แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการองค์ความรู้
ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ? Active learning
?
???????? ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพมีการจัดการเรียนการสอนแบบโดยการใช้กระบวนการActive Learning ในลักษณะหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการออกแบบการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาและแต่ละหัวข้อที่สอนในรายวิชานั้น ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในรายวิชาดังต่อไปนีh
๑. วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น
????????? – บทที่ ๙ หลักการและเทคนิคการพยาบาล จัดทำการเคลื่อนไหวและฟื้นฟูร่างกาย กิจกรรมที่ใช้คือ การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)
????????? – บทที่ ๑๓ หลักการเทคนิคการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิต โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ(Analysis or reactions to video)
๒. วิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล
????????? โดยจัดให้มีโครงการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาก่อนการฝึกภาคปฏิบัติเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและมีการบูรณาการกับการบริการวิชาการ กาพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้โครงการ ?สุขอนามัยดี ชื่นชีวีผู้สูงวัย? โดยมีเป้าหมายในกลุ่มบุคคลทุกช่วงวัย คือ วัยเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ร่วมกับการทำวิจัย เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคุ้ม ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
????????? สรุป: การเรียนรู้แบบ Active learning มีใช้ในวิชาหลักการฯ สรุปได้ ดังนี้
?????????????????? V = ให้นักศึกษาดูวิดีโอ
?????????????????? A = การฟังบรรยาย, การฟังเรื่องเล่าจากผู้อื่น, การพูดคุย, การฟังกลุ่มอภิปราย
?????????????????? R = การมอบหมายให้นักศึกษาอ่านก่อนการเข้าชั้นเรียน, การอ่านหนังสือนอกเวลา(พยาบาลไร้หมวก)
?????????????????? K = นักศึกษาทำกิจกรรม ฝึกหัดและลงมือปฏิบัติ ได้แก่ การทำกิจกรรมจิ๊กซอร์(Jigsaw), การแสดงบทบาทสมมติ(Role play), เขียนแผนผังความคิด(Mind mapping)
?การออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ดังนี้
๑. การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การให้นักศึกษาแสดงความรู้สึกของตนเองก่อนฝึกภาคปฏิบัติและความต้องการหรือความคาดหวังที่ตนเองต้องการ
????????? ทฤษฎี : การพยาบาลขั้นพื้นฐาน
????????? กิจกรรมโครงการ : โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม การแสดงความรู้สึก การนำเสนอ ชื่อ ?สร้างฐานเปิดจิต คิดแบบเปิดใจ?
????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกเมื่อต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยครั้งแรก
????????? ๒. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๖-๗ คน
????????? ทฤษฎี : การพยาบาลในประเทศและต่างประเทศ
????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงานเกี่ยวกับการพยาบาลในแต่ละยุค และนำเสนอ ในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ
????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ (Role play)
????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและร่วมกันคิด ตัดสินใจในการบริการด้วยหัวใจ
????????? ๓. การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to video) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือการร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม
????????? ทฤษฎี : การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเมื่อเสียชีวิตและเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวีดีโอ
????????? ทดลอง: การแสดงความรู้สึกของนักศึกษาแต่ละบุคคล ภายหลังจากได้ดูวีดีโอ
????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาดูวีดีโอเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยและให้แสดงความรู้สึก สิ่งที่ได้รับจากการดูวีดีโอ
???????? ๔. การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด
????????? ทฤษฎี : ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน
????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน
????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม เขียนรายงานกรณีศึกษา โดยใช้ ๑๑ แบบแผนของกอร์ดอน
????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและให้นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลและนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย
????????? ๕. การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน
????????? ทฤษฎี : การฝึกภาคปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน
????????? กิจกรรมโครงการ : กิจกรรมการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันเกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติ
????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล การบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่พบเห็น
????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขึ้นฝึกปฏิบัติวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล
????????? ๖. การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด(Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันชองกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่มแล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ
????????? ทฤษฎี : การดูแลแบบองค์รวม
????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนสิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ พยาบาลไร้หมวก
????????? ทดลอง: กิจกรรมรายบุคคล เขียนตามความรู้สึกเกี่ยวกับการดูแลแบบองค์รวม จากการอ่านหนังสือพยาบาลไร้หมวก บน 1 หน้ากระดาษ A4
????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาเขียนสิ่งที่ได้รับภายใต้หัวข้อการเรียนการสอนเรื่อง การดูแลแบบองค์รวม จากหนังสือ พยาบาลไร้หมวก
????????? ๗. การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน
????????? ทฤษฎี : เทคนิคการจัดท่า การเคลื่อนไหวและการฟื้นฟูร่างกาย โดยการจับฉลากให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ ๑ เรื่อง
????????? กิจกรรมโครงการ : การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่นๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้รับแต่ละบุคคลไปเล่าสู่กันฟัง
????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำไปสรุปความรู้
????????? ปฏิบัติ: การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแยกกันไปศึกษาข้อมูลจากกลุ่มอื่น แล้วนำกลับไปเล่าในกลุ่ม จากนั้นนำเสนอภาพรวมเนื้อหาของสมาชิกกลุ่ม
????????? ๘. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ
????????? ทฤษฎี : ประวัติการพยาบาล
????????? กิจกรรมโครงการ : การแสดงบทบาทสมมติภายใต้ ๖ หัวข้อ ได้แก่ การพยาบาลในยุคมืด การพยาบาลยุคกลาง การพยาบาลยุคเรเนสซองค์ การพยาบาลสมัยสุโขทัย การพยาบาลสมัยอยุธยา และการพยาบาลสมัยรัตนโกสินทร์
????????? ทดลอง: กิจกรรมกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มนักศึกษาให้จับฉลากหัวข้อที่ได้รับแล้วไปศึกษา เพื่อนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ
????????? ปฏิบัติ: ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น ๖ กลุ่ม ตามหัวข้อที่ได้รับ และเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหาในการนำเสนอในรูปแบบของการแสดงบทบาทสมมติ
???????????? สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพดังที่กล่าวมาพบว่า ในแต่ละรายวิชามีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย และมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ จึงสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
๑. ขั้นเตรียมการ
???? ๑.๑ ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน
???????? – ผู้สอนเปิดประเด็นการสอนในชั้นเรียน ด้วยการสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาที่นักศึกษาได้ศึกษามาแล้ว โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ว่าวิชาหรือความรู้ใดมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
??????? – นักศึกษาวิเคราะห์ความรู้เดิมที่ตนเองได้รับ
???? ๑.๒ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิม
?????? – ผู้สอนนำสิ่งที่นักศึกษาตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ของตนเองที่ได้รับมาเชื่อมโยงและเข้าสู่ประเด็นการสอน
??? ๑.๓ เลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้
????? – เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและเป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ หรือตัวผู้เรียนเอง โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ สื่อที่ใช้ประกอบ ควรมีเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน
???? ๑.๔ เร่งเร้าประสาทความรู้สึกต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความ
ตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
๒. ขั้นสอน แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ได้แก่
???? ๒.๑ ขั้นนำ โดยเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการต่างๆ เช่น รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม ข้อคำถามสะท้อนคิด เพื่อกระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ที่เรียน
??? ๒.๒ ขั้นสอนเนื้อหา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เพื่อให้เกิด
???????? ๒.๒.๑ กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เกิดการเรียนรู้โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ใช้ VARK learning style เป็นต้น
???????? ๒.๒.๒ เน้นการมีส่วนร่วมหรือใช้คำถามกระตุ้นแก่ผู้เรียน
???????? ๒.๒.๓ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟังหรือเขียนอย่างลุ่มลึก เพื่อทำให้ผู้เรียนจัดระบบความรู้
ด้วยตนเอง
????????? ๒.๒.๔ เน้นทักษะการคิดขั้นสูงแก่ผู้เรียน โดยใช้เทคนิค ดังนี้
??????????????? – Reflective thinking (การสะท้อนคิด) หมายถึงการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้บุคคลได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน (Reflective Practice) ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน และการแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
???????????? – Systemic thinking (การคิดอย่างเป็นระบบ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ? และมีส่วนประกอบย่อยๆ? โดยอาศัยการคิดใด รูปแบบโดยตรง? และโดยทางอ้อม
???????????? – Critical thinking (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ) หมายถึง การพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่างๆหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่มีข้อสงสัยหรือ ข้อโต้แย้ง โดย การพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล โดยการคิดวิพากษ์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์แปลกๆ ที่ไม่คาดหวัง การพบปัญหาที่ยากๆ เกิดความสงสัยหรือเกิดข้อโต้แย้ง ในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น การที่ต้องการตรวจสอบ และสืบค้นความจริง
???????? ๒.๒.๕ ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม
๓. ขั้นสรุป
????????? ๓.๑ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
????????? ๓.๒ ผู้สอนประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา อาจแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ การประเมินผลย่อย (formative assessment) หรือประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผล (summative assessment) แต่ต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนภายในห้องเรียน เช่น การแสดงจากสีหน้า ท่าทางของผู้เรียน เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนให้รู้เท่าทันบรรยากาศการเรียนรู้ที่ลดถอยลงหรือตื่นตัวของผู้เรียนได้
????????????????????????????????????คณาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและพัฒนาวิชาชีพ
?????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้ถอดบทเรียน
???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑๒ พฤษภาคม?๒๕๕๗
สำหรับผู้สอนสามารถที่จะมีการจัดการเรียนการสอนในแต่ละเนื้อหาการสอนโดยให้มีเทคนิคการจัดการเรียการสอนแบบ Active learning หลายรูปแบบได้ โดยจะทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัว และรับรู้ถึงเนื้อหาการเรียนการสอนที่มากขึ้น เช่น การแสดงบทบาทสมมติ ทำให้ลดระยะเวลาในการสอนโดยการบรรยายของอาจารย์ผู้สอน แต่เป็นการให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาด้วย
การใช้เทคนิคแสดงบทบาทสมมติเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่มีการใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะจะทำให้นศ.เข้าใจถึงลักษณะอาการหรือสถานการณ์นั้นๆมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้นศ.เกิดการคิดแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ
การใช้บทบาทสมมุติในการเรียนการสอน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซึกขวาในการทำงาน นอกจากได้ความรุู้แล้วยังส่งเสริมพฤติกรรมการกล้าแสดงออก แก่ผุู้่เรียนด้วย
จากประสบการณ์ใช้การสอนแบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) ในการสอนภาคปฏิบัติ โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษากรณ๊ศึกษาที่เป็นผู้ป่วยจริงในหอผู้ป่วย ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาเทคนิคการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และมีความกระตือรือร้นในการศึกษา ค้นคว้าพัฒนาความรู้และความรับผิดชอบได้ดี
การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดจากเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ด้วยการศึกษาปัญาหาที่สมมุติขึ้นจากความจริง แล้วผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเสนอวิธีแก้ปัญหา หลักของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานคือการเลือกปัญหาที่สอดคล้องกับเนื้อหาการสอนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม วิเคราะห์ วางแผนกำหนดวิธี
แก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยผู้สอนมีบทบาทให้ค าแนะน าแก่ผู้เรียนขณะลงมือแก้ปัญหา สุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแก้ปัญหาผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปผลการแก้ปัญหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสิ่งที่ได้จากการลงมือแก้ปัญหา
ผลการสะท้อนจากผู้เรียน (reflection) ช่วยให้นักศึกษาได้มีการฝึกการคิดอย่างเป็นลำดับขั้น และลงมือปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากกว่าการเรียนแบบบรรยาย ผู้เรียนชอบกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นความสนใจ ความคิด
สร้างสรรค์ บรรยากาศการเรียนไม่น่าเบื่อ หลักจากการเรียนรู้สึกว่าตนเองมีมุมมองและความคิดแตกต่างไปจากเดิม
เมื่อการจัดการเรียนการสอนมีรูปแบบที่หลากหลาย ผู้สอนควรวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยเช่นกันจึงจะสอดคล้องและประเมินผลได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ การประเมินผลควรเป็นการประเมินกระบวนการเรียนรู้มิใช่ประเมินผลลัพธ์สุดท้ายเพียงอย่างเดียว เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การเรียนการสอนแบบ Active learning เป็นการเรียนการสอนที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้สอนควรพิจารณาเนื้อหารายวิชาในแต่ละบทว่าเหมาะสมกับการเรียนการสอนแบบใด ซึ่งหากมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน เช่น การเรียนรู้แบบแผนผังความคิดเป็นการรวบรวมความคิดและความเชื่อมโยงกันชองความคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาสามารถจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น
จากประสบการณ์ที่ให้ นศ.ทดลองให้ทำ Concept mapping และ ทำการสอนแบบ Team base learning พบว่าสามารถช่วยพัฒนาทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญานได้จริง ที่สำคัญ นศ. ไม่มีโอกาสหลับในห้องเรียนด้วยคะ
การเรียนการสอนแบบ Active learning เป็นการเรียนการสอนที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งผู้สอนควรพิจารณาเนื้อหารายวิชาในแต่ละบทว่าเหมาะสมกับการเรียนการสอนแบบใด ซึ่งผู้สอนเคยใช้การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด(Concept mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิดเพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันชองกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่มแล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการสรุปความรู้ได้ทุกเรื่องของการเรียนเหมาะกับการเรียนรู้ของนักศึกษา เพราะจะทำให้นักศึกษาทบทวนเนื้อหาได้ง่ายและกระชับมากขึ้น
การสอนแบบบทบาทสมมตินับเป็นการสอนแบบ active learning mujควรมีการกำหนดบทบาทผู้แสดง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน และสิ่งที่เพื่อนผู้ชมบทบาทสมมติจะต้องสังเกตโดยจัดทำเป็นแบบบันทึกการสังเกตบทบาทสมมติ หรือแบบตรวจสอบรายการ จะทำให้ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาในบทเรียนและผู้เรียนมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
การแสดงบทบาทสมมุติ (Role playing) ในขณะจำลองสถานการณ์ในรายวิชาทางการพยาบาล นักศึกษาจะแสดงบทบาทอย่างสมจริงและทำความเข้าใจในบทบาทที่ตนแสดงให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความรู้สึกและเสมือนว่าตนเองอยู่ในสถาณการณ์จริง โดยอาจารย์ผู้สอนอาจสอดแทรกประเด็นคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาภายหลังเสร็จสิ้นการจัดการเรียนการสอน หรือยุติสถานการณ์เพื่อให้ผ็เรียนเกิดการเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยในลักษณะการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม หรือการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
การจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลอง (Simulation Method)
เป็นการสอนที่อาศัยการจำลองสถานการณ์จริงมากที่สุดโดยการยกสถานการณ์นั้นมาไว้ในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจว่าในความเป็นจริงเรื่องๆ นั้นเป็นอย่างไร
ข้อดี
1.เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์จริงๆ ได้มากที่สุด
2.เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้กระทำ รวมทั้งได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายด้วย
3.ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะหลายๆ ทางและทำงานร่วมกันผู้อื่นได้
การสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากอภิปรายและแสดงความคิดเห็น เป็นหัวใจสำคัญของการสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเริ่มจากผู้สอนกระตุ้นผู้เรียนเกิดคำถามหรือตั้งคำถาม จากนั้นผู้สอนโน้มน้าว สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนขยายความคิดและเชื่อมโยงองค์ความรู้ จากนั้นเปิดโอกาศให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น อภิปรายในชั้นเรียน โดยผู้สอนมีบทบาทช่วยชี้แนะและสรุปความคิดตามหลักการ สุดท้ายให้ผู้เรียนพัฒนาชิ้นงาน หรือทาแบบฝึกหัด เพื่อประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยการใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)เป็นวิธีที่น่าสนใจสำหรับนักศึกษามากค่ะ เพราะนักศึกษาจะสนุกกับการแลกเปลี่ยนและนำไปเล่าต่อให้เพื่อนฟัง ส่วนเทคนิค Concept Mapping ก็เป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดได้อย่างเต็มที่ เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามีการคิดอย่างมีวิจารณญาณค่ะ
เป็นแนวคิดที่ดี นำไปสู่การปฏิบัติได้ แนวปฏิบัตินี้ควรนำสู่การเรียนการสอน เพราะจะทำให้เกิดการปลูกฝังที่ดีในการพัฒนาตนเองของนักศึกษาด้านการเรียนรู้
Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง ความรู้ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่กระตุ้นผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอน Active Learning โดยการใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw)เป็นวิธีที่น่าสนใจเหมาะกับนักศึกษาเพื่อเป็นการเรียนการสอนที่สนุกสนานมีการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยใช้ concept mapping ทีจะทำให้นักศึกษาประมวนความคิดและมีการจัดการกระบวนการเรียนที่เป็นความรู้ของตนเอง
ได้ใช้เทคนิคการสอน การใช้ผังความคิด (Concept mapping) ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 ในกระบวนการเยี่ยมบ้าน ในหัวข้อของการวิเคราะห์ปัจจัยทีี่มีผลต่อสุขภาพครอบครัว ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งการเขียนการคิดไปพร้อมๆ กัน ส่งผลให้เกิดการจัดระบบความคิดเชิงเหตุและผล เป็นการสร้างเสริมการคิดอย่างเป็นระบบซึ่งเป็นทักษะที่วำคัญของการเรียนการสอนทางการพยาบาล