• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

10/09/2014

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Nopparat
Time: 2:16 am
Reactions :No comments

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตแวช

ขั้นเตรียมการ

เตรียมผู้สอน

- ทำความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล

- เข้าใจความแตกต่างระหว่างผู้เรียน รู้เทคนิคการเสริมแรงทางบวกในการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน

เตรียมแหล่งฝึก

- ประสานผู้นำชุมชน อสม. ในการพิจารณาหากรณีศึกษาที่มีความพร้อมและยินดีให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน

เตรียมผู้เรียน

- ชี้แจงวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และบทบาทของผู้เรียน

- กำหนดกติกา ข้อตกลงระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

ขั้นสอน

ให้ผู้เรียนชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนและกิจกรรมการให้บริการ ตลอดจนระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษาแก่ผู้รับบริการ

ผู้สอนให้การเสริมแรงทางบวกในการฝึกปฏิบัติ เช่น รับฟังปัญหาเมื่อนักศึกษาประสบปัญหาในการปฏิบัติงาน และให้กำลังใจเมื่อนักศึกษาปฏิบัติได้ถูกต้อง

ผู้สอนใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบ Active Learning เช่น การใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การมอบหมายกรณีศึกษาเป็นรายบุคคล การมอบหมายงานค้นคว้าด้วยตนเอง

ขั้นประเมินผล

- กำหนดคุณลักษณะผู้เรียนแบบ Active Learner

- กำหนดเกณฑ์การประเมินผลผู้เรียนตามคุณลักษณะผู้เรียนแบบ Active Learner

- ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

- ผู้สอนสะท้อนกลับพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นระยะ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับทราบและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน (หากมี)

08/09/2014

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน

สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ขั้นเตรียมการ

๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาทฤษฎีที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่การพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนรู้แบบโครงการที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) เพื่อนำมาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning โดยศึกษาจากเอกสารรายงานการวิจัยของสุนันทา สุวรรณศิลป์และการสรุปบรรยายของ อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) ได้ดังนี้

การเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดหัวข้อโครงการด้วยตนเอง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์วิจารณ์ และบูรณาการองค์ความรู้ภายในขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางสติปัญญา การพัฒนาการทางสุนทรียศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ การได้ฝึกเขียน เรียบเรียงความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบนำตนเองเกิดขึ้น สามารถคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยมีขั้นตอนทั้งหมด ๖ ขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑) การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องการดำเนินงานตามขั้นตอน โดยผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า จะศึกษาอะไร ทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว จากนั้นผู้เรียนต้องไปศึกษาค้นคว้า ทบทวนซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรจึงจะได้หัวข้อจัดทำโครงการ

๒) การศึกษาเอกสารทบทวนวรรณกรรมตลอดจนพบผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้อง ปราชญ์ในเรื่องนั้น ๆ ?เพื่อให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงเรื่องที่จะศึกษา อาทิเช่น สิ่งที่จะทำ วัตถุประสงค์ ผลที่ได้รับ กระบวนการ ทรัพยากร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอ เป็นต้น

๓) การเขียนเค้าโครงการเป็นการสร้างแผนที่ความคิด โดยนำภาพของงานและภาพความสำเร็จของโครงการมาจัดทำรายละเอียดแสดงแนวคิด แผนและขั้นตอน โดยใช้การระดมสมอง การทำงานเป็นกลุ่ม ในขั้นตอนนี้ จะได้หัวข้อคือ ชื่อโครงการ ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร ชื่อผู้จัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อที่ปรึกษาโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจะเสร็จสิ้น หลักการและเหตุผล ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ กำหนดการปฏิบัติโครงการ วัน เวลา กิจกรรมดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารอ้างอิง

๔) การปฏิบัติโครงการ หลังได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในโครงการ โดยระหว่างลงมือปฏิบัติตามแผนงานนั้นผู้เรียนต้องมีการสังเกต จดบันทึกว่ามีจุดเด่นหรือปัญหาอุปสรรคใดบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงในโอกาสต่อไป

๕) การเขียนสรุปรายงานผล ได้แก่ บทคัดย่อ ผลการศึกษา บทนำ สรุปและอภิปรายผล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เรียนได้จัดระเบียบความคิดและวิธีการปฏิบัติว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มิสิ่งใดที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง

๖) การแสดงผลงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงการ เป็นการนำเสนอผลทั้งหมดให้ผู้อื่นได้รับทราบ ผลผลิตจากโครงการเป็นอะไรบ้าง ทั้งนี้อาจนำเสนอเป็นนิทรรศการหรือด้วยวาจา

๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคทฤษฎีโดยจัดทำแบบฟอร์มการเขียนโครงการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ผู้คลอดและมารดาหลังคลอด ได้แก่ ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา สถานที่ดำเนินโครงการ งบประมาณ การประเมินผลโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และลงชื่อผู้จัดทำโครงการและผู้อนุมัติโครงการ การจัดตารางเวลาสำหรับพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ ๆ เพื่อมอบให้นักศึกษาในวันเปิดภาคเรียนในการปฐมนิเทศรายวิชา

๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน

ขั้นดำเนินการ

โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคทฤษฎี

วางแผนการดำเนินการสอนแบบโครงการตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน อาทิเช่น การชี้แจงรายละเอียดการเรียนรู้แบบโครงการ การมาพบอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดทำโครงการตามรูปแบบและส่งโครงการตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น

ขั้นสรุปและประเมินผล

การประเมินผลการจัดทำโครงการประกอบไปด้วยรายการประเมิน ๑๐ รายการ ได้แก่ ความเหมาะสมของโครงการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาพมารดาทารก การเขียนโครงงานเหมาะสม ประโยชน์ของโครงการ ความประหยัดด้านทรัพยากรและงบประมาณในโครงการ ความรับผิดชอบในการทำงาน การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ความตรงต่อเวลาและความสม่ำเสมอในการพบอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานและการสรุปโครงการ

อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการจาก สุนันทา สุวรรณศิลป์. (๒๕๔๗). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยโครงการในวิชาไทยศึกษาของนักศึกษาพยาบาล (ต่อเนื่อง) รุ่นที่ ๑๓. วิทยาลัยพพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี: ราชบุรี.

คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ผู้ถอดบทเรียน

๕ ก.ย. ๕๗

07/09/2014

รายงานการประชุมกิจกรรมการจัดการความความรู้ การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 9:37 am
Reactions :11 comments

รายงานการประชุมกิจกรรมการจัดการความความรู้

การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม บานชื่น

?????????????????????????????????????????

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.????? นางศศิธร???????? ????????? ชิดนายี?????????? ประธาน

๒.????? นางสาว ดุจเดือน? เขียวเหลือง

๓.????? นางสาว นัยนา อินธิโชติ

๔.????? นางสาว วรรณวดี เนียมสกุล

๕.????? นายพิศิษฐ์? พวงนาค

๖.????? นางมณฑา??????? ????????? อุดมเลิศ

๗.????? นางสาววราภรณ์????????? ยศทวี

๘.????? นางสาวเสาวลักษณ์ ?????? เนตรชัง

๙.????? นางวาสนา?????? ????????? ครุฑเมือง

๑๐.? นางสาวอลิษา????????????? ทรัพย์สังข์

๑๑.? นายวีระยุทธ???? ????????? อินพะเนา

๑๒.? นายภราดร?????? ????????? ล้อธรรมมา เลขานุการที่ประชุม

๑๓.? นางจิราพร???????????????? ศรีพลากิจ

๑๔.? นางอรุณรัตน์???? ????????? พรมมา

ระเบียบวาระที่ ๑ กำหนดประเด็น

ประธาน แจ้งเรื่องการจัดการความรู้ที่มีการกำหนดประเด็นการวิจัยตามแผนปฏิบัติการคือการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งในวันนี้จะมีการพูดคุยกันตั้งแต่ ความหมาย ประเภทของการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ ประสบการณ์ที่เคยนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ระเบียบวาระที่ ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นที่ ๑ ความหมาย ประเภทการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และประสบการณ์

ความหมายของ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(อ้างอิงจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๕๖ หน้า…………….)

ประเภทของการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเป็นการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเชิงนโยบายใน การนำไปใช้ประกอบเป็นข้อมูลการประกาศใช้กฎหมาย หรือกำหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
2. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์ คือ งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น
3.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการหมายถึง???? เป็นการนำผลงานการวิจัย นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
4.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะหมายถึง ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนในเรื่องต่างๆทีทำให้ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ด้านสาธารณสุข ด้านการบริหารจัดการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยภาคประชาชน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
5.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่หมายถึง เป็นการนำผลงานการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เจาะจงพื้นที่นั้นๆ

อ.วรรณวดี

ประสบการณ์ที่ได้มีผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ คือการนำไปเผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลในเขตจังหวัดสุโขทัย และมีนิสิตปริญญาเอกได้นำผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ไปสังเคราะห์พร้อมกับมีการอ้างอิง แต่ปัญหาคือ เขาจะไม่มีการรับรอง

อ.ดร.ดุจเดือน? แบบนี้งานวิจัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์จริงๆ

สำหรับของวิทยาลัยจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพิ่มเติมคือ

การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ ๓ ด้านคือ

๑.ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

ตัวอย่าง คู่มือการตรวจครรภ์ สามารถนำไปใช้ในพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในแผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลศรีสังวร จังหวัดสุโขทัย โดยส่งผลให้เกิดการทบทวนทักษะและความรู้ในการตรวจครรภ์ และเกิดผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพสามารถตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติจากการตั้งครรภ์ได้ทันท่วงที

๒.ด้านการศึกษาพยาบาล

ตัวอย่าง คู่มือการตรวจครรภ์ สามารถนำมาใช้ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ และทำให้นักศึกษาได้ทบทวนความรู้ในการตรวจครรภ์ มีแนวทางในการปฏิบัติงาน นักศึกษามีความเม่นยำในการตรวจครรภ์ บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ครบ KAP และช่วยลดระยะเวลาการสอน

๓.ด้านการวิจัย

เสนอให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ในรูปแบบอื่น ได้แก่? การนำผลการวิจัยไปอ้างอิงในงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เรื่องใหม่? , การนำเครื่องมือในงานวิจัยใช้ประโยชน์ เช่น คู่มือการตรวจครรภ์ คู่มือผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต แต่ต้องเป็นเครื่องมือที่ผ่านการศึกษาวิจัยและถูกวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ หลังเสร็จสิ้นการวิจัย (ไม่ใช้เครื่องมือที่อยู่ในบทที่ ๓ ของงานวิจัย) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบแผ่นพับ? คู่มือ จุลสาร ใบปลิวความรู้? รวมทั้งบทสรุปหรือข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนางานในด้านต่างๆ

ประเด็นที่แนวทางในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต้องมีหลักเกณฑ์

  • ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง
  • สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
  • มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจนตามวัตถุประสงค์
  • ได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

ให้ดูตามคู่มือการวิจัยที่มีระบุแนวทาง และ Flow chart การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

ปัญหาที่ผ่านมาต้องมีการสังเคราะห์งานวิจัย ซึ่งสามารถนำคู่มือในการวิจัยไปใช้ได้หรือไม่

มติ คือ คู่มือจะนำไปใช้ได้เมื่อมีการปรับปรุงแล้วตามผลการวิจัย โดยระบุว่าจะมีการปรับปรุงอย่างไร

เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

๑.ใบรับรองการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยระบุอย่างชัดเจนว่านำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไร

๒.การนำผลการวิจัยไปอ้างอิงในงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เรื่องใหม่ให้รอปรึกษาเรื่องเอกสารหลักฐานจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)

ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ใช้หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ/โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ และได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายเป็นการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเชิงนโยบายใน การนำไปใช้ประกอบเป็นข้อมูลการประกาศใช้กฎหมาย หรือกำหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
๒. การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์หมายถึง การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพณิชย์ คือ งานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น
๓.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการหมายถึง???? เป็นการนำผลงานการวิจัย นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเรียนการสอน หรือสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
๔.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะหมายถึง ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนในเรื่องต่างๆทีทำให้ คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ได้แก่การใช้ประโยชน์ด้านสาธารณสุข ด้านการบริหารจัดการสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยภาคประชาชน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
๕.การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่หมายถึง เป็นการนำผลงานการวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เจาะจงพื้นที่นั้นๆ

๖. ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

๗. ด้านการศึกษาพยาบาล

๘. ด้านการวิจัย

ระเบียบวาระที่ ๔ สรุปแนวทางปฏิบัติ

ปิดประชุม ๑๔.๓๐ น.

????????????????.

(นายภราดร???????????????? ล้อธรรมมา)

ผู้บันทึกการประชุม

????????????????.

(นางศศิธร ชิดนายี)

ผู้ตรวจการประชุม

06/09/2014

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการองค์ความรู้

ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ? Active learning

?

???????? ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการเรียนการสอนแบบโดยการใช้กระบวนการActive Learning ในลักษณะหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาและแต่ละหัวข้อที่สอนในรายวิชานั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในรายวิชาดังต่อไปนีh

๑. วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น

????????? – บทที่ ๙ หลักการและเทคนิคการพยาบาล จัดทำการเคลื่อนไหวและฟื้นฟูร่างกาย กิจกรรมที่ใช้คือ การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)

????????? – บทที่ ๑๓ หลักการเทคนิคการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิต โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ(Analysis or reactions to video)

๒. วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

????????? โดยจัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาก่อนการฝึกภาคปฏิบัติเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการ กาพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้โครงการ ?สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย? โดยมีเป้าหมายในกลุ่มบุคคลทุกช่วงวัย คือ วัยเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ร่วมกับการทำวิจัย เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

????????? สรุป: การเรียนรู้แบบ Active learning มีใช้ในวิชาหลักการฯ สรุปได้ ดังนี้

?????????????????? V = ให้นักศึกษาดูวิดีโอ

?????????????????? A = การฟังบรรยาย, การฟังเรื่องเล่าจากผู้อื่น, การพูดคุย, การฟังกลุ่มอภิปราย

?????????????????? R = การมอบหมายให้นักศึกษาอ่านก่อนการเข้าชั้นเรียน, การอ่านหนังสือนอกเวลา(พยาบาลไร้หมวก)

?????????????????? K = นักศึกษาทำกิจกรรม ฝึกหัดและลงมือปฏิบัติ ได้แก่ การทำกิจกรรมจิ๊กซอร์(Jigsaw), การแสดงบทบาทสมมติ(Role play), เขียนแผนผังความคิด(Mind mapping)

?การออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ดังนี้

๑. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การให้นักศึกษาแสดงความรู้สึกของตนเองก่อนฝึกภาคปฏิบัติและความต้องการหรือความคาดหวังที่ตนเองต้องการ

????????? ทฤษฎี : การพยาบาลขั้นพื้นฐาน

????????? กิจกรรมโครงการ : โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม การแสดงความรู้สึก การนำเสนอ ชื่อ ?สร้างฐานเปิดจิต คิดแบบเปิดใจ?

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกเมื่อต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยครั้งแรก

????????? ๒. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๖-๗ คน

????????? ทฤษฎี : การพยาบาลในประเทศและต่างประเทศ

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการพยาบาลในแต่ละยุค และนำเสนอ ในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ (Role play)

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและร่วมกันคิด ตัดสินใจในการบริการด้วยหัวใจ

????????? ๓. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to video) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือการร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

????????? ทฤษฎี : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิตและเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวีดีโอ

????????? ทดลอง: การแสดงความรู้สึกของนักศึกษาแต่ละบุคคล ภายหลังจากได้ดูวีดีโอ

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยและให้แสดงความรู้สึก สิ่งที่ได้รับจากการดูวีดีโอ

???????? ๔. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

????????? ทฤษฎี : ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม เขียนรายงานกรณีศึกษา โดยใช้ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและให้นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลและนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย

????????? ๕. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

????????? ทฤษฎี : การฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน

????????? กิจกรรมโครงการ : กิจกรรมการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันเกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติ

????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล การบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่พบเห็น

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล

????????? ๖. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด(Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันชองกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่มแล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ

????????? ทฤษฎี : การดูแลแบบองค์รวม

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ พยาบาลไร้หมวก

????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล เขียนตามความรู้สึกเกี่ยวกับการดูแลแบบองค์รวม จากการอ่านหนังสือพยาบาลไร้หมวก บน 1 หน้ากระดาษ A4

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนสิ่งที่ได้รับภายใต้หัวข้อการเรียนการสอนเรื่อง การดูแลแบบองค์รวม จากหนังสือ พยาบาลไร้หมวก

????????? ๗. การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน

????????? ทฤษฎี : เทคนิคการจัดท่า การเคลื่อนไหวและการฟื้นฟูร่างกาย โดยการจับฉลากให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ๑ เรื่อง

????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่นๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับแต่ละบุคคลไปเล่าสู่กันฟัง

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำไปสรุปความรู้

????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำกลับไปเล่าในกลุ่ม จากนั้นนำเสนอภาพรวมเนื้อหาของสมาชิกกลุ่ม

????????? ๘. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ

????????? ทฤษฎี : ประวัติการพยาบาล

????????? กิจกรรมโครงการ : การแสดงบทบาทสมมติภายใต้ ๖ หัวข้อ ได้แก่ การพยาบาลในยุคมืด การพยาบาลยุคกลาง การพยาบาลยุคเรเนสซองค์ การพยาบาลสมัยสุโขทัย การพยาบาลสมัยอยุธยา และการพยาบาลสมัยรัตนโกสินทร์

????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มนักศึกษาให้จับฉลากหัวข้อที่ได้รับแล้วไปศึกษา เพื่อนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ

????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น ๖ กลุ่ม ตามหัวข้อที่ได้รับ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหาในการนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ

???????????? สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพดังที่กล่าวมาพบว่า ในแต่ละรายวิชามีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ จึงสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

๑. ขั้นเตรียมการ

???? ๑.๑ ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน

???????? – ผู้สอนเปิดประเด็นการสอนในชั้นเรียน ด้วยการสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาที่นักศึกษาได้ศึกษามาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ว่าวิชาหรือความรู้ใดมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน

??????? – นักศึกษาวิเคราะห์ความรู้เดิมที่ตนเองได้รับ

???? ๑.๒ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม

?????? – ผู้สอนนำสิ่งที่นักศึกษาตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ของตนเองที่ได้รับมาเชื่อมโยงและเข้าสู่ประเด็นการสอน

??? ๑.๓ เลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้

????? – เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและเป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ หรือตัวผู้เรียนเอง โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ สื่อที่ใช้ประกอบ ควรมีเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน

???? ๑.๔ เร่งเร้าประสาทความรู้สึกต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความ

ตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

๒. ขั้นสอน แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ได้แก่

???? ๒.๑ ขั้นนำ โดยเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ เช่น รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม ข้อคำถามสะท้อนคิด เพื่อกระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ที่เรียน

??? ๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อให้เกิด

???????? ๒.๒.๑ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ใช้ VARK learning style เป็นต้น

???????? ๒.๒.๒ เน้นการมีส่วนร่วมหรือใช้คำถามกระตุ้นแก่ผู้เรียน

???????? ๒.๒.๓ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟังหรือเขียนอย่างลุ่มลึก เพื่อทำให้ผู้เรียนจัดระบบความรู้

ด้วยตนเอง

????????? ๒.๒.๔ เน้นทักษะการคิดขั้นสูงแก่ผู้เรียน โดยใช้เทคนิค ดังนี้

??????????????? – Reflective thinking (การสะท้อนคิด) หมายถึงการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้บุคคลได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน (Reflective Practice) ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน และการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

???????????? – Systemic thinking (การคิดอย่างเป็นระบบ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ? และมีส่วนประกอบย่อยๆ? โดยอาศัยการคิดใด รูปแบบโดยตรง? และโดยทางอ้อม

???????????? – Critical thinking (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ) หมายถึง การพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่างๆหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่มีข้อสงสัยหรือ ข้อโต้แย้ง โดย การพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล โดยการคิดวิพากษ์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์แปลกๆ ที่ไม่คาดหวัง การพบปัญหาที่ยากๆ เกิดความสงสัยหรือเกิดข้อโต้แย้ง ในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น การที่ต้องการตรวจสอบ และสืบค้นความจริง

???????? ๒.๒.๕ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม

๓. ขั้นสรุป

????????? ๓.๑ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

????????? ๓.๒ ผู้สอนประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา อาจแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การประเมินผลย่อย (formative assessment) หรือประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แต่ต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน เช่น การแสดงจากสีหน้า ท่าทางของผู้เรียน เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัวของผู้เรียนได้

????????????????????????????????????คณาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ

?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้ถอดบทเรียน

???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑๒ พฤษภาคม?๒๕๕๗

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการส่งเสริมสุขภาพ : การบูรณาการกับการเรียนการสอน

บทสรุป ความรู้ที่ได้รับจากการบริการวิชาการและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ

?????????????? ความรู้ที่ได้รับจากโครงการการบูรณาการการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการ พยาบาลกับการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย วันที่ 13 ธันวาคม 2556 และ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงเรียนวัดนาทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและวัดดอนไชย ?ตำบลชัยจุมพล ?อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นักศึกษามีการบริการวิชาการ ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ 1ให้บริการวิชาการวันที่ 13 ธันวาคม 2556 จำนวน 51 คน กลุ่มที่ 2ให้บริการวิชาการวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 โดยให้บริการวิชาการแก่วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ เรื่องที่ให้บริการวิชาการเป็นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพสุขวิทยาส่วนบุคคล ได้แก่ การล้างมือ การแปรงฟันและการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ความรู้ที่ได้รับจากการไปบริการวิชาการสำหรับอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล สรุปได้เป็น?3 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านการจัดการเรียนการสอน
  2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
  3. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 ด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา ความรู้ที่ได้รับจากการไปบริการวิชาการ คือ

การได้ศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษาในการนำความรู้รายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลไปใช้ เช่น พัฒนาการของนักศึกษาในการนำข้อมูลการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลจากที่เคยให้แก่ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุบนหอผู้ป่วย มาใช้บริการส่งเสริมสุขภาพแก่วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุในชุมชน ?ซึ่งมีพฤติกรรมที่การเรียนรู้ที่แตกต่างจากวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อยู่บนหอผู้ป่วย ปกตินักศึกษาจะมีประสบการณ์ในการให้บริการสุขภาพหรือปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่การบริการวิชาการได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการให้บริการวิชาการเป็นกลุ่มวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน ซึ่งอาจมีการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวแต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาโดยการนอนโรงพยาบาล การเพิ่มพูนประสบการณ์นอกเหนือจากการฝึกบนหอผู้ป่วย ทำให้นักศึกษาต้องมีการปรับตัว มีการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะทำให้นักศึกษามีวิธีการถ่ายถอดความรู้แก่เด็กวัยเรียนมากขึ้น ?การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาสามารถทำให้อาจารย์ได้แนวคิดในการนำมาสอนนักเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อๆไป ซึ่งอาจารย์ในภาควิชาเห็นว่า การออกแบบโดยการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนครั้งนี้บรรลุตามลักษณะการเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของรายวิชา คือการดูแลภาวะสุขภาพของบุคคลทุกช่วงวัย?

๑.๒ ด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์? การออกแบบการเรียนการสอนโดยการบูร-

ณาการวิชาการ ทำให้ได้แนวคิดว่า ควรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่นักศึกษาเคยได้รับ ?อาจทำให้นักศึกษาสามารถเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นได้? แนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีการสร้างสรรค์ประยุกต์ความรู้ สร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนจะทำให้นักศึกษามีการวางแผน ?การสร้างระบบการทำงานเป็นทีม (ดวงดาว เทพทองคำ, วิภาวรรณ นวลทอง, สุปราณี หมื่นยา, พิศิษฐ์ พวงนาคและนภดล เลือดนักรบ. (2556). การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 บนพื้นฐานการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.) การวางเป้าหมายในสิ่งที่จะทำ ขั้นตอนการทำงาน การสรุปผลงาน การทดลองนำมาใช้ก่อนการไปให้บริการวิชาการจริง ?ซึ่งควรจะมีการทดสอบกระบวนการดังกล่าวเป็นการศึกษาวิจัยโดยมีกรอบแนวคิดทฤษฎีรองรับ การศึกษาดังกล่าวจะสามารถตรวจสอบได้ว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือรูปแบบการบริการวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพแก่กลุ่มคนแต่ละช่วงวัยต่อไป

ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการนำมาลำดับขั้นตอนเพื่อการวางแผนในการสอนนักศึกษาต่อไป ดังนี้

๑) การออกแบบโดยการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ควรมีการให้นักศึกษาสร้างชิ้นงาน นำนวัตกรรมมาใช้หรือออกแบบนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนา

๒) วัตถุประสงค์การเรียนรู้รายวิชาหรือหัวข้อเรื่องในการบริการวิชาการที่มีการบูรณาการควรมีความ

สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือความต้องการของหน่วยงาน/องค์กร ที่จะไปบริการวิชาการ การดำเนินการจึงมีการสำรวจความต้องการหัวข้อเรื่องที่จะมีการบริการวิชาการกับครูโรงเรียนวัดนาทะเลและการบริการวิชาการสำหรับวัยผู้สูงอายุในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ต.ชัยจุมพล อ.ลับแล

จ.อุตรดิตถ์ ด้วย

????????? ๓) ประเด็นการเรียนรู้ในการกำหนดให้นักศึกษา ควรมีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเลือกในหัวข้อที่ตนเองสนใจ โดยอาจารย์กำหนดแนวคิดไว้กว้างๆ เพราะความสนใจจะเป็นแรงจูงใจเบื้องต้นในการเรียนรู้

????????? ๔) เมื่อนักศึกษาเลือกประเด็นหรือหัวข้อเรื่องที่ตนเองมีความสนใจแล้ว แนะแนวทางให้นักศึกษาได้มีการทบทวนความรู้ในประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเองที่ผ่านมา สร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการบริการวิชาการออกมาเป็นชิ้นงานเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในการไปให้บริการวิชาการ

????????? ๕)? เป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษา ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่นักศึกษาในการแสวงหา/ทางเลือก ด้วยกระตุ้นให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์และนำมาไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ช่วยนักศึกษาประเมินผลงานของนักศึกษาที่ผ่านการสร้างสรรค์มาแล้ว ก่อนการนำไปใช้ ตอบคำถามนักศึกษา ให้ข้อมูลเพื่อคลี่คลายปัญหา เสริมสร้างความมั่นใจให้แก่นักศึกษาก่อนนำไปใช้ในสถานการณ์จริง (ตามสรุปแนวทางการจัดการเรียนการสอนฯแนบท้าย)

? 2. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผลจากการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ม.4และม.5 ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พบประเด็นความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่วงวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ ดังนี้

?????????? 2.1 การบริการวิชาการวัยเด็ก มีแนวคิดในการส่งเสริมหลายๆด้าน? วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการ

การดูแลและการปรับตัวต่างๆ ซึ่งวัยเด็กก็สามารถแยกออกเป็นช่วงวัยต่างๆอีก ในการให้การส่งเสริมสุขภาพในช่วงวัยเด็กของโรงเรียนวัดนาทะเล ให้การส่งเสริมสุขภาพหัวข้อ คือ การล้างมือ การดูแลความสะอาดปากและฟัน จากทฤษฎีรายวิชาหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล บทที่ 1 สุขวิทยาส่วนบุคคล และวิชาปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล ให้การส่งเสริมทั้ง 2 เรื่อง การล้างมือ การดูแลความสะอาดปากและฟัน เนื่องจากเป็นการส่งเสริมสุขวิทยาเบื้องต้น หากขาดการดูแลจะส่งผลให้เกิดภาวการณ์เจ็บป่วยได้? การล้างมือ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้วัยเด็กมีพฤติกรรมที่รักษาความสะอาด เข้าใจหลักในการล้างมือและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องซึ่งจะส่งผลให้ลดการเกิดเชื้อโรคและคาดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยลดลง? การดูแลความสะอาดปากและฟัน เป็นการส่งเสริมการรักษาช่องปากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค? ป้องกันฟันผุ? เนื่องจากฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญในการช่วยเคี้ยวอาหารก่อนการกลืน และการสุขภาพของช่องปากดีก็ยังบ่งบอกถึงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคลด้วย

??????????2.2?? การบริการวิชาการวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมของโครงสร้างร่างกายและสภาพ

จิตใจตามระยะเวลาในการใช้งานตลอดชีวิต ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น ทั้งโรคที่เกิดแบบเฉียบพลันและโรคเรื้อรังต่างๆ อนาคตต่อไปของประเทศไทยสังคมผู้สูงอายุจะมีขนาดขยายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพของวัยผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้นก่อน จากการศึกษาสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2556 จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด? 250 คน ผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38 ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงที่ทีมสุขภาพต้องให้การดูแล การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุที่ให้บริการวิชาการคือ (๑)การล้างมือ เป็นการส่งเสริมความสะอาดเบื้องต้นเพื่อป้องกันและการแพร่กระจายของเชื้อโรค? (๒)การดูแลความสะอาดปากและฟันเป็นการส่งเสริมสุขอนามัยในช่องปากทำให้วัยผู้สูงอายุมีสุขภาพปากและฟันที่สะอาดลดการติดเชื้อในช่องปากด้วย (๓)การส่งเสริมสุขภาพเรื่องโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยการให้สุขศึกษาแก่วัยผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้ซักถามและแจกเอกสารความรู้เพิ่มเติมแก่วัยผู้สูงอายุ?

????????? ????????? การให้บริการวิชาการวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ เกิดจากการนำความรู้จากทฤษฎีและความรู้จากภาคปฏิบัติในการฝึก ๒ แผนก คือแผนกอายุรกรรมและแผนกศัลยกรรมมาผนวกความรู้และนำมาให้บริการวิชากรแก่วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการใช้ทฤษฎีและการปฏิบัติมารวมเป็นความรู้ที่จะส่งเสริมสุขภาพวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ที่สามารถสื่อสารและเล็งเห็นความสำคัญให้วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่นำไปปฏิบัติได้จริง

?????????????????? การบริการวิชาการด้านการส่งเสริมสุขภาพวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ณ โรงเรียนวัดนาทะเลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและวัดดอนไชย ?ตำบลชัยจุมพล ?อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้วัยเด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพ โดยการล้างมือ การทำความสะอาดปากและฟัน สามารถบอกถึงผลดีและผลกระทบหรือผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่ปฏิบัติตาม วัยผู้สูงอายุสามารถบอกหลักการปฏิบัติการล้างมือ การทำความสะอาดปากและฟันได้ ทราบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้มและรงเรียนวัดนาทะเล ทราบเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพของวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ สามารถนำข้อมมูลไปจักกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพได้ต่อไป อาจารย์และนักศึกษาได้ความรู้จากการบริการวิชาการ โดยแนวคิดความรู้ที่ได้รับของนักศึกษาจะปรากฏในแบบบันทึกสิ่งที่นักศึกษาได้รับ ซึ่งกระบวนการการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรการกับบริการวิชาการนี้ คณาจารย์ในภาควิชาเห็นว่าควรนำไปเป็นข้อมูลในการวิจัยต่อไป

แนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพ

  1. มีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการและมีการ

เตรียมการล่วงหน้าที่ทันเวลา

1.1?? การประชุมเพื่อสรุปแนวคิด (concept) ในการบูรณาการระหว่างอาจารย์ผู้สอน

1.2?? การกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการของภาควิชาฯ และของวิทยาลัยฯ

1.3?? การประชุมวางแผนการดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด เพื่อ ออกแบบการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่มคน ช่วงวัย ตลอดจนการวางแผนคิดค้น สร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาเกิดความสร้างสรรค์ทางปัญญา โดยอาจารย์นำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประเมินผลการเรียนการสอนโดยการทำวิจัยครั้งต่อไปเกิดเป็นวงจรเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

  1. การดำเนินการตามแผนที่กำหนด โดยความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องภายนอก

2.1 ประสานงานเพื่อความเข้าใจในการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ระหว่างหน่วยงาน หรือ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัด โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชน อาสาสมัครชุมชน

  1. มีการประเมินผลการดำเนินงานและวางแผนในการดำเนินการครั้งต่อไปเพื่อให้เป็นวงจรคุณภาพและ

เพื่อความยั่งยืนด้านการส่งเสริมสุขภาพ จากการบูรณาการครั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างการประเมินผลการดำเนินการดังนี้

ผลกระทบเมื้อสิ้นสุดการดำเนินงาน

๑.????? กลุ่มเป้าหมาย (เด็กวัยเรียนและครู)

-????????? พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนโดยกิจกรรมมีการดำเนินการแบบต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ ปี

-????????? นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของตนเองมากยิ่งขึ้น

-????????? ครูมีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขวิทยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

-????????? รู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้ดีขึ้น

-????????? ครูได้รับแนวทางความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-????????? การจัดกิจกรรมของวิทยาลัยฯส่งผลให้โรงเรียนเทศบาลหัวดงได้รับรางวัลเด็กสุขภาพฟันดีระดับอำเภอจากการประกวดสุขภาพดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรภายในโรงเรียน

๒.????? กลุ่มนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

-????????? พึงพอใจในกิจกรรมบริการวิชาการและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน

-????????? มีความมั่นใจในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลให้แก่ผู้อื่นมากยิ่งขึ้น จากการได้รับประสบการณ์จริง

-????????? มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในการให้บริการแก่ชุมชนและสามารถร่วมงานกับเครือข่ายภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-????????? ได้รับประสบการณ์จริงในการให้บริการวิชาการทำให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ ๒ มีการพัฒนาทางด้านความคิด การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

?3.????? กลุ่มอาจารย์

? -??พึงพอใจในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการที่ได้จัดและเกิดทักษะในกระบวนการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้กับนักศึกษา

? -??มีเครือข่ายในการดูแลและส่งเสริมสุขวิทยาส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น

??-??เกิดการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญการทำงานจากประสบการณ์ที่ได้รับจริงของการบริการวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

?-? ได้ประเด็นความรู้ในการบริการวิชาการการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาและยังเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการบริการวิชาการในครั้งต่อไป

แนวทางการนำไปใช้จากการบูรณาการ

? ๑.??การให้บริการวิชาการสามารถทำได้กับบุคคลทุกช่วงวัย ทุกเวลาและทุกสถานที่

? ๒.??การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนควรมีการจัดกิจกรรมที่ดึงความสนใจเด็กวัยนี้เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความสนใจใฝ่รู้มาก

? ๓.?ควรนำผลการจัดกิจกรรมไปเผยแพร่ที่อื่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติเช่นกัน

? ๔.?นำประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นรับทราบและปฏิบัติตามจนเกิดเป็นความเคยชิน

? ๕.?ปฏิบัติทุกครั้งตามความเหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อไป

??????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

???????????????????????????????????????????????????????????????????????? วันที่??12 พฤษภาคม 2557

การจัดการความรู้เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาภาคปฏิบัติ?

การใช้แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ จากผลการประชุม วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗? แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningของภาควิชาฯ มีดังนี้

๑)? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งจัดการเรียนการสอน ๓ มี.ค. ? ๒๓ พ.ค. ๕๗

ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

๑.กำหนดกิจกรรมในการเรียนการสอน ใน มคอ.๔ วิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

ดังนี้

กิจกรรมการเรียนการสอน ผลการนำไปใช้
-????????? กรณีศึกษา(โดยอาจารย์มอบหมายนักศึกษา 2คน ต่อ กรณีศึกษา 1 case ) -นักศึกษาได้เรียนรู้ การใช้กระบวนการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพในวัยทำงาน

-นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีไปใช้กับผู้รับบริการในสถานการณ์จริง

-????????? การวิเคราะห์บทความ(โดยมอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าบทความวิชาการ/บทความวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาของตนเอง) -นักศึกษาได้ฝึกการค้นคว้าด้วยตนเองจากหลายแหล่ง

-นักศึกษาอ่านและสรุปสาระสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้

-????????? บันทึกการเรียนรู้ -นักศึกษาได้ใช้บันทึกการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสะท้อนการเรียนรู้ ในเรื่องการทำงานและความรู้สึกในการดูแลกรณีศึกษา
-????????? การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล -นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดในเชิงวิชาการ และแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม

- นักศึกษารู้จักเปิดใจรับฟังความคิดของผู้อื่น

ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๑.????? นักศึกษาไม่สามารถให้กิจกรรมพยาบาลกับกรณีศึกษา ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากรณีศึกษายุติการเข้าร่วมกิจกรรมกะทันหัน

แนวทางแก้ไข

อ.อดุลย์ เสนอให้นักศึกษาชี้แจงทำความเข้าใจถึงขั้นตอนและกิจกรรมการให้บริการ ตลอดจนระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษา

อ.อัญชรี? เสนอให้เปลี่ยนกรณีศึกษาในกรณีศึกษาที่ไม่พร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม

๒. นักศึกษาบางส่วนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แนวทางแก้ไข

อ.บุญฤทธิ์ เสนอให้หาสาเหตุของการขาดความกระตือรือร้นเป็นรายบุคคล เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับนักศึกษา

อ.วิมล เสนอหากต้องให้เสริมแรงทางบวกควรทำในกลุ่มใหญ่ หากต้องการตักเตือนควรเรียกมาเตือนเป็นรายบุคคล

อ.วิไลวรรณ เสนอให้ทำข้อตกลงในการเรียนการสอน

อ.นพรัตน์ มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย

๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

อ.ดร.ประภาพร เสนอ ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ

อ.อิทธิพล เสนอ อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

อ.จิระภา เสนอ? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

๑.????? ผู้สอนต้องมีความสามารถในการชี้แนะให้กำลังใจสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องอ่านและวิเคราะห์บทความวิชาการ/วิจัย

๒.????? การมีอัตราส่วนผู้สอนและผู้เรียนเท่ากับ ๑:๗ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

๓.????? ผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

๔.????? ควรมีการเตรียมชุมชนก่อนนักศึกษาลงฝึกปฏิบัติ

๕.????? อาจารย์ผู้สอนควรมีการประเมินผลการสอนร่วมกันระหว่างที่ดำเนินการสอน

๖.????? ควรมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนเรื่อง วิธีการเรียนการสอนแบบ Active Learning

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro