รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
ประจำเดือน กันยายน ๒๕๕๘
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
******************************************************
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒. ดร.ประภาพร????????? มโนรัตน์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๔. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธ์นราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖.นางอัญชรี?????????????? เข็มเพชร????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗.น.ส.วิไลวรรณ? ????????? บุญเรือง?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาปฏิบัติการ
๙. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๐. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ
รายยามผู้ไม่ได้เข้าร่วมประชุม
๑.ดร.ดุจเดือน?????????? เขียงเหลือง???? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)
๒.นางสายฝน??????????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ (ติดราชการ ม.เรศวร)
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน
1. ทบทวนการจัดการความรู้
วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2557 โดยกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมาย???? การจัดการความรู้ คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinkingเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ โดยใช้ Reflective thinking ซึ่งภาควิชาได้ดำเนินการถอดบทเรียนเมื่อวันที่? 3-4 กรกฎาคม? 2558?หลังการอบรม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและภาควิชาได้นำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 และการประชุมในครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อสรุปความรู้ครั้งที่ 2 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ที่ได้ครั้งที่ 1 ( 13 กรกฎาคม? 2558)?
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ
การจัดการความรู้ของภาควิชาฯได้ดังนี้
การนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ และพัฒนาให้เกิดแนวปฏิบัติใหม่
1.ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชได้มีการเตรียมอาจารย์โดยมีการเชิญ ดร.เชษฐา? แก้วพรม
ผู้มีประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน reflective thinking มาบรรยาย และฝึกกระบวนการทำ
reflective thinking จำนวน 2 วัน ?วันที่ 3 -4 ก.ค. 58
2.ภาควิชาฯ สรุปแนวปฏิบัติที่การเรียนการสอนแบบ reflective thinking เพื่อนำไปใช้
3.มีการประชุมภาควิชาฯ เพื่อนำแนวปฏิบัติไปใช้ ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดย
อ.อดุลย์ ?ได้เตรียมผู้สอนโดยอธิบายแนวคิดการเรียนแบบสะท้อนคิดในชั่วโมงแรกของการเรียน
4.อ.อดุลย์ นำเสนอผลการนำไปใช้ในรายวิชา การพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ดังนี้
- ผู้สอนมอบหมายงานให้นักศึกษาจับคู่เลือกพื้นที่ศึกษาชุมชนเข้มแข็ง เช่น ชุมชนที่บ้านของตนเอง หรือ ชุมชนที่นักศึกษาสนใจ? แล้วให้เขียนรายงานผลการศึกษา ประกอบด้วยไปศึกษาได้อะไรมาบ้าง ชุมชนมีรูปแบบการดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างไรและให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิดตามแบบประเมินบันทึกสะท้อนคิด ตามกรอบแนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย
1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)
2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)
3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )
4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)
5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )
6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )
- ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 10 ? 12 คน ให้ผู้เรียนอ่านบันทึกการสะท้อนคิดของแต่ละคนแก่สมาชิกในกลุ่มได้รับฟัง ?พร้อมฝึกนักศึกษาให้ข้อเสนอแนะเพื่อนภายในกลุ่มเพื่อการเรียนรู้? โดยไม่นำมาคิดคะแนน หลังจากนั้นผู้สอนสุ่มบันทึกการสะท้อนคิดแก่สมาชิกหน้าชั้นเรียน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษาเพิ่มเติม
- ผลการประเมินโดยผู้สอนพบว่า ไม่สามารถสะท้อนกลับบันทึกการสะท้อนคิดได้ครบทุกคน เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีมาก ( 97 คน) ต่ออาจารย์ผู้สอน 1 คน อีกทั้งไม่สามารถพัฒนาการสะท้อนคิดอย่างต่อเนื่องเนื่องจากนำมาทดลองสอนเพียง 1 ครั้ง ผลการประเมินรายวิชาจากนักศึกษาพบว่า ไม่ควรจัดการเรียนการสอนแบบให้นักเรียนให้คะแนนตามเกณฑ์กันเอง เช่น การให้คะแนนสะท้อนคิดเนื่องจากแต่ละคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน(หมายเหตุ ผู้สอนไม่ได้นำคะแนนจากนักศึกษามาคิดตัดสินผลการเรียนรายวิชา)
- ข้อเสนอแนะ
1.หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคทฤษฎี ควรมีการเตรียมผู้สอน? จัดให้มีอาจารย์หลายคนช่วยกันตรวจบันทึกสะท้อนคิด ( 1 ฉบับ ใช้เวลาตรวจประมาณ 20 ? 30 นาที) เพื่อสะท้อนกลับแก่นักศึกษาครบทุกคน?? การเรียนแบบสะท้อนคิดในรายวิชาควรมีความต่อเนื่องพัฒนาเชิงกระบวนการในรายวิชานั้นๆ
2. จากการทบทวนเชิงวิชาการพบว่า ควรมีการฝึกเขียนรายงานสะท้อนคิดอย่างน้อย 6 ครั้ง จึงเชื่อว่าจะสามารถพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
3. หากนำไปใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ น่าเหมาะสมมากกว่า เนื่องสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาไม่เกิน 8 คน
4. ควรมีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับให้ตรงเวลา ก่อนที่นักศึกษาจะเขียนรายงานสะท้อนคิดครั้งต่อไป เพื่อให้นักศึกษาได้มีการนำข้อมูลที่อาจารย์สะท้อนไปพัฒนาในครั้งต่อไป
พัฒนาแนวปฏิบัติใหม่
จากการนำแนวปฏิบัติเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking ไปใช้ พบว่าเกิดข้อจำกัดในทางปฏิบัติ ทั้งในด้านระยะเวลา ผู้เรียน และทีมผู้สอน ทางภาควิชาจึงได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแนวปฏิบัติใหม่ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
1. คัดเลือกรายวิชาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking และทบทวน LO ในรายวิชาที่คัดเลือกที่สามารถตอบ LO ใน Domain ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา
2. เตรียมผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้
2.1 อาจารย์ฝึกสะท้อนคิด โดยการซ้อมฝึกกำหนดประเด็น /ตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจการเรียนการสอน? แบบ Reflective thinking
2.2 อาจารย์ฝึกตรวจชิ้นงานการสะท้อนคิด และให้คะแนน เพื่อทำความเข้าใจก่อน การประเมินชิ้นงานของนักศึกษา
2.3 จัดประชุมชี้แจงอาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชา ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking เพื่อทำความเข้าใจ โดยใช้แนวคิดของ Gibbs ประกอบด้วย
1.การคิดทบทวนประสบการณ์ ( Description)
2.การทบทวนความคิดความรู้สึก( Feelings)
3.การประเมินผลกระทบของเหตุการณ์( Evaluation )
4.การวิเคราะห์เหตุการณ์( Analysis)
5.การสร้างความเข้าใจใหม่( Conclusion )
6.การวางแผนการนำความรู้ใหม่ไปใช้ในอนาคต( Action plan )
3. เตรียมผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ reflective thinking โดยมีวิธีการ ดังนี้
3.1 ชี้แจงการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking รวมทั้งแบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)
3.2 ฝึกบันทึกแบบสะท้อนคิด การตั้งคำถาม และการใช้แบบประเมินการเขียนสะท้อนคิด (Reflective writing)
3.3 ชี้แจงการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking
4. หลังจากผู้เรียนทำ Reflective writing ผู้สอนต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับผู้เรียนทุกครั้ง เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดในระดับที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนในการทำงานเพื่อเป็นการเสริมแรงในการเรียนรู้
มติที่ประชุม รับทราบ
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.
|
จากประสบการณ์การสอนแบบการสะท้อนคิดขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ผู้สอนต้อง suggest อย่างใกล้ชิดคือขั้นตอนของการสร้างความเข้าใจใหม่ (conclusion)เพราะถ้าปล่อยให้นักศึกษาสรุปเองบางครั้งอาจจะทำให้ miss concept ในประเด็นที่ยากและซับซ้อน เพราะขั้นตอนนี้ต้องใช้ทักษะ conceptualization
Reflective Thinking เป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล เนื่องจากเป็นกระบวนการคิดไตร่ตรองทบทวน พินิจพิเคราะห์และพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบโดยใช้สติและมีสมาธิ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน ช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง ปรับปรุงงาน และการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กระบวนการสะท้อนคิดทั้ง 6 ขั้นตอน เป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน หากทุกวิชานำไปใช้กับนักศึกษาจะทำให้เกิดเป็นความเคยชิน และติดตัวนักศึกษาไปตลอดจะทำให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาตนเอง มองเห็นปัญหา และคิดแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
การสะท้อนคิด(Reflective)เป็นรูปแบบการคิดที่ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกตนเอง เกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการวางแผน หาแนวทางแก้ไขในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีไปสู่
การปฏิบัติได้
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ต้องมีการเตรียมผู้เรียนเพื่อให้มีประสบการณ์ในการสะท้อนคิดตามขั้นตอน เพราะการสะท้อนคิดเป็นทักษะการคิดขึ้นสูง การพัฒนาการสอนเพื่อให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำกระบวนการเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ใดๆ ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติงานในอนาคต การประเมินผลผู้เรียนว่าสามารถพัฒนาทักษะการคิดได้หรือไม่นั้น วิธีการหนึ่งคือการให้ผู้เรียนเขียน Reflective journal ตามแนวทางที่กำหนดจะช่วยให้ทั้งผู้สอนทราบว่าผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะการคิดหรือไม่ และผู้เรียนสามารถใช้แนวทางการเขียนเพื่อพัฒนาการสะท้อนคิดของตนเองได้เช่นกัน การได้รับผลการให้ข้อมูลย้อนกลับภายในระยะเวลา ก่อนการเขียนครั้งต่อไปจะช่วยให้ผู้เรียนรู้จุดดีและจุดที่ควรปรับปรุง สามารถปรับปรุงวิธีการคิดของตนเอง รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการเขียน Reflective journal ที่สะท้อนทักษะการคิดของตนเองได้เป็นอย่างดี
การสะท้อนคิดเป็นปฏิกิริยาของสมองที่สะท้อนคิดสิ่งที่บุคคลนั้นคานึงถึงอย่างใคร่ครวญ ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อถ่ายโอนความรู้สึกต่างๆ ของตนเองก่อนที่จะสื่อสารกับผู้อื่นด้วยการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการสอนด้วยวิธีการสะท้อนคิด ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดหรือเขียนอย่างเหมาะสม และควรสะท้อนกลับให้ผุ้เรียนได้รับรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วย
องค์ประกอบสำคัญของการสะท้อนคิด
*การเปิดใจกว้าง
*เข้าใจอย่างลึกซึ้งกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
*ทบทวนเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปส่แนวคิดและ
การปฏิบัติที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ
*การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ
*การยอมรับผลจากการกระทําของตนเอง
ได้มีโอกาสนำไปใช้ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๒ โดยให้เขียนสัปดาห์ละ ๑ครั้ง พบว่านศ.ยังมีปัญหาในการตั้งคำถาม ที่ยกระดับการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะเป็นความจำ ซึ่งได้แก้ไขโดยใช้ตัวอย่าง คำถามให้นักศึกษาได้ฝึกตั้ง คำถาม ตามหลัก Bloom Taxonomy ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลา ๒ ชั่วโมง และที่สำคัญต้องมีการเสริมแรงให้กำลังใจนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้ที่ดี
ในระยะเริ่มต้นของการจัดการเรียนการสอน การสะท้อนคิด(Reflective)
การทำความเข้าใจทั้งกับครูผู้สอน และ ตัวผู้เรียนมีความสำคัญมาก เพราะ เป็นรูปแบบที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างไม่คุ้นเคย และ ควรเริ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยก่อน เพื่อเป็นการฝึกทักษะทั้งผู้สอนและผู้เรียน
ดิฉันได้มีโอกาสนำการเขียนสะท้อนคิดไปใช้ในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑ โดยให้เขียนทุกวัน พบว่านศ.สะท้อนความรู้สึก ณ วันนั้น และสามารถระบุปัญหาหรือหัวข้อที่จะต้องศึกษา และนำไปทบทวนจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่นหนังสือ ทางเว็บไซด์ หรือ Journal เพื่อนำมาเป็นหลักหรือวิธีแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆที่เกิดขึ้นต่อวันที่พบเจอ ซึ่งนักศึกษาแต่ละคนอาจจะพบปัญหาไม่เหมือน และการแก้ไขปัญหาก็ต่างกัน ส่วนเนื้อหาของกระบวนการในวิชาที่ฝึกในแต่ละสัปดาห์ นักศึกษาก็สามารถสะท้อนคิดและตอบกระบวนการและวิธีการพยาบาลในขั้นตอนต่างๆได้ ซึ่งถือว่าผลจากการนำการสะท้อนคิดมาใช้ได้ผล เพราะได้ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ และฝึกทำทุกอย่างเป็นขั้นตอน รู้วิธีคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
การสะท้อนคิด(Reflective thinking) มีความหมายในตัวเอง นั่นคือการสะท้อนความคิด
ของผู้เรียน โดยมีครูเป็นผู้เปิดโอกาสและให้โอกาสรวมทั้งเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้สะท้อนกลับไม่ว่าจะด้วยการพูด การเขียนหรือด้วยภาษาทางกายใดก็ตาม
สำหรับการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดในช่วงเริ่มต้น การตั้งประเด็นคำถามสู่การเรียนรู้ ควรเป็นคำถามปลายเปิด และเป็นประเด็นคำถามที่สอดคล้องกับหัวข้อที่เรียน และเป็นคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้ด้วยตนเอง และมุ่งแสวงหาคำตอบด้วยตัวของเขา รวมทั้งนำไปสู่การนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ดังนั้นผู้สอนจึงควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนต่อการตั้งประเด็นคำถาม สำหรับช่วงชั้นสูงขึ้นควรให้ความสำคัญกับระดับความรู้ที่สูงขึ้น ตั้งแต่ระดับการสังเคราะห์ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดครูผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บรรลุLOเนื่องจากครูต้องมีskill ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ทั้งปัจจัยนำเข้าและ กระบวนการจัดการเรียนรู้ อันจะนำสู่ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ และประเด็นที่โดดเด่นของการจัดการเรียนรู้แบบนี้ที่สำคัญที่สุดคือเทคนิคผู้สอนในการตั้งคำถามเพื่อนำสู่การสะท้อนคิด ผู้สอนจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน จึงจะบรรลุLOที่แท้จริง
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด สิ่งสำคัญคือผุ้สอนกับผู้เรียนต้องมีความเข้าใจตรงประเด็นว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการคืออะไร การสะท้อนคิดจะต้องสะท้อนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และจำนวนผู้สอนกับจำนวนนักศึกษาควรเป็นการจัดการเรียนการสอนกลุ่มย่อย เพื่อผู้เรียนสามารถสะท้อนคิดได้อย่างทั่วถึงและผู้สอนสามารถติดตามประเมินผลผู้เรียนได้ครบถ้วน
การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด เป็นกระบวนการกระตุ้นให้นักศึกษามีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการใช้ฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มาอ้างอิงความคิดและผลงานของตนเอง เพราะฉะนั้นบทบาทอาจารย์ผู้สอนควรมีความเชี่ยวชาญในการตั้งคำถามและการสะท้อนคิดให้กับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถที่จะคิดต่อยอดกับความคิดให้ดียิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้การการพัฒนาการสอนแบบนี้ควรมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภายนอกมที่เชี่ยวชาญมาดูรูปแบบของแนวปฏิบัติเพื่อให้แนวปฏิบัติสมบูรณ์มาดขึ้นครับ
การเขียนสะท้อนคิด (Reflexive writing) เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการสรุปผลการสะท้อนคิดที่ได้จากการมีประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งกลั่นกรองออกมาเป็นความหมายที่ทำให้ผู้เขียนสามารถบอกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือปฏิบัติเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เหมือนหรือต่างไปจากประสบการณ์เดิมอย่างเหมาะสม ผู้สอนควรตรวจผลการเขียนสะท้อนคิดและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการเรียนด้วยวิธีการสะท้อนคิดอย่างครอบคลุม นอกจากนี้ผู้สอนควรตรวจสอบความสามารถในการเขียนของผู้เรียนว่าถูกต้องตามหลักภาษาหรือไม่ทั้งนี้จะทำให้พัฒนาผู้เรียนในด้านการเขียนเชิงสื่อสารซึ่งเป็นคุณสมบัติของบัณฑิตไทยตามกรอบมาตรฐานอุดมศึกษา
การนำการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking ไปใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ นั้นมีความเหมาะสม นอกจากสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาไม่เกิน 8 คนแล้ว นักศึกษายังได้เรียนรู้จากสถานการณ์ การฝึกปฏิบัติงานจริงซึ่งไม่ซ้ำเดิมในแต่ละวัน จึงน่าจะทำให้นักศึกษาสามารถสะท้อนคิดได้ตามแนวคิดของ Gibbs และสามารถวางแผนการนำความรู้ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ไปใช้ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น