รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
รายงานการประชุมกิจกรรมการสังเคราะห์ความรู้
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ๑๔๔
—————————————————————————————————————————
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑.????? นางศศิธร???????? ????????? ชิดนายี?????????? ประธาน
๒.????? นางนิศารัตน์?????????????? นาคทั่ง?
๓.????? นางอนัญญา?????????????? คูอาริยะกุล
๔.????? นางสุธีรา?????????????????? งามวาสีนนท์
๕.????? นางมณฑา??????? ????????? อุดมเลิศ
๖.????? นางสาววราภรณ์????????? ยศทวี
๗.????? นางสาวเสาวลักษณ์ ?????? เนตรชัง
๘.????? นายไพทูรย์?????? ????????? มาผิว
๙.????? นางวาสนา?????? ????????? ครุฑเมือง
๑๐.? นายสืบตระกูล?? ????????? ตันตลานุกุล
๑๑.? นางสาวอลิษา????????????? ทรัพย์สังข์
๑๒.? นายวีระยุทธ???? ????????? อินพะเนา
๑๓.? นายภราดร?????? ????????? ล้อธรรมมาฃ
๑๔.? นางจิราพร???????????????? ศรีพลากิจ
๑๕.? นางอรุณรัตน์???? ????????? พรมมา? เลขานุการที่ประชุม
ระเบียบวาระที่? ๑ กำหนดประเด็น
????????? อ.ศศิธร แจ้งให้ทราบว่า วิทยาลัยฯ กำหนดให้ภาควิชา จัดการ ความรู้ ด้านวิชาการ คือ การพัฒนาผลการสอบขึ้นทะเบียน ที่นำไปปฏิบัติจนเกิดแนวปฏิบัติที่ดี หรือการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๕ ดังนั้น การจัดการความรู้ในครั้งนี้จึงได้ทำเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
ระเบียบวาระที่? ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
????????? อ.สืบตระกูล ?ให้ความคิดเห็นว่า ในรายวิชาที่ฝึกปฏิบัตินั้นต้องดูรายละเอียดวิชาเพื่อมากำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เกี่ยวกับการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ จากการบูรณาการกับรายวิชา พบว่า สิ่งที่มีความสำคัญ การมีทุนทางสังคมที่ดีมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เช่น แพทย์ พยาบาล อสม.ในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจะทำให้ กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ จะประสบผลสำเร็จ
อ.ไพทูรย์ ให้ความคิดเห็นว่า เราเคยจัดการความรู้กันไปแล้วและได้แนวทางที่เคยแลกเปลี่ยน ดังนั้น วันนี้จะเป็นการหาแนวปฏิบัติที่ดีหลังจากที่ได้นำไปปฏิบัติมาแล้ว
????????? อ.นิศารัตน์ ให้ความคิดเห็นว่า ที่ผ่านมาการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ ทำในรายวิชาพลศึกษา
แล้วพบว่านักศึกษาสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ ทำสื่อได้ด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์และสร้างสื่อเป็นวีดีโอ เพื่อไปให้ชุมชนใช้ต่อไป
????????? อ.ไพทูรย์ ให้ความคิดเห็นว่า จากที่อาจารย์ได้กล่าวมาจะเห็นว่าเครือข่ายมีความสำคัญ โดยเฉพาะ แพทย์ พยาบาล อสม. การสร้างภาคีเครือข่างให้เข้มแข็งเป็นสิ่งที่ดีมาก
????????? อ.ศศิธร ให้ความคิดเห็นว่า ทุนทางสังคมที่ดี ในการสร้างเสริมสุขภาพ จะทำให้การสร้างเสริมสุขภาพประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน คือมีเครือข่ายที่ชัดเจน นอกจากที่กล่าวมา ยังมี อบต. ผู้ใหญ่ ประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นทุนที่ดีต่อสังคม นอกจากนี้ในการบูรณาการการเรียนกับการสร้างเสริมสุขภาพ ควรมีการกำหนดสมรรถนะของการสร้างเสริมสุขภาพ ตามที่ WHO กำหนดไว้ เช่น การสื่อสาร ทีม การเขียนแผน/โครงการ และอื่น ๆ อีก จะทำให้จัดการสอนได้เห็น ภาพชัดเจน ดังนั้นต้องกำหนดไว้ใน มคอ. ตั้งแต่ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการสอน และการวัดประเมินผล
????????? อ.ไพทูรย์ สรุปประเด็นการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ดังนี้
?????????????????? ๑. วางแผนที่ชัดเจน มคอ. ๓, ๔ โดยเฉพาะวัถตุประสงค์ ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง
?????????????????? ๒. กำหนดสมรรถนะให้เกิดกับนักศึกษาในเรื่อง การสื่อสารที่ดี ทีมที่ดี การเขียนแผนงานและโครงการ
?????????????????? ๓. การมีเครือข่ายที่ดี
????????? อ.มณฑา ให้ความคิดเห็นว่า วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๒ ในส่วนของเด็กจะมีกิจกรรมที่ชัดเจนและมีการประเมินผลมาเป็นคะแนนฝึกปฏิบัติ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาปฏิบัติ
????????? อ.นิศารัตน์ ให้ความคิดเห็นว่า ส่วนในของหอผู้ป่วยหู คอ จมูก จะเน้นไปการแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน D/C plan ในส่วนของ admit plan จะไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกิจกรรมการพยาบาลเท่านั้น จากการซักถามนักศึกษา กรณีให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยก่อนกับกลับ ถ้าแนะนำเป็นรายบุคคลจะดีกว่าการแนะนำเป็นกลุ่ม
????????? อ.วราภรณ์ ให้ความคิดเห็นว่า ในการบูรณาการต้องการนักศึกษาให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับ out come ที่ได้คือ ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถสร้างเสริมสุขภาพได้ด้วยตนเอง
????????? อ.ไพทูรย์ สรุปประเด็นการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ ดังนี้
?????????????????? ๑. การบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพ วางแผนต้องมี มคอ. ที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
?????????????????? ๒. ทุนทางสังคม การบูรณาการได้ดีต้องมีภาคีเครือข่ายที่ดี
?????????????????? ๓. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาศัยการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดทีมที่ดี
?????????????????? ๔. จะต้องวัดผลที่เกิดกับนักศึกษา สำหรับผลที่เกิด กับผู้ป่วยหรือประชาชน ถือเป็น out come เชิงประจักษ์ สำหรับที่หอผู้ป่วยจะแตกต่างการประเมินผลของผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น
ระเบียบวาระที่? ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้
???????? ผลการจัดการความรู้ในภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในเรื่องการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
๑.????? การบูรณาการที่เกิดในชุมชน
๒.????? การบูรณาการในหอผู้ป่วย
?
ระเบียบวาระที่? ๔ สรุปแนวทางปฏิบัติที่ดี
๑.????? สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน
๒.????? การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.????? การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๔.????? การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๕.????? การวัดและประเมินผล
ปิดประชุม?? ๑๒.๐๐ น.
????????????????????????????????????????????????????????????? ??? ………………………………………….
????????????????????????????????????????????????????????????? ????? (นางอรุณรัตน์ พรมมา)
??????????????????????????????????????????????????????????????????????? ผู้บันทึกการประชุม
???? ??? ????????????????????????????????????????????????????? ???………………………………………….
????????????????????????????????????????????????????????????? ???????? (นางศศิธร ชิดนายี)
????????????????????????????????????????????????????????????? ?????????? ผู้ตรวจการประชุม
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดี เนื่องจากเป็นการฝึกนักศึกษาให้เกิดการวิเคราะห์ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้อย่างประจักษ์และชัดเจน แต่ที่ผ่านมาจะเห็นว่าอาจารย์ที่ร่วมสอนบางครั้งมีแนวคิดที่ไม่เหมือนกันและแนวทางการปฏิบัติไม่ค่อยเหมือนกันบางครั้งผู้เรียนอาจจะเกิดการสับสน ดังนั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาควรมีการบรรจุรายละเอียดของการบูุรณาการในมคอ. และในการจัดทำแผนการสอนและแผนนิเทศ อาจารย์ผู้ร่วมสอนควรประชุมเสวนาและระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนร่วมกัน ซึ่งหากผู้สอนเเข้าใจและมีทิศทางเดียวกันจะทำให้การบูรณาการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อนักศึกษา
ถือว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมากๆ สามารถไปปรับใช้เพื่อบูรณาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่หลากหลายและสอดคล้องตามมาตรฐานการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะให้เกิดขึ้นได้หลายๆทักษะในเวลาเดียวกัน เป็นกระบวนการที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เกิดกับผู้เรียนได้เป็นอย่างมาก และสิ่งสำคัญคือผู้สอนต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน และส่งเสริมการการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางปฏิบัติที่ดีที่ภาควิชาได้สังเคราะห์ร่วมกันจากการระดมสมองและจากประสบการณ์ในครั้งนี้ เป็นการจัดทำครั้งแรก ซึ่งต้องมีการประเมินผลต่อไป และคงจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามหากมีความยั่งยืนของการบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลกับการสร้างเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของอาจารย์ในภาควิชาและนักศึกษา มีการดำเนินกิจกรรมที่เน้นการคิดวิเคราะห์ การลงมือปฏิบัติในชุมชน ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะประเมินได้ชัดเจนจากประชาชนผู้รับบริการ แต่ปัญหาที่พบที่ผ่านมาพบว่าการประเมินผลการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนที่เกิดกับนักศึกษายังประเมินได้ไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุม จึงอยากให้มีรูปแบบการประเมินผลการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน และเป็นแนวทางเดียวกัน
คิดว่าแนวปฏิบัตินี้เป็นแนวทางที่ดี เหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติ เพื่อมีขั้นตอนในกาดำเนินงาน ที่สำคัญเมื่อนำไปใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาแล้ว outcome ที่เกิดผลกระทบต่อนักศึกษาจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย เข้าตำรา learning by doing ค่ะ
การบูรณาการการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่ดี แต่เพื่อให้ทุกคนในวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันควรจัดให้มี KM ในประเด็นการบูรณาการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันทั้งวิทยาลัยอีกครั้ง เนื่องจากประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพถือเป็นวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ และเพื่อให้ทุกคนมีการวางแผนงานที่ดี ไปในทิศทางเดียวกัน และที่สำคัญทำให้รู้สึกว่าการบูรณาการเป็นเรื่องง่ายใกล้ตัวที่เราทุกคนสามารถทำได้
กลยุทธ์การพัฒนาผลการสอบขึ้นทะเบียนฯ ของนักศึกษา อย่างหนึ่งที่ได้ผล คือการสอนภาคปฎิบัติที่ดี รวมถึงการสอนในคลินิค ให้กับนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎี มาใช้ในการปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้ Case และจะจำได้ นอกจากนี้กลวิธีการจัดการเรียนการสอนต้องมีความหลากหลาย และยืดหยุ่น รวมถึงต้องมีการวางแผนการสอนเป็นอย่างดี เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ได้ โดยการใช้ Bloom Taxonomy มากำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ทักษะการปฎิบัติที่นักศึกษาจะต้องมี/ทำได้ และได้ในระดับใด การวัดผล และการตัดสินผลการเรียน ครบถ้วน และตรงกับสภาพจริงของนักศึกษามากน้อยเพียงใด เตรื่องมือ/แบบประเมินที่ใช้มีความเที่ยง และความตรงมากน้อยเพียงใด ความเอาใจใส่นักศึกษาของอาจารย์ เวลาที่อาจารย์มีให้กับนักศึกษา การร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำ Nursing round/ conference การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นผู้เรียน สิ่งที่สำคัญที่สุด คิดว่าน่าจะเป็น การวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการให้นักศึกษาเกิด/มี การวัดผล โดยใช้เครื่องมือที่ดี มีคุณภาพ และการตั้งคำถามสะท้อนคิดแก่นักศึกษา สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้ดี คิดวิเคราะห์ได้….ไม่ยาก เกินไปที่จะทำ…. ถ้าผู้สอนเปิดใจกว้าง พยายาม เรียนรู้ /ปรับปรุงวิธีการสอน อานิสงค์จะเกิดกับผู้เรียน
ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ครูสามารถที่จะบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพได้ตลอดเวลา เพราะทุกกิจกรรมที่ปฏิบัตินั้นช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้รับบริการได้ทั้งสิ้น และนักศึกษาก็จะเกิดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองไปด้วย ซึ่งเมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาก็จะเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพที่ดีได้ระดับหนึ่ง