• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

28/07/2016

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:33 pm
Reactions :6 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้? ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา????? ??อินธิโชติ??????????? รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา??? (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์???? ยศทวี? ???????????? ?หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา??????? (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง??? ??????????งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางสาวพัชชา? ???????สุวรรณรอด ???????งานทุนการศึกษา

๕. นางสาวสุกัญญา???? ม่วงเลี้ยง???????? งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

-

วาระพิจารณาและหารือ

ประธานติดตามผลการดำเนินการใช้กรบวนการ PDCA ไปใช้ในการทำงานของงานพัฒนานักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม? ขอให้ทุกคนช่วยกันเสนอประเด็นเพื่อกำหนดเป็นประเด็นการจัดการความรู้ ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ?? ที่ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีมติดังนี้

สรุปแนวปฏิบัติการนำระบบคุณภาพ PDCA ไปใช้ในการจัดกิจรรมพัฒนานักศึกษา

PDCA Cycle ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

P = Plan??????? หมายถึง การวางแผน

D = Do????????? หมายถึง การปฏิบัติตามแผน

C = Check????? หมายถึง การตรวจสอบ

A = Action????? หมายถึง การดำเนินการให้เหมาะสม

การวางแผน? (Plan: P) เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ เนื่องจากการวางแผนจะเป็นจุดเริ่มต้นของงานและเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล การวางแผนเป็นการหาองค์ประกอบของปัญหา โดยวิธีการระดมความคิด การเลือกปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา การหาวิธีการแก้ปัญหา การจัดทำตารางการปฏิบัติงาน การกำหนดวิธีดำเนินการ การกำหนดวิธีการตรวจสอบและประเมินผล ในขั้นตอนนี้สามารถนำเครื่องมือเบื้องต้นแห่งคุณภาพอื่นๆ มาใช้งานร่วมด้วย เช่น Flowchart, Brainstorming ฯลฯ ในขั้นนี้ดำเนินการดังนี้

1. ตระหนักและกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยสมาชิกแต่ละคนร่วมมือ และประสานกันอย่างใกล้ชิดในการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน เพื่อที่จะร่วมกัน? ทำการศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขต่อไป

2. เก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินงานหรือหาสาเหตุ ของปัญหา เพื่อใช้ในการปรับปรุง หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งควรจะวางแผนและดำเนินการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ระเบียบ เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน เช่น ตารางตรวจสอบ แผนภูมิ แผนภาพ หรือแบบสอบถาม เป็นต้น

3. อธิบายปัญหาและกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ปัญหา เพื่อใช้กำหนดสาเหตุของความบกพร่อง ตลอดจนแสดงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนิยมใช้วิธีการเขียนและวิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนภาพ เช่น แผนภูมิก้างปลา แผนภูมิพาเรโต และแผนภูมิการควบคุมเป็นต้น เพื่อให้สมาชิกทุกคนในทีมงานคุณภาพเกิดความเข้าใจในสาเหตุและปัญหาอย่างชัดเจน แล้วร่วมกันระดมความคิด (Brainstorm) ในการแก้ปัญหา โดยสร้างทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อมาทำการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกที่เหมาะสมที่สุดมาดำเนินงาน

4. เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา หรือปรับปรุงการดำเนินงาน โดยร่วมกันวิเคราะห์ และวิจารณ์ทางเลือกต่างๆ ผ่านการระดมความคิด และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสมาชิก เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินงานให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะต้องทำวิจัยและหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือกำหนดทางเลือกใหม่ที่มีความน่าจะเป็นในการแก้ปัญหาได้มากกว่าเดิม

สรุปเทคนิคการวางแผนที่ดีควรตอบคำถามต่อไปนี้

๑. ?มีอะไรบ้างที่ต้องทำ

๒. ใครทำ

๓. มีอะไรต้องใช้บ้าง

๔. ระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใด

๕. ลำดับการท างานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน อะไรหลัง

.๖. ?เป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร

การปฏิบัติตามแผน (Do: D) เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในตารางการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ สมาชิกกลุ่มต้องมีความเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในแผนนั้นๆความสำเร็จของการนำแผนมาปฏิบัติต้องอาศัยการทำงานด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาชิก ตลอดจนการจัดการทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานตามแผนนั้นๆ ในขั้นตอนนี้ขณะที่ลงมือปฏิบัติจะมีการตรวจสอบไปด้วย หากไม่เป็นไปตามแผนอาจ จะต้องมีการปรับแผนใหม่ และเมื่อแผนนั้นใช้งานได้ก็นำไปใช้เป็นแผนและถือปฏิบัติต่อไป

สรุปเทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ

๑. ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไขหรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด

๒. ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหายจะขยายเป็นวงกว้าง

การตรวจสอบ (Check: C) หมายถึงการตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการแก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่ การไม่ประสบผลสำเร็จอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ไม่ปฏิบัติตามแผน ความไม่เหมาะสมของแผน? การเลือกใช้เทคนิคที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

สรุปเทคนิคขั้นตอนการตรวจสอบ

๑. ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่

๒. ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่

๓.ตรวจสอบว่ามีข้อมูลอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง

๔. รวบรวมและบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และปรับปรุงให้ดีต่อไปสิ่งที่จะสามารถรู้ได้ว่าผลกับแผนที่ตั้งไว้แตกต่างกันอย่างไร

การดำเนินการให้เหมาะสม (Action : A) เป็นการกระทำภายหลังที่กระบวนการ 3 ขั้นตอนตาม

วงจรได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นการนำเอาผลจากขั้นการตรวจสอบ C) มาดำเนินการให้เหมาะสมต่อไป

สรุปเทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม

๑. หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้

๒. ?หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ

๓. ?หาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม

ที่ประชุมมีความเห็นว่า การดำเนินการและข้อสรุปจากผลการดำเนินการ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการ PDCA?? ?น่าจะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานของทุกงานในกลุ่มงาน? จึงขอให้ทุกงานนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน และสรุปผลการใช้? เพื่อนำไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงานของกลุ่มงานต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ ………….วราภรณ์? ยศทวี………ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์?? ยศทวี)

ลงชื่อ ……………..นัยนา? อินธิโชติ ……..ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา? อินธิโชติ)

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:32 pm
Reactions :6 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้? ครั้งที่ ๑ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา? วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา?????? ?อินธิโชติ??????????? รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา??? (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์???? ยศทวี? ???????????? ?หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา??????? (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์?????????? นาคทั่ง??? ??????????งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางสาวพัชชา? ???????สุวรรณรอด ???????งานทุนการศึกษา

๕. นางสาวสุกัญญา???? ม่วงเลี้ยง???????? งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง ??สืบเนื่องจากงานการประกันคุณภาพการศึกษา? แจ้งว่า ให้แต่ละกลุ่มงานต้องมีการการจัดการความรู้เกี่ยวกับงานของแต่ละกลุ่มงาน ???เพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจของกลุ่มงานกิจการนักศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาความรู้ของทีมงาน? โดยอาศัยการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ????????????????ซึ่งกลุ่มงานกิจการนักศึกษาจะได้ดำเนินการ เพื่อรวบรวมความรู้ที่มีคุณค่า และดำเนินต่อการปฏิบัติงานทั้งความรู้ที่อยู่ในรูปของเอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน และความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลมาประมวลกลั่นกรองจัดเป็นระเบียบให้ทีมงานสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะน าไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ต่อไป

ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันกำหนดประเด็นที่กลุ่มงานน่าจะนำมาสู่การจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน

วาระเพื่อพิจารณา

ประธานขอให้ทุกคนช่วยกันเสนอประเด็นเพื่อกำหนดเป็นประเด็นการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน มีข้อเสนอจากแต่ละงาน และสรุปประเด็นที่สนใจในการจัดการความรู้ของกลุ่มงาน ดังนี้

๑. การทำงานเป็นทีม

๒. กระบวนการกู้ยืมยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา

๓. การทำงานอย่างเป็นระบบ

กลุ่มงานเสนอหัวข้อการจัดการความรู้จำนวน 3 หัวข้อ ที่ประชุมมีมติเลือกเพื่อดำเนินการจัดการความรู้ของกลุ่มงานกิจการนักศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๘ คือ? การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ

ประธานให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างเป็นระบบ? ระบบการทำงานที่ดี ควรเป็นอย่างไร

ระบบการทำงานที่ดีนั้นควรจะเป็นอย่างไร

อ. นัยนา เสนอว่า? ?ต้องมีขั้นตอนชัดเจน สามารถระบุเป็นขั้นตอนการทำงานมาตรฐานได้ว่ามีกี่ขั้นตอนหลัก ต้องทำกิจกรรมอะไรก่อน-หลัง แต่ละขั้นตอนมีวิธีการทำงานอย่างไร แยกแยะได้ว่าอะไรเป็น input ? process ? output ของระบบ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า ระบบการทำงานที่ดี ควรจะสามารถทำซ้ำได้ ระบบที่ดีต้องนำมาใช้ได้อีก ถ้าเป็นงานลักษณะเดียวกันต้องสามารถใช้วิธีการทำงานที่เป็น? มาตรฐานเดียวกันได้ ให้ใครมาทำซ้ำก็จะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

อ. วราภรณ์ เสนอว่า ต้องสามารถทบทวนตรวจสอบได้ หากต้องมีการพิจารณาทบทวน ตรวจสอบข้อผิดพลาด ระบบที่ดีควรจะต้องสืบค้นย้อนหลังได้ สามารถนำกลับมาดูใหม่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขในจุดบกพร่องได้

อ. สุกัญญา ?เสนอว่า ต้องประเมินผลได้ เพราะจะได้รู้ว่าผลของการทำงานเป็นอย่างไร? ดีขึ้นแล้วหรือยัง ระบบที่ดีควรจะต้องมีเกณฑ์การวัดผลประเมินผลว่าแบบไหนดีไม่ดี อะไรคือผ่านไม่ผ่าน

อ พัชชา เสนอว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ ควรมีการนำกระบวนการ PDCA มาใช้ ก็จะทำให้มีกระบวนการทำงานที่ดี? สามารถตรวจสอบได้และวางแผนได้

ที่ประชุมกำหนดระบบการทำงานของกลุ่มงานฯ โดยเริ่มที่งานพัฒนานักศึกษาก่อน ในหัวข้อ ?การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ? ?โดยสรุปเป็นขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้ กระบวนการ PDCA ดังนี้

เทคนิคของ PDCA แต่ละขั้นตอน

1. เทคนิคการวางแผน P

การวางแผนที่ดี ควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้มีอะไรบ้างที่ต้องทำใครทำมีอะไรต้องใช้บ้างระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใดลำดับการทำงานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน-หลังเป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร

2. เทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ D

ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องแก้ไข หรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด ตรวจสอบทุกขั้นตอน หากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหาย จะขยายเป็นวงกว้าง

3. เทคนิคขั้นตอนตรวจสอบ C

ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ว่าทำได้ตามแผนหรือไม่ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่

4. เทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม A

หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมาย ให้รักษาความดีนี้ไว้ หากตรวจสอบแล้ว พบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุหาทางปรับปรุง เพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม

การใช้งานวงจร PDCA

PDCA เพื่อป้องกัน

การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน การวางแผนที่ดีช่วยป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆการทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้ การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม มากยิ่งขึ้นการตรวจสอบที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็น การนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์

PDCA เพื่อแก้ไขปัญหา

ถ้าเราประสบสิ่งที่ ไม่เหมาะสม ไม่สะอาด ไม่สะดวก ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ประหยัด เราควร แก้ปัญหาการใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ได้แก่ การทำ C-PDCA คือ ตรวจสอบก่อน ว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป

PDCA เพื่อการปรับปรุง

PDCA เพื่อการปรับปรุง คือไม่ต้องรอให้เกิดปัญหา แต่เราต้องเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆหรือวิธีการที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมเมื่อเราคิดว่าจะปรับปรุงอะไร ก็ให้ใช้วงจร PDCA เป็นขั้นตอนในการปรับปรุง ข้อคิดสำคัญ ต้องเริ่ม PDCA ตัวเองก่อนมุ่งไปที่คนอื่น

ที่ประชุมมีมติให้ งานพัฒนานักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม? ดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ โดยใช้กระบวนการ PDCA? ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เพื่อจะนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของแต่ละงานต่อไป

ระเบียบวาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………..วราภรณ์ ?ยศทวี….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์?? ยศทวี)

ลงชื่อ ……………..นัยนา? อินธิโชติ……..ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา? อินธิโชติ)

26/07/2016

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559

ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

**************************************************

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางผ่องศรี พุทธรักษ์???????????? ?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

6. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

7. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????? ??? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 13.30 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าวและมีการติดตามการนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดีให้มีความครอบคลุมต่อไป

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวเมื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีที่ปรับปรุงเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมและพบว่าการกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัติการแท้งและผ่าตัดคลอดและนำไปใช้ในการสอนในช่วง Preclinic แผนกฝากครรภ์ก่อนฝึกปฏิบัติจริง พบว่านักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพสามารถซักประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตได้หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามในขั้นตอนที่ 3 คือขั้นสรุปและประเมินผล ช่วงของการสะท้อนคิดภายหลังจากแสดงละครโดยการให้นักศึกษาเขียนบรรยายความรู้สึกที่มีต่อการแสดงละครบทบาทสมมติยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถประเมินการเรียนรู้จากการแสดงละครว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่โดยในขั้นตอนที่ 3 ควรมีการกำหนดรูปแบบการสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อเดียวกันให้เป็นกรอบรูปแบบเดียวกันเป็นแบบฟอร์มให้แก่นักศึกษา กล่าวคือผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด นักศึกษาผู้สังเกตการณ์ชื่นชมผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) และ ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ในประเด็นใด และควรเติมเต็มในเรื่องใดบ้างดังแบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละครที่กำหนดให้ดังนี้

แบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละคร

คำชี้แจง: ภายหลังชมละครบทบาทสมมติเสร็จสิ้นให้นศ. เขียนสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ว่ารู้สึกชื่นชมหรือต้องการเติมเต็มในประเด็นใดแก่ผู้แสดงบทบาทที่ได้รับลงในช่องว่างที่กำหนดให้ ทั้งนี้ให้ประเมินตามบทบาทที่ได้รับของตนเอง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ (RN), หญิงตั้งครรภ์ (Preg.) หรือผู้สังเกตการณ์ (observer)

ข้าพเจ้า นางสาว/นาย……………………………………….รับผิดชอบแสดงบทบาทเป็น…………………………………ขอสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อการชมละครบทบาทสมมติดังต่อไปนี้

ชื่นชม เติมเต็ม

RN??????????????????????????????????????????????????????????? RN

Preg.???????????????????????????????????????????????????????? Preg

นอกจากนี้ควรมีการติดตามและประเมินผลจากการฝึก Pre-Clinic ANC สู่การนำไปฝึกปฏิบัติจริงที่ Word มากน้อยเพียงใดโดยการจัดทำแบบสอบถามหลังการฝึกภาคปฏิบัติในแผนกฝากครรภ์ และในการจัดทำแผนนิเทศครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมการแสดงบทบาทสมมุติการออกกำลังกายตามไตรมาสของหญิงตั้งครรภ์โดยให้สวมชุดจำลองการตั้งครรภ์ และร่วมกันพิจารณาว่าท่าการออกกำลังกายท่าใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้และสามารถนำไปให้คำแนะนำด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามไตรมาสต่อไป

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 15.30 น.

ลงชื่อ???..????????…………………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???…………………………….?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro