รวบรวมโดย คณาจารย์กลุ่มการเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking) คือ การใช้กระบวนการ ในการคิด และพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ ละเอียดรอบครอบ มีเหตุมีผล ใช้ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ในสถานการณ์อื่นๆ อย่างเหมาะสม

ซึ่งแนวปฏิบัติในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective thinking )ในครั้งนี้ ได้นำแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ไปทดลองใช้และมีข้อเสนอแนะแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น 1.ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน

2.ผู้เรียนศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้

3.ผู้เรียนอธิบายสถานการณ์นั้น โดยบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์

ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ 1.ผู้เรียนอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ เช่น ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานการณ์นี้?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? อธิบายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ
ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ 1.ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน

2.ให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

3.ให้ผู้เรียนนำเสนอ

แนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ  สนับสนุนความคิดของ

ตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง ที่

เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 1.ให้ผู้เรียนนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อของตนเอง

2.ผู้เรียนฟังการนำเสนอของสมาชิกกลุ่ม

3. ผู้ฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือตั้งคำถามโต้แย้ง คัดค้าน ท้าทาย และสะท้อนคิดกับบุคคลอื่นในกลุ่มอย่างเหมาะสม

4. ผู้สอนเอื้อให้เกิดบรรยากาศการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีของสมาชิกในกลุ่ม  และทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจในการแสดงความคิดเห็น

ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด 1. ฝึกให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดอย่างง่าย

2. ให้ผู้เรียนได้จัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่และสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเอง

3. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ 1.ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนอย่างมีเหตุมีผล

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้น

3.ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นในหลายๆ แง่มุม

ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม 1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.ให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม

โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามดังนี้

-เหตุการณ์นี้มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตอย่างไร

-ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-ประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร

แนวปฏิบัติทำเพิ่มเติม

1.จัดเตรียมสถานการณ์ให้มีความหลากหลาย เช่น ภาพยนต์  กรณีศึกษา  แสดงบทบาทสมมุติ ในกรณีที่ต้องทำกระบวนการซ้ำหลายๆรอบ

2.จัดเตรียมคู่มือกระบวนการเรียนแบบสะท้อนคิดให้กับนักศึกษา และอธิบายขั้นตอนการเรียนแบบสะท้อนคิด

3.ขั้นตอนการเตรียมนักศึกษา จัดให้มีกิจกรรม VTS ( Visual Thinking Strategies) เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษากล้าพูดและกล้าแสดงออก ก่อนการจัดการเรียนการสอน

4.ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมฝึกสติ(Mindfulness)  เช่น การเดินจงกลม หรือนั่งสมาธิ ให้จิตจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนการเรียน

5.แนะนำแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม ที่น่าเชื่อถือ

ปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking)มีดังนี้

การเตรียมตัวครู ควรมีลักษณะดังนี้

- มีความตระหนักรู้

- มีความจริงใจ

- ตรงไปตรงมา

- เปิดใจกว้าง

- ศรัทธากระบวนการเรียนรู้

- เสริมแรงให้กำลังใจนักศึกษา

-  มีทักษะในการตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์ มากกว่าคำถามเชิงรู้จำ

การเตรียมผู้เรียน มีลักษณะดังต่อไปนี้

-      สนุกกับความคิด,

-      รับฟังคำตอบหลากหลาย

-      ห้อยแขวนการตัดสินใจ

-      การฟังอย่างตั้งใจ

-      ซื่อสัตย์กล้าหาญ(ความรู้สึกภายใน)

เอกสารอ้างอิง

ดุจเดือน  เขียวเหลือง.(2557).เอกสารประกอบการสอน การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดในนักศึกษาพยาบาล.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์.

Brown, S., & Gillis, M. (1999). Educational innovations. Using reflective thinking to developpersonal professional philosophies. Journal Of Nursing Education, 38(4), 171-175.

Edwards, R. A., Kirwin, J., Gonyeau, M., Matthews, S. J., Lancaster, J., & DiVall, M. (2014). A.Reflective Teaching Challenge to Motivate Educational Innovation. American Journal Of Pharmaceutical Education, 78(5), 1-7.

Heong, Y. M., Yunos, J. M., Othman, W., Hassan, R., Kiong, T. T., & Mohamad, M. M. (2012). The Needs Analysis of Learning Higher Order Thinking Skills for Generating Ideas. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 59, 197-203. doi:https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2012.09.265

Nguyễn, T. M. T., & Nguyễn, T. T. L. (2017). Influence of explicit higher-order thinking skills instruction on students’ learning of linguistics. Thinking Skills and Creativity, 26, 113-127. doi:https://doi.org/10.1016/j.tsc.2017.10.004

Severtsen, B. M. (2011). Reflective thinking -a guide to paradigm shifting in RN -BSN nursingstudents. International Journal Of Nursing Education, 3(1), 66-70.

https://vtshome.org/about/

https://www.nursingtimes.net/roles/mental-health-nurses/how-mindfulness-can-benefit-

nursing-practice/7004433.article