04/02/2015
แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน
สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน
ขั้นเตรียมการ
๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมการเรียนในภาคปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗
๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยาย การจัดการความรู้การเรียนการสอนแบบ Didactic Method เรื่องเทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร บรรยายโดย คุณชาล สร้อยสุวรรณ และคุณทองแสง ไชยแก้ว จากสำนักกิจกรรมกิ่งก้านใบ ในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบละคร (Drama) ได้ดังนี้
คำนิยาม
เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงคือกระบวนการที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมาและสามารถทำให้ผู้แสดงและผู้ชมเกิดความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้นานทั้งนี้การสอนโดยใช้ละครมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ ละครเป็นงานสัญลักษณ์ที่เน้นการตีความจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก ได้สัมผัส และได้ลงมือแสดง ???? หรืออาจอนุมานได้ว่า การสอนโดยใช้การแสดงนั้นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนแบบPBL (Problem-based Learning)?ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้จะเป็นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะของการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ อันจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาเป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพเรื่องราวที่ชัดเจนและสามารถจดจำเรื่องราวได้นาน
2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และฝึกทักษะต่าง ๆ
องค์ประกอบสำคัญ
องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของเทคนิคการสอนคือ
1. มีผู้สอนและผู้เรียน
2. มีบทละคร คือเรื่องที่มีเนื้อหาและบทพูดกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นจนจบ
3. มีการแสดงตามบทบาทที่กำหนด หรือการชมและสังเกตการแสดง
4. มีการอภิปรายเรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาการของผู้รับบทบาทต่างๆ
5. มีการสรุปการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้จากการแดงและชมการแสดง
6. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- การละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีกิจกรรมดังนี้ คือ
1.1?? ให้ผู้เข้าร่วมการฟังบรรยายยืนเป็นรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ เช่น วงกลม, สี่เหลี่ยม, สามเหลี่ยม
1.2?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกมาแนะนำตัวพร้อมท่าทางประกอบ
1.3?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินตามคำสั่ง เช่น เดินเร็ว, เดินช้า, เดินปานกลาง,
1.4?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเลียนแบบลักษณะท่าทางการเดินของบุคคลอาชีพต่างๆ เช่น ทหาร, ครู, ชาวนา ฯลฯ
1.5?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกข่าวตามอารมณ์ เช่น โกรธ, ดีใจ, เสียใจ
1.6?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสมาธิโดยการจับคู่จ้องตา และเล่นเกมส่องกระจกโดยให้จับคู่กัน คนหนึ่งเป็นกระจก อีกคนหนึ่งเป็นคนส่องโดยที่ทั้งคู่ต้องทำท่าทางเหมือนกัน
- ให้ผู้เข้าร่วมเขียนความต้องการของตนเองลงในกระดาษ จากนั้นให้จับคู่กันแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับความต้องการของตนเองคู่ละ 1 นาที เพื่อนำเข้าสู่ทักษะกระบวนการของการสอนโดยใช้ละคร
- สรุป เทคนิคการสร้างละคร ได้แก่ การกำหนดโครงเรื่อง และ แก่นเรื่อง (Theme)
- พูดคุยซักถามข้อสงสัยระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
สรุปความรู้ที่ได้รับ
ทักษะการทำละครแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1.? ทักษะภายในได้แก่ สมาธิ? จินตนาการ และความเชื่อ
2.? ทักษะภายนอก? ได้แก่
-? ร่างกายคือ? กิริยาท่าทางที่แสดงออก
-? เสียงคือ? การเปล่งเสียง, การใช้ภาษาในการสื่อสาร
โครงเรื่อง
เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น
แก่นเรื่อง(Theme)
คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลักของเรื่องที่จะนำเสนอ? ซึ่งแก่นเรื่องจะเป็นส่วนสำคัญมากในการแสดงละคร
การเขียนบทละคร
การเขียนบทนั้นให้แบ่งเป็นภาพ (ดังแสดงในภาพที่ 1)? ดังต่อไปนี้คือ
ภาพที่ 1? จุดเริ่มต้น (Start) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง
ภาพที่ 2? การพัฒนาเรื่อง (Story) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น
ภาพที่ 3? จุดสิ้นสุด (Stop) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง) ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ
หมายเหตุ ทั้งนี้ในการเขียนบทละครนั้น อาจมีมากกว่า 3 ภาพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพที่? 4 (ต้องทำอย่างไร)? ภาพที่ 5 (ภาพฝัน)
ภาพที่1 แสดงวิธีการสร้างโครงเรื่องละคร
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร
ข้อดี
1.? เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่เรียนมีชีวิตขึ้นมา ทำให้การเรียนรู้มีความเป็นจริง และมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2.? เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง
3.? เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะการพูด การเขียน การแสดงออก การจัดการ การแสวงหาข้อมูลความรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นต้น
ข้อจำกัด
1.? เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก ต้องมีการจัดเตรียมบทละคร และการแสดงที่ยุ่งยาก
2.? เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ประกอบการแสดง ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
3.? เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการเขียนบท หากผู้สอนไม่มีข้อมูลเพียงพอ หรือไม่สามารถแสวงหาข้อมูลที่ต้องการได้ จะทำให้เรื่องราวหรือการแสดงไม่สมบูรณ์
การวัดผลประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
วัดผลสะท้อนจากการเขียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และทัศนคติ ฯลฯ
การนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล
เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการแสดง มุ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่แสดง โดยที่การแสดงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้เห็นเป็นภาพและการกระทำจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้อย่างดีและจดจำได้นาน ดังนั้นละครที่แสดงออกมา จึงควรสะท้อนเรื่องราวความเป็นจริงนั้นให้เห็นชัดและอย่างสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามการสร้างสรรค์นั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความเป็นจริง
๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำแบบฟอร์มคำชี้แจงนักศึกษาที่แสดงบทบาทเป็นหญิงตั้งครรภ์รายใหม่? แบบฟอร์มคำชี้แจงนักศึกษาที่แสดงบทบาทเป็นพยาบาลผู้ซักประวัติ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และบัตรอนามัยมารดา เพื่อมอบให้นักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์
๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน
ขั้นดำเนินการ
โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคปฏิบัติ
วางแผนการดำเนินการสอนแบบละครในวันแรกของการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ ณ แผนกฝากครรภ์ โดยแจกบทบาทให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงทั้งบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์ และบทบาทการเป็นพยาบาลผู้ซักประวัติ ชุดตั้งครรภ์เสมือนจริง บัตรอนามัยมารดา ภายหลังสิ้นสุดการแสดงในแต่ละบทบาทอาจารย์ตรวจการลงบันทึกข้อมูลในบัตรอนามัยมารดา และตั้งคำถามสะท้อนคิดกับนักศึกษาในการแสดงแต่ละบทบาท
ขั้นสรุปและประเมินผล
การประเมินผลการแสดงบทบาทจากการสะท้อนคิดความรู้สึกที่ได้แสดงบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลผู้ซักประวัติ ความถูกต้องในการลงบันทึกข้อมูลในบัตรอนามัยมารดา
คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
ผู้ถอดบทเรียน
๓๐ มกราคม ๕๘