• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

01/03/2016

การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย?

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

กลุ่มงานวิจัยฯวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางประภาพร มโนรัตน์??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.นายนภดล? เลือดนักรบ? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียง????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๔.นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ การบริหารงานวิจัย ไปใช้

  • ? นางประภาพร? มโนรัตน์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.ทำความเข้าใจขอบเขตและกระบวนการดำเนินงานการผลิตผลงานทางวิชาการ การวิจัย/งานสร้างสรรค์ ตำราที่ตนเองสนใจ

๒. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจ วิถีชีวิตและความสนใจ

๓. มีวินัยและกำกับตนเองให้งานเป็นไปตามแผน

๔.ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและปรับพัฒนางานและแผน

๕.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

๖. ศึกษาเรียนรู้แนวทางการจัดการจากผู้รู้ที่สำเร็จในการขับเคลื่อนงานทั้งโดยการขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเอกสารของผู้ที่สำเร็จในด้านต่างๆเช่น การเขียนโครงร่าง การเบิกจ่ายต่างๆเป็นต้น

ผลการนำไปใช้

บริหารขับเคลื่อนได้ดีและเป็นระบบ? มีความสุขในการทำวิจัย

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนทำให้ล้าและคิดงานไม่ออกและทำให้งานล่าช้า

ปัจจัยความสำเร็จ

ชอบและแรงบันดาลใจในการทำวิจัยและวิทยาลัยเอื้อในการทำวิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัยนั้น ได้ยึดหลักการอภิปรายผล โดยเน้นการอภิปรายให้เห็นผลการศึกษาของตนมีความโดดเด่นสอดคล้องและแตกต่างกับผลการศึกษาของคนอื่นอย่างไร ด้วยเหตุผลใดจะนำไปสู่แนวปฏิบัติในการดำเนินงานหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังเน้นว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของผู้รู้อย่างไร ให้เป็นเชิงประจักษ์ และไม่ทิ้งความสำคัญของการอภิปรายที่เอาข้อมูลภายในงานวิจัยที่เป็นข้อค้นพบทั้งคุณลักษณะประชากรและผลการศึกษามาสนับสนุนการอภิปรายด้วย จะทำให้เกิดสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยได้อย่างเชิงประจักษ์เกิดประโยชน์กับผู้อ่านที่มาเรียนรู้ในชิ้นงานมากขึ้น

  • ? นายนภดล เลือดนักรบ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงาน

๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต

๓.เลือกทีมวิจัยที่มีคุณลักษณะบุคคลและความสนใจคล้ายกันเพื่อให้งานราบรื่นและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันกว้างขวางขึ้น

๔.เรียนรู้จากผู้รู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการวิจัยตลอดจนการเบิกจ่ายได้

๕.ทำงานให้เป็นระบบ

ผลการนำไปใช้

ทำวิจัยได้ตามเป้าหมายแผนที่วางไว้

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้การดำเนินช้าบ้าง ในบางช่วง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้มีหลักการอภิปรายผลคือ อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ

  • ? นางสาวปฐพร แสงเขียว ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับความสนใจและความเชี่ยวชาญของตนเอง

๒. เลือกทีมวิจัยที่มีความสนใจร่วมกัน

๓.เรียนรู้แนวทางบริหารจัดการด้านที่ยังไม่เข้าใจจากผู้รู้และคู่มือวิจัย

๔.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ผลการนำไปใช้

จัดระบบการทำวิจัยของตนเองได้

ปัญหาอุปสรรค

มีภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้เกิดการดำเนินไม่ตามแผนบ้าง ในบางช่วง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ

  • ? นายอรรถพล? ยิ้มยรรยงค์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงานและปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยง

๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต

๓.ทำงานร่วมกับทีมวิจัยที่มีความสนใจคล้ายกันและติดต่อปรึกษากันง่าย รวมถึงทำงานร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง

๔.เรียนรู้จากผู้รู้หลากหลายเพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำวิจัย

๕.ทำงานให้เป็นระบบตามแผน

ผลการนำไปใช้

ได้เรียนรู้และทำวิจัยได้ โดยในปีนี้ได้เสนอโครงร่างวิจัยที่เป็นหัวหน้าโครงการ

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมีมาก ไม่มีเวลาบางช่วง งานชะงักบ้าง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัยและมีอาจารย์พี่เลี้ยง มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น แนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงข้อค้นพบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ?????????????.

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

เลขานุการการประชุม

ลงชื่อ???????????????.

(นางประภาพร มโนรัตน์)

หัวหน้าฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น. ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/255๙

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ 255๙ เวลา ๑๓.00 ? 1๕.00 น.

ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????????? ประธาน

๒. นายนภดล เลือดนักรบ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางสาวสุปราณี หมื่นยา???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ????????????????? เลขานุการ

๔. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????????????? ผู้ช่วยเลขาฯ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

เปิดประชุมเวลา?????????? ๑๓.00 น.

ประธานการประชุม?????? หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. สำหรับประเด็นการจัดการความรู้ที่วิทยาลัยกำหนด ให้ภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในประเด็น Humanize ซึ่งภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ดำเนินการในหัวข้อดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ภายใต้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยในครั้งนี้ภาควิชาฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็นเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Humanize ดังนั้นจึงนำความรู้ที่ได้รับสู่การจัดการเรียนการสอนในกิจกรรมและการจัดการเรียนการสอนในภาควิชา ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งขอความร่วมมือให้อาจารย์ในภาควิชามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับตามประเด็นดังกล่าว

ติที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี

วาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากฝ่ายต่างๆ

- ไม่มี

วาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี

วาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

๑. สรุปองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ของภาควิชา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘

อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการ Humanistic health care มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งผลของการจัดการเรียนการสอนเป็นดังนี้

๑.๑ ?โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งดำเนินการในวันที่ ๒๒ ? ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ โดยรูปแบบของกิจกรรมเริ่มต้นจากการให้โอวาทเรื่อง การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคปฏิบัติและการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และปฐมบทอัตลักษณ์บัณฑิตนำทางแนวคิด เรื่อง ?สร้างมหัศจรรย์ชีวิตด้วยการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตเมตตา? จากนั้นมีการปรับรูปแบบกิจกรรมโดยการสอดแทรกแนวคิด การสะท้อนคิด (Reflective thinking) ภายใต้หัวข้อ ?สะท้อนคิด : พัฒนา service mind ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม? ให้มีความเชื่อมโยงกับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เนื่องจากแนวคิดการสะท้อนคิด อาจารย์ในภาควิชาเห็นร่วมกันว่าการสะท้อนคิดเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติได้

๑.๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ? ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สำหรับการสอนภาคปฏิบัติ อาจารย์สอดแทรกการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไว้ในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องต่างๆ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และการศึกษาผู้ป่วยกรณีศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจปัญหาความต้องการของผู้ป่วยตามบริบทและเงื่อนไขของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิต บูรณาการความรู้ตามทฤษฎีกับความรู้จากชีวิตจริงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดจากการทำกิจกรรมในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

๑.๓ โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ที่ดำเนินการในระยะที่ ๑ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ และระยะที่ ๒ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษาให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเป็นติดตามและประเมินการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ทำให้นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสุขภาพกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมความรู้และทักษะในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในชุมชน และกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน และพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพการพยาบาล และเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางปัญญา โดยการสอนแบบบูรณาการด้ายหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและผู้รับบริการ โดยมีกระบวนการปรับทัศนคติ การสะท้อนคิดให้เข้าใจความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์กับสังคม โดยผ่านชีวิตจริงของผู้รับบริการ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้เกิดปัญญาภายในบุคคล การทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของชีวิตตามความเป็นจริง เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ ด้วยความเข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้เรียน เป็นการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการสอนสะท้อนให้ผู้เรียนได้คิด เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ เปิดความคิดของผู้เรียนให้คิดตามความเป็นจริง ไม่ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ไปตัดสิน เป็นความคิดที่มาจากมุมมองของผู้รับบริการ ลดอคติของตนเองลง เห็นความจริงชัดเจนขึ้น เกิดการคิดวิจารณญาณ (critical thinking) เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์มากขึ้น ผู้เรียนเกิดการยอมรับในความเป็นตัวตนของผู้รับบริการ เข้าใจและรู้ถึงปัญหาและมุมมองของชีวิตผู้รับบริการ ส่งผลทำให้เกิดการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่เป็นการพยาบาลแบบองค์รวม

ประธานกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านและกล่าวปิดการประชุม

ปิดการประชุมเวลา ?????? 1๕.๐0 น.

………..สุปราณี…หมื่นยา……….

(นางสาวสุปราณี? หมื่นยา)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

………..ดวงดาว…เทพทองคำ……..

(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

06/09/2014

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการองค์ความรู้

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ? Active learning

?

???????? ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการเรียนการสอนแบบโดยการใช้กระบวนการActive Learning ในลักษณะหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาและแต่ละหัวข้อที่สอนในรายวิชานั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในรายวิชาดังต่อไปนีh

๑. วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น

????????? – บทที่ ๙ หลักการและเทคนิคการพยาบาล จัดทำการเคลื่อนไหวและฟื้นฟูร่างกาย กิจกรรมที่ใช้คือ การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)

????????? – บทที่ ๑๓ หลักการเทคนิคการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิต โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ(Analysis or reactions to video)

๒. วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

????????? โดยจัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาก่อนการฝึกภาคปฏิบัติเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการ กาพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้โครงการ ?สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย? โดยมีเป้าหมายในกลุ่มบุคคลทุกช่วงวัย คือ วัยเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ร่วมกับการทำวิจัย เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

????????? สรุป: การเรียนรู้แบบ Active learning มีใช้ในวิชาหลักการฯ สรุปได้ ดังนี้

?????????????????? V = ให้นักศึกษาดูวิดีโอ

?????????????????? A = การฟังบรรยาย, การฟังเรื่องเล่าจากผู้อื่น, การพูดคุย, การฟังกลุ่มอภิปราย

?????????????????? R = การมอบหมายให้นักศึกษาอ่านก่อนการเข้าชั้นเรียน, การอ่านหนังสือนอกเวลา(พยาบาลไร้หมวก)

?????????????????? K = นักศึกษาทำกิจกรรม ฝึกหัดและลงมือปฏิบัติ ได้แก่ การทำกิจกรรมจิ๊กซอร์(Jigsaw), การแสดงบทบาทสมมติ(Role play), เขียนแผนผังความคิด(Mind mapping)

?การออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ดังนี้

๑. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การให้นักศึกษาแสดงความรู้สึกของตนเองก่อนฝึกภาคปฏิบัติและความต้องการหรือความคาดหวังที่ตนเองต้องการ

????????? ทฤษฎี : การพยาบาลขั้นพื้นฐาน

????????? กิจกรรมโครงการ : โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม การแสดงความรู้สึก การนำเสนอ ชื่อ ?สร้างฐานเปิดจิต คิดแบบเปิดใจ?

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกเมื่อต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยครั้งแรก

????????? ๒. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๖-๗ คน

????????? ทฤษฎี : การพยาบาลในประเทศและต่างประเทศ

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการพยาบาลในแต่ละยุค และนำเสนอ ในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ (Role play)

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและร่วมกันคิด ตัดสินใจในการบริการด้วยหัวใจ

????????? ๓. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to video) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือการร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

????????? ทฤษฎี : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิตและเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวีดีโอ

????????? ทดลอง: การแสดงความรู้สึกของนักศึกษาแต่ละบุคคล ภายหลังจากได้ดูวีดีโอ

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยและให้แสดงความรู้สึก สิ่งที่ได้รับจากการดูวีดีโอ

???????? ๔. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

????????? ทฤษฎี : ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม เขียนรายงานกรณีศึกษา โดยใช้ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและให้นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลและนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย

????????? ๕. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

????????? ทฤษฎี : การฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน

????????? กิจกรรมโครงการ : กิจกรรมการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันเกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติ

????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล การบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่พบเห็น

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล

????????? ๖. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด(Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันชองกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่มแล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ

????????? ทฤษฎี : การดูแลแบบองค์รวม

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ พยาบาลไร้หมวก

????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล เขียนตามความรู้สึกเกี่ยวกับการดูแลแบบองค์รวม จากการอ่านหนังสือพยาบาลไร้หมวก บน 1 หน้ากระดาษ A4

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนสิ่งที่ได้รับภายใต้หัวข้อการเรียนการสอนเรื่อง การดูแลแบบองค์รวม จากหนังสือ พยาบาลไร้หมวก

????????? ๗. การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

????????? ทฤษฎี : เทคนิคการจัดท่า การเคลื่อนไหวและการฟื้นฟูร่างกาย โดยการจับฉลากให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ๑ เรื่อง

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่นๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับแต่ละบุคคลไปเล่าสู่กันฟัง

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำไปสรุปความรู้

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำกลับไปเล่าในกลุ่ม จากนั้นนำเสนอภาพรวมเนื้อหาของสมาชิกกลุ่ม

????????? ๘. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

????????? ทฤษฎี : ประวัติการพยาบาล

????????? กิจกรรมโครงการ : การแสดงบทบาทสมมติภายใต้ ๖ หัวข้อ ได้แก่ การพยาบาลในยุคมืด การพยาบาลยุคกลาง การพยาบาลยุคเรเนสซองค์ การพยาบาลสมัยสุโขทัย การพยาบาลสมัยอยุธยา และการพยาบาลสมัยรัตนโกสินทร์

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มนักศึกษาให้จับฉลากหัวข้อที่ได้รับแล้วไปศึกษา เพื่อนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น ๖ กลุ่ม ตามหัวข้อที่ได้รับ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหาในการนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ

???????????? สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพดังที่กล่าวมาพบว่า ในแต่ละรายวิชามีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ จึงสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

๑. ขั้นเตรียมการ

???? ๑.๑ ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน

???????? – ผู้สอนเปิดประเด็นการสอนในชั้นเรียน ด้วยการสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาที่นักศึกษาได้ศึกษามาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ว่าวิชาหรือความรู้ใดมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน

??????? – นักศึกษาวิเคราะห์ความรู้เดิมที่ตนเองได้รับ

???? ๑.๒ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม

?????? – ผู้สอนนำสิ่งที่นักศึกษาตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ของตนเองที่ได้รับมาเชื่อมโยงและเข้าสู่ประเด็นการสอน

??? ๑.๓ เลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้

????? – เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและเป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ หรือตัวผู้เรียนเอง โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ สื่อที่ใช้ประกอบ ควรมีเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน

???? ๑.๔ เร่งเร้าประสาทความรู้สึกต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความ

ตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒. ขั้นสอน แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ได้แก่

???? ๒.๑ ขั้นนำ โดยเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ เช่น รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม ข้อคำถามสะท้อนคิด เพื่อกระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ที่เรียน

??? ๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อให้เกิด

???????? ๒.๒.๑ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ใช้ VARK learning style เป็นต้น

???????? ๒.๒.๒ เน้นการมีส่วนร่วมหรือใช้คำถามกระตุ้นแก่ผู้เรียน

???????? ๒.๒.๓ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟังหรือเขียนอย่างลุ่มลึก เพื่อทำให้ผู้เรียนจัดระบบความรู้

ด้วยตนเอง

????????? ๒.๒.๔ เน้นทักษะการคิดขั้นสูงแก่ผู้เรียน โดยใช้เทคนิค ดังนี้

??????????????? – Reflective thinking (การสะท้อนคิด) หมายถึงการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้บุคคลได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน (Reflective Practice) ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน และการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

???????????? – Systemic thinking (การคิดอย่างเป็นระบบ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ? และมีส่วนประกอบย่อยๆ? โดยอาศัยการคิดใด รูปแบบโดยตรง? และโดยทางอ้อม

???????????? – Critical thinking (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ) หมายถึง การพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่างๆหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่มีข้อสงสัยหรือ ข้อโต้แย้ง โดย การพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล โดยการคิดวิพากษ์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์แปลกๆ ที่ไม่คาดหวัง การพบปัญหาที่ยากๆ เกิดความสงสัยหรือเกิดข้อโต้แย้ง ในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น การที่ต้องการตรวจสอบ และสืบค้นความจริง

???????? ๒.๒.๕ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม

๓. ขั้นสรุป

????????? ๓.๑ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

????????? ๓.๒ ผู้สอนประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา อาจแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การประเมินผลย่อย (formative assessment) หรือประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แต่ต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน เช่น การแสดงจากสีหน้า ท่าทางของผู้เรียน เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัวของผู้เรียนได้

????????????????????????????????????คณาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้ถอดบทเรียน

???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑๒ พฤษภาคม?๒๕๕๗

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการส่งเสริมสุขภาพ : การบูรณาการกับการเรียนการสอน

บทสรุป ความรู้ที่ได้รับจากการบริการวิชาการและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ

?????????????? ความรู้ที่ได้รับจากโครงการการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการ พยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย วันที่ 13 ธันวาคม 2556 และ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงเรียนวัดนาทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและวัดดอนไชย ?ตำบลชัยจุมพล ?อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นักศึกษามีการบริการวิชาการ ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ 1ให้บริการวิชาการวันที่ 13 ธันวาคม 2556 จำนวน 51 คน กลุ่มที่ 2ให้บริการวิชาการวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 โดยให้บริการวิชาการแก่วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ เรื่องที่ให้บริการวิชาการเป็นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพสุขวิทยาส่วนบุคคล ได้แก่ การล้างมือ การแปรงฟันและการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ความรู้ที่ได้รับจากการไปบริการวิชาการสำหรับอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล สรุปได้เป็น?3 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านการจัดการเรียนการสอน
  2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
  3. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา ความรู้ที่ได้รับจากการไปบริการวิชาการ คือ

การได้ศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษาในการนำความรู้รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลไปใช้ เช่น พัฒนาการของนักศึกษาในการนำข้อมูลการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลจากที่เคยให้แก่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุบนหอผู้ป่วย มาใช้บริการส่งเสริมสุขภาพแก่วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุในชุมชน ?ซึ่งมีพฤติกรรมที่การเรียนรู้ที่แตกต่างจากวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อยู่บนหอผู้ป่วย ปกตินักศึกษาจะมีประสบการณ์ในการให้บริการสุขภาพหรือปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่การบริการวิชาการได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการวิชาการเป็นกลุ่มวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน ซึ่งอาจมีการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวแต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาโดยการนอนโรงพยาบาล การเพิ่มพูนประสบการณ์นอกเหนือจากการฝึกบนหอผู้ป่วย ทำให้นักศึกษาต้องมีการปรับตัว มีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะทำให้นักศึกษามีวิธีการถ่ายถอดความรู้แก่เด็กวัยเรียนมากขึ้น ?การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาสามารถทำให้อาจารย์ได้แนวคิดในการนำมาสอนนักเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อๆไป ซึ่งอาจารย์ในภาควิชาเห็นว่า การออกแบบโดยการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนครั้งนี้บรรลุตามลักษณะการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของรายวิชา คือการดูแลภาวะสุขภาพของบุคคลทุกช่วงวัย?

๑.๒ ด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์? การออกแบบการเรียนการสอนโดยการบูร-

ณาการวิชาการ ทำให้ได้แนวคิดว่า ควรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่นักศึกษาเคยได้รับ ?อาจทำให้นักศึกษาสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นได้? แนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีการสร้างสรรค์ประยุกต์ความรู้ สร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนจะทำให้นักศึกษามีการวางแผน ?การสร้างระบบการทำงานเป็นทีม (ดวงดาว เทพทองคำ, วิภาวรรณ นวลทอง, สุปราณี หมื่นยา, พิศิษฐ์ พวงนาคและนภดล เลือดนักรบ. (2556). การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 บนพื้นฐานการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.) การวางเป้าหมายในสิ่งที่จะทำ ขั้นตอนการทำงาน การสรุปผลงาน การทดลองนำมาใช้ก่อนการไปให้บริการวิชาการจริง ?ซึ่งควรจะมีการทดสอบกระบวนการดังกล่าวเป็นการศึกษาวิจัยโดยมีกรอบแนวคิดทฤษฎีรองรับ การศึกษาดังกล่าวจะสามารถตรวจสอบได้ว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือรูปแบบการบริการวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพแก่กลุ่มคนแต่ละช่วงวัยต่อไป

ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการนำมาลำดับขั้นตอนเพื่อการวางแผนในการสอนนักศึกษาต่อไป ดังนี้

๑) การออกแบบโดยการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ควรมีการให้นักศึกษาสร้างชิ้นงาน นำนวัตกรรมมาใช้หรือออกแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา

๒) วัตถุประสงค์การเรียนรู้รายวิชาหรือหัวข้อเรื่องในการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการควรมีความ

สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือความต้องการของหน่วยงาน/องค์กร ที่จะไปบริการวิชาการ การดำเนินการจึงมีการสำรวจความต้องการหัวข้อเรื่องที่จะมีการบริการวิชาการกับครูโรงเรียนวัดนาทะเลและการบริการวิชาการสำหรับวัยผู้สูงอายุในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล

จ.อุตรดิตถ์ ด้วย

????????? ๓) ประเด็นการเรียนรู้ในการกำหนดให้นักศึกษา ควรมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเลือกในหัวข้อที่ตนเองสนใจ โดยอาจารย์กำหนดแนวคิดไว้กว้างๆ เพราะความสนใจจะเป็นแรงจูงใจเบื้องต้นในการเรียนรู้

????????? ๔) เมื่อนักศึกษาเลือกประเด็นหรือหัวข้อเรื่องที่ตนเองมีความสนใจแล้ว แนะแนวทางให้นักศึกษาได้มีการทบทวนความรู้ในประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองที่ผ่านมา สร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการบริการวิชาการออกมาเป็นชิ้นงานเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในการไปให้บริการวิชาการ

????????? ๕)? เป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษา ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่นักศึกษาในการแสวงหา/ทางเลือก ด้วยกระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์และนำมาไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ช่วยนักศึกษาประเมินผลงานของนักศึกษาที่ผ่านการสร้างสรรค์มาแล้ว ก่อนการนำไปใช้ ตอบคำถามนักศึกษา ให้ข้อมูลเพื่อคลี่คลายปัญหา เสริมสร้างความมั่นใจให้แก่นักศึกษาก่อนนำไปใช้ในสถานการณ์จริง (ตามสรุปแนวทางการจัดการเรียนการสอนฯแนบท้าย)

? 2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผลจากการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ม.4และม.5 ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พบประเด็นความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่วงวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ ดังนี้

?????????? 2.1 การบริการวิชาการวัยเด็ก มีแนวคิดในการส่งเสริมหลายๆด้าน? วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการ

การดูแลและการปรับตัวต่างๆ ซึ่งวัยเด็กก็สามารถแยกออกเป็นช่วงวัยต่างๆอีก ในการให้การส่งเสริมสุขภาพในช่วงวัยเด็กของโรงเรียนวัดนาทะเล ให้การส่งเสริมสุขภาพหัวข้อ คือ การล้างมือ การดูแลความสะอาดปากและฟัน จากทฤษฎีรายวิชาหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล บทที่ 1 สุขวิทยาส่วนบุคคล และวิชาปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล ให้การส่งเสริมทั้ง 2 เรื่อง การล้างมือ การดูแลความสะอาดปากและฟัน เนื่องจากเป็นการส่งเสริมสุขวิทยาเบื้องต้น หากขาดการดูแลจะส่งผลให้เกิดภาวการณ์เจ็บป่วยได้? การล้างมือ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้วัยเด็กมีพฤติกรรมที่รักษาความสะอาด เข้าใจหลักในการล้างมือและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งจะส่งผลให้ลดการเกิดเชื้อโรคและคาดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยลดลง? การดูแลความสะอาดปากและฟัน เป็นการส่งเสริมการรักษาช่องปากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค? ป้องกันฟันผุ? เนื่องจากฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญในการช่วยเคี้ยวอาหารก่อนการกลืน และการสุขภาพของช่องปากดีก็ยังบ่งบอกถึงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคลด้วย

??????????2.2?? การบริการวิชาการวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมของโครงสร้างร่างกายและสภาพ

จิตใจตามระยะเวลาในการใช้งานตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น ทั้งโรคที่เกิดแบบเฉียบพลันและโรคเรื้อรังต่างๆ อนาคตต่อไปของประเทศไทยสังคมผู้สูงอายุจะมีขนาดขยายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้นก่อน จากการศึกษาสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2556 จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด? 250 คน ผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38 ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงที่ทีมสุขภาพต้องให้การดูแล การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ให้บริการวิชาการคือ (๑)การล้างมือ เป็นการส่งเสริมความสะอาดเบื้องต้นเพื่อป้องกันและการแพร่กระจายของเชื้อโรค? (๒)การดูแลความสะอาดปากและฟันเป็นการส่งเสริมสุขอนามัยในช่องปากทำให้วัยผู้สูงอายุมีสุขภาพปากและฟันที่สะอาดลดการติดเชื้อในช่องปากด้วย (๓)การส่งเสริมสุขภาพเรื่องโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยการให้สุขศึกษาแก่วัยผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้ซักถามและแจกเอกสารความรู้เพิ่มเติมแก่วัยผู้สูงอายุ?

????????? ????????? การให้บริการวิชาการวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ เกิดจากการนำความรู้จากทฤษฎีและความรู้จากภาคปฏิบัติในการฝึก ๒ แผนก คือแผนกอายุรกรรมและแผนกศัลยกรรมมาผนวกความรู้และนำมาให้บริการวิชากรแก่วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการใช้ทฤษฎีและการปฏิบัติมารวมเป็นความรู้ที่จะส่งเสริมสุขภาพวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ที่สามารถสื่อสารและเล็งเห็นความสำคัญให้วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่นำไปปฏิบัติได้จริง

?????????????????? การบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ณ โรงเรียนวัดนาทะเลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและวัดดอนไชย ?ตำบลชัยจุมพล ?อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้วัยเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพ โดยการล้างมือ การทำความสะอาดปากและฟัน สามารถบอกถึงผลดีและผลกระทบหรือผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ปฏิบัติตาม วัยผู้สูงอายุสามารถบอกหลักการปฏิบัติการล้างมือ การทำความสะอาดปากและฟันได้ ทราบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและรงเรียนวัดนาทะเล ทราบเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ สามารถนำข้อมมูลไปจักกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพได้ต่อไป อาจารย์และนักศึกษาได้ความรู้จากการบริการวิชาการ โดยแนวคิดความรู้ที่ได้รับของนักศึกษาจะปรากฏในแบบบันทึกสิ่งที่นักศึกษาได้รับ ซึ่งกระบวนการการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรการกับบริการวิชาการนี้ คณาจารย์ในภาควิชาเห็นว่าควรนำไปเป็นข้อมูลในการวิจัยต่อไป

แนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ

  1. มีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการและมีการ

เตรียมการล่วงหน้าที่ทันเวลา

1.1?? การประชุมเพื่อสรุปแนวคิด (concept) ในการบูรณาการระหว่างอาจารย์ผู้สอน

1.2?? การกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการของภาควิชาฯ และของวิทยาลัยฯ

1.3?? การประชุมวางแผนการดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด เพื่อ ออกแบบการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่มคน ช่วงวัย ตลอดจนการวางแผนคิดค้น สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาเกิดความสร้างสรรค์ทางปัญญา โดยอาจารย์นำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประเมินผลการเรียนการสอนโดยการทำวิจัยครั้งต่อไปเกิดเป็นวงจรเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

  1. การดำเนินการตามแผนที่กำหนด โดยความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องภายนอก

2.1 ประสานงานเพื่อความเข้าใจในการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ระหว่างหน่วยงาน หรือ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัด โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครชุมชน

  1. มีการประเมินผลการดำเนินงานและวางแผนในการดำเนินการครั้งต่อไปเพื่อให้เป็นวงจรคุณภาพและ

เพื่อความยั่งยืนด้านการส่งเสริมสุขภาพ จากการบูรณาการครั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างการประเมินผลการดำเนินการดังนี้

ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน

๑.????? กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)

-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี

-????????? นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น

-????????? ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

-????????? รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น

-????????? ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-????????? การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

๒.????? กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

-????????? พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-????????? มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง

-????????? มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-????????? ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

?3.????? กลุ่มอาจารย์

? -??พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา

? -??มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

??-??เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

?-? ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป

แนวทางการนำไปใช้จากการบูรณาการ

? ๑.??การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่

? ๒.??การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก

? ๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน

? ๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน

? ๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป

??????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

???????????????????????????????????????????????????????????????????????? วันที่??12 พฤษภาคม 2557

11/09/2013

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

การจัดการความรู้ เรื่อง การบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

การส่งเสริมและดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลเด็กวัยเรียน

????????? การดูสุขวิทยาเด็กและการจัดบริการทางสุขภาพให้แก่เด็กในวัยเรียน โดยมากจะเน้นการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ศีลธรรมและจิตวิญญาณ ดังนั้น การให้บริการดูแลสุขภาพเด็กในช่วงอายุต่างๆจึงควรพิจารณาถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็ก โรเบอร์ตา (Roberta K. O? Shea, 2009 : 39-44) กล่าวถึงการให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจำเป็นต้องมีบุคลากรหลายสาขาวิชาชีพและมีแนวทางให้บริการสุขภาพแก่เด็ก ซึ่งในยุคแรกๆมีรูปแบบการให้บริการภายในหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในประเทศทางตะวันตกได้บุกเบิกและทดลองให้บริการวิชาการในรูปแบบต่างๆกันไปตามบริบทและการจัดการ อาทิ ทีมแพทย์ จะมีแพทย์เป็นผู้ดำเนินการโดยรูปแบบการให้บริการวิชาการจะอิงตามแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วย เรียกว่ารูปแบบการให้บริการทางการแพทย์ (Medical Model) มีกิจกรรมการให้บริการที่จัดทำเป็นระบบมีคู่มือปฏิบัติงาน (The Guide to Physical Therapy Practice) ทีมสุขภาพประกอบด้วยทีมแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ พยาบาล นักอาชีวะบำบัดและผู้ให้บริการเป็นนักปฏิบัติการวิชาชีพแต่ละสาขามาร่วมกันให้กิจกรรมบริการ ต่อมามีการจัดกิจกรรมและมีรูปแบบเชิงรุกมายิ่งขึ้น ขยายงานออกไปสู่การจัดกิจกรรมบริการสุขภาพเด็กไปตามโรงเรียน เรียกว่า โครงการสุขภาพในโรงเรียน (School Model) เพื่อให้การบริการเข้าถึงเด็กวัยเรียน มีนักวิชาชีพทำงานร่วมกับครูในโรงเรียน จากนั้นเริ่มให้บริการเชิงรุกเข้าไปสู่ชุมชน ครัวเรือนและศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชน เพื่อให้บริการแบบเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางให้บริการดูแลสุขภาพเด็กจะขอแบ่ง ดังนี้

๑.?ระยะก่อนเกิด (Prenatal Visit)

๒.?ระยะแรกเกิด (ในโรงพยาบาล)

๓.?วัยทารกระยะต้น (๒ สัปดาห์ ถึง ๖ เดือน)

๔.?วัยทารกระยะท้าย (๖ เดือน ถึง ๒๔ เดือน)

๕.?วัยก่อนเข้าเรียน วัยเดกระยะต้น (อายุ ๒-๕ ปี)

๖.?วัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี)

การดูแลสุขวิทยานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) บุคคลนั้นจะขาดความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ขาดความกระตือรือร้นหรือละเลยที่จะดูแลตนเองให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีจึงเป็นเหตุเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมความสุขสบายให้กับบุคคลในเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับความสุขสบาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้หายเจ็บป่วยเร็วขึ้น

สุขวิทยาส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีร่างกายที่สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปในภาวะปกติแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีอายุมากขึ้น อาจต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลเพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นๆอยู่ในสภาวะที่ดี ได้แก่ การดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่เริ่มต้นเรียนรูปจริงจัง มีพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบได้โดยมีหลักการและเหตุผล พัฒนาการของเด็กวัยเรียนจะมีลักษณะอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง อยากเก่ง อยากให้ความร่วมมือ ต้องการทราบเหตุผลในเรื่องต่างๆว่าเกิดขึ้นอย่างไร นักวิชาการด้านการศึกษามีความเชื่อว่า วัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงวิกฤตช่วงหนึ่งในการเรียนรู้เพราะเด็กจะเริ่มมีพัฒนาการความต้องการใฝ่สัมฤทธิ์ สร้างความสามารถในการเป็นผู้ประสบความสำเร็จมากกว่าการล้มเหลว (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,2553)

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ทำการศึกษาการส่งเสริมและการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยให้การบริการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนหรือวัยเด็กระยะสุดท้าย (อายุ ๕-๑๒ ปี) โดยร่วมกับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ในการร่วมกันให้บริการวิชาการทั้ง ๓ หัวข้อ คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคติดต่อทั่วไปที่ควรรู้และสุขวิทยาส่วนบุคคลซึ่งทุกหัวข้อมีความสำคัญ ในกระบวนการจัดกิจกรรมอาจารย์ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของครูประจำโรงเรียนเพื่อสอบถามความต้องการที่ตรงตามเป้า หมายในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จากนั้นนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ได้ตรงกับประเด็นที่ต้องการและนำไปบริการวิชาการ หัวข้อในการจัดกิจกรรมมีความสำคัญต่อครู ผู้ดูแลนักเรียนและตัวนักเรียนเป็นอย่างมากซึ่งจะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริง นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง จากนั้นนำความรู้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับทฤษฎีที่จัดการเรียนการสอนไปแล้วและเพื่อการเชื่อมโยงในอนาคตต่อไป มีความคาดหวังว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์จริงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อเด็กวัยเรียนและนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ได้มากที่สุด

ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน

๑.??กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)

-?พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี

-?นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น

-?ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

-?รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น

-?ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-?การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

๒.?กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

-?พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-?มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง

-??มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-?ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

๓.???? กลุ่มอาจารย์

-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา

-?มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

-?เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

-?ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป

แนวทางการปฏิบัติที่ดี

๑.?การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่

๒.?การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก

๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน

๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน

๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป

๖.?การนำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและรายวิชาอื่นๆที่ในภาคสอนและรับผิดชอบ จะทำให้นักศึกษาได้รับฟังความรู้ที่ได้จากการจัดประสบการณ์จริงของอาจารย์ทำให้ภาพของการเรียนมีชีวิตคือสามารถทำให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจารย์ควรนำแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาในการสอนให้มีคุณภาพต่อไป

วิภาวรรณ นวลทองและคณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล? (๒ กันยายน ๒๕๕๖)

04/09/2013

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ประสบการณ์การจัดการเรียนการแบบ
Active
Learning ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา

นภดล
เลือดนักรบ

การเรียนแบบ
active
learning (AL) เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย
โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง
แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการ จะทำกิจกรรมต่างๆ
มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน
การอภิปรายกับเพื่อนๆ” ซึ่งโดยหลักการนี้ก็จะไปสอดคล้องกับหลักการใหญ่ที่ว่า ถ้าเราให้ผู้เรียนรู้จากการอ่านอย่างเดียวผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้เพียง
20% ถ้าจากการฟังก็จะเพิ่มเป็น 30% แต่ถ้าได้มีโอกาสได้พบเห็นก็จะเพิ่มเป็น
40% ถ้าจากการพูดก็จะเป็น 50% และได้ลงมือปฏิบัติเองก็จะถึง
60% และถ้าได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หลากหลายก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเรียนรู้ถึง
90% การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ๑
เป็นการปรับตัวของนักศึกษาต้องปรับตัวจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษา
มาเรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเนื้อหาจะเป็นแบบเฉพาะหลักสูตร
และมีความลึกซึ้งของเนื้อหาเพิ่มขึ้น
ทั้งยังมีกิจกรรมระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องเข้ามามีส่วนในการจัดสรรเวลาในการเรียนและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น
การจัดการเรียนที่เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมของนักศึกษาที่นอกเหนือเวลาเรียนของนักศึกษา
จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ รอบด้าน
ไม่เป็นการผลักภาระการเรียนให้นักศึกษา ในทางกลับกันครูเองยิ่งต้องหมั่นสำรวจ
ตรวจสอบปฏิกิริยาผู้เรียน และความก้าวหน้าในการเรียน
และการทำกิจกรรมให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นด้วย

ในภาคเรียนที่
๒ ของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา ๒
ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่มีความพยายามให้ผู้เรียน
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยภายหลังจากการเรียนทฤษฏีเนื้อหาทั้งหมดของระบบต่อมไร้ท่อ
ได้จัดแบ่งนักศึกษาออกเป็นทั้งหมด ๑๐ กลุ่ม ๆ ละ ๙ คน
โดยมอบหัวข้อที่นักศึกษาจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งหมด ๑๐ หัวข้อ เช่น
สมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนในเวชสำอาง
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยผู้สูงอายุเป็นต้น และให้นักศึกษานำเสนอ
โดยไม่จำกัดรูปแบบของการนำเสนอ และไม่จำกัดของเขตของเนื้อหาที่จะนำมาเสนอ
แต่มีการให้คะแนนโดยมีเกณฑ์การให้คะแนนคือ ความถูกต้อง และความทันสมัยของเนื้อหา
ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าสนใจในการนำเสนอ เป็นต้น จากการนำเสนอของนักศึกษา
พบว่านักศึกษาสามารถนำเนื้อหาที่นักศึกษาเรียน มาบูรณาการกับความรู้ใหม่
และสร้างสรรค์การนำเสนออย่างน่าสนใจ และไม่ซ้ำแบบกันในการนำเสนอ
นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่ม และให้ความเห็นต่อกลุ่มอื่นๆได้อย่างน่าสนใจ
ทั้งเนื้อหาที่นักศึกษาค้นคว้ามานำเสนอนั้นเหมาะสมกับภูมิรู้เดิมของนักศึกษา
เมื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และไม่จำกัดกรอบความคิด
เปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอิสระ

ผลจากการจัดกิจกรรมรูปแบการเรียนรู้แบบ
AL
ในระดับอุดมศึกษา พบว่า AL จะกินความไปถึงความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาด้วย
นั่นคือการที่ต้องพัฒนาลักษณะนิสัยทั้งด้านจิตใจและร่างกายให้มีความมุ่ง มั่นไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาของตนเองด้วย
โดยควรเริ่มปูพื้นฐานจากการสร้างนิสัยใน การไปเข้าชั้นเรียนโดยสร้างนิสัยอย่างสม่ำเสมอ
ค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้สอนมอบหมายให้อย่างดี และเมื่อทราบผลสำเร็จของ

รายงาน” ก็พร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไขทำให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ แบบ
AL ในนักศึกษาพยาบาล
คือ ถ้ามุ่งหวังให้ผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้ที่
Active สภาพการสอนของครูก็จะต้อง
Active ด้วย นั่นคือจะเกิด Active Learning ได้ก็ต้องมี Active Teaching ดังนั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็คงต้อง
“เตรียมตัว” ทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดสภาพที่
Active ขึ้นมาได้
ผู้สอนควรศึกษาภูมิหลังทางการเรียน สภาวะแวดล้อมขณะเรียน อันจะส่งผลถึงการว่างแผน
และออกแบบการสอนอย่างเหมาะสมสำหรับนักศึกษา ผู้เรียน ควรมีความกระตือรือร้น
พูดคุยความก้าวหน้าในการค้นคว้ากับผู้สอน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์
และการตกผลึกความรู้ที่
Active

27/02/2013

การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

การจัดการความรู้

ประเด็น การบูรณาการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมสุขภาพ

สรุปการจัดการความรู้กับการบูรณาการการเรียนการสอน

การจัดการความรู้ เรื่องการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพ สิ่งที่ได้รับแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

  1. ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
  2. ด้านอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ
  3. ด้านผู้รับบริการ(กลุ่มเป้าหมาย)

ประเด็นที่ 1 ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

1.1 การเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

สำหรับกิจกรรมทั้งหมดของโครงการนี้ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะของรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลคือ การพัฒนาให้นักศึกษานำความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดที่เกิดจากสภาพการณ์จริงบนหอผู้ป่วย โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม โดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ ไปใช้ในการบริการวิชาการแก่สังคมภายนอก โดยเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาชีพพยาบาลมากขึ้น สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์และนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองและบุคคลรอบข้างในการให้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

1.2 การเสริมสร้างอัตลักษณ์บัณฑิต

สำหรับรูปแบบของการจัดทำโครงการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพภายใต้การเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการนั้นจะเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล โดยกระบวนการของแต่ละกิจกรรมของโครงการทั้งหมดสามารถประมวลสู่องค์ความรู้ตรงตามอัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยฯ และอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบันพระบรมราชชนกที่มีความต้องการให้สถาบันผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติและมีสมรรถนะคือ บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งก็หมายถึงการให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ในใจปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับลักษณะรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล โดยเป็นการปฏิบัติการพยาบาลและการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิตที่มีภาวะสุขภาพปกติและเบี่ยงเบน โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมบนพื้นฐานของการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดังนั้นความคาดหวังของนักศึกษาจากการฝึกปฏิบัติครั้งนี้คือการสร้างองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างความมั่นใจแก่นักศึกษาในการให้บริการสุขภาพของบุคคลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยสรุปจะเห็นได้ว่า การให้ความสำคัญกับการให้บริการนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้รับบริการ และผู้ให้บริการต้องเป็นบุคคลที่มีใจในการให้บริการ(Service Mind) เป็นสำคัญ ซึ่งการบริการสามารถแสดงออกเป็น 2 แบบ คือ

1. ขั้นตอนการให้บริการ เป็นการปฏิบัติการตามขั้นตอนและเทคนิคของวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ ตรงตามความต้องการมากที่สุด

2. พฤติกรรมการบริการ เป็นการแสดงออกด้านการแต่งกาย สีหน้า แววตา กิริยา ท่าทาง และการพูดจา ซึ่งพฤติกรรมที่ดีย่อมสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับผู้บริการได้เป็นอย่างดี ได้แก่ การแต่งกายที่สุขภาพ สะอาด เรียบร้อย สีหน้าและแววตาที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส อ่อนโยน กิริยาท่าทางที่ สุภาพ อ่อนน้อม การพูดจาด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล สุภาพ ชัดเจน ให้เกียรติ มีหางเสียง

1.3 การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และสมรรถนะของนักศึกษา

กิจกรรมของการให้บริการวิชาการในครั้งนี้เป็นการนำความรู้และทักษะการพยาบาลที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลไปบริการวิชาการแก่บุคคลภายนอก โดยเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งตรงกับลักษณะรายวิชาที่นักศึกษาได้ผ่านการฝึกปฏิบัติมาแล้ว ดังนั้นสิ่งที่นักศึกษาได้พัฒนาตนเองตามสมรรถนะนั้น คือ การสอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพแก่บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างจากสถานการณ์จริงที่นักศึกษาได้เคยปฏิบัติมาก่อน โดยนักศึกษาจะต้องมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติไปสู่สถานการณ์จริงภายนอก นอกจากนี้การที่นักศึกษาจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ได้นั้นนักศึกษาจะต้องมีการคิดเชิงวิเคราะห์ก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นมีความต้องการการดูแลสุขภาพอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้นักศึกษายังต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในด้านทักษะในการติดต่อสื่อสาร และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ เพื่อให้การบริการวิชาการเป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อนักศึกษาต่อไป

ประเด็นที่ 2 ด้านอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ

สำหรับการนำความรู้และประสบการณ์จากการเรียนการสอนที่ได้ถ่ายทอดแก่นักศึกษานั้น ถือเป็นการวางรากฐานทางความคิดให้แก่นักศึกษาเพื่อนำไปใช้การให้การดูแลผู้รับบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาความเชี่ยวชาญอาจารย์ผู้สอนด้านการส่งเสริมสุขภาพเป็นอย่างดี เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการปลูกฝังให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพการพยาบาล สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองและให้ประโยชน์ต่อบุคคลอื่นต่อไป นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเด็นที่ 3 ด้านผู้รับบริการ(กลุ่มเป้าหมาย)

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ เป็นภาควิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลสุขภาพมนุษย์นับตั้งแต่การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลตลอดจนการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีความเชื่อและตระหนักในการให้คุณค่าของการวางรากฐานในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดีนั้นต้องเริ่มต้นที่เด็กวัยเรียน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีความกระตือรือร้นในการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากประสบการณ์ของตนเอง บุคคลและสื่อต่างๆ ช่างซักถาม และชอบลองทำสิ่งที่ท้าทายความสามารถ ต้องการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ต้องการให้ผู้อื่นสนใจ ชอบการยกย่อง ชมเชย รวมทั้งการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้เรียนรู้และได้รับการดูแลขั้นพื้นฐาน ซึ่งหมายรวมถึงการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา เพราะการสิ่งเสริมสุขภาพเด็กในวันนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีต่อไปในอนาคต

สรุปประเด็นความรู้ที่ได้รับจากการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลและบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพในครั้งนี้ ได้แก่

  1. การเชื่อมโยงความรู้จากการเรียนการสอนภาคปฏิบัติไปสู่การบริการวิชาการแก่ชุมชน
  2. การวางรากฐานความคิดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์แม้อยู่ในสถานการณ์จริงที่มีความแตกต่างกัน
  3. การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการให้บริการวิชาการไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่อื่นต่อไป เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกันในการปฏิบัติการพยาบาลบนพื้นฐานการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

สรุปองค์ความรู้

การพยาบาล เป็นการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยการให้ความปลอดภัยและการส่งเสริมสุขภาพที่ดีต่อประชาชนและสังคม การพยาบาลไม่ได้มีความหมายเฉพาะการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเจ็บป่วยแต่การพยาบาลเป็นบริการที่ให้กับบุคคล ครอบครัวและสังคม โดยใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการหล่อหลอมทัศนคติ สติปัญญา และทักษะทางการพยาบาลแก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อให้สามารถช่วยบุคคลที่ป่วยหรือสุขภาพดี มีสุขภาพดี ซึ่งการช่วยเหลือจะครอบคลุมถึงการป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลรักษาพยาบาล และการดำรงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดีที่บุคคลนั้นสามารถจะพึงมีได้

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล เป็นภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์หลักของรายวิชาคือ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ หลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิตที่มีภาวะสุขภาพปกติและเบี่ยงเบนบนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทร ดังนั้นการพยาบาลที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลในความหมายของคณาจารย์ในภาควิชาจึงเป็นการสร้างทัศนคติ ความคิดและการปลูกฝังให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่กำลังจะฝึกภาคปฏิบัติให้เข้าใจว่า การดูแลจะเริ่มต้นที่ความรู้สึกสนใจ ห่วงใย และเข้าใจความต้องการของบุคคลทุกช่วงวัยว่ามีความละเอียดอ่อน และลักษณะเฉพาะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

เด็กวัยเรียน เป็นกลุ่มที่คณาจารย์ในภาควิชาให้ความสนใจ ในการนำนักศึกษาที่กำลังฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาล ในรายวิชา ปฏิบัติการหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและความรู้ทั่วไปเรื่องโรคตามฤดูกาล นักศึกษาจะประยุกต์ความรู้ที่ได้ให้การพยาบาลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วย มาใช้กับนักเรียน เช่น ความรู้เรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล การอาบน้ำ แปรงฟัน และการทำความสะอาดร่างกาย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นไข้หวัด เป็นต้น รูปแบบการบูรณาการ ทำให้เกิดประโยชน์แก่ เด็กวัยเรียน ครูผู้สอนในโรงเรียน นักศึกษาพยาบาล และอาจารย์พยาบาล และหากเด็กวัยเรียนเกิดแนวคิด สามารถจำในสิ่งที่นักศึกษาพยาบาลสอน และสามารถนำไปใช้ได้ ผู้ปกครองของนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากการบริการวิชาการในครั้งนี้ด้วย

ในด้านประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับอาจารย์พยาบาลในภาควิชาคือ ความเข้าใจและการมองเห็นนักศึกษาประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาลมาใช้ ว่านักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาหรือตัวองค์ความรู้พื้นฐานมากน้อยเพียงใด การสร้างสรรค์ในการนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้รับบริการที่มีความแตกต่างกันทั้งในช่วงวัย และภาวะสุขภาพที่ปกติและเจ็บป่วย ความเอื้ออาทร ความสนใจ ความห่วงใยที่มีภาวะพัฒนาการของแต่วัยที่มีความแตกต่าง? ซึ่งโดยทั่วไปการจัดการเรียนการสอนเฉพาะในชั้นเรียนหรือในคลินิกนั้นเป็นการให้บริการแต่ละบุคคล เช่น การดูแลผู้ป่วยแต่ละรายในโรงพยาบาล แต่ความเป็นจริงแล้วการพยาบาลสามารถเกิดได้ในทุกที่ และเป็นกลุ่มคน ชุมชน หรือครอบครัว เช่น สถานที่ที่ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลจัดให้แก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ สิ่งสำคัญที่เป็นความรู้ที่ได้รับจากการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการจัดการความรู้คือ (explicit knowledge) การพยาบาลที่ดีจะต้องเป็นการบริการที่ต่อเนื่อง ไม่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดที่จุดใดจุดหนึ่ง แต่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผลลัพธ์หรือพัฒนาการ การบ่มเพาะความคิดที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเองผ่านสื่อที่น่าสนใจสำหรับเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการในการดูแลตนเองของเด็กเมื่อเจริญวัยต่อไปได้ และคณาจารย์ภาควิชาฯ เห็นว่า การบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวควรกระทำต่อเนื่องในสถานที่แห่งเดิมเพื่อติดตามผลการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลหัวดง ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และอาจสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาพนักเรียน กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และทางโรงเรียนเทศบาลหัวดงฯ เพื่อร่วมกันดูแลสุขภาพเด็กอย่างต่อเนื่อง

ความรู้ในสิ่งที่อาจารย์พยาบาลได้รับจากการเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาจะทำให้อาจารย์นำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและการจัดประสบการณ์นอกชั้นเรียนให้แก่นักศึกษาต่อไป

คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

มกราคม 2556

18/07/2012

KM เพื่อการพัฒนา ต่อเนื่อง

เรียนเชิญอาจารย์ และผู้สนใจทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บ blog? ครับ

16/03/2012

การจัดการความรู้เรื่อง การเสริมสร้างคุณค่าและพลังใจในการดูแลผู้ป่วยขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ The empowerment programe on Humanistic Nursing Care ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

สรุปการสนทนาการจัดการความรู้ครั้งที่ ๑

สรุปการสนทนาการจัดการความรู้ครั้งที่ ๒

สรุปการสนทนาการจัดการความรู้ครั้งที่ ๓

บันทึกสรุปการสนทนาการจัดการความรู้ครั้งที่ ๔

บันทึกสรุปการสนทนาการจัดการความรู้ครั้งที่ ๕

บันทึกสรุปการสนทนาการจัดการความรู้ครั้งที่ ๖

บทสรุปการจัดการความรู้

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro