• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

26/07/2018

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยการเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking)

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 11:26 am
Reactions :38 comments

รวบรวมโดย คณาจารย์กลุ่มการเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking) คือ การใช้กระบวนการ ในการคิด และพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ ละเอียดรอบครอบ มีเหตุมีผล ใช้ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ในสถานการณ์อื่นๆ อย่างเหมาะสม

ซึ่งแนวปฏิบัติในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective thinking )ในครั้งนี้ ได้นำแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ไปทดลองใช้และมีข้อเสนอแนะแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นที่ 1 อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น 1.ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน

2.ผู้เรียนศึกษาหรืออ่านทำความเข้าใจสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้

3.ผู้เรียนอธิบายสถานการณ์นั้น โดยบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ บอกสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในสถานการณ์ และบอกสิ่งที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์

ขั้นที่ 2 อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ 1.ผู้เรียนอธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ เช่น ฉันคิดและรู้สึกอย่างไรบ้างกับสถานการณ์นี้?” ถ้าเป็นฉันจะทำอย่างไร? อธิบายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อสถานการณ์นั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ
ขั้นที่ 3 บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ 1.ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจความหมายของคำว่า แนวคิด หลักการ และความเชื่อ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันสามารถสื่อสารได้ชัดเจน

2.ให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อของตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง

3.ให้ผู้เรียนนำเสนอ

แนวคิด/หลักการ/ความเชื่อ  สนับสนุนความคิดของ

ตนเองที่มีอยู่หรือที่เคยเรียนมาว่ามีอะไรบ้าง ที่

เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น

กระบวนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 4 เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 1.ให้ผู้เรียนนำเสนอแนวคิด หลักการ ความคิดความเชื่อของตนเอง

2.ผู้เรียนฟังการนำเสนอของสมาชิกกลุ่ม

3. ผู้ฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือตั้งคำถามโต้แย้ง คัดค้าน ท้าทาย และสะท้อนคิดกับบุคคลอื่นในกลุ่มอย่างเหมาะสม

4. ผู้สอนเอื้อให้เกิดบรรยากาศการยอมรับและเคารพศักดิ์ศรีของสมาชิกในกลุ่ม  และทำให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจในการแสดงความคิดเห็น

ขั้นตอนที่ 5 จัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอด 1. ฝึกให้ผู้เรียนจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดอย่างง่าย

2. ให้ผู้เรียนได้จัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่และสรุปความคิดรวบยอดด้วยตนเอง

3. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการจัดลำดับความคิดและสรุปความคิดรวบยอดของตนเอง และเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 6 นำข้อสรุปไปปฏิบัติ 1.ให้ผู้เรียนร่วมอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละแนวทางซึ่งมีแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนอย่างมีเหตุมีผล

2.สรุปแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์นั้น

3.ให้ผู้เรียนประเมินผลลัพธ์ที่ตามมาของแนวทางนั้นในหลายๆ แง่มุม

ขั้นตอนที่ 7 สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม 1. ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง (self-evaluation) ว่าการเรียนรู้ของตนเองในการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้นเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อปรับปรุงพัฒนาอย่างไร

2.ให้ผู้เรียนสะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และเทียบเคียงมุมมองใหม่ (new perspective) กับความรู้ที่มีอยู่เดิม

โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามดังนี้

-เหตุการณ์นี้มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในอนาคตอย่างไร

-ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเองด้านความรู้อย่างไร

-ประสบการณ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงตนเอง ด้านความคิด ความเชื่อ คุณค่า และจริยธรรมในวิชาชีพอย่างไร

แนวปฏิบัติทำเพิ่มเติม

1.จัดเตรียมสถานการณ์ให้มีความหลากหลาย เช่น ภาพยนต์  กรณีศึกษา  แสดงบทบาทสมมุติ ในกรณีที่ต้องทำกระบวนการซ้ำหลายๆรอบ

2.จัดเตรียมคู่มือกระบวนการเรียนแบบสะท้อนคิดให้กับนักศึกษา และอธิบายขั้นตอนการเรียนแบบสะท้อนคิด

3.ขั้นตอนการเตรียมนักศึกษา จัดให้มีกิจกรรม VTS ( Visual Thinking Strategies) เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษากล้าพูดและกล้าแสดงออก ก่อนการจัดการเรียนการสอน

4.ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมฝึกสติ(Mindfulness)  เช่น การเดินจงกลม หรือนั่งสมาธิ ให้จิตจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนการเรียน

5.แนะนำแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม ที่น่าเชื่อถือ

ปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการเรียนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking)มีดังนี้

การเตรียมตัวครู ควรมีลักษณะดังนี้

- มีความตระหนักรู้

- มีความจริงใจ

- ตรงไปตรงมา

- เปิดใจกว้าง

- ศรัทธากระบวนการเรียนรู้

- เสริมแรงให้กำลังใจนักศึกษา

-  มีทักษะในการตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์ มากกว่าคำถามเชิงรู้จำ

การเตรียมผู้เรียน มีลักษณะดังต่อไปนี้

-      สนุกกับความคิด,

-      รับฟังคำตอบหลากหลาย

-      ห้อยแขวนการตัดสินใจ

-      การฟังอย่างตั้งใจ

-      ซื่อสัตย์กล้าหาญ(ความรู้สึกภายใน)

เอกสารอ้างอิง

ดุจเดือน  เขียวเหลือง.(2557).เอกสารประกอบการสอน การเรียนรู้แบบสะท้อนคิดในนักศึกษาพยาบาล.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์.

Brown, S., & Gillis, M. (1999). Educational innovations. Using reflective thinking to developpersonal professional philosophies. Journal Of Nursing Education, 38(4), 171-175.

Edwards, R. A., Kirwin, J., Gonyeau, M., Matthews, S. J., Lancaster, J., & DiVall, M. (2014). A.Reflective Teaching Challenge to Motivate Educational Innovation. American Journal Of Pharmaceutical Education, 78(5), 1-7.

Heong, Y. M., Yunos, J. M., Othman, W., Hassan, R., Kiong, T. T., & Mohamad, M. M. (2012). The Needs Analysis of Learning Higher Order Thinking Skills for Generating Ideas. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 59, 197-203. doi:https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2012.09.265

Nguyễn, T. M. T., & Nguyễn, T. T. L. (2017). Influence of explicit higher-order thinking skills instruction on students’ learning of linguistics. Thinking Skills and Creativity, 26, 113-127. doi:https://doi.org/10.1016/j.tsc.2017.10.004

Severtsen, B. M. (2011). Reflective thinking -a guide to paradigm shifting in RN -BSN nursingstudents. International Journal Of Nursing Education, 3(1), 66-70.

https://vtshome.org/about/

https://www.nursingtimes.net/roles/mental-health-nurses/how-mindfulness-can-benefit-

nursing-practice/7004433.article

23/07/2018

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL) [ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 : 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560]

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 8:34 am
Reactions :33 comments

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้

ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 : 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560]

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 4 ในรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560                        โดยแนวปฏิบัติฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem–based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา             โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1   :   เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้              โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่

1.  จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)  ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน  ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL  ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2.  สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน/ประเด็นเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

2.1  สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3  มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีหัวเรื่องและเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ประเด็นพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเติมเต็มการเรียนรู้ ดังนี้

(1) ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

(2) สร้างสถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning) หรือผู้ป่วยเสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างความมีชีวิตชีวา (ความสด) ของโจทย์ปัญหา ทำให้โจทย์น่าสนใจ มีการสื่อสารสองทาง (two way communication) กระตุ้นการสร้างมโนทัศน์การรับรู้และความเข้าใจในโจทย์ปัญหาได้ดีขึ้น

(3) ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)  โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้             ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

4.  เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

4.1 ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า “Teach less learn more”

4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง  รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

4.3 จัดสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5.  เตรียมผู้เรียน ดังนี้

5.1  วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ตลอดจนเด็กที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเด็กที่เก่งและหรือเด็กที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องตามโจทย์ปัญหานั้นๆ จะเป็นตัวกระตุ้นพลวัตกลุ่ม (group dynamics) ทำให้สมาชิกกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

5.3  สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL แก่ผู้เรียน

5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

5.5 สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัยแก่ผู้เรียน เพราะบรรยากาศที่เป็นมิตร จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระ ปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามหรือบีบบังคมให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ  อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนด้วยตนเอง

ขั้นที่ 2   :   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 – 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 :  Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยในขั้นตอนนี้ สามารถเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจโจทย์หรือสถานการณ์ปัญหาเสมือนหนึ่งเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ให้มากที่สุดด้วยวิธีการให้นักศึกษาร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) ตามโจทย์ปัญหาที่กำหนดขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้เรียนได้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมตามบทบาทที่แสดงแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเบิกบานจากการแสดงหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหว ไม่เครียด ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ถูกกดดัน และเปิดใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่อง

Step 2 :  Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 :  Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา โดยขั้นตอนนี้ สามารถใช้เทคนิค Mind map เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Mind map จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการจัดระเบียบความคิดทั้งแบบคิดกว้างและคิดลึก  ช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ของสถานการณ์/โจทย์จากกระดาษแผ่นเดียว ทำให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจและต่อยอดความรู้ได้ เป็นต้น

Step 4 :  Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 :  Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 :  Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาทที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ    หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and  principles derived from studying  this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่ 3   :   ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)

1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด             ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว             จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โจทย์ปัญหา ครั้งที่ 1

สถานการณ์ “ทำไมคุณยายจึงล้ม”

พยาบาล ก. รับใหม่ผู้ป่วยสูงอายุ ขณะผู้ป่วยเดินมากับเจ้าหน้าที่   พยาบาล ก. เห็นว่าผู้ป่วยเดินมาเอง    จึงหยิบเสื้อผ้าให้ และให้ไปเปลี่ยนในห้องน้ำ ทันใดนั้นเองก็มีเสียงดัง “โครม!” พยาบาล ก. จึงรีบไปดูในห้องน้ำ พบว่า ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกในห้องน้ำ ลุกเดินไม่ได้ พยาบาลสมศรี พยาบาลหัวหน้าตึก ทราบเรื่อง จึงถามพยาบาล ก. ว่าเพราะอะไร จึงไม่ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนที่จะให้ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องน้ำ รู้มั้ยคุณยายตามัว มองไม่ค่อยเห็น 11แบบแผนกอร์ดอนทำไมไม่ใช้ แล้วอย่างนี้จะใช้กระบวนการพยาบาลดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร

แนวทางการตั้งคำถามจากโจทย์สู่การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สำหรับอาจารย์

ปัญหาจากโจทย์

(Cue recognition or problem)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

(Learning Objective)

คำถามนำ

(Trigger Question)

หลังจากผู้เรียนอ่านโจทย์ปัญหาจบ วิเคราะห์ Trigger มีข้อมูลใดบ้าง             ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล
ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกใน

ห้องน้ำ ลุกเดินไม่ได้

1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ 11 แบบแผนสุขภาพ            กอร์ดอน

  • ความหมาย
  • องค์ประกอบของแบบแผน
  • · แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน คือ อะไร
  • · แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน
มีทั้งหมดกี่แบบแผน อะไรบ้าง
2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย

2.1   ความหมาย ความสำคัญและแนวคิดของกระบวนการพยาบาล

2.2. ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล

  • การประเมิน (Assessment)
  • การวินิจฉัย (Diagnosis)
  • การวางแผน (Planning)
    • การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing)
  • การประเมินผล (Evaluation)

2.3   ลักษณะเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมของกระบวนการพยาบาล

2.4   การบันทึก และการรายงาน

  • กระบวนการพยาบาลมีวิวัฒนาการมาอย่างไร
  • กระบวนการพยาบาลคืออะไร
  • กระบวนการพยาบาลมีประโยชน์มีความสำคัญอย่างไร
  • กระบวนการพยาบาลกับวิทยาศาสต์สังคม มีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
  • กระบวนการพยาบาลมีขั้นตอนอะไรบ้างและแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร

แนวทางการระบุปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การตั้งสมมุติฐาน และกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สำหรับอาจารย์

ปัญหาจากโจทย์ สาเหตุของปัญหา สมมุติฐาน วัตถุประสงค์การเรียนรู้

(Learning Objective)

ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกในห้องน้ำ

ลุกเดินไม่ได้

  • ตามัว มองไม่เห็น
  • พยาบาลไม่ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อน
  • พยาบาลไม่เห็นความสำคัญของการใช้เครื่องมือ 11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาล
1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้             11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอนก่อนปฏิบัติการพยาบาลจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้ป่วย 1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ

11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน

  • ความหมาย
  • องค์ประกอบของแบบแผน
2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจะทำให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมาย 2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย

  • แนวคิด
  • ความหมาย
  • ขั้นตอน
  • วิวัฒนาการ
  • ความสำคัญ/ประโยชน์
  • ปัญหาในการใช้

โจทย์ปัญหา ครั้งที่ 2

สถานการณ์ที่ 1 “สุมาลีปวดไปหมด”

นางสุมาลี  นาคเหล็ก    อายุ 57 ปี น้ำหนัก 59 กิโลกรัม ส่วนสูง 146 เซนติเมตร มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน เป็นระยะเวลา 7 เดือน รับการรักษาที่ คลินิคแพทย์ตลอด ได้รับยาแก้ปวดมารับประทาน พยาบาลพบผู้ป่วยจึงใช้ แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนมารวบรวมข้อมูลตามกระบวนการพยาบาล

สถานการณ์ที่ 2 “รุ่งยาสมุนไพร”

นายรุ่ง   นาคเหล็ก  อายุ  58 ปี น้ำหนัก 82 กิโลกรัม ส่วนสูง 169 เซนติเมตร มีอาการปวดข้อสะโพก ขาสองข้างเดินไม่เท่ากัน เป็นระยะเวลา 1 ปี รับการรักษาที่ คลินิคแพทย์ตลอด ได้รับยาแก้ปวดมารับประทาน ปัจจุบันรับประทานยาสมุนไพรบรรเทาอาการปวด พยาบาลพบผู้ป่วย จึงใช้ แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนมารวบรวมข้อมูลตามกระบวนการพยาบาล

สถานการณ์ที่ 3 “อำนวยหวานเบาๆ”

นายอำนวย  ปานก้อม   อายุ 56 ปี น้ำหนัก 95 กิโลกรัม ส่วนสูง 175 เซนติเมตร มีอาการปัสสาวะบ่อยบ้างบางครั้ง มึนศีรษะเวียนศีรษะบ้างบางครั้ง เป็นระยะเวลา 10 ปี รับการรักษาที่ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ รับการรักษาโดยการฉีดยาตอนเช้าทุกวัน พยาบาลพบผู้ป่วย จึงใช้ แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนมารวบรวมข้อมูลตามกระบวนการพยาบาล

สถานการณ์ที่ 4 “ณัฐณิชาควบคุมอาหาร”

นางณัฐณิชา  ปานก้อม   อายุ 58 ปี น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 152 เซนติเมตร มีอาการ                 ปวดมึนหัวบ้างบางครั้ง เป็นระยะเวลา 5 ปี รับการรักษาที่ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ตลอด แพทย์ให้ควบคุมอาหาร พยาบาลพบผู้ป่วยจึงใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนมารวบรวมข้อมูลตามกระบวนการพยาบาล

สถานการณ์ที่ 5 “แซวกระดูกเหล็ก”

นางล้วน  แซงอ่วม   อายุ 58 ปี น้ำหนัก 61 กิโลกรัม ส่วนสูง 156 เซนติเมตร มีอาการปวดหลังราวลงขา เคยประสบอุบัติเหตุ เป็นระยะเวลา 5 ปี รับการรักษาที่ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ แพทย์นัดทุก 3 เดือน พยาบาลพบผู้ป่วยจึงใช้แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนมารวบรวมข้อมูลตามกระบวนการพยาบาล

ข้อแนะนำสำหรับนักศึกษาในการเรียน PBL

1. ต้องคำนึงว่าชั่วโมง SDL ที่จัดไว้ให้ในตารางเรียน ไม่ใช่ชั่วโมงว่างที่ให้นักศึกษาไปปฏิบัติภารกิจหรือธุระส่วนตัว แต่เป็นเวลาเรียนที่จัดไว้ให้สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือทบทวนความรู้ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้นๆ   นักศึกษาจึงควรใช้เวลาดังกล่าวให้เหมาะสม   ไม่ใช่ถือเป็นเวลาว่างสำหรับไปเที่ยวหรือไปทำธุระส่วนตัว

2. สิ่งที่นักศึกษาควรปฏิบัติในชั่วโมง SDL

2.1 ค้นคว้าหาความรู้จากตำรา วารสาร CAI VCD ฯลฯ ในห้องสมุด

2.2 ค้นคว้าหาความรู้จาก internet

2.3 นัดพบกันเองในกลุ่ม เพื่อประเมินความก้าวหน้าของงานที่ได้รับมอบหมายหรือช่วยกันทบทวนความรู้และข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่ไปศึกษามา

2.4 พบครูผู้เชี่ยวชาญเพื่อซักถามในหัวข้อที่ศึกษาแล้วไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัย โดยการประสานงานผ่านอาจารย์ประจำกลุ่มหรือผู้ประสานงานรายวิชา

2.5 พบอาจารย์ประจำกลุ่มกรณีที่เกิดปัญหาในการเรียนหรือเกิดความขัดแย้งในกลุ่ม               แล้วมิอาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง

3. เนื่องจากหนังสือและสื่อต่างๆมีไม่เพียงพอที่จะให้นักศึกษาทุกคนขอยืมไปศึกษาที่บ้านนอกเวลาได้  ดังนั้น จึงควรศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่มในเวลาให้มากที่สุด

4. แหล่งวิทยาการที่ใช้ศึกษาหาความรู้ควรจะหลากหลาย ไม่ใช่จากการอ่านเอกสารประกอบการสอนหรือsheet ของครูเพียงอย่างเดียว หรืออ่านจากหนังสือเพียง 1-2 เล่มเท่านั้น แหล่งที่ให้ความรู้ควรมาจากหนังสือหลายเล่มหรือจากสื่อต่างๆที่ได้รับการประเมินว่ามีความน่าเชื่อถือและทันสมัย อาจมาจากการค้นคว้าทาง internet   จากการถามผู้เชี่ยวชาญ การฝึกในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

บทบาทครูใน PBL

1.จะเปลี่ยนจากผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้หรือข้อมูลต่างๆให้แก่นักศึกษาโดยตรง  มาเป็นผู้สนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงเป้าหมาย (facilitator) และประเมินผลการเรียนรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ หรือแหล่งวิทยาการหนึ่งในการให้ความรู้

2. ช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้โดยผ่านขั้นตอนทีละขั้น ไม่เรียนลัด เช่น ในการแก้ปัญหา ต้องมีการกล่าวถึงสมมุติฐาน หรือพยายามอธิบายสาเหตุให้หมดก่อนจะไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

3.  ช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้อย่างลึกซึ้ง สามารถดึงความรู้ ความคิดที่ซ่อนอยู่ในใจออกมาได้

4.  กระตุ้นให้นักศึกษาอภิปรายโต้ตอบกันเอง  โดยครูไม่ทำตัวเป็นศูนย์กลางของการโต้ตอบ

5.  ช่วยให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของกลุ่ม ป้องกันไม่ให้คนที่พูดเก่งทำตัวเด่นในกลุ่มมากไป  ไม่ปล่อยให้คนไม่ช่างพูดถอนตัวจากกลุ่ม

6.  ปรับเปลี่ยนสภาพการเรียนการสอนไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายเมื่อปัญหาง่ายไป  หรือท้อแท้เมื่อปัญหายากไป

7.  ต้องดูแลความก้าวหน้าของนักศึกษาทุกคนในกลุ่มฝึกให้รู้จักประเมินตนเอง  และช่วยกันเองในกลุ่มเมื่อมีปัญหาการเรียนรู้เกิดขึ้น

8.  ทำความรู้จักกับกลุ่มเป็นอย่างดี  เมื่อเกิดปัญหาพฤติกรรมกลุ่มทำให้กลุ่มไม่ก้าวหน้า  ครูต้องพยายามทำให้กลุ่มตระหนักและหาทางแก้ไขด้วยความสามารถของกลุ่มเองไม่ใช่ครูลงไปแก้ไขให้แต่แรกโดยตรง

สิ่งสำคัญที่ครูต้องมี

1.ความสามารถในการตั้งคำถามในกลุ่มเพื่อให้นักศึกษารู้จักคิด (เน้นคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย)

2.หลีกเลี่ยงคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย

ตัวอย่างลักษณะของคำถาม

1. ถามกระตุ้นให้ใช้เหตุผล

–         คุณกำลังอยากจะค้นหาอะไร

–         มีเหตุผลอย่างไรจึงตั้งคำถามเช่นนั้น

–         ถ้าได้คำตอบแล้ว จะทำให้การแก้ปัญหาแตกต่างไปจากเดิมหรือเปล่า

2. ถามกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมุติฐาน / เหตุใดจึงตั้งสมมุติฐานเช่นนั้น / ประเมินค่าของสมมุติฐานที่ตนตั้งขึ้นมา

- คุณคิดว่าอะไรน่าจะเป็นสาเหตุได้บ้าง

- คุณมีเหตุผลอะไรในการตั้งสมมุติฐานเช่นนั้น

- จะใช้หลักฐานอะไรมาพิสูจน์เพื่อยอมรับหรือปฏิเสธสมมุติฐาน

3. ถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดถึงความเชื่อมโยงของเรื่องต่าง ๆ

-ข้อมูลที่ได้รับมานี้เกี่ยวข้องกับปัญหาอย่างไร

-ความสัมพันธ์ระหว่าง………กับ……….เป็นอย่างไร

4. ถามเพื่อช่วยในการอภิปรายต่อเนื่องและตรงเป้า

-ใครช่วยสรุปเรื่องเท่าที่พูดกันมาแล้วได้หรือไม่

-เราจะทำอะไรกันต่อไปสำหรับกรณีนี้

5. ถามเพื่อเน้นกลไกและสาเหตุของปัญหา

-กระบวนการอะไรที่ทำให้เกิดปัญหานี้

-กลไกอะไรที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้

6. ถามให้อธิบาย/ให้คำจำกัดความของบางคำที่ใช้

-…………หมายความว่าอย่างไร

-ระดับของเอ็นซัยม์ตัวนี้ในเลือดหมายความว่าอย่างไร

7. เน้นการใช้คำถามปลายเปิดมากกว่าใช่หรือไม่

8. แทนการตอบคำถาม ใช้วิธีป้อนคำถามกลุ่มต่อ

-ใครจะตอบคำถามนี้ได้บ้าง

-เราจะพยายามหาหนทางตอบคำถามนี้อย่างไร

-คำตอบของคำถามนี้จะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างไร

9. ถามกระตุ้นให้ผู้เรียนปรับปรุงการเสนอรายงาน

-ช่วยย่อหรือสรุปเรื่องที่เสนอมาทั้งหมดได้ไหม

-จะพูดอย่างไรให้ชัดเจนกว่านี้

-ลองปรับปรุงคำพูดใหม่ซิ เพื่อให้คนอื่น ๆ เข้าใจความคิดของคุณ

บทบาทครูในการประเมินผล

1.  Formative evaluation การประเมินความก้าวหน้าของนักศึกษาเป็นระยะตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้  หาข้อมูลว่าผู้เรียนมีความสามารถและมีจุดอ่อนในการเรียนรู้อย่างไรบ้าง  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข

2.  Summative evaluation    ตัดสินว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงระดับมาตรฐานที่สมควรผ่านไปศึกษา Block ต่อไปหรือเลื่อนไปเรียนในปีถัดไปได้หรือไม่

Formative evaluation

1.ขั้นตอนที่1-5 (ทำความเข้าใจกับศัพท์-สร้างวัตถุประสงค์)

-สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาว่ามีบทบาทอย่างไรต่อกลุ่ม  ส่งเสริม หรือ ขัดขวางการดำเนินงานกลุ่ม  ให้การ feedback

2.ขั้นตอนที่ 7 (สังเคราะห์ที่ได้มาใหม่)

-ประเมินความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา  โดยเปรียบเทียบความรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

-กระตุ้นให้มี Self assessmentและ  Peer assessment

กิจกรรมหลักในกระบวนการกลุ่ม

1. การแนะนำตัว  ทั้งนักศึกษาและครูควรแนะนำตนเองให้สมาชิกแต่ละคนได้รู้ภูมิหลังด้านความรู้ ความชำนาญประสบการณ์เดิม

2. การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ นักศึกษาควรกล้าพูด กล้าแสดง ยอมรับในสิ่งที่ตนไม่รู้หรือเข้าใจผิด  ให้การวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์  และยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบและไตร่ตรอง

3. ความรับผิดชอบต่อกระบวนการกลุ่ม  นักศึกษาต้องรู้ว่าตนมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการดำเนินงานของกลุ่ม  เมื่อเกิดปัญหาต้องช่วยกันแก้ไข  ต้องมีการประเมินผลการทำงานของตนและเพื่อนอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์

4. การดำเนินการตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้  สมาชิกกลุ่มต้องร่วมกันตัดสินใจไว้ก่อนว่าอะไรคือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์

5.กิจกรรมของกลุ่มในการแก้ปัญหา

ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขโดยการใช้ความรู้เดิมของสมาชิกกลุ่ม  ต้องฝึกคิดให้เป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่ รวบรวมข้อมูล  ระบุปัญหา  วิเคราะห์ปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  วิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับสมมุติฐาน

ระยะที่ 2 การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง (SDL) สิ่งสำคัญ คือ ถ้ามีการแบ่งหัวข้อไปศึกษา นักศึกษาควรเลือกหัวข้อที่ตนอ่อนหรือไม่ถนัด  เพื่อพัฒนาตนเอง  และในแต่ละโจทย์ปัญหาควรเปลี่ยนหัวข้อหรือสาขาวิชาที่ศึกษาไปเรื่อยๆ  แหล่งวิทยาการที่เลือกควรหลากหลายและทันสมัย

ระยะที่ 3 การนำความรู้ใหม่ที่ได้เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา  สิ่งแรกในขั้นตอนนี้ คือ การวิจารณ์ทรัพยากรการเรียนรู้ (แหล่งเรียนรู้) แล้วจึงนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา  เปรียบเทียบความรู้เดิมกับอันใหม่ที่ได้มา

ข้อควรระวัง อย่าให้เกิดเป็นการบรรยายหรือโชว์รายละเอียดของเนื้อหาในกลุ่มย่อย  จะต้องให้เป็นการประยุกต์ความรู้ โดยช่วยกันพิจารณาว่าได้ความรู้ใหม่มาแล้ว จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาตรงจุดไหนได้บ้าง

ระยะที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อเสร็จสิ้นการแก้ปัญหา  กลุ่มควรมีการประเมินตนเอง  รวมทั้งให้เพื่อนๆประเมินตนในหัวข้อ :

ทักษะการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

ความรู้ที่ได้จากโจทย์ปัญหาที่เรียน

ทักษะในการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง

ความร่วมมือและสนับสนุนในกระบวนการกลุ่ม

นอกจากนี้ควรมีการประเมินการทำงานของกลุ่มในภาพรวมมีข้อบกพร่องอย่างไรจะแก้ไขอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

หน้าที่ของประธานกลุ่ม

1.เป็นผู้เริ่มหรือนำการอภิปราย

2.กระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและอภิปราย

3.ควบคุมดูแลให้กระบวนการอภิปรายเป็นไปตามขั้นตอน

4.คอยจับประเด็นที่สมาชิกกลุ่มอภิปราย และสรุป

5.ควบคุมและรักษาเวลาให้เป็นไปตามที่กำหนด

6.ดูแลให้ผลของกระบวนการกลุ่มเป็นไปตามวัตถุประสงค์

หน้าที่ของเลขากลุ่ม

1.ช่วยประธานจับประเด็นที่สมาชิกกลุ่มอภิปราย และสรุป

2.บันทึกประเด็นที่สำคัญๆให้กับกลุ่ม

กำหนดการเรียน

วันที่ 1 กันยายน 2560 เวลา  09.00 – 11.00น.    ปฐมนิเทศการเรียน และเปิดโจทย์ปัญหา ครั้งที่ 1

วันที่ 8 กันยายน 2560 เวลา  09.00 – 11.00น.    ปิดโจทย์ ครั้งที่ 1 นำเสนอสรุปเรื่องกระบวนการพยาบาล

และ11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน เปิดโจทย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 15 กันยายน 2560 เวลา  09.00 – 11.00น.  สัมภาษณ์กรณีศึกษา และนำข้อมูลมาปรึกษาพูดคุยกัน

วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา  09.00 – 11.00น.  ประชุมปรึกษา นำเสนอข้อมูล 11 แบบแผนสุขภาพของ

กอร์ดอนและวางแผนการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล

วันที่ 29 กันยายน 2560 เวลา  09.00 – 11.00น.  ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

19/07/2018

แนวปฏิบัติการเขียนบทความวิชาการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:50 pm
Reactions :40 comments

แนวปฏิบัติการเขียนบทความวิชาการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รวบรวมโดย งานวิจัย การจัดการความรู้ฯ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

บทความทางวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เป็นงานเขียนที่อาจารย์พยาบาลมุ่งนำเสนอเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการพยาบาล หรือการจัดการเรียนการสอนสุขภาพ ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  อาจเป็นความรู้ ข้อเท็จจริงหรือมุมมองทรรศนะใหม่ๆที่ผ่านการค้นคว้า วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งนำเสนอต่อกลุ่มผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ โดยมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการด้านวิชาชีพการพยาบาลและการสาธารณสุข  มีแนวปฏิบัติปฏิบัติการเขียนบทความวิชาการดังนี้

1. ขั้นตอนการเตรียม

1.1 การเลือกเรื่องหรือประเด็น

เป็นการกำหนดประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวที่มีสาระวิชาการตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสนใจของผู้เขียน มีความทันสมัย อยู่ในขอบข่ายที่สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ง่าย เพื่อให้สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม และควรมีการทบทวนเรื่องหรือประเด็นที่จะเขียนจากแหล่งเผยแพร่ต่างๆว่ามีการเสนอในแง่มุมใดบ้าง  มีแง่มุมใดที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งผู้เขียนจะสามารถหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อชี้นำว่ามีความสำคัญและน่าสนใจ

แนวทางในการกำหนดประเด็นที่จะเขียนบทความวิชาการอาจได้มาจากแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือ  วารสาร เอกสารต่างๆ การสนทนากับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง การปรึกษาหารือในกลุ่มนักวิชาการ คำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ  การสังเกตจากเหตุการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือการปฏิบัติงานในหน้าที่ ผู้เขียนอาจจะได้ประเด็นเรื่องที่จะเขียนจากความคิดที่แวบขึ้นมาทันทีทันใด หรือสิ่งที่สนใจและได้ใคร่ครวญมาในระยะเวลาหนึ่งก็ได้

1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์การเขียนบทความวิชาการ

เป็นการกำหนดว่าความต้องการให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากบทความความในด้านใด เพื่อตอบคำถามตามหลัก 5 W 1 ในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบการนำเสนอ ประกอบด้วย Who   “จะเขียนให้ใครอ่าน” เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้วิเคราะห์ความต้องการ คุณค่าหรือประโยชน์ ที่ผู้อ่านจะได้รับ  What “จะเขียนเรื่องอะไร”  Where “จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” เพื่อคัดเลือกวารสารที่จะเผยแพร่พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการเขียน  ศึกษาแนวทางและเทคนิคการเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบวารสารนั้นๆ When “เวลาที่จะนำบทความลงเผยแพร่เมื่อใด” เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่นำเสนอที่ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน Why “จะนำเสนอเรื่องนี้ไปทำไม”เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการให้เกิดอะไร How “จะนำเสนอเรื่องนี้อย่างไร” (ซึ่งมีรายละเอียดในขั้นตอนการเขียนโครงเรื่อง) โดยแต่ละคำตอบจะมีความเชื่อมโยง สอดคล้องและต่อเนื่องกันเพื่อผู้เขียนจะไม่ได้หลงประเด็น

1.3  การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่  เป็นสิ่งที่ผู้เขียนควรพิจารณาความเหมาะสมของบทความว่าตรงกับผู้อ่านเป็นใคร รวมทั้งควรพิจารณาตามตัวชี้วัดหนึ่งทางด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เช่น ตีพิมพ์ในในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ  การตีพิมพ์บทความวิชาการใน วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking รวมทั้งศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ได้แก่ ความยาวของเนื้อหา  อักษรที่พิมพ์ รูปแบบอ้างอิง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร

1.4 การเขียนโครงเรื่องของบทความวิชาการ

เป็นการวางแผนการเขียนเนื้อหาของบทความ โดยจัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับความสำคัญ และมีความสัมพันธ์ของเนื้อหา เพื่อให้มีขอบเขตของเรื่อง ที่ชัดเจน ครบถ้วนและไม่ซ้ำซ้อนกัน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

1.4.1 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งที่เป็นความรู้  ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่หลากหลาย เช่น หนังสือ  บทความ วารสาร ข้อมูลการสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น หลังจากนั้นใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ หรือสังเคราะห์ ทั้งนี้หากเป็นเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยควรสืบค้นจากต้นฉบับที่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษเพื่อความถูกต้องในการสะกดชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษหากนำไปใช้ในรายการอ้างอิง

1.4.2 จัดหมวดหมู่ประเด็น เป็นการวิเคราะห์แนวคิดหรือประเด็นที่จะเขียนบทความวิชาการให้กระจ่าง โดยการแยกแยะประเด็นในแง่มุมต่างๆตามแนวคิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันให้อยู่พวกเดียวกัน หรือกำหนดขอบเขตเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย โดยอาจเขียนในรูปแบบผังมโนทัศน์ (concept  mapping)

1.4.3 จัดลำดับความคิดให้เป็นระบบตามวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตามลำดับ เช่นจากประเด็นที่กว้างๆหรือทั่วไปสู่เรื่องประเด็นเฉพาะ  จากเรื่องเฉพาะไปสู่เรื่องกว้างๆ ตามความสำคัญของเนื้อหาลดหลั่นลงมา ตามเหตุการณ์หรือระยะเวลาตามลำดับการเกิดก่อน-หลัง ตามการตั้งประเด็นคำถาม แล้วตอบคำถาม ขยายความ ยกตัวอย่าง ทีละประเด็น  ทั้งนี้ขึ้นวิธีการลำดับเนื้อหาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การเขียนและขอบเขตเนื้อหา

2. ขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ

เป็นขั้นตอนการเรียบเรียงความรู้จากประสบการณ์และสิ่งที่ค้นคว้ามาตามโครงเรื่องที่กำหนด     ด้วยถ้อยคำภาษาและลีลาชักจูงในผู้อ่านชวนติดตาม ทั้งนี้รูปแบบการเขียนขึ้นอยู่กับประเภทของบทความ   ผู้เขียนต้องการนำเสนอ และส่วนประกอบการเขียนบทความขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละแหล่งตีพิมพ์ โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนนำ เนื้อหา และส่วนท้าย กล่าวคือ

2.1 ส่วนนำ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้เขียน และบทคัดย่อ ดังนี้

2.1.1ชื่อเรื่อง เป็นการตั้งชื่อเรื่องให้ครอบคลุมเนื้อหาและตรงกับสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารแนวคิดแก่ผู้อ่าน ทำให้บทความวิชาการมีความสมบูรณ์และน่าสนใจ ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ ชัดเจน     สื่อถึงเนื้อหาของเรื่อง มีความน่าสนใจ มีความยาวไม่เกิน 100 ตัวอักษร บางครั้งอาจคิดชื่อเรื่องตั้งแต่การเลือกเรื่อง หรือ การจัดหมวดหมู่ความคิด หรือภายหลังลงมือเขียนไประยะหนึ่งแล้ว

2.2.2 ชื่อผู้เขียน ต้องระบุชื่อจริง โดยทั่ว ไปแล้วจะเขียนไว้ด้านซ้ายใต้ชื่อเรื่องและไม่นิยมบอกยศ ตำแหน่ง หรือคำนำหน้าชื่อแต่อย่างใด

2.2.3 บทคัดย่อ เป็นการย่อเนื้อหาสาระสำคัญของบทความ ควรเขียนให้สั้น กระชับ มีความยาวตามจำนวนคำที่วารสารกำหนด

2.2 เนื้อหา ประกอบด้วย การเกริ่นนำ  เนื้อเรื่อง และการสรุป ดังนี้

2.2.1 การเกริ่นนำ เป็นส่วนที่ผู้เขียนใช้เทคนิคจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้นๆ เช่น เป็นเรื่องเล่าบรรยายสถานการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจขณะนั้นขึ้นมาอภิปราย   การตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทายความคิดของผู้อ่าน ข้อความแสดงความขัดแย้ง หรือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ นอกจากนั้นส่วนนำควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ที่มาความสำคัญและขอบเขตของบทความ

2.2.2 เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ประกอบในการเขียน กล่าวคือ ผู้เขียนต้องแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงความเป็นเหตุ และผล ด้วยการอ้างอิงข้อมูลสนับสนุนที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือโดยพึงตระหนักเรื่องการคัดลอกผลงานผู้อื่น  มีศิลปะในการใช้ภาษาในการนำเสนอเรื่องราวอย่างเป็นระบบ มีการจัดลำดับเนื้อหา การยกตัวอย่างประกอบ อาจใช้แผนภูมิ รูปภาพ ตารางที่ใช้ประกอบการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและน่าสนใจติดตาม

ทั้งนี้การเขียนเนื้อหาโดยทั่วไปในหนึ่งหน้า อาจมีอย่างน้อย 2 ถึง 3 ประเด็น หรือ topic  โดยแบ่งประเด็นละย่อหน้า แต่ละย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียวจะอยู่ตรงบรรทัดแรก ตรงกลางหรือท้ายย่อหน้าขึ้นอยู่กับลีลาการเขียน  มีประโยคขยายใจความให้แจ่มชัด ความยาวในย่อหน้าหนึ่งๆ 3 – 10 บรรทัดเพื่อช่วยผู้อ่านพักสายตา ย่อหน้าที่ดีต้องมี เอกภาพ สัมพันธภาพ และมีสัดส่วนที่เหมาะสม

2.2.3 การสรุปเป็นการสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยการย่อความอย่างสั้นๆ หรือตอบคำถามตามประเด็นที่ตั้งไว้ในส่วนนำ หรือตั้งประเด็นคำถามทิ้งท้ายให้ผู้อ่านไปหาความรู้เพิ่มเติม  หรือเชิญชวนให้ผู้อ่านให้ความร่วมมือนำไปปฏิบัติ

2.3 ส่วนท้าย เป็นการเขียนแหล่งอ้างอิงในเชิงอรรถหรือบรรณานุกรม เพื่อบ่งบอกแหล่งที่มาของเอกสารต่างๆ ที่ผู้เขียนใช้ประกอบการเขียนนำเสนอเนื้อหาสาระที่ผ่านมา สำหรับยืนยันความถูกต้องจากแหล่งที่มาของความรู้  เป็นให้เกียรติเจ้าของผลงาน การป้องกันตัว และสะท้อนจรรยาบรรณทางวิชาการของผู้เขียน รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านไปศึกษาค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติม  ทั้งนี้การเขียนบรรณานุกรมในปัจจุบัน นิยมเขียนตามระบบ APA ( American Psychological Association) 6th edition , ระบบแวนคูเวอร์

(The Vancouver style) หรือตามที่วารสารกำหนด

เมื่อเขียนเรื่องเสร็จแล้วควรทบทวนว่า เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการเขียนหรือไม่  ตอบสนองความต้องการของผู้อ่านหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรในด้านการเสนอข้อมูล การใช้เหตุผล การยกตัวอย่าง การอ้างอิง สัดส่วนเนื้อหาสาระในแต่ละส่วน อาจทบทวน ด้วยตนเองเมื่อทิ้งช่วงระยะเวลาหลังจากเขียนเสร็จในระยะหนึ่งก่อน หรือผู้ใกล้ชิดช่วยประเมินให้ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพก่อนการส่งไปตีพิมพ์

3. ขั้นตอนการตีพิมพ์

3.1 การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่  ผู้เขียนควรพิจารณาความเหมาะสมของบทความว่าตรงกับผู้อ่านเป็นใคร รวมทั้งควรพิจารณาตามตัวชี้วัดหนึ่งทางด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เช่น ตีพิมพ์ในในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ  การตีพิมพ์บทความวิชาการใน วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking ทั้งนี้ควรศึกษางบประมาณสนับสนุนการดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่

3.2  ศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ได้แก่ ความยาวของเนื้อหา  อักษรที่พิมพ์ รูปแบบอ้างอิง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร โดยให้ปฏิบัติตรงตามที่ Reviewer ให้ข้อเสนอแนะ หรือหากผู้เขียนบทความมีความเห็นไม่ตรงกับสิ่งที่ Reviewer ให้ข้อเสนอแนะ ควรติดต่อกลับไปที่กองบรรณาธิการของแหล่งตีพิมพ์นั้นๆ ทางโทรศัพท์หรือเมล์ส่วนตัว

******************************************

เอกสารอ้างอิง

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2560, 18 พฤศจิกกายน). คู่มือการเขียนบทความ. สืบค้นจาก http://www.ednet.kku.ac.th/~edstd/upfile/q.pdf

ธิดา  โมสิกรัตน์  (2553) “การเขียนบทความวิชาการ”  ใน นภาลัย สุวรรณธาดา ธิดา โมสิกรัตน์  และ สุมาลี สังข์ศรี บรรณาธิการ การเขียนผลงานวิชาการและบทความ  พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 123-140  กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ (2556) “เทคนิคการเตรียมและการเขียนบทความทางวิชาการสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ”   วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ  16, 1  (มกราคม-มิถุนายน) : 59 – 68

รัตนะ บัวสนธ์. (2560, 18 พฤศจิกกายน). การเขียนบทความวิชาการและการวิจัย. สืบค้นจาก http://www.

rdi.nsru.ac.th/tip/tip-09.pdf

รายงานการประชุม การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:49 pm
Reactions :1 comment

รายงานการประชุม

การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑

วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑  ณ ห้องประชุมชั้น ๓ อาคาร ๑๐๐ ปีกระทรวงสาธารณสุข

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.  นางอนัญญา คูอาริยะกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ

๒.  นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.  นางสาวนัยนา อินโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.  นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.  นายนภดล เลือดนักรบ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.  นางสาวอัญชรี เข็มเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.  นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๘.  นางจิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๙. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๐. นายนพรัตน์ สวนปาน พยาบาลวิชาชีพ

๑๑. นางวาสนา ครุฑเมือง ผู้ช่วยเลขานุการ

๑๒.นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ เลขานุการ

ร้อยละของจำนวนผู้เข้าประชุม     ๖๐

ประธานที่ประชุม   นางอนัญญา คูอาริยะกุล

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑   เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

-

ระเบียบวาระที่ ๒  รับรองรายงานการประชุม

มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

ระเบียบวาระที่ ๓  เรื่องสืบเนื่อง

ประธานแจ้งเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐  การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ และวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การประชุมการนำเสนอการจัดการความรู้ในระดับวิทยาลัย ได้กำหนดให้มีการรายงานติดตามผลการนำแนวปฏิบัติเขียนบทความวิชาการสู่การนำไปใช้ มีการรายงานผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้ ดังนี้

๑. อาจารย์อลิษา ทรัพย์สังข์ นำแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนบทความ เรื่อง การนอนหลับที่ถูกรบกวนในเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล : บทบาทพยาบาลในการจัดการกับปัญหา (Sleep disturbance in Child) อยู่ในขั้นตอนการลงมือเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์  พบปัญหาความยุ่งยากและเสียเวลาในการเขียนระบบการเขียนเอกสารอ้างอิงโดยใช้ระบบแวนคูเวอร์

(The Vancouver style) และ ระบบ APA (6th Edition)

มติที่ประชุม ดังนี้

- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ หัวข้อ ๓ ส่วนท้าย ควรเพิ่มเติมว่า “หรือระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver style)”

- อาจารย์ผู้เขียนบทความวิชาการควรพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม EndNote ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม เช่น การสืบค้น การจัดเก็บ การจัดการรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงที่ผู้ใช้ได้ไปสืบค้นมาจาก แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น จากฐานข้อมูลออนไลน์ หรือจากฐานข้อมูลของห้องสมุด ฯลฯ โปรแกรม EndNote สามารถที่จะทำการ Import รายการอ้างอิงเหล่านั้นมาไว้ฐานข้อมูลของ EndNote ได้โดยตรง เพื่อนำมาจัดการในส่วนของรายการบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงในตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัย ทั้งนี้โปรแกรม End Note สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วไป เช่น Microsoft Word โดยสามารถสร้างรายการอ้างอิงหรือรายการบรรณานุกรมสำหรับงานเขียนแต่ละชิ้นได้ทันที และในรูปแบบที่ต้องการ เช่น APA, Chicago, Vancouver เป็นต้น

๒. อาจารย์วราภรณ์ ยศทวี นำแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนบทความ เรื่อง บทบาทพยาบาลในการพัฒนาความสามารถเพื่อลดความเครียดในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาท อยู่ในขั้นตอนส่งต้นฉบับตีพิมพ์/เผยแพร่ เพื่อส่งให้ Reviewer พิจารณา ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์  พบปัญหาความยุ่งยากและเสียเวลาในการเขียนเอกสารอ้างอิงที่เป็นชื่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

มติที่ประชุม ดังนี้

- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการเตรียมเขียนบทความ หัวข้อ ๑.๔.๑ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ควรเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้หากเป็นเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยควรสืบค้นจากต้นฉบับที่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษเพื่อความถูกต้องในการสะกดชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษหากนำไปใช้ในรายการอ้างอิง”

- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการตีพิมพ์ หัวข้อ ๓.๒  ส่วนท้ายประโยคควรเพิ่มเติมว่า “ให้ปฏิบัติตรงตามที่ Reviewer ให้ข้อเสนอแนะ หรือหากผู้เขียนบทความมีความเห็นไม่ตรงกับสิ่งที่ Reviewer ให้ข้อเสนอแนะ ควรติดต่อกลับไปที่กองบรรณาธิการของแหล่งตีพิมพ์นั้นๆ ทางโทรศัพท์หรือเมล์ส่วนตัว”

๓. อาจารย์นภดล เลือดนักรบ นำแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนบทความ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง อยู่ในขั้นตอนศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์/เผยแพร่ พบปัญหาความยุ่งยากในของบประมาณเพื่อสนับสนุนการนำเสนอบทความในวารสารระดับนานาชาติ

มติที่ประชุม ดังนี้

- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการตีพิมพ์ หัวข้อ ๓.๑ การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ควรเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้ควรศึกษางบประมาณสนับสนุนการดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่”

- กลุ่มงานวิจัยควรจัดทำระบบการสนับสนุนทุนในการตีพิมพ์เผยแพร่

ระเบียบวาระที่ ๔  เรื่องหารือที่ประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป :  -

ลงชื่อ  ………………………………………………..

(นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์)

บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ   ……………………………………………………

(นางอนัญญา  คูอาริยะกุล)     ตรวจรายงานการประชุม

รายงานการประชุม การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: admin
Time: 1:48 pm
Reactions :No comments

รายงานการประชุม

การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมบานชื่น

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.  นางอนัญญา คูอาริยะกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ

๒.  นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.  นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.  นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.  นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.  นางสาวนัยนา อินโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.  นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.  นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๐. นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๑๑. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๒. นางสาวสุปราณี หมื่นยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๓. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๔. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๕. นายนพรัตน์ สวนปาน พยาบาลวิชาชีพ

๑๖. นางผ่องศรี พุทธรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๗. นางสาวนันทกาญน์ ปักษี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๑๘. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๙. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๒๐. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญกา

๒๑. นายทิฏฐิ ศรีวิสัย พยาบาลวิชาชีพ

๒๒. นางวาสนา ครุฑเมือง ผู้ช่วยเลขานุการ

๒๓. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ เลขานุการ

ร้อยละของจำนวนผู้เข้าประชุม     ๑๐๐

ประธานที่ประชุม   นางอนัญญา คูอาริยะกุล

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑   เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานแจ้งเรื่องสืบเนื่องจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ สกอ.กำหนดให้วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดพระบรมราชชนกดำเนินการเรื่องการจัดการความรู้ โดยในปีการศึกษา ๒๕๖๐ คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ กำหนดประเด็นจัดการความรู้ที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้อาจารย์แต่ละคนเลือกประเด็นการจัดการความรู้ตามความสนใจ  การจัดการความรู้เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่” ถือว่าเป็นประเด็นหนึ่งที่พบว่าผลงานบทความวิชาการมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาการพยาบาล กล่าวคือ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗   – ๒๕๕๙ วิทยาลัยมีจำนวนบทความวิชาการ เฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนปีที่สภาการพยาบาลจะรับรองในปี พ.ศ.๒๕๖๑ รวมทั้งบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของอาจารย์ต่ำกว่ามาตรฐานอันจะส่งผลต่อคุณภาพของนักศึกษาที่จะสำเร็จเป็นพยาบาลวิชาชีพต่อไปในอนาคต แต่เมื่อวิเคราะห์จุดแข็งด้านอาจารย์มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขา และมีทักษะด้านการทำผลงานวิจัยซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการเขียนบทความวิชาการทำให้มีความง่ายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งในการจัดประชุมกำหนดประเด็นการจัดการความรู้ของอาจารย์ด้านการวิจัย อาจารย์ให้ความสนใจในประเด็นการพัฒนาการเขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์ เผยแพร่มากที่สุด ดังนั้นจึงขอให้ทุกคนช่วยกันจัดการความรู้ของกลุ่มงานเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ประธานทบทวนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักศึกษา กลุ่มงานกิจการนักศึกษา ใช้กระบวนการจัดการความรู้ ๗ ขั้นตอน มาประกอบใช้การจัดทำ KM ดังนี้

๑.การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่ากลุ่มงาน มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้ความรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในรูปแบบใดและอยู่ที่ใคร โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯได้กำหนดประเด็นบ่งชี้ความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีและวิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยความรู้ที่จำเป็นขององค์กรเป็นเรื่องการเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ เนื่องจากเห็นว่าผลงานบทความวิชาการมีจำนวนน้อยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สภาการพยาบาล กล่าวคือ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๗   – ๒๕๕๙ วิทยาลัยมีจำนวนบทความวิชาการ เฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๘ ซึ่งเกณฑ์กำหนดไว้อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนปีที่สภาการพยาบาลจะรับรองในปี พ.ศ.๒๕๖๑

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการรวบรวม/สกัดความรู้ ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge) จากเอกสาร หรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในตัวบุคคลจากภายในและ/หรือภายนอก โดยอาศัยเครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการสร้างและแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม เช่น การรวบรวมกฎระเบียบ คู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน การถอดความรู้จากตัวบุคคล เช่น การประชุมระดมสมอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

๓.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยมอบหมายให้อาจารย์อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ ผู้รับผิดชอบงานจัดการความรู้ดำเนินการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน     เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกำหนดแนวทางการเขียนบทความวิชาการต่อไป

๔.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐานปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์ จากการประชุมพิจารณาร่วมกัน หรือตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในองค์ความรู้นั้น และจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และตรงกับความต้องการ

๕.การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑

๖.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีเครื่องมือหลากหลาย ประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑

๗.การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนางาน เพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อปฏิบัติตามแล้วมีปัญหาตรงไหน มีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ผู้ปฏิบัติก็แจ้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้กลุ่มงานนำไปพิจารณา ปรับปรุงงาน เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้มีประสบการณ์ใหม่ๆ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒  รับรองรายงานการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๓  เรื่องสืบเนื่อง

-

ระเบียบวาระที่ ๔  เรื่องหารือที่ประชุม

การกำหนดแนวปฏิบัติ “การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่”  มีประเด็นดังนี้

๔.๑ ขั้นตอนการเตรียม

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๑.๑ การเลือกเรื่องหรือประเด็น ควรตรงกับความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสนใจของผู้เขียน มีความทันสมัย อยู่ในขอบข่ายที่สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ง่าย เพื่อให้สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนได้อย่างเหมาะสม และควรมีการทบทวนเรื่องหรือประเด็นที่จะเขียนจากแหล่งเผยแพร่ต่างๆว่ามีการเสนอในแง่มุมใดบ้าง  มีแง่มุมใดที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งผู้เขียนจะสามารถหยิบยกมากล่าวถึงเพื่อชี้นำว่ามีความสำคัญและน่าสนใจ

๔.๑.๒ การกำหนดวัตถุประสงค์การเขียนบทความวิชาการ ควรตอบคำถามตามหลัก ๕ W ๑ H ในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบการนำเสนอ ประกอบด้วย Who   “จะเขียนให้ใครอ่าน” เพื่อทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้วิเคราะห์ความต้องการ คุณค่าหรือประโยชน์ ที่ผู้อ่านจะได้รับ  What “จะเขียนเรื่องอะไร”  Where “จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” เพื่อคัดเลือกวารสารที่จะเผยแพร่พร้อมทั้งทบทวนแนวทางการเขียน  ศึกษาแนวทางและเทคนิคการเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบวารสารนั้นๆ When “เวลาที่จะนำบทความลงเผยแพร่เมื่อใด” เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่นำเสนอที่ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน Why “จะนำเสนอเรื่องนี้ไปทำไม”เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการให้เกิดอะไร How “จะนำเสนอเรื่องนี้อย่างไร” (ซึ่งมีรายละเอียดในขั้นตอนการเขียนโครงเรื่อง) โดยแต่ละคำตอบจะมีความเชื่อมโยง สอดคล้องและต่อเนื่องกันเพื่อผู้เขียนจะไม่ได้หลงประเด็น

๔.๑.๓ การเขียนโครงเรื่องของบทความวิชาการ ควรจัดลำดับความคิดให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นขั้นตอนตามลำดับความสำคัญ และมีความสัมพันธ์ของเนื้อหา เพื่อให้มีขอบเขตของเรื่อง ที่ชัดเจน ครบถ้วนและไม่ซ้ำซ้อนกัน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

๑) ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งที่เป็นความรู้  ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่หลากหลาย เช่น หนังสือ  บทความ วารสาร ข้อมูลการสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น หลังจากนั้นใช้วิธีการบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ หรือสังเคราะห์

๒) จัดหมวดหมู่ประเด็น เป็นการวิเคราะห์แนวคิดหรือประเด็นที่จะเขียนบทความวิชาการให้กระจ่าง โดยการแยกแยะประเด็นในแง่มุมต่างๆตามแนวคิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันให้อยู่พวกเดียวกัน หรือกำหนดขอบเขตเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย โดยอาจเขียนในรูปแบบผังมโนทัศน์ (concept  mapping)

๓) จัดลำดับความคิดให้เป็นระบบตามวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตามลำดับ เช่นจากประเด็นที่กว้างๆหรือทั่วไปสู่เรื่องประเด็นเฉพาะ  จากเรื่องเฉพาะไปสู่เรื่องกว้างๆ ตามความสำคัญของเนื้อหาลดหลั่นลงมา ตามเหตุการณ์หรือระยะเวลาตามลำดับการเกิดก่อน-หลัง ตามการตั้งประเด็นคำถาม แล้วตอบคำถาม ขยายความ ยกตัวอย่าง ทีละประเด็น  ทั้งนี้ขึ้นวิธีการลำดับเนื้อหาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การเขียนและขอบเขตเนื้อหา

๔.๒ ขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ

มติที่ประชุม ดังนี้

ควรเรียบเรียงความรู้จากประสบการณ์และสิ่งที่ค้นคว้ามาตามโครงเรื่องที่กำหนด ด้วยถ้อยคำภาษาและลีลาชักจูงในผู้อ่านชวนติดตาม ทั้งนี้รูปแบบการเขียนขึ้นอยู่กับประเภทของบทความ   ผู้เขียนต้องการนำเสนอ และส่วนประกอบการเขียนบทความขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละแหล่งตีพิมพ์ โดยทั่วไปประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ ส่วนนำ เนื้อหา และส่วนท้าย

๔.๓ ขั้นตอนการตีพิมพ์

มติที่ประชุม ดังนี้

๔.๓.๑ การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่  ผู้เขียนควรพิจารณาความเหมาะสมของบทความว่าตรงกับผู้อ่านเป็นใคร รวมทั้งควรพิจารณาตามตัวชี้วัดหนึ่งทางด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เช่น ตีพิมพ์ในในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ  การตีพิมพ์บทความวิชาการใน วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ การประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking

๔.๓.๒  ศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ได้แก่ ความยาวของเนื้อหา  อักษรที่พิมพ์ รูปแบบอ้างอิง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จากวารสาร หรือเว็บไซต์ของวารสาร

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป :  -

ลงชื่อ  ………………………………………………..

(นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์)

บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ   ……………………………………………………

(นางอนัญญา  คูอาริยะกุล)     ตรวจรายงานการประชุม

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro