แนวปฏิบัติที่ดี : การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดี : การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
(ปรับปรุง ครั้งที่ ๒)
ขั้นตอนการดำเนินการ
ขั้นที่ ๑ สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในคำสำคัญร่วมกัน
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น??????????? การสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในคำสำคัญร่วมกัน ๒ คำ คือ ๑) การสร้างเสริมสุขภาพ และ ๒) การบูรณาการ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างของความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน
๑.๑. การสร้างเสริมสุขภาพ
องค์ประกอบที่สำคัญที่ควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย พฤติกรรมที่แสดงถึงการสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละช่วงวัย ดังนี้
๑.๑.๑ การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (world health organization [WHO]) คือ ?กระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น?
๑.๑.๒ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (health-promoting behavior) ตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันประกอบด้วย ๖ พฤติกรรม ดังนี้
๑) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (health responsibility)
๒) กิจกรรมทางกาย (physical activity)
๓) โภชนาการ (nutrition)
๔) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal relations)
๕) การเจริญทางจิตวิญญาณ (spiritual growth)
๖) การจัดการกับความเครียด (stress management)
๑.๑.๓ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบแนวคิด Health Promotion Model ของ Pender อันได้แก่ ๑) ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล เช่น พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องหรือเคยทำแล้วมาในอดีต ปัจจัยส่วนบุคคลทั้งด้านกาย จิต สังคมและวัฒนธรรม และ ๒) ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม เช่น การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค????????????????? การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม อิทธิพลระหว่างบุคคลและจากสถานการณ์
๑.๑.๔ แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพในแต่ละช่วงวัย โดยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามช่วงวัย ควรให้ความสำคัญกับประเด็นแต่ละช่วงวัย ดังนี้
๑) วัยผู้สูงอายุ? กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จะได้ผลดี? เมื่อมีผู้นำกลุ่มที่ดีที่ได้มาจากกลุ่มผู้สูงอายุเอง? การทำกิจกรรมควรทำเป็นกลุ่ม? การได้รับความช่วยเหลือที่ดี และแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว และจากสังคม? การทำกิจกรรมกลุ่มควรคำนึงความเหมาะสมด้วย เช่น กิจกรรมที่ไม่โลดโผน? เพราะส่วนใหญ่วัยนี้ จะมีปัญหาเรื่องของข้อเข่าเสื่อม และกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศทั้งชายและหญิง
๒) วัยผู้ใหญ่ กิจกรรมควรคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ข้อจำกัดเรื่องของช่วงเวลาในการทำกิจกรรม ตลอดจน ภาระหน้าที่อื่นๆ
๓) วัยเรียน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ควรมีผู้นำของกลุ่มเด็กเอง เช่น อสม.น้อยในโรงเรียนเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วม รวมถึงกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่ชักจูงให้เด็กเข้าร่วมได้ ไม่น่าเบื่อ เช่น แสดงละครส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
๑.๒ การบูรณาการ
องค์ประกอบที่สำคัญที่ควรสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจน ได้แก่ ความหมาย รูปแบบการบูรณาการ แนวทางการบูรณาการ การประเมินผลลัพธ์ของการบูรณาการ
๑.๒.๑ การบูรณาการ ตามความหมายศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานหมายถึง การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน
๑.๒.๒ รูปแบบการบูรณาการ (สิริพัชร์?เจษฎาวิโรจน์, 2546 อ้างในวารุณี คงมั่นกลาง, 2553)
๑) การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระ?เป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ ในลักษณะการหลอมรวมกันโดยการตั้งเป็นหน่วย (Unit)?หรือหัวเรื่อง (Theme)
๒) การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ เข้าในการสอน? โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี การสนทนา????????????????????? การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียนและการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น
๓) การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้?โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อมๆ กัน?เช่น?กระบวนการแสวงหาความรู้?กระบวนการแก้ปัญหา?และกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด เป็นต้น
๔) การบูรณาการความรู้?ความคิดกับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมๆ กัน? เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น ?ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม ?
๕) การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติ?เน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๖)การบูรณาการความรู้ในสถานศึกษากับชีวิตจริงของผู้เรียน?พยายามให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน?เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน
๑.๒.๓ แนวทางการบูรณาการ ในที่นี้จะเน้นการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนั้น แนวทาง ก็คือ การกําหนดให้นักศึกษานําความรู้จากในชั้นเรียนไปจัดทําเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพกับผู้ป่วยจริง
๑.๒.๔ การประเมินผลลัพธ์ของการบูรณาการ นอกจากจะต้องประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาที่บูรณาการที่ควรเกิดขึ้นกับนักศึกษาแล้ว ยังต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล และสถาบัน เช่น
- ผู้เรียน เกิดสมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพอะไรบ้าง
- ผู้สอน มีองค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่ความเชี่ยวชาญในการสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ อะไรบ้าง
- ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพหรือไม่ อย่างไร
- สถาบัน การบูรณาการช่วยประหยัดงบประมาณและเวลาในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร และได้องค์ความรู้ที่นำไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาให้มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร
ขั้นที่ ๒ การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชาในการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะความสอดคล้องด้านเป้าประสงค์ที่ต้องการ จะมีส่วนช่วยให้มองเห็นความเป็นไปได้ของการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร ความคล่องตัวเป็นอย่างไร เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินการหรือไม่อย่างไร
ขั้นที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การวางแผนการการบูรณาการการเรียนการสอนทางการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวไว้ใน ?รายละเอียดของรายวิชา ???????????ทั้งมคอ. ๓ และ ๔? ดังนี้
๓.๑ ทบทวนวัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ตลอดจน? การพิจารณาผลลัพธ์เพิ่มเติมของการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น สมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพ ?โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ ๒ กรณี คือ
กรณี ๑ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา??????????????? อาจสะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ แต่ไม่ชัดเจนให้พิจารณาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อความของวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้นั้นๆ ให้สะท้อน การสร้างเสริมสุขภาพ
กรณี ๒ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา???????????? ไม่สะท้อนหรือบอกแนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ให้พิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาให้สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยคำนึงถึงคำสำคัญ ?(key word) คือ ความหมาย และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์รายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๓ (บุคคลวัยสูงอายุ) เมื่อสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถ
๑. ใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้สูงอายุ
ได้อย่างเหมาะสม
๒. ให้การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้
๓. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหา
สุขภาพได้
๔. แสดงความก้าว หน้าในทักษะทางการพยาบาล
ในการวิเคราะห์ปัญหา อภิปรายทางการพยาบาล
และอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการพยาบาลได้
๕. คิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้
โดยอาศัยหลักวิชาการอย่างมีเหตุผล
๖.? ร่วมปฏิบัติงานกับทีมสุขภาพและบุคลากรอื่นๆ
ได้อย่างเหมาะสม
เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีวัตถุประสงค์ข้อใด สะท้อนหรือสอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ อาจพิจารณาเพิ่มเติม คือ ?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้? เป็นต้น
๓.๒ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดรับกับประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพตามบริบทหรือสถานการณ์จริงในคลินิกและชุมชน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดระหว่างการปฏิบัติการเพื่อการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ดังตารางต่อไปนี้
ปัญหาสุขภาพ | กิจกรรมการดูแล | กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ |
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยมีแผล Colostomy |
การทำแผล Colostomy ??????????แบบ wet dressing ให้กับผู้ป่วย | การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ดังนี้
๑. การสอนและสาธิตผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy แบบ wet dressing ๒. การเป็นโค้ช (coach) ให้ผู้ป่วย/ญาติในการทำแผล Colostomy กิจกรรมทั้ง ๒ ล้วนเป็นการเพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเอง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน ซึ่งสอดรับกับความหมายการสร้างเสริมสุขภาพ |
ปัญหาสุขภาพ | กิจกรรมการดูแล | กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ |
การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุในชุมชน
ผู้ป่วยสูงอายุแขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง และติดเกร็ง มีแผลกดทับ |
๑. การช่วยผู้ป่วยออกกำลังกาย แบบ Passive exercise
๒. การทำแผล แบบ wet dressing |
๑. การสอนและสาธิตญาติผู้ป่วยสูงอายุในการทำแผลและ Passive exercise แบบ Coaching (เป็นโค้ชสอน)
๒. ร่วมกับญาติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการดูแล ป้องกันหรือแก้ปัญหาสุขภาพ โดยกระตุ้นให้พิจารณาถึงภูมิปัญญา/วัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาสุขภาพ |
๓.๓ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)
ขั้นที่ ๔ การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการเตรียมการและดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ????????????ทั้งนักศึกษา ผู้สอน ผู้ป่วย ผู้ดูแล และชุมชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ
๔.๑ ด้านนักศึกษา ก่อนให้นักศึกษาดำเนินกิจกรรมตามแผน จำเป็นต้องทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ และความแตกต่างระหว่างมิติการดูแล ซึ่งจะทำเกิดความเชื่อมั่น ลดความเครียดต่อการปฏิบัติของนักศึกษาได้
๔.๒ ด้านผู้ป่วยและผู้ดูแล จำเป็นต้องพบปะเป็นระยะๆ อย่างความเหมาะสม??????????? เพื่อสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือในการดำเนินการ เพื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ
๔.๒ ด้านเครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้
๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน
ขั้นที่ ๕ การวัดและประเมินผล
๕.๑ การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ยังต้องประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพต่อผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล และสถาบัน ดังนี้
๕.๑.๑ ผู้เรียน ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามรายวิชา และประเมินสมรรถนะนักสร้างเสริมสุขภาพ
๕.๑.๒ ผู้สอน ประเมินความเชี่ยวชาญในการสร้างเสริมสุขภาพ
๕.๑.๓ ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ/ผู้ดูแล ประเมินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
๕.๑.๔ ชุมชน ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน
๕.๑.๕ สถาบัน ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสถาบัน เช่น ความคุ้มค่าของการดำเนินการ มีองค์ความรู้ที่นำไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการของประชาชน
๕.๒ การวัดและประเมินผล ควรประเมิน ดังนี้
๕.๒.๑ การประเมินแบบ Formative evaluation เป็นการประเมินผลขณะที่กำลังมีการดำเนินการอยู่เป็นระยะๆ อย่างเหมาะสม แล้วนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทันเวลา
๕.๒.๒ การประเมินแบบ Summative evaluation เป็นการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้ว เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์หรือประสิทธิผลที่เกิดขึ้น สามารถกระทำได้ ดังนี้
ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือนหลังดำเนินการเสร็จสิ้น เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ผู้สอนควรศึกษาลักษณะรายวิชา วัตถุประสงค์รายวิชา และผู้เรียน จึงค่อยวางแผน และออกแบบการเรียนการสอน การบูรณาการมีหลายระดับเช่น การบูรณาการเนื้อหาภายในรายวิชาเอง การบูรณาการระหว่างวิชา การบูรณาการระหว่างครูผู้สอน และการบูรณาการในระดับหลักสูตร ที่สำคัญ การจัดการเรียนแบบบูรณาการควรวางแผนยาวไปถึงการวัดและประเมินผลแบบบูรณาการด้วย นั่นคือการประเมินผลที่หลากหลายวิธี หลากหลายระยะ และมีเครื่องมือที่หลากหลายด้วย จึงจะนำพานักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์รายวิชา่ที่ตั้งไว้และมี outcome การสร้างเสริมสุขภาพควบคู่ไปด้วย
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ทีีหลากหลายและให้การดูแลแบบองค์รวม รวมทั้งทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการป้องก้น มากกว่าการรักษา และยังได้แนวทางในการทำในใช้ในการทำงานต่อไปด้วย ซีั่งวิธีการจัดการเรียนการสอนต้องมีการออกแบบการสอนของผู้สอนให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เป็นการเรียนการสอนที่ดีมากสำหรับผู้เรียน
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการเสริมสร้างสุขภาพ เป็นการสร้างนักศึกษาให้เป็นนักเสริมสร้างสุขภาพ ซึ่งเป็นการบูรณการพื้นฐานเดิมจากการเรียนการสอนมาสู่การทำกิจกรรมผ่านการเรียนการสอน นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชน และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอีกประการด้วย
จากการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ1 นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนในชั้นเรียนไปใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา และนำไปใช้ในบริบทของกรณีศึกษาจริงได้เป็นอย่างดีโดยมีอาจารย์ประจำกลุ่มคอยแนะนำให้คำปรึกษา นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นเพราะทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นจากการได้ปฏิบัติจริง แต่ผู้สอนต้องวางแผนในการประเมินผลที่จะสามารถวัดได้จริงและบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่ต้องการให้เกิดขึ้นดังที่อ.นภดลและอ.วิไลวรรณกล่าวไว้ข้างต้น
การบูรณาการการเสรียนการสอนกับการเสริมสร้างสุขภาพ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเป้าหมายให้เกิดผลลัพธ์นอกเหนือจากนักศึกษา โดยให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การสัมมนาแผนงานของหน่วยงานเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายคือเพื่อสร้างเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยได้นำมาใช้กับรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 พบว่านักศึกษาสามารถให้คำแนะนำกับผู้ป่วยเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ของผู้ป่วยที่มีปัญหาแต่ละระบบ นอกจากนักศึกษาจะมุ่งเน้นถึงการรักษาพยาบาลในโรคนั้นๆๆ แต่กลับมาช่วยให้คำแนะนำแต่ผู้ป่วยได้อย่างดี ดังนั้นอาจารย์ต้องมีวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่ชัดเจน
การบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 พบว่านักศึกษาได้รับประสบการณ์การนำความรู้ไปใช้ได้จริง นักศึกษามีความสนใจในการศึกษาความรู้เพิ่มเติมเนื่องจากต้องทำกิจกรรมนอกสถานที่ ที่สำคัญนักศึกษาได้ฝึกการคิดสร้างสรรค์งานอีกด้วย
การวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ควรมีการเตรียมการและดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักศึกษา ผู้สอน ผู้ป่วย ผู้ดูแล และชุมชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบูรณาการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอน ควรมาจากการสอดแทรกกิจกรรมเข้าไปในหลักสูตรและการเรียนการสอน ดังนั้นเราจึงพยายามบูรณาการพื้นฐานเดิมจากการเรียนการสอนซึ่งเน้นการสร้างนักศึกษาที่มีการสร้างเสริมสุขภาพ มาสู่การทำกิจกรรมผ่านการจัดการเรียนการสอนแต่ให้เกิดประโยชน์ในชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยที่นักศึกษายังคงได้แนวคิด เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ
การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ1 คิดว่าเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในชั้นเรียนไปใช้ได้จริงและเป็นการเตรียมนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนวอร์ด ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการสัมผัสผู้ป่วยจริงๆ
การบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอนในขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นส่วนสำคัญที่อาจารย์ผู้สอนควรให้ความสำคัญ โดยการเริ่มต้นด้วยการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการดังกล่าวในรายละเอียดของรายวิชามคอ. ๓ และ ๔ นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนยังต้องอธิบายวัตถุประสงค์ และกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการดังกล่าวเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน และบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาภายหลังการจัดการเรียนการสอน
การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอน ในขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นส่วนสำคัญที่อาจารย์ผู้สอนควรให้ความสำคัญโดยเริ่มจากการออกแบบหรือระบุการวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมการวัดและประเมินผลของการบูรณาการไว้ในรายละเอียดของรายวิชามคอ.๓ และ ๔ รวมทั้งอธิบายให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในกิจกรรมการเรียนการสอนในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ภายหลังการจัดการเรียนการสอนตรงตามวัตถุประสงค์รายวิชา
การจัดประสบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนโดยเฉพาะด้านการสร้างเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้านเพื่อให้ผู้เรียนเกิดพลังขับเคลื่อนความคิดของเขาสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้สอนต้องการและอาจเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มากเกินคาดหมายได้ เหล่านี้เป็นผลดีของการจัดประสบการณืเรียนรู้ให้ผู้เรียนแบบActive learning
เทคนิคกาสอนแบบเน้นฝึกปฏิบัติ ผู้สอนวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่เน้นการฝึกทักษะ โดยจัดกิจกรรมที่ตระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะซ้าๆ อาจเป็นในลักษณะใช้โปรแกรมช่วยสอน สาหรับการฝึก โดยผู้สอนมีบทบาทให้คำแนะนำ อานวยความสะดวก กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การได้ฝึกปฎิบัติ
และเรียนรู้จากโปรแกรมตามอัธยาศัยช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระไม่มีความเครียด กดดันในการเรียน ส่งผลให้ชอบที่จะฝึกปฏิบัติบ่อยๆ
การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์จริง ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการคิดได้มากขึ้น เป็นการส่งเสริมกระบวนการ Active learning ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระยะยาว และรวมไปถึงการเน้นในเรื่องของมิติการสร้างเสริมสุขภาพให้มากขึ้น อีกทั้งการนำสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการอย่างแท้จริง