• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

23/08/2016

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3? ซึ่งดำเนินการโดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุล นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะต้องหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะเชิงวิชาชีพ ?มีความมั่นใจและนำทักษะการดูแลมารดาและทารกในรยะคลอดไปใช้อย่างเต็มภาคภูมิ รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เรียนรู้และฝึกทักษะ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องเปลี่ยนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนจะต้องเป็นทั้งนักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการที่จะบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ความเข้าใจต่อประสบการณ์ของผู้เรียนในการทำคลอดซึ่งเป็นทักษะที่ยากสำหรับนักศึกษาผู้ฝึกปฏิบัติเพราะต้องรับผิดชอบชีวิตทั้งมารดาและทารกจะสามารถสร้างนำมาเป็นข้อมูลในการสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีความสุข ผ่อนคลายความตึงเครียด ?เกิดการกระตุ้นวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ?ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

การทำคลอดครั้งแรกเป็นทักษะที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความชำนาญและเป็นเหตุการณ์ที่จะสร้างความรู้สึกได้ทั้งในแง่บวกและลบแก่นักศึกษาพยาบาล หากนักศึกษาพยาบาลผ่านกระบวนการทำคลอดไปอย่างราบรื่นก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง แต่หากประสบกับเหตุการณ์ทางลบเช่น ขณะช่วยทำคลอดทารกมีภาวะขาดออกซิเจน มารดาต้องได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉิน ก็จะทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกได้และส่งผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเองตลอดจนทัศนคติต่อวิชาชีพ การศึกษาประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สาม จะสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและผลิตบัณฑิตพยาบาลที่สามารถทำงานด้านอนามัยแม่และเด็กได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

สำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) ?มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อทำความเข้าใจต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกในขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 16 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการเรียน 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม? 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 98 คน โดยคัดเลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน 26 คนแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ นักศึกษาตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวน 13 กลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน โดยในแต่ละกลุ่มคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม 1 คน และสมาชิก 1 คน ผู้ให้ข้อมูลเต็มใจที่จะเข้าร่วมการวิจัยทุกคน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) บันทึกความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรก โดยให้นักศึกษาได้เขียนบอกเล่าความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรกด้วยความจริงใจ เช่น การเตรียมความพร้อมของตนเอง ความรู้สึกต่าง ๆ ความต้องการการได้รับการนิเทศกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งการบันทึกให้เขียนทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการทำคลอดครั้งแรก 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่มีแนวคำถามสำหรับการทำอภิปรายกลุ่มจำนวน 6 ข้อ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มที่เก็บข้อมูลจำนวน 5 คน เพื่อทดลองใช้คำถามกับนักศึกษาและนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อทำให้ได้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้นักศึกษาพยาบาลมีประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกแบ่งเป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้สึกหลากหลายต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรก 2) สิ่งที่คาดหวังในการทำคลอดอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป และ 3) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำคลอดครั้งแรก

ประสบการณ์ของนักศึกษาในการทำคลอดครั้งแรกมีหลากหลายตั้งแต่ก่อนการทำคลอดซึ่งเป็นความรู้สึกด้านลบได้แก่ ความรู้สึกเครียด วิตกกังวล กลัว ตื่นเต้น ประหม่า งุนงง ลนลาน สับสน ตกใจ ทำอะไรไม่ค่อยถูกลืมทุกอย่างแม้ว่าจะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่การได้เตรียมตัวทำคลอดกับหุ่นจำลองช่วงก่อนฝึกจริงหนึ่งสัปดาห์ หรือการได้เข้าช่วยทำคลอดกับพยาบาลวิชาชีพหรือแพทย์ ทำให้อาการดังกล่าวลดลง

การทำคลอดครั้งแรกทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ว่าสิ่งที่ตนเองคาดหวังในการทำคลอดนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป โดยนักศึกษาได้บอกเล่าสิ่งที่คาดหวังออกเป็น 3 ประการได้แก่ ด้านตนเอง ด้านมารดา และด้านอาจารย์นิเทศ (ทั้งนี้อาจารย์นิเทศในที่นี้จะหมายถึงอาจารย์นิเทศจากวิทยาลัย และ/หรืออาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก)

การทำคลอดครั้งแรกทำให้เกิดประสบการณ์ที่ทำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นหลายประการ โดยความสำเร็จในการทำคลอดครั้งแรกประกอบไปด้วยความสำเร็จจากตนเอง มารดา และอาจารย์นิเทศ สำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากตนเอง เพื่อน และการสนทนาในขณะคลอด

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวคิดสำหรับการพัฒนาอาจารย์นิเทศจากวิทยาลัยและอาจารย์พยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึกในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติร่วมกันโดยมีจุดมุ่งเน้นการจัดประสบการณ์ที่ประทับใจแก่นักศึกษาพยาบาลเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล และการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่น ห้องปฏิบัติการพยาบาลที่ทันสมัย ประกอบด้วยหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลทำคลอด หนังสือตำราเกี่ยวกับการพยาบาลสูติศาสตร์ วารสารงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนฐานข้อมูลสำหรับการสืบค้นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เป็นแหล่งความรู้และฝึกฝนทักษะจนชำนาญก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ

******************************************************

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑? ซึ่งดำเนินการโดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุลและคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะต้องหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความมั่นใจและนำทฤษฎีการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ไปใช้อย่างเต็มภาคภูมิ รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เรียนรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องเปลี่ยนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนจะต้องเป็นทั้งนักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการที่จะบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น วิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งได้แก่ วิธีการเรียนรู้แบบ VARK โดยผู้สอนจะมีบทบาทเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง คือส่งผลให้มีพื้นฐานการคิดดี ภูมิแน่น เรียนรู้อย่างมีความสุขอันเป็นปิติสุขในความสำเร็จของการเรียนรู้ มีผลการศึกษาที่รายงานถึงประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนแบบ VARK ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและสามารถสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน เกิดการกระตุ้นวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ?ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ VARK มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน? จึงเป็นเสมือนหนึ่งแนวทางให้ผู้สอนได้นำมาออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับศตวรรษที่ 21 โดยวิธีการสอนแบบ VARK เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)

VARK Learning style หรือรูปแบบการเรียนแบบ VARK เป็น sensory Model ที่ประกอบด้วย V หรือ Visual เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้? A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย? R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ และ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง

รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป ผู้เรียนแต่ละคนจะชอบวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในการรับข้อมูลหรือความรู้ใหม่ ๆ เรียกว่า VARK learning preference อาทิเช่น บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการดู บางคนจากการฟัง บางคนจากการอ่านหรือเขียน หรือบางคนเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ? ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals

สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ตอนที่ 2 ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1

ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ จำนวน 16 สัปดาห์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 124 คน โดยคัดเลือกนักศึกษาทุกคนเป็นผู้ให้ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทบทวนเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้อง แนวคิดความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้แบบ VARK ร่างข้อคำถามให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การวิจัยและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านเนื้อหา (Content validity) โดยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะในรายละเอียดและ/หรือรายข้อที่ยังไม่ชัดเจน จากนั้นนำแบบสอบถามความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์ไปทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เคยฝึกทักษะที่แผนกฝากครรภ์มาก่อนจำนวน 30 คน นำแบบสอบถามที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.87 การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามความคิดเห็นแก่นักศึกษาภายหลังสิ้นสุดการฝึกที่แผนกฝากครรภ์แล้วนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ในการตอบแบบสอบถามที่ครบถ้วน จากนั้นนำผลมาประเมินวิเคราะห์ทางสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics)

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแผนกฝากครรภ์ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ครอบคลุม VARK learning style มีทั้งหมด 26 กิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมด้านการดู (visual) 4 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 15.39 การฟัง (Aural) 5 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 19.23 การอ่าน/การเขียน 7 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 26.92 และการลงมือปฏิบัติ (kinesthetic) 10 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 38.46 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเน้นการลงมือปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การอ่านและการเขียน การฟัง และการดู ตามลำดับ รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบผสมผสานหรือMultimodal learning preference เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสของนักศึกษาอย่างครบถ้วน

สื่อการเรียนการสอน ได้แก่ ใบงานแสดงบทบาทสมมติหญิงตั้งครรภ์ และ พยาบาลวิชาชีพ บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องในระยะตั้งครรภ์ จำนวน 1 เรื่อง แบบฝึกหัดการคิดอายุครรภ์ การคาดคะเนกำหนดวันคลอด การคัดกรองภาวะเสี่ยง การเขียนบันทึกรายงานในบัตรอนามัยมารดา การอ่านผลการตรวจครรภ์ บทความภาษาอังกฤษการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาส แบบฝึกหัดการอ่านตำราภาษาอังกฤษเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาสและแผนการสอนในคลินิก 2 เรื่อง ได้แก่ แนวทางการคัดกรองภาวะธาลัส? ซีเมียและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ และ มาตรฐานการดูแลในระยะตั้งครรภ์ตามองค์การอนามัยโลก

นักศึกษามีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแผนกฝากครรภ์ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ครอบคลุม VARK learning style โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (mean= 4.53, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นด้านการลงมือปฏิบัติและด้านการดูมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (mean= 4.61, S.D.= 0.54, mean= 4.58, S.D.= 0.55 ตามลำดับ)? ?โดยด้านการอ่าน/การเขียนและการฟังมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean= 4.50, S.D.= 0.59, mean= 4.36, S.D.= 0.63 ตามลำดับ) โดยด้านการฟังมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก (mean= 4.36, S.D.= 0.63)

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ จะพบว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ VARK ทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกกับบทเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้เมื่อฝึกภาคปฏิบัติและมีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ดี คณาจารย์สามารถนำข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยดังกล่าวมาออกแบบการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งการอ่าน ฟัง ดูและลงมือทำเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจต่อบทเรียนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาลสามารถที่จะนำผลการสังเคราะห์งานวิจัยนี้ไปออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการผู้เรียนที่เรียนรู้และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นคุณสมบัติของบัณฑิตต่อไป

*********************************************

19/08/2016

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก

และการผดุงครรภ์ 1

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุลและคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 โดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุลและคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงความรู้ความสามารถของคนสมัยก่อนที่ถ่ายทอดคุณค่าของความเป็นไทยสู่ลูกหลานทั้งด้านประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมอันดีงามที่เกิดคุณค่าต่อชีวิตและสุขภาพ การให้นักศึกษาพยาบาลได้ค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของมารดาและทารกตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด จะทำให้นักศึกษาได้ตระหนักและซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและสามารถผสมผสานให้การดูแลแก่ผู้มารับบริการได้อย่างลงตัวเหมาะสมตลอดจนเกิดความภูมิใจในตนเองที่สามารถให้การดูแลผู้มารับบริการที่คำนึงถึงกายจิตสังคมอย่างครบถ้วนภายใต้ความสอดคล้องกับบริบทไทยที่มีความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน

การศึกษามุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธิการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 นับว่าเป็นประโยชน์เนื่องจากกลุ่มนักศึกษาพยาบาลกลุ่มนี้เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สามที่จะต้องได้รับการพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพ ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การวางแผน การค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การตัดสินใจ การคิดเชิงวิเคราะห์ การสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้แบบโครงการจะเป็นการช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจต่อมุมมองและประสบการณ์ต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในการบริการวิชาการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ ๓ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ คัดเลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๒ คนแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ นักศึกษาตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวน ๗ กลุ่ม ๆ ละ ๑ คน โดยในแต่ละกลุ่มคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้าโครงการ ๑ คน และสมาชิก ๑ คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview guide) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ที่มีแนวคำถามสำหรับการทำอภิปรายกลุ่มจำนวน ๖ ข้อ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓ ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการทำอภิปรายกลุ่ม (focus group) กับนักศึกษาพยาบาลผู้ให้ข้อมูลโดยใช้แนวคำถามที่เตรียมไว้ การทำอภิปรายกลุ่มทำการบันทึกเทปและถอดเทปคำต่อคำ จัดทำเป็นบทสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นเนื้อหา (Thematic analysis)

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้

นักศึกษาได้จัดทำโครงการและดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ โครงการ ได้แก่ น้ำสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือนบำรุงครรภ์ สร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะประกอบเพลงพื้นเมือง ยำผักกูดเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ นวดเท้าคลายเจ็บครรภ์ด้วยกลิ่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดนวดบรรเทาปวดมารดาระยะคลอด ลูกกลิ้งบรรเทาปวดถุงนวดสมุนไพร เมี่ยงคำสมุนไพรบำรุงร่างกายคุณแม่หลังคลอด ลูกประคบสมุนไพรกระตุ้นการไหลของน้ำนม หญิงหลังคลอดน้ำนมดีด้วยหัวปลีลุยสวนและลูกประคบสมุนไพรคลายปวดหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอด โดยโครงการทั้งหมดครอบคลุมมิติทางการพยาบาลทั้งสี่ด้านตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ อาทิเช่น โครงการยำผักกูดเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ให้มีภาวะโภชนาการที่ดี และป้องกันโรคโลหิตจาง ทำให้สุขภาพทั้งมารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง? โครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะประกอบเพลงพื้นเมือง ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั้งขณะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด เป็นต้น

จากการอภิปรายกลุ่ม (focus group) นักศึกษาที่ผ่านประสบการณ์ในการบริการวิชาการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ การศึกษาโครงการ พบว่านักศึกษามีมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริการวิชาการที่บูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการ แบ่งได้เป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) ๓ ประการได้แก่ ๑) ความรู้สึกที่มีต่อวิธีเรียนรู้แบบโครงการ ๒) ?สมรรถนะหลากหลายที่ได้จากโครงการ และ? ๓) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโครงการ

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ จะพบว่าการเรียนการสอนที่มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำโครงการที่ผสมผสานวิถีไทย ภูมิปัญญาไทยเข้ากับรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม ออกแบบ เขียนโครงการด้วยความร่วมมือของกลุ่ม ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามรายวิชาทั้ง ๖ ประการได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ? ดังจะเห็นได้จากผลวิจัยที่พบว่านักศึกษามีความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับผิดชอบในกลุ่ม เช่น การเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเอื้ออาทร ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้จากค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยี และสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างมั่นใจ มีการบริหารงบประมาณ และสร้างสัมพันธภาพกับผู้มารับบริการจนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อนักศึกษามีความรู้ และได้ฝึกทักษะการถ่ายทอดความรู้ผ่านการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น การได้ฝึกทักษะการถ่ายทอดความรู้ที่ผสมผสานภูมิปัญญาไทยแก่สตรีที่มารับบริการที่แผนกสูติกรรม โดยออกแบบกิจกรรมในแต่ละซุ้มอย่างสอดคล้องกับวิถีไทย ทำให้นักศึกษาเกิดสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่จะเข้าใจถึงความหลากหลายของสตรีที่มารับบริการแม้จะอาศัยอยู่ในจังหวัดเดียวกัน?? เมื่อขึ้นไปฝึกปฏิบัติบนตึกผู้ป่วยทำให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างมั่นใจและเหมาะสมกับผู้มารับบริการที่มีความต่างทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

คุณประโยชน์ที่ได้จากการศึกษามุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาในการบริการวิชาการที่บูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรมีการวางแผนด้านงบประมาณเพื่อให้การจัดทำโครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสามารถดำเนินไปด้วยดี ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมผลการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาลให้ครบถ้วนตามหลักสูตรหรือรายวิชา

26/07/2016

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2559

ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

**************************************************

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางผ่องศรี พุทธรักษ์???????????? ?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

6. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

7. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ?????????????????????? ??? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 13.30 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าวและมีการติดตามการนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปใช้เพื่อนำมาปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดีให้มีความครอบคลุมต่อไป

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าวเมื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีที่ปรับปรุงเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมและพบว่าการกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัติการแท้งและผ่าตัดคลอดและนำไปใช้ในการสอนในช่วง Preclinic แผนกฝากครรภ์ก่อนฝึกปฏิบัติจริง พบว่านักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพสามารถซักประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตได้หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามในขั้นตอนที่ 3 คือขั้นสรุปและประเมินผล ช่วงของการสะท้อนคิดภายหลังจากแสดงละครโดยการให้นักศึกษาเขียนบรรยายความรู้สึกที่มีต่อการแสดงละครบทบาทสมมติยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถประเมินการเรียนรู้จากการแสดงละครว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่โดยในขั้นตอนที่ 3 ควรมีการกำหนดรูปแบบการสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อเดียวกันให้เป็นกรอบรูปแบบเดียวกันเป็นแบบฟอร์มให้แก่นักศึกษา กล่าวคือผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ชื่นชมตนเองอย่างไรบ้างและควรเติมเต็มในเรื่องใด นักศึกษาผู้สังเกตการณ์ชื่นชมผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพ (RN) และ ผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ (Preg.) ในประเด็นใด และควรเติมเต็มในเรื่องใดบ้างดังแบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละครที่กำหนดให้ดังนี้

แบบฟอร์มสะท้อนคิดจากการชมละคร

คำชี้แจง: ภายหลังชมละครบทบาทสมมติเสร็จสิ้นให้นศ. เขียนสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ว่ารู้สึกชื่นชมหรือต้องการเติมเต็มในประเด็นใดแก่ผู้แสดงบทบาทที่ได้รับลงในช่องว่างที่กำหนดให้ ทั้งนี้ให้ประเมินตามบทบาทที่ได้รับของตนเอง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ (RN), หญิงตั้งครรภ์ (Preg.) หรือผู้สังเกตการณ์ (observer)

ข้าพเจ้า นางสาว/นาย……………………………………….รับผิดชอบแสดงบทบาทเป็น…………………………………ขอสะท้อนคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อการชมละครบทบาทสมมติดังต่อไปนี้

ชื่นชม เติมเต็ม

RN??????????????????????????????????????????????????????????? RN

Preg.???????????????????????????????????????????????????????? Preg

นอกจากนี้ควรมีการติดตามและประเมินผลจากการฝึก Pre-Clinic ANC สู่การนำไปฝึกปฏิบัติจริงที่ Word มากน้อยเพียงใดโดยการจัดทำแบบสอบถามหลังการฝึกภาคปฏิบัติในแผนกฝากครรภ์ และในการจัดทำแผนนิเทศครั้งต่อไปควรเพิ่มเติมการแสดงบทบาทสมมุติการออกกำลังกายตามไตรมาสของหญิงตั้งครรภ์โดยให้สวมชุดจำลองการตั้งครรภ์ และร่วมกันพิจารณาว่าท่าการออกกำลังกายท่าใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้และสามารถนำไปให้คำแนะนำด้านการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามไตรมาสต่อไป

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 15.30 น.

ลงชื่อ???..????????…………………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???…………………………….?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

02/03/2016

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ?ณ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล????????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ??????? ????????? ประธาน

2. นางสาว สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์?????? ??พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

3. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

4.นางภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

5. นางสาวพัชชา สุวรรณรอด?? ????????? ?พยาบาลวิชาชีพ

6. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง???????????? ??พยาบาลวิชาชีพ???????????????????????? ? ????????? เลขานุการ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100

เปิดการประชุมเวลา 14.00 น.

ประธานการประชุม นางสาววรรณวดี เนียมสกุล????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว

2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น ภาควิชาการ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

1. การจัดการความรู้ของภาควิชา

ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่โดยการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเป็นพยาบาลวิชาชีพในแผนกฝากครรภ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้

1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย ??3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นแสดงละคร และ 3)? ขั้นสรุปและประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอนแบบ Didactic ที่ใช้ละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติที่ดี: การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน [สรุปแนวปฏิบัติที่ดีวันที่ 8 กันยายน 2558)

1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการแสดงบทบาทสมมติคือการมีใบงานที่ชัดเจนที่ชี้แจงบทบาทของผู้แสดงเป็นพยาบาลวิชาชีพและผู้แสดงเป็นหญิงตั้งครรภ์ การมีคู่มืออาจารย์ประกอบการดำเนินการ การเตรียมชุดคำถามสำหรับการซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่อย่างครอบคลุมอย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้แสดงได้แสดงบทบาทสมมติได้อย่างสมจริง คือ การกำหนดประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตให้มีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อให้นักศึกษาผู้แสดงบทบาทเป็นพยาบาลวิชาชีพได้ฝึกทักษะการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแท้งหรือการผ่าตัดคลอดอย่างละเอียด ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตจนได้ประวัตการแท้งและผ่าตัดคลอดที่ละเอียดดังนี้

ประวัติการแท้ง

ครรภ์ที่ 1 อายุครรภ์ 1 เดือนแท้งเอง เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ได้รับการขูดมดลูกที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังแท้งไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุมกำเนิดโดยการฉีดยาคุมกำเนิด

ประวัติการผ่าดัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ครบกำหนด คลอดโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าขวาง เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2558 ที่รพ.อุตรดิตถ์ หลังผ่าตัดไม่มีอาการตกเลือดหรือติดเชื้อ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองอยู่ในตู้อบ 3 วัน ปัจจุบันสุขภาพแข็งแรงดี ได้รับนมมารดานาน 6 เดือน คุมกำเนิดด้วยวิธีการฉีดยาคุมกำเนิด

มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ สำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 ต่อไป

ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.

ลงชื่อ???..สุกัญญา ม่วงเลี้ยง????????..ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ???วรรณวดี เนียมสกุล?????.ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

14/09/2015

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๕๘ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.

รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๕๘

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางสาววรรณวดี??????? เนียมสกุล???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. นางสาวสุดารัตน์ ????? ไชยประสิทธิ์???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย?? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. นางสาวจิราพร???????? วิศิษฎ์โกศล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕. นางสาวพัชชา ???????? สุวรรณรอด ????? พยาบาลวิชาชีพ

๖. นางสาวสุกัญญา??????? ม่วงเลี้ยง????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย?การจัดการความรู้สำหรับภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ คือ กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งภาควิชาได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมอาจารย์ในวันที่ ? ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ ?โดย คุณชาล สร้อยสุวรรณและคุณทองแสง ไชยแก้วโดยการประชุมในวันนี้ขอให้คณาจารย์ได้มีการสรุปความรู้ร่วมกันภายหลังจากที่ได้เรียนรู้ร่วมกันและนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แผนกฝากครรภ์โดยให้นักศึกษาแสดงละครเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่แผนกฝากครรภ์

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

ผลการจัดการความรู้ของภาควิชาฯที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แผนกฝากครรภ์โดยให้นักศึกษาแสดงละครเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่แผนกฝากครรภ์ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้

๑.????? การกำหนดบทบาทในตัวละคร ได้แก่ ใบงานสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มีประวัติต่าง ๆ อย่างละเอียดชัดเจน และให้นักศึกษาได้สวมใส่ชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงทำให้นักศึกษาผู้แสดงสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและเข้าใจถึงความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงมีลักษณะรูปร่างท้อง น้ำหนักใกล้เคียงกับหญิงตั้งครรภ์จริง

๒.????? การกำหนดบทบาทในตัวละคร ได้แก่ ใบงานสำหรับนักศึกษาแสดงเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในบทบาทของพยาบาลผดุงครรภ์อย่างถ่องแท้ โดยนักศึกษาได้สะท้อนความคิดเห็นว่าขณะที่แสดงเป็นพยาบาลนั้นตนเองจะต้องตั้งคำถามที่เข้าใจชัดเจน ตรงไปตรงมา ไม่ถามในคราวเดียวกันหลาย ๆ คำถามเพราะจะทำให้หญิงตั้งครรภ์สับสน และต้องมีความละเอียดรอบคอบในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการพยาบาลที่ครอบคลุมปัญหาหญิงตั้งครรภ์แต่ละรายที่มีบริบทที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ถ้าสามารถตั้งคำถามได้รวดเร็วและครอบคลุมก็จะทำให้ใช้เวลาในการให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์แต่ละรายน้อยลง ไม่ทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีครรภ์โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้ายต้องนั่งนานเกินไปทำให้ไม่สุขสบาย นักศึกษาบอกว่าการได้ฝึกซักประวัติก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงมีประโยชน์เพราะทำให้รู้ว่าควรต้องถามอะไรบ้าง เพื่อนำมาลงบันทึกในบัตรอนามัยมารดา

๓.????? ?นักศึกษาพยาบาลทั้งชายและหญิงที่ได้แสดงบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่สวมชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงต่างสะท้อนความรู้สึกที่เข้าอกเข้าใจความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ รู้สึกสงสารและเห็นใจที่ต้องอุ้มท้องที่หนัก รู้สึกปวดหลัง รู้สึกไม่สบายเนื้อตัว ปวดไหล่ เดินลำบาก นั่งนาน ๆ รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ และท้องที่ใหญ่กดกระเพาะปัสสาวะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ซี่งการสวมชุดเพียง ๒๐ นาทียังรู้สึกทรมาน แต่การตั้งครรภ์ที่แท้จริงนานถึง ๒๘๐ วันคนที่เป็นแม่จะทรมานมาก ๆ ทำให้คิดถึงบุญคุณของคนเป็นแม่ เข้าใจความรู้สึกของการตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น

๔.????? จากการสังเกตการแสดงบทบาทพยาบาลซักประวัติพบว่า การให้ซักประวัติจากบัตรอนามัยมารดาทำให้นักศึกษาตั้งคำถามตามบัตรอนามัยมารดาซึ่งมีรายละเอียดบางประการโดยเฉพาะประวัติทางสูติศาสตร์ไม่ครบถ้วน จึงควรมีการพัฒนารูปแบบคำถามสำหรับการซักประวัติให้ครอบคลุมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ภายหลังได้นำการแสดงละครมาใช้ในรายวิชาดังกล่าวข้างต้น คณาจารย์ในภาควิชาได้สรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดี: กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละครเป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ได้ดังต่อไปนี้

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การแสดงละคร แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นเตรียมการ เป็นระยะที่สำคัญเพราะการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการมีบทละคร ที่มีเนื้อหาและบทแสดงที่กำหนดไว้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้นการเตรียมการจึงประกอบด้วย

๑.๑ จัดทำใบงานชี้แจงบทบาทพยาบาลแผนกซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และบัตรอนามัยมารดา

๑.๒ จัดทำใบงานชี้แจงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์

และข้อมูลประวัติส่วนตัวและประวัติด้านสูติศาสตร์

๑.๓ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการซักประวัติ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ ชุดตั้งครรภ์จำลองเสมือนจริงขนาดน้ำหนัก ๘ กก. อายุครรภ์ประมาณ ๓๒ สัปดาห์

๑.๔ จัดทำคู่มืออาจารย์ และเฉลยแบบฝึกหัดบัตรอนามัยมารดา

๑.๕ จัดทำแบบประเมินคำถามปลายเปิดการสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาทการเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติและหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นแสดงละคร ดำเนินการดังนี้

๒.๑ ชี้แจงให้นักศึกษาผู้แสดงเป็นพยาบาลและหญิงตั้งครรภ์ทราบวัตถุประสงค์ของการแสดงละครในครั้งนี้และแจกใบงานให้ศึกษา นาน ๑๕ นาที หากมีข้อสงสัยให้ซักถามอาจารย์นิเทศ

๒.๒ เริ่มแสดงละครในบทบาทที่กำหนดให้ นาน ๒๐ นาที

๒.๓ นักศึกษาที่แสดงเป็นพยาบาลลงบันทึกข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติในบัตรอนามัยมารดาและส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม

ขั้นที่ ๓ ขั้นสรุปและประเมินผล

๓.๑ อาจารย์ประจำกลุ่มตรวจให้คะแนนการลงบันทึกผลการตรวจครรภ์และแจ้งผลให้นักศึกษาที่แสดงเป็นพยาบาลซักประวัติทราบเพื่อการปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ เมื่อฝึกปฏิบัติจริงบนคลินิก

๓.๒ ให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาทการเป็นพยาบาลแผนกซักประวัติและหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในแบบประเมินคำถามปลายเปิดการสะท้อนคิดความรู้สึกในการแสดงบทบาท

๓.๓ อาจารย์อ่านผลการสะท้อนคิดของนักศึกษาแต่ละคน จากนั้นเข้ากลุ่มเพื่อสรุปผลการเรียนรู้จากการแสดงละครโดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดสะท้อนคิดในบทบาทที่ได้รับกับเพื่อน ๆ ในกลุ่ม

ข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

ภายหลังได้มีการสอนด้วยวิธีดังกล่าวนักศึกษาได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไปคือต้องการให้อาจารย์ได้จัดทำชุดคำถามที่มีการยกตัวอย่างการตั้งคำถามต่าง ๆ เช่น คำถามสำหรับการซักประวัติวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย? ประวัติการแท้ง ประวัติการคลอดบุตร เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีแนวทางในการใช้คำถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความครบถ้วนแม่นยำมากยิ่งขึ้น

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ในปีการศึกษาต่อไป เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ?????????????????.. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาว สุกัญญา ม่วงเลี้ยง)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ?????????????????.. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นางสาววรรณวดี เนียมสกุล)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

04/02/2015

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Didactic Method ที่ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมการเรียนในภาคปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยาย การจัดการความรู้การเรียนการสอนแบบ Didactic Method เรื่องเทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงละคร บรรยายโดย คุณชาล สร้อยสุวรรณ และคุณทองแสง ไชยแก้ว จากสำนักกิจกรรมกิ่งก้านใบ ในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบละคร (Drama) ได้ดังนี้

คำนิยาม

เทคนิคการสอนโดยใช้การแสดงคือกระบวนการที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมาและสามารถทำให้ผู้แสดงและผู้ชมเกิดความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้นานทั้งนี้การสอนโดยใช้ละครมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ ละครเป็นงานสัญลักษณ์ที่เน้นการตีความจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก ได้สัมผัส และได้ลงมือแสดง ???? หรืออาจอนุมานได้ว่า การสอนโดยใช้การแสดงนั้นมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนแบบPBL (Problem-based Learning)?ซึ่งการเรียนในลักษณะนี้จะเป็นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะของการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ อันจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาเป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพเรื่องราวที่ชัดเจนและสามารถจดจำเรื่องราวได้นาน

2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และฝึกทักษะต่าง ๆ

องค์ประกอบสำคัญ

องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของเทคนิคการสอนคือ

1. มีผู้สอนและผู้เรียน

2. มีบทละคร คือเรื่องที่มีเนื้อหาและบทพูดกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ต้นจนจบ

3. มีการแสดงตามบทบาทที่กำหนด หรือการชมและสังเกตการแสดง

4. มีการอภิปรายเรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาการของผู้รับบทบาทต่างๆ

5. มีการสรุปการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้จากการแดงและชมการแสดง

6. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. การละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีกิจกรรมดังนี้ คือ

1.1?? ให้ผู้เข้าร่วมการฟังบรรยายยืนเป็นรูปทรงเลขาคณิตต่างๆ เช่น วงกลม, สี่เหลี่ยม, สามเหลี่ยม

1.2?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกมาแนะนำตัวพร้อมท่าทางประกอบ

1.3?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินตามคำสั่ง เช่น เดินเร็ว, เดินช้า, เดินปานกลาง,

1.4?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเลียนแบบลักษณะท่าทางการเดินของบุคคลอาชีพต่างๆ เช่น ทหาร, ครู, ชาวนา ฯลฯ

1.5?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกข่าวตามอารมณ์ เช่น โกรธ, ดีใจ, เสียใจ

1.6?? ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกสมาธิโดยการจับคู่จ้องตา และเล่นเกมส่องกระจกโดยให้จับคู่กัน คนหนึ่งเป็นกระจก อีกคนหนึ่งเป็นคนส่องโดยที่ทั้งคู่ต้องทำท่าทางเหมือนกัน

  1. ให้ผู้เข้าร่วมเขียนความต้องการของตนเองลงในกระดาษ จากนั้นให้จับคู่กันแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับความต้องการของตนเองคู่ละ 1 นาที เพื่อนำเข้าสู่ทักษะกระบวนการของการสอนโดยใช้ละคร
  2. สรุป เทคนิคการสร้างละคร ได้แก่ การกำหนดโครงเรื่อง และ แก่นเรื่อง (Theme)
  3. พูดคุยซักถามข้อสงสัยระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์

สรุปความรู้ที่ได้รับ

ทักษะการทำละครแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

1.? ทักษะภายในได้แก่ สมาธิ? จินตนาการ และความเชื่อ

2.? ทักษะภายนอก? ได้แก่

-? ร่างกายคือ? กิริยาท่าทางที่แสดงออก

-? เสียงคือ? การเปล่งเสียง, การใช้ภาษาในการสื่อสาร

โครงเรื่อง

เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น

แก่นเรื่อง(Theme)

คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลักของเรื่องที่จะนำเสนอ? ซึ่งแก่นเรื่องจะเป็นส่วนสำคัญมากในการแสดงละคร

การเขียนบทละคร

การเขียนบทนั้นให้แบ่งเป็นภาพ (ดังแสดงในภาพที่ 1)? ดังต่อไปนี้คือ

ภาพที่ 1? จุดเริ่มต้น (Start) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง

ภาพที่ 2? การพัฒนาเรื่อง (Story) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น

ภาพที่ 3? จุดสิ้นสุด (Stop) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง) ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ

หมายเหตุ ทั้งนี้ในการเขียนบทละครนั้น อาจมีมากกว่า 3 ภาพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพที่? 4 (ต้องทำอย่างไร)? ภาพที่ 5 (ภาพฝัน)

ภาพที่1 แสดงวิธีการสร้างโครงเรื่องละคร

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร

ข้อดี

1.? เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่เรียนมีชีวิตขึ้นมา ทำให้การเรียนรู้มีความเป็นจริง และมีความหมายสำหรับผู้เรียน

2.? เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง

3.? เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะการพูด การเขียน การแสดงออก การจัดการ การแสวงหาข้อมูลความรู้ และการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นต้น

ข้อจำกัด

1.? เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก ต้องมีการจัดเตรียมบทละคร และการแสดงที่ยุ่งยาก

2.? เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ประกอบการแสดง ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

3.? เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมาใช้ในการเขียนบท หากผู้สอนไม่มีข้อมูลเพียงพอ หรือไม่สามารถแสวงหาข้อมูลที่ต้องการได้ จะทำให้เรื่องราวหรือการแสดงไม่สมบูรณ์

การวัดผลประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้

วัดผลสะท้อนจากการเขียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และทัศนคติ ฯลฯ

การนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล

เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการแสดง มุ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่แสดง โดยที่การแสดงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้เห็นเป็นภาพและการกระทำจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้อย่างดีและจดจำได้นาน ดังนั้นละครที่แสดงออกมา จึงควรสะท้อนเรื่องราวความเป็นจริงนั้นให้เห็นชัดและอย่างสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามการสร้างสรรค์นั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความเป็นจริง

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำแบบฟอร์มคำชี้แจงนักศึกษาที่แสดงบทบาทเป็นหญิงตั้งครรภ์รายใหม่? แบบฟอร์มคำชี้แจงนักศึกษาที่แสดงบทบาทเป็นพยาบาลผู้ซักประวัติ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และบัตรอนามัยมารดา เพื่อมอบให้นักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์

๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคปฏิบัติ

วางแผนการดำเนินการสอนแบบละครในวันแรกของการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ ณ แผนกฝากครรภ์ โดยแจกบทบาทให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงทั้งบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์ และบทบาทการเป็นพยาบาลผู้ซักประวัติ ชุดตั้งครรภ์เสมือนจริง บัตรอนามัยมารดา ภายหลังสิ้นสุดการแสดงในแต่ละบทบาทอาจารย์ตรวจการลงบันทึกข้อมูลในบัตรอนามัยมารดา และตั้งคำถามสะท้อนคิดกับนักศึกษาในการแสดงแต่ละบทบาท

ขั้นสรุปและประเมินผล

การประเมินผลการแสดงบทบาทจากการสะท้อนคิดความรู้สึกที่ได้แสดงบทบาทการเป็นหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลผู้ซักประวัติ ความถูกต้องในการลงบันทึกข้อมูลในบัตรอนามัยมารดา

ประมวลภาพการทำกิจกรรม

คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ผู้ถอดบทเรียน

๓๐ มกราคม ๕๘

08/09/2014

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาทฤษฎีที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่การพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนรู้แบบโครงการที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) เพื่อนำมาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning โดยศึกษาจากเอกสารรายงานการวิจัยของสุนันทา สุวรรณศิลป์และการสรุปบรรยายของ อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) ได้ดังนี้

การเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดหัวข้อโครงการด้วยตนเอง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์วิจารณ์ และบูรณาการองค์ความรู้ภายในขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางสติปัญญา การพัฒนาการทางสุนทรียศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ การได้ฝึกเขียน เรียบเรียงความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบนำตนเองเกิดขึ้น สามารถคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยมีขั้นตอนทั้งหมด ๖ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑) การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องการดำเนินงานตามขั้นตอน โดยผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า จะศึกษาอะไร ทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว จากนั้นผู้เรียนต้องไปศึกษาค้นคว้า ทบทวนซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรจึงจะได้หัวข้อจัดทำโครงการ

๒) การศึกษาเอกสารทบทวนวรรณกรรมตลอดจนพบผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้อง ปราชญ์ในเรื่องนั้น ๆ ?เพื่อให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงเรื่องที่จะศึกษา อาทิเช่น สิ่งที่จะทำ วัตถุประสงค์ ผลที่ได้รับ กระบวนการ ทรัพยากร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอ เป็นต้น

๓) การเขียนเค้าโครงการเป็นการสร้างแผนที่ความคิด โดยนำภาพของงานและภาพความสำเร็จของโครงการมาจัดทำรายละเอียดแสดงแนวคิด แผนและขั้นตอน โดยใช้การระดมสมอง การทำงานเป็นกลุ่ม ในขั้นตอนนี้ จะได้หัวข้อคือ ชื่อโครงการ ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร ชื่อผู้จัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อที่ปรึกษาโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจะเสร็จสิ้น หลักการและเหตุผล ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ กำหนดการปฏิบัติโครงการ วัน เวลา กิจกรรมดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารอ้างอิง

๔) การปฏิบัติโครงการ หลังได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในโครงการ โดยระหว่างลงมือปฏิบัติตามแผนงานนั้นผู้เรียนต้องมีการสังเกต จดบันทึกว่ามีจุดเด่นหรือปัญหาอุปสรรคใดบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงในโอกาสต่อไป

๕) การเขียนสรุปรายงานผล ได้แก่ บทคัดย่อ ผลการศึกษา บทนำ สรุปและอภิปรายผล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เรียนได้จัดระเบียบความคิดและวิธีการปฏิบัติว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มิสิ่งใดที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง

๖) การแสดงผลงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงการ เป็นการนำเสนอผลทั้งหมดให้ผู้อื่นได้รับทราบ ผลผลิตจากโครงการเป็นอะไรบ้าง ทั้งนี้อาจนำเสนอเป็นนิทรรศการหรือด้วยวาจา

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคทฤษฎีโดยจัดทำแบบฟอร์มการเขียนโครงการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ผู้คลอดและมารดาหลังคลอด ได้แก่ ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา สถานที่ดำเนินโครงการ งบประมาณ การประเมินผลโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และลงชื่อผู้จัดทำโครงการและผู้อนุมัติโครงการ การจัดตารางเวลาสำหรับพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ ๆ เพื่อมอบให้นักศึกษาในวันเปิดภาคเรียนในการปฐมนิเทศรายวิชา

๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคทฤษฎี

วางแผนการดำเนินการสอนแบบโครงการตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน อาทิเช่น การชี้แจงรายละเอียดการเรียนรู้แบบโครงการ การมาพบอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดทำโครงการตามรูปแบบและส่งโครงการตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น

ขั้นสรุปและประเมินผล

การประเมินผลการจัดทำโครงการประกอบไปด้วยรายการประเมิน ๑๐ รายการ ได้แก่ ความเหมาะสมของโครงการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาพมารดาทารก การเขียนโครงงานเหมาะสม ประโยชน์ของโครงการ ความประหยัดด้านทรัพยากรและงบประมาณในโครงการ ความรับผิดชอบในการทำงาน การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ความตรงต่อเวลาและความสม่ำเสมอในการพบอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานและการสรุปโครงการ

อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการจาก สุนันทา สุวรรณศิลป์. (๒๕๔๗). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยโครงการในวิชาไทยศึกษาของนักศึกษาพยาบาล (ต่อเนื่อง) รุ่นที่ ๑๓. วิทยาลัยพพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี: ราชบุรี.

คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ผู้ถอดบทเรียน

๕ ก.ย. ๕๗

12/03/2014

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรค แนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖?

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ Didactic method ที่ใช้รูปแบบการเรียน แบบ VARK learning style และ ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning

แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับ Didactic method, VARK learning style และ ?ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) สรุปได้ดังนี้

Didactic Method: วิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (Active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning)

VARK Learning style: เป็น sensory Model ประกอบด้วย V: Visual เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบดู บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านหรือเขียน หรือบางคนชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่อาจชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ ?ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals

Dale?s learning pyramid เป็นรูปปิรามิดฐานกว้าง แบ่งการเรียนรู้เป็นแบบ Traditional passive and Teaming active โดยแบบ Teaming active เป็นส่วนที่อยู่ในฐานกว้าง โดยฐานกว้างที่สุดเรียงตามลำดับไปแคบที่สุดสู่แบบTraditional passive ดังนี้ Teaching others/Immediate use, Practice by doing, discussion group, Demonstration, Audio-visual, Reading, and lecture ซึ่งมีอัตราความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ 90%, 75%, 50%, 30%, 20%, 10% และ 5% ตามลำดับ

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำตาราง Matrix กิจกรรมการเรียนการสอนตามเป้าหมายรายวิชา ในแผนกที่นักศึกษาจะขึ้นฝึกปฏิบัติได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ห้องคลอดและหลังคลอด ที่ครอบคลุม VARK learning style ได้แก่ทักษะการเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติให้ครบถ้วน สรุปเป็นตาราง Matrix และ จัดประสบการณ์ในภาคปฏิบัติที่เน้นแบบ Teaming active มากกว่า Traditional passive ได้แก่ จัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม (Discussion group), การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Practice by doing) และ การสอนผู้อื่นหรือการนำไปปฏิบัติทันทีทันใด (Teach others/Immediate use)? ในทุกแผนกตามรูปแบบปิรามิดการเรียนรู้ของเดล เพื่อเพิ่มอัตราความคงทนในการเรียนรู้ให้ได้ร้อยละ ๙๐ ตัวอย่างตาราง Matrix ได้แก่

แผนกที่ฝึก กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ครอบคลุม VARK learning style and Dale?s learning Pyramid
V:Visual A:Aural R:Read/Write K:Kinesthetic
? ? ? ? ?

?

๔. คณาจารย์ในภาควิชาร่วมกันสรุปผลดำเนินการจัดทำ ตาราง Matrix มอบให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการต่อไป

๕. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๔) ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

?โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัยและคณาจารย์ที่นิเทศภาคปฏิบัติแต่ละแผนกที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติ วางแผนการนิเทศตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน

ขั้นสรุปและประเมินผล?

ภายหลังดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสิ้นสุด คณาจารย์ในภาควิชาตระหนักว่าการจัดทำตาราง Matrix โดยใช้รูปแบบ VARK learning style and Dale?s learning pyramid มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน ช่วยทำให้สามารถตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการเน้นปิรามิดการเรียนรู้แบบ Teaming active ที่ทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบให้การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยเพิ่มอัตราความคงทนต่อการเรียนรู้ในรายวิชา การดำเนินการดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนเป็น Active teacher และผู้เรียนเป็น Active learner ได้อย่างแท้จริง ทำให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และสมควรให้มีการนำไปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับรายวิชาภาคปฏิบัติ ได้แก่ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ หรือรายวิชาทฤษฎี ได้แก่ การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ และ ๒ ต่อไป

ž??????? ?

อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับ VARK learning style and Dale?s learning pyramid From Training/ course manual arranged by The Fontys UAS Team, Fontys University of Applied Science, The Netherlands 2013

19/09/2013

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาโดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

KM7ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา ครั้งที่ ๒

โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖

?

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ?? ??????? ศรีใจวงศ์ ????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี??? ?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ?????? ??????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ?????? ??????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ?????? ??????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ??????? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ???? ??????? วิศิษฏ์โกศล ?????? เลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?????????????? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๖ เน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๒.????????????? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการองค์ความรู้เรื่อง? การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ คือ

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

??????? ๓. ในรอบปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ได้มีการเสวนาในการจัดการองค์ความรู้ (KM) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งภายหลังจากการนำองค์ความรู้มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาสามารถปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการประเมินของอาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ภาควิชาควรจะมีการจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแนวทางในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

????????????? ไม่มี

?

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การวิเคราะห์ความรู้และการสังเคราะห์ความรู้

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน รูปแบบ เทคนิคการเรียนการสอน รวมทั้งเสนอปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา

วิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑?

จุดเด่น

๑.??? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการสอนแบบโครงงาน (Project-base learning) โดยมีการ บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และมีการจัดนิทรรศการ/โครงการบริการวิชาการเรื่อง ?แม่ลูกปลอดภัย ด้วยวิถีไทยและภูมิปัญญา? แก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ สตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์

๒.?? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) โดยมีการจัดให้นักศึกษาขึ้นสังเกตการณ์ทำคลอดที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์คนละ ๒-๓ ครั้ง ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. และจัดทำรายงานการสังเกตการณ์คลอด รวมถึงเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการสังเกตการคลอดส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม โดยอาจารย์ประจำกลุ่มจะมีการอภิปรายกลุ่มย่อยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการขึ้นไปสังเกตการคลอด ปัญหาและอุปสรรคที่พบในระหว่างการขึ้นสังเกตการคลอด และอาจารย์ประจำกลุ่มให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำรายงานการสังเกตการคลอด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริง

ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข

๑.?? อาจารย์จะบรรยายและอภิปรายเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอาจารย์ควรมีการสอนด้วยวิธีหลากหลายที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา

๒.?? เป็นเนื้อหาใหม่สำหรับนักศึกษา ดังนั้นจึงขอให้อาจารย์ใช้วิธีการบรรยายแบบมีส่วนร่วม? ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิต?????? และสาธิตย้อนกลับ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

๓.? ศัพท์ที่เกี่ยวข้องทางด้านสูติศาสตร์มีจำนวนมาก และเป็นศัพท์ที่นักศึกษาไม่เคยเจอมาก่อน ดังนั้นจึงได้ทำเอกสารเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสูติศาสตร์

๔.?? นักศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ภาควิชาจึงได้จัดทำ VCD และคู่มือเกี่ยวกับการตรวจครรภ์ การทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจรก การอาบน้ำทารก และการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด เพื่อให้นักศึกษาได้นำไปศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (student-led review sessions)

วิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

จุดเด่น

๑.?? แหล่งฝึกหลากหลายได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ และแผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

๒.? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-base learning) โดยได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ?

๓.? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (think-pair-share) โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และสูติแพทย์? ?ทำให้ นศ.เกิดทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลและได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

๔.??? มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาโดยการจัดสอบก่อนและหลังฝึกปฏิบัติงานแต่ละแผนก และมีการแจกแผ่น VCD เรื่อง การตรวจครรภ์ การตรวจรก การทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิดเพื่อให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และจัด Clinical teaching เรื่องการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ??

๕.??? แผนกห้องคลอดจัดให้นักศึกษาขึ้นเวร เช้า บ่ายและดึก เพื่อให้ได้ประสบการณ์ครบ

๖.??? มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยการเสวนาเกี่ยวกับความเชื่อในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดของแต่ละประเทศ โดยใช้ภาษาอังกฤษ

ปัญหาและแนวทางแก้ไข

๑.???? อาจารย์นิเทศภาระงานมาก เนื่องจากอาจารย์ทุกท่านมีภาระงานที่มากและมีหน้าที่ทั้งงานหลักคืองานด้านการสอนและงานบริหาร ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่อาจารย์ทุกท่านต้องบริหารจัดการเวลาเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการนิเทศการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ?

วิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒

?????? ?????? จุดเด่น

๑.??? มีการเชิญสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาสอนในหัวข้อเกี่ยวกับโรคที่เกิดร่วมกับการตั้งครรภ์

๒.?? มีการมอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าในหัวข้อการพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

๑.?????????????? หลังจากการเรียนให้นักศึกษาสรุป mapping ทุกหัวข้อ อ. ไม่มีเวลาตรวจและ นศ.ประเมินว่างานมีจำนวนมาก แก้ไขโดยให้ นศ.สรุป mapping กลุ่มละ 2 concept และสังเคราะห์ความรู้และตั้งเป็นโจทย์ปัญหาและนำเสนอ อาจารย์พยาบาลสอนการพยาบาลตาม

๒.????????????? ?เนื้อหาค่อนข้างเยอะ อาจารย์จึงควรสอนให้นักศึกษาคิดเชิงซ้อนมากขึ้น โดยเอาสถานการณ์จริงที่เคยเจอบนหอผู้ป่วยมาใช้เป็นสถานการณ์ให้นักศึกษาวิเคราะห์

วิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ๒

?????? ?????? จุดเด่น

๑.??? มีการนำตัวอย่างข้อสอบมาให้นศ. ฝึกวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์และหาเหตุผลเอง และมีอาจารย์ผู้นิเทศเป็นผู้ชี้แนะและเป็นที่ปรึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

๒.??? เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ bed side teaching เพื่อฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์ case กรณีศึกษา และสามารถวางแผนให้การพยาบาลได้จริง

๓.?? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (think-pair-share) ?โดยมีการจัดเสวนาเกี่ยวกับการพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน และมีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

๑.???? ระยะเวลาน้อย

๒.??? Case LR ไม่หลากหลายและการช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการมีน้อย และขึ้นฝึกปฏิบัติงานพร้อมกับนักศึกษาแพทย์ แก้ไขโดยจัดให้นักศึกษา On call และมีการ oral test ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการ

ข้อคิดจากอาจารย์

๑.???? การเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งข้อด้อย-ข้อดีเป็นสิ่งสำคัญ สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแต่ละปีแตกต่างกัน

๒.??? ข้อสอบของสภาการพยาบาลจะใช้วิธีคิด ๒-๓ ชั้น จะต้องเน้นให้พิจารณาให้ดี ถ้า นศ.คิดไม่เป็นระบบ จะต้องเน้นการฝึกคิดวิเคราะห์ให้เป็นระบบมากขึ้น ?

ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอบในปีการศึกษา ๒๕๕๕

๑. ?สิ่งที่ทำให้สอบผ่านวิชาผ่านการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ได้คือการทำmapping และการตรวจและสะท้อนกลับของอาจารย์ ทำให้เข้าใจและตั้งใจทำมากขึ้น แล้วใช้เวลาอ่าน จำเฉพาะ concept ซึ่งจะค่อนข้างเชื่อมโยงแต่สามารถจำได้ดีกว่าการอ่านหนังสือเนื่องจากเราได้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และกรองออกมาในภาษาของตัวเราเอง

๒.??????????????????????? ทำข้อสอบไม่ทันเวลาเพราะตั้งใจมาก ไม่อยากผิดเลยทำให้ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อนาน

๓.??????????????????????? รู้ว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ฟังคนอื่นไม่เข้าใจ ใช้วิธีทบทวนเองดีกว่า

๔.??????????????????????? ?ปัจจัยที่ช่วยให้สอบผ่านคือการเข้าติว เพราะเป็นการทบทวนสิ่งที่เรียนมา ถ้าได้มีการเตรียมตัวอ่านก่อนการเข้าติวแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าไม่มีการอ่านหรือเตรียมตัวมาก่อนมาติวจะไม่ค่อยรู้เรื่องและเข้าใจมากนัก

๕.??????????????????????? ?ผลการสอบไม่ผ่านผดุงครรภ์ มาสอบ oral ตอบไม่ค่อยได้

๖. ?สิ่งที่ทำให้ผ่าน คือการอ่านบ่อยๆเพราะเป็นการทบทวนและเน้นให้จำและเข้าใจมากขึ้น

๗.????????????????????? ไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบฟังที่เพื่อนเล่า ใช้วิธีจับกลุ่มเล่าประสบการณ์ อ่านจากสรุปลายมือตัวเองจะเข้าใจมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจจะถามเพื่อน ถ้าเพื่อนตอบไม่เหมือนกันก็อ่านหนังสือ ทำข้อสอบของวิทยาลัยพบความหลากหลายของข้อสอบที่เนื้อหาเดียวกัน

๘.??????????????????????? ถ้ามีการติวตั้งแต่ปี ๓ จะได้ความรู้เต็มที่มากกว่าตอนที่มาเริ่มติวปี ๔ รู้สึกว่าได้ความรู้ครึ่งๆ กลางๆไม่เต็มที่

๙.?????????????????????? เอกสาร/ข้อสอบต่างๆได้จากร้านถ่ายเอกสารได้นำมาแลกเปลี่ยนจากวิทยาลัยอื่นๆซึ่งทำให้หลากหลาย

๑๐.?? การติวถ้าจัดทุกวันรู้สึกไม่อยากมา อยากอ่านเองบ้าง เลือกอาจารย์ที่จะเข้าฟัง อยากให้ติวทั้งเนื้อหาและข้อสอบสอนวิธีคิดในประเด็นต่างๆ

วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้เข้าใจ

๑.?? การเรียนเป็นกลุ่มทำให้เห็นจุดอ่อนตัวเอง+ให้เพื่อนช่วยอธิบาย

๒.? อยากให้จัดฝึกกับเรียนควบคู่ไปด้วยกัน เจอ case แล้วมาถามจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น

๓.? วิธีการสอน+สะท้อนกลับของอาจารย์แต่ละคนต่างกัน ถ้าได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างกลุ่มจะเข้าใจมากขึ้น

๔.? การเห็นประสบการณ์บน ward จะดีกว่าสอนบรรยาย

๓.๒ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ มีประเด็นดังนี้

๑.???? ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง

๒.??? การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษา ?โดยเน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

๓.??? อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๔. ในการฝึกปฏิบัติงาน ควรมีการอภิปรายกลุ่มย่อย ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติงานทุกวันและมอบหมายให้นักศึกษาเขียน Reflextive thinking เพื่อเป็นการสะท้อนคิดการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาและเพื่อเป็นการทำให้อาจารย์นิเทศทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน

?

?

?

?

สรุป

แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เน้น

การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ การวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ดังนั้นอาจารย์ในภาควิชาจึงควรเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนแบบ ?Active Learning ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

??????????????????????????????????????????????????????????????? จิราพร วิศิษฏ์โกศล

??????????????????????????????????????????????????????? ? ผู้บันทึกรายงานการประชุม

????????????????????????????????????????

?????????????????????????????????????????????????????? สิตานันท์ ศรีใจวงศ์

??????????????????????????????????????????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

หน้าต่อไป
Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro