รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ?ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

6. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ???????????????????????? ? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 14.00 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ 8 กันยายน 2558)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมอย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้แสดงได้แสดงบทบาทสมมติได้อย่างสมจริง คือ การกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัตการแท้งและผ่าตัดคลอดที่ละเอียดดังนี้

ประวัติการแท้ง

ครรภ์ที่ 1 อายุครรภ์ 1 เดือนแท้งเอง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ได้รับการขูดมดลูกที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังแท้งไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุมกำเนิดโดยการฉีดยาคุมกำเนิด

ประวัติการผ่าดัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ครบกำหนด คลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าขวาง เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2558 ที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังผ่าตัดไม่มีอาการตกเลือดหรือติดเชื้อ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองอยู่ในตู้อบ 3 วัน ปัจจุบันสุขภาพแข็งแรงดี ได้รับนมมารดานาน 6 เดือน คุมกำเนิดด้วยวิธีการฉีดยาคุมกำเนิด

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ???..สุกัญญา ม่วงเลี้ยง????????..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???วรรณวดี เนียมสกุล?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์