• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน ด้วยเทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 19 สิงหาคม 2021 at 10:44 pm

ชื่อผลงาน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน ด้วยเทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

The Development of Case study Model Under Gordon frameworks Using Cloud Technology to Develop Critical Thinking Ability Among Nursing Students

ชื่อเจ้าของผลงาน ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

สังกัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

เบอร์โทร 081-7270735   E-mail  nopadon@unc.ac.th

1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี

การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น บทบาทของผู้สอนที่สำคัญ คือ การเรียนรู้บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นเด็กยุคใหม่ยุคเจนเนอเรชัน Z (Generation Z) กระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้ามสาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือผู้สอนต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง ซึ่งครูทำหน้าที่ช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรม ที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเอง (วิจารณ์ พานิช, 2554.)

ตามกรอบเป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ ในแผนการศึกษาแห่งชาติ   พศ. 2560-2579 เป็นการวางแผนในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยทุกช่วงวัยให้เต็มตามศักยภาพ สามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมาย 5 ประการคือ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access) ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity) คุณภาพการศึกษา (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และการตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Relevancy) ซึ่งยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ 2. การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3. การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา 5. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา ทั้งยังกำหนดแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาที่สำคัญคือ เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยพัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) จะเห็นได้ว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เกิดการเรียนรู้จากภายในตัวผู้เรียน โดยตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ และดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสุข

อนึ่ง เมื่อพิจารณาการจัดการเรียนการสอนของวิชาชีพพยาบาล เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพ ไปรับใช้สังคมด้านการให้การบริการทางสุขภาพ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านทักษะทางปัญญา คือ “สามารถคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้ง ใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัย และมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) แต่ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน จากการประเมินคุณภาพของบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันพระบรมราชชนกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2553-2554  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บังคับบัญชาขั้นต้นของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ทำการประเมินโดยใช้แบบประเมินคุณภาพบัณฑิตของส่วนพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้ทางวิชาการ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ (6) ด้านทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบัณฑิตที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (ศิริวรรณ ทุมเชื้อ ศิริธร ยิ่งเรงเริง และประกริต รัชวัตร์, 2553) สอดคล้องกับ การศึกษาของเพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์, จุรีรัตน์ กอผจญ, และ สมเกียรติ สุทธรัตน์ (2546) ที่ศึกษาการคิดแบบมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2546 จำนวน 183 คน พบว่าคะแนนการคิดแบบมีวิจารณญาณมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดพระบรมราชชนกนั้น นักศึกษาจะเริ่มฝึกเป็นครั้งแรกในชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 3  โดยวิชาแรกคือรายวิชาปฏิบัติการพื้นฐานการพยาบาล เพื่อฝึกปฏิบัติการพยาบาล และการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิตที่มีภาวะสุขภาพปกติและเบี่ยงเบนในสถานการณ์จริง ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม บนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทร โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์และความปลอดภัยของผู้รับบริการภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน เมื่อนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่ 3 และ 4 จะฝึกรายวิชาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพด้านศัลยกรรม อายุรกรรม และปัญหาด้านสุขภาพที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต่อไป จากการถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกพบว่า นักศึกษารู้สึกกังวลเนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์ในการขึ้นฝึกมาก่อน กลัวว่าจะกระทำกิจกรรมการพยาบาลไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่าจะคิดตัดสินใจวางแผน และกิจกรรมการพยาบาลต่าง ๆที่ถูกต้อง หรือเหมาะสม เครียด นักศึกษาบางส่วน เครียดไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในการขึ้นปฏิบัติงานในครั้งแรก และลาออกภายหลังจากขึ้นฝึกในภาคปฏิบัติเป็นครั้งแรก (ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, 2557)

จากการสัมมนากลุ่มย่อยผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2558 พบว่า ประเด็นปัญหาสำคัญที่ควรพัฒนามากที่สุดสำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติคือ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพทั้งในขณะที่เป็นนักศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษา (ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, 2557) การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีความสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้งในนักศึกษาพยาบาล ตลอดจนในพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาแล้วไปปฏิบัติงาน ณ สถานพยาบาล ดังจะเห็นได้จากการที่สภาการพยาบาลกำหนดสมรรถนะที่พยาบาลต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องคือการมีความคิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยกำหนดไว้ในสมรรถนะที่ 13 ด้านการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อสร้างคุณค่าในตนเองและสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งเป็นหนึ่งใน 14 สมรรถนะหลักของวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การรับรองสถาบันวิชาชีพพยาบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา (National League for Nursing Accreditation Criteria, 2005) ดังนั้นการจัดหลักสูตร ตลอดจนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลจะต้องตระหนักถึงการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่จะพัฒนาให้ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเกิดขึ้นในนักศึกษาพยาบาล

การศึกษาผลการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อทักษะความคิดเชิงระบบของนักศึกษาพยาบาลแมคคอร์มิค ในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 ของกัญญาพัชญ์ จาอ้าย และคณะ (2019) พบว่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเชิงระบบกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการสอนโดยใช้กรณีศึกษาช่วยส่งเสริม และพัฒนาการคิดเชิงระบบให้นักศึกษาพยาบาล สอดคล้องกับการศึกษาผลการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลของสมหญิง โศวศวนนท์ สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และสุพรรณิการ์ ปานบางพระ (2015) ที่พบว่านักศึกษาให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญานว่าเป็นการคิดทบทวนอย่างเป็นระบบ และนักศึกษารู้สึกพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเนื่องจากทำให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดแบบมีขั้นตอนซ้ำๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้นการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับการศึกษาของวิจิตรา กุสุมภ์ และอรุณี เฮงยศมาก (2562) ที่ศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล พบว่า การสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความสนใจ กระตือรือร้น ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนรู้ และมีความพึงพอใจมากจึงควรนำมาใช้ในเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาสุขภาพอื่นๆ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ ว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญแบบหนึ่งที่ดี กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ความรู้เชิงทฤษฎี คิดเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเลือกและใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านอื่นๆมาผนวก และต่อยอดจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม

การปฏิบัติการพยาบาลเป็นบทบาทที่สำคัญของผู้ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ ทั้งนี้จะต้องอาศัยศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปฏิบัติการพยาบาลดังกล่าว ทั้งนี้ขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้เกิดกระบวนการนี้ได้ คือ การประเมินสภาพ เนื่องจากจะต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ในการประเมินสภาพ อีกทั้งยังต้องใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการที่จะรวบรวมข้อมูลทางสุขภาพให้ได้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อที่จะนำมาวางแผนและให้การพยาบาลต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลนั้นมีหลากหลายตามกรอบแนวคิดและทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy’s adaptation model) ความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ (Maslow’s basic need) และแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน (Gordon’s functional health pattern) ซึ่งแต่ละเครื่องมือมีความโดดเด่นตามมโนมติหลักของทฤษฎีนั้นๆ (วิจิตรา กุสุมภ์, 2558) จากการศึกษาของ Khatiban และคณะในปี 2019 พบว่า การใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนสามารถช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะในการคิดและการตัดสินใจแบบมีวิจารณญาณในการที่จะดูแลผู้ป่วยข้างเตียง รวมทั้งสามารถวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยและปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนไม่เพียงแต่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนเท่านั้นหากแต่ยังเพิ่มทักษะและทัศนคติที่ดีของนักศึกษาต่อกระบวนการพยาบาล (Khatiban, 2019) จะเห็นว่าการที่จะใช้เครื่องมือนี้ ผู้ใช้จะต้องมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการที่เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆอย่างเป็นองค์รวมเพื่อที่จะนำไปใช้กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลต่อไป

Cloud technology เป็นระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นการให้บริการกับสมาชิกที่เป็นผู้ใช้งานหรือบริการทุกคนสามารถเข้าใช้บริการร่วมกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผล ด้วยฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพจากแอพพลิเคชั่นและบริการต่าง ๆ ในลักษณะที่มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ยังช่วยองค์กรในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรข้ามเซิร์ฟเวอร์เดสท็อปและแอพพลิเคชั่นได้ ซึ่งเมื่อมีแนวคิดมาใช้ในสถาบันการศึกษา จะทําให้สามารถลดต้นทุนเซิร์ฟเวอร์และต้นทุนทั้งหมดด้านฮาร์ดแวร์ ทําให้การจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษาทําได้ง่าย สอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียน รวมถึงลดความซับซ้อนของระบบคอมพิวเตอร์ที่นําใช้แบบเดิมได้มากขึ้น สามารถปรับปรุงการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ช่วยเพิ่มความคล่องตัวของสถาบันการศึกษา ให้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้ตามคําขอ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกที่ทุกเวลาได้อย่างแท้จริง ระบบโครงสร้างการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการศึกษาแบบเดิมนั้น เป็นโครงสร้างที่มีหน่วยงานหรือแผนกเพื่อให้บริการ เป็นศูนย์กลางที่มีทุกอย่างให้บริการ สถาบันการศึกษาต้องมีการวางแผนการใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้าง) ซึ่งการวางแผน งบประมาณ และความต้องการ แม้ว่าจะได้มาจากการศึกษาและสํารวจของศูนย์ไอทีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า มักจะมีข้อจํากัดในเรื่องของงบประมาณ ประสิทธิภาพการใช้งาน การฝึกอบรม และความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จึงเป็นแนวทางในการตอบสนองสิ่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ข้อจํากัดต่างๆ ลดลง ผู้เรียน ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการใช้งานได้ตามความต้องการประหยัดงบประมาณ เมื่อพิจารณาจากเทคโนโลยีระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะพบว่า มีส่วนสําคัญที่ทําให้ผู้เรียน และผู้สอน สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดมิติใหม่ทางการเรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา ได้อย่างแท้จริง (วิวัฒน์ มีสุวรรณ, 2558)

จากความเป็นมาและปัญหาดังกล่าวข้างต้น  ภาควิชาเห็นความสำคัญอย่างยิ่งว่า นักศึกษาพยาบาล จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้จัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา (Case study) ผ่านเทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ (Cloud technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษาที่สำคัญซึ่งจะช่วยถ่ายทอด พัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรม นำไปสู่การเรียนรู้องค์ความรู้พื้นฐาน ที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทุกที่ทุกเวลา สามารถทบทวนเนื้อหาหลังจากเรียน นำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงาน ตลอดจนการทบทวนเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว สามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพ ดำรงชีพท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และเชื่อมโยงกันใกล้ชิดมากขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1. เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

2.2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

2.3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

3. เป้าหมาย (ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

3.1 ภาควิชามีรูปแบบการสอนแบบกรณีศึกษา

3.2 มีการนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย 4 รายวิชา

4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case study) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา (case method learning) เป็นวิธีการหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้กรณีศึกษาหรือเรื่องราวต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติขึ้นจากความจริง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ หรือเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวาง และนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหา นอกจากนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา หรือกรณีตัวอย่างมิได้มุ่งที่คำตอบใดคำตอบหนึ่ง คำถามสำหรับการอภิปรายนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบ และเหตุผลที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิด มีมุมมองที่กว้างไกลมากขึ้น

กรอบแนวคิดของกอร์ดอน (Gordon) หมายถึง เครื่องมือที่สามารถใช้เก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพได้อย่างครอบคลุมทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ประกอบไปด้วย 11 แบบแผน ได้แก่ การรับรู้และการดูแลสุภาพ (Health Perception – Health Management Pattern) โภชนาการและเมแทบอลิสม (Nutritional – Metabolic Pattern) การขับถ่ายของเสีย (Elimination Pattern) กิจกรรมและการออกกำลังกาย  (Activity – Exercise Pattern) การพักผ่อนและการนอนหลับ (Sleep – Rest Pattern) สติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive – Perceptual Pattern)  การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ (Self-perception – Self-concept Pattern) บทบาทและสัมพันธภาพ ( Role – Relationship Pattern) เพศสัมพันธ์และการเจริญพันธ์ (Sexuality – Reproductive Pattern) ความเครียดและการเผชิญความเครียด (Coping – Stress Tolerance Pattern) และความเชื่อและค่านิยม (Value – Belief Pattern) ครอบคลุมทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ

เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ (Cloud) หมายถึง เป็นรูปแบบหนึ่งสําหรับการเข้าถึงเครือข่ายที่สะดวกรวดเร็วได้ตามคําขอของผู้ใช้ สามารถจัดหาและแสดงผล โดยใช้การจัดการทรัพยากรน้อยที่สุด แนวคิด “ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” เป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพ หรือเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตร่วมกัน ในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งาน เมื่อมีความต้องการใช้ผู้ให้บริการ(Cloud Provider) ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชั่น โดยให้ผู้ใช้ทํางานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ โดยไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบทางกายภาพ การฝึกอบรมบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์หรือขอใบอนุญาตเพื่อใช้ซอฟแวร์ใหม่กับเจ้าของลิขสิท ธิ์ซอฟแวร์ ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ประกอบด้วยบริการที่ต้องสมัครสมาชิก และชําระค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงผ่านอินเตอร์เน็ต (Pay per Use) เป็นการขยายความสามารถที่มีอยู่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking: CT) หมายถึง กระบวนการคิดที่ผ่านกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการคิดอย่างมี เป้าหมาย ตัดสินและกำกับได้ด้วยตนเอง เป็นผลมาจากการตีความ การวิเคราะห์ การประเมินข้อโต้แย้ง การสรุปอ้างอิง การอธิบายและการควบคุมตนเอง เพื่อให้เกิดผลของการคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผลเป็นกระบวนการที่ช่วยในการพิจารณาหาข้อผิดพลาดในการคิดโดยเฉพาะ

5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ : การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ ดำเนินการตามกระบวนการ KM เริ่มดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 (อยู่ในช่วงการวิจัยและพัฒนาระยะที่ 3 และ 4 , R2 D2)

กลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรม Dราชชนนี อุตรดิตถ์

6. กระบวนการที่ทำให้แนวปฏิบัติ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ นำไปสู่การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ด้วยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ระยะดังนี้ ดังนี้

การวิจัยระยะที่ ๑ การสร้างต้นร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

วิธีการดำเนินการวิจัยระยะที่ 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 1  คือ  เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดของของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

แหล่งข้อมูลในการวิจัยระยะที่ 1

แหล่งข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

1.       เอกสาร ตำรา บทความวิจัย บทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

2.       ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก จำนวน 11 ท่าน ที่ได้มาแบบเจาะจง โดยเป็นผู้มีประสบการณ์ในการสอนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี

3.       นักศึกษาพยาบาล จำนวน  15 คน จาก วิทยาลัยพยาบาล 3 แห่ง ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเข้าศึกษา (Inclusion criteria)

1. เป็นนักศึกษาพยาบาล ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และยังไม่เคยขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

2. ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่าง (Exclusion criteria)

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่างส้าหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ไม่สะดวกเข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ และ/ หรือตอบแบบสอบถามไม่ครบตามที่กำหนดไว้

เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยระยะที่ 1

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ

1.       แบบบันทึกการลงรายการเชิงสังเคราะห์ในลักษณะของการวิเคราะห์เนื้อหา  เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบฯ

2.       แบบสัมภาษณ์อาจารย์กึ่งโครงสร้าง ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก

3.       แบบสัมภาษณ์นักศึกษากึ่งโครงสร้าง ความสามารถนักศึกษาพยาบาล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1  ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้

1. ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆคุณสมบัติของผู้เรียนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และนำมาร่างแบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์  และแบบสัมภาษณ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2. นำแบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์  และแบบสัมภาษณ์เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity)  และภาษาที่ใช้  ตลอดจนความครบถ้วน สมบูรณ์ และความครอบคลุมของข้อคำถาม  จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อ คำถามให้มีความถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยระยะที่ 1

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในระยะที่ 1 ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความวิจัย บทความวิชาการเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

2. บันทึกประเด็นสำคัญในแบบบันทึกเอกสารเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

3. สัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระยะที่ 1

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระยะที่  1  แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

1.วิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึกเอกสารด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ อุปนัย นำเสนอแบบความเรียง

2.สรุปผลการสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกและนักศึกษาพยาบาล

3.การวิเคราะห์และสังเคราะห์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้

กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

การพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในระยะที่  2  เป็นการพัฒนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษา  วิเคราะห์  สังเคราะห์ ข้อมูลในการวิจัยระยะที่  1  โดยมีการดำเนินการตามลำดับ  ดังนี้

2.1 กำหนดกรอบแนวคิดของของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  วิเคราะห์และ สังเคราะห์ข้อมูล  หลักการ  แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน  การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้คลาวด์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ในการวิจัยระยะที่ 1  มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

2.2 สร้างของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดที่ได้จากการวิจัยระยะที่  1 โดยใช้องค์ประกอบ  แนวคิดที่ได้จาก ขั้น 1  มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยเน้นองค์ประกอบ  กระบวนการ  ขั้นตอนที่มีความเป็นระบบ (system Approach)  และแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและ กัน  ตาม ADDIE Model ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.  ขั้นการวิเคราะห์  (Analysis)  เป็นการวิเคราะห์เพื่อกำหนดรายละเอียดของ องค์ประกอบต่าง ๆ สำหรับสร้างรูปแบบและกระบวนการเรียนการสอน

2.  ขั้นการออกแบบ (Design)  เป็นการออกแบบกลยุทธการเรียนการเรียนการสอน

3.  ขั้นการพัฒนา  (Development)  เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและ เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น

4.  ขั้นการนำไปใช้  (Implementation)  เป็นนการนำรูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้นนั้นไปใช้ในการเรียนการสอนจริง

5.  ขั้นการประเมินผล  (Evaluation)  เป็นการประเมินผลว่าการเรียนการสอนตาม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.2.1 สร้างรูปแบบแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ โดยใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากข้อ  2.1  โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)

1.1)  การวิเคราะห์ผู้เรียน

1.2) การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของรูปแบบการเรียนการ

1.3) การวิเคราะห์เนื้อหา

2) ขั้นการออกแบบ  (Analysis)   ออกแบบแบบการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากข้อ  2.1 และขั้นการวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1)  องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน

2.2)  หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน

2.3)  วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน

2.4)  กระบวนการเรียนการสอน

2.5)  การวัดและประเมินผล  การวัดและประเมินผลในแต่ละหน่วยการ เรียน  ใช้การวัดและประเมินผลการเรียนตามสภาพจริง  โดยการวัดผลการเรียนรู้เมื่อจบกิจกรรม โดยประเมินจากงานที่ส่ง  สถิติการเข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาเนื้อหาการสะท้อนคิด  การแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายระดมสมอง  ประเมินผลงานภาคปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย  และวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  6 ด้าน  ประกอบด้วย  1. การสรุปแบบนิรนัย  2. การให้ความหมาย 3. การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต  4. การสรุปแบบอุปนัย  5. การสรุปโดยการทดสอบสมมติฐานและการทำนาย  และ 6. การนิยามและการระบุข้อสันนิษฐาน  โดยใช้ Cornell Critical Thinking Test  Level Z   (Ennis, R. H.  1989)

3) ขั้นการพัฒนา (Development)   พัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลจากขั้นการออกแบบ  โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1)  พัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลตามขั้นตอน  ดังนี้

3.1.1)  พัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

3.1.2)  ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  ซึ่งนำเสนอเป็นแผนภาพและความเรียง  ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน  การเรียนรู้เพื่อการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จำนวน  7  ท่าน  ที่ได้มาจากการเลือกแบบแบบเจาะจง  คือ  เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ในการสอนระดับอุดมศึกษาอย่างน้อย  5 ปี  หรือมีผลงานวิจัย  ผลงานวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง  เพื่อพิจารณาในด้านการสื่อความหมาย  ความครอบคลุมเนื้อหา  องค์ประกอบ  ขั้นตอน  และความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนการ สอน  โดยวิธีการสัมภาษณ์  ซึ่งใช้เกณฑ์พิจารณาความถูกต้อง  โดยใช้ความสอดคล้องของข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เทียบกับแนวคิดหลักที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลในระยะที่  1

3.1.3)  นำต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลฯ  มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

3.1.4)  นำต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลฯ  ที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิในรอบแรก  ให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอน  การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ   จำนวน  7  ท่าน  ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนระดับอุดมศึกษาอย่างน้อย 5 ปี  หรือมีผลงานวิจัย ผลงานวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง  ประเมินรับรอง พิจารณาความ เหมาะสมในการนำไปใช้ทดลองใช้ และปรับปรุงแก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะ

3.2)  พัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอนของแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล  ตามขั้นตอน  ดังนี้

3.2.1)  กำหนดเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้  ขั้นตอน  กิจกรรมการเรียนการสอน  และสื่อการเรียนการสอน  จากนั้นนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ ข้อเสนอแนะและปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ  และนำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  จำนวน  3  ท่านประเมินความเหมาะสมและปรับปรุงแก้ไขตาม ข้อเสนอแนะ

3.2.2)  นำรายละเอียดของของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ  มาออกแบบระบบบริหารจัดการเรียนการสอน ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

3.3)  พัฒนาแผนการสอน และพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอน ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

3.4)  พัฒนาคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนการสอน ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

3.5)  สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย

3.5.1)  แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

3.5.2)  แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนตาม รูปแบบ

4) ขั้นการนำไปใช้ (Implementation)

นำของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพของรูปแบบ โดยนำรูปแบบที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ไปทดสอบโดยให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้บทเรียนจริง และออกแบบการตรวจสอบด้วยการสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยมีกระบวนการทดสอบ 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบรูปแบบ ตามขั้นตอนดังนี้

1)  การทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  (one-to-one testing)  โดยให้นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา  วิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 (Principles and Techniques in Nursing Practicum 1)   ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  63  จำนวน  3 คน เรียนโดยใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ จากนั้น นำข้อมูลมาปรับปรุง  แก้ไขข้อบกพร่องของรูปแบบ

2)  การทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)  โดยให้นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา  วิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการ พยาบาล 1(Principles and Techniques in Nursing Practicum 1)   ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  63  จำนวน  9 คน  เรียนโดยใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่งใช้วิธีการ สังเกตและการสัมภาษณ์  จากนั้นนำข้อมูลมาปรับปรุง  แก้ไขข้อบกพร่องของรูปแบบ

ขั้นตอนที่ 2  การทดลองนำร่อง  (field trial)  การทดลองนำร่องโดยให้นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา  วิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 (Principles and Techniques in Nursing Practicum 1)   ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 256๓  จำนวน  24 คน  เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มโดยใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ ที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบกลุ่มเล็ก  ตามแผนการสอนที่กำหนดไว้ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ สังเกตและสอบถามความคิดเห็นของผู้ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้งาน  ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเรียนตามรูปแบบฯ

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเข้าศึกษา (Inclusion criteria)

1. เป็นนักศึกษาพยาบาล ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และยังไม่เคยขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

2. ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่าง (Exclusion criteria)

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่างส้าหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ไม่สะดวก

เข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ และ/ หรือตอบแบบสอบถามไม่ครบตามที่กำหนดไว้

5) ขั้นการประเมินผล  (Evaluation)

การประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  แบ่งการประเมินออกเป็น  2  ส่วน  คือ

5.1)  การประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน  (formative evaluation)  ทำการประเมินคุณภาพ  3  ด้าน  ดังนี้

5.1.1) ด้านเนื้อหา (content)

5.1.2) ด้านการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

5.1.3) ด้านระบบบริหารจัดการ การเรียนการสอน  (Learning Management System)

5.2)  การประเมินเพื่อรับรองความเหมาะสมในการนำรูปแบบการเรียน การสอนไปทดลองใช้ (summative evaluation)  โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอน  การเรียนการสอนบนเว็บ  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จำนวน  7  ท่าน

การประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา  ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  การประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆและการประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆโดยเป็นการประเมินผล  4 ระดับ  โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน  คือ

5    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมากที่สุด

4    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมาก

3    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมปานกลาง

2    หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อย

1        หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อยที่สุด

วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยในแต่ละข้อคำถามดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542)

4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมาก

2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมปานกลาง

1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อย

1.00 – 1.49 หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุด

วิธีดำเนินการวิจัยระยะที่ 2

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 2

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 2 คือ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ ดังนี้

1.       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างต้นร่างรูปแบบการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1.1  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินต้นแบบรูปแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการ ออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ  และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณรวม  7 ท่าน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย  5 ปี  มีผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการใน สาขาที่เกี่ยวข้อง

1.2  ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการ ออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ  และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณรวม 7 ท่าน    ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มี ประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย  5 ปี  มีผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

2.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างบทเรียน แบ่งเป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้

2.1  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา  7 ท่าน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  จากคณาจารย์ผู้ที่เคยสอนวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์  คอมพิวเตอร์ การสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชน หรือรายวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย  3 ปี

2.2  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน 7 ท่าน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน อย่างน้อย 3 ปี

2.3  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน 7 ท่าน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนอย่างน้อย 3 ปี

3.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ แบ่งเป็น  3  กลุ่ม ดังนี้

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเข้าศึกษา (Inclusion criteria)

3.1  นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 (Principles and Techniques in Nursing Practicum 1) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 25๖๓ จำนวน 3 คน  สำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

3.2  นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  ๒๕๖๓  จำนวน  9  คน  สำหรับการทดสอบกลุ่มเล็ก  ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

3.3  นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  ๒๕๖๓  จำนวน 24  คน สำหรับการทดสอบนำร่องได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่าง (Exclusion criteria)

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ไม่สะดวกเข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ และ/ หรือตอบแบบสอบถามไม่ครบตามที่กำหนดไว้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ระยะที่ 2

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ระยะที่  2  ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 7  ฉบับ   ตามขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  ดังนี้

1.  เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ  คือ แบบประเมินรูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ  ในระยะที่ 2 ของการวิจัย

2.  เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างบทเรียนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ  ดังนี้

2.1  แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา (content) มีขั้นตอนการสร้างคือ

2.1.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา  โดยเป็นแบบประเมินค่า 4 ระดับ โดยมีประเด็นพิจารณาในด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหา ความเหมาะสมของแผนการสอน

2.1.2  นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหา  (content validity)  และภาษาที่ใช้ ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์ และความครอบคลุมของข้อคำถาม  จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามให้มีความ ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง

2.2  แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอน แบบการจัดการแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ(instructional design)  มีขั้นตอนการสร้างคือ

2.2.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ โดยเป็นแบบประเมินค่า 4 ระดับ  โดยมีประเด็นพิจารณาในด้าน  การกำหนด วัตถุประสงค์การเรียนรู้  การออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเอกสารคู่มือการ ใช้ระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  และความเหมาะสมของแผนการสอน

2.2.2  นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหา  (content validity)  และภาษาที่ใช้  ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์ และความ ครอบคลุมของข้อคำถาม  นำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามให้มีความถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง

2.3  แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  (Learning Management System)  มีขั้นตอนการสร้างคือ

2.3.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน   โดยเป็นแบบประเมินค่า 4 ระดับ  โดยมีประเด็นพิจารณาในด้าน  การออกแบบระบบบริหาร จัดการเรียนการสอน  วิธีการและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียน  และความเสถียรของระบบ

2.3.2  นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา  (content validity)  และภาษาที่ใช้  ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์และความครอบคลุมของข้อคำถาม  จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามให้มีความ ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง

2.4  แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยใช้แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณมาตรฐาน คือ Cornell Critical Thinking Test Level Z (Ennis and Millman, 1985) ซึ่งสร้างขึ้นมาสำหรับใช้วัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมถึงผู้ใหญ่ ประกอบด้วย คำถามแบบปรนัย 3 ตัวเลือก  จำนวน 52 ข้อ ใช้เวลาในการทำ 50 นาที  วัดการคิดอย่างมี วิจารณญาณตามองค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6 ด้าน ตามแนวคิดของ Ennis (1985)  ได้แก่  การสรุปแบบนิรนัย , การให้ความหมาย , การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และการสังเกต , การสรุปแบบอุปนัย , การสรุปโดยการทดสอบสมมติฐานและการทำนาย และ การนิยามและการระบุข้อสันนิษฐาน

โดยมีขั้นตอนในการพัฒนา  ดังนี้

1)  นำแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Cornell Critical Thinking Test Level z (Ennis and Millman, 1985)  ที่พัฒนาโดย สถาบันพระบรมราชชนก มาพัฒนา

2)  นำแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาแล้วเสนอให้ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ

3)  นำแบบแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ไปทดลองใช้กับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2563  จำนวน  30 คน  เพื่อหา คุณภาพของแบบวัดโดยหาค่าความเที่ยง (Reliability) ซึ่งใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2544)

3.  เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ  ประกอบด้วย  เครื่องมือ3 ชุด ดังนี้

3.1  แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์สำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  (one-one testing)

3.2  แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์สำหรับการทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)

3.3  แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ สำหรับการทดลองนำร่อง  (field trial)

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ในระยะที่  2

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยใระยะที่  2  แบ่งเป็น  3  ขั้นตอนตามขั้นตอนการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ  ดังนี้

1.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  ประกอบด้วย

1.1  การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อพิจารณาความถูกต้องของต้นร่างรูปแบบการเรียนการสอน  สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณจำนวน  7 ท่าน

1.2  การสอบถามเพื่อประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน ก่อนนำไปทดลอง  สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา  ด้านการใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จำนวน   23 ท่าน  โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน  คือ

5    หมายถึง  มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมากที่สุด

4    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมาก

3    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมปานกลาง

2    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อย

1    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อยที่สุด

และได้กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542)

4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมาก

2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมปานกลาง

1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อย

1.00 – 1.49 หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุด

2.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  ระบบ บริหารจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  แผนการสอน  และคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้น  ดังนี้

2.1  การสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 7 ท่าน

2.2  การสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอนแบบการแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ จำนวน 7 ท่าน

2.3  การสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน จำนวน 7 ท่าน โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน  คือ

5    หมายถึง  มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมากที่สุด

4    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมาก

3    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมปานกลาง

2    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อย

1    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อยที่สุด

และได้กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542)

4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมาก

2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมปานกลาง

1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อย

1.00 – 1.49 หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุด

3.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดสอบประสิทธิภาพบทเรียน  จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เรียนสำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  (one-on-one testing)  และการทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใน ระยะที่  2

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในระยะที่  2  มีดังนี้

1.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอน

1.1  การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ  โดยใช้การพิจารณาความ สอดคล้องของเนื้อหา  ประเด็นสำคัญที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล  เปรียบเทียบกับแนวคิดหลัก ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการสอน

1.2  วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินรับรองรูปแบบการสอน ก่อนนำไปทดลอง  โดยค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่ 4.00  ขึ้นไปจึงจะถือว่ามีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ทดลองเก็บข้อมูลได้

2.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  ระบบบริหาร จัดการเรียนการสอนการสอน  แผนการสอน  และคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้น  ดังนี้

2.1  วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการประเมินคุณภาพ สื่อด้านเนื้อหา  โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่ 4.00 ขึ้นไป  จึงถือว่าเนื้อหามีความ เหมาะสม

2.2  วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการในการประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอนฯ โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่  4.00 ขึ้นไป  จึงถือว่าการออกแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสม

2.3  วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบริหารจัดการเรียนการ สอนการสอน ในการประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนการสอน โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่  4.00 ขึ้นไป  จึงถือว่าระบบบริหารจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น  มีความเหมาะสม

3.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียน เป็นการสรุปผลการสังเกตและการสัมภาษณ์ สำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อ หนึ่ง  (one-to-one testing)  การทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)  และการทดสอบนำร่อง  (field trial)

8. อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ (เช่น คู่มือ/โมเดล เป็นต้น)

๙.ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ

)

10. ปัจจัยความสำเร็จ (สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ)

1.จากความร่วมมือและมีกระบวณการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ในภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

11. บทเรียนที่ได้รับ (การผลิตและนำผลงานไปใช้ ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น)

ได้โครงร่างต้นแบบเพื่อที่ผ่านการทดลองใช้ และนำไปพัฒนาในระยะที่ 3 และ นำไปใช้ ในระยะที่ 4 ต่อไป ดังนี้

12. การเผยแพร่ (ร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่ที่มีการนำไปใช้ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ)

การจัดการความรู้ได้พัฒนาต่อยอดเป็นโครงร่างวิจัย และได้รับการอนุมัติทุนวิจัยจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ และผ่านการอนุมัติทำวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ เลขที่ UPHO REC 010/64 และอยู่ในช่วงการดำเนินการวิจัยในระยะที่ 3 และ 4

แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 19 สิงหาคม 2021 at 10:42 pm

ชื่อผลงาน แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี

ชื่อเจ้าของผลงาน นายไพทูรย์ มาผิว สังกัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

เบอร์โทร 08 4815 1097 E-mail paitoon@unc.ac.th

1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี

การเขียนหนังสือราชการเป็นการสื่อสารที่สำคัญในระบบราชการ ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “หนังสือรายการ” หมายถึง เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ มี ๖ ประเภท ได้แก่ 1) หนังสือภายนอก 2) หนังสือภายใน 3) หนังสือประทับตรา 4) หนังสือสั่งการ (คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ) 5) หนังสือประชาสัมพันธ์ (ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว) และ 6) หนังสือ                 ที่เจ้าหนา้ที่ทำขึ้นหรือรับไวเ้ป็หลักฐานในราชการ (หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น)  โดยหนังสือราชการแต่ละประเภทอาจมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การสื่อความหมายได้ถูกต้อง ตรงประเด็น ผู้เขียนและผู้อ่านเข้าใจตรงกัน กล่าวคือ ข้อความที่ผู้เขียนเขียนขึ้นนั้น จะต้องสื่อความหมายและความต้องการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนว่า ผู้เขียนต้องการให้ใคร ทำอะไร ที่ไหน เวลาใด ด้วยเหตุผลประการใด และทำอย่างไร ส่งผลให้ผู้อ่านตอบสนองได้ถูกต้อง ตรงประเด็น เกิดผลลัพธ์ในการทำงานราชการที่ดี                         ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันการเขียนหนังสือราชการจะมีความสำคัญ เป็นวิธีการสื่อสารที่เป็นทางการและเป็นหลักฐานในราชการ แต่ก็มีบุคลากรในระบบราชการไม่น้อยที่ยังเขียนหนังสือราชการไม่ถูกต้อง เขียนข้อความไม่ชัดเจน ไม่ตรงประเด็น ข้อความเยิ่นเย้อ วกวน ทำให้ผู้อ่านตีความไม่ถูกต้อง หรือไม่เข้าใจในจุดมุ่งหมายของหนังสือราชการ ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหรือตอบสนองตามความต้องการของผู้เขียนไม่ถูกต้อง เกิดผลเสียต่อระบบราชการตามมา เช่น เสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรจากการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามเป้าประสงค์ของผู้เขียนหนังสือราชการนั้นๆ หรืออาจเกิดปัญหาสัมพันธภาพหรือบรรยาการศในการทำงานร่วมกันของบุคลากรที่แย่ลง จากการตีความในหนังสือราชการที่ผิดไปได้

เมื่อพิจารณาจากปัญหาที่เกิดจากการเขียนหนังสือราชการ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความถูกต้องของการเขียนหนังสือราชการ คือ ผู้เขียนหรือร่างหนังสือราชการไม่ได้เคร่งครัดตามระเบียบสารบรรณมากนัก บุคลากรปฏิบัติตามความเคยชิน ตลอดจนขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการและจุดมุ่งหมายของการเขียนหนังสือราชการ ทำให้หนังสือราชการที่เขียนขึ้นมีรูปแบบไม่ถูกต้อง เนื้อหาเข้าใจยาก ไม่ครบถ้วน ดังนั้น การสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนกำหนดแนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี ตั้งแต่รูปแบบ หลักการร่าง และการพิมพ์หนังสือที่ถูกต้อง ครบถ้วน และมีแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน จะช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ลดเวลาในการตีความ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติตามหนังสือราชการที่เขียนขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบราชการสืบไป

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนาแนวทางการเขียนหนังสือราชการที่มีประสิทธิภาพ

2.2 เพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กรด้านการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงประเด็น

3.เป้าหมาย

3.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

· ไม่พบข้อผิดพลาดหรือข้อร้องเรียนใดๆ จากหนังสือราชการที่ส่งออก

3.2 ตัวชี้เชิงคุณภาพ

· หนังสือราชการมีรูปแบบที่ถูกต้อง

· หนังสือราชการประกอบด้วยภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุป ที่ชัดเจน ตรงประเด็น

4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

แนวคิดที่นำมาใช้ในการพัฒนาแนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี คือ กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management [KM]) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกำหนดของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้วยกระบวณการ KM          7 ตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การเรียนรู้

5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ : แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี ดำเนินการตามกระบวนการ KM                      โดยกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ บุคลากรสายสนับสนุนการจัดการศึกษา กลุ่มสำนักงาน วิทยาลัยพยาบาล                    บรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการร่างและเขียนหนังสือราชการโดยตรง จำนวน 20 คน                     เริ่มดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564

6. กระบวนการที่ทำให้เกิดวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

การดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการที่ดี มีจุดเริ่มจากบุคลาการสายสนับสนุน                   ที่รับผิดชอบงานสารบรรณกลางของวิทยาลัยนำเสนอปัญหาและข้อผิดพลาดที่พบบ่อย คือ บุคลากรสายสนับสนุนการจัดการศึกษา กลุ่มสำนักงานส่วนใหญ่ไม่รู้รูปแบบและหลักการการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้อง                      ส่งผลให้การร่างหนังสือราชการเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของตนเอง และปฏิบัติจนเป็นความเคยชิน                 เนื้อหาสาระในหนังสือราชการจุงไม่ครบถ้วน ไม่ตรงประเด็น เขียนวกวน ดังนั้น งานสารบรรณ จึงจับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาหาแนวทางแก้ไข โดยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรดังกล่าวให้ดีขึ้น ตามแนวคิดกระบวนการจัดการความรู้ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ ดำเนินการโดยสำรวจปัญหาและสาเหตุของปัญหา คือ

  • · ปัญหา : บุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มสำนักงาน พร่องความรู้ในการเขียนหนังสือราชการ
  • · ข้อมูลสนับสนุน :

จากการสอบถามบุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มสำนักงาน เกี่ยวกับรูปแบบและหลักการการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้อง ควรเป็นอย่างไร พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ตอบไม่ถูกต้อง โดยเขียนหนังสือราชการตามความเข้าใจและความเคยชินที่บอกต่อๆ กันมา

  • · สาเหตุ : จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า บุคลากรพร่องความรู้ในการเขียนหนังสือราชการ และวิทยาลัยไม่มีแนวปฏิบัติที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้บุคลากรเขียนหนังสือราชได้ถูกต้อง
  • · ผลกระทบที่เกิดจากปัญหา :

ผู้รับหนังสืออาจตีความไม่ถูกต้อง หรือไม่เข้าใจในจุดมุ่งหมายของหนังสือราชการ ส่งผลต่อการปฏิบัติตามหรือตอบสนองตามความต้องการของผู้เขียนไม่ถูกต้อง เกิดผลเสียต่อระบบราชการตามมา เช่น เสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรจากการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามเป้าประสงค์ของผู้เขียนหนังสือราชการนั้นๆ หรืออาจเกิดปัญหาสัมพันธภาพหรือบรรยาการศในการทำงานร่วมกันของบุคลากรที่แย่ลง จากการตีความในหนังสือราชการที่ผิดไปได้

  • · การบ่งชี้ความรู้ที่ต้องการพัฒนา คือ แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี
  • · กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

บุคลากรสายสนับสนุนการจัดการศึกษา กลุ่มสำนักงานที่มีขอบเขตหน้าที่ในร่างและเขียนหนังสือราชการ

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ ดำเนินการ ดังนี้

2.1 การอบรมเพิ่มพูนความรู้ หลักการ และรูปแบบการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้อง สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนการจัดการศึกษา กลุ่มสำนักงาน จำนวน 20 คน จำนวน 1 ครั้ง ใช้เวลา 3 ชั่วโมง โดยทีมวิทยากรภายในวิทยาลัยที่มีประสบการณ์ทั้งการร่าง เขียน และตรวจทานหนังสือราชการของวิทยาลัยก่อนที่จะให้ผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือราชการ กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยาความรู้ และฝึกปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการตามสถานการณ์ที่กำหนดให้

2.2 การเสวนา (Dialogue) จะดำเนินการต่อจากกิจกรรมการอบรมความรู้ โดยให้ผู้ร่วมอบรมเล่าประสบการณ์เรียนรู้การเขียนหนังสือราชการทั้งเรื่องที่ประสบความสำเร็จ หรือจากปัญหาและอุปสรรค จากนั้นร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

2.3 ถอดบทเรียน เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่การกำหนดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 การจัดระบบขององค์ความรู้ ดำเนิการโดยทีมจัดการความรู้ร่วมกันพิจารณาข้อมูล                   จากประสบการณ์ตรง ทั้งความสำเร็จและปัญหาที่ได้จากการถอดบทเรียนในขั้นตอนที่ 2 มาจัดลำดับและกำหนดเป็นร่างแนวปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการที่ดี

ขั้นตอนที่ 4 การประมวลกลั่นกรองตรวจสอบองค์ความรู้ ทีมจัดการความรู้ร่วมกันพิจารณา                          ร่างแนวปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการที่ดี พร้อมทั้งสืบค้นข้อมูลความรู้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการที่ดี และนำมาปรับปรุงแนวปฏิบัติฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้ โดยนำเสนอแนวปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการที่ดีแก่บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย และส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยหนังสือราชการที่กลุ่มเป้าหมายเขียนขึ้น ก่อนให้ผู้มีอำนาจลงนาม จะตรวจสอบรูปแบบหลัการและเนื้อหา พร้อมทั้งบันทึกไว้

ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายหลังจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการเขียนหนังสือราชการที่ดี

ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้ ทีมจัดการความรู้ถอดบทเรียนจากข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย และจากบันทึกการตรวจสอบหนังสือราชการ ก่อนให้ผู้มีอำนาจลงนาม

7. อธิบายกระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการวิธีการ/นวัตกรรมที่เป็นแนวทปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

7.1 แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี วิทยาลัยพยบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นเตรียมการร่างหนังสือ

2) ขั้นร่างหนังสือ

3) ขั้นเขียนหนังสือ

4) ขั้นตรวจทาน

5) ขั้นเสนอผู้ลงนาม

7.2 รายละเอียด มีดังนี้

1) ขั้นเตรียมการร่างหนังสือ

1.1 ศึกษาเรื่อง หรือวัตถุประสงค์ของการเขียนหนังสือราชการนั้นๆ อย่างเข้าใจว่า                      ใคร ต้องการอะไรหรือต้องการให้ทำอะไร ทำไม อย่างไร เมื่อไหร่

1.2 หนังสือที่ต้องเขียนเป็นหนังสือประเภทใด ดังต่อไปนี้

1.2.1 หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการ ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก                                                   1.2.2 หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการน้อยกว่าหนังสือภายนอก ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน

1.2.3 หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดบักรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบและลงชื่อ ย่อกำกับตรา

1.2.4 หนังสือสั่งการ (คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ)

1.2.5 หนังสือประชาสัมพันธ์ (ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว)

1.2.6 หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ (หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก และหนังสืออื่น)

2) ขั้นร่างหนังสือ

2.1 ศึกษาจากหนังสือเก่าที่เป็นต้นแบบที่ดี

2.2 ร่างหลังสือ โดยยึดหลัก “5 ถูก” ได้แก่ “ถูกแบบ ถูกเนื้อหา ถูกหลักภาษา             ถูกความนิยม ถูกใจผู้ลงนาม” ดังต่อไปนี้

2.2.1 ถูกแบบ โดยการเลือกรูปแบบของหนังสือ/แบบฟอร์มกระดาษในการเขียนหนังสือตามประเภทของหนังสือที่ต้องการเขียนให้ถูกต้อง ดังต่อไปนี้

1) หนังสือภายนอก ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษครุฑ”

2) หนังสือภายใน ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษบันทึกข้อความ”

3) หนังสือประทับตรา ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษครุฑ”

4) หนังสือสั่งการ (คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ)

ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษครุฑ”

5) หนังสือประชาสัมพันธ์ (ประกาศ แถลงการณ์)

ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษครุฑ”

6) หนังสือที่เจ้ำหน้ำที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

- หนังสือรับรอง ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษครุฑ”

- บันทึก ใช้แบบฟอร์ม “กระดาษบันทึกข้อความ”

2.2.2 ถูกเนื้อหา โดยร่างหนังสือให้ถูกต้อง ครบถ้วน ซึ่งเนื้อหา/ข้อความหนังสือราชการทั่วไป ควรประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ภาคเหตุ เป็นเนื้อหาส่วนแรก ให้บอกถึงเหตุที่เขียนหนังสือเท่าที่จำเป็น  ถ้าเคยติดต่อกันมาก่อนอาจอ้างถึงหรือเท้าความเดิมอย่างย่อที่สุด โดยการเขียนเนื้อหาภาคเหตุนี้                ให้ยึดหลัก 5W1H”

ส่วนที่ 2 ภาคความประสงค์ เป็นเนื้อหาส่วนที่สอง ให้เขียนแสดงความประสงค์ว่า ต้องให้ผู้รับปฏิบัติอย่างไร ถ้ามีหลายข้อให้แยกเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน

ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาการเขียนหนังสือ “ภาคความประสงค์” นี้ คือ จะต้องสัมพันธ์กับ “เรื่อง” ของหนังสือ ตัวอย่าง เช่น

· เรื่อง  ขอเชิญไปเป็นวิทยากร

· ภาคความประสงค์จะเขียนให้สอดคล้อง คือ………………………………..                  จึงขอเรียนเชิญไปเป็นวิทยากรตามหัวข้อ วัน เวลา และสถานที่ข้างต้น

ส่วนที่ 3 ภาคสรุปความ เป็นภาคสรุป ไม่ควรมีมากกว่า ๑-๒ บรรทัด โดยทั่วไปข้อความที่นิยมเขียน คือ “จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ/พิจารณา ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้”

โดยการเขียนคำขอบคุณ เขียนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบุคคลที่เรา “เรียน” และมีหลักในการเขียน คือ          เสมอ/ต่ำกว่า     ใช้       ขอขอบคุณ / ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

สูงกว่า            ใช้       จะขอบคุณยิ่ง / ขอขอบคุณอย่างยิ่ง

ชั้นกราบเรียน    ใช้       จะเป็นพระคุณยิ่ง /

ขอกราบขอบพระคุณ………..

2.2.3 ถูกหลักภาษา โดยเขียนให้ถูกรูปประโยค ไวยากรณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ/ประโยค

2.2.4 ถูกความนิยม โดยความนิยมในที่นี้ คือ ความนิยมที่ใช้กันโดยทั่วไป                         ในวงราชการ และความนิยมเฉพาะผู้ลงนามในหนังสือ เช่น

· ความนิยมในสรรพนาม ความนิยมโดยทั่วไปสำหรับหนังสือภายนอก หรือหนังสือติดต่อในนามส่วนราชการ จะไม่ใช้คำสรรพนาม ว่า “ข้าพเจ้า” หรือ “กระผม” แต่จะนิยมใช้ชื่อ               ส่วนราชการ เช่น “กรมส่งเสริมสหกรณ์” “ส ำนักงำน ก.พ.” แทน เป็นต้น

· ความนิยมในถ้อยคำสำนวน เช่น หนังสือราชการนิยมใช้ภาษาราชการ/ภาษาทางการ การเชื่อมคำหรือประโยคไม่นิยม ใช้คำซ้ำกัน เพราะจะไม่ไพเพราะหรืออาจทำให้เข้าใจสับสนได้ จึงนิยมใช้คำให้แตกต่างกัน เช่น “ที่–ซึ่ง-อัน” เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ หรือ “และ–กับ–รวมทั้ง–ตลอดจน” เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ เป็นต้น

2.2.5 ถูกใจผู้ลงนาม โดยยึดหลักการพื้นฐาน ดังนี้

· เขียนให้ถูกต้อง

· เขียนให้ชัดเจน

· เขียนให้รัดกุม

· เขียนให้กะทัดรัด

· เขียนให้บรรลุวัตถุประสงค์

3) ขั้นเขียนหนังสือ

ผู้เขียนลงมือเขียนหนังสือราชการตามแบบฟอร์มของประเภทหนังสืออย่างถูกต้อง

· หลักการ 5 ถูก (ถูกแบบ ถูกเนื้อหา ถูกหลักภาษา ถูกความนิยม ถูกใจผู้ลงนาม)

· โครงสร้างการเขียน แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุป

· เนื้อหาภาคเหตุ ยึดหลัก 5W1H

· เนื้อหาภาคความประสงค์ สัมพันธ์กับ “เรื่อง”

· การเขียนคำขอบคุณให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบุคคลที่ “เรียน”

4) ขั้นตรวจทาน

4.1 ผู้เขียนอ่านหนังสือที่เขียนขึ้น และปรับแก้ ครั้งที่ 1

4.2 ผู้เขียนนำหนังสือที่ปรับแก้ครั้งที่ 1 ไปให้ผู้ร่วมงานช่วยอ่าน และปรับแก้ ครั้งที่ 2

4.3 ผู้เขียนนำหนังสือที่ปรับแก้ครั้งที่ 2 ไปให้เจ้าหน้าที่สารบรรณตรวจทาน

และปรับแก้ ครั้งที่ 3

4.4 ผู้เขียนนำหนังสือที่ปรับแก้ครั้งที่ 3 เสนอผู้ลงนาม

5) ขั้นเสนอผู้ลงนาม

5.1 ผู้ลงนามอ่าน – ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกใจ – ให้ปรับแก้

5.2 ผู้เขียนปรับแก้ – เสนอผู้ลงนาม – ลงนาม – เสร็จสิ้น

8. อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ

การจัดการความรู้ครั้งนี้ ทำได้แนวปฏิบัติในการทำงานเพิ่มขึ้น 1 แนวทาง คือ “แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี วิทยาลัยพยบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์” ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ความจากประสบการณ์ตรงของปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนที่ง่ายต่อไปนำไปใช้ได้จริง

9. ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ดังนี้

ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงาน การบรรลุ ข้อเสนอแนะ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  • · ไม่พบข้อผิดพลาดหรือข้อร้องเรียนใดๆ จากหนังสือราชการที่ส่งออก

ไม่มี

บรรลุ

ตัวชี้เชิงคุณภาพ

  • · หนังสือราชการ                     มีรูปแบบที่ถูกต้อง

จากการตรวจสอบหนังสือราชการก่อนให้มีอำนาจลงนาม พบว่า รูปแบบการเขียนหนังสือราชการถูกต้องทุกฉบับ

บรรลุ

  • · หนังสือราชการประกอบด้วยภาคเหตุ ภาคความประสงค์ และภาคสรุปที่ชัดเจน ตรงประเด็น
จากการตรวจสอบหนังสือราชการก่อนให้มีอำนาจลงนาม 15 ฉบับ พบว่า

1) การเขียนหนังสือครบด้วยตามองค์ประกอบการเขียนหนังสือราชการ

2) มี 2 ฉบับที่เขียนข้อความสื่อจุดมุ่งหมายยังไม่ชัดเจน ข้อความวกวน ต้องปรับปรุงและร่างหนังสือใหม่

บรรลุ
  • ·จัดทำคู่มือแนวทางการเขียนหนังสือราชการ พร้อมยกตัวอย่างการเขียนที่หลากหลายตรงกับขอบเขตงานที่ปฏิบัติ

10. ปัจจัยความสำเร็จ

10.1 ความร่วมมือของบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือราชการ

10.2 บุคลากรสายสนับสนุนการจัดการศึกษา กลุ่มสำนักงาน และเจ้าหน้าที่สารบรรณเห็นความสำคัญของการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้อง ครบถ้วน จึงเรียนรู้และร่วมปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

10.3 ผู้บริหารให้การมสนับสนุนในการจัดทำแนวปฏิบัติจนบรรลุความสำเร็จระดับหนึ่ง

11. บทเรียนที่ได้รับ

จากการประเมินผลตามตัวชี้วัด พบว่า บรรลุทุกตัวชี้วัด สะท้อนให้เห็นว่า แนวปฏิบัติการทำงานถือเป็นเครื่องมือช่วยนำแนวทางการทำงานที่ถูกต้อง ยึดถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ลดเวลาในการตีความ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติตามหนังสือราชการที่เขียนขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบราชการสืบไป

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินตามตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ พบว่า มี 2 ฉบับที่เขียนข้อความสื่อจุดมุ่งหมาย                ยังไม่ชัดเจน การเขียนข้อความวกวน ต้องปรับปรุง และร่างหนังสือใหม่ สะท้อนให้เห็นว่า การจะเขียนหนังสือราชการซึ่งเป็นเอกสารสำคัญทางราชการให้สื่อความหมายและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ถูกต้องนั้น ผู้ปฏิบัติจำเป็น ต้องอาศัยการฝึกฝนการเขียนบ่อยๆ สร้างประสบการณ์การใช้ภาษาที่สวยงาน ถูกต้อง เป็นทางการ จนเกิดเป็นความเคยชิน และความชำนาญในที่สุด

12. การเผยแพร่

แนวทางการเขียนหนังสือราชการที่ดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ยังเผยแพร่ในวงจำกัดภายในวิทยาลัยเท่านั้น แต่คาดว่า จะเผยแพร่โดยทั่วเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลำดับต่อไป

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 19 สิงหาคม 2021 at 10:40 pm

ชื่อผลงาน….การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

ชื่อเจ้าของผลงาน…กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ.

สังกัด…..วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

เบอร์โทร   063-1541924   E-mail  nattamon@unc.ac.th

1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี

การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ กลุ่มงานวิจัย การจัดการความรู้ฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งการทำวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการถือเป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ และเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญด้านคุณภาพของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยที่ผ่านมาทางวิทยาลัยได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลาการได้มีการทำวิจัย เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ ดังนั้นจึงได้กำหนดประเด็นการจัดการความรู้โดยให้สอดคล้องกับพันธกิจงานวิจัยของคณะ ในเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ โดยแนวปฏิบัตินี้สามารถทำให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองในการส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติและมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ตามที่กำหนดร่วมทั้งสามารถเผยแพร่งานวิจัยเป็นประโยชน์สำหรับสาธารณชน และยังทำให้วิทยาลัยมีความเข้มแข็งในด้านการวิจัยและสามารถวางแผนตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับนานาชาติต่อไป

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อพัฒนากระบวนการการจัดการความรู้และพัฒนาศักยภาพอาจารย์

2.2 เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

3.เป้าหมาย (ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

3.1 การเพิ่มนักวิจัยหน้าใหม่

3.2 มีจำนวนบทความวิชาการ บทความวิจัย ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารระดับชาติ อย่างน้อยปีละ 18 เรื่อง

4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ : การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ ดำาเนินการตามกระบวนการ KM เริ่มดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564.(อยู่ในช่วงการนำไปใช้และปรับปรุง)

กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

6. กระบวนการที่ทำให้แนวปฏิบัติ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ ในการเตรียมตัวก่อนการเตรียมต้นฉบับสําหรับประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร การเตรียมความพร้อมในการเขียนผู้ที่จะเขียนต้องมีการสะสมข้อมูลหรือประสบการณ์ และจะต้องมีการจัดการกับตัวเองที่ดี แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1.       มีการเตรียมผลงานให้มีคุณภาพ

1.1 ควรมีการวางแผนเรื่องของการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ตามจำนวนผลงานที่วางแผนจะตีพิมพ์ ในกรณีเป็นโครงการใหญ่ที่มีการทำวิจัยและระยะเวลาที่นักวิจัยจะแบ่งตีพิมพ์ผลงานวิจัย ควรมีการวางแผนในการขอรับรองจริยธรรมในมนุษย์ในแต่ละระยะให้ครอบคลุม

1.2 คุณภาพผลงาน

1 ) ควรเป็นปัญหาที่ทันสมัย สอดคล้องกับปัญหาของประเทศ สามารถนำไปสู่

การเรียนรู้และแก้ไขปัญหาของประเทศได้และสำคัญที่จะต้องค้นหาต่อด้วยการทำวิจัย

2) เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

3) ควรเป็นเรื่องที่มีความรู้และเชี่ยวชาญรวมถึงความน่าสนใจของผู้เขียน

4) แสวงหาแหล่งช่วยเหลือในการให้คำปรึกษาก่อนส่งตีพิมพ์

1.3     ระเบียบวิธีวิจัย ต้องเลือกใช้ให้ถูกกับการทดสอบสมมุติฐาน หรือการหาคำตอบ

วิธีการวิจัย พื้นที่ทำวิจัย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและการพัฒนาคุณภาพ การดำเนินการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

1.4     ผู้วิจัยควรมีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะมีโดยส่วนตัวหรือหากไม่มี

สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่คลินิกวิจัยของวิทยาลัยฯ จะมีศูนย์วิจัยให้ความช่วยเหลือ อาจจัดระบบพี่เลี้ยงสนับสนุน จัดระบบช่วยเหลือตามสายงาน จัดคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนส่งผลงานตีพิมพ์ (กรณีเป็นส่วนตัวหรือจากวิทยาลัยสนับสนุน)

2. เลือกวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์ ศึกษาแนวทางการเขียนในวารสารที่สนใจจะส่งตีพิมพ์

2.1 การเลือกวารสารในการตีพิมพ์เผยแพร่ตามระดับคุณภาพของวารสาร (TCI)  การสืบค้นชื่อวารสาร เช่น เว็บไซต์  https://www.tci-thaijo.org/about

2.2 ศึกษาข้อมูลวารสารที่สนใจเป็นวารสารที่ได้รับการรับรองในระดับใดและตรงตรงตามเกณฑ์ที่ต้องการส่งตีพิมพ์

2.3 ประสานวารสารถึงช่วงเวลาที่ผลงานจะได้ลงตีพิมพ์ เพื่อต้องเตรียมการบริหารจัดการเวลาและเขียนงานให้เสร็จตามระยะเวลา

2.4 ศึกษา format ในวารสารที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ปฏิบัติตามแนวทางและรูปแบบของวารสารที่จะตีพิมพ์ โดยสามารถหาข้อมูลได้จากหน้า Web ของวารสาร

2.5 ใฝ่หากัลยาณมิตรที่ช่วยให้ข้อชี้แนะในการเขียนอย่างมีคุณภาพ โดยมีระบบ

ช่วยเหลือลงวารสารของวิทยาลัย

3. การส่งผลงานตีพิมพ์

3.1 ควรสมัครสมาชิก ThaiJo เพื่อเตรียมการส่งผลงานผ่าน ระบบ E-Journal

3.2 วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System)

3.3 ขั้นตอนการสมัครใช้ ThaiJo และวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จะมีเอกสารแนบท้ายในภาคผนวก

7. อธิบายกระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการวิธีการ/นวัตกรรมที่เป็นแนวทปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (เขียน Flow แผนภูมิของระบบ โดยใช้ System approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback ซึ่งควบคุมโดยวงจรคุณภาพ)

แนวปฏิบัติ

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ

8. อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ (เช่น คู่มือ/โมเดล เป็นต้น)

ได้แนวปฏิบัติ การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ วิทยาลัยพยบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

9. ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ)

อยู่ระหว่าดำเนินการ

10. ปัจจัยความสำเร็จ (สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ)

…………จากความร่วมมือและมีกระบวณการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

11. บทเรียนที่ได้รับ (การผลิตและนำผลงานไปใช้ ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น)

……………อยู่ระหว่าดำเนินการ …………………………………………………………………………………………………..

12. การเผยแพร่ (ร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่ที่มีการนำไปใช้ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ)

…………..แนวการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ยังเผยแพร่ในวงจำกัดภายในวิทยาลัยและใน Web KM ของวิทยาลัยเท่านั้น แต่คาดว่า จะเผยแพร่โดยทั่วเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลำดับต่อไป

การนำ Reflective Thinking มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 19 สิงหาคม 2021 at 10:38 pm

ชื่อผลงานแนวทางในการนำ Reflective Thinking มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

ชื่อเจ้าของผลงาน อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง  สังกัดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

เบอร์โทร. 0818887003   E-mail. dujduean@unc.ac.th

1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี / ที่เป็นเลิศ (บริบทขององค์กรความจำเป็น/ความท้าทาย/สภาพปัญหาของการดำเนินการ/สิ่งที่จะพัฒนาตอบสนองหรือสอดคล้องกับความต้องการชองกลุ่มเป้าหมาย องค์กรและชุมชน

จากการนำ Reflective Thinking มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจด้านผลิตบัณฑิต นั้นได้นำไปใช้ทั้งหมด 4 ราย วิชา การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สารสนเทศทางการพยาบาล การสอนและการให้การปรึกษาทางสุขภาพ ปฏิบัติมารดา  ทารกแรกเกิด และการผดุงครรภ์ 2 ปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช จากสภาพปัญหาที่พบ พบผู้เรียนเขียนรายงานการสะท้อนคิดมาในรูปแบบเดียวกัน เหมือนปฏิบัติตามกันมา จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่แท้จริง ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ active  listening  น้อย ขาดการฟังอย่างตั้งใจ โดยมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีอิทธิพลความเป็นมาทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่ไม่จริงหรือการสะท้อนคิดเชิงวิชาการไปมากกว่า สะท้อนคิดได้จริง ความแตกต่างระหว่างผู้สอนและพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคนถ้าปิดกั้นก็จะไม่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดได้ จำนวนผู้เรียนในกลุ่มมีจำนวนมาก ทำให้บริบทที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดเป็นไปได้ไม่ค่อยจริง ผู้เรียนได้เขียนสะท้อนคำที่เป็นความรู้สึกต่างๆ แต่บรรยายความรู้สึกไม่ได้ ขั้นตอนที่ 1 อธิบายผู้เรียนได้อธิบายเหตุการณ์คล้อยตามกันทุกคน และอ่านสถานการณ์โดยนำมาเล่าและสรุปประเด็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ครบ เพื่อความจำเป็นต้องการเตรียมและพัฒนาที่นำมาทดลองใช้ในวิชา การพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปี 1 ภาคทดลอง ปีนี้มีจำนวนนักศึกษา อยู่ 120 คน โดยนำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) มาหาแนวทางร่วมกันที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จึงจำเป็นต้องมีการจัดการองค์ความรู้ด้าน Reflective learning ให้แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาหรือวิธีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เป็นเลิศให้สอดคล้องกับพันธกิจด้านผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและประชาชน ชุมชนที่ปลอดภัยยั่งยืน

2. วัตถุประสงค์ (จุดมุ่งหมายของการดำเนินการ  ควรกำหนดให้เป็นข้อ ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง วัดและประเมินได้)

1.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม จากการใช้วิธีการเรียนการสอน Reflective thinking

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม ระหว่างกลุ่มที่เรียนแบบบรรยายและกลุ่มที่เรียนแบบ Reflective thinking

3.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนแบบบรรยาย และการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking

3.เป้าหมาย (ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

1. ร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม จากการใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking

2. กลุ่มที่เรียนแบบ Reflective thinking มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการทำงานเป็นทีม มากกว่าร้อยละ 80

3. ความพึงพอใจของกลุ่มที่เรียนแบบ Reflective thinking มากกว่า กลุ่มที่เรียนการสอนแบบบรรยาย ร้อยละ 80

4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

จากการนำแนวคิดของ reflective มาใช้ที่หลากหลายจาก Mezirow,1997 หรือแนวคิด Schon,1987 ของ Dewey,1993 ของ Gibb-cycle มาประยุกต์ใช้ และรวมถึงถ้านำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง  7 ขั้นตอน

จากการจัดองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดในครั้งที่ผ่านมา จึงได้แนวทางในการที่จะนำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน โดยได้นำมาเป็นแนวทางที่ชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนการสอน  รายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลอง  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปี 1 โดยได้จัดทำคู่มือสำหรับอาจารย์ในการเรียนการสอน พร้อมทั้งแนวทางการสะท้อนคิด 7 ขั้นตอนของ (ดุจเดือน เขียวเหลือง,๒๕๕๖)  ได้แก่

  1. 1. อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

สามารถอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน เป็นการตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบกับใครบ้าง สามารถสรุปสาระสำคัญได้อย่างครบถ้วน และสามารถ วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้นได้อย่างเชื่อมโยง

  1. 2. อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

สามารถบอกความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ในขณะนั้นได้ สามารถประเมินและสามารถวิเคราะห์ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ ทั้งด้านบวกและด้านลบ

  1. 3. บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

สามารถระบุและอธิบายปัจจัยต่างๆ เช่นแหล่งความรู้/แนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ครบถ้วนทุกด้านและสมเหตุสมผล

  1. 4. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มได้โดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล มีการค้นคว้าแหล่งความรู้  หนังสือ ตำรา งานวิจัย มาประกอบการอภิปรายอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง

  1. 5. จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด

จัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และสามารถสรุปแนวคิดรวบยอดของความรู้ที่เกิดขึ้นในใจแล้วนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีขึ้นและทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม

  1. 6. นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

เปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลพวงที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละแนวทาง และสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีผลและน่าเชื่อถือ และสามารถประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นได้หลากหลายแง่มุม

  1. 7. สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

เทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม สามารถบอกความสัมพันธ์/เชื่อมโยงของความรู้ที่ได้ใหม่และความรู้ที่มีอยู่เดิม   สามารถอธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร  สามารถอธิบายได้ว่าประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง  ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร

5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ

กิจกรรมการดำเนินงานวิจัย ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
ต.ค64 พ.ย64 ธ.ค. 64 ม.ค64 ก.พ64 มี.ค64 เม.ย64 พ.ค 64 มิย. 64 ก.ค64 ส.ค64 ก.ย.64
1.การทบทวนวรรณการดำเนินโครงการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบTransformative Learning โดยเน้น   Reflective Learning

2.เสนอโครงการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบTransformative Learning โดยเน้น   Reflective Learningและนำเสนอ

3. สร้างเครื่องมือ

4.ทดลองใช้เครื่องมือและเก็บข้อมูล

5.วิเคราะห์ข้อมูล

6.สรุปและอภิปรายผล

7.ตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย

6. กระบวนการที่ทำให้เกิดวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

6.1 การสร้างและแสวงหาความรู้

เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น Model หรือเตรียมทั้งผู้เรียนและเตรียมทั้งผู้สอน

  1. ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะครู How to be reflective teacher
  2. ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษา How to be reflective learner

3.  สร้างสิ่งแวดล้อม จัดสภาพบริบทให้ส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด

คุณสมบัติผู้สอน คุณสมบัติผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
1. เปิดใจกว้าง ไม่มีอคติ

2. ตั้งคำถามชวนคิด

3. ฟังอย่างตั้งใจ

4. คิดเป็น concept

5. ยืดหยุ่น

6. จริงใจ ตรงไปตรงมา

7. ให้กำลังใจ

8. Feed back เร็ว

1. ช่างสังเกต ไวต่อบริบท

2. เข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก

3. กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน

4. ฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้าง

5. คิดเป็นระบบ (ยากมาก)

6. ใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้

7. ประเมินตนเองได้

1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อคุณลักษณะของผู้เรียน

2. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ฝึกให้มีความ “กล้าคิด”

3. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนแบบสะท้อนคิดเช่น หนังสือ สื่อ แหล่งความรู้ภายนอก ฯลฯ

6.2 การจัดระบบขององค์ความรู้

การสะท้อนคิดที่ดีก็จะแตกต่างกันออกไป

ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของนักศึกษาควรมีดังต่อไปนี้

๑. นักศึกษาควรมีลักษณะช่างสังเกต ไวต่อบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

๒. นักศึกษาควรมีเข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเองและต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

๓. นักศึกษาควรมีพื้นฐานความรู้ ความกล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน

๔. นักศึกษาควรมีฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และใคร่ครวญตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

๕. นักศึกษาควรคิดเป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อที่สร้างได้ค่อนข้างยาก

๖. นักศึกษาควรฝึกใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้ให้เป็นเหตุเป็นผล

๗. นักศึกษาควรประเมินตนเองให้ได้โดยการฝึกคิดในการเปรียบเทียบจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา กับเหตุการณ์ปัจจุบันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง นักศึกษาได้รับประสบการณ์ใหม่ในประเด็นใดบ้างทั้งด้านความรู้ ความคิด และความเชื่อและควรมีแบบวัดหรือประเมินคุณสมบัติผู้เรียน วัดคุณสมบัติทั้ง ๗ ข้อใน ๑ แบบประเมิน เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น Model หรือเตรียมทั้งผู้เรียนและเตรียมทั้งผู้สอน

ดังนั้นการที่จะ reflection ได้ดีควรมีการเตรียมและมีการใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

6.3 การประมวลกลั่นกรองตรวจสอบองค์ความรู้

.         รายงานการประชุมการจัดการความรู้  เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมท่าเหนือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  อุตรดิตถ์

6.4 การดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่

รายวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 (อาจารย์จิระภา  สุมาลี)  ใช้ในภาคทดลองหัวข้อการสอนทางสุขภาพในโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และการสร้างเสริมสุขภาพ  โดยนักศึกษามีบทบาทในการให้ความรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา หลังจากจัดกิจกรรมให้ความรู้ อาจารย์ได้พบกับนักศึกษาและพูดคุยถึงกิจกรรม การเรียนดังกล่าว โดยใช้คำถามสะท้อนคิดและให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ลงไปปฏิบัติ

หลังจากการใช้ประเด็นคำถามเพื่อสะท้อนคิดนั้น นักศึกษาได้มีโอกาสในทบทวนตนเอง ทั้งในด้านการตระหนักรู้ในตนเองและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผลการประเมินจากการเขียนบันทึกส่วนใหญ่พบว่า นักศึกษาได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริงนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน และในขณะเดียวกันนักศึกษาก็ได้พัฒนาตนเองไปด้วย เช่น ความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง การเข้าสังคม การทำงานเป็นทีม และการได้แสดงถึงศักยภาพของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ ส่วนในด้านของบทบาทของพยาบาลวิชาชีพนั้น นักศึกษายังต้องพัฒนาตนเองในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะนำไปเผยแพร่และต้องประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มผู้รับบริการ จากการใช้ประเด็นคำถามในการสะท้อนคิดในมุมมองของอาจารย์ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้นักศึกษาได้ทบทวนถึงสิ่งที่ตนเองได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาได้แนวทางในการพัฒนาตนเองรวมถึงด้านวิชาชีพ ในส่วนที่นักศึกษาปฏิบัติดีอยู่แล้ว อาจารย์มีบทบาทในการให้แรงเสริมเพื่อให้สมรรถนะนั้นยังคงอยู่หรือดีขึ้น และในส่วนที่นักศึกษาต้องปรับปรุงหรือพัฒนา อาจารย์มีบทบาทในการใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาทบทวนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดถึงปัญหาหรืออุปสรรคเพื่อให้เกิดพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ต่อไป

ประสบการณ์ การนำ Reflective ไปใช้

โดย อ.ดร. สุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์  9 กุมภาพันธ์ 2564

1. รายวิชา ป.มารดา ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ 2

2. หัวข้อ การเขียนรายงานสะท้อนคิด (Reflective Journal Writing) ประสบการณ์การฝึกภาคปฏิบัติ

3. กระบวนการนำไปใช้

เขียนรายงานสะท้อนคิด บอกเล่าเหตุการณ์ ความรู้สึก สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในมุมมองของนักศึกษา ตามกรอบ 7 ขั้นตอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่งภายในวันที่ 3 ของการฝึกปฏิบัติการ  ในแต่ละสัปดาห์

4. ผลประเมิน

-นักศึกษาบางส่วน ที่เขียนแสดงถึงความรู้สึกแท้จริงของตน ส่วนใหญ่ แสดงความเห็นถึงความไม่พร้อมของตนเองด้านความรู้ ความมั่นใจ ทำให้ได้ทราบถึง ความคาดหวังของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติ  “อยากได้เคสทำคลอด” , ความภูมิใจในตัวเองของนักศึกษา ทำคลอดมารดาทารกปลอดภัย , พัฒนาการการเรียนรู้  “ทำให้เข้าใจสิ่งที่เรียนมา, ปัญหาของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติ  ขาดความมั่นใจ…”

-มีส่วนน้อย ที่เขียนแสดงความรู้สึกของตนตามที่เป็นจริง แสดงถึงด้านคุณธรรม จริยธรรม, การทำงานร่วมกัน ที่พบคือ ความคิดแวปแรกที่ไม่ดีต่อพฤติกรรมของผู้รับบริการ,  ความรู้สึกต่อเพื่อนที่เอาเปรียบในการเก็บประสบการณ์และการทำงานร่วมกัน กรณีดังกล่าว จะมีการเชื่อมโยงไปสู่การไตร่ตรอง วิเคราะห์ เหตุผล ความเหมาะสมของการคิดด้านคุณธรรม จริยธรรม และลงข้อสรุปในสิ่งที่พึงกระทำตามบทบาทวิชาชีพ

ปัญหาที่พบ

  1. ส่วนใหญ่เขียนลักษณะบรรยายลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ไม่แสดงความรู้สึกหรือกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เชื่อมโยงไปสู่ความรู้หรือประสบการณ์เดิม
  2. บางคนเขียนสั้น มีแต่หัวข้อ ไม่มีรายละเอียด
  3. ส่งรายงานสะท้อนคิดช้า (วันสุดท้ายของการฝึก) อาจลืมความรู้สึกแท้จริงต่อเหตุการณ์ ทำให้ Feedback ขณะฝึกไม่ทัน

ปรับเพิ่มวิธีการ

  1. สอดแทรกกระตุ้นทักษะสะท้อนคิด ในกิจกรรมสนทนากลุ่มย่อยตามโอกาส โดย ให้นักศึกษาบอกเล่าสถานการณ์ ความรู้สึก
  2. ให้นักศึกษาเขียน Mind Map สรุปการเรียนรู้หลังสนทนากลุ่มย่อย เช่น การช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ

5. ข้อเสนอแนะ

1. แจ้งนักศึกษาให้ทราบเกี่ยวกับ การเขียนรายงานสะท้อนคิด ในประเด็นดังนี้

-เขียนแนวไหน/อะไร , เขียนยาวแค่ไหน (1-3 หน้า) -ส่งเมื่อไร

ใช้การ สนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง กระตุ้นการพัฒนานักศึกษาให้เกิดพฤติกรรมสะท้อนคิด

6.5   การเรียนรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายในหน่วยงาน

1. นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคทฤษฎี

2. นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

3. นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติ

6.6 การเรียนรู้และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ภายนอกหน่วยงาน

.-

6.7 สรุป

การเอาไปใช้มี 3 ประเด็นคือ

1.       Transformative learning :reflective thinking

2.       Deep Listening การฟัง มีหลากหลายระดับ ฝึกให้ผู้เรียน เป็นผู้ฟังที่ดี

3.       สุนทรียสนทนา  ฟังโดยไม่ตัดสิน

4.       Power Question  เครื่องมือที่จะทำกลุ่มให้กับผู้เรียน มีทักษะ Soft skill ได้  คำถามที่ย้อนกลับไปให้ได้ว่าจะทำอะไร การทำกลุ่มสะท้อน ต้องมีประเด็นที่ชูขึ้นมาเพราะถ้าเจอสถานการณ์ก็จะได้ช่วยกัน สะท้อนคิดได้จริง

7. อธิบายกระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการวิธีการ/นวัตกรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ (เขียน Flow แผนภูมิของระบบ โดยใช้ System approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback ซึ่งควบคุมโดยวงจรคุณภาพ)

ดังนั้นการที่จะ reflection ได้ดีควรมีการเตรียมและมีการใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้

สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

8.อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ (เช่น คู่มือ/โมเดล เป็นต้น)

9. ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ)

ผลลัพธ์ทักษะทางปัญญาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 จากเดิม LO 3.1 mean= 3.13 (SD= 0.67), X= 3.34 (SD=.20)

3.1 สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อพัฒนาความรู้และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ LO 3.1 mean= 3.34 (SD=.20)

3.2 สามารถคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานและบอกถึงผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาได้ LO 3.2 mean= 3.51 (SD=0.14)

10. ปัจจัยความสำเร็จ (สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ)

1.       ความร่วมมือกัน ความสามัคคี และการทำงานเป็นทีมของผู้เรียน

2.       การได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้ร่วมสอนผู้เรียนที่คอยให้คำแนะนำคอยชี้แนะ

3.       ผู้เรียนมีส่วนช่วยกันในการเสนอคิดริเริ่มสร้างสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.       การปรับตัวของผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอน

5.       ความสำคัญของลักษณะรายละเอียดของกิจกรรมที่ดำเนินการ

6.       ความตั้งใจและมุ่งมั่นของผู้สอนและความตั้งใจและมุ่งมั่นของผู้เรียน

7.       เป้าหมายในการทำงานทั้งผู้สอนและผู้เรียน

8.       จำนวนผู้เข้าร่วม และความร่วมมือของผู้สอนและผู้เรียนที่เข้าร่วม

9.       การทบทวนกิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียน

11. บทเรียนที่ได้รับ (การผลิตและนำผลงานไปใช้ ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น)

1.       ฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีหลากหลายและแต่ละระดับความแตกต่างกันระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่ได้จากการเป็นผู้ฟังที่ดี

2.       สุนทรียสนทนา  ฟังโดยไม่ตัดสิน

3.       การใช้พลังคำถาม (Power Question)  ที่เป็นเครื่องมือจะทำให้กลุ่มผู้เรียน สามารถมีทักษะด้านความคิดอย่างละเอียดรอบคลอบ(Soft skill) และมีความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้

12. การเผยแพร่ (ร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่ที่มีการนำไปใช้ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ)

-

สรุปแนวทางปฏิบัติการเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 12 มีนาคม 2020 at 11:38 am

สรุปแนวทางปฏิบัติการเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

1. ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การเขียนรายงานการเดินทางไปราชการร่วมกัน วันที่ 27 มกราคม 2563 เวลา 13.30 – 15.30 น.

1. อาจารย์ไพทูรย์         มาผิว

2. อาจารย์อรุณรัตน์       พรมมา

3. อาจารย์นัยนา           แก้วคง

4. อาจารย์วีระยุทธ        อินพะเนา

5. อาจารย์ภราดร         ล้อธรรม

7. อาจารย์ดารณี          ขันใส

8. คุณนงคราญ            เยาวรัตน์

9. คุณนราพร              ประทุม

10.คุณจุฑามาศ            มหาวี

11.คุณนิภาภรณ์           เมืองด่าน

12.คุณปวีณา              หลวงกว้าง

2. แนวทางปฏิบัติการเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ

ก่อนเดินทางไปราชการ ประชุม/อบรม/สัมมนา

1.1 ศึกษาวัน เวลา สถานที่ และผู้เข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา

1.2 ระบุจำนวนวันเดินทางไปราชการ

1.2.1 จำนวนวันประชุม/อบรม/สัมมนา

1.2.2 จำนวนวันเดินไป-กลับจากการประชุม/อบรม/สัมมนา 2 วัน โดยกำหนดวันเดินทางไปล่วงหน้า 1 วัน และวันกลับหลังเสร็จการประชุม/อบรม/สัมมนา 1 วัน

1.2.3 จำนวนเดินทางไปราชการทั้งหมด เท่ากับ ข้อ 1.2.1 + ข้อ 1.2.2

1.3 เลือกวิธีการเดินทางตามสิทธิ์และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ

1.4 บันทึกขออนุมัติไปราชการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัย

1.5 ประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปราชการ

1.5.1 คำนวณระยะเวลาและเบี้ยเลี้ยงไปราชการ

A. ใช้โปรแกรม Excel โดยระบุข้อมูลที่จำเป็น ดังนี้

1) กำหนดวันและเวลาเริ่มที่เดินทางจากบ้านพัก/สำนักงาน

2) กำหนดวันและเวลากลับถึงบ้านพัก/สำนักงาน

โดยเวลาตามข้อ 1 และ 2 ต้องมีสอดคล้องกับวิธีการเดินทางของยานพาหนะโดยสารที่เลือก

3) ระบุวันสุทธิ โดยพิจารณาจากตัวเลขชั่วโมงจากผลการคำนวณจากโปรแกรม Excel คือ จำนวนชั่วโมงไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่ > 12 ชั่วโมง ให้นับเป็น 1 วัน

4) พิจารณาผู้จัดประชุมว่าจัดอาหารให้กี่มื้อ (จาก 3 มื้อ/วัน)

5) นำข้อมูลที่ได้จาก ข้อ 1-4 กรอกลงโปรแกรม Excel ให้ถูกต้อง

B. ใช้ Application for IOS : Time & Date Calculator โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นตามที่ app ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ได้ จะแสดงผลเป็น จำนวนวัน จำนวนชั่วโมง จำนวนนาที

C. ใช้ Application for Android : Calculator Date & Time โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นตามที่ app ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ได้ จะแสดงผลเป็น จำนวนวัน จำนวนชั่วโมง จำนวนนาที

1.5.2 คำนวณค่าที่พัก/คืน/คน

1) ค่าที่พัก/คืนตามจริง แต่ไม่เกินที่เบิกได้ตามระเบียบ

ไปปฏิบัติราชการ/ประชุมทำงาน อบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
เหมาจ่าย ห้องพักคนเดียว ห้องพักคู่ ห้องพักคนเดียว ห้องพักคู่
800 บาท/คน/คืน 1,500 บาท/คน/คืน 850 บาท/คน/คืน 1,450 บาท/คน/คืน 900 บาท/คน/คืน

2) จำนวนวันที่ค้างคืน

3) จำนวนคนที่ไปราชการ

4) ค่าที่พัก = ข้อ 1 x ข้อ 2 x ข้อ 3

1.5.3 ค่าพาหนะ

1) กรณีเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว 4 บาท/กิโลเมตร โดยอ้างอิงระยะจาก Google map และบันทึกข้อความขออนุมัติเดินโดยรถยนต์ส่วนตัว

2) กรณีเดินทางโดยรถโดยสาร ตามจ่ายจริงไม่เกินระเบียบกำหนด มีดังนี้

2.1) ค่าพาหนะรับจ้างจากที่พัก-สถานีรถโดยสาร x 2 เที่ยว (เที่ยวไป-เที่ยวกลับ)

2.2) ค่าพาหนะประจำทางจากต้นทาง-ปลายทาง x 2 เที่ยว (เที่ยวไป-เที่ยวกลับ)

3) กรณีเดินทางโดยรถยนต์วิทยลัย ให้ประมาณการค่าน้ำรถยนต์

1.6 ยืมเงินตามระเบียบ โดยยื่นก่อนเดินทางไปราชการ อย่างน้อย 5 วัน

การเขียนรายงานการเดินทางไปราชการ

2.1 สรุปการประมาณการค่าใช้จ่ายในการไปราชการ ตามข้อ 1.5

2.2 ร่างการเขียนรายงานการเดินทางการไปราชการลงในแบบฟอร์มที่กรมบัญชีกลางกำหนด                 โดยนำข้อมูลสรุปจากข้อ 2.1 มาเขียนลงแบบฟอร์มให้ถูกต้อง ตามลำดับ ดังนี้

ลำดับที่ 1 แบบ บก.111 ใบรับรองแทนใบเสร็จ (เขียนเป็นรายบุคคล)

ลำดับที่ 2 แบบ 8708 ส่วนที่ 1 หน้า 2 หัวข้อหมายเหตุ : เป็นการเขียนชี้แจงรายละเอียดการไปปฏิบัติราชการ กรณีเวลาเริ่มออกเดินททางไม่พร้อมกันให้เขียนแยกเป็นรายบุคคล โดยการเขียนส่วนนี้ ต้องให้สอดคล้องกับแบบ บก.111

ลำดับที่ 3 แบบ 8708 ส่วนที่ 2 หลักฐานการจ่ายเงินในการเดินทางไปราชการ (แบบหมู่คณะ)

ลำดับที่ 4 แบบ 8708 ส่วนที่ 1 ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พร้อมหลักฐานให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามระเบียบ

2.3 กรณีพบปัญหาหรือข้อสงสัยในการเบิกจ่าย การเขียนรายงานให้ปรึกษาโดยตรงกับเจ้าหน้าที่งานการเงินและบัญชี

2.4 เขียนรายงานการเดินทางการไปราชการลงในแบบฟอร์มที่กรมบัญชีกลางกำหนด

2.5 ส่งรายงานการเดินทางการไปราชการให้งานการเงินและบัญชีตรวจสอบ

1) กรณีรายงานมีความถูกต้อง ครบถ้วน งานการเงินและบัญชีดำเนินการหักล้างเอกสารหลักฐาน การเบิกจ่ายเบิกจ่ายจริงๆ กับสัญญายืมเงินไปราชการ และดำเนินการเลิกจ่ายตามระเบียบ

2) กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน งานการเงินและบัยชีแจ้งผู้จัดทำรายงานให้แก้ไขจนถูกต้อง ครบถ้วน จากนั้นงานการเงินและบัญชีดำเนินการหักล้างเอกสารหลักฐาน การเบิกจ่ายเบิกจ่ายจริงๆ กับสัญญายืมเงินไปราชการ และดำเนินการเลิกจ่ายตามระเบียบ

สรุปแนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 12 มีนาคม 2020 at 11:37 am

สรุปแนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

1 แนวคิดเกี่ยวกับการสะท้อนคิด

การสะท้อนคิด เป็นกระบวนการคิดและพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ ละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผล โดยใช้ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้และทฤษฎีต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นๆ การสะท้อนคิดที่เหมาะสมกับการนำมาใช้กับนักศึกษาพยาบาลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้

1.1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น (describe experience) เป็นการอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนด้วยมุมมองง่ายๆ โดยใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบกับใครบ้าง

1.2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ (Feeling) เป็นการอธิบายความรู้สึกของตนเองต่อสถานการณ์นั้น โดยการตอบคำถามว่า “ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้าง?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? เป็นการประเมินและวิเคราะห์ความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ

1.3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ (theoretical) เป็นการบอกหรืออธิบายว่ามีปัจจัยต่างๆ เช่นแหล่งความรู้/แนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าใดบ้าง ที่สนับสนุนการกระทำของตนเองและสนับสนุนการกระทำที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น

1.4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย (various perspectives) เป็นการค้นหาทางเลือกที่หลากหลาย มีเหตุผลและเป็นไปได้ โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่น ทำความเข้าใจและเปิดใจรับฟังแนวคิดอื่น ๆ โดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

1.5 จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด (conceptualization) เป็นการจัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสามารถสรุปเป็นแนวคิดรวบยอดได้

1.6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ (experiment) เป็นการเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาของแต่ละแนวทางได้หลากหลายแง่มุม และสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

1.7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม (reflect learning/new experience) เป็นการเทียบเคียงมุมมองใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิม รวมถึงเป็นการสร้างความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิด “การรู้ด้วยตนเอง” ว่าตนเองได้เปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร

2. แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ว่า เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงกรอบอ้างอิง (frame of reference) ทางความคิด ซึ่งได้แก่ มุมมองในการให้ความหมาย แบบแผนความคิด และชุดของความคิดความเชื่อ ที่เรามีหรือใช้อยู่เป็นประจำ ให้เป็นความคิดที่ครอบคลุมมากขึ้น จำแนกแยกแยะได้ดีขึ้น เปิดกว้างขึ้น และสามารถใคร่ครวญอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ทำให้เรามีความเชื่อและทัศนะที่เป็นจริงและชี้นำการกระทำได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งองค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับเปลี่ยนกรอบอ้างอิง มีอยู่ 3 องค์ประกอบดังนี้ คือ  1) ประสบการณ์ 2) การสะท้อนคิด และ 3) การแลกเปลี่ยนทางความคิดอย่างมีเหตุผล ดังนั้นกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างมีเหตุผลจะช่วยพัฒนาลักษณะความเป็นประชาธิปไตย พร้อมที่จะแลกเปลี่ยน และตัดสินใจหาข้อสรุปที่มีคุณธรรมได้

3. หลักการ

หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ ได้มาจากการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานๆ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการสะท้อนคิด และแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การสะท้อนคิดเน้นให้ผู้เรียนมองสถานการณ์ด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย สามารถสร้างความรู้จากประสบการณ์และถ่ายโยงความรู้จากประสบการณ์หนึ่งไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หรือใช้แก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนในสถานการณ์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติการพยาบาล

รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ใช้สถานการณ์ทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางจริยธรรมมากำหนดเป็นสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์นั้นตามกระบวนการของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล โดยผู้สอนเป็นผู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการสะท้อนคิดในหลากหลายวิธีการเช่น การใช้คำถาม การเขียนเรื่องราวแบบสะท้อนคิด การพูดโดยการอภิปราย/เปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง และสนับสนุนให้กำลังใจให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด

4. กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

ขั้นตอนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนด้วยมุมมองง่ายๆ โดยใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ตอบคำถามตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบกับใครบ้าง ซึ่งจะทำให้มองเห็นว่าการอธิบายสถานการณ์ของผู้เรียนนั้นยังขาดข้อมูลอะไรบ้าง มีการอธิบายข้อมูลมากกว่าที่มีในสถานการณ์หรือไม่ ขาดความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ในเรื่องใด รวมทั้งเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขั้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและมีความเชื่อมโยง

เนื่องจากการสะท้อนคิดในขั้นตอนนี้เป็นการใช้ความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยอัตโนมัติ ควรหยุดความคิดขณะนี้ไว้ก่อน เพราะถ้าเรามีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ อาจจะเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เนื่องจากเป็นการกระทำที่เกิดจากการคิดออกมาโดยฉับพลัน ยังไม่ได้ไตร่ตรอง อาจจะนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมและเป็นอันตราย ซึ่งเรียกว่าเป็น “ความคิดที่เกิดจากประสบการณ์เดิม” 

วิธีการที่จะให้ผู้เรียนได้อธิบายสถานการณ์นั้นมีดังนี้

1.การกำหนดสถานการณ์

ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยการกำหนดนั้นอาจจะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ กรณีศึกษา (case study) การใช้สถานการณ์จริง (Actual Situation) เหตุการณ์สมมติ (scenario) การเรื่องเล่า (story) การแสดงบทบาทสมมติ (role play) และดูเรื่องราวจากสื่อวิดีทัศน์  เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มอธิบายสถานการณ์

2. บรรยายสถานการณ์ ผู้สอนอาจจะจัดการเรียนรู้ได้หลายวิธี เช่น

2.1 การเขียนเรื่องราวแบบสะท้อนคิด(reflective dailies) หรือการพูดบรรยาย (describe)  เพื่อสะท้อนหรือบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้นอย่างครบถ้วน โดยผู้สอนจะกำหนดให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวหรือพูดบรรยายเพื่อสะท้อนคิดแบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งเป็นการสะท้อนคิดโดยการกำหนดกรอบให้คร่าวๆ มีข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถสะท้อนคิดได้เต็มที่  และได้คำตอบที่เกี่ยวข้อง  มากขึ้น

2.2 การพูดบรรยาย (describe) พูดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน บอกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะความรู้สึกสะท้อนภาพการคิดและการกระทำ ดังนั้นจะต้องตอบคำถามตนเองว่า “ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้าง?”  “ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร?” โดยผู้เรียนสามารถบอกความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ในขณะนั้นได้ สามารถประเมินและวิเคราะห์ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ เพราะความรู้สึกนั้นสามารถที่จะยับยั้งหรือส่งเสริมให้เกิดการสะท้อนคิดในภายหลัง เช่น ถ้าเกิดความรู้สึกด้านลบอาจจะต้องขจัดออกไป หรือต้องทำให้เป็นความรู้สึกที่ดีขึ้น ไม่เช่นนั้นถ้าปล่อยให้เกิดความรู้สึกนั้นต่อไปจะทำให้ปิดรับความเข้าใจหรือปิดรับมุมมองอื่น ๆ ในกรณีเดียวกันถ้าเกิดความรู้สึกทางบวกก็จะส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการสะท้อนคิดได้มากขึ้น

วิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์นั้น ทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่

1. การอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ โดยให้ผู้เรียนถามและตอบคำถามตนเอง(self-questioning) เพื่อสำรวจตนเอง และเรียบเรียงความคิดความรู้สึก

2. ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้น (questioning) ให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดให้ละเอียดและลึกซึ้งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นการแนวคิดของตนเองได้ชัดเจน

3. การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจ สามารถแสดงความรู้สึกของตนเองอย่างแท้จริง และตรงไปตรงมา เช่น ผู้สอนต้องมีใจกว้าง ไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เรียน  ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียนไม่ว่าความคิดความรู้สึกนั้นจะผิดหรือถูก

ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนบอกหรืออธิบายว่ามีปัจจัยต่างๆ เช่นแหล่งความรู้/แนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าใดบ้าง ที่สนับสนุนการกระทำของตนเองและสนับสนุนการกระทำที่เกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น เนื่องจากแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ของแต่ละคนนั้นย่อมมีความลึกซึ้ง กว้างขวาง หลากหลายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นหลังและความรู้ของแต่ละคน ดังนั้นในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะสามารถจะประเมินได้ว่าผู้เรียนนำความรู้/หลักการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์นั้นอย่างไร  และความรู้/หลักการที่บอกมานั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิธีการที่ให้ผู้เรียนบอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ มีดังนี้

1. จัดหาและแนะนำแหล่งเรียนรู้ เช่น หนังสือ ตำรา เอกสารทางวิชาการ สื่อ สารสนเทศต่างๆ

2. ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน โดยให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ หรือผู้สอนเป็นผู้สรุปความหมายให้ผู้เรียนก็ได้

3. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น

4. นำเสนอแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ที่สนับสนุนความคิด โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้

-การเขียนเรื่องราวแบบสะท้อนคิด (reflective dailies)

-การพูดบรรยาย (describe)

5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจ ในการนำเสนอแนวคิด/ความเชื่อของตนเองอย่างตรงไปตรงมา

ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาทางเลือกที่หลากหลาย มีเหตุผลและเป็นไปได้ โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่ม ทำความเข้าใจและเปิดใจรับฟังแนวคิดอื่น ๆ ได้โดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของการให้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ หรือเป็นการจัดระเบียบความคิดและประสบการณ์โดยเปลี่ยนผ่านจากการสะท้อนคิดที่ปราศจากการใคร่ครวญ มาเป็นการสะท้อนคิดที่เกิดจากการใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ซึ่งอาจมีการค้นคว้าแหล่งความรู้อื่นๆ เช่นตำรา หรือผู้รู้ มาประกอบการวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

วิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายได้แก่

1. ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น โดยการใช้กลุ่มย่อย (small group) เปิดใจรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

2. ให้ผู้เรียนฟังอย่างตั้งใจ (active listening) ฟังโดยไม่มีคำเถียงหรือคำถาม ไม่รีบร้อนด่วนสรุป ไม่ตัดสินว่าถูกผิด เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสและตรวจสอบความคิดความรู้สึกของตนเอง และแยกแยะความคิดความรู้สึกของผู้อื่นไปด้วยว่าเขามีความรู้สึก ความคิด และทัศนคติต่อเรื่องนั้นอย่างไร ในขณะฟัง

3. ให้ผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับผู้สอน ในเรื่องต่างๆเช่น วิธีการสอนของผู้สอน เพื่อใช้ผู้สอนเป็นแบบอย่างของการเปิดใจยอมรับด้วยก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้พูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเกิดการเปิดใจรับ

4. ผู้สอนกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยให้โอกาสผู้เรียนทุกคนได้แสดงความคิดเห็น หรือตั้งคำถามโต้แย้ง อย่างมีเหตุมีผล

ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ จัดระเบียบและลำดับประเภทของการรับรู้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งสามารถสรุปเป็นแนวคิดรวบยอดได้

เป็นขั้นตอนการคิดที่เกิดจากความรู้ที่สมบูรณ์แตกฉาน มีการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งผ่านการตั้งปัญหาและการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่หลากหลาย ซึ่งเป็นฐานที่จะนำไปสู่การกระทำที่ชาญฉลาดและเหมาะสม

วิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด ได้แก่

1.ให้ผู้เรียนเลือกจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด ตามความถนัด เช่น

-การเขียนผังความคิด (mind  mapping)

-การเขียนผังมโนทัศน์  (concept mapping)

-การเขียนผังก้างปลา (fishbone mapping)

2. ให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดด้วยตัวเอง

3. นำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

4. ผู้สอนควรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างใกล้ชิด หรือประเมินดูว่าผู้เรียนคนไหนไม่สามารถจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดได้ก็อาจจะมีการฝึกให้ผู้เรียนได้เล่นเกมก่อนเริ่มการเรียนการสอน

ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาของแต่ละแนวทางได้หลากหลายแง่มุม และสรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้นได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

วิธีการที่ให้ผู้เรียนนำข้อสรุปไปปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้คือ

1. ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายโดยวิธีการระดมสมอง (brain storming) เพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกอย่างมีเหตุมีผล และใช้หลักการปละทฤษฎีสนับสนุน

2. สรุปแนวทางที่นำไปปฏิบัติโดยวิธีต่างๆ  ตามความถนัด เช่น

-ทำผังกระบวนการ (process chart)

-ผังกระบวนการทำงาน  (work flow)

-การเขียนผังงาน (flow chart)

-การเขียนบรรยายแนวทาง

3. ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์จากแนวทางที่เลือกนั้นโดยวิธีการการอภิปรายกลุ่ม (group discussion) เพื่อให้ได้ข้อมูลในหลายๆ มุมมองเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้

4. ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (active participation)

ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม (prior perspective) รวมถึงเป็นการสร้างความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิด “การรู้ด้วยตนเอง” (knowing myself) ในแง่มุมของสถานการณ์โดยรวม และการเห็นภาพด้วยตนเอง ว่าตนเองได้เปลี่ยนแปลงความรู้ ความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมไปจากเดิมหรือไม่อย่างไร

ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด เพราะสุดท้ายผู้เรียนต้องสามารถเห็นภาพด้วยตนเองว่าได้เรียนรู้อะไร (capture meaning) และสามารถสร้างและขยายความรู้ที่มีอยู่เดิมไปสู่ประสบการณ์ใหม่ สามารถกลั่นกรองความรู้จากประสบการณ์และถ่ายโยงประสบการณ์หนึ่งไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ในอนาคตได้ด้วยตนเอง

วิธีการที่จะให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ดำเนินการดังนี้ คือ

1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในแต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2. ผู้สอนประจำกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) แก่ผู้เรียนทั้งข้อดี และข้อควรปรับปรุงพัฒนาอย่างไรบ้าง

2.1 ให้คำชมในการสะท้อนคิด ซึ่งควรชมตามพฤติกรรมที่แสดงออกจริง และสมเหตุสมผล

2.2 ชวนให้ผู้เรียนคิดต่อ

3. ให้ผู้เรียนกลับไปเขียนบันทึกการเรียนรู้เพื่อสะท้อนคิด (reflective dailies) ที่ได้จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ โดยมีหัวข้อในการบันทึกดังนี้

3.1 วันนี้ได้เรียนรู้อะไร

3.2 ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความคิด ความเชื่อ และด้านความรู้ความเข้าใจอย่างไร

4. ผู้สอนอ่านบันทึกการเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) กับผู้เรียนอย่างรวดเร็ว

จากกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาล ดังกล่าวสามารถสรุปเป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ ได้ดังตารางที่ 16 ดังนี้

ตาราง แสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น 1.ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน

2.ผู้เรียนศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้

3.ผู้เรียนอธิบายสถานการณ์นั้น โดยบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำและคำปรึกษา

-ศึกษา/อ่านสถานการณ์ที่กำหนด

-อธิบายสถานการณ์

1. ใช้สถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษา คือ

-กรณีศึกษา (case study)

-สถานการณ์จริง (actual situation)

-เหตุการณ์สมมติ (scenario)

-เรื่องเล่า (story)

