• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

23/08/2016

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?ประสบการณ์การทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3? ซึ่งดำเนินการโดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุล นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะต้องหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะเชิงวิชาชีพ ?มีความมั่นใจและนำทักษะการดูแลมารดาและทารกในรยะคลอดไปใช้อย่างเต็มภาคภูมิ รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เรียนรู้และฝึกทักษะ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องเปลี่ยนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนจะต้องเป็นทั้งนักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการที่จะบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ความเข้าใจต่อประสบการณ์ของผู้เรียนในการทำคลอดซึ่งเป็นทักษะที่ยากสำหรับนักศึกษาผู้ฝึกปฏิบัติเพราะต้องรับผิดชอบชีวิตทั้งมารดาและทารกจะสามารถสร้างนำมาเป็นข้อมูลในการสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีความสุข ผ่อนคลายความตึงเครียด ?เกิดการกระตุ้นวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ?ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

การทำคลอดครั้งแรกเป็นทักษะที่ต้องอาศัยทั้งความรู้ความชำนาญและเป็นเหตุการณ์ที่จะสร้างความรู้สึกได้ทั้งในแง่บวกและลบแก่นักศึกษาพยาบาล หากนักศึกษาพยาบาลผ่านกระบวนการทำคลอดไปอย่างราบรื่นก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง แต่หากประสบกับเหตุการณ์ทางลบเช่น ขณะช่วยทำคลอดทารกมีภาวะขาดออกซิเจน มารดาต้องได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องฉุกเฉิน ก็จะทำให้นักศึกษาเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกได้และส่งผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าและความภาคภูมิใจในตนเองตลอดจนทัศนคติต่อวิชาชีพ การศึกษาประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สาม จะสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและผลิตบัณฑิตพยาบาลที่สามารถทำงานด้านอนามัยแม่และเด็กได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

สำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) ?มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อทำความเข้าใจต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกในขณะฝึกปฏิบัติที่แผนกห้องคลอดของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 16 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการเรียน 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม? 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 98 คน โดยคัดเลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน 26 คนแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ นักศึกษาตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวน 13 กลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน โดยในแต่ละกลุ่มคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม 1 คน และสมาชิก 1 คน ผู้ให้ข้อมูลเต็มใจที่จะเข้าร่วมการวิจัยทุกคน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) บันทึกความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรก โดยให้นักศึกษาได้เขียนบอกเล่าความรู้สึกในการทำคลอดครั้งแรกด้วยความจริงใจ เช่น การเตรียมความพร้อมของตนเอง ความรู้สึกต่าง ๆ ความต้องการการได้รับการนิเทศกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งการบันทึกให้เขียนทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการทำคลอดครั้งแรก 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ที่มีแนวคำถามสำหรับการทำอภิปรายกลุ่มจำนวน 6 ข้อ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มที่เก็บข้อมูลจำนวน 5 คน เพื่อทดลองใช้คำถามกับนักศึกษาและนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อทำให้ได้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้นักศึกษาพยาบาลมีประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรกแบ่งเป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) 3 ประการ ได้แก่ 1) ความรู้สึกหลากหลายต่อประสบการณ์ในการทำคลอดครั้งแรก 2) สิ่งที่คาดหวังในการทำคลอดอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป และ 3) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำคลอดครั้งแรก

ประสบการณ์ของนักศึกษาในการทำคลอดครั้งแรกมีหลากหลายตั้งแต่ก่อนการทำคลอดซึ่งเป็นความรู้สึกด้านลบได้แก่ ความรู้สึกเครียด วิตกกังวล กลัว ตื่นเต้น ประหม่า งุนงง ลนลาน สับสน ตกใจ ทำอะไรไม่ค่อยถูกลืมทุกอย่างแม้ว่าจะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่การได้เตรียมตัวทำคลอดกับหุ่นจำลองช่วงก่อนฝึกจริงหนึ่งสัปดาห์ หรือการได้เข้าช่วยทำคลอดกับพยาบาลวิชาชีพหรือแพทย์ ทำให้อาการดังกล่าวลดลง

การทำคลอดครั้งแรกทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ว่าสิ่งที่ตนเองคาดหวังในการทำคลอดนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไป โดยนักศึกษาได้บอกเล่าสิ่งที่คาดหวังออกเป็น 3 ประการได้แก่ ด้านตนเอง ด้านมารดา และด้านอาจารย์นิเทศ (ทั้งนี้อาจารย์นิเทศในที่นี้จะหมายถึงอาจารย์นิเทศจากวิทยาลัย และ/หรืออาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก)

การทำคลอดครั้งแรกทำให้เกิดประสบการณ์ที่ทำให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นหลายประการ โดยความสำเร็จในการทำคลอดครั้งแรกประกอบไปด้วยความสำเร็จจากตนเอง มารดา และอาจารย์นิเทศ สำหรับอุปสรรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากตนเอง เพื่อน และการสนทนาในขณะคลอด

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวคิดสำหรับการพัฒนาอาจารย์นิเทศจากวิทยาลัยและอาจารย์พยาบาลพี่เลี้ยงในแหล่งฝึกในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติร่วมกันโดยมีจุดมุ่งเน้นการจัดประสบการณ์ที่ประทับใจแก่นักศึกษาพยาบาลเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล และการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลายเช่น ห้องปฏิบัติการพยาบาลที่ทันสมัย ประกอบด้วยหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลทำคลอด หนังสือตำราเกี่ยวกับการพยาบาลสูติศาสตร์ วารสารงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนฐานข้อมูลสำหรับการสืบค้นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้เป็นแหล่งความรู้และฝึกฝนทักษะจนชำนาญก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ

******************************************************

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑? ซึ่งดำเนินการโดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุลและคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งท้าทายสำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะต้องหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความมั่นใจและนำทฤษฎีการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ไปใช้อย่างเต็มภาคภูมิ รู้สึกเป็นสุขเมื่อได้เรียนรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ กระบวนการจัดการเรียนการสอน จึงต้องเปลี่ยนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนจะต้องเป็นทั้งนักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการที่จะบูรณาการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใช้กลยุทธ์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น วิธีที่ได้ผลวิธีหนึ่งได้แก่ วิธีการเรียนรู้แบบ VARK โดยผู้สอนจะมีบทบาทเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง คือส่งผลให้มีพื้นฐานการคิดดี ภูมิแน่น เรียนรู้อย่างมีความสุขอันเป็นปิติสุขในความสำเร็จของการเรียนรู้ มีผลการศึกษาที่รายงานถึงประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนแบบ VARK ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและสามารถสร้างบรรยากาศการเรียนที่เอื้อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนาน เกิดการกระตุ้นวิธีการคิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ?ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ VARK มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน? จึงเป็นเสมือนหนึ่งแนวทางให้ผู้สอนได้นำมาออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับศตวรรษที่ 21 โดยวิธีการสอนแบบ VARK เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการสอน (active teacher) และออกแบบการเรียนการสอนที่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความกระปรี้กระเปร่า (active learner) เกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) และเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning)

VARK Learning style หรือรูปแบบการเรียนแบบ VARK เป็น sensory Model ที่ประกอบด้วย V หรือ Visual เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการเห็นข้อมูล การสังเกตผู้อื่นปฏิบัติ และ/หรือ การเห็นภาพ กราฟ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้? A: Aural or Auditory เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการฟังเช่น ฟังจากเทป จากเรื่องเล่าของผู้อื่น จากการพูดคุย การฟังกลุ่มอภิปราย? R: Read or Write เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการอ่านหรือเขียน โดยการอ่านจากหนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ตในรูปอักษร การเขียนรายงาน การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ และ K: Kinesthetic เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีด้วยการลงมือปฏิบัติ ชอบฝึกหัด สนุกที่จะลงมือทำ อาจเป็นในรูปสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หรือสถานการณ์จริง

รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันไป ผู้เรียนแต่ละคนจะชอบวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในการรับข้อมูลหรือความรู้ใหม่ ๆ เรียกว่า VARK learning preference อาทิเช่น บางคนเรียนรู้ได้ดีจากการดู บางคนจากการฟัง บางคนจากการอ่านหรือเขียน หรือบางคนเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เช่น เห็นและทำ? ฟัง อ่านและเขียน เป็นต้น เรียกว่า Multimodals

สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ตอนที่ 2 ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1

ประชากรในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ จำนวน 16 สัปดาห์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนมิถุนายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 124 คน โดยคัดเลือกนักศึกษาทุกคนเป็นผู้ให้ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบรูปแบบการเรียนการสอนบนคลินิกฝากครรภ์โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ VARK ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 การสร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทบทวนเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้อง แนวคิดความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้แบบ VARK ร่างข้อคำถามให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การวิจัยและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านเนื้อหา (Content validity) โดยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะในรายละเอียดและ/หรือรายข้อที่ยังไม่ชัดเจน จากนั้นนำแบบสอบถามความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่แผนกฝากครรภ์ไปทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เคยฝึกทักษะที่แผนกฝากครรภ์มาก่อนจำนวน 30 คน นำแบบสอบถามที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.87 การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามความคิดเห็นแก่นักศึกษาภายหลังสิ้นสุดการฝึกที่แผนกฝากครรภ์แล้วนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ในการตอบแบบสอบถามที่ครบถ้วน จากนั้นนำผลมาประเมินวิเคราะห์ทางสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics)

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ กิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแผนกฝากครรภ์ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ครอบคลุม VARK learning style มีทั้งหมด 26 กิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมด้านการดู (visual) 4 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 15.39 การฟัง (Aural) 5 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 19.23 การอ่าน/การเขียน 7 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 26.92 และการลงมือปฏิบัติ (kinesthetic) 10 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 38.46 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเน้นการลงมือปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การอ่านและการเขียน การฟัง และการดู ตามลำดับ รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบผสมผสานหรือMultimodal learning preference เพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสของนักศึกษาอย่างครบถ้วน

สื่อการเรียนการสอน ได้แก่ ใบงานแสดงบทบาทสมมติหญิงตั้งครรภ์ และ พยาบาลวิชาชีพ บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องในระยะตั้งครรภ์ จำนวน 1 เรื่อง แบบฝึกหัดการคิดอายุครรภ์ การคาดคะเนกำหนดวันคลอด การคัดกรองภาวะเสี่ยง การเขียนบันทึกรายงานในบัตรอนามัยมารดา การอ่านผลการตรวจครรภ์ บทความภาษาอังกฤษการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาส แบบฝึกหัดการอ่านตำราภาษาอังกฤษเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ตามไตรมาสและแผนการสอนในคลินิก 2 เรื่อง ได้แก่ แนวทางการคัดกรองภาวะธาลัส? ซีเมียและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในหญิงตั้งครรภ์ และ มาตรฐานการดูแลในระยะตั้งครรภ์ตามองค์การอนามัยโลก

นักศึกษามีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติแผนกฝากครรภ์ รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ที่ครอบคลุม VARK learning style โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (mean= 4.53, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นด้านการลงมือปฏิบัติและด้านการดูมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (mean= 4.61, S.D.= 0.54, mean= 4.58, S.D.= 0.55 ตามลำดับ)? ?โดยด้านการอ่าน/การเขียนและการฟังมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean= 4.50, S.D.= 0.59, mean= 4.36, S.D.= 0.63 ตามลำดับ) โดยด้านการฟังมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก (mean= 4.36, S.D.= 0.63)

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ จะพบว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ VARK ทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกกับบทเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้เมื่อฝึกภาคปฏิบัติและมีผลสัมฤทธิ์การเรียนที่ดี คณาจารย์สามารถนำข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยดังกล่าวมาออกแบบการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งการอ่าน ฟัง ดูและลงมือทำเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจต่อบทเรียนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาลสามารถที่จะนำผลการสังเคราะห์งานวิจัยนี้ไปออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการผู้เรียนที่เรียนรู้และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นคุณสมบัติของบัณฑิตต่อไป

*********************************************

22/08/2016

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๓๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

**************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ดุจเดือน??????????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.น.ส.วิไลวรรณ? ?????????บุญเรือง?????????พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๑๐.นางสายฝน??????????? วรรณขาว???????????? พยาบาลวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาฯได้มีการจัดอบรมเตรียมความพร้อมมาเป็นระยะเวลา ๑ ปี และมีการนำไปใช้ในระยะ ๑ เทอมการศึกษา และจากการนำไปใช้เห็นว่าควรมีการทบทวนเพื่อพัฒนาปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงานการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้

สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวนความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน โดยมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชาฯ ที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน(อาจารย์ที่ผ่านการอบรมระยะสั้นตามหลักสูตร Reflective thinking) และมอบหมายให้อาจารย์ทุกคนในภาควิชาฯ ไปศึกษาเพิ่มเติม และนำเสนอในที่ประชุมภาควิชา

ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาคณาจารย์ในภาควิชาเพื่อวิเคราะห์ความรู้ เช่น ความสอดคล้องตามการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑? ความสอดคล้องตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ? ความเป็นไปได้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทางการพยาบาล? บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน? ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน

ขั้นตอนที่ ๔ การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง(tacit knowledge) ภาควิชาได้เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่คณาจารย์ในภาควิชา

ขั้นตอนที่ ๕ การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง) ภาควิชาได้จัดเสวนาคณาจารย์เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติที่ในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อน ดังนี้

๑.ทบทวน Learning?? Outcome ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ที่สามารถใช้การสอนแบบ Reflective และจะสามารถตอบ LO ใน Domain ใดบ้าง

๒.จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan)

๓.อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

ได้แก่ ฝึกการกำหนดประเด็น / ตั้งคำถาม?? , ฝึกเขียนบันทึกการสะท้อนคิด , ฝึกการชี้ประเด็นการสะท้อนคิด

๔.อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงาน(Reflective writing)ของนักศึกษา

๕.กรณีนักศึกษาไม่สามารถตั้งคำถาม ตามระดับ(Bloom Taxanomy) อาจารย์อาจต้องมีเวลา ในการเตรียมนักศึกษาในการฝึกตั้งคำถาม อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง ก่อนทำ Reflective thinking

๖.อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาต้องมีการชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking กับนักศึกษา รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

๗.การทำ Reflective writingของนักศึกษา จากประสบการณ์ของ ดร.เชษฐา แก้วพรม พบว่านักศึกษาพยาบาลใช้เวลาในการเขียน ทั้ง ๖ ขั้นตอนของ Gibbs? ใช้เวลา ๔ ชั่วโมง?? อาจารย์ต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับเวลาที่สอน เช่น ในการฝึก ๔ สัปดาห์ อาจให้นักศึกษาทำ Reflective writing สัปดาห์ละ๑ ครั้ง

๘.ในการให้ข้อมูลย้อยกลับไม่ควรรอเป็นสัปดาห์ เพราะจะทำให้นักศึกษาลืมเหตุการณ์ที่ผ่านมา ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้

๙.หลังจาก นักศึกษาทำ Reflective writing อาจารย์ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับนักศึกษาทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันอาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษาในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ ๖ การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ ภาควิชาได้ดำเนินการคัดเลือกรายวิชาที่จะใช้วิธีการสอนแบบสะท้อนคิด เพื่อนำไปทดลองใช้จำนวน ๓ รายวิชา

ผลที่ได้จากการเรียนรู้

ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอน

๑.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป

๒. นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ

๓. นักศึกษาได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ

ผลการประเมินจากนักศึกษา

๑.อาจารย์กำหนดประเด็นให้นักศึกษาเขียนช่วยให้นักศึกษามีขอบเขตในการเขียนบันทึกสะท้อนคิด

๒.ทำให้นักศึกษาได้กลับมามองตนเอง(Self awareness)ว่ามีจุดอ่อนในการทำงานในเรื่องใดและจะต้องพัฒนาตนเองในด้านใด

๓.นักศึกษาคิดว่าตัวเองคิดเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เพิ่มมากขึ้น ไม่เหมือนกับการเขียนบันทึกในวิชาอื่นๆที่สะท้อนแค่ความรู้สึก

๔.ฝึกให้นักศึกษาต้องค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ไม่เหมือนในห้องเรียนที่อาจารย์จะมีคำตอบให้ในห้องเรียน

๕.การเขียนบันทึกสะท้อนคิดช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจความรู้สึกของนักศึกษาและรู้ว่านักศึกษายังไม่รู้หรือไม่เข้าใจความรู้ในประเด็นอะไร

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน ๘ คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม

๒. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ?Bloom?s Taxonomy

๓. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด

ข้อเสนอแนะ

- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า

- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)

มติที่ประชุม รับทราบ และขอให้นำไปปรับใช้ในรายปฏิบัติการพยาบาลวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ และ ๒ วิชาปฏิบัติการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ ?วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตเพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: dao
Time: 9:25 am
Reactions :8 comments

รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล

ครั้งที่? 1/2559? วันที่ 8 กรกฎาคม 2559

เวลา 15.30 -16.30 น. ณ ห้อง 327 อาคารเรียน 3

รายชื่ออาจารย์เข้าประชุม

  1. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ
  2. นายนภดล เลือดนักรบ
  3. นางสาวสุปราณี หมื่นยา

เปิดประชุมเวลา 15.30 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ

เรื่องที่ 1 การจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

เรื่องที่ 2 แนวทางการประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนานักศึกษาด้านการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม

-

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง

3.1 ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ เรื่อง ?การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒? ที่กำหนดไว้ในร่างกำหนดการ วันที่ 17 กรกฎาคม 255๘ ?โดยนางเพ็ญลักขณา ขำเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชที่ 18 ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและผู้เข้าร่วมการประชุม คือ พยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึกทุกแห่งทั้งโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้นำประเด็นสำคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มามาปรับใช้โดยนำมาเป็นหัวข้อการสะท้อนคิดในการกิจกรรมโครงการเสริมหลักสูตร ซึ่งรูปแบบการสะท้อนคิดอาจารย์นภดล เลือดนักรบ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรดำเนินการ ทั้งนี้จะสรุปไว้ในวาระเรื่องอื่นๆ ในท้ายสุดถึงขั้นตอนสรุปการดำเนินงาน

มติที่ประชุม : รับทราบ

ระเบียบงวาระที่ ๔ เรื่องหารือที่ประชุม

4.1 หารือที่ประชุมเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการวางแผนที่จะมีการจัดการความรู้เป็นระยะนับตั้งแต่ขั้นเตรียมการ? ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้แบบวิเคราะห์การดำเนินการในรายวิชาทฤษฎีหลักการและเทคนิคการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล

มติที่ประชุม: เห็นด้วยที่จะมีการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ในทุกระยะ และจากการดำเนินการกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการเตรียมความพร้อมฯ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลภาคทฤษฎี ทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยในการประชุมครั้งนี้ ในระเบียบวารที่ 5 เรื่องอื่นๆ? จะเป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาฯ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงจากการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปยังการวางแผนในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป สรุปเป็นขั้นประเมินผลอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการ

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ

5.1 การจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ขั้นเตรียมการ อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ ?มีการวางแผนการจัดการเรียนกาสอน

เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่กับแนวคิดการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน

1.1?? ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้และกระตุ้นให้

ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด? ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลและวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลเลือกวิธีการ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏี ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ (Demonstration-Return Demonstration Method) ในการเรียนภาคทดลองในห้องปฏิบัติการ และการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ และใช้วิธีการศึกษาจากสถานการณ์จริง (authentic learning) ในการเรียนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วย

1.2 เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคทดลอง? การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในโครงการและการฝึกภาคปฏิบัติดังนี้

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
1. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี) VARK learning style -VCD /เครื่องเสียง/ปากกา/กระดาษ/เอกสารประกอบการสอน
2. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทดลอง) Demonstration-Return Demonstration Method -หุ่นจำลอง

-วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-อาจารย์ผู้สอน

-แบบประเมินผล

3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Panel Discussion

Game

Cooperative Learning

Team based Learning

Case Study analysis

-วิทยากร

-อาจารย์ภาควิชาฯ

-นักศึกษา

-อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา

การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน สื่อ/อุปกรณ์
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ Group Discussion

Story Telling

-รายงานผู้ป่วย (chart)

-VCD

4. ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล Case study

Authentic learning

-อุปกรณ์บนหอผู้ป่วย

-สถานการณ์บนหอผู้ป่วย

-อาจารย์/นักศึกษา

-ผู้ป่วยกรณีศึกษา/ผู้ดูแลผู้ป่วย

-พยาบาล

5. การจัดการความรู้เรื่อง การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : - อาจารย์นภดล เลือดนักรบ

-ผู้เข้าร่วมจัดการความรู้

(น.ศ.ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์)

1.3 วางแผน จัดลำดับและแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยอาจารย์ภาควิชาฯ มีการระบบการวางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรม โดยการแจ้งระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ภาควิชาฯวางไว้ มอบให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรดำเนินการให้เรียบร้อย

1.4 การแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เห็นว่าในแผนจัดการศึกษาการแบ่งกลุ่มนักศึกษาได้กำหนดไว้แล้วขอให้อาจารย์พิจารณาความเรียบร้อยอีกครั้ง สำหรับกลุ่มในการเรียนภาคทดลอง อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนจำนวนเฉลี่ย 12 ?13 คน/กลุ่ม และมีการกระจายนักศึกษาที่มีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดี ปานกลาง และพอใช้

2. ขั้นสอน อาจารย์ในภาควิชา ฯ เห็นควรดำเนินตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอน ขั้นนำสู่บทเรียน? ขั้นสอนเนื้อหา และขั้นประเมินผล

3. ขั้นประเมินผล? ในแต่ละการออกแบบการสอน จะกำหนดการประเมินผลไว้และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนและการออกแบบการเรียนรู้ที่ต้องมีการพัฒนาให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

สำหรับการจัดการความรู้ในปีการศึกษานี้ได้มีการดำเนินการโดยผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีทั้งนักศึกษา อาจารย์พยาบาล ดังนั้นจึงให้ที่ประชุมได้แสดงความเห็นในการเรียนรู้ใหม่หรือความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ความรู้ใหม่ที่ได้รับและเกิดขึ้นเป็น Explicit Knowledge คือวงจรหรือกระบวนการการจัดการความรู้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ว่าควรจะมีการดำเนินการแบบเป็นขั้นตอน ได้แก่ ๑)?? การกำหนดความรู้ ๒)?? การสร้างและแสวงหาความรู้ ???๓)??การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ?๔)?? การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ?และ ๕) การเรียนรู้

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติการสะท้อนคิด สามารถสรุปได้จากกิจกรรมการดำเนินการโดยใช้ขั้นตอนดังนี้

  1. การบรรยายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพการพยาบาล มีความพร้อมในระดับปานกลางต่อการฝึกภาพปฏิบัติ แต่ขาดความมั่นใจ รู้สึกวิตกกังวลต่อการฝึกภาคปฏิบัติเพราะเป็นการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยครั้งแรก
  2. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน? การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในบรรยากาศนักศึกษามีการแลกเปลี่ยนในประเด็นของแรงจูงใจและที่มาของการเป็นนักศึกษาพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่มาเพราะเหตุผลอื่นๆ มีนักศึกษาประมาณร้อยละ 25 ที่มาจากความตั้งใจแต่แรกเริ่มแต่เมื่อเข้ามาเรียนภาคทฤษฎีได้ 1 ปี นักศึกษาสามารถที่จะปรับตัวและคิดว่าตนเองน่าจะผ่านพ้นการฝึกภาคปฏิบัติไปได้ด้วยดี
  3. การประเมินวิเคราะห์ประสบการณ์ร่วมกันว่าเป็นไปในทางบวกหรือในทางลบที่แตกต่างกันอย่างไร การวิเคราะห์ประสบการณ์ของนักศึกษาจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลที่ผ่านมาใน ภาคเรียนที่ 1 คิดว่าเป็นแรงเสริมทางบวกคือองค์ความรู้ที่มีจะช่วยให้การฝึกปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ สำหรับในทางลบคือการขาดความมั่นใจ ความวิตกกังวลกลัวว่าตนเองจะกระทำผิดและทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะทำให้นักศึกษาเกิดความท้อใจก่อนการฝึกภาคปฏิบัติ
  4. วิเคราะห์สถานการณ์ว่าสิ่งใดที่เกิดขึ้นที่เป็นอุปสรรคและสิ่งใดที่จะสามารถนำมาปรับให้ดีขึ้น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาได้เข้าร่วมในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยการใช้หลักการสะท้อนคิดจะทำให้นักศึกษาสามารปรับไปใช้ได้เพราะโดยส่วนใหญ่ในระหว่างเพื่อนนักศึกษามีความรู้สึกไม่แตกต่างกันและคิดว่าตนเองไม่ได้มีใครแปลกแยกออกไปจากกลุ่มที่จะไม่มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วย
  5. สรุปการเรียนรู้ที่ได้จากสถานการณ์ จากการได้เรียนรู้พบว่านักศึกษามีความมั่นใจเพิ่มขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะสามาระให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้
  6. การวางแผนในการนำไปใช้ นักศึกษาสามารถตอบได้ถึงการนำแนวทางการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ไปใช้ในการดูผู้ป่วยโดยได้แนวคิดจากกระบวนการสะท้อนคิดที่อาจารย์เป็นผู้ดำเนินการ

มติที่ประชุม : ?เห็นตามที่จัดการความรู้ร่วมกัน

ปิดการประชุม : 16.30 น.

อาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ

……..ดวงดาว? เทพทองคำ……..

(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

19/08/2016

การสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1

การสังเคราะห์งานวิจัย

เรื่อง

มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก

และการผดุงครรภ์ 1

โดย

อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุลและคณะ

จากการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง ?มุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 โดย นางสาว วรรณวดี? เนียมสกุลและคณะ นับว่าเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงความรู้ความสามารถของคนสมัยก่อนที่ถ่ายทอดคุณค่าของความเป็นไทยสู่ลูกหลานทั้งด้านประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมอันดีงามที่เกิดคุณค่าต่อชีวิตและสุขภาพ การให้นักศึกษาพยาบาลได้ค้นคว้าความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพของมารดาและทารกตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด จะทำให้นักศึกษาได้ตระหนักและซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยและสามารถผสมผสานให้การดูแลแก่ผู้มารับบริการได้อย่างลงตัวเหมาะสมตลอดจนเกิดความภูมิใจในตนเองที่สามารถให้การดูแลผู้มารับบริการที่คำนึงถึงกายจิตสังคมอย่างครบถ้วนภายใต้ความสอดคล้องกับบริบทไทยที่มีความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน

การศึกษามุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธิการเรียนรู้แบบโครงการในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 นับว่าเป็นประโยชน์เนื่องจากกลุ่มนักศึกษาพยาบาลกลุ่มนี้เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่สามที่จะต้องได้รับการพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพ ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การวางแผน การค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การตัดสินใจ การคิดเชิงวิเคราะห์ การสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้แบบโครงการจะเป็นการช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

สำหรับการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological study) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจต่อมุมมองและประสบการณ์ต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการในการบริการวิชาการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ ๓ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ คัดเลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลจำนวน ๑๒ คนแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ นักศึกษาตัวแทนแต่ละกลุ่มจำนวน ๗ กลุ่ม ๆ ละ ๑ คน โดยในแต่ละกลุ่มคัดเลือกผู้ที่เป็นหัวหน้าโครงการ ๑ คน และสมาชิก ๑ คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview guide) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ที่มีแนวคำถามสำหรับการทำอภิปรายกลุ่มจำนวน ๖ ข้อ ผู้วิจัยนำเครื่องมือที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓ ท่านและปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการทำอภิปรายกลุ่ม (focus group) กับนักศึกษาพยาบาลผู้ให้ข้อมูลโดยใช้แนวคำถามที่เตรียมไว้ การทำอภิปรายกลุ่มทำการบันทึกเทปและถอดเทปคำต่อคำ จัดทำเป็นบทสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นเนื้อหา (Thematic analysis)

ซึ่งผลจากการวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้

นักศึกษาได้จัดทำโครงการและดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ โครงการ ได้แก่ น้ำสมุนไพรตามธาตุเจ้าเรือนบำรุงครรภ์ สร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะประกอบเพลงพื้นเมือง ยำผักกูดเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ นวดเท้าคลายเจ็บครรภ์ด้วยกลิ่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดนวดบรรเทาปวดมารดาระยะคลอด ลูกกลิ้งบรรเทาปวดถุงนวดสมุนไพร เมี่ยงคำสมุนไพรบำรุงร่างกายคุณแม่หลังคลอด ลูกประคบสมุนไพรกระตุ้นการไหลของน้ำนม หญิงหลังคลอดน้ำนมดีด้วยหัวปลีลุยสวนและลูกประคบสมุนไพรคลายปวดหญิงตั้งครรภ์ในระยะคลอด โดยโครงการทั้งหมดครอบคลุมมิติทางการพยาบาลทั้งสี่ด้านตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ อาทิเช่น โครงการยำผักกูดเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ให้มีภาวะโภชนาการที่ดี และป้องกันโรคโลหิตจาง ทำให้สุขภาพทั้งมารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง? โครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโยคะประกอบเพลงพื้นเมือง ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั้งขณะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด เป็นต้น

จากการอภิปรายกลุ่ม (focus group) นักศึกษาที่ผ่านประสบการณ์ในการบริการวิชาการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ การศึกษาโครงการ พบว่านักศึกษามีมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริการวิชาการที่บูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการ แบ่งได้เป็นแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) ๓ ประการได้แก่ ๑) ความรู้สึกที่มีต่อวิธีเรียนรู้แบบโครงการ ๒) ?สมรรถนะหลากหลายที่ได้จากโครงการ และ? ๓) ความตระหนักถึงความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโครงการ

จากผลการสังเคราะห์การวิจัยครั้งนี้ จะพบว่าการเรียนการสอนที่มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำโครงการที่ผสมผสานวิถีไทย ภูมิปัญญาไทยเข้ากับรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม ออกแบบ เขียนโครงการด้วยความร่วมมือของกลุ่ม ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามรายวิชาทั้ง ๖ ประการได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ? ดังจะเห็นได้จากผลวิจัยที่พบว่านักศึกษามีความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับผิดชอบในกลุ่ม เช่น การเป็นหัวหน้ากลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเอื้ออาทร ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้จากค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยี และสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างมั่นใจ มีการบริหารงบประมาณ และสร้างสัมพันธภาพกับผู้มารับบริการจนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เมื่อนักศึกษามีความรู้ และได้ฝึกทักษะการถ่ายทอดความรู้ผ่านการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น การได้ฝึกทักษะการถ่ายทอดความรู้ที่ผสมผสานภูมิปัญญาไทยแก่สตรีที่มารับบริการที่แผนกสูติกรรม โดยออกแบบกิจกรรมในแต่ละซุ้มอย่างสอดคล้องกับวิถีไทย ทำให้นักศึกษาเกิดสมรรถนะทางวัฒนธรรมที่จะเข้าใจถึงความหลากหลายของสตรีที่มารับบริการแม้จะอาศัยอยู่ในจังหวัดเดียวกัน?? เมื่อขึ้นไปฝึกปฏิบัติบนตึกผู้ป่วยทำให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างมั่นใจและเหมาะสมกับผู้มารับบริการที่มีความต่างทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

คุณประโยชน์ที่ได้จากการศึกษามุมมองและประสบการณ์ของนักศึกษาในการบริการวิชาการที่บูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบโครงการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรมีการวางแผนด้านงบประมาณเพื่อให้การจัดทำโครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสามารถดำเนินไปด้วยดี ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมผลการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาลให้ครบถ้วนตามหลักสูตรหรือรายวิชา

01/08/2016

สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

การนำเสนอสรุปผลการจัดการความรู้

ดูการนำเสนอ ที่นี่ —> แนวปฏิบัติ PBL

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning : PBL)

[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559]

แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 2 รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โดยแนวปฏิบัติ ฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ? ? ? ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ขั้นตอนการดำเนินการ

การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ? :? ? เตรียมการ

ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่

1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้

1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL

2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา

1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ????????????ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน

2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้

2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ

2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน

2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น

2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้

2.6? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้???????????? ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้

4.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้

4.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?

4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ

4.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

5.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้

5.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม

1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL

5.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL

5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู่แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้

ขั้นที่2 :? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)

ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้

ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้

Step 1 : ?Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

Step 2 : ?Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์

Step 3 : ?Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา

Step 4 : ?Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

Step 5 : ?Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ

Step 6 : ?Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาท????????????????? ที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ??? หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ

ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ

Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูล????????????? ที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต

ขั้นที่3 :? ? ประเมินผล ประกอบด้วย

1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย

1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)

1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL

1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)

2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป

ผลลัพธ์หลังเรียน PBL

การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้น ก่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้

ดูผลลัพธ์หลังเรียน PBL ที่นี่—>?ผลลัพธ์หลังเรียน PBL

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro