แนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
สรุปแนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ฉบับปรับปรุง ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗
สรุปแนวทางการปฏิบัติ
เรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning?
(ปรับปรุง ครั้งที่ ๑ จากการประชุม KM ภาควิชา วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗)
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง
ขั้นตอนการดำเนินการ
๑. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcome) ของรายวิชา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอน โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
๑.๑ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน
๑.๒ เลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา
๑.๓ เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ เช่น ใบงาน สถานการณ์การเรียนรู้ ข้อคำถาม รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ เป็นต้น โดยจุดเน้นที่สำคัญของสื่อนั้นๆ ควรเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ของผู้เรียน
๑.๔ วางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบการเรียนการสอนบางกรณีมีความจำเป็นต้องมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบแก่ผู้เรียนก่อนที่จะมีการเรียนการสอนตามเวลาที่กำหนด ก็จำเป็นต้องหาเวลาพบผู้เรียนเพื่อกระทำการดังกล่าว พร้อมการชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้เรียนอย่างกระจ่างชัด
๑.๕ กรณีมีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ควรพิจารณาอย่างเหมาะสม มีเป้าหมาย มีความลงตัว เช่น จำนวนกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องมีจำนวนผู้เรียนเท่าๆ กันหรือไม่ จำเป็นต้องการกระจ่ายเด็กเก่งเด็กอ่อนหรือไม่ เป็นต้น
๒. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๓ ขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ ขั้นนำสู่บทเรียน ควรเริ่มต้นด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่กระตุ้นหรือเร่งเร้าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ อันจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกนึกคิด (feeling) หรือความตื่นตัวของผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่เนื้อหาความรู้ เช่น ข้อคำถามสะท้อนคิด รูปภาพ สถานการณ์ที่เกิดจริง เสียง วีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
๒.๒ ขั้นสอนและประเมินผลแบบ Active learning ประเด็นที่สำคัญ คือ ผู้สอนจะต้องลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลงอย่างเหมาะสม องค์ประกอบที่ควรพิจารณา มีดังนี้
๒.๒.๑ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีดังนี้
๑) การใช้กรณีศึกษา (Case Study) เป็นวิธีการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมของกรณีศึกษาที่กำหนดขึ้น ซึ่งการใช้กรณีศึกษานี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมพิจารณา อภิปราย แสดงความรู้สึก เพื่อสรุปปัญหา แนวคิด และแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหา และสภาพความเป็นจริงที่ลึกซึ้ง พัฒนาความคิดทักษะการแก้ปัญหา การประยุกต์ใช้หรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่สถานการณ์
๒) การใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยผู้สอนแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสม (จำนวนกลุ่มและจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ครูต้องการสอน) สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม เรียกว่า Home Group จะแยกกันไปศึกษาหัวข้อที่ผู้สอนจะมอบหมายให้ร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ เรียกว่า Expert Group จากนั้นสมาชิกทุกคนของกลุ่ม จะกลับไปกลุ่มของตน (Home Group) และเล่าความรู้ที่ตนเองได้ศึกษาให้เพื่อนในกลุ่มฟัง จากนั้นผู้สอนอาจจะให้ตัวแทนของกลุ่มสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน
๓) การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีเป้าประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ชัดว่า บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร โดยผู้เรียน สวมบทบาทเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานการณ์นั้น และสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติ คือ การอภิปรายหลังการแสดง และการให้ความอิสระแก่นักศึกษาในการสร้างสรรค์และกำกับการแสดงบทบาทสมมุตินั้นๆ
๔) การเรียนรู?เป็นทีม (Team-based learning [TBL]) เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการร่วมมือกันในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การทำงานด้วยกันเป็นทีมเล็กตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สมาชิกภายในทีมมีหน้าที่รับผิดชอบและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบทีม แบ่งเป็น ๓ ระยะ ?คือ
ระยะที่ ๑ ก่อนเข้าชั้นเรียน เป็นการมอบหมายงานให้ผู้เรียนอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนประมาณ ๑ สัปดาห์ ตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดหัวข้อและ scope เนื้อหาที่ชัดเจน
ระยะที่ ๒ ในชั้นเรียน เป็นการประยุกต์เนื้อหาที่อ่านมาในห้องเรียน โดยแบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงแรก คือ การทำแบบทดสอบรายบุคคล ช่วงที่ ๒ เมื่อผู้เรียนทำ Test เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยผู้สอนจะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้ผู้เรียนในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม โดยที่ผู้เรียนสามารถทราบคำตอบแบบทันที
ระยะที่ ๓ หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว ผู้เรียนจะได้ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ Case ผู้ป่วย โดยให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเน้นให้ใช้ความรู้จากการอภิปรายและหนังสือเพื่อแก้ปัญหา หลังจากนั้นกลุ่มจะอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยผู้สอนจะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน หลังสิ้นสุดการเรียนการสอนแบบ TBL ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาในหัวข้อที่กำหนด สามารถใช้แนวคิดของการเรียนในการแก้ปัญหาและการคิด และพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กลุ่มและทักษะระหว่างบุคคล
๕) การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนทำงานกันเป็นกลุ่มๆ ละ ๔-๖ คน คละความสามารถ และเพศ สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบในการเรียนรู้จากเอกสารหรืองานที่ผู้สอนมอบหมาย และช่วยเหลือสมาชิกอื่นๆ ให้เรียนรู้ไปด้วยกัน ทุกคนมีความรับผิดชอบงานของตนเองและงานส่วนรวมร่วมกัน วิธีการแบบนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกบทเรียน ทุกวัตถุประสงค์ใช้ในการสอนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานจนถึงการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและบูรณาการกับเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่เหมาะสม
๖) การเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis) เป็นการจัดการเรียนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษารายงานกรณีศึกษา โดยการอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษาให้ละเอียด ขีดเส้นใต้ข้อความที่เห็นว่ามีความสำคัญ จากนั้นให้ผู้เรียนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น??????????????????? เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภายในกลุ่ม สรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่
๗) การเรียนรู้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning: PBL) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดี มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้แบบ PBL คือ Scenario หรือ Trigger ซึ่งควรมีการพัฒนาและตรวจอย่างมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้จริง
๒.๒.๒ เทคนิคหรือวิธีการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง มีดังนี้
๑) การใช้เกม (Games) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสนุก ตื่นเต้น มีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแก้ปัญหา สื่อสาร การฟัง ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ผู้สอนสามารถใช้เกมในการเสริมแรง ทบทวน สอนข้อเท็จจริง ทักษะ และมโนทัศน์ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน อีกทั้งยังใช้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการได้ด้วย ตัวอย่างเกม เช่น การจับคู่ การทายคำ ปริศนาอักษรไขว้ ใบ้คำ เป็นต้น
๒) การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) เป็นกลวิธีที่จัดให้มีขึ้น ด้วยเจตนาร่วมกันที่จะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำข้อปัญหา และแง่คิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นมากล่าวให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น หรือช่วยขบคิดเกี่ยวกับข้อปัญหานั้น เพื่อหาข้อสรุป ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูด ออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
๓) การตั้งคำถามหรือใช้คำถามกระตุ้น
(๑) การใช้ ๕ คำถามของนักปราชญ์ ได้แก่ ๑) หมายความว่าอย่างไร ๒) อะไร ๓) ทำไม ๔) อย่างไร และ ๕) สรุปหรืออธิบายเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นและสร้างให้ผู้เรียนรู้จักคิด และช่างสงสัย คิดหาคำตอบ และอธิบาย
(๒) การใช้คำถามตามวิธีการของโสเครติส (Socratic Method) เป็นการสนทนาที่มีการใช้คำถามนำเป็นชุดแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องสำคัญเพื่อเข้าถึงความรู้หรือความจริงที่มีอยู่ ซึ่งคำถามที่ใช้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
๔) การสร้างแผนผังความคิด หรือผังมโนทัศน์ (Concept mapping) เป็นการกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนสร้างแผนผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ขึ้น เพื่อนำเสนอหรือสื่อความหมาย ความเข้าใจ หรือความคิดรวบยอดอย่างเชื่อมโยง โดยใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของแผนภูมิใยแมงมุม (Spider chart) แผนภูมิองค์กร (Organization chart) หรือแผนผังสาย (flow diagram) ทั้งนี้รูปแบบของ Concept Mapping ที่มีประโยชน์มาก สำหรับการเรียนการสอนมักจะเป็นรูปแบบที่เรียงลำดับตามความสำคัญ (Hierarchical organization) ที่วางความคิดรวบยอดทั่วไป และกว้างๆ กว่าอันอื่น ไว้ด้านบน แล้วจึงค่อยวางความคิดรวบยอดที่มีความชัดเจนและชี้เฉพาะมากขึ้น เป็นลำดับลงมาที่ด้านล่าง
๕) เพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)
๖) การโต้วาที (student debates) คือ การจัดกิจกรรมโดยแบ่งผู้เรียนเป็น ๒ ฝ่าย และให้ผู้เรียนแต่ละฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้ เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่มว่าถูกต้องเหมาะสมที่สุด โน้มน้าวชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยโต้แย้งหักล้างเหตุผลและการนำเสนอของอีกฝ่ายไปพร้อมกัน
๗) การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน
๘) การสร้างเงื่อนไขให้มีผลกระทบต่อผู้เรียน ทั้งด้านบวกและลบ เช่น การแบ่งกลุ่มแข่งขันตอบปัญหาชิงรางวัล หรือให้คะแนนสะสม ถือว่าเป็นกลอุบายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกระทำด้วยตัวเอง
๙) การประเมินและการสร้างบรรยายการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสำรวจหรือตรวจจับ ด้วยสายตาและความรู้สึก (Scan) กรณีพบว่าบรรยายการเรียนรู้เริ่มเฉื่อยชา อาจพิจารณากระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ เป็นต้น
แม้จะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning หลากหลายวิธีก็ตาม การประเมินและการสร้างบรรยายการเรียนรู้อยู่เสมออย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น เพราะจะทำให้รับรู้ถึงบรรยากาศการเรียนรู้ ณ ปัจจจุบัน ว่าเป็นเช่นไร และควรหรือไม่ว่าจะกระตุ้นหรือขั้นเวลาการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ด้วยกิจกรรมสันทนาการ เช่น เกม เพลงประกอบจังหวะ ทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ต่อไป
Active learning เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดการพัฒนา cognitve thinking จะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ long life learning ที่มาจากความต้องเรียนรู้ของตัวผู้เรียนเอง ซี้งทำให้ผู้เรียนเกิดการเีรียนรู้ได้ดีกว่า passive learning วิธีที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ป.จิต คือ case study analysis ผลการสอนจากการประเมินจากนักศึกษาพบว่า นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ผู้ทำการสอนต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้าน เช่น สื่อการสอน อุปกรณ์ประกอบการสอน การจัดสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนและเนื้อหา ทั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นหลังสิ้นสุดกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาตำราและบทความวิชาการ และได้นำมาแลกเปลึ่ยนเรียนรู้ในภาควิชาแล้ว พบว่า มีหลายๆแนวทางการจัดการเรียนรู้ active learning ที่อาจารย์หลายๆท่านได้นำมาใช้แล้ว และได้ผลดี หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์พบว่าบรรยากาศจะเป็นเช่นไร น่าสนใจมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นกับหลายๆปัจจัย เช่น ผู้เรียน ผู้สอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้วย
ทั้งนี้ โดยส่วนตัวคิดว่าจะนำแนวทางการจัดการเรียนการสอน active learning ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ไปปรับใช้ในวิชาที่ตนสอนต่อไป
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ดูคล้ายว่าผู้สอนจะสบายเนื่องจากผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติเองทั้งหมด แต่ที่จริงแล้วผู้สอนต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างมากในการ เตรียมอุปกรณ์ จัดสิ่งแวดล้อม จัดลำดับขั้นตอนกิจกรรมการเรียน วางแผนการสอน ให้กิจกรรมสอดคล้องกับเนื้อหา และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในการลงมือปฏิบัติ คิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษามากกว่าผู้ชี้นำคำตอบ
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ผู้สอนต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน เช่น สื่อการสอน อุปกรณ์ประกอบการสอน การจัดสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ดูคล้ายว่าผู้สอนจะสบายเนื่องจากผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติเองทั้งหมด แต่ที่จริงแล้วผู้สอนต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างมากในการเตรียมอุปกรณ์ จัดสิ่งแวดล้อม จัดลำดับขั้นตอนกิจกรรมการเรียน วางแผนการสอนให้กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับเนื้อหา และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในการลงมือปฏิบัติ คิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษามากกว่าผู้ชี้นำคำตอบ
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning นั้นมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทุกรูปแบบขึ้นอยู่กับบริบทและความเหมาะสม ที่อาจารย์ผู้สอนจะนำไปใช้ ดังนั้นอาจารย์ควรมีการเตรียมพร้อมในเทคนิคที่เลือก และมีความกระจ่างในเนื้อหานั้นๆ จะช่วยให้เกิดประสิธิผล สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน
ขอสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยการใช้ mind mapping เพราะช่วยให้ผู้สอนได้ทราบศักภาพของผู้เรียนรายบุคคลและประเมินประสิทธิภาพของสารที่ผู้สอนส่งไปยังผู้รับสารเพื่อจะนำปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการสอนต่อไป ซึ่งได้ใช้วิธีนี้ในรายวิชาพยาธิสภาพกับนักศึกษาปี๒แล้วได้ผลดีทำให้สามารถติดตามผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ได้ทดลองนำวิธีการแบบ active learning ไปใช้ คือ การสร้างแผนผังความคิดและการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ พบว่าให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดที่รอบคอบมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นระบบ เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ กล้าแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ เกิดการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและนำไปสู่การปฏิบัติได้ แต่ทั้งนี้ตัวผู้สอนจะต้องเป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือชี้นำนักศึกษา และถ้าจะได้ผลดีในลักษณะรูปแบบการสอนดังกล่าวกลุ่มผู้เรียนจะต้องไม่มากเกินไป
จากการศึกษาบทความวิชาการ เรื่อง Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning การนำเอาวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการสอนและกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน Active Learning จึงถือเป็นการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยส่งเสริม student engagement , enhance relevance, and improve motivation ของผู้เรียน
หลักสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ การส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ด้วยเทคนิคหรือกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนมีบทบาทอำนวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning)
ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน และอาจารย์ผู้สอน มีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
วิชาอารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น นำสื่อดีวีดี. มาประกอบการเรียนการสอนในบทที่ 2อารยธรรมตะวันตก ด้วยภาพยนต์เรื่อง Troy ขุนศึก 300 และ บทที่ 3 อารยธรรมตะวันออก ภาพยนต์เรื่อง “เดอะมัมมี่ 3″ และบทที่ 4 และ 5 เรื่อง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ให้นักศึกษาชมประกอบการบรยาย เนื่องจากภาพยนต์สามารถสื่อสารเกี่ยวกับอารยธรรมแะวัฒนธรรมได้ดีกว่าการจินตนาการ การใช้สื่อวีดีทัศน์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาความรู้ และมีความรุกเร้าประสาทสัมผัสการรับรู้ต่างๆ ของผู้เรียน สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง ขอบคุณครับ
ได้นำการเรียนแบบ AL ไปใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 ในหัวข้อปัญหาสุขภาพครอบครัวที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข โดยใช้กิจกรรม CASE STUDY เป็นสถานการณ์กระตุ้นให้ผู้เรียนรวมกลุ่ม(กลุ่มละ 10คน)มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลในระดับบุคคล ครอบครัว(SOAPE)แล้วมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือการบรรลุตามวัตถุประสงค์รายวิชา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน การคิดวิเคราะห์ การมีส่วนร่วมของผู้เรียน และการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติ
ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์สตรี ได้นำการเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis) มาใช้จัดการเรียนการสอน ซึ่งได้มอบหมายให้นักศึกษาศึกษารายงานกรณีศึกษา โดยการอ่านและวิเคราะห์กรณีศึกษาให้ละเอียดโดยใช้กระบวนการพยาบาล จากนั้นให้ผู้เรียนนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มย่อย สรุปผลการวิเคราะห์ และนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างเกิดประสิทธิภาพ
ได้มีโอกาสร่วมสอนในวิชาการพยาบลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยวิธี TBL พบว่านักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่มีการหลับระหว่างเรียนเลยคะ นักศึกษาแย่งกันถามและตอบคำถาม ผู้สอนมือใหม่ก็สนุกในการสอนคะ
Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป จึงเห็นด้วยที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาซึ่งมีวิธีเทคนิดที่หลากหลายดังแนวปฏิบัติข้างต้น แต่เมื่อนำมาใช้ต้องวางแผนเกี่ยวกับเวลา เนื้อหาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน กิจกรรมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องท้าทายและให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย
ได้นำวิธีการเรียนการสอนแบบ Active learning โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share)ในการสอนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาในระบบประสาท โดยการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้สอนกำหนด โดยเริ่มต้นให้คิดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้นำความคิดไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และสุดท้ายจึงนำเสนอความคิดเห็นนั้นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)พบว่า ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ดีเป็นส่วนใหญ่
ได้นำการเรียนการสอนแบบ active learning ไปใช้ คือ การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) โดยให้นักศึกษาออกแบบแผนผังความคิด นำเสนอความคิดรวบยอดของอาการสำคัญ อาการ พยาธิสภาพของโรค การรักษา การพยาบาลใน caseที่ตนเองได้รับมอบหมาย มีการเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง จัดทำเป็นรายบุคคล จากนั้นนำเสนอผลงานต่อเพื่อนๆ แล้วเปิดโอกาสให้เพื่อนคนอื่นๆ ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ทำให้ผู้นำเสนอเกิดการคิดวิเคราะห์เพื่อนถามปัญหา ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูล ฝึกการพูดสื่อสารพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ และสุดท้ายเกิดการตกตะกอนความคิดของตนเอง นอกจากนั้นยังทำให้เพื่อนคนอื่นๆได้มีความรู้เพิ่มเติมในระยะเวลาอันรวดเร็ว มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning วิธีที่ได้ลองใช้คือmind mapping ซึ่งช่วยให้เราได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจนอกจากนี้ยังสะท้อนสื่อ/เนื้อหา และวิธีการถ่ายทอดที่ผู้สอนได้ใช้ในการสอนด้วยเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาทั้งผู้เรียนและผู้สอน
จากการได้นำวิธีการเรียนการเรียนรู้แบบการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Case study analysis) ในวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ นักศึกษาได้รับกรณีศึกษาที่แตกต่างกันไป พบว่า นักศึกษามีความกระตือรือร้นมากขึ้น และร่วมกันคิดวิเคราะห์กรณีศึกษา ได้มีการอภิปรายกันในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทำให้นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็นถูกและผิด แต่ในกลุ่มก็จะช่วยกันเพื่อเป็นข้อสรุปของกลุ่ม แต่วิธีการนี้ยังมีข้อจำกัดคือ อาจจะใช้เวลานาน ในปีการศึกษาต่อไปจะปรับวิธีการให้ดียิ่งขึ้น
รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นรูปแบบใหม่ที่อ้างอิงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้มีความตื่นตัวในการนำแนวคิดนี้มาใช้โดยเชื่อว่าเนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนนี้มีพื้นฐานจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ จะทำให้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้โดยไม่มีผลกระทบด้านลบ อย่างไรก็ดีหลังจากที่มีการนำรูปแบบ Active Learning มาใช้อย่างแพร่หลายก็ได้มีสถาบันการศึกษาและนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่เริ่มมองเห็นว่ารูปแบบนี้เป็นแนวคิดกว้าง ๆ ที่มีวิธีการ
ในการปฏิบัติหลายวิธี ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าแต่ละวิธีการไม่ได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียวเท่านั้นแต่ยังมีผลเสียที่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการนำวิธีการนั้นไปใช้อีกด้วย ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning จึงเป็นดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ซึ่งหากนำมาใช้ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี จึงต้องพิจารณานำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดในการพัฒนาการศึกษาต่อไป
ได้นำการเรียนการสอนแบบ active learning ไปใช้ คือการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นศ.อ่านกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ จากนั้นให้นศ.วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อเพื่อนๆทั้งหมด ทำให้นศ. ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ถึงเหตุและผล คิดเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎี และ case studies ฝึกการมีส่วนร่วม ฝึกการทำงานเป็นทีม และการฝึกทักษะในการติดต่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ และทำให้นศ.สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ขอเสนอวิธีหนึ่งที่น่าจะเหมาะสมกับวิชาชีพพยาบาล คือการเรียนแบบสืบเสาะ (inquiry method) ที่มีการนำเสนอ5E มีจั้นตอน คือ
1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration)มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ
4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น
5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle
เมื่อมาพิจารณาแล้วจะพบว่าคล้ายคลึงกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการวิจัยเพียงแต่มีความเชื่อมโยงออกมามากขึ้น
การจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงจะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ได้ดีขึ้น จากผลการวิจัยของพรศิริ พันธะศรี และอรพิน สีขาว (วารสารสภาการพยาบาล,๒๕๕๒)
พบว่า นักศึกษาประเมินตนเองเกี่ยวกับความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลหลังการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทั้งสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริงสูงกว่าก่อนการ
สอน
Active learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สนใจ มีงานวิจัยรองรับมากมายเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ ของการสอนด้วยวิธีนี้ ได้ใช้วิธีการสอนแบบการอภิปรายกลุ่มในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ สังเกตเห็นว่าทำให้นักศึกษาและรวมถึง ครูกระตือรือล้นกับการเรียนมากขึ้น
Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับยุคศตวรรษที่ 21 เน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน และช่วยส่งเสริม improve motivation ของผู้เรียนด้วย
Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต หลักการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning การนำเอาวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการสอนและกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน Active Learning จึงถือเป็นการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยส่งเสริม ให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนอีกด้วย เป็นวิธีการสอนที่ดีมากเลยคะ
Active Learning นั้นมีความสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดสภาพของ Active Learning ได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ที่จะก่อให้เกิดสภาพนี้ได้คือ ครูผู้สอนที่จะต้องมีสภาพของ Active Teaching ก่อน และไม่ว่าเราจะใช้คำศัพท์ใดๆ หรือใช้นิยามหรือคำจำกัดความใดๆ ที่จะกว้างหรือแคบก็ตามสิ่งที่เราในฐานะครูผู้สอน ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น จะต้องคำนึงถึงก็คือทำอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ และครบถ้วนถามที่สังคมยุคปฏิรูปการศึกษาได้มุ่งหวังไว้ ไม่ใช่สอนเพื่อเด็กเรียนรู้เพียงเพื่อจำเอามาตอบเราได้เท่านั้น
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยการคิดมากขึ้น มากกว่าการเรียนแบบฟังบรรยายอย่างเดียว ที่เป็นการสื่อสารทิศทางเดียว เป็นการส่งเสริมการสื่อสารแบบสองทิศทาง เป็นการดีมากหากผู้สอนสามารถจัดการรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active ได้ ซึ่งวิธีการก็มีหลายวิธี สิ่งสำคัญคือการเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเนื้อหา และกลุ่มผู้เรียน รวมไปถึงการสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆให้ผู้เรียนได้ออกแรง กระตุ้นความคิด และมี Activity มากขึ้น จะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming)เป็นวิธีการกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดีวิธีหนึ่งค่ะ และเป็นรูปแบบที่นักศึกษามีอิสระในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีผิดไม่มีถูก
การจัดการเรียนการสอนแบบ AL โดยมีการจำลองสถานการณ์จริงในส่วนของการพยาบาลที่นักศึกษามองเห็นเป็นนามธรรม เพื่อเสริมความเข้าใจแก่นักศึกษาให้มากขึ้น หรือใช้การจัดการเรียนการสอนหลายๆรูปแบบมาบูรณาการให้เข้ากับรายวิชาได้
การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดด้วยตนเอง และนำความรู้ร่วมกันทำงานเป็นทีมเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงความรู้นำไปปฏิบัติ ที่สำคัญทำให้นักศึกษาจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้ดีมากกว่าที่อาจารย์ผู้สอนบรรยายหรือบอก
ในยุคปัจจุบัน การเรียนการสอนแบบ Active Learning นั้นมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย มีกระบวนการหรือวิธีการมากมาย สิ่งที่สำคัญคือ การศึกษาหรือประเมินตัวผู้เรียนถึงจุดอ่อนและจุดแข็ง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ
การใช้เทคนิคการระดมสมองเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสอนแบบ Active Learning จากการนำไปใช้ในรายวิชา ป.ครอบครัวและชุมชน ๑ พบว่า นักศึกษาได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ทำให้นักศึกษาทุกคนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การเรียนการสอนแบบ Active Learning มีแนวคิดอยู่ 5 ประการ คือ 1.ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เป็นการแสดง action มากกว่าจะนั่งฟังอย่างเดียว 2.ผู้เรียนควรได้ปฏิสัมพันธ์กัน 3.ผู้เรียนควรมี Brain stoming 4.ผู้เรียนควรได้คิดวิเคราะหื์ 5.ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้