แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style และ Dale?s learning Pyramid เป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นเตรียมการ
๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรค แนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖?
๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ Didactic method ที่ใช้รูปแบบการเรียน แบบ VARK learning style และ ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning
แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับ Didactic method, VARK learning style และ ?ปิรามิดการเรียนรู้ของ Dale (Dale?s learning pyramid) สรุปได้ดังนี้
Didactic Method: วิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (Active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long learning)
VARK Learning style: เป็น sensory Model ประกอบด้วย V: Visual เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนชอบดู บางคนชอบฟัง บางคนชอบอ่านหรือเขียน หรือบางคนชอบเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่อาจชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ ?ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals
Dale?s learning pyramid เป็นรูปปิรามิดฐานกว้าง แบ่งการเรียนรู้เป็นแบบ Traditional passive and Teaming active โดยแบบ Teaming active เป็นส่วนที่อยู่ในฐานกว้าง โดยฐานกว้างที่สุดเรียงตามลำดับไปแคบที่สุดสู่แบบTraditional passive ดังนี้ Teaching others/Immediate use, Practice by doing, discussion group, Demonstration, Audio-visual, Reading, and lecture ซึ่งมีอัตราความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ 90%, 75%, 50%, 30%, 20%, 10% และ 5% ตามลำดับ
๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยจัดทำตาราง Matrix กิจกรรมการเรียนการสอนตามเป้าหมายรายวิชา ในแผนกที่นักศึกษาจะขึ้นฝึกปฏิบัติได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ห้องคลอดและหลังคลอด ที่ครอบคลุม VARK learning style ได้แก่ทักษะการเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติให้ครบถ้วน สรุปเป็นตาราง Matrix และ จัดประสบการณ์ในภาคปฏิบัติที่เน้นแบบ Teaming active มากกว่า Traditional passive ได้แก่ จัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม (Discussion group), การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Practice by doing) และ การสอนผู้อื่นหรือการนำไปปฏิบัติทันทีทันใด (Teach others/Immediate use)? ในทุกแผนกตามรูปแบบปิรามิดการเรียนรู้ของเดล เพื่อเพิ่มอัตราความคงทนในการเรียนรู้ให้ได้ร้อยละ ๙๐ ตัวอย่างตาราง Matrix ได้แก่
แผนกที่ฝึก | กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ครอบคลุม VARK learning style and Dale?s learning Pyramid | |||
V:Visual | A:Aural | R:Read/Write | K:Kinesthetic | |
? | ? | ? | ? | ? |
?
๔. คณาจารย์ในภาควิชาร่วมกันสรุปผลดำเนินการจัดทำ ตาราง Matrix มอบให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการต่อไป
๕. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๔) ของรายวิชาอย่างครบถ้วน
ขั้นดำเนินการ
?โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีของวิทยาลัยและคณาจารย์ที่นิเทศภาคปฏิบัติแต่ละแผนกที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติ วางแผนการนิเทศตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน
ขั้นสรุปและประเมินผล?
ภายหลังดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสิ้นสุด คณาจารย์ในภาควิชาตระหนักว่าการจัดทำตาราง Matrix โดยใช้รูปแบบ VARK learning style and Dale?s learning pyramid มาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอน ช่วยทำให้สามารถตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ อีกทั้งเป็นการเน้นปิรามิดการเรียนรู้แบบ Teaming active ที่ทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบให้การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยเพิ่มอัตราความคงทนต่อการเรียนรู้ในรายวิชา การดำเนินการดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนเป็น Active teacher และผู้เรียนเป็น Active learner ได้อย่างแท้จริง ทำให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และสมควรให้มีการนำไปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับรายวิชาภาคปฏิบัติ ได้แก่ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ หรือรายวิชาทฤษฎี ได้แก่ การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ และ ๒ ต่อไป
??????? ?
อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับ VARK learning style and Dale?s learning pyramid From Training/ course manual arranged by The Fontys UAS Team, Fontys University of Applied Science, The Netherlands 2013
อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบวิธีการเรียนรู้ที่นักศึกษาชอบ (How do I learn best?)โดยการสำรวจ What’s your learning style? โดยการให้นักศึกษาตอบแบบสอบถาม The VARK questionnaire (version 7.2)มีจำนวน 16 ข้อ ซึ่งมีทั้งรูปแบบภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาไทย การให้คะแนนใน scoring chart และการคำนวณคะแนนซึ่งสามารถทำได้และไม่มีความซับซ้อน การสำรวจจะทำให้ผู้สอนรู้ว่านักศึกษาแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีใด ก็จะสามารถออกแบบการเรียนการสอนที่ตรงกับวิธีการเรียนรู้ของนักศึกษา ส่งผลให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนดี ผู้สอนสนุกและผู้เรียนมีความสุข บรรลุเป้าหมายของรายวิชา
ภายหลังที่ใช้การจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 โดยใช้active learning แบบ VARK learning style พบว่าด้านผู้เรียนคือนักศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งการเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง และลงมือปฏิบัติ ทั้งจากสถานการณ์จริง VDO และอื่นๆ ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ส่วนด้านผู้สอนเองได้พัฒนาด้านการบูรณาการการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลาย และVARK learning style เป็นวิธีการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติได้อย่างดี จากการนำไปใช้จริงคิดว่าภาควิชาควรมีการนำมาใช้อีกในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 2ต่อไปเพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวปฏิบัติที่ดีที่ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนได้พัฒนาทักษะการสอนและผู้เรียนได้พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง ทำให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรยากาศการเรียนเป็นบรรยากาศการเรียนรู้จริงๆสนุกสนาน และมีองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย^^
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในภาคปฏิบัติของนักศึกษา ทำให้ผู้สอนเป็น Active teacher และผู้เรียนเป็น Active learner มีการเรียนรู้ตลอดกระบวนการและทำให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง:)
แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาที่ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ได้จัดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนได้พัฒนาทักษะการสอนและผู้เรียนได้พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เกิดองค์ความรู้ต่างๆมากมาย^^
รายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน1ในเรื่องบทบาทหน้าที่พยาบาลในการดูแลครอบครัว ที่ผ่านมาใช้ลักษณะการบรรยาย ซึ่งพบว่านักศึกษาพยาบาลปี 2 มักนึกภาพไม่ออกว่าพยาบาลชุมชนทำอะไร การที่นักศึกษาได้ดูVDO การทำงานของพยาบาลชุมชน จากสถานการณ์จริง จาก รายการคนค้นคน และเชื่อมโยงไปกับบทบาทหน้าที่ของพยาบาล ทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำงานชุมชนมากขึ้น
ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาปฏิบัติการมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ที่ได้นำวิธีการ Active learning แบบ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และนักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้หลายวิธี และครอบคลุม ซึงเป็นสิ่งที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้กับ นศ.เป็นอย่างมาก ส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาที่ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ได้จัดการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ทำให้ผู้สอนได้พัฒนาทักษะการสอนและผู้เรียนได้พัฒนาทักษะของผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้เกิดองค์ความรู้ต่างๆมากมาย^^
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ active learning แบบ VARK learning style เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมองเห็น การฟัง การอ่าน และการเขียน และที่สำคัญที่สุดคือการลงมือปฏิบัติ ซึ่งจากการนิเทศการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษารายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ๑ ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบ active learning มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน พบว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้และสามารถประเมินนักศึกษารายบุคคลได้ค่อนข้างชัดเจน สามารถประเมินได้ว่านักศึกษายังไม่พร้อมในทักษะด้านใด อาจารย์นิเทศก็สามารถจะเติมเต็มนักศึกษาในส่วนที่ขาด เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา รายวิชาปฏิบัติการมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ด้วย Didactic method ที่ใช้รูปแบบการเรียน แบบ VARK learning style ส่งผลต่อ ผู้สอนและ นศ.ที่ได้พัฒนาการเรียนรู้ทุกทักษะทั้ง การเห็น การฟัง การอ่าน/เขียน และการลงมือปฏิบัติ ทำให้การเรียนรู้สนุกสนาน และบรรลุเป้าหมาย
สิ่งที่ควรเพิ่มเติมคือการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์รายวิชาหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนนั้นเบรรลุ learning outcome ตามที่กำหนดมนหลักสูตร เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการ OLE คือ objective learning and evaluation ที่ได้จัดการเรียนแบบ active learning นั้นดีแล้ว เนื่องจากใช้กลวิธีที่มีความแตกต่างในการกระตุ้นผู้เรียน ด้วย VARK and Dale แต่ยังไม่ครบองค์ประกอบ น่าจะมีการใช้ SMART Goals และ Bloom taxonomy รวมถึงแบบวัด/เครื่องมือวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ดังที่เป้าหมายไว้จริง
การจัดการเรียนการสอนVARK learning stye เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการมองเห็น การฟัง การอ่าน และการเขียน ซึ่งจะเห็นว่าเป็นหลักของปราชญ์ไทยนั่นเองคือหลักของ สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย สําหรับการศึกษาศาสตร์ทางการพยาบาลแลเช่นกันนั้นก็ต้องครบหลักทุกข้อ การมองเห็น การฟัง การอ่าน และการเขียน ก็จะทําให้เกิดการปฎิบัติที่ดี ต่อไป ซึ่งจะทําให้การจัดการสอนบรรลุเป้าหมาย และเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนแบบ active learning แบบ VARK learning style เคยนำไปใช้สอนในขณะอบรมครูคลินิก ที่ วพบ.พะเยา กับนักศึกษา พยบ.ปี 2 พบว่า จากการนำไปใช้ นักศึกษาในภาพรวม มากว่าร้อยละ 80 ให้ความสนใจ เมื่อได้ดูรูปแบบจากการรับชม VDO สภาพแวดล้อม มีความตื่นตัวมากขึ้น ไม่หลับขณะเรียน ซึ่งนักศึกษาสะท้อนออกมาเป็นคำพูดว่า “น่าสนใจ อยากเรียน ไม่ง่วงดี ดีกว่าอาจารย์มาบรรยายเฉยๆ” จึงคิดว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจนำไปปฎิบัติการสอนครั้งต่อไปได้
Active learning ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่า passive learning ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมองทั้งสองซีกได้ดีขึ้น ผู้เรียนเกิดความกระตืือรือร้น และสนใจเรียนมากกว่า และยังมีทัศนคติที่ดีกับการเรียนด้วย แต่ผู้สอนต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนเท่านั้น
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style นั้นมีความสำคัญ เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และอาจารย์ ผู้สอนสามารถ ประเมินระดับการเรียนรู้ได้อย่างครอบคลุม
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษา ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กลยุทธไดแดคติค ในรูปแบบ VARK Learning Style ทำให้นักศึกษาได้รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยภาพและสัญลักษณ์,รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยเสียง ,รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยอักษร ,รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยสัมผัสและการกระทำ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าเป็นรูปแบบที่น่าสนใจและนำไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติต่อไปค่ะ
การจัดการเรียนการสอนแบบdidactic นั้น นับว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้คุณค่าต่อคุณภาพการสอนของครูมาก ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง การสอนด้วยกลยุทธ์แบบนี้ครูจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการออกแบบให้สอดคล้องกับเนื้อหาและผู้เรียนและยึดBloom taxonomyและVARK learning Style..หากได้ใช้เทคนิคนี้ในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนแล้ว แนวปฏิบัติตามเทคนิคนี้จะทำให้ครูมีความสุข สนุกกับการเรียนการสอน และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีให้กับผู้เรียน