วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรค แนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖?

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ Didactic method ที่ใช้รูปแบบการเรียน แบบ VARK learning style และ ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning

แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับ Didactic method, VARK learning style และ ?ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) สรุปได้ดังนี้

Didactic Method: วิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (Active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning)

VARK Learning style: เป็น sensory Model ประกอบด้วย V: Visual เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบดู บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านหรือเขียน หรือบางคนชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่อาจชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ ?ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals

Dale?s learning pyramid เป็นรูปปิรามิดฐานกว้าง แบ่งการเรียนรู้เป็นแบบ Traditional passive and Teaming active โดยแบบ Teaming active เป็นส่วนที่อยู่ในฐานกว้าง โดยฐานกว้างที่สุดเรียงตามลำดับไปแคบที่สุดสู่แบบTraditional passive ดังนี้ Teaching others/Immediate use, Practice by doing, discussion group, Demonstration, Audio-visual, Reading, and lecture ซึ่งมีอัตราความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ 90%, 75%, 50%, 30%, 20%, 10% และ 5% ตามลำดับ

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำตาราง Matrix กิจกรรมการเรียนการสอนตามเป้าหมายรายวิชา ในแผนกที่นักศึกษาจะขึ้นฝึกปฏิบัติได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ห้องคลอดและหลังคลอด ที่ครอบคลุม VARK learning style ได้แก่ทักษะการเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติให้ครบถ้วน สรุปเป็นตาราง Matrix และ จัดประสบการณ์ในภาคปฏิบัติที่เน้นแบบ Teaming active มากกว่า Traditional passive ได้แก่ จัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม (Discussion group), การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Practice by doing) และ การสอนผู้อื่นหรือการนำไปปฏิบัติทันทีทันใด (Teach others/Immediate use)? ในทุกแผนกตามรูปแบบปิรามิดการเรียนรู้ของเดล เพื่อเพิ่มอัตราความคงทนในการเรียนรู้ให้ได้ร้อยละ ๙๐ ตัวอย่างตาราง Matrix ได้แก่

แผนกที่ฝึก กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ครอบคลุม VARK learning style and Dale?s learning Pyramid
V:Visual A:Aural R:Read/Write K:Kinesthetic
? ? ? ? ?

?

๔. คณาจารย์ในภาควิชาร่วมกันสรุปผลดำเนินการจัดทำ ตาราง Matrix มอบให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการต่อไป

๕. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๔) ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

?โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัยและคณาจารย์ที่นิเทศภาคปฏิบัติแต่ละแผนกที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติ วางแผนการนิเทศตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน

ขั้นสรุปและประเมินผล?

ภายหลังดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสิ้นสุด คณาจารย์ในภาควิชาตระหนักว่าการจัดทำตาราง Matrix โดยใช้รูปแบบ VARK learning style and Dale?s learning pyramid มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน ช่วยทำให้สามารถตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการเน้นปิรามิดการเรียนรู้แบบ Teaming active ที่ทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบให้การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยเพิ่มอัตราความคงทนต่อการเรียนรู้ในรายวิชา การดำเนินการดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนเป็น Active teacher และผู้เรียนเป็น Active learner ได้อย่างแท้จริง ทำให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และสมควรให้มีการนำไปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับรายวิชาภาคปฏิบัติ ได้แก่ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ หรือรายวิชาทฤษฎี ได้แก่ การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ และ ๒ ต่อไป

ž??????? ?

อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับ VARK learning style and Dale?s learning pyramid From Training/ course manual arranged by The Fontys UAS Team, Fontys University of Applied Science, The Netherlands 2013