วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๒ ๒๕๖๒  เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมอังศนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  อุตรดิตถ์

……………………………………………………………..

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.   นางสาวดุจเดือน               เขียวเหลือง            พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๒.   นายไพทูรย์                       มาผิว                  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๓.   นางสาวสุดารัตน์               ไชยประสิทธิ์           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๔.   นางมณฑา                      อุดมเลิศ               พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๕.   นางสาวปฐพร                  แสงเขียว              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๖.   นางสาววิไลวรรณ              บุญเรือง               พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๗.   นางปภาดา                     ชมภูนิตย์              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ

๘.   นายอิทธิพล                      แก้วฟอง               พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๙.   นางสาวสุกัญญา               ม่วงเลี้ยง               พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๐. นายกันตวิชญ์                    จูเปรมปรี              พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๑. นางสาวสิริกานดา              สุขเกษม               พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๒. นางสาววิรินทร                 พิมไลย                 พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๓. นางสาวจิราพร                  วิศิษฎ์โกศล            พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ เลขานุการ

๑๔. นางพัชรินทร์                   วงษ์สว่าง              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

๑.   นายนภดล                     เลือดนักรบ       พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

๒.   นางสาวดวงดาว                 เทพทองคำ       พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ  (ไปราชการ)

๓.   นางสาวดารณี                  ขันใส             พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๔.   นายอรรถพล                     ยิ้มยรรยง        พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ (นิเทศ)

๕.   นางสาวจิระภา                 สุมาลี             พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (นิเทศ)

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  ๑๔  คน คิดเป็นร้อยละ  ๗๐

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ประธานที่ประชุม นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง รองผู้อำนวยการ  กลุ่มงานวิชาการ

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งจากประธาน

จากการจัดองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดครั้งที่ ๑ ได้มีการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

ระยะที่ ๑ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคทฤษฎี

ระยะที่ ๒ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

ระยะที่ ๓ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติ

และได้นำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่

๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด

๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ซึ่งจากการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติและได้เกิดผลอย่างไรในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดในครั้งนั้น

และจากการจัดองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ครั้งที่๑ ทำให้ได้หาแนวทางร่วมกันที่จะนำไปใช้ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ นั้นจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะ ๓ ประการคือ

๑.      ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะครู How to be reflective teacher

๒.      ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษา How to be reflective learner

๓.  สร้างสิ่งแวดล้อม จัดสภาพบริบทให้ส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด

คุณสมบัติผู้สอน คุณสมบัติผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
1. เปิดใจกว้าง ไม่มีอคติ

2. ตั้งคำถามชวนคิด

3. ฟังอย่างตั้งใจ

4. คิดเป็น concept

5. ยืดหยุ่น

6. จริงใจ ตรงไปตรงมา

7. ให้กำลังใจ

8. Feed back เร็ว

1. ช่างสังเกต ไวต่อบริบท

2. เข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก

3. กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน

4. ฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้าง

5. คิดเป็นระบบ (ยากมาก)

6. ใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้

7. ประเมินตนเองได้

1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อคุณลักษณะของผู้เรียน

2. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ฝึกให้มีความ “กล้าคิด”

3. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนแบบสะท้อนคิดเช่น หนังสือ สื่อ แหล่งความรู้ภายนอก ฯลฯ

มติที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่  ๒  เรื่องรับรองรายงานการประชุม

มติที่ประชุม -

วาระที่  ๓ เรื่องติดตามรายงานการประชุม

มติที่ประชุม -

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา

จากการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรอบปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินการการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค หรือข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อสังเกตอะไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป

อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว : ผู้สอนควรทำจัดให้ผู้เรียนได้เจอกับสถานการณ์วิกฤต อาจจะเป็นการสร้างสถานการณ์จริงหรือบทบาทสมมุติ เพื่อกระตุ้นอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้เรียน ส่วนการเป็นครูที่จะต้องตอบสนองให้นักศึกษาได้ชวนคิดนั้นควรจะมีคำถามในสต๊อกไว้ การที่จะมาสร้างคำถามในทันทีทันใดมักจะให้ผู้ที่ฟังอย่างตั้งใจแล้วได้ฟังไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ตอบสนองทันที ดังนั้นควรจะทำอย่างไรต่อไป คือถ้ามีคำถามไว้ในสต๊อก (stock) คำถาม  เช่น เกิดอะไรขึ้น เป็นอย่างไร จะช่วยให้ได้ฉุดคิดหรือทำให้นักศึกษาได้เกิดความคิดขึ้นมาได้  ส่วนในตัวคำถามที่ว่า ทำไม คิดว่าควรใช้ได้ ขึ้นอยู่กับน้ำเสียง และท่าที ซึ่งคิดว่าน่าจะไม่เป็นไร ซึ่งจะเห็นได้ถึงการตระหนักรู้ในตนเอง สะท้อนเหตุการณ์ทุกประเด็นทำให้เกิด ความรู้สึกจากการสะท้อนคิดในรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยนำเอากระบวนการสะท้อนคิด ๖ ขั้นตอนของ Gibb-cycle มาประยุกต์ใช้ และรวมถึงถ้านำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง  ๗ ขั้นตอน มาทำเป็นรูปแบบ Model ของวิทยาลัยฯก็น่าจะเป็นจุดยืน หรือโอกาสที่ดีมาก

อาจารย์ดร. ปฐพร แสงเขียว : คุณสมบัติของผู้สอน อาจจะถูกส่งต่อในเรื่องภาพส่วนบุคคลต่อๆกันมา ในส่วนตัวจึงได้มีวิธีการโดยการปรับตัวเอง ด้วยการเปลี่ยนท่าที และการสังเกตลักษณะท่าทีของผู้เรียน  การให้กำลังใจ จากการสะท้อนคิดการฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิต จะเห็นถึงความแตกต่างกันมาก เห็นได้ว่าในรายวิชาภาคทฤษฎี การสะท้อนคิดของนักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนรายงานสะท้อนคิดที่อ่าน ไม่แล้วแสดงออกถึงความสามารถในการสะท้อนคิดได้จริง แต่เมื่อนักศึกษาได้ลงรายวิชาภาคปฏิบัติ ส่วนมากจะใช้วิธีการโดยการตั้งคำถามเพื่อให้กระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการสะท้อนคิด “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง, เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น,นักศึกษารู้สึกอย่างไร, แล้วนักศึกษาจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร จะเห็นได้ว่านักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในทิศทางที่ทำให้ตัวเองเปลี่ยนเช่น เมื่อให้กำลังใจนักศึกษาก็จะกล้าพูดกล้าคิดและ กล้าแสดงออก จึงมีการสะท้อนความรู้สึกได้  โดยฝึกให้นักศึกษาได้พูด ไม่ว่าจะถูกหรือผิด และจะเปิดใจกว้างรับฟังสิ่งที่นักศึกษาได้พูดและทำ  ทำให้นักศึกษาได้มีการสะท้อนและเกิดการรับรู้เรียนรู้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้  ส่วนการตั้งคำถาม เป็นสิ่งที่ยากมาก ยังต้องพัฒนาต่อไป คุณสมบัติของผู้เรียนข้อ ๓ กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน ก็ยากมากที่จะมาบอกเรื่องความเชื่อของตนถ้าไม่มีทฤษฎีมารองรับในส่วนนี้ก็ต้องพัฒนานักศึกษาในขั้นต่อไป และในปีการศึกษานี้อาจจะนำการใช้สถานการณ์ที่วิกฤตจริง การใช้กลยุทธ์กระตุ้นการคิดวิเคราะห์การคิดด้วยภาพ Visual thinking strategic และฝึกสติเพื่อให้มีการรับรู้ดี (Mind fullness) ด้วยวิธีการเดินจงกรม (Walking the labyrinth) สะท้อนคิดให้กับผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีกับ รายวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วย และจะจัดทำเป็นคู่มือก่อนการฝึกปฏิบัติให้อาจารย์ผู้ร่วมสอนใน (ภาคปฏิบัติ) ได้ใช้คู่มือเป็นแนวทางในการฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการคิด ๗ ขั้นตอน หรืออาจารย์ท่านใดที่สนใจอยากร่วมกันสอนในภาคปฏิบัติก็สามารถมาร่วมด้วยได้เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเรียนรู้กระบวนการ Reflective learning เพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาจะยังไม่ต่อเนื่องตาม ๗ ขั้นตอน เนื่องด้วยติดวันหยุดราชการ (วันสงกรานต์) ทำให้ในการฝึกปฏิบัติเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดกระบวนการคิดไม่ต่อเนื่องด้วย

อาจารย์ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง : การสะท้อนคิดจะ เห็นได้ว่านักศึกษามีแรงตกกระทบจิตใจที่แตกต่างกันออกไป การที่จะมาใช้คำถามเดียวกันก็อาจจะใช้ไม่ได้ผลและทำให้ไม่ได้เกิดการสะท้อนคิด และการสะท้อนคิดก็จะแตกต่างกันออกไปซึ่งคุณลักษณะของนักศึกษาควรมีดังต่อไปนี้

๑. นักศึกษาควรมีลักษณะช่างสังเกต ไวต่อบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

๒. นักศึกษาควรมีเข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเองและต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

๓. นักศึกษาควรมีพื้นฐานความรู้ ความกล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน

๔. นักศึกษาควรมีฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และใคร่ครวญตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

๕. นักศึกษาควรคิดเป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อที่สร้างได้ค่อนข้างยาก

๖. นักศึกษาควรฝึกใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้ให้เป็นเหตุเป็นผล

๗. นักศึกษาควรประเมินตนเองให้ได้โดยการฝึกคิดในการเปรียบเทียบจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา กับเหตุการณ์ปัจจุบันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง นักศึกษาได้รับประสบการณ์ใหม่ในประเด็นใดบ้างทั้งด้านความรู้ ความคิด และความเชื่อ

และควรมีแบบวัดหรือประเมินคุณสมบัติผู้เรียน วัดคุณสมบัติทั้ง ๗ ข้อใน ๑ แบบประเมิน เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น Model หรือเตรียมทั้งผู้เรียนและเตรียมทั้งผู้สอน

ควรมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้

ดังนั้นถ้าได้ในขั้นตอนต่อไป จะนำไปทำการวิจัยในโอกาสต่อไปเพื่อพัฒนาและเป็นรูปแบบ (Model) ของวิทยาลัยฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปได้

อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาฝึกปฏิบัติ พบว่านักศึกษาเขียนรายงานการสะท้อนคิดมาในรูปแบบเดียวกัน เหมือนปฏิบัติตามกันมา จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่แท้จริง ดังนั้นผู้สอนควรจะจัดการโดยการกระตุ้นให้เห็นสถานการณ์ตัวอย่างจริง เช่นกรณีรับน้องใหม่ หรือจัดให้มี OSCEE  ในเด็กที่จะเปิดการศึกษาใหม่นี้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน  ส่วนตัวในการฝึกภาควิชาปฏิบัติให้ดู VDO ก่อนขึ้นฝึกจริง และมีการตั้งคำถามแต่ละหัวข้อๆและให้สรุปการสะท้อนคิดนั้นมาตามหัวข้อคำถามที่ให้ไป

อาจารย์สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ การฟังอย่างตั้งใจ โดยมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีอิทธิพลทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่ไม่จริงหรือการสะท้อนคิดเชิงวิชาการไปมากกว่า สะท้อนได้จริงและความแตกต่างระหว่างผู้สอนและพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคนถ้าปิดกั้นก็จะไม่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดได้เลย

อาจารย์สุกัญญา ม่วงเลี้ยง: จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้ในช่วงการตั้งคำถาม เพื่อให้ได้การสะท้อนคิดออกมาแต่ในเรื่องบริบทหรือสถานที่ไม่เอื้ออำนวยเช่น มีเสียงรบกวน หรือญาติ คนไข้ รวมกันอยู่จำนวนมาก ก็จะทำให้นักศึกษาเกิดการสะท้อนออกมาได้ไม่จริงตามการสะท้อนคิด

อาจารย์กันตวิชญ์    จูเปรมปรี: จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้การสะท้อนคิดในรายวิชากระบวนการคิดนั้นจำนวนนักศึกษาในกลุ่มมีจำนวนมาก ทำให้บริบทที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดเป็นไปได้ไม่ค่อยจริง

อาจารย์พัชรินทร์ วงษ์สว่าง: จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้การสะท้อนคิดในรายวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ ของอาจารย์ จิระภา สุมาลี  นั้น โดยผู้สอนได้บทบาทเป็นผู้ตั้งคำถาม และมอบหมายกรณีศึกษาและให้นักศึกษาจับคู่ แสดง บทบาทการเป็นผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับบริการ ผู้สอนเป็นผู้สังเกตการณ์ จากนั้นจะทำให้นักศึกษาได้สะท้อนมุมมองและ ช่วยให้นักศึกษาได้สำรวจตนเอง ของนักศึกษา ทั้ง ๒ ฝ่าย และทำให้ได้ทราบข้อดีและข้อเสนอแนะจากการสะท้อนคิดนั้นได้จริง แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องเวลา

มติที่ประชุม: รับทราบ และนำไปเป็นแนวทางการ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องหารือที่ประชุม

มติที่ประชุม: -

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

มติที่ประชุม: -

ปิดประชุม เวลา  ๑๕.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………ผู้ช่วยบันทึกการประชุม

(นางพัชรินทร์  วงษ์สว่าง)

ลงชื่อ…………………………………ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง)

ประธานที่ประชุม