การจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Active Learning คือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป(Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน(Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้

(co-creators)( Fedler and Brent, 1996)

แนวคิด/หลักการจัดการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบใฝ่เรียนที่นํามาใช้

๑. การมีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active) ของผู้เรียน

๒. การมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning)

๓. การทํากิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)

๔. การคิด (thinking) ซึ่งกระตุ้นด้วยการถาม (inquiry)

๕. การนําความรู้ไปใช้และประยุกต์ใช้ (application)

และจากการประชุมของภาควิชาฯ ครั้งที่ ๑ ได้ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ AL ของภาควิชาฯ คือ

การจัดการเรียนแบบ AL พบว่ามีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกตามความสมในบริบทของแต่ละบุคคล? ส่วนในเรื่องการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น ๒ ส่วนดังนี้ดังนี้

๑. บทบาทของครู

- การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอนหรือศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน

- ศึกษาผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

- จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

- สร้างความเข้าใจรูปแบบการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

- เตรียมความพร้อมทรัพยากร สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้

- ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน

- ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง

๒. บทบาทผู้เรียน

- ทบทวนความรู้ อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

- เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

- เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

- ผู้เรียนต้องมีความพร้อมที่จะเรียน และอยู่กับปัจจุบัน

- ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

และได้แนวปฏิบัติของภาควิชาฯ จากการประชุมครั้งที่ ๒ คือ

๑)????? จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๒)????? จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

๓)????? ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด

๔)????? ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

๕)????? สรุปผลการจัดการเรียนการสอน

๖)????? นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้มีการติดตามผลการนำ AL ไปใช้ในบางรายวิชาที่ภาควิชาฯ รับผิดชอบ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ประเด็นการจัดการเรียนการสอนแบบ AL ในภาควิชาฯ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗

๑. อาจารย์: บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์

รูปแบบการเรียนการสอน: Jigsaw Learning

รายวิชา: ภาคทฤษฎีการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการออกแบบการเรียนการสอนที่ แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการของครอบครัวตามช่วงวัย โดยศึกษาอย่างละเอียด (Expert) และจากนั้นจัดให้มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและสรุปรวมสาระสำคัญของเนื้อหาทั้งบท

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษามีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๐

๒. อาจารย์: อรรถพล ยิ้มยรรยง

รูปแบบการเรียนการสอน: Cooperative Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นระบบในการตรวจร่างกาย (Systemic Review) โดยมอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนทบทวนรวมถึงศึกษารายละเอียดของการตรวจร่างกายในระบบที่ได้รับผิดชอบและนักศึกษาแต่ละคนจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและกัน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถตรวจร่างกายตามระบบได้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา

จากการผลวิจัยของ ทรงศักดิ์ สองสนิทและคณะ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (๒๕๕๒) ซึ่งอธิบายประกอบด้วยขั้นตอนการสอน ๔ ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียม ขั้นศึกษาเนื้อหา ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้? พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนและระดับความพึงพอใจของผู้เรียน

๓. อาจารย์: จิระภา? สุมาลี

รูปแบบการเรียนการสอน: Role Play Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ ดังนี้

๑.????? ให้นักศึกษาจำคู่แสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับการให้การพยาบาลผู้ป่วยในเรื่อง ?การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด?

๒.????? ให้นักศึกษาได้วิพากษ์การแสดงบทบาทสมมุติดังกล่าวเพื่อสรุปประเด็นการเรียนรู้

๓.????? Post-Test เรื่อง การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด

ผลการเรียนการสอน: คะแนนทดสอบหลังเรียนดีขึ้น และจากการถอดบทเรียนนักศึกษาสะท้อนว่า มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เห็นรูปชัดเจน และสามารถจดจำและใช้เทคนิคในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดได้ดีขึ้น

๔. อาจารย์: วิมล? อ่อนเส็ง และสายฝน? ชมคำ

รูปแบบการเรียนการสอน: Concept Mapping Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษามีการเรียนรู้ในเรื่องการสรุปสาระสำคัญหรือประเด็นสำคัญของการเรียนรู้ขณะฝึกภาคปฏิบัติบนวอร์ด ลงบน Mind Map เมื่อมีการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งเมื่อฝึกภาคปฏิบัติเสร็จสิ้น นักศึกษาจะสามารถรวบรวมConceptต่างๆตามกรอบแนวคิดของแต่ละคน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถรวบรวมและสรุปแนวคิด (Concept)ตามระบบต่างๆได้ดีขึ้น

๕. อาจารย์: กันตวิชญ์? จูเปรมปรี

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: มนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษา ออกเป็นกลุ่มเพื่อออกไปศึกษากรณีศึกษาในประเด็นหัวข้อ ?พฤติกรรมการทำมาหากิน? หลังจากนั้นให้นักศึกษาเข้ากลุ่มย่อยเพื่อทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีศึกษาของแต่ละกลุ่ม

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถเข้าใจความเป็นปัจเจกบุคคลของแต่ละคนได้ว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเห็นได้จากการศึกษาจากกรณีศึกษาของเพื่อนในกลุ่มที่แตกต่างกัน

จากการศึกษาวิธีการสอนแบบกรณีศึกษา (case study)ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้นเรื่องวัฒนธรรม ของ ชูวิทย์ ไชยเบ้า ระบุว่าการสอนแบบกรณีศึกษา(case study)เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนการสอน โดยให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในสภาพจริง หรือแก้ปัญหาที่สร้างขึ้นในเรื่องราวใดเรื่องราวหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งในการแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินปัญหา ตัดสินใจหาแนวทางปัญหา แล้วรายงานสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาต่อกลุ่ม ซึ่งการสอนทำได้โดยให้ผู้เรียนอ่านกรณีจากเอกสารหรือชมภาพยนตร์ ชมการแสดงบทบาทสมมติ หรือการฟังเทปบันทึกเสียง ครูอาจเล่ากรณีให้ฟังแบบเล่านิทานก็ได้ ข้อสำคัญครูต้องใช้สื่อต่างๆประกอบการเล่า เช่น ภาพ แล้วติดภาพเหล่านั้นไว้เป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนกลับมาศึกษาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง เพราะมิฉะนั้นจะเกิดการลืมและทำความยุ่งยากให้กับการศึกษาในขั้นวิเคราะห์ นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์และมองภาพในการศึกษาได้อย่างชัดเจน ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่าย ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ไปในทางที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้สรุปไว้ในงานวิจัยนี้ว่าผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน (http://eduweb.kpru.ac.th/pdf/rs15.pdf)

๖. อาจารย์: วิไลวรรณ? บุญเรือง

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนโดยการมอบหมายให้นักศึกษาทั้งกลุ่มเลือก Case Study โดยนักศึกษาทุกคนในกลุ่มต้องเรียนรู้กรณีศึกษาร่วมกัน จากนั้นให้นักศึกษาทั้งกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ และวางแผนทางการพยาบาลให้กับกรณีศึกษา

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคของกรณีศึกษามากขึ้นจากการได้ลงฝึกปฏิบัติและให้การพยาบาลกับกรณีศึกษาจริง

๗. อาจารย์: ชลธิชา? จับคล้าย

รูปแบบการเรียนการสอน: Brain Storming Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยขณะที่มีการ Conference Journal นักศึกษาแต่ละคน จะมีการแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้แบบระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม โดยแบ่งตาม K A P

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับ Journal และมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดของแต่ละคน

๘. อาจารย์: อิทธิพล? แก้วฟอง

รูปแบบการเรียนการสอน: Community Base Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๒

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาลงพื้นที่ศึกษาชุมชนเกี่ยวกับประเด็นด้าน การประเมินชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การวินิจฉัยชุมชน และการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้นเพิ่มขึ้นจากการได้ลงศึกษาพื้นที่จริง

๙. อาจารย์: นพรัตน์? สวนปาน

รูปแบบการเรียนการสอน: Brain Storming Learning

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยขณะที่มีเน้นให้นักศึกษาแต่ละคนได้ถอดบทเรียนจาการเรียนรู้ ซึ่งจะมีการแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้แบบระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถสรุปสาระสำคัญของประเด็นที่ฝึกภาคปฏิบัติออกเป็น Mind Mapping

๑๐. อาจารย์: อดุลย์? วุฒิจูรีพันธ์

รูปแบบการเรียนการสอน: Case Study Learning

รายวิชา: ภาคทฤษฎีการพยาบาลอนามัยครอบครัวและชุมชน ๑

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอน โดยจัดให้มีกรณีศึกษาให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาระดับบุคคล ครอบครัว และให้นักศึกษา SOAPE ในขณะเรียนในห้องเรียนก่อนลงภาคปฏิบัติจริง

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษาสามารถแยกแยะปัญหาแต่ละระดับได้

๑๑. อาจารย์: ดร.ประภาพร?? มโนรัตน์

รูปแบบการเรียนการสอน: Didactic Teaching

รายวิชา: ภาคปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย

รายละเอียด: เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วีดีทัศน์เป็นตัวกระตุ้นการนำเข้าสู่บทเรียน ร่วมกับการอภิปรากลุ่มย่อย และการทำ World Cafe

ผลการเรียนการสอน: นักศึกษามีผลการสอบผ่านมากกว่า ๙๐ % สามารถวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และนักศึกษาตื่นเต้น มีความสนใจเรียน

ข้อเสนอแนะ : ควรมีจำนวนอาจารย์ผู้ช่วยสอนให้เพียงพอกับจำนวนกลุ่มนักศึกษา(๑:๑๕)

และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ในภาควิชาฯที่จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สามารถสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ดังนี้

ด้านการเตรียมการสอน

o การเตรียมตัวสอนและวางแผนการสอน

-? วางแผนร่วมกันระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้สอนในการจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF)? แผนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL

-? การเตรียมสื่อการสอนการโดยใช้ ใบงาน,กรณีศึกษา, สถานที่, เอกสารประกอบการสอน, แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

-?? การวางแผนการประเมินผลที่สอดคล้องกันระหว่างวัตถุประสงค์รายวิชา และกิจกรรมการเรียนการสอน

ด้านการดำเนินการสอน

ขั้นนำ

ผู้สอนเป็นผู้เตรียมสถานการณ์อย่างที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิด กับผู้เรียน แล้วใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและตอบคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้สอนอาจจะเตรียมสื่อต่าง ๆ มาช่วยก็ได้ เช่น วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพพจน์เด่นชัดขึ้น

ขั้นสอน

ผู้สอนใช้สื่อการสอนการเช่น ?ใบงาน,กรณีศึกษา, แหล่งเรียนรู้ในชุมชน มาเป็นโจทย์สถานการณ์กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาจจะ สั่งไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้การนำเสนอกรณีตัวอย่าง อาจจะใช้สื่อที่เตรียมมาหรืออาจจะใช้เป็นบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลองก็ ได้ โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน แบบ AL อันประกอบด้วย

๑. สร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

๒. ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน

๓. ส่งเสริมการเรียนรู้ความทางสติปัญญา (IQ) ควบคู่ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

๔. กระตุ้นการคิดวิเคราะห์

๕. ส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ขั้นสรุป

ผู้เรียนช่วยกันสรุปแนวคิดหรือประเด็นที่ได้ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา

ด้านการวัดและประเมินผลการสอน

o? การประเมินตามสภาพจริง

-?? ปรับระบบการประเมินการเรียนการสอน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์จริง

-?? ประเมินผลและแจ้งให้ผู้เรียนทราบตามที่ระบุไว้ใน มคอ./ Course Syllabus

o? การประเมินตามกรอบ TQF

o? การประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน

o? การประเมินโดยนักศึกษา

อ้างอิง

ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. Active Learning. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.drchaiyot.com

(ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2557)

ทรงศักดิ์ สอนสนิท, จรัญ แสนราช และพิสุทธา อารีราษฎร์.(2552).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ

ร่วมมือโดยอาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบโครงงาน ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.

วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 : ธันวาคม 2552

นิวัติ จันทราช.(2554).ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบกรณีศึกษาในรายวิชา MGT 351 พฤติกรรมองค์การ

และการพัฒนาองค์การ.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางนา.

วรพรรณ กระต่ายทอง.(2550). การสอนทฤษฎีโดยใช้รูปแบบการสอนกรณีศึกษาดีกว่าการบรรยายธรรมดา

จริงหรือ. [ออนไลน์] เข้าถึงข้อมูลได้จาก 202.29.15.37/pdf/rs14.pdf (ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2556 )

C.C. Bonwell, J.A. Eison, ?Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.?

ERIC Digest.Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education,

1991.