• Accessibility

    • normal big bigger

Last posts

Last Comments

Most active posts

ค้นหา

หมวดหมู่

14/03/2013

สรุปการถอดบทเรียน บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 6:40 am
Reactions :5 comments

การดำเนินการ?? บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑

?????????????????? กับการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

ภาควิชา ?????? การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

????????? การถอดบทเรียนจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ที่มีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในการดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ กับการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครสารธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พยาบาลวิชาชีพ และนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ ๒ สรุปได้ ดังนี้

????????? ๑. สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชน โดยผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรง ???????????ระบุว่า การบูรณาการการเรียนการสอนกับการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชนหลายด้าน คือ

?????????????????? ๑.๑ ด้านผู้ป่วย ญาติ และ อสม.

???????????????????????????? ๑) ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การที่นักศึกษาประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติจริง ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน ก็เสมือนว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

???????????????????????????? ๒) ผู้ป่วยและญาติลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางโรงพยาบาล เพราะการลงพื้นฐานของนักศึกษา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรด้านสุขภาพในพื้นที่ โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพ ทั้งการเลือกสรรผู้ป่วยกรณีศึกษา การติดตามไปกับนักศึกษา ได้รับรู้ข้อมูลเชิงลึกหรือสภาพปัญหาสุขภาพผู้ป่วยตามสภาพจริง จึงก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำทีมสหสาขาวิชาชีพเข้าไปรักษาดูแลหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้ป่วยถึงที่บ้าน

???????????????????????????? ๓) ผู้ป่วยเกิดความสุขใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มที่ติดเตียง มีภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำกัดอยู่เพียงห้องนอน ไปไหนไม่ได้ ดังนั้น การที่นักศึกษาลงพื้นที่และปฏิบัติการกับผู้ป่วยจริง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะเกิดขึ้นทันที หลังจากยุติมานาน???????? ด้วยภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยได้สื่อสาร พูดคุย รู้สึกมีว่ายังเพื่อน คลายเหงา เกิดความแช่มชื่นในจิตใจ

???????????????????????????? ๔) ผู้ป่วย ญาติ และ อสม. ได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เสมือนโค้ชผู้สอนการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้ป่วยและญาติ ขณะที่ อสม. เกิดความตระหนัก ใส่ในใจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

?????????????????? ๑.๒ ด้านพยาบาลวิชาชีพ

???????????????????????????? ๑) เกิดการพัฒนาและความตื่นตัวเชิงวิชาการ การบริหารจัดการ เพราะ???????? การที่นักศึกษาลงพื้นที่และปฏิบัติการกับผู้ป่วยจริง พยาบาลจะมีบทบาทในการดำเนินงาน ทั้งการเลือกสรรผู้ป่วยกรณีศึกษา การติดตามไปกับนักศึกษา ติดต่อประสานงานเครือข่าย อสม. ตลอดจนให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักศึกษา อาจารย์พยาบาล จึงส่งผลให้พยาบาลผู้เกี่ยวข้องต้องเตรียมตัวเพื่อการดำเนินการ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ

???????????????????????????? ๒) ได้เห็นสภาพปัญหาของผู้ป่วยชุมชนในพื้นที่เป็นรายบุคคล ข้อมูลมีความละเอียด เชิงลึก ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการลงปฏิบัติการของนักศึกษา

????????? ?????????????????? ๓) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือ โดยเฉพาะ แกนนำ อสม.ในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพราะการลงพื้นที่ปฏิบัติการของนักศึกษา ภายใต้ความร่วมมือของแกนนำ อสม. จะเกิดประสบการณ์ตรงจากความร่วมมือ (learning by doing) สั่งสมเป็นความรู้ เกิดความเข้มแข็งในเชิงปฏิบัติการในที่สุด

????????? ๒. สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อสถาบัน

?????????????????? ๒.๑ ด้านนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ที่กระจ่างชัดขึ้น และมีสมรรถนะที่พึงประสงค์

???????????????????????????? ๑) ช่วยขยายภาพความเข้าใจในองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง (learning by doing) อย่างเป็นระบบ ด้วยการเรียนรู้ทฤษฎีในห้องเรียน นำเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริง

???????????????????????????? ๒) เกิดสมรรถนะบัณฑิตที่พึงประสงค์

????????????????????????????????????? – การบริหารจัดการ การเรียนรู้ตามสภาพจริง จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะหรือสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาและข้อมูลสภาพปัญหา????? ???????????การวางแผน การดำเนินการตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงหรือการพัฒนาต่อเนื่อง

????????????????????????????????????? – การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

????????????????????????????????????? – การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังที่

????????????????????????????????????? ? คาดหวังไว้

????????????????????????????????????? – การสร้างเสริมความร่วมมืออันดี กับ อสม. ผู้ป่วย ญาติ และ

????????????????????????????????????? ? พยาบาล

????????????????????????????????????? – การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนา

????????????????????????????????????? ? แผนงาน กิจกรรม นวัตกรรมการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ

????????????????????????????????????? ? ผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง

?????????????????? ๒.๒ มีเครือข่ายความร่วมมือ ด้านสุขภาพ ทั้ง แกนนำ อสม. พยาบาล ผู้นำชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันในเกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว เข้าถึงพื้นที่ อันจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

????????? ๓. ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ และข้อเสนอแนะของการพัฒนา

?????????????????? ๓.๑ ระยะทางไกล อาจพิจารณาแหล่งที่ใกล้ๆ

?????????????????? ๓.๒ พยาบาลผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ได้รับข้อมูลแผนงาน/โครงการบูรณาการล่าช้า กระชั้นชิด ทำมีเวลาน้อย สำหรับการเตรียมพื้นที่ การพิจารณาเลือกและเตรียมข้อมูลผู้ป่วยกรณีศึกษา อาจไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้น ควรส่งแผนงาน/โครงการล่วงหน้าอย่างเหมาะสม

?????????????????? ๓.๓ ระยะเวลาการลงพื้นของนักศึกษาเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาผู้ป่วยน้อยไป ควรพิจารณาแบ่งการพบปะผู้ป่วยกรณีศึกษา ๓ ครั้งเป็นอย่างน้อย

????????????????????????????????????????????????????????? คณาจารย์ประจำภาควิชา

?การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

รายงานการประชุมกิจกรรมสังเคราะห์ความรู้เรื่อง แนวการปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้จากการปฏิบัติจริง

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: Naiyana Kaewkhong
Time: 6:33 am
Reactions :4 comments

วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๓๐น.

ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑.นางศรีสมพร ??????????? ทรวงแก้ว???????? ประธาน

๒.นางศศิธร ?????????????? ชิดนายี

๓.นางนิศารัตน์ ?????????? นาคทั่ง

๔.นางอนัญญา???????????? คูอาริยะกุล

๕.นางสุธีรา??????????????? งามวาสีนนท์

๖.นางมณฑา?????????????? อุดมเลิศ

๗.นางสาววราภรณ์??????? ยศทวี

๘.นางสาวเสาวลักษณ์???? เนตรชัง

๙.นายไพทูรย์????????????? มาผิว

๑๐.นางวาสนา???????????? ครุฑเมือง

๑๑.นางสาวนัยนา???????? แก้วคง

๑๒.นายสืบตระกูล???????? ตันตลานุกุล

๑๓.นายเสน่ห์????????????? ขุนแก้ว

๑๔.นางอรุณรัตน์????????? พรมมา

๑๕.นางสาวอลิษา???????? ทรัพย์สังข์

๑๖.นางจิราพร???????????? ศรีพลากิจ

๑๗.นายวีระยุทธ?????????? อินพะเนา

๑๘.นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา ????? เลขานุการที่ประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ???? ๙๔.๗๓%

ระเบียบวาระที่ ๑ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

????????? แนวการปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้จากการปฏิบัติจริง

????????? คุณเรวัตร รัตนมาโต ให้ความคิดเห็นว่าการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ จากการปฏิบัติจริงมี

ข้อดีคือ ?

๑.ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้มากขึ้นแม้เป็นเวทีจำลองการฝึกปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา

????????? ๒.เป็นการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในชุมชนในการเดินทางหรือค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาล

????????? ๓.ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้พื้นฐานทางการพยาบาลจากผู้ที่มีความรู้จริง

????????? ๔.ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาพ

????????? ๕.ประชาชนในชุมชนเกิดความสบายใจ เกิดความอุ่นใจเมี่อมีนักศึกษาเข้าไปฝีกปฏิบัติงานดีกว่าการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่มีระบบสานพานซึ่งมุ่งให้การรักษาอย่างเดียวไม่มีเวลาพูดคุยทำความรู้จักกันกับแพทย์หรือพยาบาลที่ให้บริการ

????????? ๖.เกิดระบบที่ดีในระบบสาธารณสุขเนื่องจากระบบการรักษาเดิมที่โรงพยาบาลส่งผลให้บุคลากรเกิดความเครียด ผู้รับบริการก็เกิดความเครียดต้องเร่งรีบในการให้บริการแข่งกับเวลา

????????? ๗.การทำงานในชุมชนเกิดมิติใหม่ เกิดมุมมองทางบวกของแพทย์และพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

อุปสรรค์

๑.????? ความสม่ำเสมอในการลงชุมชนถ้ามาครั้งเดียวจะไม่น่าเชื่อถือ

๒.????? เกิดอุปสรรค์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและญาติที่คอยกังวลว่าพยาบาลจะมาเยี่ยมกี่โมง ต้องรอหมออยู่ที่บ้าน

๓.????? การไม่ให้ความร่วมมือของผู้ป่วย

๔.????? การสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้นวัตกรรมไม่ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวอาจเพราะถูกจัดงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม

๕.????? การให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพเบื้องต้นกับประชาชนในชุมชน เนื่องจากพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา พยาบาลชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขแตกต่างกันทำให้อาสาสัครสาธารณสุขต้องพัฒนาด้านความรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้คำแนะนำแก่คนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

๖.????? ผู้ป่วยเกิดความเคยชินกับนักศึกษาพยาบาลและไม่อยากรับบริการจากเจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุข

สิ่งที่อยากได้จากการบูรณาการ

????????? ๑.ปฏิทินการลงเยี่ยมหมู่บ้าน ของนักศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข พยาบาลที่สอดผสานกัน

????????? ๒.การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้านคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ

????????? ๓.การพัฒนาภูมิปัญญาของคนในชุมชนเป็นนวัตกรรมอาจเป็นในรูปแบบจิตวิทยา ธรรมะ เช่น รูปภาพสร้างความสะเทือนใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองเป็นต้น

พยาบาลชุมชน หึความคิดเห็นว่า สิ่งที่ควรพัฒนาจากการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้จากการปฏิบัติจริง คือ

????????? ๑.การเตรียมแผนงาน การเตรียมตัว การเรียนรู้กรณีศึกษาก่อนปฏิบัติการพยาบาล

????????? ๒.การกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนในการมุ่งศึกษากรณีศึกษารายกรณีเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องโรคได้อย่างชัดเจน

????????? ๓.การพัฒนาการทำงานที่ต่อยอดกัน

????????? ๔.การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนวางแผนให้การพยาบาล

นักศึกษา ให้ความคิดเห็นว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ คือ

๑.ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหารายวิชา เช่นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับไขมันในเลือดสูง สามารถเกิดโรคไตวายได้ในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งเกี่ยวข้องกันเป็นต้น

๒.การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

๓.เกิดการกระตุ้นศักยภาพจากการไปพบกรณีศึกษา ทำให้เราต้องเตรียมความรู้โดยการอ่านหนังสือ

๔.ได้เครือข่ายการร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ในชุมชน พี่ อ.ส.ม. และพี่พยาบาล เป็นต้น

๕.ได้เรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพโดยการประเมินความรู้พื้นฐานของผู้ป่วยก่อนให้ความรู้กรณีศึกษาเพื่อไม่เป็นการยัดเยียดผู้ป่วย

๖.ฝึกทักษะการส่งต่อผู้ป่วยกับอ.ส.ม. และ พี่พยาบาล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ และเพื่อนๆ การได้พบกรณีศึกษาทำให้เข้าใจบริบทความเป็นมนุษย์และเรียนรู้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์จากการฝึกปฏิบัติจริง

- เกิดประโยชน์อย่างไรกับนักศึกษาและคนในชุมชน

????????? ๑.นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการให้การพยาบาลประชาชนในชุมชน

????????? ๒.ได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาล การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

????????? ๓.ได้เครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่าง นักศึกษา อ.ส.ม. และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ โดยนักศึกษาเป็นแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดการตื่นตัวในการสร้างเสริมสุขภาพ

????????? ๔.เกิดแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จากการได้เรียนรู้วิถีวชีวิต ความเชื่อของผู้คน และจิตวิญญาณ

????????? ๕.เรียนรู้การประเมินสภาพผู้ป่วยว่าควรประเมินจากสภาพจริงบางครั้งข้อมูลจากแฟ้มประวัติอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง

????????? ๖.เกิดการเรียนรู้จากการทางไกลเข้าไปในชุมชนทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความยากลำบากในการเดินทางมาโรงพยาบาล

- การบูรณาการควรมีต่อไปหรือไม่ และมีอุปสรรค์อะไร

????????? ๑.ควรมีต่อไปแต่ให้เพิ่มระยะเวลาในการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยก่อน ๑ ครั้งเพื่อกลับมาวางแผนให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

????????? ๒.ควรมีการจัดกลุ่มนักศึกษาให้มีจำนวน กลุ่มละ ๗ คน ๑๑ กลุ่มเพื่อง่ายในการมอบหมายงานได้อย่างทั่วถึง

แนวทางการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๑.นักศึกษาต้องมีความรู้เป็นพื้นฐาน

๒.นักศึกษาต้องมีสมรรถนะ ในการสร้างสัมพันธภาพและการติดต่อสื่อสาร

๓.ทักษะการทำงานเป็นทีม การวางแผนที่ดีจะส่งผลต่อาการทำงานที่เกิดความสำเร็จ

?ปิดประชุมเวลา ๑๖.๓๐น.

………………………………

????????????????????????????????????????????????????????????????? (นายภราดร ล้อธรรมมา)

?????????????????????????? ผู้บันทึกการประชุม

?

???????????.

(นายไพทูรย์ มาผิว)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

KM การเขียนโครงร่าง ทำอย่างไรให้ได้ทุน

รายงานการประชุมการจัดการความรู้ด้านการวิจัย

วันที่? ๖? มีนาคม? ๒๕๕๕ เวลา? ๑๓.๐๐ ? ๑๔๐๐น.

ณ? ห้องประชุมพวงชมพู

************************************************

ประธาน นาง ศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
วิทยากร ดร. ประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. พรรณพิไล สุทธนะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ผู้เข้าร่วมประชุม นาง วิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ดร. อนัญญา คูอาริยะกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง มณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นาง ภิญญารัช บรรเจิดพงศ์ชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย อดุลย์ วุฒิจูรีย์พันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง อัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. วราภรณ์ ยศทวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย บุญฤทธิ์ ประสิทนราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาย ไพฑูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นาง วาสนา ครุฑเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
น.ส. จิราพร วิศิษฐ์โกศล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. อรทัย แซ่ตั้ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย สืบตระกูล ตันตลานุกุล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย เสน่ห์ ขุนแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
นาย ภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. จิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. วิภาวรรณ นวลทอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
น.ส. ดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพ
นาย กัญตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. พัชชา สุวรรณรอด พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. ชลธิชา จับคล้าย พยาบาลวิชาชีพ
นาย อรรถพล ยิ้มยรรยง พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. สายฝน ชมคำ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. วัชราภรณ์ คำฟองเครือ พยาบาลวิชาชีพ
น.ส. จิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพ
วาระที่ ๑ ประเด็นของการทำการจัดการความรู้
ประธานแจ้งเรื่องการทำ KM ของวิทยาลัยด้านการวิจัย(บันทึกของปีการศึกษา ๒๕๕๕) คือ การเขียนโครงร่างวิจัยอย่างไรให้ได้ทุน ซึ่งได้เชิญวิทยากร จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ??????????อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์และ อ.พรรณพิไล? สุทธนะ ที่มีผลงานจากการได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอก
วาระที่ ๒ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
วิทยากรทั้ง ๒ ท่านดังนี้

อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เขียนโครงการวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเอง

๑.๑? ต้นทุนในตัวเอง

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากก้าวเป็นเชี่ยวชาญ

- ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

- ความฝันที่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ

- เครือข่าย KM หรือพี่เลี้ยง

๑.๒? แนวโน้มสถานการณ์ทางสุขภาพและระบบสุขภาพ และการรับมือกับปัญหาในอนาคต แหล่งทุนสนับสนุน

๑.๓? ความสอดคล้องและเป็นไปได้ของความฝันสู่การกำหนดประเด็นการวิจัย

๒.? กำหนดประเด็นการศึกษาวิจัยและแนวการทำงานวิจัยให้สำเร็จโดยบูรณาการกับชีวิต Routine to Research

- เลือกหัวข้อ/ประเด็นการทำวิจัยที่อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น งานสอนในชุมชน/ward

- หาประเด็นปัญหาจากสภาพปัญหา

- ?Research design

๓.? ปรึกษาพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา? เป็นสิ่งสำคัญเราพะจะเป็นผู้ที่ช่วยมองภาพและสะท้อน ดังนั้นควรเลือกเรื่องหรือที่ปรึกษาที่เราชอบและอยากได้ข้อเสนอแนะ

อ.พรรณพิไล? สุทธนะ เสนอแนวทางการเขียนโครงร่างงานวิจัยอย่างไรจึงได้รับทุนจากภายนอกดังนี้

๑.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุน ว่ามีประเด็น Theme อะไรบ้าง ให้นำ Keywords ที่สำคัญเหล่านั้นมาใส่ในหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์

๒.? ในการเขียนโครงร่างควรมีความชัดเจน หาจุดเด่น และบอกว่าหลังจากทำเสร็จแล้วจะได้นวัตกรรมหรือเกิดผลกระทบในวงกว้างอย่างไร

๓.? สร้างสัมพันธภาพกับเจ้าของแหล่งทุน เช่น สปสช. สามรถโทรศัพท์สอบถามประเด็นที่ สปสช. สนใจก่อนเขียน

๔.? ดูตัวอย่างที่คนอื่นเขียน โดยเฉพาะงานที่ได้รับทุน

อ.ดร.อนัญญา? คูอาริยะกุล แลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับการได้รับทุนจาก สบช. และของวิทยาลัยว่า การเขียนโครงร่างขอทุน ควรดูที่ Theme ของแหล่งทุนก่อนว่าเน้นไปทางใด ซึ่งถ้าตรง Theme ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน และในการเขียนโครงร่างขอทุนควรเขียนให้ชัดเจนทั้งความเป็นมาของปัญหา และ Methodology และงานวิจัยที่ทำควรมีผลกระทบในวงกว้าง

อ.สืบตระกูล? ตันตลานุกุล แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายในและภายนอก สิ่งสำคัญ คือ ระยะเวลาที่จะทำทั้งการเขียนโครงร่างงานวิจัยเนื่องจากระยะเวลาที่แหล่งทุนพิจารณา มักกระชั้นชิด และการทำวิจัย อยากให้วิทยาลัยจัดทีม ระบบที่ปรึกษาให้
อ.ไพทูรย์? มาผิว แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการส่งโครงร่างวิจัยแล้วไม่ได้รับทุนเนื่องจากปัญหาคือการเขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้องกับแหล่งทุน
อ.ศศิธร? ชิดนายี เสนอว่าปัจจุบันทุนภายนอกรวมเป็นแหล่งทุนเดียวกัน? มีระยะเวลารับที่แน่นอน ตามที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของ วช.ได้เคยให้ข้อเสนอคือ สิ่งแรกที่ดูคือ Format หากไม่ถูกต้องจะถูกคัดออก และสิ่งสำคัญคือสามารถ วางแผนได้ที่จะทำชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่ ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการคือ การทำในลักษณะภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความยังยืนต่อไป
อ.ดร.ประภาพร? มโนรัตน์ เพิ่มเติมเรื่องการไปฝึกหัดกับรุ่นพี่ที่ได้รับทุนมาก่อนจะได้รับประสบการณ์และพัฒนาการทำวิจัย สิ่งสำคัญคือ หลังได้รับทุนวิจัยแล้วต้องบริหารจัดการให้สำเร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดของแหล่งทุนและค้นหาแหล่งทุน
วาระที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้
สรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเขียนโครงร่างอย่างไรให้ได้รับทุน

๑.? ทบทวนตนเองว่ามีความถนัด/สนใจ/ต้องการเชี่ยวชาญในเรื่องใด

๒.? ศึกษารายละเอียดของแหล่งทุนทั้งในแง่ Format ประเด็นที่แหล่งทุนให้ความสนใจ ระยะเวลาที่ส่งโครงร่าง

๓.? การเขียนโครงร่างควรมี Keywords ที่แหล่งทุนต้องการมีจุดเด่น นวัตกรรมและผลกระทบในวงกว้าง

๔.? ดูตัวอย่างการเขียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนเพื่อนำปรับใช้

๕.? มีที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำปรึกษา

๖.? ควรมีเครือข่ายเพื่อที่จะสามารถทำงานได้สำเร็จ

…………………………………….

(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)

ผู้บันทึกการประชุม

………………………………………….

(นางศศิธร ชิดนายี)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

๗.? ค้นหาแหล่งทุนแบบเชิงรุก๘.? ฝึกหัดทำวิจัยกับรุ่นพี่

12/03/2013

รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

Categories: การจัดการความรู้ วพบ.อต.
Author: paitoon
Time: 10:01 am
Reactions :9 comments

รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้

ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๑๔๔

—————————————————————————————————————————

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.????? นางศศิธร???????? ????????? ชิดนายี?????????? ประธาน

๒.????? นางนิศารัตน์?????????????? นาคทั่ง?

๓.????? นางอนัญญา?????????????? คูอาริยะกุล

๔.????? นางสุธีรา?????????????????? งามวาสีนนท์

๕.????? นางมณฑา??????? ????????? อุดมเลิศ

๖.????? นางสาววราภรณ์????????? ยศทวี

๗.????? นางสาวเสาวลักษณ์ ?????? เนตรชัง

๘.????? นายไพทูรย์?????? ????????? มาผิว

๙.????? นางวาสนา?????? ????????? ครุฑเมือง

๑๐.? นายสืบตระกูล?? ????????? ตันตลานุกุล

๑๑.? นางสาวอลิษา????????????? ทรัพย์สังข์

๑๒.? นายวีระยุทธ???? ????????? อินพะเนา

๑๓.? นายภราดร?????? ????????? ล้อธรรมมาฃ

๑๔.? นางจิราพร???????????????? ศรีพลากิจ

๑๕.? นางอรุณรัตน์???? ????????? พรมมา? เลขานุการที่ประชุม

ระเบียบวาระที่? ๑ กำหนดประเด็น

????????? อ.ศศิธร แจ้งให้ทราบว่า วิทยาลัยฯ กำหนดให้ภาควิชา จัดการ ความรู้ ด้านวิชาการ คือ การพัฒนาผลการสอบขึ้นทะเบียน ที่นำไปปฏิบัติจนเกิดแนวปฏิบัติที่ดี หรือการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนั้น การจัดการความรู้ในครั้งนี้จึงได้ทำเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

ระเบียบวาระที่? ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

????????? อ.สืบตระกูล ?ให้ความคิดเห็นว่า ในรายวิชาที่ฝึกปฏิบัตินั้นต้องดูรายละเอียดวิชาเพื่อมากำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เกี่ยวกับการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ จากการบูรณาการกับรายวิชา พบว่า สิ่งที่มีความสำคัญ การมีทุนทางสังคมที่ดีมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เช่น แพทย์ พยาบาล อสม.ในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจะทำให้ กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ จะประสบผลสำเร็จ

อ.ไพทูรย์ ให้ความคิดเห็นว่า เราเคยจัดการความรู้กันไปแล้วและได้แนวทางที่เคยแลกเปลี่ยน ดังนั้น วันนี้จะเป็นการหาแนวปฏิบัติที่ดีหลังจากที่ได้นำไปปฏิบัติมาแล้ว

????????? อ.นิศารัตน์ ให้ความคิดเห็นว่า ที่ผ่านมาการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ ทำในรายวิชาพลศึกษา

แล้วพบว่านักศึกษาสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ ทำสื่อได้ด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์และสร้างสื่อเป็นวีดีโอ เพื่อไปให้ชุมชนใช้ต่อไป

????????? อ.ไพทูรย์ ให้ความคิดเห็นว่า จากที่อาจารย์ได้กล่าวมาจะเห็นว่าเครือข่ายมีความสำคัญ โดยเฉพาะ แพทย์ พยาบาล อสม. การสร้างภาคีเครือข่างให้เข้มแข็งเป็นสิ่งที่ดีมาก

????????? อ.ศศิธร ให้ความคิดเห็นว่า ทุนทางสังคมที่ดี ในการสร้างเสริมสุขภาพ จะทำให้การสร้างเสริมสุขภาพประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน คือมีเครือข่ายที่ชัดเจน นอกจากที่กล่าวมา ยังมี อบต. ผู้ใหญ่ ประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นทุนที่ดีต่อสังคม นอกจากนี้ในการบูรณาการการเรียนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรมีการกำหนดสมรรถนะของการสร้างเสริมสุขภาพ ตามที่ WHO กำหนดไว้ เช่น การสื่อสาร ทีม การเขียนแผน/โครงการ และอื่น ๆ อีก จะทำให้จัดการสอนได้เห็น ภาพชัดเจน ดังนั้นต้องกำหนดไว้ใน มคอ. ตั้งแต่ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการสอน และการวัดประเมินผล

????????? อ.ไพทูรย์ สรุปประเด็นการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ดังนี้

?????????????????? ๑. วางแผนที่ชัดเจน มคอ. ๓, ๔ โดยเฉพาะวัถตุประสงค์ ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง

?????????????????? ๒. กำหนดสมรรถนะให้เกิดกับนักศึกษาในเรื่อง การสื่อสารที่ดี ทีมที่ดี การเขียนแผนงานและโครงการ

?????????????????? ๓. การมีเครือข่ายที่ดี

????????? อ.มณฑา ให้ความคิดเห็นว่า วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒ ในส่วนของเด็กจะมีกิจกรรมที่ชัดเจนและมีการประเมินผลมาเป็นคะแนนฝึกปฏิบัติ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาปฏิบัติ

????????? อ.นิศารัตน์ ให้ความคิดเห็นว่า ส่วนในของหอผู้ป่วยหู คอ จมูก จะเน้นไปการแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน D/C plan ในส่วนของ admit plan จะไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกิจกรรมการพยาบาลเท่านั้น จากการซักถามนักศึกษา กรณีให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยก่อนกับกลับ ถ้าแนะนำเป็นรายบุคคลจะดีกว่าการแนะนำเป็นกลุ่ม

????????? อ.วราภรณ์ ให้ความคิดเห็นว่า ในการบูรณาการต้องการนักศึกษาให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับ out come ที่ได้คือ ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถสร้างเสริมสุขภาพได้ด้วยตนเอง

????????? อ.ไพทูรย์ สรุปประเด็นการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้

?????????????????? ๑. การบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ วางแผนต้องมี มคอ. ที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

?????????????????? ๒. ทุนทางสังคม การบูรณาการได้ดีต้องมีภาคีเครือข่ายที่ดี

?????????????????? ๓. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาศัยการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดทีมที่ดี

?????????????????? ๔. จะต้องวัดผลที่เกิดกับนักศึกษา สำหรับผลที่เกิด กับผู้ป่วยหรือประชาชน ถือเป็น out come เชิงประจักษ์ สำหรับที่หอผู้ป่วยจะแตกต่างการประเมินผลของผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น

ระเบียบวาระที่? ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

???????? ผลการจัดการความรู้ในภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

๑.????? การบูรณาการที่เกิดในชุมชน

๒.????? การบูรณาการในหอผู้ป่วย

?

ระเบียบวาระที่? ๔ สรุปแนวทางปฏิบัติที่ดี

๑.????? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

๒.????? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๓.????? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๔.????? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

๕.????? การวัดและประเมินผล

ปิดประชุม?? ๑๒.๐๐ น.

????????????????????????????????????????????????????????????? ??? ………………………………………….

????????????????????????????????????????????????????????????? ????? (นางอรุณรัตน์ พรมมา)

??????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้บันทึกการประชุม

???? ??? ????????????????????????????????????????????????????? ???………………………………………….

????????????????????????????????????????????????????????????? ???????? (นางศศิธร ชิดนายี)

????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????? ผู้ตรวจการประชุม

การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัย และการส่งเสริมสุขภาพ

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๖

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ????? ศรีใจวงศ์ ????????????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ???????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ???????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ???????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ?? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ??????? วิศิษฐ์โกศล ??????????????? เลขานุการ

๘. นางสาวพัชชา ????????? สุวรรณรอด??????????????? ผู้ช่วยเลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน

๒.?? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการความรู้เรื่อง? การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการและการส่งเสริมสุขภาพและการวิจัย ภาควิชาควรมีการทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ ตามขั้นตอนดังนี้

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

?????????????????? ไม่มี

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การแสวงหาข้อมูล

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัย และการบริการวิชาการ สรุปได้ดังนี้

การบูรณาการ หมายถึง การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ? ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน

การวิจัย หมายถึง? กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการศึกษา? มีการเก็บรวบรวมข้อมูล? การจัดระเบียบ ข้อมูล? การวิเคราะห์และการตีความหมายผลที่ได้จากการวิเคราะห์? ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง

???????????????????????????? การบริการวิชาการ หมายถึง การให้บริการทางวิชาการแก่ทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการแก่สังคม โดยอาศัยความรู้และความสามารถทางวิชาการตลอดจนการสร้างหรือเสริมประสบการณ์ในการประยุกต์วิชาการให้เหมาะสมกับสังคมไทยและการเรียนการสอนในวิทยาลัย

การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการซึ่งทำให้ประชาชน สามารถเพิ่มการควบคุมสุขภาพ และทำให้สุขภาพดีขึ้น การจะบรรลุถึงสภาวะสุขสบาย ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมได้ ปัจเจกชน หรือกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถที่จะพอใจในสิ่งที่ตนปรารถนา และที่จะปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

การประเมินผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ?? การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการได้คิดและปฏิบัติจริงตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง เรียนรู้ทั้งแบบเรียนคนเดียวและเรียนเป็นกลุ่มจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองและเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (บูรณาการ) ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ดังกล่าวจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริง นั่นคือการที่จะต้องนำลักษณะที่สำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริงมาใช้จึงจะเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งน่าจะมีการประเมินความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ การประเมินด้านกระบวนการคิด กระบวนการวางแผน กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ (การวิจัยอย่างง่าย) กระบวนการกลุ่ม กระบวนการประเมินผล คุณธรรมจริยธรรม ความตั้งใจ ความใส่ใจ คุณภาพของผลงานโดยใช้วิธีการ เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย ต่อเนื่องตลอดเวลาตามกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการสังเกตใช้แบบตรวจสอบรายการ ใช้แบบประมาณค่า การบันทึกการปฏิบัติงาน การประเมินคุณภาพชิ้นงานและอาจมีการประเมินด้านความรู้ควบคู่กันไปด้วย โดยการประเมินจะกระทำร่วมกันทั้งผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งผลการประเมินเหล่านี้ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

?๑) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนของการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำ? คู่มือและแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ????????????????????????????????????????????????????

๒) เพื่อพัฒนาให้ครู อาจารย์ในสถานศึกษา ให้สามารถจัดแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเนื้อหา? วิชาต่าง ๆ? มาเพิ่มประสิทธิภาพการนำไปประกอบอาชีพตามต้องการ?????? ?????????????? ?????????????????????????????????????????????????????????????????

๓) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาวิชาชีพแบบองค์รวม มีความสามารถทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการต่าง ๆ? ทักษะในประกอบอาชีพได้ครบวงจรในแต่ละชั้นปีรวมทั้งมีคุณธรรมจริยธรรม???

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ? ?หมายถึง? การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่าง ๆ? ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่าง ๆ? มาใช้ในการ จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ ?มาใช้ในชีวิตจริงได้? สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ? ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม? สามารถนำความรู้? ทักษะ? และเจตคติไป?? สร้างงาน? แก้ปัญหา? และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง??????????????????????????????????????????????? ????????

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ??????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ๑) สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ? ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยว ๆ? มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้? ทักษะจากหลาย ๆ? ศาสตร์?? มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง???????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????????????? ๒) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ? เข้าด้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้? (Transfer? of? learning)? ของศาสตร์ต่าง ๆ???? เข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้????????????????????? ??????????????????????????????????????

๓) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ ๆ? เพิ่มขึ้น??????????????????????????????

๔) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลาย ๆ? ด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ ?แบบพหุปัญญา? (Multiple intelligence)????????????? ?????????? ??????????????????

๕) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน(Constructivism) ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

อาจารย์ในภาควิชาแสดงความคิดเห็นว่า หากมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการจะต้องมีเวลาในการบริหารจัดการและจะต้องมีรูปแบบการวัดละประเมินผลที่ชัดเจน ภาพวิชามีแผนในการบูรณาการการเรียนการสอนกับในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ และการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ แต่ช่วงเวลาที่สอน กับจังหวะบางช่วงไม่เอื้อหนุน??? อีกทั้งลักษณะรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ นั้นค่อนข้างยาก? และการบูรณาการควรจัดทำในรายวิชาภาคปฏิบัติของนศ.ปีที่ ๓ ได้แก่รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ๑ เนื่องจากมีการฝึกที่แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ และแผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ ในรายวิชานี้มีเวลาพอที่นักศึกษาจะสามารถเข้าไปบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพได้

?????????????????? ชุมชนที่ภาควิชาเลือกในการบริการวิชาการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพได้แก่ ชุมชนนาโปร่ง เพราะเป็นชุมชนต้นแบบของวิทยาลัยฯ

?????????????????? ในการจัดทำโครงการบริการวิชาการกับการส่งเสริมสุขภาพและการจัดการเรียนการสอน ควรมีการจัดทำงานวิจัยเพื่อเป็นการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรมและจะได้นำผลงานวิจัยนั้นมาพัฒนารูปแบบในปีการศึกษาต่อไป

???? ???? ๓.๒การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และการสังเคราะห์ความรู้
? ???????????????? แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การวิจัยและการส่งเสริมสุขภาพ

???????????????????????????? ๑) ?การต่อยอดงานที่มีความสนใจและชำนาญ จะทำให้เกิดงานบริการที่มีคุณภาพและจะเป็นการสร้างเครือข่าย โดยในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธ์ในชุมชนนาโปร่งพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเองยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นควรมีการจัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์

๒) การบริการวิชาการเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน/องค์กร ?โดยทางภาควิชาได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา ผู้นำชุมชน? อสม. อาจารย์ และผู้มีประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบโปรแกรมของการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

?๓) การบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน ต้องมีหลักฐานประกอบด้วย ประมวลการสอน และการสรุปผลว่าได้อะไรจากการบริการวิชาการเพื่อมาพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

๔) การบูรณาการการบริการวิชาการกับงานวิจัยต้องมีหลักฐานเป็นงานวิจัย การประเมินผล และการสร้างความยั่งยืนได้

๕) การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้นการดำเนินงานบริการวิชาการต้องอยู่ในรูปแบบของการมีส่วนร่วม และผลลัพธ์ที่ได้ต้องสร้างให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ (ความเข้มแข็ง) ซึ่งในการจัดทำโปรแกรมนี้เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย เน้นการสอนแบบ coaching และสาธิตย้อนกลับ หลังจากนั้นควรแจกคู่มือการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และจะต้องมีการติดตามประเมินความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินถึงความยั่งยืนขององค์ความรู้

๖) จัดทำโปรแกรมการอบรมความรู้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ เนื่องจากมีระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ควรจัดให้บริการวิชาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพในขณะที่ฝึกแผนกฝากครรภ์ และควรจัดในวันพฤหัสบดีเนื่องจากไม่มีการฝึกปฏิบัติบนคลินิก

๗) มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างอาจารย์ และนักศึกษา และผู้นำชุมชน?

๘) การเลือกวิชาที่นำมาบูรณาการกับการวิจัยควรเป็นวิชาที่มีการปฏิบัติจริง นักศึกษาจะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และเรียนรู้ระเบียบวิธีการวิจัยควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน

๙) การบูรณาการควรบูรณาการทั้งเนื้อหาและกระบวนการ คือ การวิจัยและวิธีการสอนจะใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนการสอน และการเดินเนื้อเรื่องจะใช้องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเข้ามา

๑๐) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคมสามารถทำได้โดย

การนำผลงานจากการเรียนการสอนมาพัฒนาต่อยอดและนำไปเป็นองค์ความรู้ในการบริการทางวิชาการแก่สังคม และใช้การวิจัยควบคู่ในการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
????????? มติที่ประชุมมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบรายวิชาให้สอดคลอดพันธกิจอื่นๆ และมอบหมายให้หัวหน้าโครงการวิจัยดำเนินการเขียนโครงร่างการวิจัยเสนอเพื่อขอรับทุนการวิจัยจากวิทยาลัยฯ

ปิดการประชุม เวลา ๑๖.๐๐ น.

…………………………………………

(นางสาวสิตานันท์ ศรีใจวงศ์)

??? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

11/03/2013

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM ) ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ในการจัดการเรียนการสอน

ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

เวลา ๐๙.๐๐ ? ๑๒.๐๐ น.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑.อาจารย์วิไลวรรณ ????? บุญเรือง ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒.อาจารย์วิมล ??????????? อ่อนเส็ง ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓.อาจารย์ ดร.ประภาพร มโนรัตน์ ?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๔.อาจารย์อดุลย์ ????????? วุฒิจูรีพันธุ์ ??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๕.อาจารย์อัญชรี ????????? รัตนเสถียร ??????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.อาจารย์บุญฤทธิ์ ??????? ประสิทธินราพันธุ์ ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.อาจารย์พรรณพิไล ???? สุทธนะ ??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘.อาจารย์นิกร ??????????? จันภิลม ???????????????????????????? วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ

๙. อาจารย์อิทธิพล??????? แก้วฟอง ????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

๑๐. อาจารย์จิระภา ????? สุมาลี ????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๑. อาจารย์กันตวิชญ์ ?? จูเปรมปรี ???????????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๒. อาจารย์ชลธิชา ????? จับคล้าย ????????????????? พยาบาลวิชาชีพ

รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

อาจารย์ดุจเดือน ?????????????????? เขียวเหลือง ?????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ? ( ไปราชการ )

ผู้เข้าร่วมการประชุม? ร้อยละ? ๙๒.๓๑

เปิดประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น.

ประธานการประชุม อาจารย์วิไลวรรณ? ? บุญเรือง? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

เรื่องแจ้งให้ทราบ

- ทบทวนขั้นตอนการดำเนินการและความก้าวหน้าของการจัดทำ KM ของภาควิชา ซึ่งได้ดำเนินการประชุมมาแล้ว ๒ ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดทำ KM? เนื่องจากการจัดทำครั้งนี้เป็นการจัดทำในหัวข้อเรื่องการบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งการส่งเสริมสุขภาพยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ จึงจัดทำ KM? ในครั้งนี้ขึ้น

๒. ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

ขั้นที่ ๑ การแสวงหาความรู้

สร้างความเข้าใจ/ความกระจ่างในประเด็นสำคัญ โดยทบทวน

- แนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ให้สอดคล้องกับแนวคิดของสบช.

คือการแสดงออกอย่างจริงใจขณะอยู่กับผู้รับบริการ (authentic presence) ของพยาบาลผู้ซึ่งรู้จักกับผู้รับบริการดี และคำนึงถึงความต้องการทางสุขภาพของผู้รับบริการเพื่อที่จะลดหรือเพิ่มภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ หรือช่วยผู้รับบริการเผชิญกับความตาย (คณะผู้เข้าอบรมรุ่นที่ ๑ วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสบช., ๒๕๕๔)

- แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ

จากการประกาศกฎบัตรออตตาวาที่ประเทศแคนนาดา ปี ๑๙๘๖ ได้บัญญัติว่า “การส่งเสริมสุขภาพ” หรือ “HEALTH PROMOTION” หมายถึง “ขบวนการส่งเสริมให้ประชาชน เพิ่มสมรรถนะในการควบคุม และปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ในการบรรลุซึ่งสุขภาวะอันสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม” บุคคล และกลุ่มบุคคลจะต้องสามารถบ่งบอก และตระหนักถึงความมุ่งมาดปรารถนาของตนเอง สามารถตอบสนองต่อปัญหาของตนเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งยังสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น ลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การขาดการออกกำลังกาย การขาดจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เป็นสาเหตุที่ทำลายสุขภาพ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญ หรือเน้นการให้เพิ่มปัจจัยส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี (องค์การอนามัยโลก , ๒๕๒๙)

การส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่จะหมายถึง งานบริการของบุคลากรสาธารณสุข เพื่อทำให้คนมีสุขภาพดี ได้แก่ การดูแลอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด การดูแลทารก และเด็ก การให้วัคซีน การโภชนาการ การให้สุขศึกษา การให้คำปรึกษาแนะนำ การอนามัยโรงเรียน เป็นอาทิ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งบริการที่บุคคล (Individual care) โดยบางเรื่องเลยไปถึงครอบครัว และชุมชนด้วย? ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพในมิติที่ครอบคลุมไปถึงชุมชน และสังคมโดยตรง จะสอดแทรกอยู่ในงานสาธารณสุข (public health activities) ไม่ได้เรียกว่า เป็นการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การพัฒนาสุขาภิบาลอาหาร และอนามัยสิ่งแวดล้อม การจัดหาน้ำสะอาด การกำจัดขยะ และสิ่งปฏิกูล เป็นต้น? การส่งเสริมสุขภาพในความหมายที่เป็น ๑ ใน ๔ ปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยดี แฝงนัยของการที่ ต้องมีบุคลากรสาธารณสุข ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะ เป็นผู้จัดบริการให้กับประชาชน เป็นหลัก โดยฝ่ายประชาชนก็ต้องดูแล และปฏิบัติพร้อมกันด้วย (อำพล จินดาวัฒนะ อ้างในhttp://advisor.anamai.moph.go.th/262/26201.html สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๓ พ.ย. ๕๕)

องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อ ปี ๒๕๔๑ ว่าเป็น ?กระบวนการที่ทำให้ประชาชนมีศักยภาพมีอำนาจมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและในการทำให้สุขภาพของตนเองดียิ่งขึ้น ? the? process? of? enabling? people? to? increase? control? over? , and? to? improve? their? health ? (WHO , ๑๙๙๘)

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า

? การใดๆ ที่มุ่งกระทำโดยส่งเสริม สนับสนุน พฤติกรรมบุคคล สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริม ให้บุคคลและชุมชนมีสุขภาวะ บุคคลมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี?

พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ นิยามการสร้างเสริมสุขภาพว่า

? การใดๆที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และ สังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี ?

- ผลการวิจัย Routine to Research ด้านการจัดการเรียนการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนที่บูรณาการแนวคิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งในปีการศึกษา2556ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการวิจัยและการบริการวิชาการในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ในนักศึกษาชั้นปีที่ ๒ ซึ่งอาจารย์ในภาควิชาฯผู้รับผิดชอบวิชาและนักวิจัยในภาคฯและผู้เกี่ยวข้อง ได้ทำวิจัยหารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในชุมชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ซึ่งได้มีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชานี้ด้วย และการวิจัยได้เสร็จสิ้นแล้ว มีรายงานวิจัยสรุปผลการศึกษาที่เชื่อมโยงสู่ประเด็นการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอนในขั้นแสวงหาความรู้ในครั้งนี้ ดังนี้

ศรีสมพร? ทรวงแก้ว ประภาพร มโนรัตน์ กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร และพรรณพิไล? สุทธนะ (๒๕๕๖) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตระหว่างวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์กับศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุตรดิตถ์๒? ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในรายวิชานี้คือนักศึกษามีความรู้และทักษะในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ผ่านเกณฑ์และส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ๘๐ขึ้นไป ปัจจัยความสำเร็จคือ

๑. วิทยาลัยและแหล่งฝึกมีนโยบายสอดคล้องกัน ?ร่วมสร้างนักสร้างเสริมสุขภาพจากชุมชนเพื่อชุมชน?ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้กับนักศึกษาเริ่มตั้งแต่การออกแบบรายวิชาและนำไปใช้ปฏิบัติจริงในชุมชน

๒. ชุมชน และเครือข่ายได้แก่ วัด โรงเรียน สมาคมนักข่าว ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมคนรักสุขภาพ องค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น? วิถีไทย ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพดีวิถีไทยวัดท้ายตลาด (ศูนย์เรียนรู้ชุมชน) ให้ความร่วมมือในการร่วมจัดประสบการณ์เรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพให้กับนักศึกษาโดยให้ความสำคัญและร่วมมือกับกิจกรรมทุกกิจกรรมที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชุมชนเช่น การต้อนรับเข้าสู่ชุมชน การเข้าเยี่ยมดูแลสร้างเสริมสุขภาพที่บ้าน จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพในวัดและในละแวกบ้าน เป็นต้น รวมถึงกิจกรรมอำลาชุมชน(คืนข้อมูลชุมชน ถอดบทเรียน และบายศรีสู่ขวัญให้นักศึกษาคณาจารย์)

๓. นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกภาคปฏิบัติ เรื่องการบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ๒ วัน วันแรกเป็นการปฐมนิเทศรายวิชาและกิจกรรมสะท้อนการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วันที่สองฝึกการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยวิถีไทย การนวด ประคบ การสอนฤาษีดัดตนให้กับประชาชนที่มารับบริการโดยมีวิทยากรช่วยสอนและชี้แนะเพิ่มเติม และมีชมรมแพทย์แผนไทยและวิถีไทยเข้าร่วมให้บริการและเป็นพี่เลี้ยงให้นักศึกษา และครูผู้นิเทศและนักศึกษาได้สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรมและนัดหมายเข้าเยี่ยม อย่างต่อเนื่อง

๔. นักศึกษามีครูผู้นิเทศเป็นต้นแบบของพยาบาลที่ให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ทั้งต่อผู้รับบริการ คนรอบข้างและลูกศิษย์ และมีความรู้และทักษะในการสะท้อนคิดสรุปสู่ประเด็นการเรียนรู้ตามรายวิชาและบริบทของชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อม

๕. นักศึกษาได้เห็นและเรียนรู้สภาพจริงของวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละวัยอย่างต่อเนื่องเกิดความเข้าใจในการแสดงออกถึงการดูแลสุขภาพของแต่ละคนแต่ละวัย และเห็นว่าการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์คือวิถีไทย วัฒนธรรมไทยซึ่งตนเองก็ได้ถูกบ่มเพาะมาจากครอบครัว ดังนั้นแม้มีสภาพปัญหาอุปสรรคขณะเข้าเยี่ยมนักศึกษาไม่ท้อและเข้าใจผู้รับบริการและบริบทของผู้รับบริการ

๖. นักศึกษาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แนวคิดและหลักการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาก่อนฝึกวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพฯจึงส่งผลให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้อย่างดี

การส่งเสริมสุขภาพด้วยการนวดไทย

- การนำแนวคิด Humanistic care สู่การเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ

- สรุปผลการประชุมเสวนาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

การวิเคราะห์การชี้ประเด็น การตีความในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของกรณีศึกษา

สรุปแนวคิดของภาควิชาเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ คือ การบูรณาการแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ขั้นที่ ๒ การวิเคราะห์ความรู้ โดยจัดเสวนาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการให้การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖) และได้สรุปผลการประชุม คือ ภาควิชามีความคิดเห็นร่วมกันว่าควรนำแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากผลการวิเคราะห์พบว่าแนวคิดนี้มีความสอดคล้องกันกับอัตลักษณ์บัณฑิตของสบช. ว่าด้วยบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ อีกทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ฯลฯ และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย ที่กล่าวว่า เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพชุมชน และวัตถุประสงค์ของรายวิชา การชี้ประเด็น การตีความในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพของกรณีศึกษา และได้แนวปฏิบัติในการนำแนวคิดการให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอนของภาควิชา ดังนี้

ด้านการเตรียมผู้สอน

ผู้สอนควรได้มีแนวคิดและแนวทางการดำเนินการดังนี้

๑. ผู้สอนควรทำความเข้าใจในแนวคิด เนื้อหาสาระ ขอบเขต แนวปฏิบัติในการนำแนวคิดHumanistic Nursing Care มาใช้ในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ และรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย โดยการทบทวนด้วยตนเอง เวทีชี้แจงแนวปฏิบัติรายวิชา และหรือร่วมเข้าเรียนรู้ประสบการณ์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับผู้สอนที่มีประสบการณ์ก่อน เช่น แนวคิดในการชี้ประเด็น สะท้อนคิดให้กับนักศึกษา การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ผู้สอนที่มีประสบการณ์ควรได้แบ่งประสบการณ์ให้ผู้สอนใหม่ทั้งรูปแบบไม่เป็นทางการและเชิญเสวนาประจำปีอย่างเป็นทางการ และผู้สอนเก่าใหม่ควรได้ร่วมเสวนากับผู้สอนท่านอื่นและวิทยากรในเวทีเสวนาที่จัดขึ้นของวิทยาลัยที่จัดเป็นประจำทุกปีและมีการนำกรณีศึกษามาเป็นตัวอย่างในการคิดวิเคราะห์ทิศทางหรือความเป็นจริงต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน และมองถึงความคิด ทัศนคติมุมมองของนักศึกษาและผู้ให้ข้อมูลและครูผู้สอนจากบันทึกข้อมูลการเยี่ยมกรณีศึกษา

๒. สิ่งต้องนำไปเชื่อมโยงในส่วนของวิชาการหรือทฤษฎีต่างๆ ในส่วนของอาจารย์ต้องมีการพัฒนาทักษะการกระตุ้น หรือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างไร ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่เป็นสภาพจริงมากขึ้น และสามารถวัดพัฒนาการคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผู้รับบริการมากขึ้น

๓. เรียนรู้จากตำรา นำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาเป็นแนวทางของตนเอง

๔. ควรมีการพูดคุย ซักซ้อมในระดับทีมผู้สอนก่อนการลงนิเทศจริง

๕. เตรียมแบบบันทึก (Filed note)ของครูเพื่อบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย)

ด้านการเตรียมผู้เรียน

๑. มีการชี้แจงรายวิชาที่จัดกิจกรรมการสะท้อนการคิดวิเคราะห์และเปิดโอกาสให้ซักถามสู่แนวคิดในการเรียนรู้พอสังเขปก่อนปฏิบัติจริง

๒. ให้นักศึกษารุ่นน้องได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับรุ่นพี่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันและหาข้อสรุปกับรุ่นพี่หรืออาจารย์

๓. เน้นมองคนแบบองค์รวม ไม่ยึดติดกรอบ? เน้นตั้งคำถามปลายเปิด การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ การเคารพให้เกียรติ และคุณค่าของมนุษย์ และจริยธรรม สิทธิมนุษยชน

๔. ฝึกทักษะที่ต้องใช้ในรายวิชาก่อนด้วยกิจกรรมเสริมทักษะเช่น การสังเกต? การฟังเป็นต้น

๕. เน้นเตรียมแบบบันทึก (Filed note)ของตนเองเพื่อจดบันทึกการเรียนรู้ของตนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกทันทีภายหลังเรียนรู้หรือบันทึกเป็นระยะ

ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

๑. ไม่ยึดผู้สอนเป็นตัวตั้ง มองตัวผู้เรียนให้มากขึ้น

๒. ผู้เรียนสะท้อนกับผู้เรียนด้วยกันเอง

๓. ผู้สอนผสมผสานองค์ความรู้กับชีวิตจริงแล้วถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน

๔. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจนกว่าจะหมดเวลาที่กำหนดไว้

๕. ให้นักศึกษามีอิสระ มองคนแบบองค์รวม เพราะคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลจากสภาพจริง เน้นให้นักศึกษาใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดประเด็น จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าจุดใดน่าสนใจ และสิ่งที่ได้น่าจะมาจากการคิดและให้คุณค่านั้นอย่างไร ไม่ควรยึดกรอบทฤษฎีนำการสรุปความ

๖. ในการลงปฏิบัติจริงสิ่งต้องนำไปเชื่อมโยงในส่วนของวิชาการหรือทฤษฎีต่างๆ ในส่วนของอาจารย์ต้องมีการพัฒนาทักษะการกระตุ้น หรือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างไร ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นข้อมูลที่เป็นสภาพจริงมากขึ้น และสามารถวัดพัฒนาการคิดของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผู้รับบริการมากขึ้น นอกจากนี้สามารถใช้การสังเกตซึ่งเป็นทักษะหนึ่งในการเก็บข้อมูล สังเกตสภาพแวดล้อม สังเกตการณ์แสดงพฤติกรรมต่างๆของเคส ส่วนในเรื่องของภูมิปัญญา ต้องไม่ใส่อคติของเราลงไปเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษา และยังต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพราะอะไรเขาจึงทำแบบนี้ เขามีความเชื่ออย่างไร

๗. เน้นกัลยาณมิตร ให้เกียรติ ยอมรับตัวตน ให้คุณค่า เรียนรู้กับกรณีศึกษาถึงแนวคิด ทัศนคติต่อสุขภาพ

๘. บันทึกการสอนของตนทุกครั้ง และร่วมสร้างคลังการเก็บประสบการณ์และผลจากการปรับการเรียนการสอนร่วมกัน

๙. เน้นให้นักศึกษาใช้แบบบันทึก (Filed note)ของตนเองเพื่อจดบันทึกการเรียนรู้ของตนและประเด็นที่คิดขึ้นได้ระหว่างลงภาคสนามหรือการประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกทันทีภายหลังเรียนรู้หรือบันทึกเป็นระยะอย่างเหมาะสม

๑๐. ครูมีการตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นระยะจากการสังเกต การซักถาม การตรวจงานและควรมีการกระตุ้นให้มีการพัฒนาการคิดให้ทันกลุ่มและบทเรียนด้วยวิธีหลายแบบเช่นคำถามชี้ประเด็น สะท้อนคิด หรือการสนทนากับเพื่อนหรือกลุ่มใหญ่สะท้อนสู่ประเด็นที่นักศึกษาไม่เข้าใจ

ด้านการประเมินผล

๑. ผู้เรียนลดอคติลง

๒. ผู้เรียนมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเข้าใจความเป็นมนุษย์ในทางบวกมากขึ้น

๓. นักศึกษามีความสุข ดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ไม่คุกคามเคส ได้ข้อมูลแค่ไหนเอามาแค่นั้น

๔. นักศึกษามีการพัฒนาการคิดและทักษะการบันทึกและการเข้าเยี่ยมกรณีศึกษาได้ดีขึ้นและในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติและเข้าใจกรณีศึกษาและมีความสุขในการดูแลคนในชุมชนและทำกิจกรรม? อาจารย์ลดการสอนเรื่องการบันทึกตามสภาพจริง ทำให้มีเวลามากพอในการจัดการเรียนรู้เนื้อหาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ผสมผสานกับHumanistic Nursing Careได้อย่างดี

๕. สำหรับแนวทางการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนได้มีการออกแบบแนวทางประเมินไว้ แต่ใช้ได้ดีระดับหนึ่งยังต้องมีการปรับให้ครอบคลุมทั้งรายวิชาให้มากขึ้นในรายวิชาปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย? การออกแบบประเมินผลในแต่ละหัวข้อที่ต้องการประเมินนั้นสำคัญผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบวิชาจะต้องจัดทำแบบประเมินให้ครบถ้วนและซักซ้อมการใช้แบบประเมินให้เข้าใจ? รวมถึงการออกข้อสอบวัดความรู้ ตลอดจนทักษะการบันทึกตามสภาพจริงนับเป็นสิ่งสำคัญ ครูผู้สอนควรได้มีโอกาสอภิปรายวิพากษ์ข้อสอบร่วมกันก่อน นอกจากจะช่วยให้วัดเด็กได้ตรงตามที่ต้องการวัดแล้วยังช่วยให้ผู้สอนทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจประเด็นการวัดซึ่งเป็นประเด็นวัตถุประสงค์การสอนนั้นเอง จะส่งผลให้ชี้ประเด็นขณะจัดการเรียนรู้ได้ดีอีกด้วย ควรได้มีการวิพากษ์ข้อสอบกันก่อนเปิดรายวิชาจะดีมาก

ขั้นที่ ๓ การสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาได้มีการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง การบูรณาการแนวคิด การให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้แนวทางการปฏิบัติของภาควิชา ซึ่งจะนำไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติต่อไป ดังนี้

1.ทบทวน เรื่อง การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

2.เสริมสร้างพลังอำนาจ

3.กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากการเรียนการสอน :การเรียนนวด กิจกรรมภูมิปัญญา

4.การจัดการเรียนการสอน

5.สรุป ประเมินผล ถอดบทเรียน

6.ปรับประยุกต์ใช้ ทบทวนครั้งต่อไป

๔. การสังเคราะห์ความรู้ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะจากผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge)

(อยู่ในขั้นดำเนินการ)

๕. การสรุปประเด็นสาระที่ได้เพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (ที่ได้จากการสังเคราะห์จากการแลกเปลี่ยน

เรียนรู้และจากผู้มีประสบการณ์ตรง)

(อยู่ในขั้นดำเนินการ)

๖. การดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดำเนินการ

(อยู่ในขั้นดำเนินการ)

มติที่ประชุม

๑.จัดพิมพ์

๒.ส่งให้อาจารย์ตรวจ

๓.ขึ้น Web

๔.เตรียมเผยแพร่ต่อไป

ปิดประชุมเวลา ๑๒.๐๐ น.

ลงชื่อ ?????????????????.

(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)

ผู้บันทึกรายงานการประชุม

ลงชื่อ ?????????????????.

(นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง)

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

09/03/2013

แนวทางปฎิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็น “การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ” ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 22 สิงหาคม 2555 และครั้งที่ 2 วันที่ 8 ?มีนาคม 2556 ?ทางภาควิชาได้ถอดบทเรียนและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดี ดังนี้

แนวทางปฏิบัติที่ดี การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติกับการสร้างเสริมสุขภาพ ?มีขั้นตอนการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ ๑ ? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน

ขั้นที่ ๒ ? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๓ ? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๔ ? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๕ ? การวัดและประเมินผล


โดยแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพ

การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน โดยคำสำคัญที่เกี่ยวข้องและควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย และพฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้

๑. การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?

๒. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้

๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)

๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)

๓) โภชนาการ (nutrition)

๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)

๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)

๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)

ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร

ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทางการพยาบาลกับ การสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.๔)? ดังนี้

๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ

กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจน ให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ

กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ (key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ

๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้

๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาลในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาลและอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้

๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล

๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น

๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ

ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)

การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ

เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้

๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น

๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน

ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้

ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น

ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

คณาจารย์ประจำภาควิชา

การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

ผู้ถอดบทเรียน

Proudly powered by Wordpress 3.0.1 - Theme Triplets Id Band 2.0, the boyish style by neuro