รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3 /2558
รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ครั้งที่ 3 /2558 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ณ ห้องประชุม 114
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. นางมณฑา? ??????????? อุดมเลิศ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? ประธาน
2. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
3. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
4. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
5.นางนิศารัตน์???????????? นาคทั่ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
6. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
7. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
8. นายไพทูรย์???????????? มาผิว???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
9. นางวาสนา????????????? ครุฑเมือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
10. นางสาวนัยนา???????? แก้วคง??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
11.นางอรุณรัตน์?????????? พรมมา?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12.นายสืบตระกูล ??????? ตันตลานุกุล????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
13. นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ?????? เลขานุการ
รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
1. นางจิราพร????????????? ศรีพลากิจ ?????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ????????? ลาป่วย
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 92.86
เปิดการประชุมเวลา 13.00 น.
ประธานการประชุม นางมณฑา??????? อุดมเลิศ????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่
และผู้สูงอายุ
ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน
1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้
วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย??????????????????? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์
2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยมีประเด็น คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งภาควิชาได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่? 13 มีนาคม? 2558? เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและภาควิชาได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 (13 มีนาคม? 2558)? ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง? (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติจริง และมีเวทีนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากการปฏิบัติจริง? จึงขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวของขั้นตอน PBL ตามลำดับเพื่อสรุปความรู้และนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากการปฏิบัติจริงในเวทีของวิทยาลัยต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ
1. การจัดการความรู้ของภาควิชา
ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่? และผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ เกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการ??????????? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL]) มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ห้อง A และ B รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้
1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL])? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ยังคงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) และ 3)? ขั้นประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอบแบบ PBL เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติม ดังนี้
1) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ
- จัดทำคู่มือควรใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน
- คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรเพิ่มเติมแบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL
- คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรเพิ่ม 2 ส่วนประกอบอีก 2 ประการ คือ 1) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 2) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสารที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง?? ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา
- โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ควรเพิ่มกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
– ในเตรียมผู้เรียนนั้น ควรนำกระบวนการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL ด้วย โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้
2) ขั้นที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางการปฏิบัติได้ดี ไม่มีเพิ่มเติมใดๆ
3) ขั้นที่ 3 : การประเมินผล มีข้อค้นพบเพิ่ม ดังนี้
- นอกจากจะต้องประเมินตามปัจจัยที่จำเป็นต้องประเมินแล้ว (ปัจจัยที่กำหนดไว้เดิม) ควรพิจารณาให้มีการประเมินแบบครอบคลุม 360 องศา
– วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป
1.2 สรุปผลการถอดบทเรียน และนำไปปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL]) ฉบับปรังปรุง ครั้งที่ 2 มีรายละเอียด ดังนี้
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)
[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558]
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ? ? เตรียมการ
ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้????????????? โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่
1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้
1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL
2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสารที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และ?????????????? นำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา
1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน???????????? ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน
2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้
2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning)ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ
2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน
2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น
2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
2.6? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้
3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?
3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ
3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้
4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม
1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL
4.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
4.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้
ขั้นที่2 ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)
ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้
Step 1 : Clarifying terms and conceptsผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
Step 2 : Identifythe problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์
Step 3 : Analyse the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา
Step 4 : Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ
Step 5 : Formulating learningobjective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ
Step 6 : Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ
Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา?????????????? เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต
ขั้นที่3 ? ประเมินผล ประกอบด้วย
1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย
1.1 ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)
2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป
มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียน และให้นำไปเผยแพร่ในเวทีการประชุมระดับวิทยาลัยฯ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างต่อไป
ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.
ลงชื่อ……….ภราดร????? ล้อธรรมมา……..ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นายภราดร ล้อธรรมมา)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ลงชื่อ………ไพทูรย์ มาผิว…………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นายไพทูรย์ มาผิว)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ลงชื่อ……..นางมณฑา? อุดมเลิศ………ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นางมณฑา? อุดมเลิศ)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่…..25../….มิถุนายน…./2558.
ในฐานะอาจารย์ผู้ร่วมสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ผลจากการดำเนินการ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่า นักศึกษาเมื่อขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ในการศึกษาผู้ป่วยจริงบนหอผู้ป่วย ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น และสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ตรงกับสภาพปัญหาจริงของผู้ป่วยอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพราะฉนั้น ถ้าสามารถขยายผลการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ในหัวข้ออื่นๆๆ ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์สูงสุดกับนักศึกษามากยิ่งขึ้น