• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

13/02/2019

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด(REFLECTIVE THINKING)

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 2:50 pm
Reactions :16 comments

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 2:45 pm
Reactions :19 comments

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒  เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมท่าเหนือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  อุตรดิตถ์

……………………………………………………………..

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.   นางสาวดุจเดือน               เขียวเหลือง            พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๒.   นายไพทูรย์                       มาผิว                  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๓.   นางสาวสุดารัตน์               ไชยประสิทธิ์           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๔.   นางมณฑา                      อุดมเลิศ               พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ

๕.   นางสาวปฐพร                  แสงเขียว              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๖.   นางสาวดวงดาว                 เทพทองคำ           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๗.   นางสาวดารณี                  ขันใส                  พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๘.   นายอิทธิพล                      แก้วฟอง               พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๙.   นางสาวสุกัญญา               ม่วงเลี้ยง               พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๐. นายกันตวิชญ์                    จูเปรมปรี              พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๑. นายอรรถพล                     ยิ้มยรรยง            พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๒. นางสาวจิราพร                  วิศิษฎ์โกศล            พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ เลขานุการ

๑๓. นางพัชรินทร์                   วงษ์สว่าง              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

๑. นายนภดล                       เลือดนักรบ       พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

๒. นางปภาดา                       ชมภูนิตย์         พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (นิเทศ)

๓. นางสาววิไลวรรณ                บุญเรือง          พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (นิเทศ)

๔. นางสาวจิระภา                  สุมาลี             พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (นิเทศ)

๕. นางสาวสิริกานดา               สุขเกษม          พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ไปราชการ)

๖. นางสาววิรินทร                  พิมไลย            พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ไปราชการ)

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  ๑๓  คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๔๒

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ประธานที่ประชุม นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง รองผู้อำนวยการ  กลุ่มงานวิชาการ

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งจากประธาน

การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) คือ การใช้กระบวนการ ในการคิด และพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ ละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผล ใช้ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ในสถานการณ์อื่นๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งจากการประชุมการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ครั้งที่ ๒ ได้เกิดแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ตามแนวคิดของ                 อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่

๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด

๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ซึ่งภายหลังการประชุมการจัดการความรู้ ได้มีการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

ระยะที่ ๑ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคทฤษฎี

ระยะที่ ๒ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

ระยะที่ ๓ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติ

มติที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่  ๒  เรื่องรับรองรายงานการประชุม

มติที่ประชุม -

วาระที่  ๓ เรื่องติดตามรายงานการประชุม

มติที่ประชุม -

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา

จากการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรอบปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินการการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค หรือข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อสังเกตอะไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป

อาจารย์ดร. ปฐพร แสงเขียว : การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีความสำคัญและจำเป็นกับทุกสาขาวิชาชีพ เนื่องจากการสะท้อนคิดเป็นการมองตัวเอง ผู้เรียนสามารถมองเห็นข้อบกพร่องของตนเอง และสามารถบอกแนวทางการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆได้  จากการนำแนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ปีการศึกษา ๒๕๖๐ พบว่า นักศึกษายังเขียนไม่สะท้อนถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ยังสะท้อนได้ไม่ลึกซึ้ง และการเขียนของนักศึกษาไม่สามารถสะท้อนความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตนได้ และในปีการศึกษาเดียวกัน  ได้นำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยนำแนวปฏิบัติ ๗ ขั้นตอนมาใช้ พบว่า วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นวิธีการช่วยให้นักศึกษาสะท้อนคิดได้มากกว่าสามารถประเมินนักศึกษาได้ชัดเจนกว่าในรายวิชาภาคทฤษฎี โดยการให้นักศึกษาสะท้อนคิดโดยการประเมินตนเองหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อเป็นการประเมินว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น นักศึกษารู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ และนักศึกษาได้ข้อคิดอะไรจากเหตุการณ์นี้ ซึ่งผู้สอนต้องปรับวิธีการโดยการตั้งคำถามเพื่อให้กระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการสะท้อนคิด “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง, เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น,นักศึกษารู้สึกอย่างไร, แล้วนักศึกษาจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาถูกถาม จะมีการสะท้อนความรู้สึกได้ แต่จากการประเมินนักศึกษายังขาดการอ้างอิงหลักการแนวคิดและทฤษฎีของกระบวนการคิด  และอาจเนื่องด้วยข้อจำกัดของระยะเวลา นักศึกษายังคิดแบบไม่ไตร่ตรอง หรือบางคำถามยังไม่กระตุ้นเพื่อให้เกิด Reflective จริงๆ ผู้สอนได้สะท้อนให้นักศึกษาทราบว่าการเขียนรายงานสะท้อนคิดที่อ่านในรายวิชาภาคทฤษฎี ไม่แสดงออกถึงความสามารถในการสะท้อนคิดได้จริง ส่วนนักศึกษาได้สะท้อนให้ผู้สอนทราบว่า ชอบการตั้งคำถามที่ใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติมากว่า โดยที่นักศึกษาสามารถ ตอบข้อคำถาม  ด้วยความสบายใจและพึงพอใจมากว่า

การนำการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ๗ ขั้นตอน มาประยุกต์ใช้  เห็นว่าขั้นตอนที่ ๔ หากไม่ได้เรียนเป็นกลุ่มนักศึกษาอาจจะทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากนักศึกษาคิดคนเดียว  มีทางเลือกเฉพาะที่ตนเองคิดเท่านั้น ปัญหาที่พบเพิ่มเติม ด้านนักศึกษาการสะท้อนคิดรายกลุ่มบางครั้งนักศึกษาไม่ได้มีการฟังอย่างตั้งใจ จึงไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด กรณีการสะท้อนคิดรายบุคคล จะไม่เกิดการสะท้อนคิด เพราะนักศึกษาอาจจะไม่กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ ไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดคือ ปัจจัยด้านนักศึกษา ซึ่งคุณลักษณะของนักศึกษาควรมีตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ นักศึกษาควรมีลักษณะช่างสังเกต ไวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไวต่อสิ่งแวดล้อมและบริบทที่เปลี่ยนแปลง

ขั้นตอนที่ ๒ นักศึกษาควรมีความตระหนักรู้ และสามารถอธิบายความรู้สึกของตนเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่ ๓ นักศึกษาควรมีพื้นฐานความรู้ และมีความเชื่อ และกล้าที่จะบอกถึงประสบการณ์ของตนเอง

ขั้นตอนที่ ๔ นักศึกษาควรมีการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีสมาธิ ฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ และใคร่ครวญตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ ๕ นักศึกษาควรคิดเป็น Concept ซึ่งเป็นข้อที่สร้างได้ค่อนข้างยาก

ขั้นตอนที่ ๖ นักศึกษาควรฝึกคิดให้เป็นเหตุเป็นผล

ขั้นตอนที่  ๗ นักศึกษาควรฝึกคิดในการเปรียบเทียบจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา กับเหตุการณ์ปัจจุบันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง นักศึกษาได้รับประสบการณ์ใหม่ในประเด็นใดบ้างทั้งด้านความรู้ ความคิด และความเชื่อ

ประเด็นสำคัญคือ ผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตของนักศึกษา โดยการส่งเสริมให้นักศึกษามีการฟังอย่างตั้งใจ  และการฟังโดยไม่มีอคติ

อาจารย์ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง : จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การสะท้อนคิดจะให้ความสำคัญกับ Feeling คือ ความรู้สึก การเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้นักศึกษาเปิดใจรับฟังคนอื่นและเข้าใจในบริบทของผู้อื่นมากขึ้น ในขั้นตอนที่ ๔ ในส่วนของการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรเปิดประเด็นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เปิดใจ ไม่มีอคติในการรับฟัง ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ ๑ ซึ่งเป็นชนเผ่าที่พูดไม่ค่อยชัด เวลาที่มีการนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม นักศึกษาจะไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มจะสนใจแต่การพูดไม่ชัดของเพื่อน ไม่ได้มีการรับฟังอย่างตั้งใจ มีอคติในการรับฟัง จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ขั้นตอนที่ ๕ เป็นขั้นตอนที่นักศึกษาต้องการคำแนะนำจากผู้สอนเป็นอย่างมาก

อาจารย์ดวงดาว เทพทองคำ: การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นการฟังที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น จะมีความคิดหรือความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นมา ซึ่งความคิดนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้  ซึ่งในระหว่างนี้ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดควรละเว้นการสอดแทรกเนื้อหาด้านวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง

อาจารย์อิทธิพล แก้วฟอง  : การสะท้อนคิดนักศึกษาจะปฏิบัติตามๆกันมาเป็นรูปแบบเดียวกัน นักศึกษาจะไม่กล้าที่จะคิด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง  หรือนักศึกษาบางคนคิดไม่เป็นเพราะนักศึกษามีความเชื่อว่าตามบริบทของสังคมที่มักจะถูกตำหนิ ติเตียน หากใครที่มีความคิดที่แตกต่างจากผู้อื่นจะเป็นคนที่ไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่ม และอาจารย์ผู้สอน ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับการที่ผู้สอนควรเปิดใจยอมรับฟัง (open minded) เพื่อให้นักศึกษาลดความกลัว ความวิตกกังวล มีความเป็นกันเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น จะเห็นได้จากการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยการให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย และการกระตุ้นให้นักศึกษาสะท้อนคิดโดยการตั้งคำถาม เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง สิ่งสำคัญ คือ ผู้สอนควรเปิดใจยอมรับฟัง (open minded) และมองนักศึกษาโดยปราศจากอคติ ไม่มองว่านักศึกษาคิดไม่เป็น แต่ให้มองอย่างเข้าใจในกรณีที่นักศึกษามีความคิดเห็นที่แตกต่าง และทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ได้ดีต้องมีพื้นฐานและประสบการณ์มาก่อน

อาจารย์สุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์  : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ นักศึกษาไม่ยังติดกรอบความคิดเดิมๆ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในกรณีที่คิดแตกต่างจากเพื่อนในกลุ่มและอาจารย์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งด้านผู้สอนและปัจจัยด้านนักศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคม ที่ส่งเสริมหรือไปขัดขวางการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดของนักศึกษา สิ่งสำคัญคือ ผู้สอนควรเข้าใจในความแตกต่างของผู้สอนและพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคน

อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว : ผู้สอนควรทำความเข้าใจในกระบวนการสะท้อนคิด ๖ ขั้นตอนของ Gibb-cycle ซึ่งจะบรรยายต่อเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น  ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร สิ่งที่เห็นเป็นอย่างไร บอกความรู้สึกอะไร สร้างคำถามให้นักศึกษาชวนคิด จะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ถึงการตระหนักรู้ในตนเอง สะท้อนเหตุการณ์ทุกประเด็นทำให้เกิด ความรู้สึกและการสะท้อนคิดในรายวิชาภาคปฏิบัติ ซึ่งจากประสบการณ์ในการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ จะนำแนวคิดนี้ไปใช้กับกรณีศึกษาที่มีเหตุการณ์สะกิดใจหรือสะเทือนความรู้สึก ผู้สอนจะหยิบยกประเด็นขึ้นมาและตั้งคำถามเพื่อชวนให้นักศึกษาแสดงความรู้สึก และสะท้อนคิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วกระตุ้นให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยการตั้งคำถามและตั้งประเด็นหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนักศึกษาหรือครอบครัวของนักศึกษาเอง นักศึกษาจะปฏิบัติอย่างไร และจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง

อาจารย์มณฑา  อุดมเลิศ : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาฝึกปฏิบัติ พบว่านักศึกษาเขียนรายงานการสะท้อนคิดมาในรูปแบบเดียวกัน เหมือนปฏิบัติตามกันมา จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่แท้จริง จึงมีการปรับเปลี่ยนให้นักศึกษาเขียนรายงานการสะท้อนคิดส่งทุกสัปดาห์ โดยให้นำประเด็นที่เกิดขึ้นกับกรณีศึกษามาเปิดประเด็นให้นักศึกษาวิเคราะห์ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น นักศึกษามีความรู้สึกอย่างไร และนักศึกษาจะทำอย่างไรต่อไป โดยเน้นประเด็นด้านความรู้สึก ความเชื่อ และมีการอ้างอิงจากทฤษฎี

สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

สรุปแนวทางที่นำไปใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

๑.      ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะครู How to be reflective teacher

๒.      ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษา How to be reflective learner

๓.  สร้างสิ่งแวดล้อม จัดสภาพบริบทให้ส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด

คุณสมบัติผู้สอน คุณสมบัติผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
1. เปิดใจกว้าง ไม่มีอคติ

2. ตั้งคำถามชวนคิด

3. ฟังอย่างตั้งใจ

4. คิดเป็น concept

5. ยืดหยุ่น

6. จริงใจ ตรงไปตรงมา

7. ให้กำลังใจ

8. Feed back เร็ว

1. ช่างสังเกต ไวต่อบริบท

2. เข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก

3. กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน

4. ฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้าง

5. คิดเป็นระบบ (ยากมาก)

6. ใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้

7. ประเมินตนเองได้

1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อคุณลักษณะของผู้เรียน

2. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ฝึกให้มีความ “กล้าคิด”

3. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนแบบสะท้อนคิดเช่น หนังสือ สื่อ แหล่งความรู้ภายนอก ฯลฯ

มติที่ประชุม: รับทราบ และนำไปเป็นแนวทางการ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องหารือที่ประชุม

มติที่ประชุม: -

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

มติที่ประชุม: -

ปิดประชุม เวลา  ๑๕.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาวจิราพร     วิศิษฎ์โกศล)

ลงชื่อ…………………………………ผู้ช่วยบันทึกการประชุม

(นางพัชรินทร์  วงษ์สว่าง)

ลงชื่อ…………………………………ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง)

ประธานที่ประชุม

12/02/2019

รายงานการประชุม การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 3:43 pm
Reactions :34 comments

รายงานการประชุม

การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

วันพุธที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๒  ณ ห้องประชุมอังศนา ชั้น ๓ อาคาร ๑๐๐ ปี การสาธารณสุขไทย

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.  นางอนัญญา คูอาริยะกุล                 รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ

๒.  นางประภาพร มโนรัตน์                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.  นางสาววราภรณ์ ยศทวี                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.  นางสาวอัญชรี เข็มเพชร                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.  นายบุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์                   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.  นางวาสนา ครุฑเมือง                    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.  นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์              พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นางดาราวรรณ บุญสนธิ                  พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๐. นางจิราพร ศรีพลากิจ                   พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑. นายนพรัตน์ สวนปาน                   พยาบาลวิชาชีพ

๑๒. นางสาวณัฎฐ์ฌาฑ์ สร้อยเพ็ชร           พยาบาลวิชาชีพ

๑๓. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์                   เลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

๑.  นางวิมล อ่อนเส็ง                         พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

ร้อยละของจำนวนผู้เข้าประชุม ๙๒.๘๕

ประธานที่ประชุม นางอนัญญา คูอาริยะกุล

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑   เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่องสืบเนื่องจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ.กำหนดให้วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดพระบรมราชชนกดำเนินการเรื่องการจัดการความรู้ โดยในปีการศึกษา ๒๕๖๑ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ กำหนดประเด็นจัดการความรู้ที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้อาจารย์แต่ละคนเลือกประเด็นการจัดการความรู้ตามความสนใจ  การจัดการความรู้เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่” ถือว่าเป็นประเด็นหนึ่ง

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีและวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยมอบหมายให้อาจารย์อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ ผู้รับผิดชอบงานจัดการความรู้ดำเนินการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน     เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่(ทบทวน) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกำหนดแนวทางการเขียนบทความวิชาการต่อไป

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น และจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และกรกฎาคม ๒๕๖๒

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒  รับรองรายงานการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๓  เรื่องสืบเนื่อง

-

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องหารือที่ประชุม

การกำหนดแนวปฏิบัติ “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่”  มีประเด็นดังนี้

๔.๑ ขั้นตอนการเตรียม

สิตานันท์ เสนอประเด็น “การเขียนแนวปฏิบัติการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ในขั้นตอนแรกการเลือกเรื่องหรือประเด็นไม่ต้องระบุรายละเอียดเช่น ความสนใจ ความเชี่ยวชาญ และความทันสมัย ซึ่งจะเขียนในคำอธิบายประกอบการใช้แนวปฏิบัติไว้แล้ว”

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๑.๑ การเลือกเรื่องหรือประเด็น ควรตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสนใจของผู้เขียน มีความทันสมัย อยู่ในขอบข่ายที่สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ง่าย เพื่อให้สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม และควรมีการทบทวนเรื่องหรือประเด็นที่จะเขียนจากแหล่งเผยแพร่ต่างๆว่ามีการเสนอในแง่มุมใดบ้าง  มีแง่มุมใดที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งผู้เขียนจะสามารถหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อชี้นำว่ามีความสำคัญและน่าสนใจ

๔.๑.๒ การกำหนดวัตถุประสงค์การเขียนบทความวิชาการ ควรตอบคำถามตามหลัก W ๑ H ในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบการนำเสนอ ประกอบด้วย Who   “จะเขียนให้ใครอ่าน” เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้วิเคราะห์ความต้องการ คุณค่าหรือประโยชน์  ที่ผู้อ่านจะได้รับ  What “จะเขียนเรื่องอะไร”  Where “จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” เพื่อคัดเลือกวารสารที่จะเผยแพร่พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการเขียน  ศึกษาแนวทางและเทคนิคการเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบวารสารนั้นๆ When “เวลาที่จะนำบทความลงเผยแพร่เมื่อใด” เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่นำเสนอที่ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน Why “จะนำเสนอเรื่องนี้ไปทำไม”เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการให้เกิดอะไร How “จะนำเสนอเรื่องนี้อย่างไร” (ซึ่งมีรายละเอียดในขั้นตอนการเขียนโครงเรื่อง) โดยแต่ละคำตอบจะมีความเชื่อมโยง สอดคล้องและต่อเนื่องกันเพื่อผู้เขียนจะไม่ได้หลงประเด็น

๔.๑.๓ การเขียนโครงเรื่องของบทความวิชาการ ควรจัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับความสำคัญ และมีความสัมพันธ์ของเนื้อหา เพื่อให้มีขอบเขตของเรื่อง ที่ชัดเจน ครบถ้วนและไม่ซ้ำซ้อนกัน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

๑) ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งที่เป็นความรู้  ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่หลากหลาย เช่น หนังสือ  บทความ  วารสาร ข้อมูลการสัมภาษณ์  การสังเกต เป็นต้น หลังจากนั้นใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ หรือสังเคราะห์

๒) จัดหมวดหมู่ประเด็น เป็นการวิเคราะห์แนวคิดหรือประเด็นที่จะเขียนบทความวิชาการให้กระจ่าง โดยการแยกแยะประเด็นในแง่มุมต่างๆตามแนวคิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันให้อยู่พวกเดียวกัน หรือกำหนดขอบเขตเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย โดยอาจเขียนในรูปแบบผังมโนทัศน์ (concept  mapping)

๓) จัดลำดับความคิดให้เป็นระบบตามวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตามลำดับ เช่นจากประเด็นที่กว้างๆหรือทั่วไปสู่เรื่องประเด็นเฉพาะ  จากเรื่องเฉพาะไปสู่เรื่องกว้างๆ   ตามความสำคัญของเนื้อหาลดหลั่นลงมา  ตามเหตุการณ์หรือระยะเวลาตามลำดับการเกิดก่อน-หลัง  ตามการตั้งประเด็นคำถาม แล้วตอบคำถาม ขยายความ ยกตัวอย่าง ทีละประเด็น  ทั้งนี้ขึ้นวิธีการลำดับเนื้อหาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การเขียนและขอบเขตเนื้อหา

๔.๒ ขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ

อ.อลิษา เสนอประเด็น “ปัญหาที่พบจากการเขียนบทความในรอบปีที่ผ่านมา ยังคุ้นชินกับการรายงาน ทำให้ไม่มีความสอดคล้องของเนื้อหาของผู้เขียน”

อ.จิราพร เสนอประเด็น “ปัญหาคล้ายคลึงกันคือเขียนแล้ว เมื่อให้คนอื่นมาอ่านพบว่าภาษาที่ใช้ไม่ต่อเนื่อง”

มติที่ประชุม ดังนี้

ควรประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ส่วนนำ เนื้อหา และส่วนท้าย โดยในแต่ละส่วนของบทความควรมีความสอดคล้อง ต่อเนื่องกันในการเขียน (อาจให้ผู้รู้หรืออาจารย์ท่านอื่นช่วยอ่านเพื่อดูความเข้าใจและความต่อเนื่องในการเขียน)

๔.๓ ขั้นตอนการตีพิมพ์

อ.ณัฎฐ์ฌาฑ์ เสนอประเด็น “ตอนนี้อยู่ระหว่างการ edit บทความวิชาการของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ ปัญหาที่พบในช่วงแรกคือขั้นตอนการส่งบทความทาง Journals Online (ThaiJo)”

อ.อดุลย์ เสนอประเด็นเพิ่มเติมเช่นกันว่า “ยังขาดความเข้าใจขั้นตอนการรับ-ส่งบทความตีพิมพ์ ทาง Journals Online (ThaiJo)”

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๓.๑ ศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ได้แก่ ความยาวของเนื้อหา  อักษรที่พิมพ์  รูปแบบอ้างอิง   ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์   ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร เช่น APA หรือ Vancouver เป็นต้น

๔.๓.๒  ขั้นตอนการส่งตีพิมพ์/เผยแพร่ ส่งผ่านฐานข้อมูล Journals Online (ThaiJo) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

-

ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป :  -

ลงชื่อ  ………………………………………………..

(นายอดุลย์  วุฒิจูรีพันธุ์)

บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ   ……………………………………………………

(นางอนัญญา  คูอาริยะกุล)                              ตรวจรายงานการประชุม

08/02/2019

รายงานการประชุมชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ PBL ครั้งที่…1…/2561 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2561

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 2:50 pm
Reactions :21 comments

รายงานการประชุมชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ PBL

ครั้งที่…1…/2561 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2561

ณ ห้องประชุมกลุ่มงานอำนวยการและยุทธศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าประชุม

1. นางศศิธร               ชิดนายี           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

2. นางนิศารัตน์           นาคทั่ง           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวเสาวลักษณ์    เนตรชัง           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

4. นางสาวนัยนา          อินธิโชติ          พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นายไพทูรย์             มาผิว             พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

6. นางสาวนัยนา           แก้วคง            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

7. นางอรุณรัตน์           พรมมา           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

8. นางสาววิภาวรรณ     นวลทอง          พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

9. นายวีระยุทธ            อินพะเนา         พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

10. นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี              พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

ไม่มี

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 13.00 น.

ประธานการประชุม -

ระเบียบวาระที่ 1   เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- ไม่มี -

ระเบียบวาระที่ 2   รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี -

ระเบียบวาระที่ 3   เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี -

ระเบียบวาระที่ 4   เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี -

ระเบียบวาระที่ 5   เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี -

ระเบียบวาระที่ 6   เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้

ผู้รับผิดชอบรายวิชามโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล ได้ดำเนินการให้ผู้สอน ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning [PBL]) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล ปีการศึกษา 2560 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555)  โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี “การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning [PBL])” พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ยังคงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) และ 3)  ขั้นประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอบแบบ PBL เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติม ดังนี้

1) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ ข้อที่ 2 สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)                      พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติประเด็นย่อยเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ว่า Triggers ที่ดี นอกจากการมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ได้แก่ 1) สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ 2) ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน 3) มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ 4) มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียน และ 5) มีคำถามกระตุ้น (trigger question) ผู้เรียนแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อให้ได้โจทย์ปัญหาที่ดี คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวิพากษ์ ร่วมปรับปรุงโจทย์ปัญหา โดยผู้ร่วมสอนทุกคนอย่างจริงจัง เข้มข้น ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหาที่ดี ปรับปรุงโจทย์ปัญหาอีกครั้ง จนได้โจทย์ปัญหาใหม่ ภายใต้การตอบคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณ์และความครบถ้วนของโจทย์ปัญหาที่ดี ดังนี้

โจทย์ปัญหา

“ทำไมคุณยายจึงล้ม”

พยาบาล ก. รับใหม่ผู้ป่วยสูงอายุ ขณะผู้ป่วยเดินมากับเจ้าหน้าที่   พยาบาล ก. เห็นว่าผู้ป่วยเดินมาเอง    จึงหยิบเสื้อผ้าให้ และให้ไปเปลี่ยนในห้องน้ำ ทันใดนั้นเองก็มีเสียงดัง “โครม!” พยาบาล ก. จึงรีบไปดูในห้องน้ำ พบว่า ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกในห้องน้ำ ลุกเดินไม่ได้

พยาบาลสมศรี พยาบาลหัวหน้าตึก ทราบเรื่อง จึงถามพยาบาล ก. ว่าเพราะอะไร จึงไม่ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนที่จะให้ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องน้ำ รู้มั้ยคุณยายตามัว มองไม่ค่อยเห็น 11 แบบแผนกอร์ดอนทำไมไม่ใช้ แล้วอย่างนี้จะใช้กระบวนการพยาบาลดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร

แนวทางการตั้งคำถามจากโจทย์สู่การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สำหรับอาจารย์

ปัญหาจากโจทย์

(Cue recognition or problem)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

(Learning Objective)

คำถามนำ

(Trigger Question)

หลังจากผู้เรียนอ่านโจทย์ปัญหาจบ วิเคราะห์ Trigger มีข้อมูลใดบ้าง             ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล
ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกใน

ห้องน้ำ ลุกเดินไม่ได้

1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ 11 แบบแผนสุขภาพ            กอร์ดอน

  • ความหมาย
  • องค์ประกอบของแบบแผน
  • · แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน คือ อะไร
  • · แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน
มีทั้งหมดกี่แบบแผน อะไรบ้าง
2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย

2.1 ความหมาย ความสำคัญและแนวคิดของกระบวนการพยาบาล

2.2. ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล

  • การประเมิน (Assessment)
  • การวินิจฉัย (Diagnosis)
  • การวางแผน (Planning)
    • การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing)
  • การประเมินผล (Evaluation)

2.3 ลักษณะเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมของกระบวนการพยาบาล

2.4 การบันทึก และการรายงาน

  • กระบวนการพยาบาลมีวิวัฒนาการมาอย่างไร
  • กระบวนการพยาบาลคืออะไร
  • กระบวนการพยาบาลมีประโยชน์มีความสำคัญอย่างไร
  • กระบวนการพยาบาลกับวิทยาศาสต์สังคม มีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
  • กระบวนการพยาบาลมีขั้นตอนอะไรบ้างและแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร

แนวทางการระบุปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การตั้งสมมุติฐาน และกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สำหรับอาจารย์

ปัญหาจากโจทย์ สาเหตุของปัญหา สมมุติฐาน วัตถุประสงค์การเรียนรู้

(Learning Objective)

ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกในห้องน้ำ

ลุกเดินไม่ได้

  • ตามัว มองไม่เห็น
  • พยาบาลไม่ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อน
  • พยาบาลไม่เห็นความสำคัญของการใช้เครื่องมือ 11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาล
1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้             11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอนก่อนปฏิบัติการพยาบาลจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้ป่วย 1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ

11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน

  • ความหมาย
  • องค์ประกอบของแบบแผน
2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจะทำให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมาย 2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย

  • แนวคิด
  • ความหมาย
  • ขั้นตอน
  • วิวัฒนาการ
  • ความสำคัญ/ประโยชน์
  • ปัญหาในการใช้

2) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ เพิ่มเติมข้อที่ 3 คือ การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

3) ขั้นที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ใน Step 6 :  Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้                              พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ ขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง                  แต่ครู/ผู้สอน ควรเพิ่มเติมบทบาทที่สำคัญอีกประการ คือ ผู้สอนจะต้องคอยกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ

4) ขั้นที่ 3 : การประเมินผล จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

มติที่ประชุม 1. รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555) ต่อไป

2. ให้ขยายผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL)               ในรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ……………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวนัยนา    แก้วคง)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

วันที่…………./…………………../…………….

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning :

กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 : 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560]

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 4 ในรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยแนวปฏิบัติฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem–based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1   :   เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่

1. จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)  ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม  จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน           ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL  ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2. สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน/ประเด็นเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

2.1 สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3 มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีหัวเรื่องและเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ประเด็นพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเติมเต็มการเรียนรู้ ดังนี้

(1) ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

(2) สร้างสถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning) หรือผู้ป่วยเสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างความมีชีวิตชีวา (ความสด) ของโจทย์ปัญหา ทำให้โจทย์น่าสนใจ มีการสื่อสารสองทาง (two way communication) กระตุ้นการสร้างมโนทัศน์การรับรู้และความเข้าใจในโจทย์ปัญหาได้ดีขึ้น

(3) ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้      ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

4. เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

4.1 ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า “Teach less learn more”

4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง  รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

4.3 จัดสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5. เตรียมผู้เรียน ดังนี้

5.1 วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ตลอดจนเด็กที่มีประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเด็กที่เก่งและหรือเด็กที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องตามโจทย์ปัญหานั้นๆ จะเป็นตัวกระตุ้นพลวัตกลุ่ม (group dynamics) ทำให้สมาชิกกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

5.3 สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL แก่ผู้เรียน

5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

5.5 สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัยแก่ผู้เรียน เพราะบรรยากาศที่เป็นมิตร จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระ ปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามหรือบีบบังคมให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ  อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนด้วยตนเอง

ขั้นที่ 2   :   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 – 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 :  Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยในขั้นตอนนี้ สามารถเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจโจทย์หรือสถานการณ์ปัญหาเสมือนหนึ่งเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ให้มากที่สุดด้วยวิธีการให้นักศึกษาร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) ตามโจทย์ปัญหาที่กำหนดขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้เรียนได้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมตามบทบาทที่แสดงแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเบิกบานจากการแสดงหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหว ไม่เครียด ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ถูกกดดัน และเปิดใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่อง

Step 2 :  Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 :  Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา โดยขั้นตอนนี้ สามารถใช้เทคนิค Mind map เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Mind map จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการจัดระเบียบความคิดทั้งแบบคิดกว้างและคิดลึก ช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ของสถานการณ์/โจทย์จากกระดาษแผ่นเดียว ทำให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจและต่อยอดความรู้ได้ เป็นต้น

Step 4 :  Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 :  Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 :  Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาทที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ    หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and  principles derived from studying  this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่ 3   :   ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)

1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด      ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว  จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Simulation Based Learning : SBL

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 12:35 pm
Reactions :33 comments

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Simulation Based Learning : SBL

วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าประชุม

๑.      นายสืบตระกูล             ตันตลานุกูล           พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๒.      นางสาวสุปราณี            หมื่นยา                พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๓.      นายภราดร                 ล้อธรรมมา            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๔.      นายทิฐิ                     ศรีวิสัย                 พยาบาลวิชาชีพ (พกส.)

๕.      นางสายฝน                วรรณขาว             พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ผู้เข้าร่วมการประชุม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ประธานการประชุม นายสืบตระกูล   ตันตลานุกูล

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. สรุปสาระสำคัญจากการประชุมโครงการการจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation Based Learning : SBL) ของวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือ ในวันที่ ๒๖ – ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ มีรายละเอียดดังนี้

๑.๑ ความสำคัญและความเป็นมาของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สถานการณ์เสมือนจริง (SBL) นั้น เนื่องจากใน ปี ค.ศ. 1920 มีการสร้างสถานการณ์เพื่อจำลองสถานการณ์ ในการฝึกฝนนักเรียนหลักสูตรการบิน และในช่วงปี ค.ศ. 1950จึงมีการนำแนวคิดนี้นำมาประยุกต์ใช้ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะในการปฏิบัติงาน และต่อมาในปี ค.ศ. 1980 แนวคิดนี้จึงได้รับการพัฒนามากขึ้น เช่น การประดิษฐ์หุ่นคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการฝึกทักษะ การดูแลระบบทางเดินหายใจและการช่วยฟื้นคืนชีพ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ สามารถเพิ่มสมรรถนะ (self-efficacy) ทางคลินิกของนักศึกษาในการดูแลผู้ป่วยเสมือนจริงในสถานการณ์จำลองต่างๆอย่างถูกวิธีภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สามารถช่วยลดความวิตกกังวลของนักศึกษาก่อนการลงมือปฏิบัติงานจริงในหอผู้ป่วยได้

๑.๒. การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ขั้นตอนของการเตรียมการ หรือ Preparing process เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านอาจารย์ผู้สอน ผู้เรียน ทีมสนับสนุน  สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ ให้สอดคล้องในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

๑.๒.๑ ผู้สอน (Facilitator)

ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาที่จัดการเรียนการสอน และมีทักษะการจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การสื่อสาร โดยผู้สอนจะควบคุมสถานการณ์ในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์จำลอง โดยผู้สอนต้องเตรียม ดังนี้

๑) ผู้สอนมีบทบาทในการพิจารณาวัตถุประสงค์การเรียน จากความต้องการจำเป็นพื้นฐาน เอกสารหลักสูตร สมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน และออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย SBL และวางแผนจัดตารางหมุนเวียนกิจกรรมของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์

๒) ผู้สอนต้องเลือกใช้สถานการณ์จำลอง หรือสร้างสถานการณ์จำลองใหม่ให้มีความเสมือนจริงให้มากที่สุดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาการเรียนรู้ rพร้อมทั้งเขียนข้อมูลในโปรแกรมควบคุมหุ่น

๓) ผู้สอนต้องพิจารณาเลือกหรือสร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้

๔) ผู้สอนต้องเตรียมการชี้แจง/อธิบายกระบวนการดำเนินการสอนแก่ผู้เรียน บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน ได้แก่ ผู้ดำเนินสถานการณ์ในห้องเรียนสถานการณ์จำลองและผู้สังเกตการณ์ รวมถึงการบอกวัตถุประสงค์และหัวข้อการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง

๑.๒.๒ ผู้เรียน (Student)

ผู้เรียน หมายถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง โดยผู้เรียนมีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาที่ศึกษา แบ่งกลุ่มปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

๑.๒.๓ ทีมสนับสนุน (facilitator assistant)

ทีมสนับสนุน หมายถึง ผู้ที่ช่วยผู้สอนในการจัดเตรียมสถานการณ์ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ในการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลอง โดยทีมนี้จะมีบทบาทในการช่วยในการจัดเตรียมและตกแต่งหุ่นจำลองให้เสมือนจริงมากที่สุด จัดสถานที่ สิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริงมากที่สุดตามสถานการณ์ รวมถึงการช่วยผู้สอนนำข้อมูลจากสถานการณ์จำลองลงโปรแกรมควบคุมหุ่นจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้สอดคล้องตามสถานการณ์ และมีความพร้อมใช้งาน

๑.๒.๔ การเตรียม สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือ และเวชภัณฑ์

การจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลอง จะต้องเตรียมความพร้อม ดังนี้

1). หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองได้

2). Computer, Internet และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3). อุปกรณ์ วัสดุและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น  อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ อุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์ดูแลการหายใจ อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง  อุปกรณ์ดูแลระบบไหลเวียนและกระตุ้นหัวใจ อุปกรณ์ห้ามเลือด อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้าย และเครื่องมือตรวจอื่น ๆ  ที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4). วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ใช้ทำหัตถการต่างๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Syringe เข็ม Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดสวนปัสสาวะ ชุดเจาะปวด ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5). เวชภัณฑ์ ประกอบด้วย ยากิน ยาฉีด ยาพ่น ฯลฯ ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยในแต่ละโรค

6). เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนให้ครบถ้วนและเสมือนจริงมากที่สุด

7). อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

๑.๓. ขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นนำ (Pre – Brief)

เป็นขั้นตอนการเตรียมการผู้เรียนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จำลอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียน
1.บอกวัตถุประสงค์ในหัวข้อที่เรียนรู้ 1. ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. ปฐมนิเทศสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติ ทีมแพทย์ หรือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. ศึกษาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนสถานการณ์จำลอง
3. แนะนำคุณสมบัติและข้อจำกัดของหุ่นจำลองเสมือนจริง สมาชิกในสถานการณ์จำลอง และทีมผู้สอน 3. ศึกษาการทำงานของหุ่น และซักถามข้อสงสัย
4.เน้นย้ำให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยการทำงานเป็นทีม และหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย โดยให้ตระหนักเสมอว่าขณะที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยผู้เรียนมีบทบาทของพยาบาลวิชาชีพการเคารพหุ่นจำลองเสมือนเป็นผู้ป่วยจริง และผู้แสดงอื่นๆในบทบาทที่กำหนด เช่น ญาติผู้ป่วย แพทย์ และเพื่อนร่วมทีม โดยให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
5. ชี้แจงให้ผู้เรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบ หมายในสถานการณ์จำลอง ข้อตกลงเบื้องต้น และการประเมินผล 5.ผู้เรียนในสถานการณ์แบ่งบทบาทหน้าที่ตามบทบาทในสถานการณ์ เช่น หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม สมาชิกทีม
6.ให้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยกับผู้เรียน 6. ศึกษาสถานการณ์

2). ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์ (Scenario running)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 20-30 นาที ผู้เรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เรียน และผู้สังเกตการณ์ ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียน ผู้สังเกตการณ์
1. สังเกต และบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์ 1. ปฏิบัติตามบทบาทตามสถานการณ์จำลอง หรือกระบวนการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย 1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์
2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้เรียนในสถานการณ์ต้องการตามความเหมาะสม เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การรักษาเป็นต้น 2.มีการสื่อสารด้วยวัจนภาษาหรือ

อวัจนภาษาและการทำงาน
ในทีม

2. สังเกต บันทึก การสื่อสารของผู้เรียนในสถานการณ์ต่อผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ ด้วยวัจนภาษาหรือ อวัจนภาษาด้วยการเคารพศักดิ์ศรีและหัวใจความเป็นมนุษย์
3.ปรับบทบาท/ข้อมูลตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น 3. นำความรู้ของกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา การมีภาวะผู้นำและหัวหน้าทีม อย่างถูกต้อง เหมาะสม 3. สังเกต บันทึกกระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจของทีมสุขภาพ
4.กรณีผู้เรียนไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ผู้สอนควรหยุดการดำเนินสถานการณ์ชั่วคราว (Time out) เพื่อเข้าไปชี้แนะถึงแนวทางในการให้การพยาบาลที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นแต่ผู้เรียนยังไม่ดำเนินช่วยฟื้นคืนชีพ หรือทำไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygenmask หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน และที่สำคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา พยาบาลควรใช้คำถามที่ชี้นำหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive) 4. ปฏิบัติทักษะหรือกิจกรรมการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยตามสอดคล้องกับปัญหาที่พบในสถานการณ์จำลองอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเคารพศักดิ์ศรีและคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย และทีมการพยาบาล

5. ประเมินผลการพยาบาล หรือการให้การดูแลรักษา หรือมีการรายงานทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

4.สังเกตบันทึก พฤติกรรมทักษะปฏิบัติการพยาบาล/ดูแลช่วยเหลือตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายเช่น Incharge nurse,Leader nurse, Medication nurse เป็นต้น
5.กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในสถานการณ์ที่แย่ลง 6. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง 5. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง

3). ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Debrief)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30-45นาที เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนสะท้อนคิด (Gibb’s Model) และตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

๑.๔. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การประเมินการเรียนรู้มีหลายวิธี เช่น โมเดลของ Steinwachs, GAS และ 5’S            เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเน้นหรือจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในครั้งนั้นๆโดยให้เล่าประสบการณ์ในสถานการณ์ แสดงความรู้สึกต่อประสบการณ์ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนคิด

วาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง

๑. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ภายในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ความคิดเห็น : อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น SBL จากประเทศอังกฤษ เป็นวิทยากรด้าน SBL เป็นประธานคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล เป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL มีผลงานวิจัยและบทความวิชาการรองรับเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน               โดยใช้สถานการณ์จำลอง เช่น วิจัยเรื่อง ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ และบทความวิชาการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ฉบับพิเศษ ประจำเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ๒๕๖๑ ซึ่งพบว่า ๑. รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของ นักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วยหลักการ จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล  ๒. กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหลังได้รับการสอนโดนใช้ รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา พยาบาลหลังการสอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ๓. กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นภายหลังได้รับการสอนโดยใช้ รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา พยาบาลสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อ.สุปราณี หมื่นยา ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น SBL จากประเทศอังกฤษ เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน

อ.ภราดร ล้อธรรมมา เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

อ.ทิฏฐิ  ศรีวิสัย เป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

อ.สายฝน  วรรณขาว เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

๒. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ความคิดเห็น : อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล พบว่า ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ พบว่า 1. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นหลังจากได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  2. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

วาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

-          ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป

ลงชื่อ…………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสายฝน     วรรณขาว)

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ลงชื่อ………………………………………….ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายสืบตระกูล ตันตลานุกูล)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro