTARADIT, THAILAND

Wongchayapote Promsila1, Pisit Phuangnak2, Patcharin Hiangkho1

1Mondindang Tambon Health Promoting Hospital

2Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit

E-mail: mrtoni1445@hotmail.com

Statement of the Problems

In Aging, since the biology of the body cells changes in its functions, the elderly people experience all changes in their physical and mental health. Thus, preparations for getting into aging is important and makes elderly people live their lives wisely.

Objectives

To study the level of self-preparations and attitudes toward ageing among Tha Sao?s residents in Thambol Tha Sao, Muang District, Uttaradit, Thailand.

Methods

The study is a survey using in-depth interviews to collect data in the 59 to 60 years of age of Tha Sao?s residents. Frequency, percentages, mean, standard deviation and simple correlation Pearson’s coefficient were used to analyze.

Findings

The results of the study show that more than a half (58.4%) of the population were female and (73.4%) married. Half (57.9%, 51.1%) of them had primary school education and were extended families and living with their grand children. One third (33.5%) were still working for their income which was enough to live (66.1%). One third (36.1%, 37.3%) was found overweight and chronic metabolic sickness. The preparation for aging was moderate (m=2.25, s=.46) which found that the sample highly prepared themselves in places for living (m=2.35, s=.53) but moderately (the average between 1.67 and 2.33) in their income, free time spending and physical and mental health. More than a half (55.4%) had highly positive attitude toward aging and almost a half (44.2%) of it had moderate of those. Finally, the research found that the relationship between the self-preparation and the attitude toward aging in positive aspect is low (r =.291, p =.000).

Suggestion

The findings suggested that the preparation for aging in adulthood should be added in the health promotion and disease prevention aspects which must be appropriate to the individual.

Keywords aging, preparation for aging, attitude towards ageing, elderly people, Uttaradit.

12/09/2013

รายงานการประชุมการจัดการความรู้เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 2:42 am
Reactions :23 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน
แบบ ACTIVE LEARNING
วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น.
ณ ห้อง ๑๑๓ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางอนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางมณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๕. นางสาววราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางสาวนัยนา อินธิโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายไพทูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๙. นางวาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑๐. นางสาวนัยนา แก้วคง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๑๑. นางสาวศิริกาญจน์ จินาวิน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๑๒. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๓. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๔. นางอรุณรัตน์ พรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๕. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๖. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๗. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๘. นางจิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายไพทูรย์ มาผิว
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๑๕ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ประธานแจ้งว่า จาการประชุมของคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ได้กำหนดหัวข้อในการจัดการความรู้(KM)ของวิทยาลัยฯในหัวข้อการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี ACTIVE LEARNING และขอความร่วมมือให้อาจารย์แต่ล่ะท่านช่วยเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ล่ะวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา
จึงแจ้งที่ประชุมทราบ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
จากประธานแจ้งเรื่องหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING และให้อาจารย์ในภาควิชาฯ เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ล่ะวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ ACTIVE LEARNING ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา
๑. อาจารย์นิศารัตน์ นาคทั่ง สอนโดยวิธีการบรรยายจบแล้ว ๑ หัวข้อ ก็ตัวแทนให้เล่าประสบการณ์ที่นักศึกษาเคยเจอมาเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตา คอ หู จมูก ว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น อาจารย์จะยกตัวอย่างกรณีศึกษา โดยอาจารย์จะสมมติว่าตัวเองเป็นผู้ป่วย และให้นักศึกษา ช่วยกันซักประวัติ และช่วยกันวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคอะไร และให้ช่วยกันให้การรักษา และจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปในผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในทุกหัวข้อที่สอน หลังจากเสร็จสิ้นทุกหัวข้อจะเหลือเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง จะให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดทุกหัวข้อ จำนวน ๑๐ ข้อ โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม และส่งตัวแทนกลุ่มออกมาตอบคำถามชิงรางวัล โดยกลุ่มไหนที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการนี้พบว่า นักศึกษาบอกว่าดี ทำให้สามารถซักประวัติ และวินิจฉัยแยกโรค ของผู้ป่วยได้ และนักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และมีผลการสอบปลายภาคผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา
๒. อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ สอนโดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม และใช้สถานการณ์สมมติ ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์สถานการณ์ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน ขณะจัดการการเรียนการสอนนักศึกษาให้ความสนใจมาก ไม่ง่วง ผลการสอนด้วยวิธีนี้พบว่านักศึกษา สอบผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา และวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อาจารย์ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และมีความกังวลเรื่องของเนื้อหาการเรียนอาจไม่ครอบคลุม
ประธานสรุปจากท่านอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านที่ได้เล่าประสอบการณ์การจัดการเรียนการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบ ACTIVE LEARNING ได้แก่ การเล่าประสบการณ์ การเล่นเกมส์ แบบฝึกหัด การใช้สถานการณ์สมมติ จะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ไม่อยู่นิ่ง ไม่ง่วง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และการคิดที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง จากกิกรรมที่อาจารย์จัดให้ ส่งผลให้นักศึกษามีความสนใจมากขึ้น และมีผลการสอบปลายภาคผ่านมากขึ้นกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา แต่มีข้อกำกัดคืออาจารย์ผู้สอนต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และมีความกังวลเรื่องของเนื้อหาการเรียนอาจไม่ครอบคลุม
๓. อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว สอนโดยการใช้สถานการณ์ ๖ สถานการณ์ แต่แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นหลายกลุ่ม และกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาค้นหาคำตอบ จากเอกสารประกอบการสอน หรือการค้นทางด้วยอินเตอร์เน็ต หลังจากนั้นให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ผลพบว่านักศึกษาสามารถหาคำตอบได้ตรงประเด็นและสนใจการเรียนมากเนื่องจากได้รับผิดชอบ และต้องค้นหาคำตอบ แต่ใช้เวลาค่อนข้างเยอะ ในการอ่าน การค้นหาคำตอบ และต้องเตรียมตัวออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งการนำเสนอหน้าขั้นเรียนจะเป็นตัวที่จะสะท้อนในเห็นว่านักศึกษาเข้าใจถูกต้องหรือไม่ และจะทำให้นักศึกษาทราบว่าที่ตนเองคนหาคำตอบมานั้นผิดประเด็นอย่างไร โดยอาจารย์จะเป็นผู้ให้คำชี้แนะเพิ่มเติม
๔. อาจารย์วาสนา ครุฑเมือง สอนโดยการใช้สถานการณ์ไปพร้อมๆกับการบรรยาย ร่วมการให้ทำกิจกรรม แบบฝึกหัด ในแต่ละหัวข้อการสอน นักศึกษาจะมีส่วนร่วมในการเรียนค่อนข้างมาก ซึ่งกิจกรรมคล้ายกับอาจารย์มณฑาและอาจารย์ไพทูรย์ และเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้อาจารย์ผู้สอนจะเหนื่อยและใช้เวลามากในการเตรียมการสอนเพื่อให้รัดกุมกับเนื้อหาที่จะสอน
๕. อาจารย์เสน่ห์ ขุนแก้ว ยกตัวอย่างการสอนเรื่องการต่อท่อระบายทรวงอก(ICD) โดยการใช้สถานการณ์ และให้นักศึกษาบอกบทบาทของพยาบาล ในการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาต่อท่อระบายทรวงอก ชนิด ๓ ขวด โดยต่อกับขวด ICD ที่ใช้จริงกับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ข้อดีของการจัดการสอนแบบนี้คือ นักศึกษามีความมั่นใจในการใช้ ICD มากขึ้น และเข้าใจบทบาทของพยาบาลในการช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยที่ใส่ ICD ข้อจำกัดคือ นักศึกษามีจำนวนมากจึงไม่สามารถจัดให้นักศึกษาทุกคนได้ต่อ ICD
๖. อาจารย์จิราพร ศรีพลากิจ การสอนขณะฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ขณะประชุมปรึกษาทางการพยาบาล(nursing conference)รู้สึกว่านักศึกษาเกิดความเบื่อหน่าย จึงให้นักศึกษา ๑ คน แจ้งข้อมูลผู้ป่วย และให้สมาชิกภายในกลุ่ม อธิบายว่าคนที่ ๑ แจ้งข้อมูลว่าอย่างไร ประเด็นสำคัญคืออะไร เพื่อให้เกิดความตื่นตัว อยู่ตลอดเวลา หลังจากที่ conference เรียบร้อยแล้ว อาจารย์จะนำข้อการรวบยอดมาให้นักศึกษาทำเป็นตัวอย่าง และชี้ว่านี่คือประเด็นสำคัญ ที่ต้องรู้ และต้องปฏิบัติ การจัดกานสอนแบบนี้จะเป็นการสะท้อนเนื้อหา จากเพื่อน จากอาจารย์ และจากข้อสอบ
๗. อาจารย์นัยนา แก้วคง สอนโดยการบรรยายกว้างๆก่อน แล้วให้สถานการณ์ ๗ สถานการณ์ และให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ว่าผู้ป่วยที่ตนเองรับผิดชอบป่วยด้วยโรคอะไร โดยมีอาจารย์คอยให้คำชี้แนะ และชี้ประเด็น เมื่อนักศึกษาทุกกลุ่มวิเคราะห์ได้แล้ว ให้นักศึกษาเตรียมข้อมูลและเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยส่งตัวแทนออกมานำเสนอ และอาจารย์จะมีคำถามหลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จเรียบร้อย โดยให้ยกมือตอบตามความสมัครใจ ซึ่งคำถามจะมาจากเนื้อหาที่กลุ่มนำเสนอเสนอเสร็จถามเลย นักศึกษาสนใจมาก และสรุปเนื้อหาทั้งหมดให้นักศึกษาอีกครั้ง ข้อจำกัด คือไม่เห็นกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะปรับโดยการให้ทำกระบวนการกลุ่มในชั้นเรียน และอาจารย์อยู่ภายในห้องด้วย
๘. อาจารย์อลิษา ทรัพย์สังข์ จากการสอนแบบบรรยาย เกี่ยวกับทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยพบว่าสอนไม่ทันเวลา เนื่องจากเนื้อหาเยอะมาก จึงเปลี่ยนวิธีการสอนโดยการสรุปเนื้อหาทั้งหมด และดึงเอาเนื้อหาที่สำคัญโดยกำหนดโรคให้ และมอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษาคิดสถานการณ์เอง และออกมาแสดงบทบาทสมมติว่าเด็กที่มีปัญหาโรคนั้นๆ จะมาด้วยสถานการณ์แบบไหน หลังจากที่นำเสนอเสร็จเรียบร้อยอาจารย์จะจับฉลากให้มีกลุ่มตัวแทนถามคำถาม กลุ่มที่นำเสนอก็จะทำให้นักศึกษามีความสนใจและตื่นตัวมากเพราะต้องคอยฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ ผลคือนักศึกษาสอบผ่านมากขึ้น ข้อจำกัดคือใช้เวลามาก ห้องเรียนเป็นอุปสรรคในการเข้ากลุ่มเนื่องจากเป็นห้อง SLOPE จึงทำให้เข้ากลุ่มค่อนข้างยาก การจัดกลุ่มมีปัญหามาก
๙. อาจารย์วีระยุทธ อินพะเนา ใช้วิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มและให้ส่งตัวแทนในกลุ่มไปเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อโดยสมาชิก ๑ คน จะมีความรู้ ๑ หัวข้อ และกลับเข้ากลุ่มใหญ่ เพื่อนำความรู้ที่ตนเองได้รับมาไปอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง เพื่อให้สมาชิกทั้งหมดมีความรู้ในทุกหัวข้อที่สมาชิกทุกคนได้รับถ่ายทอดมา หลังจากนั้นอาจารย์จะมีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาตอบคำถามแข่งขันกัน และอีกวิธีก็คือการให้สถานการณ์สมมติกับนักศึกษา และให้นักศึกษาวิเคราะห์ สาเหตุ การติดต่อ อาการและอาการแสดง พยาธิสภาพ การพยาบาล และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยไม่จำกัดวิธีการนำเสนอ ผลคือนักศึกษาตื่นตัวมาก และวิธีการที่นำเสนอหลากหลายวิธีเป็นการเปิดโอกาสทางความคิด การคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างต่อเนื่อง
การสอนขณะฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ปัญหาของการ pre-conference พบว่านักศึกษาไม่สนใจฟังเพื่อนขณะที่เพื่อนนำเสนอ จึงใช้วิธีการให้เพื่อนเล่าอาการปัจจุบันของผู้ป่วยที่ได้รับผิดชอบแล้วให้เพื่อนช่วยกันซักข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาปัญหาที่สำคัญที่สุด และกิจกรรมที่สำคัญที่สุด พบว่านักศึกษาตื่นตัวมากขึ้น สนใจฟังมากขึ้น และร่วมให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของตนเองได้ด้วย ข้อจำกัด ใช้เวลาในค่อนข้างมาก
๑๐. อาจารย์นัยนา อินธิโชติ จัดการสอนแบบจิ๊กซอร์คล้ายกับอาจารย์วีระยุทธ และใช้ข้อสอบมาใช้ประเมินผล การจัดการสอนแบบนี้ทำให้นักศึกษามีความรับผิดชอบมากเพื่อที่จะนำความรู้จากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งให้ได้ ทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น ข้อจำกัดคือใช้เวลามากในการเตรียมตัว ในกิจกรรมการสอน การออกข้อสอบ และการเตรียมเอกสาร และการฝึกภาคปฏิบัติ การใช้ Nursing Round ได้ผลดี เพราะทำให้นักศึกษาเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น อย่างองค์รวม ควรปรับใช้ตั้งแต่ การฝึกปฏิบัติการปัญหาสุขภาพ ๑ จะทำให้นักศึกษาเข้าใจผู้ป่วยอย่างครบถ้วน
๑๑. อาจารย์อรุณรัตน์ พรมมา สอนโดยการบรรยายเนื้อหา และแจกสถานการณ์ให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง ว่าผู้ป่วยมีปัญหาอะไรบ้าง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยให้เวลา ๑ สัปดาห์ ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา ค้นคว้าจากห้องสมุด เพื่อเตรียมตัวในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจารย์สรุปเนื้อหาสาระสำคัญให้กับนักศึกษาอีกรอบ
๑๒. อาจารย์ ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล ให้นักศึกษาอ่านรายงานวิจัย และอภิปรายในกลุ่มและมานำเสนอตามประเด็นหัวข้อที่กำหนด และสอดแทรกเนื้อหาให้กับนักศึกษา การสุ่มโดยการจับสลากให้ตอบคำถามและให้เพื่อนตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ผลคือนักศึกษาสอบผ่านมากขึ้น
๑๓. อาจารย์ภาราดร ล้อธรรมมา ใช้วิธีการสอนแบบ Team base learning ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำข้อสอบประมาณ ๒๐ ข้อ และให้นักศึกษาแข่งกันตอบภายในห้อง และมาสรุปเนื้อหาและเฉลยข้อสอบโดยละเอียด ข้อจำกัดคือใช้เวลาค่อนข้างมาก
นัดประชุมครั้งต่อไป วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ โดยให้อาจารย์แต่ละท่านเล่ากระบวนการการจัดการเรียนการสอน ลำดับการสอน ตั่งแต่เริ่มต้นการสอน จนขั้นสรุปผล ใช้เวลาไม่เกิน ๕ นาที เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของภาควิชาต่อไป

ลงชื่อ………………………………………………..
(นายวีระยุทธ อินพะเนา)
ผู้บันทึก

ลงชื่อ………………………………………………..
(นายไพทูรย์ มาผิว)
ผู้ตรวจสอบ

ลงชื่อ………………………………………………..
(นางนิศารัตน์ นาคทั่ง)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็กผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

11/09/2013

แนวทางการปฏิบัติสำหรับ ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning? ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 9:09 am
Reactions :26 comments

รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมบานชื่น
—————————————————————————————————————————
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง หัวหน้าภาควิชา
๒. นางมณฑา อุดมเลิศ
๓. น.ส.นัยนา อินธิโชติ
๔. นางวาสนา ครุฑเมือง
๕. นายไพทูรย์ มาผิว
๖. นางสาวนัยนา แก้วคง
๗. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล
๘. นายวีระยุทธ อินพะเนา
๙. นายภราดร ล้อธรรมมา
๑๐. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว
๑๑. น.ส.อลิษา ทรัพย์สังข์ เลขานุการที่ประชุม

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
อ.นิศารัตน์ นาคทั่ง แจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ กำหนดให้ภาควิชา วิเคราะห์ความรู้ ในการจัดการความรู้ เรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้วิธีการสอนแบบ Active learning
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง
จากการประชุมการสังเคราะห์ความรู้ที่ผ่านมา โดย อ.ไพทูรย์ มาผิว หารือว่า ในที่ประชุมนี้ ให้อาจารย์ผู้เข้าร่วม ร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ที่เคยใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ว่ามีวีธีการอย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร
ระเบียบวาระที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้
อ.นิศารัตน์ นาคทั่ง ใช้วิธีการโดย
๑. แบ่งนักศึกษาออกเป็น ๗ กลุ่ม เท่าๆกัน
๒. จัดโต๊ะสำหรับเป็นพื้นที่เขียนคำตอบ ๗ ตัว
๓. มีคำถามแสดงบน Slide โดยคำถามจะเน้นเป็นลักษณะ รู้จำ และเข้าใจ จากนั้นให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มวิ่งมาตอบคำถามบนโต๊ะที่จัดไว้ภายในเวลาที่กำหนด
๔. จนกระทั่งมีกลุ่มผู้ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ
๕. ขั้นสรุปผลโดยใช้กรณีศึกษา และมีการปรับเปลี่ยนจากการใช้กรณีศึกษาเป็นแผ่นกระดาษ มาเป็นครูเป็นผู้แสดงบทบาทสมมติเป็นผู้ป่วย แล้วให้นักศึกษาซักประวัติ แล้วบอกว่าผู้ป่วยเป็นอะไร จะต้องทำอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้คนจริงคือผู้สอนเป็นสิ่งกระตุ้นและมีการโต้ตอบที่คล้ายกับสถานการณ์จริง ให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ และเพิ่มความน่าสนใจให้กับกรณีศึกษา

อ.วาสนา ครุฑเมือง ใช้วิธีการโดย
๑. เริ่มต้นจากการเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียน โดยพูดถึงโรคที่สอน ว่านักศึกษาคิดอย่างไร
๒. แจกแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำ ซึ่งจะได้ทุกคน
๓. นำคำถามที่เกริ่นนำมาเฉลย และเข้าสู่เนื้อหา
๔. แจกกรณีศึกษาให้นักศึกษาทำ
๕. สุ่มเรียกชื่อ ให้นักศึกษาตอบคำถามจากกรณีศึกษา
๖. ครูเฉลย และอธิบายเพิ่มเติม
๗. ประเมินผล โดยใช้ข้อสอบให้นักศึกษาทำในชั่วโมงเรียน ซึ่งข้อสอบที่ใช้ต้องไม่ใช่ข้อสอบที่จะใช้สอบเก็บคะแนนจริง จากนั้นเฉลยคำตอบ แล้วให้นักศึกษาประเมินคะแนนตนเอง
ผลจากการจักการเรียนการสอนโดยวิธีนี้ พบว่าจำนวนนักศึกษาที่สอบตกมีน้อยลง และมีข้อเสนอแนะว่า การใช้กรณีศึกษาควรมีหลากหลาย และควรมีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความสนใจด้วยกิจกรรม ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
อ.ภราดร ล้อธรรมมา ใช้วิธีการโดย
ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Team base learning ร่วมกับ อ.ศศิธร ชิดนายี
๑. ชี้แจงกิจกรรม และแบ่งกลุ่มนักศึกษาตามผลการเรียน
๒. มอบหมายงานให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อทีกำหนด ควรให้เวลานักศึกษาอย่างน้อย ๑-๒ สัปดาห์ในการศึกษา
๓. บรรยาย โดยแบ่งตามหัวข้อ และใช้สถาการณ์ประกอบ
๔. ใช้ข้อสอบในการเสนอเนื้อหาเพิ่มเติม โดยมีการให้ทำข้อสอบและแข่งขันกับตอบเป็นทีมตามที่แบ่งกลุ่มนักศึกษาไว้
๕. สรุปคะแนนที่ได้จากการทำกิจกรรม โดยทุกๆกิจกรรมจะมีคะแนน เป็นการสร้างบรรยากาศและสร้างแรงจูงใจในการแสวงหาความรู้
ผลที่ได้คือ สามารถประเมินผู้เรียนได้ โดยผู้เรียนที่มีความตื่นตัว สนใจ ผลคะแนนสอบก็จะดีตามมา
ในที่ประชุมมีข้อสรุปความเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ Team base learning เป็นลักษณะของการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ และหากผู้เรียนที่มีประสบการณ์ จะสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่กระตุ้นคือ การเรียนรู้ที่มีผลต่อผู้เรียนโดยตรง คือ คะแนน

อ.วีระยุทธ อินพะเนา ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอน แบบ Active learning ๓ วิธี
๑.การเรียนการสอนแบบ Jigsaw
๑. แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๗ คน กลุ่มบ้าน (Home group)
๒. กลุ่มบ้าน (Home group) แต่ละกลุ่มมอบหมายภาระงานให้สมาชิกรับผิดชอบ
๓. จัดกลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) โดยให้นักศึกษากลุ่มบ้านของแต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบเรื่องเดียวกันไปรวมกลุ่มใหม่ แล้วศึกษา ทำความเข้าใจเนื้อหา ร่วมกันจนเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างดี
๔. กลับกลุ่มบ้าน (Home group) โดยแต่ละคนกลับกลุ่มเดิม แล้วอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง จนครบทุกคน สมาชิกในกลุ่มซักถามจนเป็นที่เข้าใจ
๕. ให้สมชิกกลุ่มบ้าน (Home group) ออกมาตอบคำถาม โดยผู้สอนจะแสดงคำถามขึ้นบนจอ ให้เวลาคำถามละ ๑ นาที
๖. ผู้สอนเฉลยคำตอบ และสอดแทรกเนื้อหาไปในระหว่างเฉลย
ประเด็นแลกเปลี่ยนจากการจัดการเรียนการสอนแบบ Jigsaw คือ
- ควรมีการสรุปเนื้อหาในตอนท้ายให้ครอบคลุม โดยอาจใช้รูปแบบข้อสอบ และข้อสอบจะต้องครอบคลุม
- เป็นการวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และที่สำคัญคือผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบ เนื่องจากทุกคนต้องเป็น Expert และต้องมาถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อน Home group ฟัง
- อาจมีข้อจำกัด คือ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก เนื่องจากนักศึกษาต้องทำความเข้าใจ เพื่อการนำมาถ่ายทอดในกลุ่ม และสำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีประสบการณ์ ในการสร้าง Expert ควรให้เวลาในการทำความเข้าใจพอสมควร
๒.จัดการเรียนการสอนโดยใช้ Clip VDO เป็นสื่อกระตุ้น
โดยการ ใช้ Clip VDO ที่เป็นสถานการณ์จริง เช่น เด็กจมน้ำแล้วได้รับการช่วยเหลือ แล้วถามนักศึกษาว่าเด็กได้รับการช่วยเหลือถูกต้องหรือไม่ แล้วครูก็ทำการเฉลยและอธิบายเนื้อหาสอดแทรก
๓.มอบหมายงานแสดงบทบาทสมมติ
๑. แจกสถานการณ์ก่อนถึงชั่วโมงเรียน ให้นักศึกษาวิเคราะห์ ว่าผู้ป่วยเป็นอะไร
๒. ให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในโรคที่ผู้ป่วยเป็น
๓. มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอ หน้าชั้นเรียน โดยไม่จำกัดรูปแบบการนำเสนอ
ผลจะพบว่านักศึกษามีการตื่นตัวในการเรียน และมีการสร้างสรรค์การนำเสนอในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคนอื่นๆมีความสนใจ
การทำรายงาน การนำเสนอแบบอิสระ จะส่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และการใช้ VDO เป็นสื่อจะช่วยดึงดูดความสนใจในการบรรยายไก้มากขึ้น

อ.มณฑา อุดมเลิศ ใช้วิธีการโดย
ใช้การเรียนการสอนแบบ Jigsaw ซึ่งเป็นการประกอบการบรรยายแบบมีส่วนร่วม ช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นตัว ไม่ง่วง นอกจากนี้ยังมีการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้คำถามกระตุ้น โดยใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์
๑.ความหมาย ๒.สาเหตุ ๓.ทำไม ๔.อย่างไร ๕.อธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่
เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย
นอกจากนี้ยังใช้วีธีการมอบหมายงาน เช่นใน วิชา วิจัย มอบหมายให้นักศึกษาศึกษางานวิจัยในห้องสมุด แล้วนำมาเขียนโครงร่างงานวิจัยจากงานที่อ่านและศึกษามา เพื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจและฝึกเขียนโครงร่างงานวิจัย เป็นลักษณะการเรียนการสอนแบบ Backward design

อ.อลิษา ทรัพย์สังข์ ใช้วิธีการโดย
๑. เริ่มบรรยายสรุปเนื้อหาโดยย่อ เพื่อทำความเข้าใจใน Concept เนื้อหา
๒. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น ๘ กลุ่มตาม
๓. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยแนะนำหนังสือ และแหล่งค้นคว้าให้
๔. ให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียนแบบอิสระ โดยไม่กำหนดรูปแบบการนำเสนอ
๕. ในขณะที่นำเสนอ กลุ่มที่ฟังอยู่ต้องตั้งใจฟัง และหลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ จะจับฉลากกลุ่มในการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มเพื่อนนำเสนอ
๖. ครูสรุป และอธิบายเพิ่มเติม
ใช้วิธีการให้ผู้ฟังตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน หรือผู้ฟังสนใจในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ และได้คิดตามเนื่องจากต้องนำมาตั้งคำถาม
อ.นัยนา แก้วคง ใช้วิธีการโดย
๑. เริ่มบรรยายโดยการซักถาม แบบกว้างๆ ยังไม่ลงรายละเอียดของโรค
๒. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น ๗ กลุ่ม
๓. แจกสถานการณ์ให้แต่ละกลุ่มคิด และบอกว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร แล้วครูตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้อง ให้ทำข้อต่อไป
๔. ให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
๕. ครูตั้งคำถามจากการที่นำเสนอ แล้วถามผู้เรียนที่ฟังอยู่ ให้ผู้เรียนตอบ
๖. ครูสรุปแต่ละโรค โดยใช้ Mapping

อ.นัยนา อินธิโชติ ใช้วิธีการโดย
๑. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกตามที่กำหนดเท่าๆกัน
๒. ให้นักศึกษาดูสื่อ แล้วให้ช่วยกันสรุปแนวคิดที่ได้จากการดู เป็นรายงาน ๑ แผ่น
๓. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ
จะเห็นว่าได้ประเด็นจากการสรุปของนักศึกษาที่หลากหลาย

อ.ไพทูรย์ มาผิว ใช้วิธีการโดย
๑. เกริ่นนำเนื้อหา
๒. แบ่งกลุ่มนักศึกษา
๓. ให้สถานการณ์ แล้วถามว่าผู้ป่วยเป็นอะไร อะไรเป็นข้อมูลสนับสนุน และจะให้การพยาบาลอย่างไร
๔. ให้นักศึกษาตอบตามความรู้ที่มีอยู่ และความสามารถในการค้นคว้าข้อมูล โดยยังไม่แจกเอกสารประกอบการสอนก่อน
๕. ให้นักศึกษานำเสนอคำตอบ
๖. ครูสรุปเนื้อหาที่สำคัญ
เป็นการเรียนรู้จากการใช้ประสบการณ์เดิม และการค้นคว้าจากเทคโนโลยีต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ และในช่วงที่นักศึกษาทำกลุ่ม ครูก็สามารถเข้าไปให้คำแนะนำหรือกระตุ้นผู้เรียนไดใกล้ชิดขึ้น
อีกวิธีที่ใช้ก็คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสภาพจริง เช่นการเยนรู้การรับรู้ของผู้สูงอายุ โดยให้นักศึกษาปิดตา ใส่แว่นมัว อุดหูแล้วฟัง เพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกจริงที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

อ.สืบตระกูล ตันตลานุกุล ใช้วิธีการโดย
การใช้สื่อประกอบการบรรยาย การวิเคราะห์กรณีศึกษา และการใช่สื่อ E-Book ให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นการช่วยสร้างความน่าสนใจกับเนื้อหา

ปิดประชุม ๑๖.๓๐ น.

………………………………………….
(นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์)
ผู้บันทึกการประชุม

สรุปแนวทางการปฏิบัติ

สำหรับ ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning?
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง

ขั้นตอนการดำเนินการ
๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน
๑.๒ เลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา
๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน
๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด
๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น
๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
๒.๒ ขั้นสอนและประเมินผลแบบ Active learning ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้
๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้
๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์
๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน
๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่ง ที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ
๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ
ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน
ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที
ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล
๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อย่างต่อเนื่อง มีดังนี้
๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น
๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น
(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย
(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
๔) การสร้างแผนผังความคิด (mapping)
๕) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน
๕) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง
๖) การประเมินและการสร้างบรรยายการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่าบรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

การจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

การส่งเสริมและดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลเด็กวัยเรียน

????????? การดูสุขวิทยาเด็กและการจัดบริการทางสุขภาพให้แก่เด็กในวัยเรียน โดยมากจะเน้นการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ศีลธรรมและจิตวิญญาณ ดังนั้น การให้บริการดูแลสุขภาพเด็กในช่วงอายุต่างๆจึงควรพิจารณาถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็ก โรเบอร์ตา (Roberta K. O? Shea, 2009 : 39-44) กล่าวถึงการให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจำเป็นต้องมีบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพและมีแนวทางให้บริการสุขภาพแก่เด็ก ซึ่งในยุคแรกๆมีรูปแบบการให้บริการภายในหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในประเทศทางตะวันตกได้บุกเบิกและทดลองให้บริการวิชาการในรูปแบบต่างๆกันไปตามบริบทและการจัดการ อาทิ ทีมแพทย์ จะมีแพทย์เป็นผู้ดำเนินการโดยรูปแบบการให้บริการวิชาการจะอิงตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เรียกว่ารูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Model) มีกิจกรรมการให้บริการที่จัดทำเป็นระบบมีคู่มือปฏิบัติงาน (The Guide to Physical Therapy Practice) ทีมสุขภาพประกอบด้วยทีมแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ พยาบาล นักอาชีวะบำบัดและผู้ให้บริการเป็นนักปฏิบัติการวิชาชีพแต่ละสาขามาร่วมกันให้กิจกรรมบริการ ต่อมามีการจัดกิจกรรมและมีรูปแบบเชิงรุกมายิ่งขึ้น ขยายงานออกไปสู่การจัดกิจกรรมบริการสุขภาพเด็กไปตามโรงเรียน เรียกว่า โครงการสุขภาพในโรงเรียน (School Model) เพื่อให้การบริการเข้าถึงเด็กวัยเรียน มีนักวิชาชีพทำงานร่วมกับครูในโรงเรียน จากนั้นเริ่มให้บริการเชิงรุกเข้าไปสู่ชุมชน ครัวเรือนและศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน เพื่อให้บริการแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจะขอแบ่ง ดังนี้

๑.?ระยะก่อนเกิด (Prenatal Visit)

๒.?ระยะแรกเกิด (ในโรงพยาบาล)

๓.?วัยทารกระยะต้น (๒ สัปดาห์ ถึง ๖ เดือน)

๔.?วัยทารกระยะท้าย (๖ เดือน ถึง ๒๔ เดือน)

๕.?วัยก่อนเข้าเรียน วัยเดกระยะต้น (อายุ ๒-๕ ปี)

๖.?วัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี)

การดูแลสุขวิทยานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) บุคคลนั้นจะขาดความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ขาดความกระตือรือร้นหรือละเลยที่จะดูแลตนเองให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีจึงเป็นเหตุเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมความสุขสบายให้กับบุคคลในเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับความสุขสบาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้หายเจ็บป่วยเร็วขึ้น

สุขวิทยาส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีร่างกายที่สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปในภาวะปกติแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีอายุมากขึ้น อาจต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลเพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆอยู่ในสภาวะที่ดี ได้แก่ การดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่เริ่มต้นเรียนรูปจริงจัง มีพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบได้โดยมีหลักการและเหตุผล พัฒนาการของเด็กวัยเรียนจะมีลักษณะอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง อยากเก่ง อยากให้ความร่วมมือ ต้องการทราบเหตุผลในเรื่องต่างๆว่าเกิดขึ้นอย่างไร นักวิชาการด้านการศึกษามีความเชื่อว่า วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงวิกฤตช่วงหนึ่งในการเรียนรู้เพราะเด็กจะเริ่มมีพัฒนาการความต้องการใฝ่สัมฤทธิ์ สร้างความสามารถในการเป็นผู้ประสบความสำเร็จมากกว่าการล้มเหลว (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,2553)

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ทำการศึกษาการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยให้การบริการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี) โดยร่วมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ในการร่วมกันให้บริการวิชาการทั้ง ๓ หัวข้อ คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคติดต่อทั่วไปที่ควรรู้และสุขวิทยาส่วนบุคคลซึ่งทุกหัวข้อมีความสำคัญ ในกระบวนการจัดกิจกรรมอาจารย์ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของครูประจำโรงเรียนเพื่อสอบถามความต้องการที่ตรงตามเป้า หมายในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จากนั้นนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ได้ตรงกับประเด็นที่ต้องการและนำไปบริการวิชาการ หัวข้อในการจัดกิจกรรมมีความสำคัญต่อครู ผู้ดูแลนักเรียนและตัวนักเรียนเป็นอย่างมากซึ่งจะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง จากนั้นนำความรู้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎีที่จัดการเรียนการสอนไปแล้วและเพื่อการเชื่อมโยงในอนาคตต่อไป มีความคาดหวังว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์จริงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อเด็กวัยเรียนและนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ได้มากที่สุด

ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน

๑.??กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)

-?พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี

-?นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น

-?ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

-?รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น

-?ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-?การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

๒.?กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

-?พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-?มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง

-??มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-?ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

๓.???? กลุ่มอาจารย์

-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา

-?มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

-?เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

-?ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป

แนวทางการปฏิบัติที่ดี

๑.?การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่

๒.?การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก

๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน

๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน

๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป

๖.?การนำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและรายวิชาอื่นๆที่ในภาคสอนและรับผิดชอบ จะทำให้นักศึกษาได้รับฟังความรู้ที่ได้จากการจัดประสบการณ์จริงของอาจารย์ทำให้ภาพของการเรียนมีชีวิตคือสามารถทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจารย์ควรนำแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาในการสอนให้มีคุณภาพต่อไป

วิภาวรรณ นวลทองและคณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล? (๒ กันยายน ๒๕๕๖)

04/09/2013

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ประสบการณ์การจัดการเรียนการแบบ
Active
Learning ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา

นภดล
เลือดนักรบ

การเรียนแบบ
active
learning (AL) เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย
โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง
แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการ จะทำกิจกรรมต่างๆ
มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน
การอภิปรายกับเพื่อนๆ” ซึ่งโดยหลักการนี้ก็จะไปสอดคล้องกับหลักการใหญ่ที่ว่า ถ้าเราให้ผู้เรียนรู้จากการอ่านอย่างเดียวผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้เพียง
20% ถ้าจากการฟังก็จะเพิ่มเป็น 30% แต่ถ้าได้มีโอกาสได้พบเห็นก็จะเพิ่มเป็น
40% ถ้าจากการพูดก็จะเป็น 50% และได้ลงมือปฏิบัติเองก็จะถึง
60% และถ้าได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หลากหลายก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเรียนรู้ถึง
90% การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ๑
เป็นการปรับตัวของนักศึกษาต้องปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
มาเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเนื้อหาจะเป็นแบบเฉพาะหลักสูตร
และมีความลึกซึ้งของเนื้อหาเพิ่มขึ้น
ทั้งยังมีกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องเข้ามามีส่วนในการจัดสรรเวลาในการเรียนและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น
การจัดการเรียนที่เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมของนักศึกษาที่นอกเหนือเวลาเรียนของนักศึกษา
จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ รอบด้าน
ไม่เป็นการผลักภาระการเรียนให้นักศึกษา ในทางกลับกันครูเองยิ่งต้องหมั่นสำรวจ
ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้เรียน และความก้าวหน้าในการเรียน
และการทำกิจกรรมให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นด้วย

ในภาคเรียนที่
๒ ของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา ๒
ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่มีความพยายามให้ผู้เรียน
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยภายหลังจากการเรียนทฤษฏีเนื้อหาทั้งหมดของระบบต่อมไร้ท่อ
ได้จัดแบ่งนักศึกษาออกเป็นทั้งหมด ๑๐ กลุ่ม ๆ ละ ๙ คน
โดยมอบหัวข้อที่นักศึกษาจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งหมด ๑๐ หัวข้อ เช่น
สมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนในเวชสำอาง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยผู้สูงอายุเป็นต้น และให้นักศึกษานำเสนอ
โดยไม่จำกัดรูปแบบของการนำเสนอ และไม่จำกัดของเขตของเนื้อหาที่จะนำมาเสนอ
แต่มีการให้คะแนนโดยมีเกณฑ์การให้คะแนนคือ ความถูกต้อง และความทันสมัยของเนื้อหา
ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าสนใจในการนำเสนอ เป็นต้น จากการนำเสนอของนักศึกษา
พบว่านักศึกษาสามารถนำเนื้อหาที่นักศึกษาเรียน มาบูรณาการกับความรู้ใหม่
และสร้างสรรค์การนำเสนออย่างน่าสนใจ และไม่ซ้ำแบบกันในการนำเสนอ
นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่ม และให้ความเห็นต่อกลุ่มอื่นๆได้อย่างน่าสนใจ
ทั้งเนื้อหาที่นักศึกษาค้นคว้ามานำเสนอนั้นเหมาะสมกับภูมิรู้เดิมของนักศึกษา
เมื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และไม่จำกัดกรอบความคิด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอิสระ

ผลจากการจัดกิจกรรมรูปแบการเรียนรู้แบบ
AL
ในระดับอุดมศึกษา พบว่า AL จะกินความไปถึงความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาด้วย
นั่นคือการที่ต้องพัฒนาลักษณะนิสัยทั้งด้านจิตใจและร่างกายให้มีความมุ่ง มั่นไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาของตนเองด้วย
โดยควรเริ่มปูพื้นฐานจากการสร้างนิสัยใน การไปเข้าชั้นเรียนโดยสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ
ค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้สอนมอบหมายให้อย่างดี และเมื่อทราบผลสำเร็จของ

รายงาน” ก็พร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไขทำให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ แบบ
AL ในนักศึกษาพยาบาล
คือ ถ้ามุ่งหวังให้ผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้ที่
Active สภาพการสอนของครูก็จะต้อง
Active ด้วย นั่นคือจะเกิด Active Learning ได้ก็ต้องมี Active Teaching ดังนั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็คงต้อง
“เตรียมตัว” ทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดสภาพที่
Active ขึ้นมาได้
ผู้สอนควรศึกษาภูมิหลังทางการเรียน สภาวะแวดล้อมขณะเรียน อันจะส่งผลถึงการว่างแผน
และออกแบบการสอนอย่างเหมาะสมสำหรับนักศึกษา ผู้เรียน ควรมีความกระตือรือร้น
พูดคุยความก้าวหน้าในการค้นคว้ากับผู้สอน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์
และการตกผลึกความรู้ที่
Active

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro