วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Simulation Based Learning : SBL

วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมอังศนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าประชุม

๑.      นายสืบตระกูล             ตันตลานุกูล                พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.      นางสาวสุปราณี            หมื่นยา                     พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.      นายภราดร                 ล้อธรรมมา                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.      นางสาวจิระภา             สุมาลี                       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

๕.      นายวีระยุทธ               อินพะเนา                  พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๖.      นางสาวดาราวรรณ        บุญสนธิ                    พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๗.      นางสาวสุกัญญา           ม่วงลี้ยง                    พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๘.      นายทิฐิ                     ศรีวิสัย                      พยาบาลวิชาชีพ (พกส.)

๙.      นางสายฝน                วรรณขาว                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ผู้เข้าร่วมการประชุม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ประธานการประชุม นายสืบตระกูล   ตันตลานุกูล

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

๑. สรุปสาระสำคัญจากการประชุมโครงการ Asean Laerdal simulation user network (SUN) meeting ในวันที่ 11-14 มิถุนายน 2562 มีรายละเอียดดังนี้

๑.๑ ความสำคัญและความเป็นมาของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้สถานการณ์เสมือนจริง (SBL) นั้น เนื่องจากใน ปี ค.ศ. 1920 มีการสร้างสถานการณ์เพื่อจำลองสถานการณ์ ในการฝึกฝนนักเรียนหลักสูตรการบิน และในช่วงปี ค.ศ. 1950จึงมีการนำแนวคิดนี้นำมาประยุกต์ใช้ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อใช้ในการฝึกฝนทักษะในการปฏิบัติงาน และต่อมาในปี ค.ศ. 1980 แนวคิดนี้จึงได้รับการพัฒนามากขึ้น เช่น การประดิษฐ์หุ่นคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการฝึกทักษะ การดูแลระบบทางเดินหายใจและการช่วยฟื้นคืนชีพ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ สามารถเพิ่มสมรรถนะ (self-efficacy) ทางคลินิกของนักศึกษาในการดูแลผู้ป่วยเสมือนจริงในสถานการณ์จำลองต่างๆอย่างถูกวิธีภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สามารถช่วยลดความวิตกกังวลของนักศึกษาก่อนการลงมือปฏิบัติงานจริงในหอผู้ป่วยได้

๑.๒. การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ขั้นตอนของการเตรียมการ หรือ Preparing process เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านอาจารย์ผู้สอน ผู้เรียน ทีมสนับสนุน  สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ ให้สอดคล้องในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

๑.๒.๑ ผู้สอน (Facilitator)

ผู้สอน หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในศาสตร์สาขาที่จัดการเรียนการสอน และมีทักษะการจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การสื่อสาร โดยผู้สอนจะควบคุมสถานการณ์ในการฝึกปฏิบัติ และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์จำลอง โดยผู้สอนต้องเตรียม ดังนี้

๑) ผู้สอนมีบทบาทในการพิจารณาวัตถุประสงค์การเรียน จากความต้องการจำเป็นพื้นฐาน เอกสารหลักสูตร สมรรถนะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ แล้วนำผลการวิเคราะห์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน และออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วย SBL และวางแผนจัดตารางหมุนเวียนกิจกรรมของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์

๒) ผู้สอนต้องเลือกใช้สถานการณ์จำลอง หรือสร้างสถานการณ์จำลองใหม่ให้มีความเสมือนจริงให้มากที่สุดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาการเรียนรู้ rพร้อมทั้งเขียนข้อมูลในโปรแกรมควบคุมหุ่น

๓) ผู้สอนต้องพิจารณาเลือกหรือสร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้

๔) ผู้สอนต้องเตรียมการชี้แจง/อธิบายกระบวนการดำเนินการสอนแก่ผู้เรียน บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน ได้แก่ ผู้ดำเนินสถานการณ์ในห้องเรียนสถานการณ์จำลองและผู้สังเกตการณ์ รวมถึงการบอกวัตถุประสงค์และหัวข้อการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง

๑.๒.๒ ผู้เรียน (Student)

ผู้เรียน หมายถึง ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง โดยผู้เรียนมีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาที่ศึกษา แบ่งกลุ่มปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

๑.๒.๓ ทีมสนับสนุน (facilitator assistant)

ทีมสนับสนุน หมายถึง ผู้ที่ช่วยผู้สอนในการจัดเตรียมสถานการณ์ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ในการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลอง โดยทีมนี้จะมีบทบาทในการช่วยในการจัดเตรียมและตกแต่งหุ่นจำลองให้เสมือนจริงมากที่สุด จัดสถานที่ สิ่งแวดล้อมให้เสมือนจริงมากที่สุดตามสถานการณ์ รวมถึงการช่วยผู้สอนนำข้อมูลจากสถานการณ์จำลองลงโปรแกรมควบคุมหุ่นจัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้สอดคล้องตามสถานการณ์ และมีความพร้อมใช้งาน

๑.๒.๔ การเตรียม สื่อวัสดุ/อุปกรณ์เครื่องมือ และเวชภัณฑ์

การจัดการเรียนรู้โดยสถานการณ์จำลอง จะต้องเตรียมความพร้อม ดังนี้

1). หุ่นมนุษย์จำลอง เป็นหุ่นที่มีสมรรถนะสูงที่สามารถตั้งค่าต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลองได้

2). Computer, Internet และ Monitor เป็นเครื่องมือในการควบคุมหุ่นมนุษย์จำลองให้เป็นไปตามสถานการณ์จำลองที่กำหนด และจอ Monitor สำหรับการแสดงข้อมูลของหุ่นมนุษย์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนอ่าน แปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย

3). อุปกรณ์ วัสดุและครุภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น  อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ อุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจ อุปกรณ์ดูแลการหายใจ อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง  อุปกรณ์ดูแลระบบไหลเวียนและกระตุ้นหัวใจ อุปกรณ์ห้ามเลือด อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้าย และเครื่องมือตรวจอื่น ๆ  ที่เหมาะสมกับสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น

4). วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ใช้ทำหัตถการต่างๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น Syringe เข็ม Alcohol 70 % ขวดเก็บ Specimen ชุดสวนปัสสาวะ ชุดเจาะปวด ชุด ICD ชุดล้างท้อง เป็นต้น

5). เวชภัณฑ์ ประกอบด้วย ยากิน ยาฉีด ยาพ่น ฯลฯ ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยในแต่ละโรค

6). เวชระเบียนผู้ป่วย โดยจัดชุดเวชระเบียนให้ครบถ้วนและเสมือนจริงมากที่สุด

7). อุปกรณ์ เครื่องเขียน ควรจัดหาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ปากกาสีต่าง ๆ กระดาษ

๑.๓. ขั้นตอนการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การสอนสถานการณ์จำลองเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้

1) ขั้นนำ (Pre – Brief)

เป็นขั้นตอนการเตรียมการผู้เรียนก่อนเข้าสู่สถานการณ์จำลอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียน
1.บอกวัตถุประสงค์ในหัวข้อที่เรียนรู้ 1. ศึกษาวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. ปฐมนิเทศสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย ญาติ ทีมแพทย์ หรือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. ศึกษาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนสถานการณ์จำลอง
3. แนะนำคุณสมบัติและข้อจำกัดของหุ่นจำลองเสมือนจริง สมาชิกในสถานการณ์จำลอง และทีมผู้สอน 3. ศึกษาการทำงานของหุ่น และซักถามข้อสงสัย
4.เน้นย้ำให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยการทำงานเป็นทีม และหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย โดยให้ตระหนักเสมอว่าขณะที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยผู้เรียนมีบทบาทของพยาบาลวิชาชีพการเคารพหุ่นจำลองเสมือนเป็นผู้ป่วยจริง และผู้แสดงอื่นๆในบทบาทที่กำหนด เช่น ญาติผู้ป่วย แพทย์ และเพื่อนร่วมทีม โดยให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
5. ชี้แจงให้ผู้เรียนแบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบ หมายในสถานการณ์จำลอง ข้อตกลงเบื้องต้น และการประเมินผล 5.ผู้เรียนในสถานการณ์แบ่งบทบาทหน้าที่ตามบทบาทในสถานการณ์ เช่น หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม สมาชิกทีม
6.ให้ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยกับผู้เรียน 6. ศึกษาสถานการณ์

2). ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์ (Scenario running)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 20-30 นาที ผู้เรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เรียน และผู้สังเกตการณ์ ดังนี้

ผู้สอน ผู้เรียน ผู้สังเกตการณ์
1. สังเกต และบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์ 1. ปฏิบัติตามบทบาทตามสถานการณ์จำลอง หรือกระบวนการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย 1. สังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้เรียนในสถานการณ์
2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้เรียนในสถานการณ์ต้องการตามความเหมาะสม เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การรักษาเป็นต้น 2.มีการสื่อสารด้วยวัจนภาษาหรืออวัจนภาษาและการทำงาน
ในทีม
2. สังเกต บันทึก การสื่อสารของผู้เรียนในสถานการณ์ต่อผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ ด้วยวัจนภาษาหรือ อวัจนภาษาด้วยการเคารพศักดิ์ศรีและหัวใจความเป็นมนุษย์
3.ปรับบทบาท/ข้อมูลตามสถานการณ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น 3. นำความรู้ของกระบวนการพยาบาล มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา การมีภาวะผู้นำและหัวหน้าทีม อย่างถูกต้อง เหมาะสม 3. สังเกต บันทึกกระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจของทีมสุขภาพ
4.กรณีผู้เรียนไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ผู้สอนควรหยุดการดำเนินสถานการณ์ชั่วคราว (Time out) เพื่อเข้าไปชี้แนะถึงแนวทางในการให้การพยาบาลที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นแต่ผู้เรียนยังไม่ดำเนินช่วยฟื้นคืนชีพ หรือทำไมถึงเปลี่ยนการให้ Oxygen cannula เป็น Oxygenmask หากผู้เรียนไม่สามารถบอกได้ ต้องเสริมความรู้ให้กับผู้เรียน และที่สำคัญควรไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกผิด และหากสถานการณ์นั้นมีการตามแพทย์แล้วแพทย์ไม่มา พยาบาลควรใช้คำถามที่ชี้นำหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา (Proactive) 4. ปฏิบัติทักษะหรือกิจกรรมการพยาบาล/การดูแลผู้ป่วยตามสอดคล้องกับปัญหาที่พบในสถานการณ์จำลองอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเคารพศักดิ์ศรีและคำนึงถึงหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย และทีมการพยาบาล

5. ประเมินผลการพยาบาล หรือการให้การดูแลรักษา หรือมีการรายงานทางการแพทย์อย่างเหมาะสม

4.สังเกตบันทึก พฤติกรรมทักษะปฏิบัติการพยาบาล/ดูแลช่วยเหลือตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายเช่น Incharge nurse,Leader nurse, Medication nurse เป็นต้น
5.กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ถึงอาการแสดงที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยในสถานการณ์ที่แย่ลง 6. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง 5. สะท้อนความคิดภายหลังการแสดงสถานการณ์จำลอง

3). ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Debrief)

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30-45นาที เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนสะท้อนคิด (Gibb’s Model) และตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

๑.๔. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การประเมินการเรียนรู้มีหลายวิธี เช่น โมเดลของ Steinwachs, GAS และ 5’S            เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเน้นหรือจุดเด่นที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในครั้งนั้นๆโดยให้เล่าประสบการณ์ในสถานการณ์ แสดงความรู้สึกต่อประสบการณ์ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนคิด

วาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง

๑. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ภายในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ความคิดเห็น : อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น SBL จากประเทศอังกฤษ เป็นวิทยากรด้าน SBL เป็นประธานคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล เป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL มีผลงานวิจัยและบทความวิชาการรองรับเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน               โดยใช้สถานการณ์จำลอง เช่น วิจัยเรื่อง ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๙ และบทความวิชาการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ฉบับพิเศษ ประจำเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ๒๕๖๑ ซึ่งพบว่า ๑. รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของ นักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วยหลักการ จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล  ๒. กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นหลังได้รับการสอนโดนใช้ รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา พยาบาลหลังการสอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ๓. กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นภายหลังได้รับการสอนโดยใช้ รูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา พยาบาลสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อ.สุปราณี หมื่นยา ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้น SBL จากประเทศอังกฤษ เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน

อ.ภราดร ล้อธรรมมา เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

อ.ทิฏฐิ  ศรีวิสัย เป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

อ.สายฝน  วรรณขาว เป็นคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล และเป็นอาจารย์ผู้สอนที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL

๒. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ความคิดเห็น : อ.สืบตระกูล ตันตลานุกูล พบว่า ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ พบว่า 1. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นหลังจากได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  2. นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นมากขึ้นกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

วาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา

-          ไม่มี

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

นัดประชุมครั้งต่อไป

ลงชื่อ…………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสายฝน     วรรณขาว)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลงชื่อ………………………………………….ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายสืบตระกูล ตันตลานุกูล)

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