ชื่อผลงาน รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน ด้วยเทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

The Development of Case study Model Under Gordon frameworks Using Cloud Technology to Develop Critical Thinking Ability Among Nursing Students

ชื่อเจ้าของผลงาน ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

สังกัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

เบอร์โทร 081-7270735   E-mail  nopadon@unc.ac.th

1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่ดี

การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น บทบาทของผู้สอนที่สำคัญ คือ การเรียนรู้บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นเด็กยุคใหม่ยุคเจนเนอเรชัน Z (Generation Z) กระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้ามสาระวิชา ไปสู่การเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือผู้สอนต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง ซึ่งครูทำหน้าที่ช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรม ที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเอง (วิจารณ์ พานิช, 2554.)

ตามกรอบเป้าหมาย และทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ ในแผนการศึกษาแห่งชาติ   พศ. 2560-2579 เป็นการวางแผนในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยทุกช่วงวัยให้เต็มตามศักยภาพ สามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมาย 5 ประการคือ การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access) ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity) คุณภาพการศึกษา (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และการตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Relevancy) ซึ่งยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ 2. การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3. การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา 5. การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6. การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา ทั้งยังกำหนดแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาที่สำคัญคือ เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยพัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) จะเห็นได้ว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เกิดการเรียนรู้จากภายในตัวผู้เรียน โดยตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ และดำรงชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นสุข

อนึ่ง เมื่อพิจารณาการจัดการเรียนการสอนของวิชาชีพพยาบาล เพื่อผลิตพยาบาลวิชาชีพ ไปรับใช้สังคมด้านการให้การบริการทางสุขภาพ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านทักษะทางปัญญา คือ “สามารถคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้ง ใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัย และมีคุณภาพในการให้บริการการพยาบาล” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) แต่ในสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน จากการประเมินคุณภาพของบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันพระบรมราชชนกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2553-2554  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บังคับบัญชาขั้นต้นของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ทำการประเมินโดยใช้แบบประเมินคุณภาพบัณฑิตของส่วนพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้ทางวิชาการ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ (6) ด้านทักษะการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบัณฑิตที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (ศิริวรรณ ทุมเชื้อ ศิริธร ยิ่งเรงเริง และประกริต รัชวัตร์, 2553) สอดคล้องกับ การศึกษาของเพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์, จุรีรัตน์ กอผจญ, และ สมเกียรติ สุทธรัตน์ (2546) ที่ศึกษาการคิดแบบมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม ตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2546 จำนวน 183 คน พบว่าคะแนนการคิดแบบมีวิจารณญาณมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดพระบรมราชชนกนั้น นักศึกษาจะเริ่มฝึกเป็นครั้งแรกในชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 3  โดยวิชาแรกคือรายวิชาปฏิบัติการพื้นฐานการพยาบาล เพื่อฝึกปฏิบัติการพยาบาล และการดูแลบุคคลทุกช่วงวัยของชีวิตที่มีภาวะสุขภาพปกติและเบี่ยงเบนในสถานการณ์จริง ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม บนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทร โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์และความปลอดภัยของผู้รับบริการภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน เมื่อนักศึกษาขึ้นชั้นปีที่ 3 และ 4 จะฝึกรายวิชาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพด้านศัลยกรรม อายุรกรรม และปัญหาด้านสุขภาพที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต่อไป จากการถอดบทเรียนในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกพบว่า นักศึกษารู้สึกกังวลเนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์ในการขึ้นฝึกมาก่อน กลัวว่าจะกระทำกิจกรรมการพยาบาลไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่าจะคิดตัดสินใจวางแผน และกิจกรรมการพยาบาลต่าง ๆที่ถูกต้อง หรือเหมาะสม เครียด นักศึกษาบางส่วน เครียดไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในการขึ้นปฏิบัติงานในครั้งแรก และลาออกภายหลังจากขึ้นฝึกในภาคปฏิบัติเป็นครั้งแรก (ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, 2557)

จากการสัมมนากลุ่มย่อยผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2558 พบว่า ประเด็นปัญหาสำคัญที่ควรพัฒนามากที่สุดสำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติคือ การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพทั้งในขณะที่เป็นนักศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษา (ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, 2557) การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีความสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้งในนักศึกษาพยาบาล ตลอดจนในพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาแล้วไปปฏิบัติงาน ณ สถานพยาบาล ดังจะเห็นได้จากการที่สภาการพยาบาลกำหนดสมรรถนะที่พยาบาลต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องคือการมีความคิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยกำหนดไว้ในสมรรถนะที่ 13 ด้านการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อสร้างคุณค่าในตนเองและสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งเป็นหนึ่งใน 14 สมรรถนะหลักของวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การรับรองสถาบันวิชาชีพพยาบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา (National League for Nursing Accreditation Criteria, 2005) ดังนั้นการจัดหลักสูตร ตลอดจนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลจะต้องตระหนักถึงการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่จะพัฒนาให้ทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเกิดขึ้นในนักศึกษาพยาบาล

การศึกษาผลการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อทักษะความคิดเชิงระบบของนักศึกษาพยาบาลแมคคอร์มิค ในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 ของกัญญาพัชญ์ จาอ้าย และคณะ (2019) พบว่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเชิงระบบกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการสอนโดยใช้กรณีศึกษาช่วยส่งเสริม และพัฒนาการคิดเชิงระบบให้นักศึกษาพยาบาล สอดคล้องกับการศึกษาผลการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลของสมหญิง โศวศวนนท์ สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และสุพรรณิการ์ ปานบางพระ (2015) ที่พบว่านักศึกษาให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญานว่าเป็นการคิดทบทวนอย่างเป็นระบบ และนักศึกษารู้สึกพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเนื่องจากทำให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดแบบมีขั้นตอนซ้ำๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้นการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี และสอดคล้องกับการศึกษาของวิจิตรา กุสุมภ์ และอรุณี เฮงยศมาก (2562) ที่ศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล พบว่า การสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความสนใจ กระตือรือร้น ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนรู้ และมีความพึงพอใจมากจึงควรนำมาใช้ในเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาสุขภาพอื่นๆ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ ว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญแบบหนึ่งที่ดี กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ความรู้เชิงทฤษฎี คิดเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเลือกและใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านอื่นๆมาผนวก และต่อยอดจากองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม

การปฏิบัติการพยาบาลเป็นบทบาทที่สำคัญของผู้ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ ทั้งนี้จะต้องอาศัยศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปฏิบัติการพยาบาลดังกล่าว ทั้งนี้ขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้เกิดกระบวนการนี้ได้ คือ การประเมินสภาพ เนื่องจากจะต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ในการประเมินสภาพ อีกทั้งยังต้องใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการที่จะรวบรวมข้อมูลทางสุขภาพให้ได้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อที่จะนำมาวางแผนและให้การพยาบาลต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลนั้นมีหลากหลายตามกรอบแนวคิดและทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy’s adaptation model) ความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ (Maslow’s basic need) และแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน (Gordon’s functional health pattern) ซึ่งแต่ละเครื่องมือมีความโดดเด่นตามมโนมติหลักของทฤษฎีนั้นๆ (วิจิตรา กุสุมภ์, 2558) จากการศึกษาของ Khatiban และคณะในปี 2019 พบว่า การใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนสามารถช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะในการคิดและการตัดสินใจแบบมีวิจารณญาณในการที่จะดูแลผู้ป่วยข้างเตียง รวมทั้งสามารถวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยและปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนไม่เพียงแต่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนเท่านั้นหากแต่ยังเพิ่มทักษะและทัศนคติที่ดีของนักศึกษาต่อกระบวนการพยาบาล (Khatiban, 2019) จะเห็นว่าการที่จะใช้เครื่องมือนี้ ผู้ใช้จะต้องมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการที่เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆอย่างเป็นองค์รวมเพื่อที่จะนำไปใช้กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลต่อไป

Cloud technology เป็นระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นการให้บริการกับสมาชิกที่เป็นผู้ใช้งานหรือบริการทุกคนสามารถเข้าใช้บริการร่วมกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผล ด้วยฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพจากแอพพลิเคชั่นและบริการต่าง ๆ ในลักษณะที่มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ยังช่วยองค์กรในการจัดสรรการใช้ทรัพยากรข้ามเซิร์ฟเวอร์เดสท็อปและแอพพลิเคชั่นได้ ซึ่งเมื่อมีแนวคิดมาใช้ในสถาบันการศึกษา จะทําให้สามารถลดต้นทุนเซิร์ฟเวอร์และต้นทุนทั้งหมดด้านฮาร์ดแวร์ ทําให้การจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษาทําได้ง่าย สอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียน รวมถึงลดความซับซ้อนของระบบคอมพิวเตอร์ที่นําใช้แบบเดิมได้มากขึ้น สามารถปรับปรุงการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ช่วยเพิ่มความคล่องตัวของสถาบันการศึกษา ให้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้ตามคําขอ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกที่ทุกเวลาได้อย่างแท้จริง ระบบโครงสร้างการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการศึกษาแบบเดิมนั้น เป็นโครงสร้างที่มีหน่วยงานหรือแผนกเพื่อให้บริการ เป็นศูนย์กลางที่มีทุกอย่างให้บริการ สถาบันการศึกษาต้องมีการวางแผนการใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้าง) ซึ่งการวางแผน งบประมาณ และความต้องการ แม้ว่าจะได้มาจากการศึกษาและสํารวจของศูนย์ไอทีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า มักจะมีข้อจํากัดในเรื่องของงบประมาณ ประสิทธิภาพการใช้งาน การฝึกอบรม และความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จึงเป็นแนวทางในการตอบสนองสิ่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ข้อจํากัดต่างๆ ลดลง ผู้เรียน ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการใช้งานได้ตามความต้องการประหยัดงบประมาณ เมื่อพิจารณาจากเทคโนโลยีระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆจะพบว่า มีส่วนสําคัญที่ทําให้ผู้เรียน และผู้สอน สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดมิติใหม่ทางการเรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา ได้อย่างแท้จริง (วิวัฒน์ มีสุวรรณ, 2558)

จากความเป็นมาและปัญหาดังกล่าวข้างต้น  ภาควิชาเห็นความสำคัญอย่างยิ่งว่า นักศึกษาพยาบาล จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้จัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา (Case study) ผ่านเทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ (Cloud technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษาที่สำคัญซึ่งจะช่วยถ่ายทอด พัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรม นำไปสู่การเรียนรู้องค์ความรู้พื้นฐาน ที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทุกที่ทุกเวลา สามารถทบทวนเนื้อหาหลังจากเรียน นำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกปฏิบัติงาน ตลอดจนการทบทวนเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว สามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพ ดำรงชีพท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และเชื่อมโยงกันใกล้ชิดมากขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1. เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

2.2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

2.3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล

3. เป้าหมาย (ตัวชี้วัดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)

3.1 ภาควิชามีรูปแบบการสอนแบบกรณีศึกษา

3.2 มีการนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย 4 รายวิชา

4. แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ในการพัฒนาวิธี/แนวปฏิบัติที่ดี/ที่เป็นเลิศ

การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case study) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา (case method learning) เป็นวิธีการหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้กรณีศึกษาหรือเรื่องราวต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติขึ้นจากความจริง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ หรือเสริมสร้างความรู้ให้กว้างขวาง และนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหา นอกจากนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา หรือกรณีตัวอย่างมิได้มุ่งที่คำตอบใดคำตอบหนึ่ง คำถามสำหรับการอภิปรายนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบ และเหตุผลที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิด มีมุมมองที่กว้างไกลมากขึ้น

กรอบแนวคิดของกอร์ดอน (Gordon) หมายถึง เครื่องมือที่สามารถใช้เก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพได้อย่างครอบคลุมทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ประกอบไปด้วย 11 แบบแผน ได้แก่ การรับรู้และการดูแลสุภาพ (Health Perception – Health Management Pattern) โภชนาการและเมแทบอลิสม (Nutritional – Metabolic Pattern) การขับถ่ายของเสีย (Elimination Pattern) กิจกรรมและการออกกำลังกาย  (Activity – Exercise Pattern) การพักผ่อนและการนอนหลับ (Sleep – Rest Pattern) สติปัญญาและการรับรู้ (Cognitive – Perceptual Pattern)  การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ (Self-perception – Self-concept Pattern) บทบาทและสัมพันธภาพ ( Role – Relationship Pattern) เพศสัมพันธ์และการเจริญพันธ์ (Sexuality – Reproductive Pattern) ความเครียดและการเผชิญความเครียด (Coping – Stress Tolerance Pattern) และความเชื่อและค่านิยม (Value – Belief Pattern) ครอบคลุมทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ

เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ (Cloud) หมายถึง เป็นรูปแบบหนึ่งสําหรับการเข้าถึงเครือข่ายที่สะดวกรวดเร็วได้ตามคําขอของผู้ใช้ สามารถจัดหาและแสดงผล โดยใช้การจัดการทรัพยากรน้อยที่สุด แนวคิด “ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ” เป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพ หรือเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตร่วมกัน ในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งาน เมื่อมีความต้องการใช้ผู้ให้บริการ(Cloud Provider) ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชั่น โดยให้ผู้ใช้ทํางานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ โดยไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบทางกายภาพ การฝึกอบรมบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์หรือขอใบอนุญาตเพื่อใช้ซอฟแวร์ใหม่กับเจ้าของลิขสิท ธิ์ซอฟแวร์ ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ประกอบด้วยบริการที่ต้องสมัครสมาชิก และชําระค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงผ่านอินเตอร์เน็ต (Pay per Use) เป็นการขยายความสามารถที่มีอยู่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking: CT) หมายถึง กระบวนการคิดที่ผ่านกระบวนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการคิดอย่างมี เป้าหมาย ตัดสินและกำกับได้ด้วยตนเอง เป็นผลมาจากการตีความ การวิเคราะห์ การประเมินข้อโต้แย้ง การสรุปอ้างอิง การอธิบายและการควบคุมตนเอง เพื่อให้เกิดผลของการคิดที่รอบคอบ สมเหตุสมผลเป็นกระบวนการที่ช่วยในการพิจารณาหาข้อผิดพลาดในการคิดโดยเฉพาะ

5. ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินการ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ : การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารระดับชาติ ดำเนินการตามกระบวนการ KM เริ่มดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 (อยู่ในช่วงการวิจัยและพัฒนาระยะที่ 3 และ 4 , R2 D2)

กลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรม Dราชชนนี อุตรดิตถ์

6. กระบวนการที่ทำให้แนวปฏิบัติ

การพัฒนาแนวปฏิบัติ นำไปสู่การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ด้วยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ระยะดังนี้ ดังนี้

การวิจัยระยะที่ ๑ การสร้างต้นร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

วิธีการดำเนินการวิจัยระยะที่ 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 1

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 1  คือ  เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดของของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

แหล่งข้อมูลในการวิจัยระยะที่ 1

แหล่งข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

1.       เอกสาร ตำรา บทความวิจัย บทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

2.       ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก จำนวน 11 ท่าน ที่ได้มาแบบเจาะจง โดยเป็นผู้มีประสบการณ์ในการสอนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี

3.       นักศึกษาพยาบาล จำนวน  15 คน จาก วิทยาลัยพยาบาล 3 แห่ง ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเข้าศึกษา (Inclusion criteria)

1. เป็นนักศึกษาพยาบาล ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และยังไม่เคยขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

2. ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่าง (Exclusion criteria)

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่างส้าหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ไม่สะดวกเข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ และ/ หรือตอบแบบสอบถามไม่ครบตามที่กำหนดไว้

เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยระยะที่ 1

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ

1.       แบบบันทึกการลงรายการเชิงสังเคราะห์ในลักษณะของการวิเคราะห์เนื้อหา  เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบฯ

2.       แบบสัมภาษณ์อาจารย์กึ่งโครงสร้าง ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก

3.       แบบสัมภาษณ์นักศึกษากึ่งโครงสร้าง ความสามารถนักศึกษาพยาบาล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1  ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้

1. ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆคุณสมบัติของผู้เรียนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และนำมาร่างแบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์  และแบบสัมภาษณ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2. นำแบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์  และแบบสัมภาษณ์เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content Validity)  และภาษาที่ใช้  ตลอดจนความครบถ้วน สมบูรณ์ และความครอบคลุมของข้อคำถาม  จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อ คำถามให้มีความถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยระยะที่ 1

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในระยะที่ 1 ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความวิจัย บทความวิชาการเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

2. บันทึกประเด็นสำคัญในแบบบันทึกเอกสารเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

3. สัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระยะที่ 1

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในระยะที่  1  แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

1.วิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึกเอกสารด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ อุปนัย นำเสนอแบบความเรียง

2.สรุปผลการสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต และอาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึกและนักศึกษาพยาบาล

3.การวิเคราะห์และสังเคราะห์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้

กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

การพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในระยะที่  2  เป็นการพัฒนารูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษา  วิเคราะห์  สังเคราะห์ ข้อมูลในการวิจัยระยะที่  1  โดยมีการดำเนินการตามลำดับ  ดังนี้

2.1 กำหนดกรอบแนวคิดของของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา  วิเคราะห์และ สังเคราะห์ข้อมูล  หลักการ  แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน  การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้คลาวด์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ในการวิจัยระยะที่ 1  มากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

2.2 สร้างของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดที่ได้จากการวิจัยระยะที่  1 โดยใช้องค์ประกอบ  แนวคิดที่ได้จาก ขั้น 1  มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยเน้นองค์ประกอบ  กระบวนการ  ขั้นตอนที่มีความเป็นระบบ (system Approach)  และแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและ กัน  ตาม ADDIE Model ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.  ขั้นการวิเคราะห์  (Analysis)  เป็นการวิเคราะห์เพื่อกำหนดรายละเอียดของ องค์ประกอบต่าง ๆ สำหรับสร้างรูปแบบและกระบวนการเรียนการสอน

2.  ขั้นการออกแบบ (Design)  เป็นการออกแบบกลยุทธการเรียนการเรียนการสอน

3.  ขั้นการพัฒนา  (Development)  เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและ เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น

4.  ขั้นการนำไปใช้  (Implementation)  เป็นนการนำรูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้นนั้นไปใช้ในการเรียนการสอนจริง

5.  ขั้นการประเมินผล  (Evaluation)  เป็นการประเมินผลว่าการเรียนการสอนตาม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.2.1 สร้างรูปแบบแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ โดยใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากข้อ  2.1  โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)

1.1)  การวิเคราะห์ผู้เรียน

1.2) การวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของรูปแบบการเรียนการ

1.3) การวิเคราะห์เนื้อหา

2) ขั้นการออกแบบ  (Analysis)   ออกแบบแบบการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลโดยใช้กรอบแนวคิดที่ได้จากข้อ  2.1 และขั้นการวิเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1)  องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน

2.2)  หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน

2.3)  วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน

2.4)  กระบวนการเรียนการสอน

2.5)  การวัดและประเมินผล  การวัดและประเมินผลในแต่ละหน่วยการ เรียน  ใช้การวัดและประเมินผลการเรียนตามสภาพจริง  โดยการวัดผลการเรียนรู้เมื่อจบกิจกรรม โดยประเมินจากงานที่ส่ง  สถิติการเข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาเนื้อหาการสะท้อนคิด  การแสดงความคิดเห็นในการอภิปรายระดมสมอง  ประเมินผลงานภาคปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย  และวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  6 ด้าน  ประกอบด้วย  1. การสรุปแบบนิรนัย  2. การให้ความหมาย 3. การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและการสังเกต  4. การสรุปแบบอุปนัย  5. การสรุปโดยการทดสอบสมมติฐานและการทำนาย  และ 6. การนิยามและการระบุข้อสันนิษฐาน  โดยใช้ Cornell Critical Thinking Test  Level Z   (Ennis, R. H.  1989)

3) ขั้นการพัฒนา (Development)   พัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลจากขั้นการออกแบบ  โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1)  พัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลตามขั้นตอน  ดังนี้

3.1.1)  พัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

3.1.2)  ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  ซึ่งนำเสนอเป็นแผนภาพและความเรียง  ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน  การเรียนรู้เพื่อการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จำนวน  7  ท่าน  ที่ได้มาจากการเลือกแบบแบบเจาะจง  คือ  เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ในการสอนระดับอุดมศึกษาอย่างน้อย  5 ปี  หรือมีผลงานวิจัย  ผลงานวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง  เพื่อพิจารณาในด้านการสื่อความหมาย  ความครอบคลุมเนื้อหา  องค์ประกอบ  ขั้นตอน  และความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนการ สอน  โดยวิธีการสัมภาษณ์  ซึ่งใช้เกณฑ์พิจารณาความถูกต้อง  โดยใช้ความสอดคล้องของข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เทียบกับแนวคิดหลักที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลในระยะที่  1

3.1.3)  นำต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลฯ  มาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

3.1.4)  นำต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลฯ  ที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิในรอบแรก  ให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอน  การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ   จำนวน  7  ท่าน  ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอนระดับอุดมศึกษาอย่างน้อย 5 ปี  หรือมีผลงานวิจัย ผลงานวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง  ประเมินรับรอง พิจารณาความ เหมาะสมในการนำไปใช้ทดลองใช้ และปรับปรุงแก้ไขรูปแบบตามข้อเสนอแนะ

3.2)  พัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอนของแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล  ตามขั้นตอน  ดังนี้

3.2.1)  กำหนดเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้  ขั้นตอน  กิจกรรมการเรียนการสอน  และสื่อการเรียนการสอน  จากนั้นนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ ข้อเสนอแนะและปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ  และนำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  จำนวน  3  ท่านประเมินความเหมาะสมและปรับปรุงแก้ไขตาม ข้อเสนอแนะ

3.2.2)  นำรายละเอียดของของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ  มาออกแบบระบบบริหารจัดการเรียนการสอน ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ

3.3)  พัฒนาแผนการสอน และพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนการสอน ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

3.4)  พัฒนาคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนการสอน ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

3.5)  สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประกอบด้วย

3.5.1)  แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

3.5.2)  แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนตาม รูปแบบ

4) ขั้นการนำไปใช้ (Implementation)

นำของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพของรูปแบบ โดยนำรูปแบบที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ไปทดสอบโดยให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้บทเรียนจริง และออกแบบการตรวจสอบด้วยการสังเกต และวิเคราะห์ข้อมูลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยมีกระบวนการทดสอบ 2 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบรูปแบบ ตามขั้นตอนดังนี้

1)  การทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  (one-to-one testing)  โดยให้นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา  วิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 (Principles and Techniques in Nursing Practicum 1)   ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  63  จำนวน  3 คน เรียนโดยใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ จากนั้น นำข้อมูลมาปรับปรุง  แก้ไขข้อบกพร่องของรูปแบบ

2)  การทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)  โดยให้นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา  วิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการ พยาบาล 1(Principles and Techniques in Nursing Practicum 1)   ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  63  จำนวน  9 คน  เรียนโดยใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่งใช้วิธีการ สังเกตและการสัมภาษณ์  จากนั้นนำข้อมูลมาปรับปรุง  แก้ไขข้อบกพร่องของรูปแบบ

ขั้นตอนที่ 2  การทดลองนำร่อง  (field trial)  การทดลองนำร่องโดยให้นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา  วิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 (Principles and Techniques in Nursing Practicum 1)   ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 256๓  จำนวน  24 คน  เรียนด้วยกันเป็นกลุ่มโดยใช้ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ ที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบกลุ่มเล็ก  ตามแผนการสอนที่กำหนดไว้ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ สังเกตและสอบถามความคิดเห็นของผู้ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้งาน  ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเรียนตามรูปแบบฯ

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเข้าศึกษา (Inclusion criteria)

1. เป็นนักศึกษาพยาบาล ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และยังไม่เคยขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย

2. ยินยอมเข้าร่วมการวิจัย

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่าง (Exclusion criteria)

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่างส้าหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ไม่สะดวก

เข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ และ/ หรือตอบแบบสอบถามไม่ครบตามที่กำหนดไว้

5) ขั้นการประเมินผล  (Evaluation)

การประเมินผลรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  แบ่งการประเมินออกเป็น  2  ส่วน  คือ

5.1)  การประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน  (formative evaluation)  ทำการประเมินคุณภาพ  3  ด้าน  ดังนี้

5.1.1) ด้านเนื้อหา (content)

5.1.2) ด้านการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

5.1.3) ด้านระบบบริหารจัดการ การเรียนการสอน  (Learning Management System)

5.2)  การประเมินเพื่อรับรองความเหมาะสมในการนำรูปแบบการเรียน การสอนไปทดลองใช้ (summative evaluation)  โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอน  การเรียนการสอนบนเว็บ  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จำนวน  7  ท่าน

การประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา  ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหาสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา  การประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆและการประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆโดยเป็นการประเมินผล  4 ระดับ  โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน  คือ

5    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมากที่สุด

4    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมาก

3    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมปานกลาง

2    หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อย

1        หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อยที่สุด

วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยในแต่ละข้อคำถามดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542)

4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมาก

2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมปานกลาง

1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อย

1.00 – 1.49 หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุด

วิธีดำเนินการวิจัยระยะที่ 2

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 2

วัตถุประสงค์ของการวิจัยระยะที่ 2 คือ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ ดังนี้

1.       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างต้นร่างรูปแบบการเรียนการสอน แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1.1  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินต้นแบบรูปแบบ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการ ออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ  และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณรวม  7 ท่าน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย  5 ปี  มีผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการใน สาขาที่เกี่ยวข้อง

1.2  ผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการ ออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ  และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณรวม 7 ท่าน    ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มี ประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย  5 ปี  มีผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

2.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างบทเรียน แบ่งเป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้

2.1  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา  7 ท่าน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  จากคณาจารย์ผู้ที่เคยสอนวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์  คอมพิวเตอร์ การสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชน หรือรายวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย  3 ปี

2.2  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน 7 ท่าน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน อย่างน้อย 3 ปี

2.3  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน 7 ท่าน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนอย่างน้อย 3 ปี

3.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ แบ่งเป็น  3  กลุ่ม ดังนี้

คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเข้าศึกษา (Inclusion criteria)

3.1  นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 (Principles and Techniques in Nursing Practicum 1) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 25๖๓ จำนวน 3 คน  สำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

3.2  นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  ๒๕๖๓  จำนวน  9  คน  สำหรับการทดสอบกลุ่มเล็ก  ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

3.3  นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา พย.1203 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล 1 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  ๒๕๖๓  จำนวน 24  คน สำหรับการทดสอบนำร่องได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่าง (Exclusion criteria)

เกณฑ์การคัดออกของกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่ไม่สะดวกเข้าร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ และ/ หรือตอบแบบสอบถามไม่ครบตามที่กำหนดไว้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ระยะที่ 2

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ระยะที่  2  ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 7  ฉบับ   ตามขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  ดังนี้

1.  เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ  คือ แบบประเมินรูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ  ในระยะที่ 2 ของการวิจัย

2.  เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างบทเรียนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ ประกอบด้วย 3 เครื่องมือ  ดังนี้

2.1  แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา (content) มีขั้นตอนการสร้างคือ

2.1.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา  โดยเป็นแบบประเมินค่า 4 ระดับ โดยมีประเด็นพิจารณาในด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหา ความเหมาะสมของแผนการสอน

2.1.2  นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหา  (content validity)  และภาษาที่ใช้ ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์ และความครอบคลุมของข้อคำถาม  จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามให้มีความ ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง

2.2  แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอน แบบการจัดการแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ(instructional design)  มีขั้นตอนการสร้างคือ

2.2.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ โดยเป็นแบบประเมินค่า 4 ระดับ  โดยมีประเด็นพิจารณาในด้าน  การกำหนด วัตถุประสงค์การเรียนรู้  การออกแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆเอกสารคู่มือการ ใช้ระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  และความเหมาะสมของแผนการสอน

2.2.2  นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหา  (content validity)  และภาษาที่ใช้  ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์ และความ ครอบคลุมของข้อคำถาม  นำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามให้มีความถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง

2.3  แบบประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน  (Learning Management System)  มีขั้นตอนการสร้างคือ

2.3.1  สร้างแบบประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน   โดยเป็นแบบประเมินค่า 4 ระดับ  โดยมีประเด็นพิจารณาในด้าน  การออกแบบระบบบริหาร จัดการเรียนการสอน  วิธีการและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียน  และความเสถียรของระบบ

2.3.2  นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา  (content validity)  และภาษาที่ใช้  ตลอดจนความครบถ้วนสมบูรณ์และความครอบคลุมของข้อคำถาม  จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามให้มีความ ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลจริง

2.4  แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยใช้แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณมาตรฐาน คือ Cornell Critical Thinking Test Level Z (Ennis and Millman, 1985) ซึ่งสร้างขึ้นมาสำหรับใช้วัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย นักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมถึงผู้ใหญ่ ประกอบด้วย คำถามแบบปรนัย 3 ตัวเลือก  จำนวน 52 ข้อ ใช้เวลาในการทำ 50 นาที  วัดการคิดอย่างมี วิจารณญาณตามองค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6 ด้าน ตามแนวคิดของ Ennis (1985)  ได้แก่  การสรุปแบบนิรนัย , การให้ความหมาย , การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และการสังเกต , การสรุปแบบอุปนัย , การสรุปโดยการทดสอบสมมติฐานและการทำนาย และ การนิยามและการระบุข้อสันนิษฐาน

โดยมีขั้นตอนในการพัฒนา  ดังนี้

1)  นำแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Cornell Critical Thinking Test Level z (Ennis and Millman, 1985)  ที่พัฒนาโดย สถาบันพระบรมราชชนก มาพัฒนา

2)  นำแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาแล้วเสนอให้ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ

3)  นำแบบแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ไปทดลองใช้กับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2563  จำนวน  30 คน  เพื่อหา คุณภาพของแบบวัดโดยหาค่าความเที่ยง (Reliability) ซึ่งใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2544)

3.  เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ  ประกอบด้วย  เครื่องมือ3 ชุด ดังนี้

3.1  แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์สำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  (one-one testing)

3.2  แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์สำหรับการทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)

3.3  แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ สำหรับการทดลองนำร่อง  (field trial)

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ในระยะที่  2

การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยใระยะที่  2  แบ่งเป็น  3  ขั้นตอนตามขั้นตอนการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน ฯ  ดังนี้

1.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  ประกอบด้วย

1.1  การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อพิจารณาความถูกต้องของต้นร่างรูปแบบการเรียนการสอน  สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา  ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณจำนวน  7 ท่าน

1.2  การสอบถามเพื่อประเมินรับรองความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน ก่อนนำไปทดลอง  สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา  ด้านการใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ และด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จำนวน   23 ท่าน  โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน  คือ

5    หมายถึง  มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมากที่สุด

4    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมาก

3    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมปานกลาง

2    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อย

1    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อยที่สุด

และได้กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542)

4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมาก

2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมปานกลาง

1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อย

1.00 – 1.49 หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุด

2.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  ระบบ บริหารจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆฯ  แผนการสอน  และคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้น  ดังนี้

2.1  การสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพสื่อด้านเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 7 ท่าน

2.2  การสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอนแบบการแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีแบบกลุ่มเมฆ จำนวน 7 ท่าน

2.3  การสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอน จำนวน 7 ท่าน โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน  คือ

5    หมายถึง  มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมากที่สุด

4    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมมาก

3    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมปานกลาง

2    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อย

1    หมายถึง มีความเห็นว่าข้อนั้นเหมาะสมน้อยที่สุด

และได้กำหนดเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542)

4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมากที่สุด

3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมมาก

2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมปานกลาง

1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อย

1.00 – 1.49 หมายถึง หมายถึง มีความเห็นว่าเหมาะสมน้อยที่สุด

3.  การเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดสอบประสิทธิภาพบทเรียน  จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้เรียนสำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  (one-on-one testing)  และการทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)

การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใน ระยะที่  2

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในระยะที่  2  มีดังนี้

1.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอน

1.1  การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ  โดยใช้การพิจารณาความ สอดคล้องของเนื้อหา  ประเด็นสำคัญที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล  เปรียบเทียบกับแนวคิดหลัก ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการสอน

1.2  วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินรับรองรูปแบบการสอน ก่อนนำไปทดลอง  โดยค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่ 4.00  ขึ้นไปจึงจะถือว่ามีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ทดลองเก็บข้อมูลได้

2.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  ระบบบริหาร จัดการเรียนการสอนการสอน  แผนการสอน  และคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้น  ดังนี้

2.1  วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการประเมินคุณภาพ สื่อด้านเนื้อหา  โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่ 4.00 ขึ้นไป  จึงถือว่าเนื้อหามีความ เหมาะสม

2.2  วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการในการประเมินคุณภาพสื่อด้านการออกแบบการเรียนการสอนฯ โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่  4.00 ขึ้นไป  จึงถือว่าการออกแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสม

2.3  วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบบริหารจัดการเรียนการ สอนการสอน ในการประเมินคุณภาพสื่อด้านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนการสอน โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่  4.00 ขึ้นไป  จึงถือว่าระบบบริหารจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น  มีความเหมาะสม

3.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียน เป็นการสรุปผลการสังเกตและการสัมภาษณ์ สำหรับการทดสอบแบบหนึ่งต่อ หนึ่ง  (one-to-one testing)  การทดสอบกับกลุ่มเล็ก  (small group testing)  และการทดสอบนำร่อง  (field trial)

8. อธิบายคลังความรู้ที่ได้ดำเนินการ (เช่น คู่มือ/โมเดล เป็นต้น)

๙.ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ

)

10. ปัจจัยความสำเร็จ (สิ่งที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ)

1.จากความร่วมมือและมีกระบวณการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ในภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

11. บทเรียนที่ได้รับ (การผลิตและนำผลงานไปใช้ ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ/ข้อควรระวังในการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ แนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น)

ได้โครงร่างต้นแบบเพื่อที่ผ่านการทดลองใช้ และนำไปพัฒนาในระยะที่ 3 และ นำไปใช้ ในระยะที่ 4 ต่อไป ดังนี้

12. การเผยแพร่ (ร่องรอยหลักฐานการเผยแพร่ที่มีการนำไปใช้ ผลงานที่ได้รับการยอมรับ)

การจัดการความรู้ได้พัฒนาต่อยอดเป็นโครงร่างวิจัย และได้รับการอนุมัติทุนวิจัยจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ และผ่านการอนุมัติทำวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ เลขที่ UPHO REC 010/64 และอยู่ในช่วงการดำเนินการวิจัยในระยะที่ 3 และ 4