30/01/2015
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2557 ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ โดยวิทยากรผู้บรรยายคือ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถนำมาสรุปผลการถอดบทเรียนได้ดังนี้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน เป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ? ? เตรียมการ
ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่
1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน ซึ่งคู่มือควรประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)
2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดีควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้
2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ
2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน
2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น
2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้
3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?
3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ
3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้
4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม
1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน
4.3? สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
ขั้นที่ 2 ? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)
ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้
Step 1 : Clarifying ?terms ?and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
Step 2 : Identify ?the ?problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์
Step 3 : Analyse ?the ?problem ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา
Step 4 : Formulate ?hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ
Step 5 : Formulate ?learning objectives ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ
Step 6 : Collect ?additional ?information ?outside ?the ?group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนต่างแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ระยะที่ 3 : ปิดโจทย์ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ
Step 7: Synthesize and test the newly acquired and indentify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต
ขั้นที่ 3 ? ? ประเมินผล ประกอบด้วย
1. ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
2.? ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.? ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
4.? โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
27 มกราคม 2558