• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

12/03/2013

การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ

๘. นางสาวพัชชา ????????? สุวรรณรอด??????????????? ผู้ช่วยเลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน

๒.?? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการความรู้เรื่อง? การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการส่งเสริมสุขภาพและการวิจัย ภาควิชาควรมีการทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ ตามขั้นตอนดังนี้

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

?????????????????? ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การแสวงหาข้อมูล

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัย และการบริการวิชาการ สรุปได้ดังนี้

การบูรณาการ หมายถึง การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ? ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน

การวิจัย หมายถึง? กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา? มีการเก็บรวบรวมข้อมูล? การจัดระเบียบ ข้อมูล? การวิเคราะห์และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์? ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง

???????????????????????????? การบริการวิชาการ หมายถึง การให้บริการทางวิชาการแก่ทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สังคม โดยอาศัยความรู้และความสามารถทางวิชาการตลอดจนการสร้างหรือเสริมประสบการณ์ในการประยุกต์วิชาการให้เหมาะสมกับสังคมไทยและการเรียนการสอนในวิทยาลัย

การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้ประชาชน สามารถเพิ่มการควบคุมสุขภาพ และทำให้สุขภาพดีขึ้น การจะบรรลุถึงสภาวะสุขสบาย ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ปัจเจกชน หรือกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถที่จะพอใจในสิ่งที่ตนปรารถนา และที่จะปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

การประเมินผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ?? การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริงตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง เรียนรู้ทั้งแบบเรียนคนเดียวและเรียนเป็นกลุ่มจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองและเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (บูรณาการ) ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ดังกล่าวจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริง นั่นคือการที่จะต้องนำลักษณะที่สำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้จึงจะเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งน่าจะมีการประเมินความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ การประเมินด้านกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ (การวิจัยอย่างง่าย) กระบวนการกลุ่ม กระบวนการประเมินผล คุณธรรมจริยธรรม ความตั้งใจ ความใส่ใจ คุณภาพของผลงานโดยใช้วิธีการ เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย ต่อเนื่องตลอดเวลาตามกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการสังเกตใช้แบบตรวจสอบรายการ ใช้แบบประมาณค่า การบันทึกการปฏิบัติงาน การประเมินคุณภาพชิ้นงานและอาจมีการประเมินด้านความรู้ควบคู่กันไปด้วย โดยการประเมินจะกระทำร่วมกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งผลการประเมินเหล่านี้ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

?๑) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำ? คู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ????????????????????????????????????????????????????

๒) เพื่อพัฒนาให้ครู อาจารย์ในสถานศึกษา ให้สามารถจัดแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหา? วิชาต่าง ๆ? มาเพิ่มประสิทธิภาพการนำไปประกอบอาชีพตามต้องการ?????? ?????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????????

๓) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาวิชาชีพแบบองค์รวม มีความสามารถทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ? ทักษะในประกอบอาชีพได้ครบวงจรในแต่ละชั้นปีรวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรม???

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ? ?หมายถึง? การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่าง ๆ? ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่าง ๆ? มาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ ?มาใช้ในชีวิตจริงได้? สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ? ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม? สามารถนำความรู้? ทักษะ? และเจตคติไป?? สร้างงาน? แก้ปัญหา? และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง??????????????????????????????????????????????? ????????

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑) สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ? ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยว ๆ? มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้? ทักษะจากหลาย ๆ? ศาสตร์?? มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????? ๒) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ? เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้? (Transfer? of? learning)? ของศาสตร์ต่าง ๆ???? เข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้????????????????????? ??????????????????????????????????????

๓) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ ๆ? เพิ่มขึ้น??????????????????????????????

๔) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลาย ๆ? ด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ ?แบบพหุปัญญา? (Multiple intelligence)????????????? ?????????? ??????????????????

๕) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน(Constructivism) ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

อาจารย์ในภาควิชาแสดงความคิดเห็นว่า หากมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะต้องมีเวลาในการบริหารจัดการและจะต้องมีรูปแบบการวัดละประเมินผลที่ชัดเจน ภาพวิชามีแผนในการบูรณาการการเรียนการสอนกับในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ และการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แต่ช่วงเวลาที่สอน กับจังหวะบางช่วงไม่เอื้อหนุน??? อีกทั้งลักษณะรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ นั้นค่อนข้างยาก? และการบูรณาการควรจัดทำในรายวิชาภาคปฏิบัติของนศ.ปีที่ ๓ ได้แก่รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ เนื่องจากมีการฝึกที่แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ และแผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ ในรายวิชานี้มีเวลาพอที่นักศึกษาจะสามารถเข้าไปบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้

?????????????????? ชุมชนที่ภาควิชาเลือกในการบริการวิชาการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ชุมชนนาโปร่ง เพราะเป็นชุมชนต้นแบบของวิทยาลัยฯ

?????????????????? ในการจัดทำโครงการบริการวิชาการกับการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการเรียนการสอน ควรมีการจัดทำงานวิจัยเพื่อเป็นการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมและจะได้นำผลงานวิจัยนั้นมาพัฒนารูปแบบในปีการศึกษาต่อไป

???? ???? ๓.๒การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และการสังเคราะห์ความรู้
? ???????????????? แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัยและการส่งเสริมสุขภาพ

???????????????????????????? ๑) ?การต่อยอดงานที่มีความสนใจและชำนาญ จะทำให้เกิดงานบริการที่มีคุณภาพและจะเป็นการสร้างเครือข่าย โดยในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ในชุมชนนาโปร่งพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเองยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นควรมีการจัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์

๒) การบริการวิชาการเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน/องค์กร ?โดยทางภาควิชาได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา ผู้นำชุมชน? อสม. อาจารย์ และผู้มีประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมของการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

?๓) การบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน ต้องมีหลักฐานประกอบด้วย ประมวลการสอน และการสรุปผลว่าได้อะไรจากการบริการวิชาการเพื่อมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

๔) การบูรณาการการบริการวิชาการกับงานวิจัยต้องมีหลักฐานเป็นงานวิจัย การประเมินผล และการสร้างความยั่งยืนได้

๕) การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นการดำเนินงานบริการวิชาการต้องอยู่ในรูปแบบของการมีส่วนร่วม และผลลัพธ์ที่ได้ต้องสร้างให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ (ความเข้มแข็ง) ซึ่งในการจัดทำโปรแกรมนี้เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย เน้นการสอนแบบ coaching และสาธิตย้อนกลับ หลังจากนั้นควรแจกคู่มือการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และจะต้องมีการติดตามประเมินความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินถึงความยั่งยืนขององค์ความรู้

๖) จัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ เนื่องจากมีระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ควรจัดให้บริการวิชาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในขณะที่ฝึกแผนกฝากครรภ์ และควรจัดในวันพฤหัสบดีเนื่องจากไม่มีการฝึกปฏิบัติบนคลินิก

๗) มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา และผู้นำชุมชน?

๘) การเลือกวิชาที่นำมาบูรณาการกับการวิจัยควรเป็นวิชาที่มีการปฏิบัติจริง นักศึกษาจะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และเรียนรู้ระเบียบวิธีการวิจัยควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน

๙) การบูรณาการควรบูรณาการทั้งเนื้อหาและกระบวนการ คือ การวิจัยและวิธีการสอนจะใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน และการเดินเนื้อเรื่องจะใช้องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเข้ามา

๑๐) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคมสามารถทำได้โดย

การนำผลงานจากการเรียนการสอนมาพัฒนาต่อยอดและนำไปเป็นองค์ความรู้ในการบริการทางวิชาการแก่สังคม และใช้การวิจัยควบคู่ในการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
????????? มติที่ประชุมมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบรายวิชาให้สอดคลอดพันธกิจอื่นๆ และมอบหมายให้หัวหน้าโครงการวิจัยดำเนินการเขียนโครงร่างการวิจัยเสนอเพื่อขอรับทุนการวิจัยจากวิทยาลัยฯ

ปิดการประชุม เวลา ๑๖.๐๐ น.

…………………………………………

(นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์)

??? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

02/03/2012

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

เรียบเรียงโดย นิกร?? จันภิลม

โรคพิษสุนัขบ้า [Rabies] เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมากเกิดจากถูกสัตว์กัด หรือข่วนเชื้อจากน้ำลายของสัตว์เข้าได้ทางผิวหนังที่เป็นแผลเป็น หรือรอยขีดข่วนหรือทางเยื่อเมือกต่างๆโดยมีอัตราการตายสูงมากหากรอจนเกิดอาการจึงต้องป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไว้ก่อน หากสงสัยว่าสัตว์ที่กัดอาจมีเชื้ออยู่ระยะฟักตัวของหลังการได้รับเชื้อนานประมาณ30-90 วันโดยอาจมีอาการไม่จำเพาะนำมาก่อน10 วันแล้วจึงตามด้วยอาการของระบบประสาท เช่น อาการวุ่นวาย สับสน อาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอทำให้กลืนน้ำลำบาก มีไข้ เวลาถูกลมจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า ชัก และอัมพาตของกล้ามเนื้อต่างๆ และเสียชีวิต ระยะฟักตัวอาจจะสั้นเพียง 10 วันถ้าแผลนั้นอยู่บริเวณใบหน้า คอ แขน หลังถูกกัดเชื้อยังอยู่บริเวณแผลระยะหนึ่งก่อนซึ่งการให้ rabies immune globulin ที่บริเวณแผลอาจช่วยกำจัดเชื้อได้ เชื้อไวรัสจะเดินทางตามเส้นประสาท ควรทำความสะอาดบาดแผลที่ถูกกัดหรือถูกข่วนด้วยน้ำสะอาดและสบู่หรือผงซักฟอกแล้วเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70%และใส่ยา povidone-iodineขั้นตอนนี้สำคัญมากเพราะเป็นการลดจำนวนเชื้อและควรฉีด

วัคซีนป้องกันบาดทะยัก

การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า rabies vaccination ในคน

1. การป้องกันแบบล่วงหน้าหรือ pre-exposure ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงหรือสัมผัสสัตว์ เช่นสัตวแพทย์ แพทย์ หรือผู้ดูแลสัตว์ในสวนสัตว์ วิธี ฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนังในวันที่ 0,7,21

2. การป้องกันเมื่อโดนสุนัขหรือสัตว์กัดไปแล้ว หรือ post-exposure vaccination วิธี ดูตามลักษณะแผลเป็นกลุ่มตาม WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้เป็น กลุ่ม I ,II,III

กลุ่ม I แผลข่วนถลอก ไม่มีเลือด ให้วัคซีนในวันที่ 0,3,7,14,28 ทั้งหมด 5 ครั้ง แบบเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง

กลุ่ม II แผลมีเลือดออก

กลุ่ม III แผลฉีกขาดชัดเจน

กลุ่มII และกลุ่ม III นอกจากจะได้วัคซีนแบบกลุ่มแรก จำเป็นต้องฉีด RIG หรือ Rabies Immunoglobulin ด้วย ซึงแบ่งเป็นของคน และของม้า (HRIG และ ERIG) ของคนจะแพง แต่แพ้น้อยกว่า แต่ต้องระวังติดโรคอื่นๆจากซีรั่มของคนด้วย ส่วนของม้า ก็ถูก แต่ต้องระวังการแพ้อย่างรุนแรง

วัคซีนในปัจจุบัน ผลิตโดยกรรมวิธี recombinant ได้วัคซีนบริสุทธิ์ที่ไม่ต้องเพาะในสัตว์ทดลองหรือในไข่ ปลอดภัยจากการแพ้โปรตีน มีสองชนิดคือ PCEC และ TRCS ในกรณีที่ไม่มั่นใจ แต่สามารถกักสัตว์ได้ หรือสัตว์มีเจ้าของให้ดูอาการ 7 วันระหว่างนั้นก็ฉีดวัคซีนในวันที่ 0,3,7 ถ้าสัตว์ตาย ฉีดให้ครบ 5 เข็ม ถ้าสัตว์ไม่ตาย ฉีดวันที่ 21 อีกเข็ม ก็จะเป็นแบบ pre-exposure กันได้ 2 ปี ระหว่างนี้ถ้าโดนสัตว์กัด ก็ สามารถฉีดเป็น booster (กระตุ้น)ได้โดยฉีดแค่2 เข็มวันที่ 0,3 ทุก 2 ปี

แนวทางพิจารณาว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่

1.หากเป็นสัตว์เลี้ยงและอาการปกติให้สังเกตเป็นเวลา 10วันถ้าเป็นปกติไม่น่าจะมีการติดเชื้อ

2. สัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าอาจจะแพร่เชื้อได้เหมือนกันถ้าวัคซีนที่ได้รับนั้นไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสเสี่ยงที่

สุนัขจะมีการติดเชื้อจะลดลงมากหากสุนัขสุขภาพสมบูรณ ์และมีประวัติแน่ชัดว่าได้รับการฉีดที่มีประสิทธิภาพดีมาแล้วอย่างน้อย 2ครั้งในกรณีที่ถูกสุนัขดังกล่าวกัดให้สังเกตอาการของสุนัขประมาณ10วันโดยยัง ไม่ต้องรักษาถ้าสุนัขแสดงอาการป่วยให้รีบรักษาทันที

3. หากเป็นสัตว์ป่าควรจะฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

อาการข้างเคียง ผู้ที่ได้รับวัคซีนอาจมีอาการปวด บวม แดง และคันบริเวณที่ฉีด

อ้างอิง : ชิษณุ? พันธุ์เจริญ และคณะ. 2553. คู่มือวัคซีน 2010 และประเด็นในการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส

http://www.thaihealth.net/h/content-74.html (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิงหาคม 2554)

http://www.siamhealth.net/public_html/vaccination/rabies.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล 31 สิง

กินเพื่อต้านโรค

กินเพื่อต้านโรค

พรรณพิไล? สุทธนะ

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

อาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยเป็นโครงสร้างเล็กๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ ทำให้เซลล์เล็กๆ ในร่างกายสามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์และเป็นพลังงาน? แต่วิถีชีวิตและพฤติกรรมของคนปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคที่มีการแข่งขันสูง? ทำให้คนเราดำเนินชีวิตในแต่ละวันด้วยความเร่งรีบ ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากนัก สะดวก เร็ว อิ่ม เป็นใช้ได้ ?โดยไม่รู้ว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วยความเร่งรีบและไม่ใส่ใจนั้น มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารจำพวกอาหารขยะ เช่น ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม รสหวาน น้ำอัดลม พิซซ่า มันฝรั่งทอด เป็นต้น? ที่มีแต่แป้ง น้ำตาล และไขมันเกินความจำเป็น

เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อมีปริมาณอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ ?นอกจากนี้แป้งและน้ำตาลที่เหลือใช้จะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเมื่อเกิดการสะสมมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายจะเริ่มแปรปรวนและทำงานบกพร่องจนนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น ไขมันที่ไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด จนอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง และการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้? ดังนั้น การกิน จึงไม่ใช่แค่กินอย่างไรให้อร่อย แต่ควรเน้น ?การกินเพื่อต้านโรค? ?โดยเริ่มจากการเลือกกินอาหารที่หลากหลาย ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นการกินธัญพืช ผัก ผลไม้ เป็นหลัก ?เลือกกินแต่ไขมันชั้นดี? ลดหรือเลี่ยงการกินแป้ง น้ำตาล และอาหาร/ขนมที่มีรสเค็ม? ควบคุมปริมาณพลังงานและสัดส่วนสารอาหารในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน 50% ควรมาจาก กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งควรเน้นอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว และธัญพืชต่างๆ อาหารกลุ่มโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ (เน้นปลา) ไข่ และถั่วต่างๆ ควรได้รับประมาณ 15% ส่วนที่เหลือ 35% มาจากไขมันชนิดดี หรือไขมันที่ไม่อิ่มตัว ดังนั้น ถ้าไม่อยากไปหาหมอบ่อยก็เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายประเภทขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีนะค่ะ

อ้างอิง

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และพรทิพย์ เต็มวิเศษ. ยาคืออาหารรักษาโรค ในภูมิปัญญาไทย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4

(มกราคม-กุมภาพันธ์ 2545).

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm

http://www.oknation.net/blog/diamond/2010/09/28/entry-1

การใช้หลักธรรมะในการสร้างเสริมสุขภาพ

การใช้หลักธรรมะในการสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการเกื้อหนุนและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและกลุ่มคนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพของตัวเองและพัฒนาสุขภาพของตัวเอง จะเห็นได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพที่จะได้ผลดี บุคคลและกลุ่มคนต้องเป็นผู้กระทำเอง โดยการสร้างเสริมสุขภาพเป็นแนวคิดที่ชาญฉลาดเพราะเป็นการจัดการให้สุขภาพแข็งแรง มีโอกาสเจ็บป่วยน้อยลง???????? ผลที่ตามมายังส่งผลให้สังคมนั้นเจริญ เศรษฐกิจดี ไม่เป็นภาระ ไม่เป็นที่กังวลใจของบุคคลที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเป็นตัวอย่าง เป็นพลังของครอบครัว กลุ่มและชุมชนอีกด้วย ผู้เขียนได้มีโอกาส อ่านหนังสือธรรมะ ได้พบหัวข้อหลักธรรมะ ทางพุทธศาสนาที่น่าจะนำมา ประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพได้ คือ พละ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา โดย การมีศรัทธา ต้องมีปัญญาเป็นตัวกำกับ เพราะศรัทธาคือความเชื่อ ซึ่งมีข้อดีคือทำให้จิตมีพลัง ทำอะไรก็มีกำลังในการปฏิบัติ ?เช่นเชื่อว่าการออกกำลังกายจะทำให้ตนมีโอกาสห่างไกลจากการเจ็บป่วย แต่ถ้าหมดศรัทธาก็หมดแรง ไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่น การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เสียเวลาหรือทำไม่ได้ ?แต่ถ้าศรัทธาแรงกล้า ไม่มีปัญญามากำกับ จะเกิดปัญหางมงาย หลงใหลได้ เช่น การรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเองอาจเกิดโทษกับร่างกายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อมีปัญญามากำกับก็จะกระทำอย่างมีเหตุผล พอเหมาะพอดี ถ้ามีปัญญา คือ รู้ เข้าใจ รู้ประโยชน์ รู้ความจำเป็น แต่ไม่เอาจริง จะจับจดกับสิ่งที่รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้จึงไม่เกิดการปฏิบัติให้เป็นผล เพราะขาดพลังศรัทธา ทั้งสองต้องเกื้อกูลกัน

ดังนั้นเมื่อเราศรัทธาต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เราจะมีกำลังในการปฏิบัติพฤติกรรม ร่วมกับการหนุนด้วยปัญญาคือ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติ พิจารณารู้ถึงปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดความเจ็บป่วย? เราก็จะเกิดแนวทางปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมอย่างมีพลังได้

ในส่วนของ วิริยะต้องใช้คู่กับสมาธิ เพราะวิริยะคือความเพียร โดยมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ไม่พลัดวันประกันพุ่ง สมาธิคือความแน่วแน่ สงบอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งเร้ารอบข้าง ?ดังนั้นเมื่อเพียรปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจะกระทำได้ก้าวหน้า เพราะเห็นว่าการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งท้าทาย มีประโยชน์ มีพลังที่จะเอาชนะแต่ต้องคุมด้วยสมาธิ คือ ต้องเป็นไปอย่างสงบมั่นคง ไม่ใช่ท้าทายเอาชนะด้วยความเพียรแบบกระวนกระวาย ในทางตรงข้ามถ้ามีเฉพาะสมาธิไม่มีวิริยะก็จะทำให้นิ่งเฉื่อยชา ไม่เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีทั้งวิริยะและสมาธิอย่างสมดุลกัน

การปรับสมดุลการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้หลักธรรม พละ 5 ต้องใช้ควบคู่กัน คือ ศรัทธาคู่กับปัญญา วิริยะคู่กับสมาธิ และต้องมีสติคอยตรวจสอบว่าหลักธรรมข้อใดที่หย่อนหรือตึงไม่เสมอกัน เมื่อรับรู้แล้วให้รู้ปรับให้สมดุล ก็จะช่วยส่งผลให้การปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพสำเร็จได้โดยก่อประโยชน์ที่อย่างแท้จริง

บรรณานุกรม

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). สมาธิแบบพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่) 8 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด.

วัลลา? ตันตโย.(2543).ทฤษฎีที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. ในสมจิตร หนุเจริญกุล

วัลลา ตันตโย และนวมพร คงกำเนิด(บรรณาธิการ).การส่งเสริมสุขภาพ: แนวคิดทฤษฎีและ

การปฏิบัติการพยาบาล.นครศรีธรรมราช:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สกุณา? บุญนรากร.(2552).การสร้างเสริมสุขภาพ แบบองค์รวมทุกช่วงวัย.(พิมพ์ครั้งที่2).สงขลา:

เทมการพิมพ์.

นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์?? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro