รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๕๘

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววรรณวดี??????? เนียมสกุล???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. นางสาวสุดารัตน์ ????? ไชยประสิทธิ์???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย?? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. นางสาวจิราพร???????? วิศิษฎ์โกศล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕. นางสาวพัชชา ???????? สุวรรณรอด ????? พยาบาลวิชาชีพ

๖. นางสาวสุกัญญา??????? ม่วงเลี้ยง????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย?การจัดการความรู้สำหรับภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ คือ กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์ในวันที่ ? ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ ?โดย คุณชาล สร้อยสุวรรณและคุณทองแสง ไชยแก้วโดยการประชุมในวันนี้ขอให้คณาจารย์ได้มีการสรุปความรู้ร่วมกันภายหลังจากที่ได้เรียนรู้ร่วมกันและนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แผนกฝากครรภ์โดยให้นักศึกษาแสดงละครเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่แผนกฝากครรภ์

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

ผลการจัดการความรู้ของภาควิชาฯที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แผนกฝากครรภ์โดยให้นักศึกษาแสดงละครเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่แผนกฝากครรภ์ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้

๑.????? การกำหนดบทบาทในตัวละคร ได้แก่ ใบงานสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มีประวัติต่าง ๆ อย่างละเอียดชัดเจน และให้นักศึกษาได้สวมใส่ชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงทำให้นักศึกษาผู้แสดงสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและเข้าใจถึงความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงมีลักษณะรูปร่างท้อง น้ำหนักใกล้เคียงกับหญิงตั้งครรภ์จริง

๒.????? การกำหนดบทบาทในตัวละคร ได้แก่ ใบงานสำหรับนักศึกษาแสดงเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์อย่างถ่องแท้ โดยนักศึกษาได้สะท้อนความคิดเห็นว่าขณะที่แสดงเป็นพยาบาลนั้นตนเองจะต้องตั้งคำถามที่เข้าใจชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่ถามในคราวเดียวกันหลาย ๆ คำถามเพราะจะทำให้หญิงตั้งครรภ์สับสน และต้องมีความละเอียดรอบคอบในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการพยาบาลที่ครอบคลุมปัญหาหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายที่มีบริบทที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ถ้าสามารถตั้งคำถามได้รวดเร็วและครอบคลุมก็จะทำให้ใช้เวลาในการให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์แต่ละรายน้อยลง ไม่ทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายต้องนั่งนานเกินไปทำให้ไม่สุขสบาย นักศึกษาบอกว่าการได้ฝึกซักประวัติก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงมีประโยชน์เพราะทำให้รู้ว่าควรต้องถามอะไรบ้าง เพื่อนำมาลงบันทึกในบัตรอนามัยมารดา

๓.????? ?นักศึกษาพยาบาลทั้งชายและหญิงที่ได้แสดงบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่สวมชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงต่างสะท้อนความรู้สึกที่เข้าอกเข้าใจความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ รู้สึกสงสารและเห็นใจที่ต้องอุ้มท้องที่หนัก รู้สึกปวดหลัง รู้สึกไม่สบายเนื้อตัว ปวดไหล่ เดินลำบาก นั่งนาน ๆ รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ และท้องที่ใหญ่กดกระเพาะปัสสาวะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ซี่งการสวมชุดเพียง ๒๐ นาทียังรู้สึกทรมาน แต่การตั้งครรภ์ที่แท้จริงนานถึง ๒๘๐ วันคนที่เป็นแม่จะทรมานมาก ๆ ทำให้คิดถึงบุญคุณของคนเป็นแม่ เข้าใจความรู้สึกของการตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น

๔.????? จากการสังเกตการแสดงบทบาทพยาบาลซักประวัติพบว่า การให้ซักประวัติจากบัตรอนามัยมารดาทำให้นักศึกษาตั้งคำถามตามบัตรอนามัยมารดาซึ่งมีรายละเอียดบางประการโดยเฉพาะประวัติทางสูติศาสตร์ไม่ครบถ้วน จึงควรมีการพัฒนารูปแบบคำถามสำหรับการซักประวัติให้ครอบคลุมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ภายหลังได้นำการแสดงละครมาใช้ในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น คณาจารย์ในภาควิชาได้สรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี: กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ได้ดังต่อไปนี้

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การแสดงละคร แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นเตรียมการ เป็นระยะที่สำคัญเพราะการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการมีบทละคร ที่มีเนื้อหาและบทแสดงที่กำหนดไว้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นการเตรียมการจึงประกอบด้วย

๑.๑ จัดทำใบงานชี้แจงบทบาทพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และบัตรอนามัยมารดา

๑.๒ จัดทำใบงานชี้แจงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์

และข้อมูลประวัติส่วนตัวและประวัติด้านสูติศาสตร์

๑.๓ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการซักประวัติ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ ชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงขนาดน้ำหนัก ๘ กก. อายุครรภ์ประมาณ ๓๒ สัปดาห์

๑.๔ จัดทำคู่มืออาจารย์ และเฉลยแบบฝึกหัดบัตรอนามัยมารดา

๑.๕ จัดทำแบบประเมินคำถามปลายเปิดการสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาทการเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติและหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นแสดงละคร ดำเนินการดังนี้

๒.๑ ชี้แจงให้นักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ทราบวัตถุประสงค์ของการแสดงละครในครั้งนี้และแจกใบงานให้ศึกษา นาน ๑๕ นาที หากมีข้อสงสัยให้ซักถามอาจารย์นิเทศ

๒.๒ เริ่มแสดงละครในบทบาทที่กำหนดให้ นาน ๒๐ นาที

๒.๓ นักศึกษาที่แสดงเป็นพยาบาลลงบันทึกข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติในบัตรอนามัยมารดาและส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม

ขั้นที่ ๓ ขั้นสรุปและประเมินผล

๓.๑ อาจารย์ประจำกลุ่มตรวจให้คะแนนการลงบันทึกผลการตรวจครรภ์และแจ้งผลให้นักศึกษาที่แสดงเป็นพยาบาลซักประวัติทราบเพื่อการปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ เมื่อฝึกปฏิบัติจริงบนคลินิก

๓.๒ ให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาทการเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติและหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในแบบประเมินคำถามปลายเปิดการสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาท

๓.๓ อาจารย์อ่านผลการสะท้อนคิดของนักศึกษาแต่ละคน จากนั้นเข้ากลุ่มเพื่อสรุปผลการเรียนรู้จากการแสดงละครโดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดสะท้อนคิดในบทบาทที่ได้รับกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม

ข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

ภายหลังได้มีการสอนด้วยวิธีดังกล่าวนักศึกษาได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไปคือต้องการให้อาจารย์ได้จัดทำชุดคำถามที่มีการยกตัวอย่างการตั้งคำถามต่าง ๆ เช่น คำถามสำหรับการซักประวัติวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย? ประวัติการแท้ง ประวัติการคลอดบุตร เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีแนวทางในการใช้คำถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความครบถ้วนแม่นยำมากยิ่งขึ้น

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ในปีการศึกษาต่อไป เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ?????????????????.. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาว สุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ?????????????????.. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์