รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น. ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/255๙
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ 255๙ เวลา ๑๓.00 ? 1๕.00 น.
ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายนามผู้เข้าร่วมประชุม
1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????????? ประธาน
๒. นายนภดล เลือดนักรบ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางสาวสุปราณี หมื่นยา???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ????????????????? เลขานุการ
๔. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????????????? ผู้ช่วยเลขาฯ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
เปิดประชุมเวลา?????????? ๑๓.00 น.
ประธานการประชุม?????? หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ
วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
๑. สำหรับประเด็นการจัดการความรู้ที่วิทยาลัยกำหนด ให้ภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในประเด็น Humanize ซึ่งภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ดำเนินการในหัวข้อดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ภายใต้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยในครั้งนี้ภาควิชาฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็นเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Humanize ดังนั้นจึงนำความรู้ที่ได้รับสู่การจัดการเรียนการสอนในกิจกรรมและการจัดการเรียนการสอนในภาควิชา ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งขอความร่วมมือให้อาจารย์ในภาควิชามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับตามประเด็นดังกล่าว
มติที่ประชุม : รับทราบ
วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
- ไม่มี
วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี
วาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากฝ่ายต่างๆ
- ไม่มี
วาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี
วาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ
๑. สรุปองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ของภาควิชา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการ Humanistic health care มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งผลของการจัดการเรียนการสอนเป็นดังนี้
๑.๑ ?โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งดำเนินการในวันที่ ๒๒ ? ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ โดยรูปแบบของกิจกรรมเริ่มต้นจากการให้โอวาทเรื่อง การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคปฏิบัติและการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และปฐมบทอัตลักษณ์บัณฑิตนำทางแนวคิด เรื่อง ?สร้างมหัศจรรย์ชีวิตด้วยการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตเมตตา? จากนั้นมีการปรับรูปแบบกิจกรรมโดยการสอดแทรกแนวคิด การสะท้อนคิด (Reflective thinking) ภายใต้หัวข้อ ?สะท้อนคิด : พัฒนา service mind ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม? ให้มีความเชื่อมโยงกับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เนื่องจากแนวคิดการสะท้อนคิด อาจารย์ในภาควิชาเห็นร่วมกันว่าการสะท้อนคิดเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติได้
๑.๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ? ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สำหรับการสอนภาคปฏิบัติ อาจารย์สอดแทรกการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไว้ในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องต่างๆ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และการศึกษาผู้ป่วยกรณีศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจปัญหาความต้องการของผู้ป่วยตามบริบทและเงื่อนไขของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิต บูรณาการความรู้ตามทฤษฎีกับความรู้จากชีวิตจริงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดจากการทำกิจกรรมในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่อง
๑.๓ โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ที่ดำเนินการในระยะที่ ๑ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ และระยะที่ ๒ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษาให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเป็นติดตามและประเมินการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ทำให้นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสุขภาพกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมความรู้และทักษะในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในชุมชน และกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน และพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพการพยาบาล และเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางปัญญา โดยการสอนแบบบูรณาการด้ายหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและผู้รับบริการ โดยมีกระบวนการปรับทัศนคติ การสะท้อนคิดให้เข้าใจความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์กับสังคม โดยผ่านชีวิตจริงของผู้รับบริการ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้เกิดปัญญาภายในบุคคล การทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของชีวิตตามความเป็นจริง เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ ด้วยความเข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้เรียน เป็นการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการสอนสะท้อนให้ผู้เรียนได้คิด เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ เปิดความคิดของผู้เรียนให้คิดตามความเป็นจริง ไม่ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ไปตัดสิน เป็นความคิดที่มาจากมุมมองของผู้รับบริการ ลดอคติของตนเองลง เห็นความจริงชัดเจนขึ้น เกิดการคิดวิจารณญาณ (critical thinking) เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์มากขึ้น ผู้เรียนเกิดการยอมรับในความเป็นตัวตนของผู้รับบริการ เข้าใจและรู้ถึงปัญหาและมุมมองของชีวิตผู้รับบริการ ส่งผลทำให้เกิดการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่เป็นการพยาบาลแบบองค์รวม
ประธานกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านและกล่าวปิดการประชุม
ปิดการประชุมเวลา ?????? 1๕.๐0 น.
………..สุปราณี…หมื่นยา……….
(นางสาวสุปราณี? หมื่นยา)
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
………..ดวงดาว…เทพทองคำ……..
(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)
หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ
ผู้ตรวจรายงานการประชุม
สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Humanistic care โดยส่วนใหญ่สามารถกระทำได้ทั้งในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึงเป็นการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของผู้เรียน “การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” และเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติทางการพยาบาลได้จริง
เรียนการสอนแบบ Humanistic care เป็นการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตของผู้เรียน ?การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? และเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติทางการพยาบาลได้จริงซึ่งในปัจจุบันการให้บริการทางด้านสุขภาพจะเน้นการให้บริการและทำงานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งเหมาะกับทุกสาขาวิชา
การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้คือ การส่งเสริมให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ อาจจะเป็นประสบการณ์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ปฏิสัมพันธ์กับพยาบาลหรือผู้รับบริการ หลังจากนั้นให้นักศึกษาสะท้อนคิด (reflection) ถึงความรู้ที่ได้และประสบการณ์ส่วนบุคคล โดยกระบวนการของการถ่ายทอดการสะท้อนคิด ควรต้องมีการเปิดใจ จริงใจ แสดงออกอย่างคิดและรู้สึกและมีความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา รู้จักฟังซึ่งกันและกัน ในการสะท้อนคิดนั้นอาจารย์จะต้องสร้างบรรยากาศให้นักศึกษารู้สึกปลอดภัยจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้นักศึกษากล้าแสดงออก และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง สิ่งที่ได้จากกระบวนการสะท้อนคิดจะทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด รู้จักตั้งคำถามและตัดสินใจด้วยตนเอง เกิดความมั่นใจ รู้สึกว่ามีความสามารถซึ่งจะนำไปสู่การมี self-actualization ซึ่งในกระบวนการนี้จะทำให้นักศึกษากล้าที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การสอนอาจารย์ควรอดทนและใจเย็นมากพอที่จะให้นักศึกษาได้ฝึกหรือเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ใช่บอกทุกอย่าง แต่ควรสอนให้นักศึกษาได้คิดเองและค่อยๆเรียนรู้จากสภาพการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการเจ็บป่วยมากกว่าเน้นการสอนเกี่ยวกับทักษะต่างๆ เช่น การวัดความดัน ทำแผล ฉีดยา ฯลฯ เพราะทักษะเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องมือ ซึ่งจะต้องใช้ให้เหมาะกับสภาพการณ์ความเจ็บป่วยของผู้รับบริการและต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์การฝึกปฏิบัติจึงจะเกิดเป็นทักษะ แต่การให้การพยาบาลกับมนุษย์ซึ่งมีความเป็นองค์รวม มีความรู้สึกนึกคิด มีความเป็นปัจเจกบุคคล และมีความต้องการเฉกเช่นเดียวกับพยาบาล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ด้วยความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์
การสอนอาจารย์ควรอดทนและใจเย็นมากพอที่จะให้นักศึกษาได้ฝึกหรือเรียนรู้ด้วยตนเองไม่ใช่บอกทุกอย่าง แต่ควรสอนให้นักศึกษาได้คิดเองและค่อยๆเรียนรู้จากสภาพการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการเจ็บป่วยมากกว่าเน้นการสอนเกี่ยวกับทักษะต่างๆ เช่น การวัดความดัน ทำแผล ฉีดยา ฯลฯ เพราะทักษะเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องมือ ซึ่งจะต้องใช้ให้เหมาะกับสภาพการณ์ความเจ็บป่วยของผู้รับบริการและต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์การฝึกปฏิบัติจึงจะเกิดเป็นทักษะ แต่การให้การพยาบาลกับมนุษย์ซึ่งมีความเป็นองค์รวม มีความรู้สึกนึกคิด มีความเป็นปัจเจกบุคคล และมีความต้องการเฉกเช่นเดียวกับพยาบาล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ด้วยความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์
การเรียนการสอนแบบ Humanistic care เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล ยอมรับผู้อื่นได้ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมีความจำเป็นมากสำหรับวิชาชีพพยาบาล
การจัดการเรียนที่เน้นเรื่องหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดได้ในการฝึกภาคปฏิบัติในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลให้กับผู้รับบริการ
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นเรื่องหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนทางการพยาบาลนำไปใชัในการปฏิบัติงานจริง อีกทั้งเป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิตพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ช่วยให้ผู้เรียนได้ซึมซาบแนวคิดในการดูแลผู้ใช้บริการโดยคำนึงถึงเป็นมนุษย์และดูแลบุคคลที่อยู่ภายใต้ความอารักขาอย่างมีศักดิ์ศรี ตามช่วงวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคล
การเรียนการสอนแบบ Humanistic care เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่เริ่มต้นจากตัวผู้รับบริการไม่ใช่เริ่มต้นจากตัวนักศึกษา เป็นการพัฒนานักศึกษาโดยนักศึกาษาไม่รู้ตัว ฉะนั้นขอชื่นชมตัวผู้สอนและทีมที่ได้จัดโครงการที่มีเนื้อหาและวิธีการขัดเกลาให้นักศึกษาเกิดทักษะดังกล่าวจนเกิดผลสัมฤทธิ์ในการดูแลผู้รับบริการด้วยความเข้าใจความเป็นมนุษย์ครับ
การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด humanistic care เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ หลังจากนั้นให้นักศึกษาสะท้อนคิด (reflection) ถึงความรู้ที่ได้และประสบการณ์ส่วนบุคคล โดยกระบวนการของการถ่ายทอดการสะท้อนคิด ควรต้องมีการเปิดใจ จริงใจ แสดงออกอย่างคิดและรู้สึกและมีความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างอาจารย์และนัก ศึกษา รู้จักฟังซึ่งกันและกัน ในการสะท้อนคิดนั้นอาจารย์จะต้องสร้างบรรยากาศให้นักศึกษารู้สึกปลอดภัยจาก การถูกวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้นักศึกษากล้าแสดงออก และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง สิ่งที่ได้จากกระบวนการสะท้อนคิดจะทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด รู้จักตั้งคำถามและตัดสินใจด้วยตนเอง เกิดความมั่นใจ รู้สึกว่ามีความสามารถซึ่งจะนำไปสู่การมี self-actualization ซึ่งในกระบวนการนี้จะทำให้นักศึกษากล้าที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นการ เรียนรู้ตลอดชีวิต
การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด humanistic care เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามีสะท้อนคิด (reflection) ถึงความรู้ที่ได้และประสบการณ์ส่วนบุคคล โดยกระบวนการของการถ่ายทอดการสะท้อนคิด ควรต้องมีการเปิดใจ จริงใจ แสดงออกอย่างคิดและรู้สึกและมีความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างอาจารย์และนัก ศึกษา รู้จักฟังซึ่งกันและกัน ในการสะท้อนคิดนั้นอาจารย์จะต้องสร้างบรรยากาศให้นักศึกษารู้สึกปลอดภัยจาก การถูกวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้นักศึกษากล้าแสดงออก และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง สิ่งที่ได้จากกระบวนการสะท้อนคิดจะทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด รู้จักตั้งคำถามและตัดสินใจด้วยตนเอง เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ถือว่าเป็นการเรียนการสอนอีกวิธีที่ควรนำมาเลือกใช้ในการสอน
การสอนแบบเน้นหัวใจความเป็นมนุษย์แม้จะค่อนข้างมีความเป็นนามธรรม แต่เป็นเรื่องที่สัมผัสได้ด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด การกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่สามารถกระตุ้นได้ด้วยเรื่องที่ใกล้ตัว และเป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนเคยประสบ ความสามารถของผู้สอนเป็นเรื่องสำคัญเพราะการสอนให้เกิดทักษะด้านจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถ ผุู้สอนต้องเริ่มจากตนเองก่อนที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ผ่านจากอาจารย์สู่ศิษย์ บรรยกาศการเรียนที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเชื่่อมั่น อุ่นใจ ไม่หวาดกลัว มีศักดิ์ศรี เป็นการส่งผ่านวิธีการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เริ่มต้น
การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด humanistic care เป็นการเรียนการสอนที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในทุกๆสาขาทางการพยาบาล เพราะเป็นการฝึกให้น.ศสะท้อนคิดและมีจิตสำนึกถงการดูแลผู้ป่วยและการดูแลผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ นับเป็นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้กับน.ศอย่างแท้จริงวิธีหนึ่ง
การสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เหมาะสมกับวิชาชีพยาบาลที่ทำงานด้านบริการสุขภาพแก่มนุษย์ หากเข้าใจถึงความต้องการด้านร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณแล้ว ก็จะทำให้ผุ้รับบริการสัมผัสได้ที่หัวใจ การสอนให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้สอนเพราะมีความเป็นนามธรรมสูง การให้ผู้เรียนได้เข้าใจแท้จริงจึงควรเริ่มต้นจากความเข้าใจผู้เรียนเป็นอันดับแรก และใช้ประสบการณ์จริงของผู้เรียนเป็นแนวทางในการสอนจะเป็นการเริ่มต้นการสอนที่ประสบความสำเร็จ