กินเพื่อต้านโรค

พรรณพิไล? สุทธนะ

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

อาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยเป็นโครงสร้างเล็กๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ ทำให้เซลล์เล็กๆ ในร่างกายสามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์และเป็นพลังงาน? แต่วิถีชีวิตและพฤติกรรมของคนปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคที่มีการแข่งขันสูง? ทำให้คนเราดำเนินชีวิตในแต่ละวันด้วยความเร่งรีบ ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากนัก สะดวก เร็ว อิ่ม เป็นใช้ได้ ?โดยไม่รู้ว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วยความเร่งรีบและไม่ใส่ใจนั้น มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารจำพวกอาหารขยะ เช่น ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม รสหวาน น้ำอัดลม พิซซ่า มันฝรั่งทอด เป็นต้น? ที่มีแต่แป้ง น้ำตาล และไขมันเกินความจำเป็น

เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เมื่อมีปริมาณอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ ?นอกจากนี้แป้งและน้ำตาลที่เหลือใช้จะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเมื่อเกิดการสะสมมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายจะเริ่มแปรปรวนและทำงานบกพร่องจนนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น ไขมันที่ไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด จนอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง และการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มมากก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้? ดังนั้น การกิน จึงไม่ใช่แค่กินอย่างไรให้อร่อย แต่ควรเน้น ?การกินเพื่อต้านโรค? ?โดยเริ่มจากการเลือกกินอาหารที่หลากหลาย ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นการกินธัญพืช ผัก ผลไม้ เป็นหลัก ?เลือกกินแต่ไขมันชั้นดี? ลดหรือเลี่ยงการกินแป้ง น้ำตาล และอาหาร/ขนมที่มีรสเค็ม? ควบคุมปริมาณพลังงานและสัดส่วนสารอาหารในแต่ละวัน โดยเฉลี่ยพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน 50% ควรมาจาก กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งควรเน้นอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว และธัญพืชต่างๆ อาหารกลุ่มโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ (เน้นปลา) ไข่ และถั่วต่างๆ ควรได้รับประมาณ 15% ส่วนที่เหลือ 35% มาจากไขมันชนิดดี หรือไขมันที่ไม่อิ่มตัว ดังนั้น ถ้าไม่อยากไปหาหมอบ่อยก็เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายประเภทขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีนะค่ะ

อ้างอิง

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และพรทิพย์ เต็มวิเศษ. ยาคืออาหารรักษาโรค ในภูมิปัญญาไทย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4

(มกราคม-กุมภาพันธ์ 2545).

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm

http://www.oknation.net/blog/diamond/2010/09/28/entry-1