• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

02/03/2016

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ?ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

6. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ???????????????????????? ? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 14.00 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ 8 กันยายน 2558)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมอย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้แสดงได้แสดงบทบาทสมมติได้อย่างสมจริง คือ การกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัตการแท้งและผ่าตัดคลอดที่ละเอียดดังนี้

ประวัติการแท้ง

ครรภ์ที่ 1 อายุครรภ์ 1 เดือนแท้งเอง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ได้รับการขูดมดลูกที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังแท้งไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุมกำเนิดโดยการฉีดยาคุมกำเนิด

ประวัติการผ่าดัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ครบกำหนด คลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าขวาง เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2558 ที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังผ่าตัดไม่มีอาการตกเลือดหรือติดเชื้อ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองอยู่ในตู้อบ 3 วัน ปัจจุบันสุขภาพแข็งแรงดี ได้รับนมมารดานาน 6 เดือน คุมกำเนิดด้วยวิธีการฉีดยาคุมกำเนิด

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ???..สุกัญญา ม่วงเลี้ยง????????..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???วรรณวดี เนียมสกุล?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

01/03/2016

การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย?

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

กลุ่มงานวิจัยฯวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางประภาพร มโนรัตน์??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.นายนภดล? เลือดนักรบ? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียง????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๔.นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ การบริหารงานวิจัย ไปใช้

  • ? นางประภาพร? มโนรัตน์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.ทำความเข้าใจขอบเขตและกระบวนการดำเนินงานการผลิตผลงานทางวิชาการ การวิจัย/งานสร้างสรรค์ ตำราที่ตนเองสนใจ

๒. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจ วิถีชีวิตและความสนใจ

๓. มีวินัยและกำกับตนเองให้งานเป็นไปตามแผน

๔.ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและปรับพัฒนางานและแผน

๕.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

๖. ศึกษาเรียนรู้แนวทางการจัดการจากผู้รู้ที่สำเร็จในการขับเคลื่อนงานทั้งโดยการขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเอกสารของผู้ที่สำเร็จในด้านต่างๆเช่น การเขียนโครงร่าง การเบิกจ่ายต่างๆเป็นต้น

ผลการนำไปใช้

บริหารขับเคลื่อนได้ดีและเป็นระบบ? มีความสุขในการทำวิจัย

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนทำให้ล้าและคิดงานไม่ออกและทำให้งานล่าช้า

ปัจจัยความสำเร็จ

ชอบและแรงบันดาลใจในการทำวิจัยและวิทยาลัยเอื้อในการทำวิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัยนั้น ได้ยึดหลักการอภิปรายผล โดยเน้นการอภิปรายให้เห็นผลการศึกษาของตนมีความโดดเด่นสอดคล้องและแตกต่างกับผลการศึกษาของคนอื่นอย่างไร ด้วยเหตุผลใดจะนำไปสู่แนวปฏิบัติในการดำเนินงานหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังเน้นว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของผู้รู้อย่างไร ให้เป็นเชิงประจักษ์ และไม่ทิ้งความสำคัญของการอภิปรายที่เอาข้อมูลภายในงานวิจัยที่เป็นข้อค้นพบทั้งคุณลักษณะประชากรและผลการศึกษามาสนับสนุนการอภิปรายด้วย จะทำให้เกิดสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยได้อย่างเชิงประจักษ์เกิดประโยชน์กับผู้อ่านที่มาเรียนรู้ในชิ้นงานมากขึ้น

  • ? นายนภดล เลือดนักรบ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงาน

๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต

๓.เลือกทีมวิจัยที่มีคุณลักษณะบุคคลและความสนใจคล้ายกันเพื่อให้งานราบรื่นและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันกว้างขวางขึ้น

๔.เรียนรู้จากผู้รู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการวิจัยตลอดจนการเบิกจ่ายได้

๕.ทำงานให้เป็นระบบ

ผลการนำไปใช้

ทำวิจัยได้ตามเป้าหมายแผนที่วางไว้

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้การดำเนินช้าบ้าง ในบางช่วง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้มีหลักการอภิปรายผลคือ อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ

  • ? นางสาวปฐพร แสงเขียว ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับความสนใจและความเชี่ยวชาญของตนเอง

๒. เลือกทีมวิจัยที่มีความสนใจร่วมกัน

๓.เรียนรู้แนวทางบริหารจัดการด้านที่ยังไม่เข้าใจจากผู้รู้และคู่มือวิจัย

๔.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ผลการนำไปใช้

จัดระบบการทำวิจัยของตนเองได้

ปัญหาอุปสรรค

มีภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้เกิดการดำเนินไม่ตามแผนบ้าง ในบางช่วง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ

  • ? นายอรรถพล? ยิ้มยรรยงค์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้

๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงานและปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยง

๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต

๓.ทำงานร่วมกับทีมวิจัยที่มีความสนใจคล้ายกันและติดต่อปรึกษากันง่าย รวมถึงทำงานร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง

๔.เรียนรู้จากผู้รู้หลากหลายเพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำวิจัย

๕.ทำงานให้เป็นระบบตามแผน

ผลการนำไปใช้

ได้เรียนรู้และทำวิจัยได้ โดยในปีนี้ได้เสนอโครงร่างวิจัยที่เป็นหัวหน้าโครงการ

ปัญหาอุปสรรค

ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมีมาก ไม่มีเวลาบางช่วง งานชะงักบ้าง

ปัจจัยความสำเร็จ

วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัยและมีอาจารย์พี่เลี้ยง มีศูนย์เรียนรู้วิจัย

สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น แนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงข้อค้นพบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ?????????????.

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

เลขานุการการประชุม

ลงชื่อ???????????????.

(นางประภาพร มโนรัตน์)

หัวหน้าฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๕.๐๐ น. ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ ๑/255๙

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ 255๙ เวลา ๑๓.00 ? 1๕.00 น.

ห้องภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????????? ประธาน

๒. นายนภดล เลือดนักรบ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางสาวสุปราณี หมื่นยา???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ????????????????? เลขานุการ

๔. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????????????? ผู้ช่วยเลขาฯ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

เปิดประชุมเวลา?????????? ๑๓.00 น.

ประธานการประชุม?????? หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. สำหรับประเด็นการจัดการความรู้ที่วิทยาลัยกำหนด ให้ภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในประเด็น Humanize ซึ่งภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพได้ดำเนินการในหัวข้อดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ภายใต้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยในครั้งนี้ภาควิชาฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ในประเด็นเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Humanize ดังนั้นจึงนำความรู้ที่ได้รับสู่การจัดการเรียนการสอนในกิจกรรมและการจัดการเรียนการสอนในภาควิชา ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งขอความร่วมมือให้อาจารย์ในภาควิชามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับตามประเด็นดังกล่าว

ติที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี

วาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากฝ่ายต่างๆ

- ไม่มี

วาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี

วาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

๑. สรุปองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ของภาควิชา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘

อาจารย์ในภาควิชาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี หัวข้อ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการ Humanistic health care มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งผลของการจัดการเรียนการสอนเป็นดังนี้

๑.๑ ?โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งดำเนินการในวันที่ ๒๒ ? ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ โดยรูปแบบของกิจกรรมเริ่มต้นจากการให้โอวาทเรื่อง การเตรียมความพร้อมการฝึกภาคปฏิบัติและการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และปฐมบทอัตลักษณ์บัณฑิตนำทางแนวคิด เรื่อง ?สร้างมหัศจรรย์ชีวิตด้วยการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตเมตตา? จากนั้นมีการปรับรูปแบบกิจกรรมโดยการสอดแทรกแนวคิด การสะท้อนคิด (Reflective thinking) ภายใต้หัวข้อ ?สะท้อนคิด : พัฒนา service mind ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม? ให้มีความเชื่อมโยงกับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เนื่องจากแนวคิดการสะท้อนคิด อาจารย์ในภาควิชาเห็นร่วมกันว่าการสะท้อนคิดเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติได้

๑.๒ โครงการฝึกภาคปฏิบัติ รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ? ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สำหรับการสอนภาคปฏิบัติ อาจารย์สอดแทรกการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไว้ในการปฏิบัติการพยาบาลเรื่องต่างๆ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล และการศึกษาผู้ป่วยกรณีศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจปัญหาความต้องการของผู้ป่วยตามบริบทและเงื่อนไขของผู้รับบริการที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิต บูรณาการความรู้ตามทฤษฎีกับความรู้จากชีวิตจริงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดจากการทำกิจกรรมในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ เพื่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนในการให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

๑.๓ โครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุที่บ้าน ที่ดำเนินการในระยะที่ ๑ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ และระยะที่ ๒ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษาให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเป็นติดตามและประเมินการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยในการดำเนินโครงการครั้งนี้ทำให้นักศึกษาสามารถนำประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสุขภาพกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมความรู้และทักษะในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในชุมชน และกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน และพัฒนาสมรรถนะเชิงวิชาชีพการพยาบาล และเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางปัญญา โดยการสอนแบบบูรณาการด้ายหัวใจของความเป็นมนุษย์เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นปฏิสัมพันธ์และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและผู้รับบริการ โดยมีกระบวนการปรับทัศนคติ การสะท้อนคิดให้เข้าใจความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์กับสังคม โดยผ่านชีวิตจริงของผู้รับบริการ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้เกิดปัญญาภายในบุคคล การทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ของชีวิตตามความเป็นจริง เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ ด้วยความเข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้เรียน เป็นการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยใช้กระบวนการสอนสะท้อนให้ผู้เรียนได้คิด เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ เปิดความคิดของผู้เรียนให้คิดตามความเป็นจริง ไม่ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ไปตัดสิน เป็นความคิดที่มาจากมุมมองของผู้รับบริการ ลดอคติของตนเองลง เห็นความจริงชัดเจนขึ้น เกิดการคิดวิจารณญาณ (critical thinking) เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์มากขึ้น ผู้เรียนเกิดการยอมรับในความเป็นตัวตนของผู้รับบริการ เข้าใจและรู้ถึงปัญหาและมุมมองของชีวิตผู้รับบริการ ส่งผลทำให้เกิดการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่เป็นการพยาบาลแบบองค์รวม

ประธานกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านและกล่าวปิดการประชุม

ปิดการประชุมเวลา ?????? 1๕.๐0 น.

………..สุปราณี…หมื่นยา……….

(นางสาวสุปราณี? หมื่นยา)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

………..ดวงดาว…เทพทองคำ……..

(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro