รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning? ครั้งที่ ๓
รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
แบบ Active Learning?
วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ ? ๑๒.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางสาววิไลวรรณ????????? บุญเรือง ?????????? หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางวิมล???????????????????? อ่อนเส็ง????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางประภาพร?????????????? มโนรัตน์ ??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางสาวดุจเดือน?????????? เขียวเหลือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์????????????????? วุฒิจูรีพันธุ์?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางอัญชรี?????????????????? รัตนเสถียร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายบุญฤทธิ์??????????????? ประสิทธินราพันธุ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นางสาวจิระภา ??????????? สุมาลี???????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นายอิทธิพล??????????????? แก้วฟอง???????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นางสาวชลธิชา?????????? จับคล้าย ??????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๒. นายนพรัตน์?????????????? สวนปาน ??????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๓. นางสาวสายฝน????????? ชมคำ???????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๔. นายอรรถพล ??????????? ยิ้มยรรยง??????????? พยาบาลวิชาชีพ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ? บุญเรือง
เปิดประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
- ประธานแจ้งความก้าวหน้าของการดำเนินการ การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องสืบเนื่อง
- ผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ?โดย อ.จิระภา สุมาลี แจ้งดังนี้
๑) ในรายวิชาทักษะชีวิต (ภาคทดลอง) สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๑ มีจำนวน ๒ ห้องเรียน แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นชั้นเรียนละ ๕ กลุ่ม (อัตราส่วนอาจารย์:นักศึกษา เท่ากับ ๑:๑๑) ซึ่งในกระบวนการเรียนการสอนภาคทดลองของบทที่ ๑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง โดยมีการเตรียมด้านการเรียนการสอนดังนี้
๑) การเตรียมผู้สอน
๑.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาวางแผนรูปแบบการเรียนการสอนตามลักษณะเนื้อหาของรายวิชา เช่น การจัดทำ มคอ.๓ จัดทำคู่มืออาจารย์ผู้สอนภาคทดลอง
๑.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอนภาคทดลองร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาชี้แจงถึงลักษณะการเรียนการสอนภาคทดลองซึ่งกำหนดไว้ในคู่มือ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเน้นการสะท้อนคิดและอาจารย์ผู้สอน ให้ข้อมูลย้อนกลับ และเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาในทฤษฎี
๑.๓ อาจารย์ผู้สอนทบทวนความรู้ในทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง เช่น? ทฤษฎี Jo-harri Window, ทฤษฎี Maslow, ทฤษฎีของ Floyd
๒) การเตรียมผู้เรียน
๒.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาแจ้งรายละเอียดของการเรียนการสอนกับผู้เรียน รวมถึงลักษณะของการวัดประเมินผลภาคทดลอง
๒.๒ เตรียมผู้เรียนก่อนเริ่มการเรียนการสอนทุกครั้ง โดยการฝึกสมาธิเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมก่อนการเรียนมีการกำหนดกติกาของการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การรักษาความลับของกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจในการพูดถึงเรื่องส่วนตัว โดยผู้สอนเชื่อมโยงไปถึงคุณธรรม จริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพที่จะต้องรักษาความลับของผู้ป่วย
๓) กระบวนการเรียนการสอน
ในชั่วโมงแรกของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม จะมีการทำกิจกรรมแนะนำตนเองเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพของนักศึกษาภายในกลุ่มให้นักศึกษาพร้อมที่จะเรียนรู้ และเปิดใจรับเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ส่วนกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมดูหิน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มองเห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลการยอมรับในข้อดี ข้อเสียของผู้อื่น เรื่องกิจกรรมสวนสัตว์, ชมสวนดอกไม้ เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สะท้อนถึง Id, Ego, Super Ego ของตนเองมองเห็นถึงข้อดี ข้อเสียที่มีในตนเองและการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้น
ซึ่งจากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา การวัดประเมินผลจากนักศึกษาในภาคทดลองนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมาก และได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนนักศึกษา ได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกับรายวิชาอื่น
ข้อเสนอแนะ
การจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ควรคำนึงถึงอัตราส่วนของอาจารย์ผู้สอนต่อนักศึกษาที่เหมาะสม เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนต้องใช้เวลามาก ทำให้ผู้เรียนบางส่วนได้แสดงความคิดเห็นไม่ทั่วถึง
…………………………………………….
(นายนพรัตน์ สวนปาน)
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
เคยได้มีโอกาสเข้าสังเกตการสอนในภาคทดลองรายวิชาทักษะชีวิตเมื่อปีการศึกษา 2555 ค่ะ คิดว่าการนำแนวคิดจากการจัดการองค์ความรู้ เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาปรับใช้ในรายวิชานี้มีความเหมาะสมค่ะ เพราะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนแบบactive learning จากประสบการณ์ของตนเอง ใช้กิจกรรมกลุ่ม ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 หัวข้อ การเสร้มสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตามกระบวนการ AIC ประกอบด้วยกิจกรรม ยอมรับความรู้สึกซึ่งกันและกัน การระบุสภาพปัญหา การสร้างภาพฝัน การกำหนดกิจกรรมการแก้ไขปัญหาในรูปแบบการเขียนโครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นักศึกษามีความตื่นตัวในการเรียนไม่ง่วงนอนเพราะต้องช่วยกันระดมสมอง การเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน การทำงานกลุ่มให้บรรลุเป้าหมาย อุปสรรคของการเรียนในครั้งนี้คือ อาจารย์ผู้สอนมีเพียงคนเดียวทำให้การสะท้อนกลับแก่ผู้เรียนยังไม่ทั่วถึง อาจารย์ต้องใช้พลังในการสอนมากเเพราะต้องคอยจับประเด็นผลงานของนักศึกษาเพื่อให้ข้อคิดเห็น การสังเกตกระบวนการทำงานกลุ่ม การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลของนักศึกษา
การเรียนรู้เชิกรุก AL เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ดำเนินกิจกรรมต่างๆในการเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เป็นวิธีการเรียนรู้ในระดับลึก ผู้เรียนจะสร้างความเข้าใจและค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระโดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่มี จากประสบการณ์ในการอบรมครูคลินิก ได้ใช้รูปแบบก่อนการสอนโดยสอบถามประสบการณ์เดิมของนักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนของผู้เรียน
การเรียนรู้แบบ Active Learning มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูป จากประสบการณ์ในการอบรมศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล ได้ใช้รูปแบบการอภิปรายในกลุ่มเพื่อนนักศึกษา โดยอาจารย์หยิบประเด็นคำถามนำ เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พบว่านักศึกษามีความตื่นตัวดี มีมุมมองความคิดที่หลาก และได้ข้อสรุปประเด็นนั้นๆ
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชา อาจารย์และผู้เรียน ควรสร้างความเข้าใจในเงื่อนการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้ทั้งอาจารย์และผู้เรียนเข้าใจจุดมุ่งหมายตรงกัน ดั้งนั้นทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนมีการจัดการเรียนการสอนขึ้น
ตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในด้านผู้เรียนควรมีดังนี้
1.ผู้เรียนสร้างความรู้หรือนวัตกรรมด้วยตนเอง
2.ผู้เรียนใช้ทักษะกระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่มเพื่อสร้างความรู้
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4.ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
5.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้
ในการจัดการเรียนการสอนแบบ AL นอกจากผู้เรียนจะต้องพาตัวเองหรือบังคับตัวให้ไปเข้าชั้นเรียนแล้ว สิ่งที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศ AL ได้ ผู้เรียนควรต้องเตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ และปัจจัยที่สำคัญยิ่ง บทบาทครูเองต้องเตรียมความพร้อมด้านกิจกรรมสื่อประกอบ แม้แต่ตัวครูคุณลักษณะส่วนบุคคล ประสบการณ์ของครู ก็มีผลต่อการเรียนรู้ในวิชาทักษะชีวิตอย่างยิ่งค่ะ
การจัดการเรียนการสอนด้วย active learning ได้นำไปใช้ในรายวิชาทัักษะชีวิต ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน แต่ถ้าจำนวนนักศึกษาต่อกลุ่มมากเกินกว่า 11 คน อาจทำให้ต้องใช้เวลามากเกินไป ความสนใจต่อกลุ่มและกิจกรรมการเรียนการสอนลดลงไปได้ แต่เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ดีมาก
รูปแบบการจัดการสอนแบบ Active Learning อาจารย์ มีทั้งการจัดการเรียนการสอนด้วย Active Learning ในบางหน่วยการเรียนรู้หรือเฉพาะบท และ โดยอาจารย์ผู้สอนจะวางแผนคัดเลือกเทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติรายวิชา วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะผู้เรียน การประเมินผลผู้เรียนผู้สอนเน้นการประเมินผลระหว่างจัดกิจกรรม (Formative) และประเมินจากพัฒนาการของผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของอาจารย์ อาจมี การใช้ Social Media หรือ New Media มาเป็นสื่อการสอน ช่องการการติดต่อสื่อการกับนักศึกษา และช่วยเสริมในเนื้อหาที่ผู้เรียนยังขาดความเข้าใจอาทิ การใช้ Facebook Web Blong และ e ? Learning เป็นต้น
ปัจจัยแห่งความสําเร็จ ของการเรียนรู้แบบ AL คือ ผู้สอนต้องมีความอดทนต่อรูปแบบและความพฤติกรรม ของนักศึกษาในการปรับเปลี่ยนรูปแบบตามผลการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป และการประเมินผลจะต้องใช้การประเมินผล จากสถานการณ์จริง(authentic assessment) ดูจากความสามารถในการปฏิบัติของผูู้เรียน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนรู้แบบ AC สำเร็จจริง
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด ทั้งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้นำการเรียนการสอนแบบ active นีืในรายวิชาภาคปฏิบัิติได้แก่ รายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ในการจัดการเรียนการสอน ศึกษากรณีศึกษา พบว่าผู้เรียน ได้พัฒนาศักยภาพทั้นการคิดการแก้ปัญหา การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ การรับผิดชอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี ทั้งผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฎิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับการเรียนการสอนในระดับอุตมศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาล
การจัดการเรียนรู้แบบเชิกรุก (Active Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ทั้งในด้านการเรียน การดำเนินกิจกรรมต่างๆในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะสามารถสร้างความเข้าใจหรือค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระได้เองโดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่มี จากประสบการณ์ในการการอบรมศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล ได้ใช้รูปแบบก่อนการสอนโดยสอบถามประสบการณ์เดิมของนักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนในแต่ละรูปแบบล้วนมีประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งสิ้น แต่อาจารย์ผู้สอนควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา จำนวนผู้เรียน เพราะแต่ละเทคนิคการสอนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผู้สอนควรมีการวางแผนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มากกว่าวิธีการเรียนการสอนแบบบรรยายอย่างเดียวหรือแบบท่องจำ แต่ทั้งนี้ผู้สอนต้องมีความเข้าใจในรูปแบบและวิธีการสอนแบบ active learning อย่างถ่องแท้ และเลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน และสอดคล้องกับเนื้อหาของรายวิชา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
การจัดการเรียนรู้แบบเชิกรุก (Active Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ทั้งในด้านการเรียน การดำเนินกิจกรรมต่างๆในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะสามารถสร้างความเข้าใจหรือค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระได้เองโดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่มี การจัดการเรียนการสอนในแต่ละรูปแบบล้วนมีประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งสิ้น แต่อาจารย์ผู้สอนควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา จำนวนผู้เรียน
การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ควรมีการฝึกสมาธิเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมก่อนการเรียนมีการกำหนดกติกาของการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น การรักษาความลับของกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจในการพูดถึงเรื่องส่วนตัว โดยผู้สอนเชื่อมโยงไปถึงคุณธรรม จริยธรรมชองพยาบาลวิชาชีพด้วย
เห็นด้วยกับทุกๆข้อเสนอแนะครับ ในส่วนการจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้เราได้เห็นความคิดรวบยอดของนักศึกษานั้นเราควรมีการสรุปสาระพร้อมทั้งกระตุ้นให้นักศึกษาร่วมอภิปรายถึงสาระการเรียนรู้ที่ได้รับเช่นกันโดยผ่านการวาดผังความคิด หรือ กิจกรรมการตอบบัตรคำที่สามรถนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้ครับ
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning เป็นการเรียนการสอนที่ทําให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้เรียน แต่ผู้เรียนกับผู้สอนควรตกลงร่วมกันหรืออธิบายลักษณะการเรียนการสอนและ outcomeที่จะได้ด้วยค่ะ
คิดว่าอาจารย์ทุกคนเคยใช้การเรียนการสอนด้วยActive Learning มาแล้วแต่อาจขาดความสมบูรณ์เช่นในการเตรียมนักศึกษา การเตรียมแบบประเมิน ซึ่งเหล่านี้การมาแลกเปลี่ยนกันได้ประโยชน์ในการปรับใช้กับตัวเอง
รายวิชาทักษะชีวิตเหมาะสมมากค่ะ ที่จะใช้แนวคิดจากการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาพยาบาล เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ในการเรียน
การจัดการเรียนรู้ใดๆก็ตามที่สามารถกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนได้ นับได้ว่าเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบActive learning ได้ก็จริงอยู่แต่ผู้จัดการเรียนรู้นั้นหรือครูผู้ออกแบบพึงระลึกไว้เสมอว่า การกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์นั้นควรต้องเป็นการเรียนรู้เชิงบวก กล่าวคือ เกิดการระลึกรู้ด้วยความเข้าอกเข้าใจ จดจำไปตราบนานเท่านานด้วยความทรงจำที่ดี ไม่ใช่เชิงลบ คิดได้เมื่อใดช็อกเมื่อนั้น ดังนั้นอยากบอกเพื่อนผู้สอนไว้ว่า การจัดการเรียนรู้นั้นควรต้องให้เป็นไปอย่างมีความสุขสนุกกับการเรียนผ่านกิจกรรม สถานการณ์ต่างๆ แล้วระลึกรู้จนจำได้ขึ้นใจ และเน้นอีกว่าควรเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมกับการเรียนรู้ด้วย