• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

22/08/2016

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

**************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.น.ส.วิไลวรรณ? ?????????บุญเรือง?????????พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๑๐.นางสายฝน??????????? วรรณขาว???????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาฯได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลา ๑ ปี และมีการนำไปใช้ในระยะ ๑ เทอมการศึกษา และจากการนำไปใช้เห็นว่าควรมีการทบทวนเพื่อพัฒนาปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้

สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวนความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน โดยมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชาฯ ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน(อาจารย์ที่ผ่านการอบรมระยะสั้นตามหลักสูตร Reflective thinking) และมอบหมายให้อาจารย์ทุกคนในภาควิชาฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม และนำเสนอในที่ประชุมภาควิชา

ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาคณาจารย์ในภาควิชาเพื่อวิเคราะห์ความรู้ เช่น ความสอดคล้องตามการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑? ความสอดคล้องตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ? ความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทางการพยาบาล? บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน? ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน

ขั้นตอนที่ ๔ การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง(tacit knowledge) ภาควิชาได้เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่คณาจารย์ในภาควิชา

ขั้นตอนที่ ๕ การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง) ภาควิชาได้จัดเสวนาคณาจารย์เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติที่ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน ดังนี้

๑.ทบทวน Learning?? Outcome ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ที่สามารถใช้การสอนแบบ Reflective และจะสามารถตอบ LO ใน Domain ใดบ้าง

๒.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan)

๓.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

ได้แก่ ฝึกการกำหนดประเด็น / ตั้งคำถาม?? , ฝึกเขียนบันทึกการสะท้อนคิด , ฝึกการชี้ประเด็นการสะท้อนคิด

๔.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงาน(Reflective writing)ของนักศึกษา

๕.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking

๖.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

๗.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง ๖ ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก ๔ สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ๑ ครั้ง

๘.ในการให้ข้อมูลย้อยกลับไม่ควรรอเป็นสัปดาห์ เพราะจะทำให้นักศึกษาลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้

๙.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ ๖ การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ ภาควิชาได้ดำเนินการคัดเลือกรายวิชาที่จะใช้วิธีการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปทดลองใช้จำนวน ๓ รายวิชา

ผลที่ได้จากการเรียนรู้

ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอน

๑.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป

๒. นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ

๓. นักศึกษาได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ

ผลการประเมินจากนักศึกษา

๑.อาจารย์กำหนดประเด็นให้นักศึกษาเขียนช่วยให้นักศึกษามีขอบเขตในการเขียนบันทึกสะท้อนคิด

๒.ทำให้นักศึกษาได้กลับมามองตนเอง(Self awareness)ว่ามีจุดอ่อนในการทำงานในเรื่องใดและจะต้องพัฒนาตนเองในด้านใด

๓.นักศึกษาคิดว่าตัวเองคิดเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพิ่มมากขึ้น ไม่เหมือนกับการเขียนบันทึกในวิชาอื่นๆที่สะท้อนแค่ความรู้สึก

๔.ฝึกให้นักศึกษาต้องค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ไม่เหมือนในห้องเรียนที่อาจารย์จะมีคำตอบให้ในห้องเรียน

๕.การเขียนบันทึกสะท้อนคิดช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษาและรู้ว่านักศึกษายังไม่รู้หรือไม่เข้าใจความรู้ในประเด็นอะไร

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน ๘ คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม

๒. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ?Bloom?s Taxonomy

๓. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด

ข้อเสนอแนะ

- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า

- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายปฏิบัติการพยาบาลวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ และ ๒ วิชาปฏิบัติการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ ?วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

29/02/2016

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?ผลของการจัดการเรียนการสอน แบบ Reflective? วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?ผลของการจัดการเรียนการสอน
แบบ Reflective?

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธินราพันธุ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียว ? ? ? ? ?วิทยาจารย์ชำนาญการ

๓. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางประภาพร?????????????????? มโนรัตน์ ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางอัญชรี????????????? รัตนเสถียร?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นางสาวชลธิชา???????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๐. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาวดุจเดือน??????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๙๑.๗
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์???? ประสิทธินราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ ผลของการจัดการเรียนการสอน
แบบ Reflective

๑.นายบุญฤทธิ์?? ประสิทธินราพันธุ์? จัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน ๒ มีรายละเอียดดังนี้

การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเขียน Reflective writing จำนวน ๔ ครั้งซึ่งหัวข้อการเขียน ได้พยาบาลปรับให้สอดคล้องกับ กระบวนการวินิจฉัยชุมชน ตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยกระบวนจัดการเรียนการสอนได้มีการเตรียมดังนี้

1.อธิบายความหมายของการเรียนการสอนแบบ Reflective ให้นักศึกษาฟังว่าคืออะไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร

2.อธิบายวิธีการเขียนตามแบบประเมิน ที่จะประเมินนักศึกษาให้นักศึกษารับทราบโดยมีตัวอย่างการเขียนที่ถูกต้อง ให้นักศึกษาฝึกให้คะแนน

3.มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาเขียนในแต่ละสัปดาห์

4.อาจารย์นำผลการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของสัปดาห์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ต่อมา โดยสลับกับเพื่อนตรวจและให้คะแนน พร้อมทั้งให้เหตุผลของการให้คะแนน ตามเกณฑ์ใบประเมิน

ผลการจัดการเรียนดังกล่าวพบประเด็นดังนี้

1.มีนักศึกษาบางคนเขียนไม่สอดคล้องกับประเด็นหัวข้อที่มอบหมายให้(นศ.ไม่เข้าใจหัวข้อ)

2.การเขียนงานของนักศึกษาพบว่า ขั้นตอนการอธิบายความรู้สึก กับ การตั้งคำถามไม่ไปด้วยกัน

3.นักศึกษาบางคน เขียนบันทึกสะท้อนคิด สะท้อนเชิงกระบวนการคิดของนักศึกษา แต่ไม่ได้สะท้อนเนื้อหาสาระที่อาจารย์กำหนดให้

4. ขั้นกำหนดความรู้ใหม่ นักศึกษามักเรียนเป็นคำสรุป แต่มองไม่เห็นกระบวนการ เช่น จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

5.นักศึกษาชอบอ้างอิงจากwwwที่ไม่ใช่เชิงวิชาการ เช่น www.kapook.com ?มากกว่าตำรา หรือวารสาร

6.แบบประเมิน ควรมีการปรับให้สามารถประเมินได้สอดคล้องกับ การประเมินLO คือ rating scale 4ระดับ

ผลการประเมินจากนักศึกษา

1.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป

2.ทำให้ตนเองได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ

3.เป็นการเขียนที่มีรูปแบบชัดเจนไม่ล่องลอย โดยถ้ามีการกำหนดหัวข้อให้นักศึกษาเขียน

4.ได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ

5.นักศึกษาโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยในการเขียนสะท้อนคิดสัปดาห์1 ครั้ง และมีการเขียนแบบนี้แบบต่อเนื่องในทุกรายวิชา

๒.นางสาวปฐพร? แสงเขียว จัดการเรียนการสอนในรายวิชารพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

มีรายละเอียดดังนี้

๑. รายวิชาที่นำไปใช้ การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

๒. กระบวนการจัดการเรียนการสอน

๒.๑ ด้านผู้สอน

- ทบทวนวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking

- พิจารณาเนื้อหาที่ควรจัดให้มีการสอนแบบสะท้อนคิด จำนวน ๖ ประเด็น

- ใช้การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดที่ให้นักศึกษาเขียน Reflective Journal

- กำหนดระยะเวลาที่เขียน Reflective Journal สัปดาห์เว้นสัปดาห์ จำนวน ๖ ครั้ง

- พิจารณาปรับแบบประเมินการเขียน Reflective Journal ให้เหมาะสม ง่ายและ

สะดวกสำหรับการประเมิน

- เลือกสื่อภาพยนตร์ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อมอบหมายให้นักศึกษาชมด้วยตนเอง

ประกอบเพื่อเขียนบันทึกสะท้อนคิด ได้แก่ A Beautiful Mind (ผู้ป่วยจิตเภท)? และ As ????????? good as it gets (ผู้ป่วยย้ำคิดย้ำทำ)

๒.๒ ด้านผู้เรียน

- ทำความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking และการ

ประเมินผล

- ให้ฝึกหัดการเขียน Reflective Journal และทำความเข้าใจเรื่องแบบประเมิน

๓.? ผลการนำไปใช้

- นักศึกษาสามารถเขียนบันทึกสะท้อนคิดได้ตามที่มอบหมาย

- นักศึกษาส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจการเขียนบันทึกสะท้อนคิด ได้ตรงกับประเด็น และมีนักศึกษาส่วนน้อยที่

สามารถเขียนบันทึกสะท้อนคิดด้วยความเข้าใจ เนื่องจากผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective ? Thinking มาแล้วในรายวิชาปฏิบัติ

๔. ปัญหาและอุปสรรค

- สัดส่วนของผู้สอนต่อชิ้นงานของนักศึกษาไม่มีความเหมาะสม ใช้เวลามากในการตรวจบันทึก

๕. ข้อเสนอแนะ

- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า

- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)

๓.นายอดุลย์???? วุฒิจูรีพันธุ์จัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน ๑ ?มีรายละเอียดดังนี้

การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเขียน Reflective writing จำนวน ๔ ครั้งซึ่งหัวข้อการเขียน ได้พยาบาลปรับให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา โดยกระบวนจัดการเรียนการสอนได้มีขั้นตอนดังนี้

1.อธิบายวิธีการเขียนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานภาคปฏิบัติ ด้วยวิธี Reflective แก่นักศึกษารายกลุ่ม? พร้อมแนบตัวอย่างการเขียนและเกณฑ์การให้คะแนน

2.มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาเขียนในแต่ละสัปดาห์ ดังนี้ การประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว การอนามัยโรงเรียน? การอาชีวอนามัยและการให้บริการอนามัยครอบครัว

3.อาจารย์นำผลการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของสัปดาห์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มสัปดาห์ต่อมา โดยมีผู้นำเสนอและเพื่อนประเมินให้คะแนนตามเกณฑ์ใบประเมิน พร้อมทั้งให้เหตุผล

ผลการจัดการเรียนดังกล่าวพบประเด็นดังนี้

ด้านผู้เรียน

1.การตั้งประเด็นคำถามของนักศึกษาบางคนเขียนไม่สอดคล้องกับประเด็นหัวข้อที่มอบหมาย , การตั้งคำถามไม่ท้าทายต่อการเรียนรู้

2.ความไม่สอดคล้อง (Alignment) ในแต่ละย่อหน้า เช่น การอธิบายความรู้สึก กับ การอธิบายประสบการณ์ , การตั้งคำถามกับการอธิบายประสบการณ์ เป็นต้น

3.ลักษณะการอธิบายประสบการณ์มี 2 ลักษณะ คือ สะท้อนเชิงกระบวนการคิดของนักศึกษา และสะท้อนเชิงเนื้อหาสาระที่อาจารย์กำหนดให้

4. นักศึกษาชอบอ้างอิงจากwwwที่ไม่ใช่เชิงวิชาการ เช่น www.kapook.com ?มากกว่าตำรา หรือวารสาร

ด้านผู้สอน

1.แบบประเมิน ควรมีการปรับให้สามารถประเมินได้สอดคล้องกับ การประเมินLO คือ ปรับ rating scale จาก 0 ? 3 คะแนน เป็น 1- 4 คะแนน

2. ความไม่ชัดเจนในการเขียนสะท้อนคิดในแต่ละหมวด (ตามระดับ Bloom’s Taxonomy)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน 8 คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม

2. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ Bloom’s Taxonomy

3. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ………………………………….

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

เลขานุการการประชุม

ลงชื่อ……………………………………….

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธินราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัย-

ชุมชนและจิตเวช

11/09/2015

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ประจำเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๘

วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๑๐. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๑. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓.นายกันตวิชญ์???? จูเปรมปี?????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๔.นายนพรัตน์?????? สวนปาน????????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์? 3-4 กรกฎาคม? 2558?โดย ดร.เชษฐา แก้วพรม และ ขอให้มีการสรุปความรู้ร่วมกัน

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

แนวปฏิบัติที่ดี

1.ทบทวน LO ในรายวิชาที่รับผิดชอบ การสอนแบบ Reflective สามารถตอบ LO ในDomain ใด

2.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

3.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

- ซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม

4.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา

5.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking

6.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

7.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง 6 ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา 4 ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก 4 สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ

1 ครั้ง

8.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้……………………………………………

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๔. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๙. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๐. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ

รายยามผู้ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

๑.ดร.ดุจเดือน?????????? เขียงเหลือง???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ (ติดราชการ ม.เรศวร)

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ทบทวนการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่? 3-4 กรกฎาคม? 2558?หลังการอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและภาควิชาได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 ( 13 กรกฎาคม? 2558)?

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

การนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ และพัฒนาให้เกิดแนวปฏิบัติใหม่

1.ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้มีการเตรียมอาจารย์โดยมีการเชิญ ดร.เชษฐา? แก้วพรม

ผู้มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน reflective thinking มาบรรยาย และฝึกกระบวนการทำ

reflective thinking จำนวน 2 วัน ?วันที่ 3 -4 ก.ค. 58

2.ภาควิชาฯ สรุปแนวปฏิบัติที่การเรียนการสอนแบบ reflective thinking เพื่อนำไปใช้

3.มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดย

อ.อดุลย์ ?ได้เตรียมผู้สอนโดยอธิบายแนวคิดการเรียนแบบสะท้อนคิดในชั่วโมงแรกของการเรียน

4.อ.อดุลย์ นำเสนอผลการนำไปใช้ในรายวิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ดังนี้

- ผู้สอนมอบหมายงานให้นักศึกษาจับคู่เลือกพื้นที่ศึกษาชุมชนเข้มแข็ง เช่น ชุมชนที่บ้านของตนเอง หรือ ชุมชนที่นักศึกษาสนใจ? แล้วให้เขียนรายงานผลการศึกษา ประกอบด้วยไปศึกษาได้อะไรมาบ้าง ชุมชนมีรูปแบบการดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างไรและให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแบบประเมินบันทึกสะท้อนคิด ตามกรอบแนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

- ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 10 ? 12 คน ให้ผู้เรียนอ่านบันทึกการสะท้อนคิดของแต่ละคนแก่สมาชิกในกลุ่มได้รับฟัง ?พร้อมฝึกนักศึกษาให้ข้อเสนอแนะเพื่อนภายในกลุ่มเพื่อการเรียนรู้? โดยไม่นำมาคิดคะแนน หลังจากนั้นผู้สอนสุ่มบันทึกการสะท้อนคิดแก่สมาชิกหน้าชั้นเรียน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาเพิ่มเติม

- ผลการประเมินโดยผู้สอนพบว่า ไม่สามารถสะท้อนกลับบันทึกการสะท้อนคิดได้ครบทุกคน เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีมาก ( 97 คน) ต่ออาจารย์ผู้สอน 1 คน อีกทั้งไม่สามารถพัฒนาการสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนำมาทดลองสอนเพียง 1 ครั้ง ผลการประเมินรายวิชาจากนักศึกษาพบว่า ไม่ควรจัดการเรียนการสอนแบบให้นักเรียนให้คะแนนตามเกณฑ์กันเอง เช่น การให้คะแนนสะท้อนคิดเนื่องจากแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน(หมายเหตุ ผู้สอนไม่ได้นำคะแนนจากนักศึกษามาคิดตัดสินผลการเรียนรายวิชา)

- ข้อเสนอแนะ

1.หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคทฤษฎี ควรมีการเตรียมผู้สอน? จัดให้มีอาจารย์หลายคนช่วยกันตรวจบันทึกสะท้อนคิด ( 1 ฉบับ ใช้เวลาตรวจประมาณ 20 ? 30 นาที) เพื่อสะท้อนกลับแก่นักศึกษาครบทุกคน?? การเรียนแบบสะท้อนคิดในรายวิชาควรมีความต่อเนื่องพัฒนาเชิงกระบวนการในรายวิชานั้นๆ

2. จากการทบทวนเชิงวิชาการพบว่า ควรมีการฝึกเขียนรายงานสะท้อนคิดอย่างน้อย 6 ครั้ง จึงเชื่อว่าจะสามารถพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

3. หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ น่าเหมาะสมมากกว่า เนื่องสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาไม่เกิน 8 คน

4. ควรมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับให้ตรงเวลา ก่อนที่นักศึกษาจะเขียนรายงานสะท้อนคิดครั้งต่อไป เพื่อให้นักศึกษาได้มีการนำข้อมูลที่อาจารย์สะท้อนไปพัฒนาในครั้งต่อไป

พัฒนาแนวปฏิบัติใหม่

จากการนำแนวปฏิบัติเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking ไปใช้ พบว่าเกิดข้อจำกัดในทางปฏิบัติ ทั้งในด้านระยะเวลา ผู้เรียน และทีมผู้สอน ทางภาควิชาจึงได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแนวปฏิบัติใหม่ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

1. คัดเลือกรายวิชาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking และทบทวน LO ในรายวิชาที่คัดเลือกที่สามารถตอบ LO ใน Domain ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา

2. เตรียมผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้

2.1 อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด โดยการซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

2.2 อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา

2.3 จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

3. เตรียมผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้

3.1 ชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

3.2 ฝึกบันทึกแบบสะท้อนคิด การตั้งคำถาม และการใช้แบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

3.3 ชี้แจงการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking

4. หลังจากผู้เรียนทำ Reflective writing ผู้สอนต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับผู้เรียนทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้

มติที่ประชุม รับทราบ

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวชลธิชา จับคล้าย)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

09/03/2015

รายงานการประชุม การจัดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective Thinking)ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

รายงานการประชุม การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. ดร.ดุจเดือน???????????? เขียวเหลือง?????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. ดร.ประภาพร?????????? มโนรัตน์????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? ????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ

๕. นายอุดลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗. นางสาวอัญชรี?????????????????? เข็มเพชร?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์???????? จูเปรมปรี????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๑. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๓. นายนพรัตน์????????? สวนปาน?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๔. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ?????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑.๑ ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

แผนการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เรื่องแนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

มติ? รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

-ไม่มี-

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา

-ไม่มี-

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

๑. มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนความรู้เรื่อง Reflective Thinking และมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชานำความรู้มาถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ในภาควิชาได้รับทราบแนวทางของแต่คน ?พร้อมทั้งทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนการสอนที่อาจารย์แต่ล่ะท่านได้นำแนวทางไปปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเรื่อง Reflective Thinking ของภาควิชาต่อไป

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยายความรู้เรื่อง Reflective Thinking โดย อ.ดร.ดุจเดือน? เขียวเหลือง ?ผู้มีประสบการณ์ วิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสําหรับนักศึกษาพยาบาล The Development of the Thought Reflection Learning Model to Enhance Ethical Decision-Making in Nursing for Student Nurses และ อ.บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ ?ได้ผ่านการอบรม Reflective Thinking ที่?? The University of North Carolina at Chapel Hill? โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชาได้ดังนี้

ความหมายของการสะท้อนคิด

การสะท้อนคิด? คือการใช้กระบวนการในการคิดและพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์? ละเอียดรอบคอบ? มีเหตุผล? ใช้ประสบการณ์? ความคิด? ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้? หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา???????? ในสถานการณ์อื่นๆอย่างเหมาะสม (Sherwood, G. & Horton-Deutsch, 2012)

Reflective Thinking เป็นวิธีการใช้ในกระบวนการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง และพบว่านักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเป็นพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นพยาบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanize Care)

การพัฒนา/สร้างให้เกิดการคิดใหม่เป็นสิ่งสำคัญโดยต้องใช้กระบวนการดังนี้

  1. การสะท้อนคิดเป็นกุญแจสำคัญทางกลยุทธ์ในการช่วยให้พยาบาลมีความคิดที่จะพัฒนางาน
  2. การตั้งคำถามที่ให้เกิดการพัฒนา
  3. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถพัฒนาได้
  4. การใช้กระบวนการสะท้อนคิดจะบูรณาการทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะเกิดแนวทางใหม่ในการทำงานที่ดีขึ้น

กรอบการตั้งคำถามของ Reflective thinking มี 5 คำถาม ดังนี้

  1. What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้
  2. What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
  3. What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น
  4. What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
  5. What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับ

สถานการณ์นี้

ตัวอย่างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเหตุการณ์โดยกระบวนการสะท้อนคิด

อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Describe what happen)

Case story? บรรยายเหตุการณ์การเจ็บป่วยทั้งด้านอาการความเจ็บป่วยและวิถีชีวิต ซึ่งสามารถที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกนอกจากเชิงกว้างเพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างตรึกตรอง (sense making) ในบริบทของเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ด่วนสรุปด้วยความคิดเห็นของตนเอง

ทดสอบความรู้สึก (Examine feelings)

: What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้

ประเมินเหตุการณ์นั้นทั้งทางบวกและทางลบ (Evaluate positive and negative of the event)

: What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้

วิเคราะห์และทำความเข้าใจอย่างไตร่ตรอง (Analyze to determine sense-making)

: What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น

กำหนดทางเลือกที่จะทำอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ (Ask what else could you have done?

: What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่

กำหนดแบบแผนแนวทางการปฏิบัติในอนาคต (Set action plan for future occurrences)

: What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับสถานการณ์นี้

ความสำคัญของการนำการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล

ทีคแมน? กล่าวว่า? การสะท้อนคิดเป็นสิ่งแรกสุดที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล? เนื่องจากการ??? สะท้อนคิดจำเป็นต้องมีการตั้งคำถามและการตอบคำถามเป็นหัวใจสำคัญตลอดกระบวนการพยาบาล? ฉะนั้นวิธีการฝึกหัดการสะท้อนคิดที่ดีที่สุดคือ? การฝึกตั้งคำถามและการฝึกตอบคำถามด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย? พร้อมทั้งพัฒนาตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

1.ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในวิชาชีพพยาบาลในระดับที่มากพอควร? เพราะความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ต้องใช้การบูรณาการความรู้ในศาสตร์ของวิชาชีพพยาบาลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรายวิชาต่างๆในการพยาบาล? เช่น แนวคิดพื้นฐานทางการพยาบาล? การพยาบาลมารดาทารก การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค?? การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ? สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และการพยาบาลครอบครัวและชุมชน? เป็นต้น? ถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในเรื่องเหล่านี้? จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น? ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้จึงเหมาะสมที่จะใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป

2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นการสร้างเสริมความสารมารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพาบาล? โดยนำแนวคิดของการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการการเรียนรู้??????????? จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะศึกษาแนวคิดการสะท้อนคิด เทคนิคและกระบวนการเรียนรู้และการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจ? เนื่องจากการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังความคิดและเวลาในการคิดใคร่ครวญ? ทั้งในการตั้งคำถาม? การตอบคำถาม? การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ? การจินตนาการหาทางเลือกที่หลากหลาย? การสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่ได้เหมาะสม? ดังนั้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้สอนต้องเอื้อให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถามตามความเป็นจริง? มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย? และเป็นกันเอง? และให้การสะท้อนกลับให้ผู้เรียนถาม/ตอบคำถามในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน??????? และเรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

3.การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้เรียนต้องมีการอ่านและแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง? มีความตระหนักรู้ในตนเอง? สนใจและไวต่อข้อมูลและความรู้สึกที่ผุดออกมาจากสภาพแวดล้อมภายในตนเองและภายนอกตนเอง? พร้อมทั้งพร้อมที่จะเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้? ด้วยวิธีการที่สร้างแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม? และหลากหลาย

4.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้? ผู้สอนมีการกำหนดตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาให้ผู้เรียนสะท้อนคิด? ดังนั้นการสะท้อนคิดบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสับสน? เจ็บปวดและเป็นทุกข์ได้จึงจำเป็นต้องกระตุ้นและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนความคิด? และจิตใจแก่ผู้เรียนที่พึ่งหัดสะท้อนคิด

5.การจัดการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดนั้นมีจำนวนผู้เรียนไม่มากนัก? ดังนั้นผู้สอนควรมีความยืดหยุ่นต้องให้เวลาผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนคนอื่นๆและต้องไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเพียงลำพัง? จึงจะทำให้การสะท้อนคิดมีคุณภาพ

6.ในทุกๆครั้งก่อนการสอนแบบการสะท้อนคิดผู้สอนควรมีเทคนิคและวิธีการในการฝึกการเรียนรู้?????????? ในเรื่อง? การอยู่ในปัจจุบันขณะ (here and now) เนื่องจากก่อนการทำกิจกรรมต่างๆผู้เรียนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีสติ? และอยู่กับปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ? และมีประสิทธิผล

จากการประชุมอาจารย์ในภาควิชาฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีอาจารย์ที่นำไปใช้เสนอแนะดังนี้

อ.อดุลย์ ไปปรับใช้ ในการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 กิจกรรม เขียนบันทึกการเรียนรู้ ด้วยสะท้อนคิด ผู้สอนได้อธิบายเป้าหมายการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ,วิธีการเขียน ,การประเมินผล แก่นักศึกษาในชั่วโมงแรกการฝึกงาน ผลการดำเนินงาน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ เข้าใจและสามารถเขียนบันทึกการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดได้ถูกต้อง น.ศ.มีการสืบค้น หาข้อมูล จากตำรา เว็บไซด์ต่างๆ???? ข้อเสนอแนะต่อการนำไปใช้? หากให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้ แบบสะท้อนคิดทุกวัน ร่วมกับภาระงานที่ได้หมายหมายอื่นๆ ทำให้ช่วงระยะหลังๆ นักศึกษาเริ่มกลับไปเขียน บัรทึกการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม (ไม่มีการค้นคว้าเพิ่มเติม ) ดังนั้นควรเขียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง น่าจะมีความเหมาะสม

อ.บุญฤทธิ์ ได้ทดลองใช้กระบวนการ Reflective Thinking กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดยเริ่มใช้กระบวนการสะท้อนคิดการฝึกงาน โดยใช้ การเขียนบันทึกสะท้อนคิด ตามขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชน ทั้ง 5 ขั้นตอน? ??ซึ่งการสะท้อนคิดในขั้นตอนต่างๆ จากประสบการณ์ ไม่ควรให้นักศึกษาเขียนทุกวัน เพราะ นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเขียน? อาจเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง? ผลงานที่ได้ยังพบว่า นักศึกษายังสะท้อนคิดในระดับความรู้สึกทั่วไป? ยังไม่นำไปสู่การนำไปใช้ในครั้งต่อไป และขาดทฤษฎีอ้างอิงในการทำกิจกรรมกับชุมชน ?ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า? อาจารย์ยังตั้งคำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดยังไม่ดีเท่าที่ควร อาจต้องพัฒนาทักษะส่วนนี้สำหรับอาจารย์ รวมทั้งต้องเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจ Reflective Thinking

แนวปฏิบัติ

แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชา เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักในด้านของอาจารย์ผู้สอน ด้านนักศึกษา และด้านของการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้

องค์ประกอบหลักของการสะท้อนคิด

ด้านครูผู้สอน

1.ครูควรสร้างแรงจูงใจ ใช้คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างต่อเนื่อง

2.ครูควรจะสะท้อนคิดนักศึกษา? ทั้งแบบกลุ่ม บุคคล ขึ้นอยู่กับหัวข้อ หรือสถานการณ์ที่ต้องการตามความเหมาะสม

3.คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนในการเรียนแบบสะท้อนคิด ครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี? เปิดใจ เป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาไว้วางใจได้? ต้องมีความอดทน? ควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่ออกคำสั่ง สอนให้นักศึกษามีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส? ไม่ตำหนินักศึกษา? ต้องนิ่ง ไม่ชี้นำแต่ควรตั้งคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลกัน

กล้าและเก่ง กระตุ้นการเรียนอยู่เสมอ

4.ครูควรทำงานเป็นทีม ไม่ปัดภาระให้คนใดคนหนึ่ง

5.ครูควรมีการเสริมแรงโดยการชื่นชมนักศึกษาเมื่อนักศึกษาทำได้

6.ครูควรเป็นกัลยาณมิตร

7.ครูควรเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

8.ครูต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

9.ครูควรมีการมอบหมายงานล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวและคิดวิเคราะห์? และติดตามการสะท้อนคิดอย่างสม่ำเสมอ

10.ครูควรเป็นคนช่างสังเกต? เปิดใจให้นักศึกษาได้ระบายความรู้สึก ควรไวต่อความรู้สึก

ด้านนักศึกษา

1.จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้? ต้องเข้าใจในลักษณะวิธีการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด? และมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้

2.ต้องฝึกการคิดวิเคราะห์? ต้องมีการวางแผนที่ดี? แบ่งเวลาในการเขียนให้เหมาะสม

3.ต้องเข้าใจ? สรุปประเด็นและเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

4.มีอิสระในการเขียน? มีความกระตือรือร้น? และมีทักษะการตั้งคำถามที่ดี

5.มีการเรียนรู้จากสภาพการจริง? เรียนรู้ตรงกับความต้องการ? ความสนใจและความถนัดของตน

6.นำสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

7.กล้าแสดงความคิดเห็น? มีการสังเกตที่ดี? มีความรับผิดชอบ? มีวินัย? และตรงต่อเวลา

8.มีการใช้ความคิด? ความสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้

9.มีความสุขในการเรียนการสอน

ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

1.ใช้การวิเคราะห์กรณีศึกษา? การประชุมกลุ่ม? การสนทนาเป็นรายบุคคล

2.ใช้บันทึกการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน? เช่น journal? writing? หรือ learning log สามารถนำไปใช้ในการสะท้อนคิดนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ? การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึก? ควรให้เวลาในการสะท้อนคิดอย่างเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป? เช่นควรให้นักศึกษาลองฝึกเขียนในสัปดาห์แรก? จากนั้น ควรสะท้อนการคิดในสัปดาห์ถัดไป

3.ในการสะท้อนคิดสามารถทำในช่วงการทำ pre-post conference? จะช่วยให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้? ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในครั้งนี้? เป็นการประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? และพฤติกรรมการสะท้อนคิดครอบคุลมทั้งการวัดก่อน? การติดตามผลระหว่างการจัดการเรียนรู้? และการวัดผลภายหลังการจัดการเรียนรู้? ประกอบด้วย

1.ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ? จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาล? นำคะแนนจากผลการสอบทั้ง 2 ครั้ง? มาเปรียบเทียบเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียน

2.ประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลทั้งก่อนการใช้รูปแบบ? ระหว่างการใช้รูปแบบ? และหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ซึ่งประเมินโดยผู้สอน? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล

3.ประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสะท้อนคิด

ปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

06/09/2014

การจัดการความรู้เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ?

การใช้แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ จากผลการประชุม วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗? แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ มีดังนี้

๑)? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งจัดการเรียนการสอน ๓ มี.ค. ? ๒๓ พ.ค. ๕๗

ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

๑.กำหนดกิจกรรมในการเรียนการสอน ใน มคอ.๔ วิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

ดังนี้

กิจกรรมการเรียนการสอน ผลการนำไปใช้
-????????? กรณีศึกษา(โดยอาจารย์มอบหมายนักศึกษา 2คน ต่อ กรณีศึกษา 1 case ) -นักศึกษาได้เรียนรู้ การใช้กระบวนการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพในวัยทำงาน

-นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีไปใช้กับผู้รับบริการในสถานการณ์จริง

-????????? การวิเคราะห์บทความ(โดยมอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าบทความวิชาการ/บทความวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาของตนเอง) -นักศึกษาได้ฝึกการค้นคว้าด้วยตนเองจากหลายแหล่ง

-นักศึกษาอ่านและสรุปสาระสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้

-????????? บันทึกการเรียนรู้ -นักศึกษาได้ใช้บันทึกการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสะท้อนการเรียนรู้ ในเรื่องการทำงานและความรู้สึกในการดูแลกรณีศึกษา
-????????? การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล -นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดในเชิงวิชาการ และแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม

- นักศึกษารู้จักเปิดใจรับฟังความคิดของผู้อื่น

ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๑.????? นักศึกษาไม่สามารถให้กิจกรรมพยาบาลกับกรณีศึกษา ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากรณีศึกษายุติการเข้าร่วมกิจกรรมกะทันหัน

แนวทางแก้ไข

อ.อดุลย์ เสนอให้นักศึกษาชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนและกิจกรรมการให้บริการ ตลอดจนระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษา

อ.อัญชรี? เสนอให้เปลี่ยนกรณีศึกษาในกรณีศึกษาที่ไม่พร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม

๒. นักศึกษาบางส่วนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แนวทางแก้ไข

อ.บุญฤทธิ์ เสนอให้หาสาเหตุของการขาดความกระตือรือร้นเป็นรายบุคคล เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับนักศึกษา

อ.วิมล เสนอหากต้องให้เสริมแรงทางบวกควรทำในกลุ่มใหญ่ หากต้องการตักเตือนควรเรียกมาเตือนเป็นรายบุคคล

อ.วิไลวรรณ เสนอให้ทำข้อตกลงในการเรียนการสอน

อ.นพรัตน์ มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย

๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

อ.ดร.ประภาพร เสนอ ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ

อ.อิทธิพล เสนอ อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

อ.จิระภา เสนอ? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย

๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

๔.????? ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ

๕.????? อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

๖.????? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning

13/03/2014

การจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

การจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Active Learning คือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป(Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน(Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้

(co-creators)( Fedler and Brent, 1996)

แนวคิด/หลักการจัดการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบใฝ่เรียนที่นํามาใช้

๑. การมีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active) ของผู้เรียน

๒. การมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning)

๓. การทํากิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)

๔. การคิด (thinking) ซึ่งกระตุ้นด้วยการถาม (inquiry)

๕. การนําความรู้ไปใช้และประยุกต์ใช้ (application)

และจากการประชุมของภาควิชาฯ ครั้งที่ ๑ ได้ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ AL ของภาควิชาฯ คือ

การจัดการเรียนแบบ AL พบว่ามีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกตามความสมในบริบทของแต่ละบุคคล? ส่วนในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้ดังนี้

๑. บทบาทของครู

- การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอนหรือศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน

- ศึกษาผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

- จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

- สร้างความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

- เตรียมความพร้อมทรัพยากร สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้

- ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน

- ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง

๒. บทบาทผู้เรียน

- ทบทวนความรู้ อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

- เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

- เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

- ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียน และอยู่กับปัจจุบัน

- ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

และได้แนวปฏิบัติของภาควิชาฯ จากการประชุมครั้งที่ ๒ คือ

๑)????? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒)????? จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓)????? ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔)????? ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕)????? สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖)????? นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในบางรายวิชาที่ภาควิชาฯ รับผิดชอบ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประเด็นการจัดการเรียนการสอนแบบ AL ในภาควิชาฯ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗

๑. อาจารย์: บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์

รูปแบบการเรียนการสอน: Jigsaw Learning

รายวิชา: ภาคทฤษฎีการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการออกแบบการเรียนการสอนที่ แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการของครอบครัวตามช่วงวัย โดยศึกษาอย่างละเอียด (Expert) และจากนั้นจัดให้มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและสรุปรวมสาระสำคัญของเนื้อหาทั้งบท

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษามีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๐

๒. อาจารย์: อรรถพล ยิ้มยรรยง

รูปแบบการเรียนการสอน: Cooperative Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นระบบในการตรวจร่างกาย (Systemic Review) โดยมอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนทบทวนรวมถึงศึกษารายละเอียดของการตรวจร่างกายในระบบที่ได้รับผิดชอบและนักศึกษาแต่ละคนจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถตรวจร่างกายตามระบบได้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา

จากการผลวิจัยของ ทรงศักดิ์ สองสนิทและคณะ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (๒๕๕๒) ซึ่งอธิบายประกอบด้วยขั้นตอนการสอน ๔ ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียม ขั้นศึกษาเนื้อหา ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้? พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนและระดับความพึงพอใจของผู้เรียน

๓. อาจารย์: จิระภา? สุมาลี

รูปแบบการเรียนการสอน: Role Play Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ ดังนี้

๑.????? ให้นักศึกษาจำคู่แสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับการให้การพยาบาลผู้ป่วยในเรื่อง ?การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด?

๒.????? ให้นักศึกษาได้วิพากษ์การแสดงบทบาทสมมุติดังกล่าวเพื่อสรุปประเด็นการเรียนรู้

๓.????? Post-Test เรื่อง การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

ผลการเรียนการสอน: คะแนนทดสอบหลังเรียนดีขึ้น และจากการถอดบทเรียนนักศึกษาสะท้อนว่า มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เห็นรูปชัดเจน และสามารถจดจำและใช้เทคนิคในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดได้ดีขึ้น

๔. อาจารย์: วิมล? อ่อนเส็ง และสายฝน? ชมคำ

รูปแบบการเรียนการสอน: Concept Mapping Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษามีการเรียนรู้ในเรื่องการสรุปสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญของการเรียนรู้ขณะฝึกภาคปฏิบัติบนวอร์ด ลงบน Mind Map เมื่อมีการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งเมื่อฝึกภาคปฏิบัติเสร็จสิ้น นักศึกษาจะสามารถรวบรวมConceptต่างๆตามกรอบแนวคิดของแต่ละคน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถรวบรวมและสรุปแนวคิด (Concept)ตามระบบต่างๆได้ดีขึ้น

๕. อาจารย์: กันตวิชญ์? จูเปรมปรี

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: มนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็นกลุ่มเพื่อออกไปศึกษากรณีศึกษาในประเด็นหัวข้อ ?พฤติกรรมการทำมาหากิน? หลังจากนั้นให้นักศึกษาเข้ากลุ่มย่อยเพื่อทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถเข้าใจความเป็นปัจเจกบุคคลของแต่ละคนได้ว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเห็นได้จากการศึกษาจากกรณีศึกษาของเพื่อนในกลุ่มที่แตกต่างกัน

จากการศึกษาวิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (case study)ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้นเรื่องวัฒนธรรม ของ ชูวิทย์ ไชยเบ้า ระบุว่าการสอนแบบกรณีศึกษา(case study)เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนการสอน โดยให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในสภาพจริง หรือแก้ปัญหาที่สร้างขึ้นในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งในการแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินปัญหา ตัดสินใจหาแนวทางปัญหา แล้วรายงานสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาต่อกลุ่ม ซึ่งการสอนทำได้โดยให้ผู้เรียนอ่านกรณีจากเอกสารหรือชมภาพยนตร์ ชมการแสดงบทบาทสมมติ หรือการฟังเทปบันทึกเสียง ครูอาจเล่ากรณีให้ฟังแบบเล่านิทานก็ได้ ข้อสำคัญครูต้องใช้สื่อต่างๆประกอบการเล่า เช่น ภาพ แล้วติดภาพเหล่านั้นไว้เป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนกลับมาศึกษาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง เพราะมิฉะนั้นจะเกิดการลืมและทำความยุ่งยากให้กับการศึกษาในขั้นวิเคราะห์ นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์และมองภาพในการศึกษาได้อย่างชัดเจน ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ไปในทางที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้สรุปไว้ในงานวิจัยนี้ว่าผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน (http://eduweb.kpru.ac.th/pdf/rs15.pdf)

๖. อาจารย์: วิไลวรรณ? บุญเรือง

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนโดยการมอบหมายให้นักศึกษาทั้งกลุ่มเลือก Case Study โดยนักศึกษาทุกคนในกลุ่มต้องเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกัน จากนั้นให้นักศึกษาทั้งกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ และวางแผนทางการพยาบาลให้กับกรณีศึกษา

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคของกรณีศึกษามากขึ้นจากการได้ลงฝึกปฏิบัติและให้การพยาบาลกับกรณีศึกษาจริง

๗. อาจารย์: ชลธิชา? จับคล้าย

รูปแบบการเรียนการสอน: Brain Storming Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยขณะที่มีการ Conference Journal นักศึกษาแต่ละคน จะมีการแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้แบบระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม โดยแบ่งตาม K A P

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ Journal และมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดของแต่ละคน

๘. อาจารย์: อิทธิพล? แก้วฟอง

รูปแบบการเรียนการสอน: Community Base Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๒

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาชุมชนเกี่ยวกับประเด็นด้าน การประเมินชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การวินิจฉัยชุมชน และการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นจากการได้ลงศึกษาพื้นที่จริง

๙. อาจารย์: นพรัตน์? สวนปาน

รูปแบบการเรียนการสอน: Brain Storming Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยขณะที่มีเน้นให้นักศึกษาแต่ละคนได้ถอดบทเรียนจาการเรียนรู้ ซึ่งจะมีการแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้แบบระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถสรุปสาระสำคัญของประเด็นที่ฝึกภาคปฏิบัติออกเป็น Mind Mapping

๑๐. อาจารย์: อดุลย์? วุฒิจูรีพันธ์

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: ภาคทฤษฎีการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยจัดให้มีกรณีศึกษาให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาระดับบุคคล ครอบครัว และให้นักศึกษา SOAPE ในขณะเรียนในห้องเรียนก่อนลงภาคปฏิบัติจริง

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถแยกแยะปัญหาแต่ละระดับได้

๑๑. อาจารย์: ดร.ประภาพร?? มโนรัตน์

รูปแบบการเรียนการสอน: Didactic Teaching

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วีดีทัศน์เป็นตัวกระตุ้นการนำเข้าสู่บทเรียน ร่วมกับการอภิปรากลุ่มย่อย และการทำ World Cafe

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษามีผลการสอบผ่านมากกว่า ๙๐ % สามารถวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และนักศึกษาตื่นเต้น มีความสนใจเรียน

ข้อเสนอแนะ : ควรมีจำนวนอาจารย์ผู้ช่วยสอนให้เพียงพอกับจำนวนกลุ่มนักศึกษา(๑:๑๕)

และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ในภาควิชาฯที่จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สามารถสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ดังนี้

ด้านการเตรียมการสอน

o การเตรียมตัวสอนและวางแผนการสอน

-? วางแผนร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้สอนในการจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)? แผนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

-? การเตรียมสื่อการสอนการโดยใช้ ใบงาน,กรณีศึกษา, สถานที่, เอกสารประกอบการสอน, แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

-?? การวางแผนการประเมินผลที่สอดคล้องกันระหว่างวัตถุประสงค์รายวิชา และกิจกรรมการเรียนการสอน

ด้านการดำเนินการสอน

ขั้นนำ

ผู้สอนเป็นผู้เตรียมสถานการณ์อย่างที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิด กับผู้เรียน แล้วใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและตอบคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้สอนอาจจะเตรียมสื่อต่าง ๆ มาช่วยก็ได้ เช่น วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพพจน์เด่นชัดขึ้น

ขั้นสอน

ผู้สอนใช้สื่อการสอนการเช่น ?ใบงาน,กรณีศึกษา, แหล่งเรียนรู้ในชุมชน มาเป็นโจทย์สถานการณ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาจจะ สั่งไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้การนำเสนอกรณีตัวอย่าง อาจจะใช้สื่อที่เตรียมมาหรืออาจจะใช้เป็นบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลองก็ ได้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน แบบ AL อันประกอบด้วย

๑. สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

๒. ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน

๓. ส่งเสริมการเรียนรู้ความทางสติปัญญา (IQ) ควบคู่ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

๔. กระตุ้นการคิดวิเคราะห์

๕. ส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ขั้นสรุป

ผู้เรียนช่วยกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา

ด้านการวัดและประเมินผลการสอน

o? การประเมินตามสภาพจริง

-?? ปรับระบบการประเมินการเรียนการสอน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์จริง

-?? ประเมินผลและแจ้งให้ผู้เรียนทราบตามที่ระบุไว้ใน มคอ./ Course Syllabus

o? การประเมินตามกรอบ TQF

o? การประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน

o? การประเมินโดยนักศึกษา

อ้างอิง

ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. Active Learning. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.drchaiyot.com

(ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2557)

ทรงศักดิ์ สอนสนิท, จรัญ แสนราช และพิสุทธา อารีราษฎร์.(2552).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ

ร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.

วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 : ธันวาคม 2552

นิวัติ จันทราช.(2554).ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบกรณีศึกษาในรายวิชา MGT 351 พฤติกรรมองค์การ

และการพัฒนาองค์การ.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางนา.

วรพรรณ กระต่ายทอง.(2550). การสอนทฤษฎีโดยใช้รูปแบบการสอนกรณีศึกษาดีกว่าการบรรยายธรรมดา

จริงหรือ. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลได้จาก 202.29.15.37/pdf/rs14.pdf (ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2556 )

C.C. Bonwell, J.A. Eison, ?Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.?

ERIC Digest.Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education,

1991.

18/09/2013

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning? ครั้งที่ ๓

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
แบบ Active Learning?

วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ ? ๑๒.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววิไลวรรณ????????? บุญเรือง ?????????? หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางวิมล???????????????????? อ่อนเส็ง????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางประภาพร?????????????? มโนรัตน์ ??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางสาวดุจเดือน?????????? เขียวเหลือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์????????????????? วุฒิจูรีพันธุ์?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางอัญชรี?????????????????? รัตนเสถียร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายบุญฤทธิ์??????????????? ประสิทธินราพันธุ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นางสาวจิระภา ??????????? สุมาลี???????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นายอิทธิพล??????????????? แก้วฟอง???????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นางสาวชลธิชา?????????? จับคล้าย ??????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๒. นายนพรัตน์?????????????? สวนปาน ??????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๓. นางสาวสายฝน????????? ชมคำ???????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๔. นายอรรถพล ??????????? ยิ้มยรรยง??????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ? บุญเรือง
เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- ประธานแจ้งความก้าวหน้าของการดำเนินการ การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง

- ผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?โดย อ.จิระภา สุมาลี แจ้งดังนี้

๑) ในรายวิชาทักษะชีวิต (ภาคทดลอง) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๑ มีจำนวน ๒ ห้องเรียน แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นชั้นเรียนละ ๕ กลุ่ม (อัตราส่วนอาจารย์:นักศึกษา เท่ากับ ๑:๑๑) ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนภาคทดลองของบทที่ ๑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง โดยมีการเตรียมด้านการเรียนการสอนดังนี้

๑) การเตรียมผู้สอน

๑.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาวางแผนรูปแบบการเรียนการสอนตามลักษณะเนื้อหาของรายวิชา เช่น การจัดทำ มคอ.๓ จัดทำคู่มืออาจารย์ผู้สอนภาคทดลอง

๑.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนภาคทดลองร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาชี้แจงถึงลักษณะการเรียนการสอนภาคทดลองซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเน้นการสะท้อนคิดและอาจารย์ผู้สอน ให้ข้อมูลย้อนกลับ และเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาในทฤษฎี

๑.๓ อาจารย์ผู้สอนทบทวนความรู้ในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง เช่น? ทฤษฎี Jo-harri Window, ทฤษฎี Maslow, ทฤษฎีของ Floyd

๒) การเตรียมผู้เรียน

๒.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาแจ้งรายละเอียดของการเรียนการสอนกับผู้เรียน รวมถึงลักษณะของการวัดประเมินผลภาคทดลอง

๒.๒ เตรียมผู้เรียนก่อนเริ่มการเรียนการสอนทุกครั้ง โดยการฝึกสมาธิเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมก่อนการเรียนมีการกำหนดกติกาของการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การรักษาความลับของกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจในการพูดถึงเรื่องส่วนตัว โดยผู้สอนเชื่อมโยงไปถึงคุณธรรม จริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพที่จะต้องรักษาความลับของผู้ป่วย

๓) กระบวนการเรียนการสอน

ในชั่วโมงแรกของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม จะมีการทำกิจกรรมแนะนำตนเองเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพของนักศึกษาภายในกลุ่มให้นักศึกษาพร้อมที่จะเรียนรู้ และเปิดใจรับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ส่วนกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมดูหิน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มองเห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลการยอมรับในข้อดี ข้อเสียของผู้อื่น เรื่องกิจกรรมสวนสัตว์, ชมสวนดอกไม้ เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สะท้อนถึง Id, Ego, Super Ego ของตนเองมองเห็นถึงข้อดี ข้อเสียที่มีในตนเองและการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

ซึ่งจากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา การวัดประเมินผลจากนักศึกษาในภาคทดลองนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมาก และได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนนักศึกษา ได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับรายวิชาอื่น

ข้อเสนอแนะ

การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ควรคำนึงถึงอัตราส่วนของอาจารย์ผู้สอนต่อนักศึกษาที่เหมาะสม เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนต้องใช้เวลามาก ทำให้ผู้เรียนบางส่วนได้แสดงความคิดเห็นไม่ทั่วถึง

…………………………………………….

(นายนพรัตน์ สวนปาน)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning?ครั้งที่ ๒

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน

แบบ Active Learning?

วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.

ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง หัวหน้าภาควิชาฯ

๒. นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖. นางอัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๙. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

ประธานสรุปประเด็นองค์ความรู้เรื่อง แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จากการประชุมครั้งที่ผ่านมา

จึงแจ้งที่ประชุมทราบ

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. ภาควิชาฯร่วมกันวิเคราะห์ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งได้มาจากการประชุมวันที่ ๒๘ ส.ค. ๕๖ ได้แนวทางปฏิบัติร่วมกันและได้มอบหมายให้อาจารย์ทุกท่านนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในบทเรียนที่ตนเองรับผิดชอบตามแนวปฏิบัติ ดังนี้

๑) จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และที่ประชุมมอบหมายให้ อ.จิระภา สุมาลี ได้ทดลองนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะชีวิต (ภาคทดลอง) และจะติดตามความก้าวหน้าในการประชุมครั้งต่อไป

…………………………………………….

(นางสาวจิระภา สุมาลี)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning”

รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
แบบ Active Learning?

วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางอัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ


ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

- แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดย อ.อิทธิพล แก้วฟอง ดังนี้

อ.อิทธิพล แจ้งว่าได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยทำการจัดการองค์ความรู้เรื่อง การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยนำแนวปฏิบัติมาใช้ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยในบทที่ ๘ เรื่อง การใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ โดย อ.อิทธิพล ได้ดำเนินการดังนี้

๑) ทบทวนทักษะการดูแลบุคคลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่นักศึกษา โดยบรรยายถึง บทบาทพยาบาลในชุมชนที่ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานในการเข้าใจวิถีชีวิตตามความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีจุดเด่นของลีลาชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นความเข้าใจภูมิปัญญาหรือวิถีชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นกระบวนการหนึ่งของการให้กิจกรรมทางการพยาบาลในชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ

๒) จัดการการเรียนการสอนตามแผนการสอนดังนี้ โดยมอบหมายให้นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ของอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามบริบทที่ตนเองศึกษา ซึ่งการแบ่งพื้นที่ได้แบ่งตามวัฒนธรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน

๓) สรุป ประเมินผล และถอดบทเรียน

จากการดำเนินการจัดการเรียนการสอนพบว่าหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ตัวผู้เรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนมากขึ้น พร้อมทั้งมีแนวทางในการปรับประยุกต์ใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ในการให้การพยาบาลกลุ่มคน ครอบครัว และชุมชนบนพื้นฐานของความเข้าใจความเป็นมนุษย์ โดยนักศึกษาได้ถ่ายทอดผลการศึกษาผ่านวีดีทัศน์ในการสัมภาษณ์วิถีชีวิตของคนในชุมชนและบันทึกการเรียนรู้ที่ได้รับจากการศึกษา

๔) นำผลการจัดการเรียนการสอนที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อไป

หากต้องการมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ควรมีการกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาให้ชัดเจน พร้อมทั้งประสานงานพื้นที่ให้รับทราบก่อนที่นักศึกษาจะลงศึกษา

- ประธานแจ้งว่า จากการประชุมของคณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ได้กำหนดหัวข้อในการจัดการองค์ความรู้(KM) ของวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธี Active Learning และขอความร่วมมือให้อาจารย์แต่ละท่านช่วยเล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ละวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มีประสิทธิภาพแก่นักศึกษา

จึงแจ้งที่ประชุมทราบ

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

จากประธานแจ้งเรื่องหัวข้อการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และให้อาจารย์ในภาควิชาฯ เล่าประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อรวบรวมวิธีการสอน กระบวนการสอน ผลการสอน ข้อดี และข้อจำกัดในการสอนแต่ละวิธี และเพื่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มีประสิทธิภาพ แก่นักศึกษา

๑. จากการทบทวนความรู้เรื่อง AL พบว่า “AL เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ”

๒. รูปแบบของ AL การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล, การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ McKinney (๒๐๐๘) ได้เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี ได้แก่

๑) การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

๒) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๓-๖ คน

๓) การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led review sessions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่างๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

๔) การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน, การสอน, การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล

๕) การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วิดีโอ (Analysis or reactions to videos) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวิดีโอ ๕-๒๐ นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

๖) การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student debates) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

๗) การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

๘) การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-research proposals or project) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้, วางแผนการเรียน, เรียนรู้ตามแผน, สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน(project-based learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning)

๙) การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

๑๐) การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

๑๑) การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and produce a newsletter) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

๑๒) การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ลักษณะของ Active Learning

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (มปป.) ได้อธิบายถึงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ดังนี้

๑) เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การแก้ปัญหาและการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

๒) เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด

๓) ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๔) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

๕) ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

๖) เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

๗) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง

๘) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด

๙) ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

๑๐) ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

บทบาทของครู กับ Active Learning

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (๒๕๕๐) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้

๑) จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน

๒) สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน

๓) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

๔) จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน

๕) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย

๖) วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม

๗) ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดของที่ผู้เรียน

การเตรียมตัวด้านผู้เรียน

นอกจากจะต้องพาตัวเองหรือบังคับตัวเองให้ไปเข้าชั้นเรียนแล้ว สิ่งที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศของ AL ได้ ผู้เรียนก็จะต้องเตรียมตัวในเรื่องต่อไปนี้ คือ

อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

๓. อ.ดร.ประภาพร สอนแบบ Didactic Strategic เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยครูเป็นผู้ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการสอน เน้นให้เกิดการเรียนรู้จากกระบวนการคิดวิเคราะห์ สรุปองค์ความรู้ได้เอง ใช้สอนนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ ๒ วิชาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในบทที่ ๙ เรื่อง สถานบริการสุขภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่จัดบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน ๔ ชั่วโมง ใช้วิธีการสอน เริ่มเข้าสู่เนื้อหาโดยใช้วีดีโอ เนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์จริง พบว่า นักศึกษามีความตื่นตัว สนใจในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษาได้ดูวีดีทัศน์ ๒๐ นาที เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพที่เชื่อมโยงกับ รพ.สต. จากนั้นให้แบ่งกลุ่มอภิปรายร่วมกัน ๒๐ นาที โดยให้ประเด็นคำถาม เหตุเกิดที่ไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง เกิดผลดีอย่างไร มีความแตกต่างอย่างระหว่างสถานบริการในและนอก มีอาจารย์พิเศษจากสถานบริการร่วมบรรยาย โดยให้นักศึกษาแบ่งเป็นนายสถานี ให้นายสถานีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่รับผิดชอบ สรุปผลการแลกเปลี่ยนลงใน Flip Chart และอาจารย์สรุป Concept หลัก ๑๕ นาที ซึ่งวิธีการสอนแบบนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่อง การสอนในกลุ่มใหญ่ได้ สำหรับข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้คือ ควรมีการจัดการเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรมให้พร้อม เช่น บอร์ด กระดาษFlip Chart เก้าอี้ เป็นต้น ตัวผู้สอนต้องเตรียมตัวให้พร้อม

๔. อ.วิมล สอนโดยให้นักศึกษาออกแบบผังความคิด (Concept Mapping) เป็นรายบุคคลในหัวข้อ การบริหารหอผู้ป่วย บทที่ ๖ วิชาบริหารการพยาบาล ให้นักศึกษานำเสนอความคิดรวบยอดและเชื่อมโยงกับกรอบความคิดในการใช้ เป็นตัวเชื่อมโยงและสุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน ๒ คน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามแสดงความคิดเห็น ครูบรรยายสรุป การบริหารหอผู้ป่วย การสอนรูปแบบนี้พบว่า นักศึกษาบอกว่าดี ทำให้มีความเข้าใจภาพรวมการบริหารหอผู้ป่วยได้มากขึ้น การสอนวิธีนี้ช่วยแก้ปัญหาให้นักศึกษาเข้าใจรูปแบบการบริหารหอผู้ป่วยในเชิงรูปธรรมมากขึ้น

๕. อ.วิไลวรรณ จัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยใช้กรณีศึกษาที่พบแล้วเขียน Concept Mapping ของวิธีการรักษาพยาบาล มาประชุมปรึกษาทางการพยาบาลในกลุ่มย่อย ๗-๘ คน พบว่า นักศึกษาสนใจดี จำได้ดี เนื่องจากประสบการณ์ตรงกับตนเองและเป็นประสบการณ์จริง, กระตือรือร้นกับผู้ป่วย, เป็นประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน

๖. อ.บุญฤทธิ์ ใช้วิธีการสอน แบบ การแลกเปลี่ยนความคิด(Think-Pair-Share) ในรายวิชาสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ โดยมีการบรรยาย หลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ และยกตัวอย่างcase หลังจากนั้นให้นักศึกษาฝึกจับคู่ และวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพสร้างเสริมสุขภาพของเพื่อนที่ควรทำอย่างน้อย ๑ เรื่อง และออกแบบกิจกรรมการพยาบาลโดยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ร่วมออกแบบกิจกรรมผู้ถูกสัมภาษณ์ หลังจากสอน นักศึกษามีความตื่นตัว ในการเรียนการสอน รู้จักวิธีในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เข้าใจว่าเพื่อนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องปรับปรุงและมีการวางแผนดูแลสุขภาพร่วมกัน ช่วยให้เข้าใจทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นนามธรรมมากขึ้น

๗. อ.จิระภา ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ LT(Learning Together) ในรายวิชา ทักษะชีวิต (พยบ.๑) บทที่ ๒ เรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก หัวข้อเรื่อง มารยาทไทยและมารยาททางสังคม เนื่องจากผู้สอนคิดว่าเนื้อหามีค่อนข้างมาก และจากประสบการณ์สอนใน ๒ ปีที่ผ่านมา พบว่าเนื้อหามีมากกว่าชั่วโมงที่มีการจัดการเรียนการสอนจริง และเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น จึงใช้วิธีการ LT ซึ่งผู้สอนได้เตรียมวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเรื่อง มารยาทไทย และมารยาทสังคม ซึ่งเป็นวิดีโอของรายการสุภาพบุรุษจุฑาเทพของช่อง ๓ เปิดให้กับผู้เรียนดูและมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละคนจดบันทึก เป็นบันทึกความรู้รายบุคคลจากนั้นให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มๆละ ๔-๕ คน เล่าถึงบันทึกความรู้ให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง จึงเป็นการทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันให้เวลา ๒๐ นาที จากนั้นให้ทำแบบทดสอบเพื่อเป็นการประเมินผลการเรียนรู้จากนั้นผู้สอนเฉลยคำตอบและสรุปประเด็นสำคัญให้ผู้เรียน แล้วมีรางวัลให้กับกลุ่มที่มีคะแนนสูงสุดเพื่อเป็นแรงจูงใจ ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่อยู่ที่ ๖๐-๑๐๐ % ซึ่งทำให้ผู้สอนทราบว่าการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและให้ฝึกคิดวิเคราะห์กันเองทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นภายในเวลาที่จำกัด(ชั่วโมงการเรียนการสอน) ซึ่งเปรียบเทียบจากผลการสอบรายบทจาก ๒ ปีที่ผ่านมาพบว่ามีความก้าวหน้า ข้อดี คือ ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการสอนได้เพียงพอกับลักษณะเนื้อหาที่มีมาก ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น ฝึกการคิดวิเคราะห์ ข้อเสียคือ ไม่สามารถวัดเป็นรายบุคคลได้

๘. อ.ดุจเดือน ได้นำผลจากการวิจัย ?การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล? มาใช้พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลซึ่งมีองค์ประกอบ ๗ ขั้นตอนคือ ๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น ๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ ๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ ๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็น/ทางเลือกที่หลากหลาย ๕) จัดลำดับความคิด/หาข้อสรุปร่วมอย่างเป็นเหตุเป็นผล ๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ ๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนนี้ ทำให้นักศึกษาพยาบาลเกิดพฤติกรรมการสะท้อนคิด ข้อจำกัดของการเรียนการสอนรูปแบบนี้คือ นักศึกษาต้องไม่เกินกลุ่มละ ๘-๑๐ คน และควรจัดสถานการณ์ ๑ เรื่องต่อ ๑ กลุ่ม อ.บุญฤทธิ์ เพิ่มเติมสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ในกรณีศึกษา คือ what is informatics, patient centered acre, teamwork and collaboration, quality improvement, evidence based practice and safetyเพื่อให้นักศึกษาเกิดมุมมองในประเด็นต่างๆ

๙. อ.อิทธิพล ใช้วิธีการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ ในหัวข้อ การพยาบาลอาชีวอนามัย โดยใช้เทคนิค คือ การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to video) เช่น ให้นักศึกษาชมวีดีทัศน์ ?เหตุการณ์ก๊าซรั่ว ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง?ทั้ง ๔ กลุ่ม สะท้อนความคิดตามบทบาทสมมุติของตนเองในการแก้ไขปัญหาตามเหตุการณ์ก๊าซรั่ว การแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) เช่น นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ในฐานะพยาบาลอาชีวอนามัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพตามสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ,แรงงานในสถานประกอบการและประชาชน พร้อมยกตัวอย่างโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาระยะสั้น/ระยะยาว การเรียนรู้จากกรณีศึกษาโดยผ่านการแสดงบทบาทสมมติ (Analysis case studies) และสรุปรวบยอดแบบแผนผังความคิด เช่น ใบงานวิเคราะห์สถานการณ์ตามบทบาทสมมุติที่นักศึกษาได้รับ นักศึกษาสร้าง Mind Mapping เรื่อง ความรู้เรื่องการพยาบาลอาชีวอนามัยของชั้นเรียนโดยผ่านกระบวนการดอกไม้ความคิด ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาและสามารถมองเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งดีกว่าการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว กล่าวโดยสรุปเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน คือ CIP-3P ประกอบไปด้วย C- Construction of the new knowledge คือการสร้างความรู้ในสิ่งที่นักเรียนอยากทราบ หรือเกิดการตั้งคำถาม I- Interaction การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน p- Process of learning คือ กระบวนการเรียนรู้ และกลับมาสู่ 3P ที่ประกอบไปด้วย presentation จะเน้นจากอธิบายเสริมจากครู, practice ทำแบบฝึกหัดอย่างเข้าใจ และ production เป็นการสร้างชิ้นงานที่แสดงความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนมา

๑๐. อ.อดุลย์ ใช้ในรายวิชาการประเมินสุขภาพ(ภาคทดลอง) ปัจจัยที่ผ่านมา การสอนเรื่อง การอภิปรายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ใช้การเรียนรู้ โดยการมอบหมายไปค้นคว้า แล้วนำมานำเสนอในกลุ่มย่อย ซึ่งความรู้ส่วนใหญ่นักศึกษานำมาจากตำรา ทำให้บรรยากาศการเรียนน่าเบื่อ ทั้งผู้สอนและผู้เรียน แนวทางแก้ไขในปีที่ผ่านมาได้มอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษาจาก กรณีศึกษาจริงบนหอผู้ป่วย ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และดูผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แล้วนำผลการศึกษามาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยผลพบว่า นักศึกษามีการวิเคราะห์อภิปรายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้ข้อมูลทางทฤษฎี ข้อมูลจากการซักประวัติ และข้อมูลจากการตรวจร่างกายประกอบ ทำให้มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่น่าสนใจ นำไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้ และเป็นการทบทวนความรู้เดิมจากการสาธิตย้อนกลับในการตรวจร่างกายได้ชัดเจนขึ้น

๑๑. อ.อัญชรี การเรียนการสอนในรายวิชาทักษะชีวิต ในส่วนภาคทดลองมีกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมรายบุคคล และการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็ก รวมถึงการเรียนรู้เป็นกลุ่มใหญ่ เช่น เกม ศึกษาจากกรณีศึกษา แก้ปัญหาเป็นกลุ่ม อภิปรายกลุ่มใหญ่ ทำให้นักศึกษาสนใจ ข้อเสนอแนะคือ จำนวนคนในกลุ่มไม่ควรเกิน ๑๒ คน เพราะทำให้กระตุ้นผู้เรียนไม่ทั่วถึง

ประเด็นที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจัดการเรียนแบบ AL พบว่ามีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกตามความสมในบริบทของแต่ละบุคคล ส่วนในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้ดังนี้

๑. บทบาทของครู

- การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอนหรือศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน

- ศึกษาผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

- จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

- สร้างความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

- เตรียมความพร้อมทรัพยากร สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้

- ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน

- ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง

๒. บทบาทผู้เรียน

- ทบทวนความรู้ อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

- เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

- เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

- ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียน และอยู่กับปัจจุบัน

- ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

…………………………………………….

(นางสาวจิระภา สุมาลี)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

หน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro