• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

05/03/2017

สรุปการจัดการความรู้ ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ” กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 9:12 pm
Reactions :1 comment

สรุปการจัดการความรู้

ประเด็น “การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ”

กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๐ เวลา  ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น

………………………………………………………………………………………………………………..

๑. รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี                   รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยฯ ประธาน

๒. ดร.ประภาพร มโนรัตน์            ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ของกลุ่มงานวิจัยฯ และเลขานุการ

๓. ดร.ปฐพร  แสงเขียว

๔. นายนภดล  เลือดนักรบ

๕. นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย

๖. นางสายฝน วรรณขาว

๗. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร

๘. นางวิมล  อ่อนเส็ง

๙.นางวาสนา ครุฑเมือง

๒. วาระเรื่องแจ้ง

ประธานแจ้งว่า จากการได้แนวปฏิบัติในการดำเนินงานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติในการประชุมจัดการความรู้ที่ผ่านมาในวันที่27 ธันวาคมนั้นรวม ๙ แนวปฏิบัติเป็นบันไดสู่ความสำเร็จ ได้นำขึ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลในWeb Blog ของKM สู่ทั้งองค์กร แล้ว เกิดการนำไปประยุกต์ใช้มนวงกว้าง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้คณาจารย์เกิดการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ

๒.เพื่อให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติจากการประยุกต์ใช้ตามแนวปฏิบัติ9ประการ

๓. เพื่อสร้างข้อสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีจากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ9ประการ สู่การนำไปประยุกต์ใช้ในไตรมาสที่3-4ปีงบประมาณ๒๕๖๐

๔.สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้มีดังนี้

๑. ดร.ศศิธร ชิดนายี ได้ให้ความเห็นว่า ได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติแล้วได้ผล ทำให้เกิดการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีทิศทาง สามารถได้รับการตอบรับการตีพิมพ์ผลงานได้เร็วขึ้น

๒. ดร.ปฐพร แสงเขียว ได้ให้ความเห็นว่าทำให้เกิดการเริ่มต้นงานตีพิมพ์เผยแพร่ได้ง่ายขึ้นและกำลังดำเนินการระหว่างกระบวนการเขียนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

๓. ดร.ประภาพร เห็นด้วยและสามารถใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวจนได้รับตอบรับไปนำเสนอผลงานที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่21-26 มีนาคม 2560นี้

๔ .อาจารย์นภดล เลือดนักรบ ได้ให้ความเห็นว่า ได้ใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นแนวทางในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและขยายผลสู่เพื่อนๆ แล้วสามารถขับเคลื่อนงานได้ดี มั่นใจ

ทุกคนเห็นด้วยกับการใช้แนวปฏิบัติที่สรุปไว้ในการKM ครั้งที่1 ดังนั้นจึงเสนอแนวปฏิบัตินี้เผยแพร่ต่อไป

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับและนำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ได้ดังนี้

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติ

๑.วางแผนการตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ได้รับทุนวิจัย โดยคาดการณ์ว่าจะตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติในวารสารใด หรือเมื่อต้องการตีพิมพ์ผลงานวิจัยให้เลือกลงวาสารที่ต้องการงานวิจัยประเภทเดียวกับของเรา

๒. ศึกษารูปแบบการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการตามที่วารสารนั้นๆกำหนด (บทนิพนธ์ต้นฉบับ)

๓. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆอ่าน วิพากษ์ให้ก่อนเป็นการส่วนตัว (หากมีผู้ยินดีอ่านให้ฟรีและเป็นผู้ใกล้ชิดหรือเครือข่ายงาน) จะได้มุมมองในการปรับเขียนงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปให้บรรณาธิการของวารสารที่ต้องการตีพิมพ์

๔. ให้มีการตรวจสอบหรือปรับการเขียนบทคัดย่อและบทความวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้เชียวชาญก่อน เพื่อให้มีความชัดเจนด้านภาษาอังกฤษถูกต้อง

๕. ทำการส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับตามหลักเกณฑ์ ระเบียบของวารสารนั้นๆอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องเป็นสมาชิกวารสารก่อน หรือ ส่งต้นฉบับให้ครบทุกชุดและตามเงื่อนไขที่ระบุ

๖. กรณีส่งแล้วและให้ปรับปรุงแก้ไขนั้น ให้รีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามที่เสนอแนะ และส่งกลับคืนภายในเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด  และแสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะโดยการขีดเส้นใต้หรือใส่แถบสี  ให้ทางวารสารเห็นได้ชัดว่าได้ดำเนินการแล้ว   สำหรับในประเด็นที่ไม่สามารถแก้ได้ให้เขียนชี้แจงไปว่าทำไม่ไม่แก้ไข ติดขัดในประเด็นใด นักวิจัยสามารถอธิบายแนวคิดของตนเองได้

๗. ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ครั้งละ1วารสารเท่านั้น หากไม่ได้รับการตอบรับในวารสารฉบับนั้นแล้ว จึงจะสามารถส่งวารสารไปลงยังวารสารอื่นต่อไปได้

๘. นักวิจัยต้องถือปฏิบัติในจริยธรรมของนักวิจัยอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และไม่ไม่ส่งบทนิพนธ์ต้นฉบับไปหลายๆวารสารในเวลาเดียวกัน

๙. หาแหล่งตีพิมพ์ผลงานในวารสารได้โดยเข้าร่วมประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติที่มีการคัดเลือกผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารด้วย

คณาจารย์กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

ดร.ประภาพร มโนรัตน์  ผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้กลุ่มงานวิจัยฯ

๑๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๐

01/03/2017

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:31 pm
Reactions :7 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  ครั้งที่ ๔ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา        อินธิโชติ            รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา    (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์     ยศทวี                หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา        (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์           นาคทั่ง              งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางผ่องศรี             พุทธรักษ์            งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๐๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง ทบทวนแนวทางการจัดการความรู้เรื่อง  “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”    จากการประชุมที่ผ่านมา  ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   และได้แนวทางในการพัฒนาเกี่ยวกับพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง  และพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนานักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารที่ดี   คิดดี   คิดทางบวก : (Positive thinking)  มีการพูดที่ดี  ฝึกขอบคุณ  ฝึกแสดงความยินดี   ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ประธานเสนอ ให้ดำเนินการการจัดการความรู้เรื่อง  “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”  ตามขั้นตอนที่ ๓. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ในฐานะที่เป็นอาจารย์ สามารถจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีจิตอาสาได้อย่างไร

อ. วราภรณ์ เสนอว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสาสามารถทําได้ทุกช่วงวัย  ผู้สอน เป็นหัวใจสําคัญในการปลูกฝังคุณลักษณะจิตอาสาที่สามารถพัฒนาพร้อมกัน สําหรับแนวทางการเรียนรู้จําเป็นนําองค์ความรู้เชิงทฤษฎีมาปรับประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน  เริ่มจากตัวผู้สอนเองที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและค่อยๆ ขยายไปสู่การพัฒนาผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาไปให้ถึงระบบคิดของผู้เรียนมากกว่าการให้ทํากิจกรรมโดยปราศจาก

ความคิด  ควรมุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง  (Transformation of learning) ของผู้เรียน ทําให้เห็นว่าผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมส่วนรวมได้ ไม่สําคัญว่าจะเรียนเก่งสอบได้คะแนนดีหรือไม่ การปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง  จะทําให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาจิตอาสาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

อ. นัยนา เสนอว่า การพัฒนาจิตอาสาสามารถสอดแทรกได้ในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนไม่เข้าใจ ก็เป็ นจิตอาสาชนิดหนึ่ง   หรือการประหยัดน้ำ ไฟฟ้ า  การจัดทําโครงการจิตอาสาที่ออกไปนอกวิทยาลัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาและการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเชื่อมโยงเข้าวิถีชีวิตของผู้เรียนในแต่ละชุมชนท้องถิ่น  รวมทั้ง ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้างด้วย มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา สิ่งใดที่เกินกําลังที่เราจะทําได้เพียงคนเดียวต้องรู้จักสร้างแนวร่วมหรือเครือข่ายมาช่วยให้สําเร็จ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  การเป็ นตัวแบบที่ดีทางด้านจิตอาสาอย่างสม่ำเสมอ  เมื่อผู้สอนแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาอย่างสม่าเสมอ แม้ไม่ต้องสอนโดยวาจา แต่เป็นการสอนโดยการกระทํา ผู้เรียนจะมีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมนั้นด้วย การพัฒนาลักษณะนี้เป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยกระบวนการซึมซับ การสังเกต การเลียนแบบพฤติกรรม และควรใช้ควบคู่กับการสะท้อนคิด(reflection)ของผู้เรียน  นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม(Empathy) ความเห็นอกเห็นใจ  เอาใจผู้อื่นมาใส่ใจตนเอง  เพื่อรับรู้ความรู้สึก และตอบสนองโดยการแสดงพฤติกรรมจิตอาสาอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งภาษาพูดและภาษากาย

อ. ผ่องศรี เสนอว่า การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ (action learning) โดยการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมจิตอาสาตามความเหมาะสมด้วยตนเอง โดยไม่จําเป็นต้องจัดทําเป็นโครงการเฉพาะกิจขึ้น แต่ควรบูรณาการไปในทุกกิจกรรมการเรียนรู้และที่สําคัญจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติต่อเพื่อนและผู้สอน   การจัดการเรียนรู้ต้องเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง เมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือทําประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งการกําหนดแนวทางสําหรับพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่มีจิตอาสาต่อไป

สรุปแนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  มีดังนี้

๑. การเป็นตัวแบบที่ทางด้านจิตอาสา

๒. การจัดการเรียนรู้ต้องผ่านกระบวนการการปฏิบัติ (action  learning)

๓. การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้จิตอาสา โดยทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกร่วม(Empathy)

๔. มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมอง(Transformation of learning) ของผู้เรียน

๕.การจัดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนตนเอง (self – reflection) มุ่งให้เห็นความคิดและความรู้สึกของตนเอง

๖.ผู้สอนต้องสร้างความเข้าใจให้ชัดเจนว่าการมีจิตอาสานั้นจะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองหรือบุคคลรอบข้าง

ประธานขอให้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสา ควรทำอย่างไร

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์เป็นกิจกรรมที่ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสําคัญทั้งความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหลากหลายรูปแบบ

อ. นัยนา เสนอว่า ต้องจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้แก่นักศึกษาในการบําเพ็ญตนให้เป็ นประโยชน์ต่อครอบครัว   สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ  รวมทั้งจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ตามความถนัดและความสนใจ

อ. วราภรณ์ ให้ความเห็นว่า กิจกรรมในลักษณะกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอาสาพัฒนาหรือกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม โดยนักศึกษาดําเนินการด้วยตนเองในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม และมีจิตสาธารณะ   เป็นกิจกรรมที่ผู้ปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติด้วยความสมัครใจทำเพื่อผู้อื่นและสังคม  โดยการจัดกิจกรรมต้องเน้นให้นักสศึกษาร่วมกันวิเคราะห์กิจกรรม ร่วมกันสํารวจสภาพและปัญหา ร่วมวางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม และร่วมรายงานผล พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการจัดกิจกรรม

สรุปแนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  มีดังนี้

๑. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจเ ต็มตามศักยภาพ

๒. จัดกิจกรรมโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ออกแบบกิจกรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ

๓. จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสํานึกให้แก่นักศึกษาในการบําเพ็ญตนให้เป็ นประโยชน์ต่อครอบครัว   สถาบันการศึกษา ชุมชน สังคม

๔. จัดกิจกรรมในลักษณะกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมอาสาพัฒนาหรือกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

๕. รูปแบบกิจกรรมต้องเน้นให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์  สํารวจสภาพและปัญหา  วางแผนการจัดกิจกรรม ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมสรุปและประเมินผลการจัดกิจกรรม

ประธานสรุปว่า การดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”  ในขั้นตอนที่๓ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และขั้นตอนที่ ๔ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ทำให้ได้แนวปฏิบัติ 2 เรื่อง  คือ ๑) แนวปฎิบัติการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา  และ ๒)  แนวปฎิบัติการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา   ซึ่งจะได้ดำเนินการขั้นตอนที่ ๕.การเข้าถึงความรู้ และขั้นตอนที่ ๖ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   โดยจะนำไปประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไว้ใน Web board KM ของวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์จากกลุ่มงานอื่นและผู้สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์   ยศทวี)

ลงชื่อ ……………………………………………….ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๓ / ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:30 pm
Reactions :7 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  ครั้งที่ ๓ / ๒๕๕๙

กลุ่มงานกิจการนักศึกษา  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการนักศึกษา

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวนัยนา        อินธิโชติ            รองฯ กลุ่มงานกิจการนักศึกษา    (ประธาน)

๒.นางสาววราภรณ์     ยศทวี                หัวหน้าฝ่ายพัฒนานักศึกษา        (เลขานุการ)

๓.นางนิศารัตน์           นาคทั่ง              งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๔.นางผ่องศรี             พุทธรักษ์            งานพัฒนานักศึกษา

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม ไม่มี

เริ่มประชุม ๑๕. ๓๐ น.

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่อง   สืบเนื่องจากงานการประกันคุณภาพการศึกษา ในการดำเนินงานปีการศึกษา ๒๕๕๙ นั้น  แต่ละกลุ่มงานต้องมีการการจัดการความรู้เกี่ยวกับงานของแต่ละกลุ่มงาน  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา กลุ่มงานกิจการนักศึกษาได้ดำเนินการจัดการความรู้เรื่อง ”การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ”   ซึ่งได้จัดทำเป็นแนวปฏิบัติและนำมาใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ต่อไป และจากการดำเนินงานของการพัฒนานักศึกษา ทางกลุ่มงานพบว่า ได้พัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี นำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษา จากกิจกรรมต่อไปนี้  1) กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  2) กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ  3 ) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม  4)กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม  5 ) กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งการพัฒนานักศึกษาในแต่ละปีที่ผ่านมาได้พัฒนาครบทุกด้านทั้ง ๕ กิจกรรมโดยส่วนใหญ่มุ่งเน้น)กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม   ซึ่งจะส่งผลให้บัณฑิตเป็นคนดี มีคามสุข  ดังนั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ กลุ่มงานกิจการนักศึกษาจึงวางแผนดำเนินการการจัดการความรู้ เรื่อง “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”

ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันกำหนดประเด็นที่กลุ่มงานน่าจะนำมาสู่การจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนานักศึกษา

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

มติที่ประชุม รับทราบ

ประธานให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาคุณลักษณะจิตอาสาสำหรับนักศึกษา”    ระบบการ

วาระที่ ๒. เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ ลงวันที่  ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙

วาระที่ ๓. เรื่องสืบเนื่อง

ไม่มี

วาระที่ ๔. เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ประธานเสนอ ให้ดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ ๑. การบ่งชี้ความรู้  และ ขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  ขอให้ช่วยกันกำหนดว่า เราจำเป็นต้องใช้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่ง ความหมายของจิตอาสา / จิตสาธารณะ และแนวทางการพัฒนานักศึกษาให้มรจิตอาสา/จิตสาธารณะ  ขอให้อาจารย์เสนอ ความหมายของจิตอาสา / จิตสาธารณะ

อ. วราภรณ์ เสนอว่า เราต้องทบทวนความรู้เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   ” เป็นงานที่เกิดจากผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อ เสียสละเวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคมให้เกิดประโยชน์และความสุขมากขึ้น

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า เป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทําให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทําทังสิ้น

คนที่จะเป็ นอาสาสมัครหรือเป็นคนมีจิตอาสาได้นั้น ไม่ได้จํากัดวัย  การศึกษา  เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจํากัด ใดๆ หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็ น “จิตอาสา” ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อี่น หรือสังคมเท่านั้น

อ. นัยนา เสนอว่า เป็นจิตสํานึกเพื่อส่วนรวม ความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งทีเป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ทีจะดูแลและบํารุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำการดูแลรักษา สาธารณะสมบัติ ที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือผู้ทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทําได้  ตลอดจนร่วมมือกระทําเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา

แนวทางการสร้างจิตอาสา/จิตสาธารณะ

อ. นิศารัตน์ เสนอว่า  ต้องสร้างวินัยในตนเองของนักศึกษา และสร้างสำนึกในการให้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

อ. นัยนา เสนอว่า ต้องสร้างให้นักศึกษาตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม และต้องยึดหลักธรรมในการดําเนินชีวิต

อ. วราภรณ์ เสนอว่า   ต้องมีความรับผิดชอบการกระทําของตนเอง   ไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม  รวมทั้งต้อง มีบทบาทช่วยสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่า     เป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง

๑. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้

๒. รู้จักการออกกําลังกายเพือสุขภาพให้แข็งแรงสมบรูณ์

๓. มีความประหยัดรู้จักความพอดี

๔. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย

๕. ทํางานที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จ

๖. มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม

๑. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน   ไม่ทําให้พ่อแม่เสียใจ

๒. มีความรับผิดชอบต่อสถาบันการศึกษา  ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคําสั่งสอนของครูอาจารย์  ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของสถาบัน  ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของสถาบัน

๓. มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่น  เช่น  ให้ความช่วยเหลือ   ให้คําแนะนํา   ไม่เอาเปรียบ  เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

๔. มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี

สิ่งสำตัญ . ผู้มีจิตอาสา ควรจะต้องมีการสื่อสารที่ดี   คิดดี   คิดทางบวก : (Positive thinking)  มีวจีกรรมที่ดี ฝึกขอบคุณ  ฝ กแสดงความยินดี   ฝึกให้กําลังใจ   ฝึกชื่นชมผู้ที่มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะ

ประธานสรุป ในวันนี้ขั้นตอนที่ ๑. ได้ดำเนินการการบ่งชี้ความรู้ และขั้นตอนที่ ๒.การสร้างและแสวงหาความรู้  เกี่ยวกับ “จิตอาสา”   ซี่งในการประชุมครั้งต่อไปจะดำเนินการจัดการความรู้ในขั้นตอนต่อไป

วาระที่ ๕. เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา

ไม่มี

วาระที่ ๖. เรื่องอื่น ๆ

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ …………………………………………….ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาววราภรณ์   ยศทวี)

ลงชื่อ ……………………………………………….ประธานการประชุม

(นางสาวนัยนา  อินธิโชติ)

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro