• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

13/03/2015

เวทีเสวนาหัวใจความเป็นมนุษย์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: dao
Time: 5:59 am
Reactions :No comments

Humanistic care โดยคุณ ดารา ยาร์ด

การจัดการความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? ได้เปิดให้มีเวทีการประชุมของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์กร

ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้? ในการเสวนา วิทยาลัยฯ ได้รับเกียรติจากคุณดารา ยาร์ด อดีตหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลสูงเม่น จ.แพร่ มาเป็นวิทยากร ?ให้แนวคิดในการวิเคราะห์การ

บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เพื่อให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการความรู้ในเวที มีตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คนร่วมแสดงความคิดเห็น เล่าประสบการณ์

สะท้อนอัตลักษณ์บัณฑิต “บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” และการจัดการเรียนรการสอนเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีอัตลักษณ์บัณฑิต? การจัดเวทีเสวนา ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้แนบไฟล์

สื่อการเสวนาของวิทยากรไว้ใน web blog นี้ตาม link ที่แสดงไว้ข้างต้น

ภาควิชาพื้่นฐานการพยาบาลฯ

เวทีเสวนา : การจัดการเรียนการสอนแบบ Humanistic care

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: dao
Time: 5:23 am
Reactions :1 comment

Humanistic Care โดยคุณ ดารา บาร์ด

สื่อเสวนา

ภาควิชาพื้ันฐานการพยาบาลได้ดำเนินการจัดเวทีเสาวนา การจัดเการเรียนการสอนที่เน้นหัวใจความเป็นมนุษย์ ภาคใต้ชื่อเรื่อง? Humanistic care แก่นแท้หรือแค่เปลือก ที่ห้องประชุมบานชื่นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558

การประชุมเวทีเสวนามีอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์เข้าร่วมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร? คุณดารา บาร์ด อดีตหัวหน้าฝ่ายการโรงพยาบาลสูงเม่น จ.แพร่ และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 คนในการสะท้อนถึงการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต ” การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” ประโยชน์ที่ได้รับจากการเสวนาทำให้ได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนดลยี ที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

และรวดเร็ว กับบริการสุขภาพที่ต้องปฏิบัติด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? การพัฒนาตนเองจากภายนในเพื่อสอนนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ?ต่อไป?? ในการเสวนา? ภาควิชาฯ? ได้แนบไฟล์ Humanistic care ของวิทยากรไว้ใน web blog? นี้

อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

การสอนในครั้งนี้ื มีตัวแทนนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมเสวนา

10/03/2015

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: dao
Time: 9:19 am
Reactions :3 comments

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล?

ครั้งที่? 6/2557? วันที่ 19 ธันวาคม 2558

?

รายชื่ออาจารย์เข้าประชุม

  1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ???????????? ประธานการประชุม
  2. นายนภดล เลือดนักรบ
  3. นางสาวศิราวัลย์ เหรา
  4. นางสาวสุปราณี หมื่นยา??????????????????? เลขานุการ
  5. นางสาววัชราภรณ์ คำฟองเครือ????????? ผู้ช่วยเลขานุการ

?

เปิดประชุมเวลา 13.30 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 การจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? เรื่องที่?2 สืบเนื่องการดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

?ระเบียบวาระที่?2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2557

-????????? รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 5/2557 ไม่มีการแก้ไข

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

????????? 3.1 จากการประชุมครั้งที่ 5/2557 เดือนพฤศจิกายน 2557? หน้า 3 ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องหารือ เกี่ยวกับการประสานงานจากวิทยากรที่บรรยายในโครงการเตรียมความพร้อมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่กำหนดไว้ในร่างกำหนดการ วันที่ 23 ธันวาคม 2557 เดิมคือการวางแผนประสานงานกับวิทยากรจากต่างจังหวัดเพื่อบรรยายเรื่องคุณธรรมจริยธรรมกับการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? มติที่ประชุม: นิมนต์พระปลัดอนุชิต อธิปัญโญ รองเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

ระเบียบวาระทีที 4 เรื่องหารือ

????????? 4.1 หารือที่ประชุมเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการวางแผนที่จะมีการจัดการความรู้เป็นระยะนับตั้งแต่ขั้นเตรียมการ? ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้แบบวิเคราะห์การดำเนินการในรายวิชาทฤษฎีหลักการและเทคนิคการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล สอบถามความคิดเห็นจากที่ประชุม

????????? มติที่ประชุม: เห็นด้วยที่จะมีการจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลภาคทฤษฎี ทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยในการประชุมครั้งนี้ ในระเบียบวารที่ 5 เรื่องอื่นๆ? จะเป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาฯ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงจากการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปยังการวางแผนในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป และเพื่อสรุปเป็นขั้นประเมินผลอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

????????? 5.1 การจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ขั้นตอนการดำเนินการ

?? 1.1ขั้นเตรียมการ อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ ?มีการวางแผนการจัดการเรียนกาสอน

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่กับแนวคิดการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

????1.2?? ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้และกระตุ้นให้

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด? ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลและวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลเลือกวิธีการ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏี ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ (Demonstration-Return Demonstration Method) ในการเรียนภาคทดลองในห้องปฏิบัติการ และการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ และใช้วิธีการศึกษาจากสถานการณ์จริง (authentic learning) ในการเรียนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วย

????????1.3 เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคทดลอง? การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในโครงการและการฝึกภาคปฏิบัติดังนี้

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
1. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี) VARK learning style -VCD /เครื่องเสียง/ปากกา/กระดาษ/เอกสารประกอบการสอน
2. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทดลอง) Demonstration-Return Demonstration Method -หุ่นจำลอง

-วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-อาจารย์ผู้สอน

-แบบประเมินผล

3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Panel Discussion

Game

Cooperative Learning

Team based Learning

Case Study analysis

-วิทยากร

-อาจารย์ภาควิชาฯ

-นักศึกษา

-อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Group Discussion

Story Telling

-รายงานผู้ป่วย (chart)

-VCD

4. ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล Case study

Authentic learning

-อุปกรณ์บนหอผู้ป่วย

-สถานการณ์บนหอผู้ป่วย

-อาจารย์/นักศึกษา

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา/ผู้ดูแลผู้ป่วย

-พยาบาลและทีมสหวิชาชีพ

????????? 1.4 วางแผน จัดลำดับและแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยอาจารย์ภาควิชาฯ มีการระบบการวางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรม โดยการแจ้งระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ภาควิชาฯวางไว้ มอบให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรดำเนินการให้เรียบร้อย

????????? 1.5 การแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เห็นว่าในแผนจัดการศึกษาการแบ่งกลุ่มนักศึกษาได้กำหนดไว้แล้วขอให้อาจารย์พิจารณาความเรียบร้อยอีกครั้ง สำหรับกลุ่มในการเรียนภาคทดลอง อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนจำนวนเฉลี่ย 10 -11 คน/กลุ่ม และมีการกระจายนักศึกษาที่มีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดี ปานกลาง และพอใช้

2. ขั้นสอน อาจารย์ในภาควิชา ฯ เห็นควรดำเนินตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอน ขั้นนำสู่บทเรียน? ขั้นสอนเนื้อหา และขั้นประเมินผล

3. ขั้นประเมินผล? ในแต่ละการออกแบบการสอน จะกำหนดการประเมินผลไว้และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนและการออกแบบการเรียนรู้

????????? มติที่ประชุม : ?เห็นตามที่จัดการความรู้ร่วมกัน

ปิดการประชุม : 16.45 น.

????????????????????????????????????????????????????????? ????????? ………..สุปราณี หมื่นยา…………

?? ?????????????????????????????????????????????????????? ???????????? ? (นางสาวสุปราณี หมื่นยา)

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????ผู้บันทึกรายงานการประชุม

????????????????????????????????????????????????????????? ????????? ……….ดวงดาว เทพทองคำ……

????????????????????????????????????????????????????????? ??????????? ?(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

??????????????????????????????????????????????? ????? ??? ??????? ?หัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

สรุปการจัดการความรู้

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: dao
Time: 9:10 am
Reactions :7 comments

?

สรุปการจัดการความรู้

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต

การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? (Humanistic care)

โดย ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.ขั้นเตรียม

?????????? จากการประชุมการจัดการความรู้ในขั้นเตรียมการ อาจารย์ได้มีการศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? เพื่อการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายสรุปได้ดังนี้นับตั้งแต่จัดการเรียนการสอนวิชาทางการพยาบาลที่มีการเน้นหรือการกล่าวถึง ?ความเอื้ออาทร? มากขึ้น ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุขได้นำการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาเป็นแนวคิดหลักในการบริการสุขภาพแก่ประชาชน และสถาบันพระบรมราชชนก ได้กำหนดให้ การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นอัตลักษณ์ของบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ? การเตรียมการของอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล จึงต้องทำความเข้าใจคำนิยามที่สถาบันพระบรมราชชนกกำหนดไว้ ความว่า

?การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หมายถึง การให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการ ของผู้รับบริการที่เป็นจริง? โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก?? เมื่อทำความเข้าใจแล้วอาจารย์ในภาควิชาได้หารือร่วมกันในการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ในการจัดการเรียนการสอน?จากคำนิยามและการทำความกระจ่างชัดในนิยามจะนำไปสู่การวางแผนการจัดการเรียนการสอนในขั้นสอนและการประเมินผล

?????????? 1.1 ?การทำความเข้าใจกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน เนื่องด้วยการพัฒนาบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นการพัฒนาที่มีความเป็นนามธรรมค่อนข้างสูงเพราะการประเมินพฤติกรรมการบริการสุขภาพต้องอาศัยการสังเกตจากสถานการณ์จริง ผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อให้ได้นักศึกษาพยาบาลที่มีหัวใจการบริการด้วยความเป็นมนุษย์จึงต้องมีผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่คาดเดาได้ว่านักศึกษาจะเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถดูแลเพื่อนมนุษย์อย่างมนุษย์ดูแลซึ่งกันและกันได้

???????? 1.2 การศึกษาและเลือกรูปแบบและเทคนิควิธีแบบ Active Learning ที่ใช้ในการสอนเพื่อพัฒนา

นักศึกษาสามารถใช้ได้หลากหลายวิธีซึ่งภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการการเตรียมความพร้อมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีอยู่ด้วยกัน อาทิ VARK learning style, Demonstration ?Return Demonstration Method ,Game, Panel Discussion, Case study, Authentic Learning เป็นต้น โดยรูปแบบทั้งหมดมีแกนกลางการเรียนรู้ที่สำคัญคือ การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanistic care) อาจารย์จะใช้รูปแบบหลากหลายวิธีเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแบบลึกซึ้งให้แก่นักศึกษาโดยมี ความเชื่อว่ารูปแบบหรือเทคนิควิธีแบบ Active learning จะเป็นเครื่องมือในการทำให้นักศึกษาเข้าใจอย่างแท้จริงและสามารถนำไปใช้หรือแสดงออกเป็นพฤติกรรมได้

?????????? 1.3 การเตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการสนับสนับการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ข้อค้นพบจากการจัดการความรู้คือ การเตรียมสื่อสามารถสร้างสรรค์จากแนวคิดของผู้เรียนและผู้สอนตลอดจนการเตรียมจากสถานการณ์จริงที่ใช้สอน ซึ่งสถานการณ์จริงจะเป็นโจทย์ที่สำคัญในการให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และสื่อโดยใช้สถานการณ์จริงซึ่งประกอบด้วยสถานที่ บุคคล เหตุการณ์ เวลา ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาเรียนรู้คำว่า ?การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? ได้ดีที่สุดในทัศนะของอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

?????????? 1.4 การวางแผนและการมีระบบเปรียบเสมือนแผนที่ที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีเป้าหมายและสร้างความกระจ่างชัดให้แก่ผู้เรียน

?????????? 1.5 การแบ่งกลุ่มนักศึกษาที่มีความเหมาะสม คำว่าเหมาะสมไม่ได้หมายถึง นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีอยู่กลุ่มเดียวกัน แต่กลุ่มที่เหมาะสมในการเรียนรู้การพัฒนาตนเองให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์คือการเรียนรู้ในกลุ่มที่มีธรรมชาติของผู้เรียนแตกต่างกัน ผลการเรียนต่างกัน ความสามารถเฉพาะบุคคลต่างกัน ความแตกต่างระหว่างบุคคลจะทำให้เป็นการเรียนรู้ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน การเข้าใจมนุษย์คือส่วนประกอบที่สำคัญในการบริการสุขภาพแบบเข้าใจในบุคคลและการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

?

2. ขั้นสอน

?????????? 2.1 ขั้นนำสู่บทเรียน การสอนนักศึกษาด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ที่ภาควิชาฯ นำมาใช้จะเริ่มต้นด้วยการสื่อด้วยภาพ ซึ่งอาจจะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ดิวิดีประกอบการเรียน เรื่องแม่จ๋าอย่างร้องไห้ ในการสอนนักศึกษา เรื่อง หลักการและเทคนิคการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ภาพยนตร์ประกอบเพลง(music video) การดูแลสุขภาพด้วยความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันของสองสามีภรรยาที่สื่อโดยนักร้องที่มีชื่อเสียงในสังคม การนำเข้าสู่เข้าบทเรียนด้วยวิธีการที่สื่อด้วยภาพจะทำให้นักศึกษาได้รับรู้ทางประสาทจากการมองเห็น (Visual) การได้ฟังเสียง (Auditory/Audio) ที่จะนำไปสู่อารมณ์ความรู้สึกและการนึกคิดได้ง่าย

?????????? 2.2 การสอนเนื้อหา จะเป็นการผสมผสานกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือรูปแบบที่เลือกใช้ แต่การผสมผสานจะต้องมาจากการวางแผนแบบมีลำดับขั้นตอนไว้แล้วนับแต่แรก หากขาดการวางแผนที่ดีจะทำให้การสอนไม่มีเข็มมุ่งที่ชัดเจนและอาจทำให้นักศึกษาเกิดความสับสนได้

????????? 2.2.1 การสอนเนื้อหาที่ภาควิชาฯ นำมาใช้เพื่อพัฒนานักศึกษามีหัวใจความเป็นมนุษย์ประกอบด้วย VARK learning style, Demonstration-Return Demonstration Method, Panel Discussion Game,? Cooperative Learning,? Team based Learning,?? Case Study analysis Group Discussion, Story Telling,? Case study? Authentic learning แต่ละรูปแบบจะแยกใช้ตามวิชา 2 วิชา 1 กิจกรรมเสริมหลักสูตร คือ วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี-ทดลอง) วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล และโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยภาควิชาฯ ได้จัดการความรู้ร่วมกันและพบว่าทั้งหมดนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและเป็นรูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนานักศึกษาให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์ได้

3. ขั้นประเมินผล

????????? การประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิต

การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์? (Humanistic care) มีการกำหนดไว้ในการประเมินผลของการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรโดยผ่านการวิเคราะห์และการสังเคราะห์จากประสบการณ์การจัดการเรียนการด้วยวิธีเดียวกันติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 ปี ข้อสรุปพบว่าการประเมินผลที่สำคัญในการที่จะประเมินได้ว่านักศึกษามีการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้มากน้อยเพียงไดอยู่ที่การสังเกตพฤติกรรมบริการสุขภาพในสถานการณ์จริงประกอบกับความรู้ที่เป็นทฤษฎีที่ผ่านการถ่ายทอดโดยการเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควบคู่กัน แต่ข้อสรุปนี้ควรจะมีการศึกษาวิจัยเพื่อการอ้างอิงตามหลักวิชาการต่อไป

คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

6 มีนาคม 2558

09/03/2015

รายงานการประชุม การจัดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective Thinking)ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

รายงานการประชุม การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. ดร.ดุจเดือน???????????? เขียวเหลือง?????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. ดร.ประภาพร?????????? มโนรัตน์????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? ????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๕. นายอุดลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗. นางสาวอัญชรี?????????????????? เข็มเพชร?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์???????? จูเปรมปรี????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓. นายนพรัตน์????????? สวนปาน?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๔. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ?????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑.๑ ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

แผนการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เรื่องแนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

มติ? รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

-ไม่มี-

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา

-ไม่มี-

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

๑. มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนความรู้เรื่อง Reflective Thinking และมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชานำความรู้มาถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ในภาควิชาได้รับทราบแนวทางของแต่คน ?พร้อมทั้งทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนการสอนที่อาจารย์แต่ล่ะท่านได้นำแนวทางไปปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเรื่อง Reflective Thinking ของภาควิชาต่อไป

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยายความรู้เรื่อง Reflective Thinking โดย อ.ดร.ดุจเดือน? เขียวเหลือง ?ผู้มีประสบการณ์ วิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสําหรับนักศึกษาพยาบาล The Development of the Thought Reflection Learning Model to Enhance Ethical Decision-Making in Nursing for Student Nurses และ อ.บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ ?ได้ผ่านการอบรม Reflective Thinking ที่?? The University of North Carolina at Chapel Hill? โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชาได้ดังนี้

ความหมายของการสะท้อนคิด

การสะท้อนคิด? คือการใช้กระบวนการในการคิดและพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์? ละเอียดรอบคอบ? มีเหตุผล? ใช้ประสบการณ์? ความคิด? ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้? หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา???????? ในสถานการณ์อื่นๆอย่างเหมาะสม (Sherwood, G. & Horton-Deutsch, 2012)

Reflective Thinking เป็นวิธีการใช้ในกระบวนการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง และพบว่านักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเป็นพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นพยาบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanize Care)

การพัฒนา/สร้างให้เกิดการคิดใหม่เป็นสิ่งสำคัญโดยต้องใช้กระบวนการดังนี้

  1. การสะท้อนคิดเป็นกุญแจสำคัญทางกลยุทธ์ในการช่วยให้พยาบาลมีความคิดที่จะพัฒนางาน
  2. การตั้งคำถามที่ให้เกิดการพัฒนา
  3. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถพัฒนาได้
  4. การใช้กระบวนการสะท้อนคิดจะบูรณาการทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะเกิดแนวทางใหม่ในการทำงานที่ดีขึ้น

กรอบการตั้งคำถามของ Reflective thinking มี 5 คำถาม ดังนี้

  1. What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้
  2. What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
  3. What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น
  4. What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
  5. What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับ

สถานการณ์นี้

ตัวอย่างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเหตุการณ์โดยกระบวนการสะท้อนคิด

อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Describe what happen)

Case story? บรรยายเหตุการณ์การเจ็บป่วยทั้งด้านอาการความเจ็บป่วยและวิถีชีวิต ซึ่งสามารถที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกนอกจากเชิงกว้างเพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างตรึกตรอง (sense making) ในบริบทของเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ด่วนสรุปด้วยความคิดเห็นของตนเอง

ทดสอบความรู้สึก (Examine feelings)

: What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้

ประเมินเหตุการณ์นั้นทั้งทางบวกและทางลบ (Evaluate positive and negative of the event)

: What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้

วิเคราะห์และทำความเข้าใจอย่างไตร่ตรอง (Analyze to determine sense-making)

: What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น

กำหนดทางเลือกที่จะทำอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ (Ask what else could you have done?

: What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่

กำหนดแบบแผนแนวทางการปฏิบัติในอนาคต (Set action plan for future occurrences)

: What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับสถานการณ์นี้

ความสำคัญของการนำการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล

ทีคแมน? กล่าวว่า? การสะท้อนคิดเป็นสิ่งแรกสุดที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล? เนื่องจากการ??? สะท้อนคิดจำเป็นต้องมีการตั้งคำถามและการตอบคำถามเป็นหัวใจสำคัญตลอดกระบวนการพยาบาล? ฉะนั้นวิธีการฝึกหัดการสะท้อนคิดที่ดีที่สุดคือ? การฝึกตั้งคำถามและการฝึกตอบคำถามด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย? พร้อมทั้งพัฒนาตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

1.ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในวิชาชีพพยาบาลในระดับที่มากพอควร? เพราะความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ต้องใช้การบูรณาการความรู้ในศาสตร์ของวิชาชีพพยาบาลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรายวิชาต่างๆในการพยาบาล? เช่น แนวคิดพื้นฐานทางการพยาบาล? การพยาบาลมารดาทารก การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค?? การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ? สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และการพยาบาลครอบครัวและชุมชน? เป็นต้น? ถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในเรื่องเหล่านี้? จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น? ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้จึงเหมาะสมที่จะใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป

2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นการสร้างเสริมความสารมารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพาบาล? โดยนำแนวคิดของการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการการเรียนรู้??????????? จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะศึกษาแนวคิดการสะท้อนคิด เทคนิคและกระบวนการเรียนรู้และการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจ? เนื่องจากการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังความคิดและเวลาในการคิดใคร่ครวญ? ทั้งในการตั้งคำถาม? การตอบคำถาม? การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ? การจินตนาการหาทางเลือกที่หลากหลาย? การสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่ได้เหมาะสม? ดังนั้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้สอนต้องเอื้อให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถามตามความเป็นจริง? มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย? และเป็นกันเอง? และให้การสะท้อนกลับให้ผู้เรียนถาม/ตอบคำถามในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน??????? และเรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

3.การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้เรียนต้องมีการอ่านและแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง? มีความตระหนักรู้ในตนเอง? สนใจและไวต่อข้อมูลและความรู้สึกที่ผุดออกมาจากสภาพแวดล้อมภายในตนเองและภายนอกตนเอง? พร้อมทั้งพร้อมที่จะเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้? ด้วยวิธีการที่สร้างแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม? และหลากหลาย

4.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้? ผู้สอนมีการกำหนดตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาให้ผู้เรียนสะท้อนคิด? ดังนั้นการสะท้อนคิดบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสับสน? เจ็บปวดและเป็นทุกข์ได้จึงจำเป็นต้องกระตุ้นและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนความคิด? และจิตใจแก่ผู้เรียนที่พึ่งหัดสะท้อนคิด

5.การจัดการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดนั้นมีจำนวนผู้เรียนไม่มากนัก? ดังนั้นผู้สอนควรมีความยืดหยุ่นต้องให้เวลาผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนคนอื่นๆและต้องไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเพียงลำพัง? จึงจะทำให้การสะท้อนคิดมีคุณภาพ

6.ในทุกๆครั้งก่อนการสอนแบบการสะท้อนคิดผู้สอนควรมีเทคนิคและวิธีการในการฝึกการเรียนรู้?????????? ในเรื่อง? การอยู่ในปัจจุบันขณะ (here and now) เนื่องจากก่อนการทำกิจกรรมต่างๆผู้เรียนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีสติ? และอยู่กับปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ? และมีประสิทธิผล

จากการประชุมอาจารย์ในภาควิชาฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีอาจารย์ที่นำไปใช้เสนอแนะดังนี้

อ.อดุลย์ ไปปรับใช้ ในการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 กิจกรรม เขียนบันทึกการเรียนรู้ ด้วยสะท้อนคิด ผู้สอนได้อธิบายเป้าหมายการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ,วิธีการเขียน ,การประเมินผล แก่นักศึกษาในชั่วโมงแรกการฝึกงาน ผลการดำเนินงาน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ เข้าใจและสามารถเขียนบันทึกการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดได้ถูกต้อง น.ศ.มีการสืบค้น หาข้อมูล จากตำรา เว็บไซด์ต่างๆ???? ข้อเสนอแนะต่อการนำไปใช้? หากให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้ แบบสะท้อนคิดทุกวัน ร่วมกับภาระงานที่ได้หมายหมายอื่นๆ ทำให้ช่วงระยะหลังๆ นักศึกษาเริ่มกลับไปเขียน บัรทึกการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม (ไม่มีการค้นคว้าเพิ่มเติม ) ดังนั้นควรเขียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง น่าจะมีความเหมาะสม

อ.บุญฤทธิ์ ได้ทดลองใช้กระบวนการ Reflective Thinking กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดยเริ่มใช้กระบวนการสะท้อนคิดการฝึกงาน โดยใช้ การเขียนบันทึกสะท้อนคิด ตามขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชน ทั้ง 5 ขั้นตอน? ??ซึ่งการสะท้อนคิดในขั้นตอนต่างๆ จากประสบการณ์ ไม่ควรให้นักศึกษาเขียนทุกวัน เพราะ นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเขียน? อาจเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง? ผลงานที่ได้ยังพบว่า นักศึกษายังสะท้อนคิดในระดับความรู้สึกทั่วไป? ยังไม่นำไปสู่การนำไปใช้ในครั้งต่อไป และขาดทฤษฎีอ้างอิงในการทำกิจกรรมกับชุมชน ?ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า? อาจารย์ยังตั้งคำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดยังไม่ดีเท่าที่ควร อาจต้องพัฒนาทักษะส่วนนี้สำหรับอาจารย์ รวมทั้งต้องเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจ Reflective Thinking

แนวปฏิบัติ

แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชา เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักในด้านของอาจารย์ผู้สอน ด้านนักศึกษา และด้านของการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้

องค์ประกอบหลักของการสะท้อนคิด

ด้านครูผู้สอน

1.ครูควรสร้างแรงจูงใจ ใช้คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างต่อเนื่อง

2.ครูควรจะสะท้อนคิดนักศึกษา? ทั้งแบบกลุ่ม บุคคล ขึ้นอยู่กับหัวข้อ หรือสถานการณ์ที่ต้องการตามความเหมาะสม

3.คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนในการเรียนแบบสะท้อนคิด ครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี? เปิดใจ เป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาไว้วางใจได้? ต้องมีความอดทน? ควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่ออกคำสั่ง สอนให้นักศึกษามีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส? ไม่ตำหนินักศึกษา? ต้องนิ่ง ไม่ชี้นำแต่ควรตั้งคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

กล้าและเก่ง กระตุ้นการเรียนอยู่เสมอ

4.ครูควรทำงานเป็นทีม ไม่ปัดภาระให้คนใดคนหนึ่ง

5.ครูควรมีการเสริมแรงโดยการชื่นชมนักศึกษาเมื่อนักศึกษาทำได้

6.ครูควรเป็นกัลยาณมิตร

7.ครูควรเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

8.ครูต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

9.ครูควรมีการมอบหมายงานล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวและคิดวิเคราะห์? และติดตามการสะท้อนคิดอย่างสม่ำเสมอ

10.ครูควรเป็นคนช่างสังเกต? เปิดใจให้นักศึกษาได้ระบายความรู้สึก ควรไวต่อความรู้สึก

ด้านนักศึกษา

1.จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้? ต้องเข้าใจในลักษณะวิธีการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด? และมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้

2.ต้องฝึกการคิดวิเคราะห์? ต้องมีการวางแผนที่ดี? แบ่งเวลาในการเขียนให้เหมาะสม

3.ต้องเข้าใจ? สรุปประเด็นและเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

4.มีอิสระในการเขียน? มีความกระตือรือร้น? และมีทักษะการตั้งคำถามที่ดี

5.มีการเรียนรู้จากสภาพการจริง? เรียนรู้ตรงกับความต้องการ? ความสนใจและความถนัดของตน

6.นำสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

7.กล้าแสดงความคิดเห็น? มีการสังเกตที่ดี? มีความรับผิดชอบ? มีวินัย? และตรงต่อเวลา

8.มีการใช้ความคิด? ความสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้

9.มีความสุขในการเรียนการสอน

ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

1.ใช้การวิเคราะห์กรณีศึกษา? การประชุมกลุ่ม? การสนทนาเป็นรายบุคคล

2.ใช้บันทึกการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน? เช่น journal? writing? หรือ learning log สามารถนำไปใช้ในการสะท้อนคิดนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ? การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึก? ควรให้เวลาในการสะท้อนคิดอย่างเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป? เช่นควรให้นักศึกษาลองฝึกเขียนในสัปดาห์แรก? จากนั้น ควรสะท้อนการคิดในสัปดาห์ถัดไป

3.ในการสะท้อนคิดสามารถทำในช่วงการทำ pre-post conference? จะช่วยให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้? ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในครั้งนี้? เป็นการประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? และพฤติกรรมการสะท้อนคิดครอบคุลมทั้งการวัดก่อน? การติดตามผลระหว่างการจัดการเรียนรู้? และการวัดผลภายหลังการจัดการเรียนรู้? ประกอบด้วย

1.ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ? จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาล? นำคะแนนจากผลการสอบทั้ง 2 ครั้ง? มาเปรียบเทียบเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียน

2.ประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลทั้งก่อนการใช้รูปแบบ? ระหว่างการใช้รูปแบบ? และหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ซึ่งประเมินโดยผู้สอน? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล

3.ประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสะท้อนคิด

ปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro