การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย
รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?การบริหารงานวิจัยและการอภิปรายผลการวิจัย?
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์
กลุ่มงานวิจัยฯวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางประภาพร มโนรัตน์??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒.นายนภดล? เลือดนักรบ? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียง????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๔.นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม
-
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ การบริหารงานวิจัย ไปใช้
- ? นางประภาพร? มโนรัตน์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้
๑.ทำความเข้าใจขอบเขตและกระบวนการดำเนินงานการผลิตผลงานทางวิชาการ การวิจัย/งานสร้างสรรค์ ตำราที่ตนเองสนใจ
๒. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับภารกิจ วิถีชีวิตและความสนใจ
๓. มีวินัยและกำกับตนเองให้งานเป็นไปตามแผน
๔.ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะและปรับพัฒนางานและแผน
๕.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
๖. ศึกษาเรียนรู้แนวทางการจัดการจากผู้รู้ที่สำเร็จในการขับเคลื่อนงานทั้งโดยการขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาเอกสารของผู้ที่สำเร็จในด้านต่างๆเช่น การเขียนโครงร่าง การเบิกจ่ายต่างๆเป็นต้น
ผลการนำไปใช้
บริหารขับเคลื่อนได้ดีและเป็นระบบ? มีความสุขในการทำวิจัย
ปัญหาอุปสรรค
ภาระงานการจัดการเรียนการสอนทำให้ล้าและคิดงานไม่ออกและทำให้งานล่าช้า
ปัจจัยความสำเร็จ
ชอบและแรงบันดาลใจในการทำวิจัยและวิทยาลัยเอื้อในการทำวิจัย
สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัยนั้น ได้ยึดหลักการอภิปรายผล โดยเน้นการอภิปรายให้เห็นผลการศึกษาของตนมีความโดดเด่นสอดคล้องและแตกต่างกับผลการศึกษาของคนอื่นอย่างไร ด้วยเหตุผลใดจะนำไปสู่แนวปฏิบัติในการดำเนินงานหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังเน้นว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีของผู้รู้อย่างไร ให้เป็นเชิงประจักษ์ และไม่ทิ้งความสำคัญของการอภิปรายที่เอาข้อมูลภายในงานวิจัยที่เป็นข้อค้นพบทั้งคุณลักษณะประชากรและผลการศึกษามาสนับสนุนการอภิปรายด้วย จะทำให้เกิดสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยได้อย่างเชิงประจักษ์เกิดประโยชน์กับผู้อ่านที่มาเรียนรู้ในชิ้นงานมากขึ้น
- ? นายนภดล เลือดนักรบ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้
๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงาน
๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต
๓.เลือกทีมวิจัยที่มีคุณลักษณะบุคคลและความสนใจคล้ายกันเพื่อให้งานราบรื่นและเกิดการเรียนรู้ร่วมกันกว้างขวางขึ้น
๔.เรียนรู้จากผู้รู้ที่ให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการวิจัยตลอดจนการเบิกจ่ายได้
๕.ทำงานให้เป็นระบบ
ผลการนำไปใช้
ทำวิจัยได้ตามเป้าหมายแผนที่วางไว้
ปัญหาอุปสรรค
ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้การดำเนินช้าบ้าง ในบางช่วง
ปัจจัยความสำเร็จ
วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย
สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้มีหลักการอภิปรายผลคือ อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ
- ? นางสาวปฐพร แสงเขียว ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้
๑. เลือกประเด็นการวิจัยที่สอดคล้องกับความสนใจและความเชี่ยวชาญของตนเอง
๒. เลือกทีมวิจัยที่มีความสนใจร่วมกัน
๓.เรียนรู้แนวทางบริหารจัดการด้านที่ยังไม่เข้าใจจากผู้รู้และคู่มือวิจัย
๔.รวบรวมสรุปผลการดำเนินงานและดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
ผลการนำไปใช้
จัดระบบการทำวิจัยของตนเองได้
ปัญหาอุปสรรค
มีภาระงานการจัดการเรียนการสอนมากทำให้เกิดการดำเนินไม่ตามแผนบ้าง ในบางช่วง
ปัจจัยความสำเร็จ
วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัย มีศูนย์เรียนรู้วิจัย
สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงแนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น และอ้างอิงข้อค้นพบ
- ? นายอรรถพล? ยิ้มยรรยงค์ ได้ดำเนินการนำแนวทางเทคนิคการบริหารงานวิจัยนำไปใช้มีรายละเอียดดังนี้
๑.เลือกประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจและบูรณาการไปกับงานและปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยง
๒.วางแผนการทำวิจัยที่สอดคล้องกับงานและวิถีชีวิต
๓.ทำงานร่วมกับทีมวิจัยที่มีความสนใจคล้ายกันและติดต่อปรึกษากันง่าย รวมถึงทำงานร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยง
๔.เรียนรู้จากผู้รู้หลากหลายเพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำวิจัย
๕.ทำงานให้เป็นระบบตามแผน
ผลการนำไปใช้
ได้เรียนรู้และทำวิจัยได้ โดยในปีนี้ได้เสนอโครงร่างวิจัยที่เป็นหัวหน้าโครงการ
ปัญหาอุปสรรค
ภาระงานการจัดการเรียนการสอนมีมาก ไม่มีเวลาบางช่วง งานชะงักบ้าง
ปัจจัยความสำเร็จ
วิทยาลัยสนับสนุนในการทำวิจัยและมีอาจารย์พี่เลี้ยง มีศูนย์เรียนรู้วิจัย
สำหรับประเด็นการอภิปรายผลการวิจัย ได้อภิปรายอ้างอิงผลการศึกษาของผู้อื่น แนวคิดทฤษฎี และอ้างอิงข้อค้นพบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.
ลงชื่อ?????????????.
(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)
เลขานุการการประชุม
ลงชื่อ???????????????.
(นางประภาพร มโนรัตน์)
หัวหน้าฝ่ายวิจัย จัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์
เทคนิคการหาทุนสนับสนุนงานวิจัย ผู้ขอรับทุนควรที่จะต้องด าเนินการ คือ 1. ศึกษาข้อมูลแหล่งทุนที่จะขอรับทุน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 1.1 แหล่งทุนภายใน ได้แก่ ทุนของมหาวิทยาลัยต้นสังกัด 1.2 แหล่งทุนภายนอก อาทิ ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส านักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ร่วมกับ ส านักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกว.) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) 2. การเลือกหัวข้อวิจัย : ผู้ขอรับทุนจะต้องเลือกหัวข้อปัญหาที่มีความเหมาะสม เป็นปัญหา ที่น่าสนใจที่สามารถจะด าเนินการวิจัยให้ส าเร็จลุล่วงไปได้ และที่ส าคัญต้องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบาย ของหน่วยงานนั้น ๆ หรือเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ของชาติ 3. การเขียนข้อเสนอโครงการ : ผู้ขอรับทุนควรจัดท าข้อเสนอโครงการตามเงื่อนไขที่แหล่ง ทุนก าหนดให้ครบถ้วน หัวข้อการวิจัยต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของแหล่งทุน ตลอดจน ครอบคลุมการวิจัยที่ต้องการศึกษา เป็นต้น
การมีศูนย์เรียนรู้การวิจัย ทำให้นักวิจัยสามารถพัฒนาโครงร่างและดำเนินการวิจัยได้ตามที่วางแผนไว้ นอกจากนี้การสนับสนุนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การหาสถาบันเพื่อส่งโครงร่างงานวิจัยเข้าพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทำให้งานวิจัยมีโอกาสสูงในการเผยแพร่งานวิจัยทั้งในระดับชาติ นานาชาติ การเตรียมบทความวิจัยโดยให้มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาตลอดขั้นตอนการเตรียมบทความวิจัย ทำให้เพิ่มโอกาสการตอบรับให้เผยแพร่ในวารสารวิชาการนานาชาติมากยิ่งขึ้น
แนวทางการขอรับทุนวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งจะมีกรอบวิจัยที่เกี่ยวข่องและอาจารย์ในวิทยาลัยสามารถดำเนินการเพื่อขอรับทุนได้คือ ทุนสร้างสภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ และทุนสำหรับระดับบัณฑิตศึกษา ตามกรอบการวิจัยดังนี้
4. การศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และ
คุณภาพชีวิต ซึ่งที่เกี่ยวข้องที่จะขอทุนคือ
1. การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพ และคุณลักษณะของผู้เรียน
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา
3. การวิจัยเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการวัด การประเมินและประกันคุณภาพเพื่อ
สร้างมาตรฐานการศึกษา