รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘

วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

******************************************************

รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๒. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๓. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๔. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๖.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๗.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ

๙. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ

๑๐. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ

รายยามผู้ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

๑.ดร.ดุจเดือน?????????? เขียงเหลือง???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ (ติดราชการ ม.เรศวร)

ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน

1. ทบทวนการจัดการความรู้

วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่? 3-4 กรกฎาคม? 2558?หลังการอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและภาควิชาได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 ( 13 กรกฎาคม? 2558)?

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา

- ไม่มี ?

ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ

การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้

การนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ และพัฒนาให้เกิดแนวปฏิบัติใหม่

1.ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้มีการเตรียมอาจารย์โดยมีการเชิญ ดร.เชษฐา? แก้วพรม

ผู้มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน reflective thinking มาบรรยาย และฝึกกระบวนการทำ

reflective thinking จำนวน 2 วัน ?วันที่ 3 -4 ก.ค. 58

2.ภาควิชาฯ สรุปแนวปฏิบัติที่การเรียนการสอนแบบ reflective thinking เพื่อนำไปใช้

3.มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดย

อ.อดุลย์ ?ได้เตรียมผู้สอนโดยอธิบายแนวคิดการเรียนแบบสะท้อนคิดในชั่วโมงแรกของการเรียน

4.อ.อดุลย์ นำเสนอผลการนำไปใช้ในรายวิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ดังนี้

- ผู้สอนมอบหมายงานให้นักศึกษาจับคู่เลือกพื้นที่ศึกษาชุมชนเข้มแข็ง เช่น ชุมชนที่บ้านของตนเอง หรือ ชุมชนที่นักศึกษาสนใจ? แล้วให้เขียนรายงานผลการศึกษา ประกอบด้วยไปศึกษาได้อะไรมาบ้าง ชุมชนมีรูปแบบการดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างไรและให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแบบประเมินบันทึกสะท้อนคิด ตามกรอบแนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

- ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 10 ? 12 คน ให้ผู้เรียนอ่านบันทึกการสะท้อนคิดของแต่ละคนแก่สมาชิกในกลุ่มได้รับฟัง ?พร้อมฝึกนักศึกษาให้ข้อเสนอแนะเพื่อนภายในกลุ่มเพื่อการเรียนรู้? โดยไม่นำมาคิดคะแนน หลังจากนั้นผู้สอนสุ่มบันทึกการสะท้อนคิดแก่สมาชิกหน้าชั้นเรียน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาเพิ่มเติม

- ผลการประเมินโดยผู้สอนพบว่า ไม่สามารถสะท้อนกลับบันทึกการสะท้อนคิดได้ครบทุกคน เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีมาก ( 97 คน) ต่ออาจารย์ผู้สอน 1 คน อีกทั้งไม่สามารถพัฒนาการสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนำมาทดลองสอนเพียง 1 ครั้ง ผลการประเมินรายวิชาจากนักศึกษาพบว่า ไม่ควรจัดการเรียนการสอนแบบให้นักเรียนให้คะแนนตามเกณฑ์กันเอง เช่น การให้คะแนนสะท้อนคิดเนื่องจากแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน(หมายเหตุ ผู้สอนไม่ได้นำคะแนนจากนักศึกษามาคิดตัดสินผลการเรียนรายวิชา)

- ข้อเสนอแนะ

1.หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคทฤษฎี ควรมีการเตรียมผู้สอน? จัดให้มีอาจารย์หลายคนช่วยกันตรวจบันทึกสะท้อนคิด ( 1 ฉบับ ใช้เวลาตรวจประมาณ 20 ? 30 นาที) เพื่อสะท้อนกลับแก่นักศึกษาครบทุกคน?? การเรียนแบบสะท้อนคิดในรายวิชาควรมีความต่อเนื่องพัฒนาเชิงกระบวนการในรายวิชานั้นๆ

2. จากการทบทวนเชิงวิชาการพบว่า ควรมีการฝึกเขียนรายงานสะท้อนคิดอย่างน้อย 6 ครั้ง จึงเชื่อว่าจะสามารถพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

3. หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ น่าเหมาะสมมากกว่า เนื่องสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาไม่เกิน 8 คน

4. ควรมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับให้ตรงเวลา ก่อนที่นักศึกษาจะเขียนรายงานสะท้อนคิดครั้งต่อไป เพื่อให้นักศึกษาได้มีการนำข้อมูลที่อาจารย์สะท้อนไปพัฒนาในครั้งต่อไป

พัฒนาแนวปฏิบัติใหม่

จากการนำแนวปฏิบัติเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking ไปใช้ พบว่าเกิดข้อจำกัดในทางปฏิบัติ ทั้งในด้านระยะเวลา ผู้เรียน และทีมผู้สอน ทางภาควิชาจึงได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแนวปฏิบัติใหม่ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

1. คัดเลือกรายวิชาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking และทบทวน LO ในรายวิชาที่คัดเลือกที่สามารถตอบ LO ใน Domain ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา

2. เตรียมผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้

2.1 อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด โดยการซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking

2.2 อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา

2.3 จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย

1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)

2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)

3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )

4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)

5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )

6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )

3. เตรียมผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้

3.1 ชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

3.2 ฝึกบันทึกแบบสะท้อนคิด การตั้งคำถาม และการใช้แบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)

3.3 ชี้แจงการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking

4. หลังจากผู้เรียนทำ Reflective writing ผู้สอนต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับผู้เรียนทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้

มติที่ประชุม รับทราบ

ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม

(นางสาวชลธิชา จับคล้าย)

พยาบาลวิชาชีพ

ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม

(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)

หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช