การนำ Reflective Thinking มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ชื่อผลงานแนวทางในการนำ Reflective Thinking มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ชื่อเจ้าของผลงาน อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง สังกัดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
เบอร์โทร. 0818887003 E-mail. dujduean@unc.ac.th
1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี / ที่เป็นเลิศ (บริบทขององค์กรความจำเป็น/ความท้าทาย/สภาพปัญหาของการดำเนินการ/สิ่งที่จะพัฒนาตอบสนองหรือสอดคล้องกับความต้องการชองกลุ่มเป้าหมาย องค์กรและชุมชน
จากการนำ Reflective Thinking มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจด้านผลิตบัณฑิต นั้นได้นำไปใช้ทั้งหมด 4 ราย วิชา การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สารสนเทศทางการพยาบาล การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ ปฏิบัติมารดา ทารกแรกเกิด และการผดุงครรภ์ 2 ปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จากสภาพปัญหาที่พบ พบผู้เรียนเขียนรายงานการสะท้อนคิดมาในรูปแบบเดียวกัน เหมือนปฏิบัติตามกันมา จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่แท้จริง ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ active listening น้อย ขาดการฟังอย่างตั้งใจ โดยมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีอิทธิพลความเป็นมาทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่ไม่จริงหรือการสะท้อนคิดเชิงวิชาการไปมากกว่า สะท้อนคิดได้จริง ความแตกต่างระหว่างผู้สอนและพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคนถ้าปิดกั้นก็จะไม่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดได้ จำนวนผู้เรียนในกลุ่มมีจำนวนมาก ทำให้บริบทที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดเป็นไปได้ไม่ค่อยจริง ผู้เรียนได้เขียนสะท้อนคำที่เป็นความรู้สึกต่างๆ แต่บรรยายความรู้สึกไม่ได้ ขั้นตอนที่ 1 อธิบายผู้เรียนได้อธิบายเหตุการณ์คล้อยตามกันทุกคน และอ่านสถานการณ์โดยนำมาเล่าและสรุปประเด็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ครบ เพื่อความจำเป็นต้องการเตรียมและพัฒนาที่นำมาทดลองใช้ในวิชา การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปี 1 ภาคทดลอง ปีนี้มีจำนวนนักศึกษา อยู่ 120 คน โดยนำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) มาหาแนวทางร่วมกันที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จึงจำเป็นต้องมีการจัดการองค์ความรู้ด้าน Reflective learning ให้แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาหรือวิธีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เป็นเลิศให้สอดคล้องกับพันธกิจด้านผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและประชาชน ชุมชนที่ปลอดภัยยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์ (จุดมุ่งหมายของการดำเนินการ ควรกำหนดให้เป็นข้อ ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง วัดและประเมินได้)
1.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม จากการใช้วิธีการเรียนการสอน Reflective thinking
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม ระหว่างกลุ่มที่เรียนแบบบรรยายและกลุ่มที่เรียนแบบ Reflective thinking
3.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนแบบบรรยาย และการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking
3.เป้าหมาย (ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
1. ร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม จากการใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking
2. กลุ่มที่เรียนแบบ Reflective thinking มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม มากกว่าร้อยละ 80
3. ความพึงพอใจของกลุ่มที่เรียนแบบ Reflective thinking มากกว่า กลุ่มที่เรียนการสอนแบบบรรยาย ร้อยละ 80
4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ
จากการนำแนวคิดของ reflective มาใช้ที่หลากหลายจาก Mezirow,1997 หรือแนวคิด Schon,1987 ของ Dewey,1993 ของ Gibb-cycle มาประยุกต์ใช้ และรวมถึงถ้านำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง 7 ขั้นตอน
จากการจัดองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดในครั้งที่ผ่านมา จึงได้แนวทางในการที่จะนำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน โดยได้นำมาเป็นแนวทางที่ชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลอง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปี 1 โดยได้จัดทำคู่มือสำหรับอาจารย์ในการเรียนการสอน พร้อมทั้งแนวทางการสะท้อนคิด 7 ขั้นตอนของ (ดุจเดือน เขียวเหลือง,๒๕๕๖) ได้แก่
- 1. อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น
สามารถอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน เป็นการตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบกับใครบ้าง สามารถสรุปสาระสำคัญได้อย่างครบถ้วน และสามารถ วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้นได้อย่างเชื่อมโยง
- 2. อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์
สามารถบอกความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ในขณะนั้นได้ สามารถประเมินและสามารถวิเคราะห์ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ ทั้งด้านบวกและด้านลบ
- 3. บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ
สามารถระบุและอธิบายปัจจัยต่างๆ เช่นแหล่งความรู้/แนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ครบถ้วนทุกด้านและสมเหตุสมผล
- 4. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มได้โดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล มีการค้นคว้าแหล่งความรู้ หนังสือ ตำรา งานวิจัย มาประกอบการอภิปรายอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
- 5. จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด
จัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และสามารถสรุปแนวคิดรวบยอดของความรู้ที่เกิดขึ้นในใจแล้วนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีขึ้นและทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม
- 6. นำข้อสรุปไปปฏิบัติ
เปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลพวงที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละแนวทาง และสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีผลและน่าเชื่อถือ และสามารถประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นได้หลากหลายแง่มุม
- 7. สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม
เทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม สามารถบอกความสัมพันธ์/เชื่อมโยงของความรู้ที่ได้ใหม่และความรู้ที่มีอยู่เดิม สามารถอธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร สามารถอธิบายได้ว่าประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร
5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ
กิจกรรมการดำเนินงานวิจัย | ระยะเวลาดำเนินการวิจัย | |||||||||||
ต.ค64 | พ.ย64 | ธ.ค. 64 | ม.ค64 | ก.พ64 | มี.ค64 | เม.ย64 | พ.ค 64 | มิย. 64 | ก.ค64 | ส.ค64 | ก.ย.64 | |
1.การทบทวนวรรณการดำเนินโครงการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบTransformative Learning โดยเน้น Reflective Learning
2.เสนอโครงการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบTransformative Learning โดยเน้น Reflective Learningและนำเสนอ 3. สร้างเครื่องมือ 4.ทดลองใช้เครื่องมือและเก็บข้อมูล 5.วิเคราะห์ข้อมูล 6.สรุปและอภิปรายผล 7.ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย |
6. กระบวนการที่ทำให้เกิดวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ
6.1 การสร้างและแสวงหาความรู้
เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น Model หรือเตรียมทั้งผู้เรียนและเตรียมทั้งผู้สอน
- ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะครู How to be reflective teacher
- ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษา How to be reflective learner
3. สร้างสิ่งแวดล้อม จัดสภาพบริบทให้ส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด
คุณสมบัติผู้สอน | คุณสมบัติผู้เรียน | การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ |
1. เปิดใจกว้าง ไม่มีอคติ
2. ตั้งคำถามชวนคิด 3. ฟังอย่างตั้งใจ 4. คิดเป็น concept 5. ยืดหยุ่น 6. จริงใจ ตรงไปตรงมา 7. ให้กำลังใจ 8. Feed back เร็ว |
1. ช่างสังเกต ไวต่อบริบท
2. เข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก 3. กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน 4. ฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้าง 5. คิดเป็นระบบ (ยากมาก) 6. ใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้ 7. ประเมินตนเองได้ |
1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อคุณลักษณะของผู้เรียน
2. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ฝึกให้มีความ “กล้าคิด” 3. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนแบบสะท้อนคิดเช่น หนังสือ สื่อ แหล่งความรู้ภายนอก ฯลฯ |
6.2 การจัดระบบขององค์ความรู้
การสะท้อนคิดที่ดีก็จะแตกต่างกันออกไป
ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของนักศึกษาควรมีดังต่อไปนี้
๑. นักศึกษาควรมีลักษณะช่างสังเกต ไวต่อบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
๒. นักศึกษาควรมีเข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเองและต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
๓. นักศึกษาควรมีพื้นฐานความรู้ ความกล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน
๔. นักศึกษาควรมีฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และใคร่ครวญตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
๕. นักศึกษาควรคิดเป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อที่สร้างได้ค่อนข้างยาก
๖. นักศึกษาควรฝึกใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้ให้เป็นเหตุเป็นผล
๗. นักศึกษาควรประเมินตนเองให้ได้โดยการฝึกคิดในการเปรียบเทียบจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา กับเหตุการณ์ปัจจุบันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง นักศึกษาได้รับประสบการณ์ใหม่ในประเด็นใดบ้างทั้งด้านความรู้ ความคิด และความเชื่อและควรมีแบบวัดหรือประเมินคุณสมบัติผู้เรียน วัดคุณสมบัติทั้ง ๗ ข้อใน ๑ แบบประเมิน เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น Model หรือเตรียมทั้งผู้เรียนและเตรียมทั้งผู้สอน
ดังนั้นการที่จะ reflection ได้ดีควรมีการเตรียมและมีการใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
6.3 การประมวลกลั่นกรองตรวจสอบองค์ความรู้
. รายงานการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมท่าเหนือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
6.4 การดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่
รายวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 (อาจารย์จิระภา สุมาลี) ใช้ในภาคทดลองหัวข้อการสอนทางสุขภาพในโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และการสร้างเสริมสุขภาพ โดยนักศึกษามีบทบาทในการให้ความรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา หลังจากจัดกิจกรรมให้ความรู้ อาจารย์ได้พบกับนักศึกษาและพูดคุยถึงกิจกรรม การเรียนดังกล่าว โดยใช้คำถามสะท้อนคิดและให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ลงไปปฏิบัติ
หลังจากการใช้ประเด็นคำถามเพื่อสะท้อนคิดนั้น นักศึกษาได้มีโอกาสในทบทวนตนเอง ทั้งในด้านการตระหนักรู้ในตนเองและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผลการประเมินจากการเขียนบันทึกส่วนใหญ่พบว่า นักศึกษาได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริงนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน และในขณะเดียวกันนักศึกษาก็ได้พัฒนาตนเองไปด้วย เช่น ความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง การเข้าสังคม การทำงานเป็นทีม และการได้แสดงถึงศักยภาพของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ ส่วนในด้านของบทบาทของพยาบาลวิชาชีพนั้น นักศึกษายังต้องพัฒนาตนเองในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะนำไปเผยแพร่และต้องประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มผู้รับบริการ จากการใช้ประเด็นคำถามในการสะท้อนคิดในมุมมองของอาจารย์ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้นักศึกษาได้ทบทวนถึงสิ่งที่ตนเองได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาได้แนวทางในการพัฒนาตนเองรวมถึงด้านวิชาชีพ ในส่วนที่นักศึกษาปฏิบัติดีอยู่แล้ว อาจารย์มีบทบาทในการให้แรงเสริมเพื่อให้สมรรถนะนั้นยังคงอยู่หรือดีขึ้น และในส่วนที่นักศึกษาต้องปรับปรุงหรือพัฒนา อาจารย์มีบทบาทในการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาทบทวนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดถึงปัญหาหรืออุปสรรคเพื่อให้เกิดพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ต่อไป
ประสบการณ์ การนำ Reflective ไปใช้
โดย อ.ดร. สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ 9 กุมภาพันธ์ 2564
1. รายวิชา ป.มารดา ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ 2
2. หัวข้อ การเขียนรายงานสะท้อนคิด (Reflective Journal Writing) ประสบการณ์การฝึกภาคปฏิบัติ
3. กระบวนการนำไปใช้
เขียนรายงานสะท้อนคิด บอกเล่าเหตุการณ์ ความรู้สึก สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในมุมมองของนักศึกษา ตามกรอบ 7 ขั้นตอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่งภายในวันที่ 3 ของการฝึกปฏิบัติการ ในแต่ละสัปดาห์
4. ผลประเมิน
-นักศึกษาบางส่วน ที่เขียนแสดงถึงความรู้สึกแท้จริงของตน ส่วนใหญ่ แสดงความเห็นถึงความไม่พร้อมของตนเองด้านความรู้ ความมั่นใจ ทำให้ได้ทราบถึง ความคาดหวังของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติ “อยากได้เคสทำคลอด” , ความภูมิใจในตัวเองของนักศึกษา “ทำคลอดมารดาทารกปลอดภัย” , พัฒนาการการเรียนรู้ “ทำให้เข้าใจสิ่งที่เรียนมา”, ปัญหาของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติ “ขาดความมั่นใจ…”
-มีส่วนน้อย ที่เขียนแสดงความรู้สึกของตนตามที่เป็นจริง แสดงถึงด้านคุณธรรม จริยธรรม, การทำงานร่วมกัน ที่พบคือ ความคิดแวปแรกที่ไม่ดีต่อพฤติกรรมของผู้รับบริการ, ความรู้สึกต่อเพื่อนที่เอาเปรียบในการเก็บประสบการณ์และการทำงานร่วมกัน กรณีดังกล่าว จะมีการเชื่อมโยงไปสู่การไตร่ตรอง วิเคราะห์ เหตุผล ความเหมาะสมของการคิดด้านคุณธรรม จริยธรรม และลงข้อสรุปในสิ่งที่พึงกระทำตามบทบาทวิชาชีพ
ปัญหาที่พบ
- ส่วนใหญ่เขียนลักษณะบรรยายลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ไม่แสดงความรู้สึกหรือกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เชื่อมโยงไปสู่ความรู้หรือประสบการณ์เดิม
- บางคนเขียนสั้น มีแต่หัวข้อ ไม่มีรายละเอียด
- ส่งรายงานสะท้อนคิดช้า (วันสุดท้ายของการฝึก) อาจลืมความรู้สึกแท้จริงต่อเหตุการณ์ ทำให้ Feedback ขณะฝึกไม่ทัน
ปรับเพิ่มวิธีการ
- สอดแทรกกระตุ้นทักษะสะท้อนคิด ในกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อยตามโอกาส โดย ให้นักศึกษาบอกเล่าสถานการณ์ ความรู้สึก
- ให้นักศึกษาเขียน Mind Map สรุปการเรียนรู้หลังสนทนากลุ่มย่อย เช่น การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ
5. ข้อเสนอแนะ
1. แจ้งนักศึกษาให้ทราบเกี่ยวกับ การเขียนรายงานสะท้อนคิด ในประเด็นดังนี้
-เขียนแนวไหน/อะไร , เขียนยาวแค่ไหน (1-3 หน้า) -ส่งเมื่อไร
ใช้การ สนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง กระตุ้นการพัฒนานักศึกษาให้เกิดพฤติกรรมสะท้อนคิด
6.5 การเรียนรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน
1. นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคทฤษฎี
2. นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคปฏิบัติ
3. นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติ
6.6 การเรียนรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายนอกหน่วยงาน
.-
6.7 สรุป
การเอาไปใช้มี 3 ประเด็นคือ
1. Transformative learning :reflective thinking
2. Deep Listening การฟัง มีหลากหลายระดับ ฝึกให้ผู้เรียน เป็นผู้ฟังที่ดี
3. สุนทรียสนทนา ฟังโดยไม่ตัดสิน
4. Power Question เครื่องมือที่จะทำกลุ่มให้กับผู้เรียน มีทักษะ Soft skill ได้ คำถามที่ย้อนกลับไปให้ได้ว่าจะทำอะไร การทำกลุ่มสะท้อน ต้องมีประเด็นที่ชูขึ้นมาเพราะถ้าเจอสถานการณ์ก็จะได้ช่วยกัน สะท้อนคิดได้จริง
7. อธิบายกระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการวิธีการ/นวัตกรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (เขียน Flow แผนภูมิของระบบ โดยใช้ System approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback ซึ่งควบคุมโดยวงจรคุณภาพ)
ดังนั้นการที่จะ reflection ได้ดีควรมีการเตรียมและมีการใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด
8.อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ (เช่น คู่มือ/โมเดล เป็นต้น)
9. ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ)
ผลลัพธ์ทักษะทางปัญญาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 จากเดิม LO 3.1 mean= 3.13 (SD= 0.67), X= 3.34 (SD=.20)
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อพัฒนาความรู้และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ LO 3.1 mean= 3.34 (SD=.20)
3.2 สามารถคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานและบอกถึงผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาได้ LO 3.2 mean= 3.51 (SD=0.14)
10. ปัจจัยความสำเร็จ (สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ)
1. ความร่วมมือกัน ความสามัคคี และการทำงานเป็นทีมของผู้เรียน
2. การได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้ร่วมสอนผู้เรียนที่คอยให้คำแนะนำคอยชี้แนะ
3. ผู้เรียนมีส่วนช่วยกันในการเสนอคิดริเริ่มสร้างสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. การปรับตัวของผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอน
5. ความสำคัญของลักษณะรายละเอียดของกิจกรรมที่ดำเนินการ
6. ความตั้งใจและมุ่งมั่นของผู้สอนและความตั้งใจและมุ่งมั่นของผู้เรียน
7. เป้าหมายในการทำงานทั้งผู้สอนและผู้เรียน
8. จำนวนผู้เข้าร่วม และความร่วมมือของผู้สอนและผู้เรียนที่เข้าร่วม
9. การทบทวนกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียน
11. บทเรียนที่ได้รับ (การผลิตและนำผลงานไปใช้ ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น)
1. ฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีหลากหลายและแต่ละระดับความแตกต่างกันระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่ได้จากการเป็นผู้ฟังที่ดี
2. สุนทรียสนทนา ฟังโดยไม่ตัดสิน
3. การใช้พลังคำถาม (Power Question) ที่เป็นเครื่องมือจะทำให้กลุ่มผู้เรียน สามารถมีทักษะด้านความคิดอย่างละเอียดรอบคลอบ(Soft skill) และมีความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้
12. การเผยแพร่ (ร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่ที่มีการนำไปใช้ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ)
-