-การแสดงบทบาสมมติ

(role play)

-สื่อวีดิทัศน์ (video)

2. อธิบายสถานการณ์

บอกสิ่งที่เกิดขึ้น

2.1 การเขียนเรื่องราว

แบบสะท้อนคิด (reflective

dailies)

-แบบมีโครงสร้าง

-แบบกึ่งโครงสร้าง

-แบบไม่มีโครงสร้าง

2.2 การพูดบรรยาย (describe)

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ 1.ผู้เรียนอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ เช่น ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานการณ์นี้?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? อธิบายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ -ใช้คำถามกระตุ้น

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-ตั้งคำถามถามตนเอง

-อธิบายความรู้สึก

1. การอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

-การถามและตอบคำถามตนเอง(self-questioning)

2.การใช้คำถามกระตุ้น (questioning)

3. การสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจ สามารถแสดงความรู้สึกของตนเองอย่างแท้จริง

ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ 1.ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน

2.ให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

3.ให้ผู้เรียนนำเสนอ

แนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ สนับสนุนความคิดของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

-จัดหาแหล่งเรียนรู้

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-ทบทวนความรู้

-นำเสนอแนวคิด

1.แหล่งเรียนรู้

-หนังสือ ตำรา เอกสารทาง

วิชาการ สื่อ สารสนเทศต่างๆ

2.ผู้เรียนทบทวนความรู้

เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/

ความเชื่อของตนเอง

3.นำเสนอแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ ที่สนับสนุนความคิด

-การเขียนเรื่องราวแบบ

สะท้อนคิด (reflective

dailies)

-การพูดบรรยาย (describe)

4. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจ

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 1.ให้ผู้เรียนนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อของตนเอง

2.ผู้เรียนฟังการนำเสนอของสมาชิกกลุ่ม

3. ผู้ฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือตั้งคำถามโต้แย้ง คัดค้าน ท้าทาย และสะท้อนคิดกับบุคคลอื่นในกลุ่มอย่างเหมาะสม

4. ผู้สอนเอื้อให้เกิดบรรยากาศการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีของสมาชิกในกลุ่ม  และทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจในการแสดงความคิดเห็น

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-นำเสนอแนวคิด

-ฟังอย่างตั้งใจ

-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

-การใช้กลุ่มย่อย (small group)

-การอภิปราย (discussion)

–การนำเสนอรายงานโดย     การพูด (presentation)

2. ให้ผู้เรียนฟังอย่างตั้งใจ (active listening)

3. ให้ผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับผู้สอน ในเรื่องต่างๆ

4.การกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

และบรรยากาศวิชาการ

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด 1. ฝึกให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดอย่างง่ายจากเกมส์ทายชื่อเพลง

2. ให้ผู้เรียนได้จัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่และสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเอง

3. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-ฝึกจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด

-จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด

1.การจัดลำดับความคิดและ

สรุปความคิดรวบยอด

-การเขียนผังความคิด (mind

mapping)

-การเขียนผังมโนทัศน์

(concept mapping)

-การเขียนผังก้างปลา

(fishbone mapping)

2. ฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกการ

จัดลำดับความคิดและสรุป

ความคิดรวบยอด

3. ผู้สอนควรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างใกล้ชิด

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ 1.ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนอย่างมีเหตุมีผล

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้น

3.ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นในหลายๆ แง่มุม

-ให้ข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้เรียน

-ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สร้างบรรยากาศการเรียนรู้

-ร่วมอภิปราย

-สรุปแนวทางแก้ปัญหา

-ประเมินผลลัพธ์

1.ร่วมอภิปราย

-การระดมสมอง

(brain storming)

-การอภิปรายกลุ่ม

(group discussion)

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสม

-ทำผังกระบวนการ (process

chart)

-ผังกระบวนการทำงาน

(work flow)

-การเขียนผังงาน (flow chart)

-การเขียนบรรยายแนวทาง

3.การประเมินผลลัพธ์

-การระดมสมอง

(brain storming)

-การอภิปรายกลุ่ม

(group discussion)

4.  ผู้สอนควรสร้างบรรยากาศ

ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ

เรียนรู้อย่างจริงจัง (active

participation)

ตารางแสดงการสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ (ต่อ)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน เทคนิคและวิธีการ
ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม 1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.ให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม

โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามดังนี้

-เหตุการณ์นี้มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตอย่างไร

-ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-ประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร

-ใช้คำถาม(question) กระตุ้นผู้เรียน

-ให้ข้อมูลย้อนกลับ -ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา

-สะท้อนคิดการเรียนรู้

-ประเมินตนเอง

1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

-การถามและตอบคำถามตนเอง(self-questioning)

-การเขียนเรื่องราวแบบ

สะท้อนคิด (reflective dailies)

-การพูดบรรยาย (describe)

3.การใช้คำถามกระตุ้น (questioning)

4.การให้ข้อมูลย้อนกลับ

(feedback) อย่างรวดเร็ว

-ให้กำลังใจ

-ชวนให้คิด

5. การวัดและประเมินผล

การประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด

ขั้นที่ 1 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นอธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถอธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
1 (ควรปรับปรุง) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แต่ไม่ชัดเจน
2 (พอใช้) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน
3 (ดี) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

-สรุปสาระสำคัญได้อย่างครบถ้วน

4 (ดีมาก) -อธิบายสภาพและบริบทของสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

-สรุปสาระสำคัญได้อย่างครบถ้วน

-วิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดปัญหานั้นได้อย่างเชื่อมโยง อาจจะเขียนเป็นผังความคิด แผนภูมิ ฯลฯ

ขั้นที่ 2 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถอธิบายความคิดความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้
1 (ควรปรับปรุง) -อธิบายความคิดความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้
2 (พอใช้) -อธิบายความคิดความรู้สึกตามประสบการณ์เดิมของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ได้ และกล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น
3 (ดี) -อธิบายความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ และกล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น

-ประเมินความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ในด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว

4 (ดีมาก) -อธิบายความคิดความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ และกล่าวถึงความรู้สึกของผู้อื่น

-ประเมินและวิเคราะห์ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นได้ทั้งด้านบวกและด้านลบได้

ขั้นที่ 3 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นบอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิมได้
1 (ควรปรับปรุง) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม
2 (พอใช้) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ 1 แนวคิด

3 (ดี) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้มากกว่า 1 แนวคิด

4 (ดีมาก) -ทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่เดิม

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้มากกว่า 1 แนวคิด

-อธิบายแนวคิด/ทฤษฎี/ความเชื่อ/คุณค่าที่สนับสนุนความคิดของตนเองได้ชัดเจนและสมเหตุสมผล

ขั้นที่ 4 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นเปิดใจรับฟังความคิดเห็น/ทางเลือกที่หลากหลาย

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเองได้
1 (ควรปรับปรุง) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง
2 (พอใช้) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง

-ฟังอย่างตั้งใจ* (active listening)

3 (ดี) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง

-ฟังอย่างตั้งใจ  (active listening)

-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มโดยปราศจากอคติ

4 (ดีมาก) -นำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อ ของตนเอง

-ฟังอย่างตั้งใจ* (active listening)

-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นในกลุ่มโดยปราศจากอคติ และแสดงความคิดเห็นโต้แย้งทางวิชาการอย่างมีเหตุผล

หมายเหตุ * ฟังอย่างตั้งใจ  (active listening) หมายถึง เป็นการฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด ต้องตั้งใจ ไม่วอกแวก และเป็นการฟังแบบเปิดรับ ฟังโดยไม่มีคำเถียงหรือคำถาม ไม่รีบร้อนด่วนสรุป ไม่ตัดสินว่าถูกผิดใดใดทั้งสิ้น

ขั้นที่ 5 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นจัดลำดับความคิด/สรุปความคิดรวบยอด

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถจัดหมวดหมู่และลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดได้
1 (ควรปรับปรุง) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้แต่ไม่ชัดเจน

-ไม่สามารถสรุปความคิดรวบยอดได้

2 (พอใช้) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย

-อธิบายที่มาของการจัดหมวดหมู่หรือการลำดับความคิดได้

3 (ดี) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย

-อธิบายที่มาของการจัดหมวดหมู่หรือการลำดับความคิดได้

-สรุปความคิดรวบยอดได้แต่ไม่ชัดเจน

4 (ดีมาก) -จัดหมวดหมู่และลำดับความคิดได้ชัดเจน เข้าใจง่าย

-อธิบายที่มาของการจัดหมวดหมู่หรือการลำดับความคิดได้

-สรุปความคิดรวบยอดได้ชัดเจน

ขั้นที่ 6 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นนำข้อสรุปไปปฏิบัติ

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้
1 (ควรปรับปรุง) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้

-สรุปทางเลือกได้

2 (พอใช้) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

-สรุปทางเลือกได้

3 (ดี) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

-สรุปทางเลือกได้

-ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้ 1-2 ด้าน

4 (ดีมาก) -อภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางได้อย่างมีเหตุมีผลและน่าเชื่อถือ

-สรุปทางเลือกได้

-ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้ 1-2 ด้าน

-ประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของทางเลือกได้หลากหลายแง่มุม (มากกว่า 2 ด้าน)

ขั้นที่ 7 พฤติกรรมการสะท้อนคิดในขั้นสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ระดับคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา
0 -ไม่สามารถสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมได้
1 (ควรปรับปรุง) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไรบ้าง
2 (พอใช้) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

3 (ดี) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

-อธิบายได้ว่าประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ อย่างไร

4 (ดีมาก) -อธิบายได้ว่าประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความรู้ที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

-อธิบายได้ว่าประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ อย่างไร

-อธิบายเปรียบเทียบความคิดความเชื่อที่มีอยู่เดิมกับสิ่งที่ได้ใหม่ได้

การนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

1. ผู้สอนจะศึกษาแนวคิดการสะท้อนคิด เทคนิคและกระบวนการการจัดการเรียนรู้ และการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจ เนื่องจากการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังความคิดและเวลาในการคิดใคร่ครวญ ทั้งในการตั้งคำถาม การตอบคำถาม การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ การจินตนาการหาทางเลือกที่หลากหลาย การสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด ผู้สอนต้องเอื้อให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถามและตอบคำถามตามความเป็นจริง มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย และเป็นกันเอง และให้การสะท้อนกลับให้ผู้เรียนถาม/ตอบคำถามในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน และเรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

2. การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด ผู้เรียนต้องมีการอ่านและแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง มีความตระหนักรู้ในตนเอง สนใจและไวต่อข้อมูลและความรู้สึกที่ผุดออกมาจากสภาพแวดล้อมภายในตนเองและภายนอกตนเอง พร้อมทั้งพร้อมที่จะเผชิญกับความรู้สึกเหล่านั้น ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม และหลากหลาย

3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ ผู้สอนมีการกำหนดตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาให้ผู้เรียนสะท้อนคิด  ดังนั้นการสะท้อนคิดบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสับสน เจ็บปวดและเป็นทุกข์ได้ จึงจำเป็นต้องกระตุ้นและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนความคิด และจิตใจแก่ผู้เรียนที่พึ่งหัดสะท้อนคิด

4. การจัดการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดนั้นมีจำนวนผู้เรียนไม่มาก ดังนั้นผู้สอนควรมีความยืดหยุ่น ต้องให้เวลาผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนคนอื่นๆ และต้องไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเพียงลำพัง จึงจะทำให้การสะท้อนคิดมีคุณภาพ

5. ในทุกๆ ครั้งก่อนการสอนแบบการสะท้อนคิด ผู้สอนควรมีเทคนิคและวิธีการในการฝึกผู้เรียนในเรื่อง “การอยู่ในปัจจุบันขณะ” (here and now) เช่น การทำสมาธิ เนื่องจากก่อนการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้เรียนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีสติ และอยู่กับปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล

สรุปแนวทางปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยให้เสร็จตามเวลา โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันพฤหัส 12 มีนาคม 2020 at 11:36 am

สรุปแนวทางปฏิบัติในการบริหารงานวิจัยให้เสร็จตามเวลา

โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

คำสำคัญ คำอธิบาย
การเลือกเรื่องทำวิจัยที่ตรงกับความเชี่ยวชาญและความสนใจ การเลือกหัวข้อการวิจัยเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยทุกคนจะต้องตัดสินใจ โดยพยายามประเมินจากสภาพการณ์ทุกด้าน ว่าตนจะสามารถทำการวิจัยเรื่องนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่ เพียงใด การเลือกเรื่องวิจัยนั้น ควรพิจารณาถึง

1. ความเชี่ยวชาญหรือสามารถของผู้วิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัยจะต้องเลือกปัญหาให้เหมาะสมกับความรู้ ความความเชี่ยวชาญ และความสามารถของทีมจะทำให้มองเห็นแนวทางในการวิจัยได้ชัดเจน เลือกวิธีวิจัยได้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ อย่างลึกซึ้งทำให้การวางแผนและการดำเนินการเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญคือถูกต้องและน่าเชื่อถือ

2. ความสนใจ และแรงบันดาลใจในการเลือกเรื่องในการทำวิจัย ควรคำนึงถึงความสนใจของตนเองเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจาก หากเป็นหัวข้อที่นักวิจัยเองมีความสนใจ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โอกาสที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จก็มีมากขึ้น

3. ทักษะเชิงวิจัย (Research Skill) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำวิจัย ซึ่งการทำวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะเชิงวิจัยและมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในแต่ละรูปแบบ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงพัฒนา เป็นต้น จึงจะส่งผลต่อการทำวิจัยประสบความเสร็จทันตามเวลา

วางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม

กับบริบท

ผู้วิจัยควรมีการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยต้องครอบคลุมทุกกิจกรรม ที่มีความเหมาะสมกับระยะเวลาโดยต้องระบุ

  • บุคคล
  • หน้าที่
  • ตารางเวลา (Gantt’s chart)
การบริหารจัดการเวลา

กำหนด ระยะเวลา ในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรม เพื่อช่วยให้ การควบคุม เวลา และการดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการช่วยกระตุ้นให้ ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา

การบริหารจัดการงบประมาณ

ศึกษาและทำความเข้าในเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณของแหล่งทุน ได้แก่ สิ่งที่อนุมัติหรือไม่อนุมัติให้และถ้าอนุมัติควรสอบถามเพดานของแต่ละรายการว่าขอสนับสนุนได้สูงสุดเท่าไร หากมีข้อสงสัยควรสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้อง

แจกแจงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายเป็นหมวดๆอย่างชัดเจน แม้ว่าจะเป็นงบประมาณถัวจ่ายทุกรายการในโครงการวิจัย การแจกแจงรายละเอียดในแต่ละกิจกรรมในโครงการวิจัยที่ชัดจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนการเบิกจ่ายได้คล่องตัวและเป็นไปตามแผนที่วางไว้

การประชุมทีมและมอบหมายงานในทีม

จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน เช่น การประสานงาน การจัดเตรียมเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การเตรียมเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผล การเตรียมต้นฉบับตีพิมพ์เป็นต้น

ทบทวนแผนการดำเนินงานภายในทีมเป็นระยะ การทบทวนแผนและการติดตามงานภายในทีมเป็นระยะ จะช่วยให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามแผน เนื่องจากการดำเนินการอาจมีบางขั้นตอนที่พบปัญหาหรืออุปสรรค การติดตามงานไม่เพียงแต่เป็นการทวงถามให้เป็นไปตามแผนเท่านั้น ทั้งนี้ยังเป็นการหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน หรือหาแหล่งช่วยเหลือในการที่จะทำให้งานดำเนินการต่อไปได้ในกรณีที่มีปัญหาหรืออุปสรรค รวมถึงความไม่สะดวกต่างๆในการดำเนินงานเกิดขึ้น
งานวิจัยสำเร็จ

การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และการเผยแพร่

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 30 สิงหาคม 2019 at 11:49 am

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Simulation Based Learning : SBL วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๒

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by admin on วันศุกร์ 30 สิงหาคม 2019 at 11:44 am

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Simulation Based Learning : SBL

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมอังศนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าประชุม

๑.      นายสืบตระกูล             ตันตลานุกูล                พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.      นางสาวสุปราณี            หมื่นยา                     พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.      นายภราดร                 ล้อธรรมมา                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.      นางสาวจิระภา             สุมาลี                       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๕.      นายวีระยุทธ               อินพะเนา                  พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๖.      นางสาวดาราวรรณ        บุญสนธิ                    พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๗.      นางสาวสุกัญญา           ม่วงลี้ยง                    พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๘.      นายทิฐิ                     ศรีวิสัย                      พยาบาลวิชาชีพ (พกส.)

๙.      นางสายฝน                วรรณขาว                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ผู้เข้าร่วมการประชุม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ประธานการประชุม นายสืบตระกูล   ตันตลานุกูล

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. สรุปสาระสำคัญจากการประชุมโครงการ Asean Laerdal simulation user network (SUN) meeting ในวันที่ 11-14 มิถุนายน 2562 มีรายละเอียดดังนี้

๑.๑ ความสำคัญและความเป็นมาของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สถานการณ์เสมือนจริง (SBL) นั้น เนื่องจากใน ปี ค.ศ. 1920 มีการสร้างสถานการณ์เพื่อจำลองสถานการณ์ ในการฝึกฝนนักเรียนหลักสูตรการบิน และในช่วงปี ค.ศ. 1950จึงมีการนำแนวคิดนี้นำมาประยุกต์ใช้ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะในการปฏิบัติงาน และต่อมาในปี ค.ศ. 1980 แนวคิดนี้จึงได้รับการพัฒนามากขึ้น เช่น การประดิษฐ์หุ่นคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการฝึกทักษะ การดูแลระบบทางเดินหายใจและการช่วยฟื้นคืนชีพ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ สามารถเพิ่มสมรรถนะ (self-efficacy) ทางคลินิกของนักศึกษาในการดูแลผู้ป่วยเสมือนจริงในสถานการณ์จำลองต่างๆอย่างถูกวิธีภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สามารถช่วยลดความวิตกกังวลของนักศึกษาก่อนการลงมือปฏิบัติงานจริงในหอผู้ป่วยได้

๑.๒. การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ขั้นตอนของการเตรียมการ หรือ Preparing process เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านอาจารย์ผู้สอน ผู้เรียน ทีมสนับสนุน  สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ ให้สอดคล้องในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

๑.๒.๑ ผู้สอน (Facilitator)

ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาที่จัดการเรียนการสอน และมีทักษะการจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การสื่อสาร โดยผู้สอนจะควบคุมสถานการณ์ในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์จำลอง โดยผู้สอนต้องเตรียม ดังนี้

๑) ผู้สอนมีบทบาทในการพิจารณาวัตถุประสงค์การเรียน จากความต้องการจำเป็นพื้นฐาน เอกสารหลักสูตร สมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน และออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย SBL และวางแผนจัดตารางหมุนเวียนกิจกรรมของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์

๒) ผู้สอนต้องเลือกใช้สถานการณ์จำลอง หรือสร้างสถานการณ์จำลองใหม่ให้มีความเสมือนจริงให้มากที่สุดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาการเรียนรู้ rพร้อมทั้งเขียนข้อมูลในโปรแกรมควบคุมหุ่น

๓) ผู้สอนต้องพิจารณาเลือกหรือสร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้

๔) ผู้สอนต้องเตรียมการชี้แจง/อธิบายกระบวนการดำเนินการสอนแก่ผู้เรียน บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน ได้แก่ ผู้ดำเนินสถานการณ์ในห้องเรียนสถานการณ์จำลองและผู้สังเกตการณ์ รวมถึงการบอกวัตถุประสงค์และหัวข้อการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง

๑.๒.๒ ผู้เรียน (Student)

ผู้เรียน หมายถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง โดยผู้เรียนมีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาที่ศึกษา แบ่งกลุ่มปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

๑.๒.๓ ทีมสนับสนุน (facilitator assistant)

ทีมสนับสนุน หมายถึง ผู้ที่ช่วยผู้สอนในการจัดเตรียมสถานการณ์ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ในการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลอง โดยทีมนี้จะมีบทบาทในการช่วยในการจัดเตรียมและตกแต่งหุ่นจำลองให้เสมือนจริงมากที่สุด จัดสถานที่ สิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริงมากที่สุดตามสถานการณ์ รวมถึงการช่วยผู้สอนนำข้อมูลจากสถานการณ์จำลองลงโปรแกรมควบคุมหุ่นจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้สอดคล้องตามสถานการณ์ และมีความพร้อมใช้งาน

๑.๒.๔ การเตรียม สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือ และเวชภัณฑ์

การจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลอง จะต้องเตรียมความพร้อม ดังนี้

1). หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองได้

2). Computer, Internet และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3). อุปกรณ์ วัสดุและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น  อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ อุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์ดูแลการหายใจ อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง  อุปกรณ์ดูแลระบบไหลเวียนและกระตุ้นหัวใจ อุปกรณ์ห้ามเลือด อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้าย และเครื่องมือตรวจอื่น ๆ  ที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4). วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ใช้ทำหัตถการต่างๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Syringe เข็ม Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดสวนปัสสาวะ ชุดเจาะปวด ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5). เวชภัณฑ์ ประกอบด้วย ยากิน ยาฉีด ยาพ่น ฯลฯ ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยในแต่ละโรค

6). เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนให้ครบถ้วนและเสมือนจริงมากที่สุด

7). อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

๑.๓. ขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นนำ (Pre – Brief)

เป็นขั้นตอนการเตรียมการผู้เรียนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จำลอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียน
1.บอกวัตถุประสงค์ในหัวข้อที่เรียนรู้ 1. ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. ปฐมนิเทศสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติ ทีมแพทย์ หรือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. ศึกษาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนสถานการณ์จำลอง
3. แนะนำคุณสมบัติและข้อจำกัดของหุ่นจำลองเสมือนจริง สมาชิกในสถานการณ์จำลอง และทีมผู้สอน 3. ศึกษาการทำงานของหุ่น และซักถามข้อสงสัย
4.เน้นย้ำให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยการทำงานเป็นทีม และหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย โดยให้ตระหนักเสมอว่าขณะที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยผู้เรียนมีบทบาทของพยาบาลวิชาชีพการเคารพหุ่นจำลองเสมือนเป็นผู้ป่วยจริง และผู้แสดงอื่นๆในบทบาทที่กำหนด เช่น ญาติผู้ป่วย แพทย์ และเพื่อนร่วมทีม โดยให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
5. ชี้แจงให้ผู้เรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบ หมายในสถานการณ์จำลอง ข้อตกลงเบื้องต้น และการประเมินผล 5.ผู้เรียนในสถานการณ์แบ่งบทบาทหน้าที่ตามบทบาทในสถานการณ์ เช่น หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม สมาชิกทีม
6.ให้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยกับผู้เรียน 6. ศึกษาสถานการณ์

2). ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์ (Scenario running)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 20-30 นาที ผู้เรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เรียน และผู้สังเกตการณ์ ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียน ผู้สังเกตการณ์
1. สังเกต และบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์ 1. ปฏิบัติตามบทบาทตามสถานการณ์จำลอง หรือกระบวนการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย 1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์
2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้เรียนในสถานการณ์ต้องการตามความเหมาะสม เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การรักษาเป็นต้น 2.มีการสื่อสารด้วยวัจนภาษาหรืออวัจนภาษาและการทำงาน
ในทีม
2. สังเกต บันทึก การสื่อสารของผู้เรียนในสถานการณ์ต่อผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ ด้วยวัจนภาษาหรือ อวัจนภาษาด้วยการเคารพศักดิ์ศรีและหัวใจความเป็นมนุษย์
3.ปรับบทบาท/ข้อมูลตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น 3. นำความรู้ของกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา การมีภาวะผู้นำและหัวหน้าทีม อย่างถูกต้อง เหมาะสม 3. สังเกต บันทึกกระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจของทีมสุขภาพ
4.กรณีผู้เรียนไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ผู้สอนควรหยุดการดำเนินสถานการณ์ชั่วคราว (Time out) เพื่อเข้าไปชี้แนะถึงแนวทางในการให้การพยาบาลที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นแต่ผู้เรียนยังไม่ดำเนินช่วยฟื้นคืนชีพ หรือทำไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygenmask หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน และที่สำคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา พยาบาลควรใช้คำถามที่ชี้นำหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive) 4. ปฏิบัติทักษะหรือกิจกรรมการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยตามสอดคล้องกับปัญหาที่พบในสถานการณ์จำลองอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเคารพศักดิ์ศรีและคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย และทีมการพยาบาล

5. ประเมินผลการพยาบาล หรือการให้การดูแลรักษา หรือมีการรายงานทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

4.สังเกตบันทึก พฤติกรรมทักษะปฏิบัติการพยาบาล/ดูแลช่วยเหลือตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายเช่น Incharge nurse,Leader nurse, Medication nurse เป็นต้น
5.กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในสถานการณ์ที่แย่ลง 6. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง 5. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง

3). ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Debrief)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30-45นาที เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนสะท้อนคิด (Gibb’s Model) และตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

๑.๔. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การประเมินการเรียนรู้มีหลายวิธี เช่น โมเดลของ Steinwachs, GAS และ 5’S            เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเน้นหรือจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในครั้งนั้นๆโดยให้เล่าประสบการณ์ในสถานการณ์ แสดงความรู้สึกต่อประสบการณ์ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนคิด

วาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง

๑. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ภายในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ความคิดเห็น : อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น SBL จากประเทศอังกฤษ เป็นวิทยากรด้าน SBL เป็นประธานคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล เป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL มีผลงานวิจัยและบทความวิชาการรองรับเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน               โดยใช้สถานการณ์จำลอง เช่น วิจัยเรื่อง ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ และบทความวิชาการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ฉบับพิเศษ ประจำเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ๒๕๖๑ ซึ่งพบว่า ๑. รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของ นักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วยหลักการ จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล  ๒. กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหลังได้รับการสอนโดนใช้ รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา พยาบาลหลังการสอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ๓. กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นภายหลังได้รับการสอนโดยใช้ รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา พยาบาลสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อ.สุปราณี หมื่นยา ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น SBL จากประเทศอังกฤษ เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน

อ.ภราดร ล้อธรรมมา เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

อ.ทิฏฐิ  ศรีวิสัย เป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

อ.สายฝน  วรรณขาว เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

๒. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ความคิดเห็น : อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล พบว่า ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ พบว่า 1. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นหลังจากได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  2. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

วาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

-          ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป

ลงชื่อ…………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสายฝน     วรรณขาว)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลงชื่อ………………………………………….ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายสืบตระกูล ตันตลานุกูล)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ เรื่อง กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก Problem – Based Learning : PBL

Blogged under การจัดการความรู้ วพบ.อต. by Naiyana Kaewkhong on วันอังคาร 27 สิงหาคม 2019 at 3:27 pm

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ

เรื่อง กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก Problem – Based Learning : PBL

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ครั้งที่ 2/2562 วันที่ 9 กรกฎาคม 2562

ณ ห้องประชุมกลุ่มงานอำนวยการฯ/กลุ่มงานวิชาการ

รายนามผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนรู้

1. อาจารย์ ดร.นิศารัตน์            นาคทั่ง

2. อาจารย์ ดร.เสาวลักษณ์         เนตรชัง

3. อาจารย์นัยนา                   อินธิโชติ

4. อาจารย์นัยนา                   แก้วคง

5. อาจารย์อรุณรัตน์                พรมมา

6. อาจารย์วีระยุทธ                 อินพะเนา

7. อาจารย์วิภาวรรณ               นวลทอง

8. อาจารย์นันทกาญจน์            ปักษี

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนรู้

-

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น  ร้อยละ 100

เปิดประชุมเวลา 15.00 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้มีชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2561 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายการจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

ชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ด้านพันธกิจการจัดการเรียนการสอน โดยมีประเด็น คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem based Learning [PBL]) สำหรับอาจารย์พยาบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558 เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชามโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 (13 มีนาคม 2558) ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติจริง และมีเวทีนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากการปฏิบัติจริง จึงขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวของขั้นตอน PBL ตามลำดับเพื่อสรุปความรู้และนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีจากการปฏิบัติจริงในเวทีของวิทยาลัยต่อไป

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี

ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ

ผู้รับผิดชอบรายวิชาได้ดำเนินการขอความร่วมมือจากอาจารย์ผู้สอนภาคทดลอง ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ เกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning [PBL]) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รายวิชามโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning [PBL]) พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ยังคงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) และ 3) ขั้นประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ PBL เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ อย่างไรก็ตาม มีรายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติม ดังนี้

1) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ

- จัดทำคู่มือโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

- คู่มือสำหรับผู้เรียน ได้เพิ่มเติมแบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL ทำให้นักศึกษามีแนวทางในการเตรียมตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับการวัดและประเมินผล

- คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ประกอบด้วย ๑) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL 2) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา และ 3) รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้ง เพื่อให้ผู้สอนมีแนวทางและหลักปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

- โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ควรเพิ่มกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

– ในเตรียมผู้เรียนนั้น ควรนำกระบวนการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL ด้วย โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ ให้เป็นสิ่งที่ดึงดูดและน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

2) ขั้นที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางการปฏิบัติได้ดี ไม่มีเพิ่มเติมใดๆ

3) ขั้นที่ 3 : การประเมินผล มีข้อค้นพบเพิ่ม ดังนี้

- นอกจากจะต้องประเมินตามปัจจัยที่จำเป็นต้องประเมินแล้ว (ปัจจัยที่กำหนดไว้เดิม) ควรพิจารณาให้มีการประเมินแบบครอบคลุม 360 องศา

– วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

1.2 สรุปผลการถอดบทเรียน และนำไปปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based Learning [PBL]) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 7 มีรายละเอียด ดังนี้

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้

โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 8 : 9 กรกฎาคม พ.ศ.2562]

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 8 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ชุมชนนักปฏิบัติภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 5 ในรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยแนวปฏิบัติฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem–based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1   :   เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้              โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่

1. จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)  ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา และ 5) รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้ง เพื่อให้ผู้สอนมีแนวทางและหลักปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL  ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2. สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน/ประเด็นเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

2.1 สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3 มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ โดยเนื้อหาส่วนนี้โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลประวัติการเจ็บป่วย ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สอดคล้องกันให้ชัดเจนและครบถ้วนยิ่งขึ้น

2.4 มีหัวเรื่องและเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 มีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

2.6 มีสถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning) โดยกำหนดให้นักศึกษาแสดงบทบาทสมมติตามสถานการณ์/trigger ที่กำหนด หรือผู้ป่วยเสมือนจริง  เพื่อเสริมสร้างความมีชีวิตชีวา (ความสด) ของโจทย์ปัญหา ทำให้โจทย์น่าสนใจ มีการสื่อสารสองทาง (two way communication) กระตุ้นการสร้างมโนทัศน์การรับรู้และความเข้าใจในโจทย์ปัญหาได้ดีขึ้น

2.7 ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)   โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

4. เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

4.1 ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า “Teach less learn more”

4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง  รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

4.3 จัดสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป จากผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยผู้สอนและผู้เรียนพบว่า สัดส่วนครูต่อนักศึกษาในแต่ละกลุ่มมีจำนวนมากเกินไป (ครูต่อนักศึกษา 1 : 15-16 คน) ไม่สามารถกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง ในปีการศึกษา 2562 จึงมีการปรับสัดส่วนครูต่อนักศึกษาในแต่ละกลุ่มให้มีจำนวนลดลงคือ 1 : 13-14 คน

5. เตรียมผู้เรียน ดังนี้

5.1 วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ตลอดจนเด็กที่มีประสบการณ์            ที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเด็กที่เก่งและหรือเด็กที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องตามโจทย์ปัญหานั้นๆ จะเป็นตัวกระตุ้นพลวัตกลุ่ม (group dynamics) ทำให้สมาชิกกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

5.3 สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL แก่ผู้เรียน

5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ ให้เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

5.5 สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัยแก่ผู้เรียน เพราะบรรยากาศที่เป็นมิตร จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระ ปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามหรือบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนด้วยตนเอง

ขั้นที่ 2   :   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 – 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 :  Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยในขั้นตอนนี้ ได้เพิ่มกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจโจทย์หรือสถานการณ์ปัญหาเสมือนหนึ่งเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ให้มากที่สุดด้วยวิธีการให้นักศึกษาร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) ตามโจทย์ปัญหาที่กำหนดขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้เรียนได้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมตามบทบาทที่แสดงแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเบิกบานจากการแสดงหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหว ไม่เครียด ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ถูกกดดัน และเปิดใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่อง

Step 2 :  Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 :  Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา โดยขั้นตอนนี้ สามารถใช้เทคนิค Mind map เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Mind map จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการจัดระเบียบความคิดทั้งแบบคิดกว้างและคิดลึก             ช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ของสถานการณ์/โจทย์จากกระดาษแผ่นเดียว ทำให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจและต่อยอดความรู้ได้ เป็นต้น

Step 4 :  Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 :  Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 :  Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาท                  ที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ    หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ โดยผู้สอนและผู้เรียนกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หลากหลาย และเป็นปัจจุบัน

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and  principles derived from studying  this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูล              ที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่ 3   :   ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)

1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ จัดให้มีการประเมินเป็นรายบุคคลโดยการสอบภาคทฤษฎี 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBL และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

ชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ PBL

ผู้ถอดบทเรียน

9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro